เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย (คปพ.) นำโดยนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ดร.นพ สัตยาศัย นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล และ ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ร่วมแถลงการณ์ขอให้รัฐบาลทบทวนและถอนร่างพระราชบัญญัติปิโตรเลียม และร่างพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ที่เสนอโดยกระทรวงพลังงาน ออกจากการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจากเห็นว่าร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ จะส่งผลต่อความมั่นคงของชาติ และอาจสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ เพราะไม่ได้แก้ไขปัญหาให้สอดคล้องตามรายงานของกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514
นายปานเทพ กล่าวว่า นอกจากนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่กำหนดแปลงสัมปทานในแต่ละรอบให้ชัดเจนว่าต้องมีจำนวนน้อยกว่าผู้เข้าประมูลแข่งขัน ดังนั้น จึงไม่มีหลักประกันว่าจะเกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่งต่างจากร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. ... ที่เสนอโดยเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย จะจำกัดจำนวนแปลงปิโตรเลียมในแต่ละรอบให้น้อยกว่าจำนวนผู้เข้าแข่งขัน และกำหนดจำนวนผู้เข้าแข่งขันขั้นต่ำในการประมูลในแต่ละแปลง และแต่ละรอบให้ชัดเจน โดยจะสามารถเกิดการแข่งขันเพื่อให้ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดได้จริง รวมทั้งป้องกันการจัดสรรแปลงปิโตรเลียