คปพ. แถลงเรียกร้องนายกฯ ถอน 2 ร่างแก้ไข พ.ร.บ. ปิโตรเลียมฉบับกระทรวงพลังงาน ย้ำ มีช่องโหว่ เป็นภัยความมั่นคง สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมหาศาล เปิดช่องทุจริต ซ้ำไม่เคยผ่านการรับฟังความเห็นประชาชนตามที่อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติแอบอ้าง ยันภาคประชาชนไม่ต้องการผลประโยชน์ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ต้องการให้รัฐได้ผลตอบแทนสูงสุด อย่างโปร่งใส และเป็นธรรม
วันนี้ (11 ก.ค.) ที่โรงแรมเอเชีย เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) นำโดย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล และ ดร.นพ สัตยาศัย ได้ร่วมแถลงข้อเรียกร้องของ คปพ. ขอให้รัฐบาลทบทวนและถอนร่างแก้ไขพระราชบัญญัติปิโตรเลียม และร่างแก้ไขพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ที่เสนอโดยกระทรวงพลังงาน ออกจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจากเห็นว่าร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ จะส่งผลต่อความมั่นคงของชาติ และอาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะไม่ได้แก้ไขปัญหาให้สอดคล้องตามรายงานของกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514
ร่างกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าว ยังไม่กำหนดแปลงสัมปทานในแต่ละรอบให้ชัดเจนว่าต้องมีจำนวนน้อยกว่าผู้เข้าประมูลแข่งขัน ดังนั้น จึงไม่มีหลักประกันว่าจะเกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่งต่างจากร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. ... ที่เสนอโดยเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย จะจำกัดจำนวนแปลงปิโตรเลียมในแต่ละรอบให้น้อยกว่าจำนวนผู้เข้าแข่งขัน และกำหนดจำนวนผู้เข้าแข่งขันขั้นต่ำในการประมูลในแต่ละแปลง และแต่ละรอบให้ชัดเจน โดยจะสามารถเกิดการแข่งขันเพื่อให้ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดได้จริง รวมทั้งป้องกันการจัดสรรแปลงปิโตรเลียมกันเองระหว่างผู้เข้าประมูล
นอกจากนี้ ประชาชนยังไม่เคยมีส่วนร่วมในการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว ตามที่ นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้แถลงข่าวแอบอ้างเมื่อวันที่ 8 ก.ค. ที่ผ่านมา แม้กระทั่งก่อนที่จะนำร่างเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ก็ไม่เคยเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบมาก่อน ดังนั้น อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ไม่สามารถอ้างได้ว่าร่างแก้กฎหมายมาจากการรับฟังความเห็นในเวทีเสวนา เพราะเป็นการเสวนาประเด็นอื่น ไม่ใช่เรื่องการแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม
แถลงการณ์ คปพ. ยืนยันว่า ข้อเสนอของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย ไม่ได้ต้องการผลประโยชน์ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ตามที่นายกฯ เข้าใจ แต่ต้องการผลตอบแทนสูงสุดแก่รัฐและประชาชน ในการแข่งขันอย่างเสรีและโปร่งใส
รายละเอียด แถลงการณ์เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ฉบับที่ ๔/๒๕๕๘
เรื่อง หยุดยั้งร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมที่เป็นอันตรายต่อประเทศชาติและประชาชน
ตามที่ นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ แถลงข่าว เมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้กล่าวยืนยันสนับสนุนร่างกฎหมายปิโตรเลียมที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ว่า ประเทศจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นด้านการลงทุน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน อีกทั้งยังแจ้งว่า คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณา ร่างเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ขอแสดงจุดยืนต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้
๑. เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ขอยืนยันว่าร่างแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และ พ.ร.บ. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ทั้ง ๒ ฉบับของกระทรวงพลังงาน รวมทั้ง ๒ ฉบับที่ผ่านการแก้ไขของกฤษฎีกานั้น ประชาชนก็ไม่เคยมีส่วนร่วมแม้แต่น้อย แม้กระทั่งก่อนที่จะนำร่างแก้ไขกฎหมายทั้ง ๒ ฉบับ เข้าสู่การพิจารณาในคณะรัฐมนตรี และได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ก็ไม่เคยมีการเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบมาก่อนแต่ประการใด ดังนั้น การที่ นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้กล่าวอ้างว่าร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวมาจากการรับฟังความคิดเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติก็ดี หรือมาจากเวทีเสวนาสาธารณะหลายครั้งก็ดี ก็ไม่สามารถที่จะนำมาอ้างเป็นเหตุผลเพื่อสร้างความชอบธรรมได้ เพราะการรับฟังความคิดเห็นที่กล่าวอ้างเหล่านั้น ก็เป็นเรื่องประเด็นอื่นๆ ที่ไม่ใช่การนาตัวร่างแก้ไขกฎหมายทั้ง ๒ ฉบับของกระทรวงพลังงานมาทาประชาพิจารณ์ หรือรับฟังความคิดเห็นแต่ประการใด
นอกจากนี้ ร่างแก้ไขกฎหมายดังกล่าวยังมีข้อบกพร่อง เปิดช่องโหว่ที่อาจทาให้เกิดความเสียหาย หรือเกิดการใช้ดุลยพินิจหรือการฉ้อราษฎร์บังหลวงได้อย่างมหาศาล อีกทั้งยังไม่ได้แก้ไขปัญหาให้สอดคล้องตามรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และ พระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ อีกด้วย ร่างแก้ไข พรบ.ปิโตรเลียม และ พรบ.ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ทั้ง ๒ ฉบับของกระทรวงพลังงาน รวมทั้ง ๒ ฉบับที่ผ่านการแก้ไขของกฤษฎีกานั้น จึงขาดความชอบธรรมอย่างสิ้นเชิง
๒. เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ขอยืนยันว่า ในระบบสัมปทานหรือในระบบแบ่งปันผลผลิตนั้น ความโปร่งใสและเป็นธรรมต่อประชาชนไม่ได้อยู่เพียงแค่การสร้างภาพว่ามีการประกาศเชิญชวน เพื่อให้มีการแข่งขันยื่น “ข้อเสนอ” ดีที่สุด ตามอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติกล่าวอ้างแต่ประการใด เพราะ “ข้อเสนอ” ดีที่สุด ไม่ได้หมายความว่ารัฐจะได้ผลตอบแทนสูงสุดเสมอไป อีกทั้ง “ข้อเสนอ” ดีที่สุดนั้นเป็นการใช้ดุลยพินิจโดยการพิจารณาให้คะแนนของกรรมการที่ไม่สร้างบรรทัดฐานความโปร่งใสที่แท้จริง
แต่ความโปร่งใสที่แท้จริงต้องเริ่มจากการเปิดเผยข้อมูล ข้อเท็จจริงอย่างเป็นทางการ และสร้างการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมในทางปฏิบัติ โดยมีการคัดสรรผู้ประมูลว่าต้อง “ผ่านข้อเสนอและคุณสมบัติขั้นต่ำ” ที่ฝ่ายรัฐกำหนดขึ้นเพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถคัดสรรผู้ประมูลที่มีความสามารถหรือผลงานจริง แล้วจึงแข่งขันด้วยการให้ผู้ประมูล “เสนอผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุด” โดยปราศจากการใช้ดุลยพินิจส่วนตัวหรือคณะบุคคลใด ๆ ด้วยการให้คะแนน หรือการเจรจาต่อรองกัน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประชาชนชาวไทยทั้งประเทศไม่เคยได้เห็นหรือได้ทราบวิธีและหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ได้รับสัมปทาน และไม่เคยทราบถึงการเจรจาตกลงกัน ตลอดจนเงื่อนไขการลงนามสัญญาใด ๆ ตลอดระยะเวลา ๔๔ ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ร่างแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมของกระทรวงพลังงานมิได้มีการกำหนดหรือจำกัดจำนวนแปลงสัมปทานในแต่ละรอบให้มีความชัดเจนว่าต้องมีจำนวนน้อยกว่าผู้เข้าประมูลแข่งขัน จึงส่งผลทาให้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีการเปิดแปลงสัมปทานจานวนมากแปลงในแต่ละรอบ ทำให้เกิดการจัดสรรในหมู่ผู้รับสัมปทานกันเองโดยไม่ต้องมีการแข่งขันจริง ด้วยเหตุผลนี้การเปิดสัมปทานที่ผ่านมาจึงไม่เคยมีการแข่งขันกันอย่างแท้จริงตามที่กล่าวอ้างมาแม้แต่ครั้งเดียว คงเหลือแต่เพียงการเจรจาต่อรองเงื่อนไขต่าง ๆ ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับผู้ประมูลทีละรายอย่างไม่โปร่งใส ดังนั้น จึงไม่มีหลักประกันว่าจะเกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ภายหลังจากการแก้ไขกฎหมายของกระทรวงพลังงาน
ซึ่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิง จากร่างพระราชบัญญัติ การประกอบกิจการปิโตรเลียม พ.ศ..... ของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ที่จำกัดจำนวนแปลงปิโตรเลียมในแต่ละรอบให้น้อยกว่าจำนวนผู้เข้าแข่งขัน และกำหนดจำนวนผู้เข้าแข่งขันขั้นต่ำในการประมูลในแต่ละแปลงและในแต่ละรอบ ให้มีความชัดเจนที่จะสามารถเกิดการแข่งขันเสนอผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดได้จริง เพื่อป้องกันการสมยอมหรือจัดสรรแปลงปิโตรเลียมกันเองระหว่างผู้เข้าประมูล ซึ่งข้อเสนอของภาคประชาชนนี้ก็สอดคล้องกับผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติอีกด้วย
นอกจากนี้ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคราวการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ ๒๐ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้เคยมีเหตุการณ์ที่นำไปสู่ความเคลือบแคลงสงสัยว่าไม่มีความโปร่งใสเพียงพอ เช่น
กรณีการเจรจาปรับแก้ไขให้ผู้ที่เสนอรับสัมปทานมีคะแนนเพิ่มขึ้นในรอบการเจรจาโดยไม่มีการแข่งขัน
กรณีการเจรจาปรับแก้ไขย้ายรายการ โดยไม่เปลี่ยนแปลงจำนวนเงินโดยรวม ส่งผลให้ผู้เสนอเข้ารับสัมปทานมีคะแนนเพิ่มขึ้นและเปลี่ยนจากตกคุณสมบัติกลายเป็นผ่านคุณสมบัติและได้แปลงสัมปทานในที่สุด
กรณีที่เดิมผู้รับสัมปทานไม่มีการกรอกผลประโยชน์พิเศษจึงไม่มีคะแนนในหมวดดังกล่าว แต่กลับมีการเจรจาเพิ่มภายหลังด้วยจำนวนเงินเพียงประมาณ ๔๕๐,๐๐๐ บาททำให้ได้คะแนนเต็มในส่วนดังกล่าว
กรณีมีข้อสังเกตว่าผลตอบแทนพิเศษบางรายใส่ประมาณ ๖,๐๐๐,๐๐๐ บาท กลับได้คะแนน ๑๘.๕ จากคะแนนเต็ม ๒๐ แต่บางรายใส่ผลตอบแทนพิเศษประมาณ ๔๕๐,๐๐๐ บาท กลับได้คะแนนเต็ม ๒๐
กรณีหลังจากประกาศเชิญชวนเข้าร่วมเสนอการสัมปทานผ่านไป ๒ เดือนเศษ มีผู้เข้าร่วมประมูลบางรายเพิ่งจดทะเบียนบริษัท และสามารถชนะได้เป็นผู้รับสัมปทาน
กรณีมีบริษัททุนจดทะเบียน ๑๐ ล้านบาท และ ๑ ล้านบาท ซึ่งต่ามาก แต่กลับมีสิทธิ์ได้รับสัมปทานที่มีมูลค่ามหาศาล
กรณีตัวอย่างข้างต้นนี้จึงเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า การแก้ไขกฎหมายปิโตรเลียมของกระทรวงพลังงาน ไม่มีหลักประกันว่าจะมีการประมูลแข่งขันที่โปร่งใสและเป็นธรรมต่อประเทศชาติได้จริง และหากมีการให้เอกชนผู้ที่ต้องการผลิตปิโตรเลียมเลือกได้ว่าจะใช้ระบบสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิตก็ได้ ยิ่งเป็นการใช้ดุลพินิจในการพิจารณาอีกอยู่ดี เพราะในระบบแบ่งปันผลผลิตและระบบสัมปทานนั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งในเรื่องกรรมสิทธิ์และการแบ่งผลผลิตจากปริมาณปิโตรเลียมหรือแบ่งค่าภาคหลวงหรือภาษีจากรายได้ ซึ่งไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้ และไม่ใช่การบริหารจัดการที่โปร่งใสแต่ประการใด
๓. แม้ร่างแก้ไขของคณะกรรมการกฤษฎีกาในมาตรา ๕๓/๕ จะกำหนดรายจ่ายเท่าที่จ่ายจริงในระบบแบ่งปันผลผลิต และไม่เกินร้อยละ ๕๐ ต้องเป็นไปตามแผนงานและงบประมาณสำหรับกิจการปิโตรเลียมในแต่ละปี เพื่อให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติก่อนเริ่มกิจการปิโตรเลียมนั้น เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) เห็นว่ากรณีดังกล่าวไม่สามารถเป็นที่ไว้วางใจได้
ทั้งนี้ วิธีการแบ่งปันผลผลิตในสากลมี ๒ ระบบ คือ การแบ่งปริมาณปิโตรเลียมตามผลผลิตสุทธิ (หลังหักค่าใช้จ่าย) และ การแบ่งตามปริมาณผลผลิตปิโตรเลียมรวมที่ผลิตได้ (โดยไม่หักค่าใช้จ่าย) สาหรับประเทศไทย ทั้งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และกรมสรรพากร รวมไปถึงสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ต่างก็ไม่มีความชานาญด้านต้นทุน เครื่องจักรอุปกรณ์ ไม่มีการผลิตสินค้าเหล่านี้ในประเทศที่จะหาข้อมูลเทียบเคียง ดังนั้นการใช้ระบบผลผลิตปิโตรเลียมสุทธิ (หลังหักค่าใช้จ่าย) อาจทาให้ประเทศไทยเสียเปรียบ และควรเปลี่ยนระบบเป็นการแบ่งตามปริมาณผลผลิตปิโตรเลียมรวมที่ผลิตได้ (โดยไม่ต้องหักค่าใช้จ่าย) ตามที่เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) ได้เสนอในร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการปิโตรเลียมไปแล้ว
การพิจารณาจากแผนค่าใช้จ่ายจริงเพื่อหักออกก่อนที่จะใช้การแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียมสุทธินั้น เป็นการใช้ดุลยพินิจที่ยากในการตรวจสอบความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต อีกทั้งยังมีข้าราชการบางส่วนในระดับสำคัญของคณะกรรมการต่างเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจปิโตรเลียมในรูปแบบของบริษัทจากัด (มหาชน) ที่เน้นการแสวงหาผลกำไรสูงสุดอยู่ด้วย เมื่อผลประกอบการของบริษัทจำกัด (มหาชน) เหล่านั้นมีกำไรมากขึ้นกรรมการก็ย่อมได้รับผลตอบแทนมากขึ้นไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีบุคคลเหล่านี้เป็นบุคคลซึ่งมีหน้าที่ในการกำหนดรายจ่ายจริงให้กับผู้รับสิทธิ์ในการผลิตปิโตรเลียม ผู้รับสิทธิ์ในการผลิตปิโตรเลียมที่เป็นกิจการรัฐวิสาหกิจบริษัทจำกัด (มหาชน) ที่ตนเองได้รับประโยชน์อยู่ด้วย จึงถือเป็นการดาเนินการที่เป็นผลประโยชน์ทับซ้อน ขัดหลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการที่ดี ไม่สามารถเป็นที่ไว้วางใจได้
๔. ตามที่ นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้จัดแถลงข่าวเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ความตอนหนึ่งเกี่ยวกับในระบบแบ่งปัน ผลผลิตว่า “กำหนดให้สามารถหักค่าใช้จ่ายได้จริง โดยไม่เกินร้อยละ ๕๐ ของผลผลิตรวมปิโตรเลียม (คำนวณจากการขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมทั้งหมด)”
ข้อความที่กล่าวในวงเล็บว่า “คำนวณจากการขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมทั้งหมด” หลักการนี้ทำให้การแบ่งปันผลผลิตแทนที่จะคิดจากปริมาณปิโตรเลียม ซึ่งผลิตได้แล้วตกเป็นของรัฐทั้งหมดทันที ณ ปากหลุม แล้วจึงแบ่งส่วนปิโตรเลียมให้แก่เอกชนและรัฐตามสัญญา เพื่อให้รัฐนาส่วนปิโตรเลียมที่ได้มาไปบริหารหรือจำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบการหรือประชาชนตามราคาที่เหมาะสมและเป็นจริง กลัให้รัฐน้อยลงกว่าความเป็นจริง และภาษีที่จะได้ก็จะน้อยกว่าความเป็นจริงไปด้วย การสร้างระบบแบ่งปันผลผลิตเช่นนี้จึงไม่ต่างจากข้อบกพร่องของระบบสัมปทาน เป็นการอาพรางระบบสัมปทานภายใต้ชื่อของระบบแบ่งปันผลผลิตเท่านั้น จึงไม่สามารถสร้างผลประโยชน์สูงสุดแก่รัฐได้จริง
ทั้งนี้ เมื่อตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๒ ฉบับที่ผ่านการแก้ไขของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วพบว่า มีพฤติการณ์ทาให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยได้ เพราะเมื่อ “เพิ่มข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาแบ่งปันผลผลิต” จากร่างของกระทรวงพลังงาน ในมาตรา ๕๓/๔ (๔) ที่ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตต้อง “กำหนดและการปฏิบัติตามข้อผูกพันทั้งในด้านปริมาณเงินและปริมาณงานสำหรับการสำรวจและผลิต” ที่อาจทาให้เกิดการใช้ดุลยพินิจในการให้คะแนนเหมือนระบบสัมปทานทั้ง ๒๐ รอบที่ผ่านมา
การยื่นปริมาณงานและปริมาณเงินทุน เป็นข้อมูลเฉพาะสำหรับระบบสัมปทาน เพราะระบบสัมปทานจะชนะและได้รับงานด้วยเงื่อนไขนี้ แต่กรณีการแบ่งปันผลผลิต ข้อมูลและข้อกำหนดนี้ไม่มีความจำเป็น เพราะรัฐไม่ต้องสนใจว่าเอกชนจะลงทุนมากหรือน้อย แต่สนใจเฉพาะส่วนแบ่งรวมของผลผลิตรวมโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ การให้ยื่นข้อมูลปริมาณงาน ปริมาณเงินลงทุน หากมีการนามาใช้ประกอบการพิจารณาในระบบแบ่งปันผลผลิต นอกจากจะเปิดช่องให้มีการใช้ดุลยพินิจลาเอียงแก่รายใดรายหนึ่งแล้ว ยังจะเป็นการเอาเปรียบบางรายที่มีเทคโนโลยีสูงกว่า ทาให้สามารถผลิตได้เท่ากันแต่ลงทุนต่ากว่าหรือทางานน้อยกว่าอีกด้วย
สำหรับเรื่องข้อกังวลว่า หากไม่นาข้อมูลปริมาณงาน ปริมาณเงินลงทุน มาประกอบการพิจารณาในระบบแบ่งปันผลผลิตอาจทาให้เอกชนลงทุนน้อย และเกิดผลผลิตน้อย ข้อกังวลนี้สามารถใช้วิธีบวกตัวเลขสัดส่วนของเอกชนให้สูงขึ้นทีละน้อยๆ เป็นขั้นบันไดตามปริมาณการผลิต
นอกจากนี้ ร่างแก้ไขของคณะกรรมการกฤษฎีกา ยังเพิ่มในมาตรา ๕๓/๔ (๕) กำหนดข้อกำหนดและเงื่อนไขของระบบแบ่งปันผลผลิตว่าต้องมี “ข้อตกลงเกี่ยวกับการขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียมที่ผลิตได้” ซึ่งตามปกติแล้วการแบ่งปันผลผลิต รัฐต้องได้ส่วนแบ่งปัน ผลผลิตแล้วดาเนินการจำหน่ายผลผลิตนั้นเองไม่เกี่ยวข้องกับผู้รับสัญญาเอกชนในการขายจำหน่ายปิโตรเลียมของรัฐ แต่การตรากฎหมายเช่นนี้ย่อมมีความน่าเคลือบแคลงสงสัยว่าต้องการให้เอกชนผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตเป็นผู้จำหน่ายหรือขายแทนรัฐ ด้วยเหตุนี้ใช่หรือไม่ “จึงไม่มีการจัดตั้งบรรษัทบริหารปิโตรเลียมแห่งชาติ” เพื่อทาหน้าที่บริหารและจำหน่ายหรือขายปิโตรเลียมของรัฐในร่างกฎหมายของกระทรวงพลังงาน อันเป็นการจัดทา “ระบบแบ่งปันผลผลิตจำแลง” ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และรัฐไม่ใช่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมอย่างแท้จริงตามเจตนารมณ์ของประชาชน
นอกจากนี้ ยังเป็นที่น่าสังเกตว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากลุ่มทุนพลังงานและเครือข่ายทุนพลังงาน รวมถึงข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพลังงานจำนวนหนึ่ง ต่างออกมาคัดค้านการตั้งบรรษัทปิโตรเลียมแห่งชาติอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เพราะยังต้องการผูกขาดการขายปิโตรเลียมให้อยู่ในมือเอกชนแต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น และไม่ต้องการให้ปิโตรเลียมอยู่ในมือบรรษัทปิโตรเลียมแห่งชาติซึ่งเป็นของรัฐร้อยเปอร์เซ็นต์ ที่จะจำหน่ายปิโตรเลียมให้กับประชาชนในราคาที่เป็นธรรม เหมาะสมกับฐานะเศรษฐกิจของประเทศและค่าครองชีพของประชาชน
จึงขอวิงวอนเรียกร้องให้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ทบทวนและถอนร่างกฎหมายที่จะก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและต่อประเทศอย่างมหาศาล ออกจากคณะกรรมการกฤษฎีกา และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และขอยืนยันว่า ข้อเสนอของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) นั้น มิได้ต้องการผลประโยชน์ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ตามที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เข้าใจ แต่ต้องการผลตอบแทนสูงสุดแก่รัฐและประชาชนจากการแข่งขันเสรี โปร่งใส และเป็นธรรม
ด้วยจิตคารวะ
เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.)
วันเสาร์ ที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๘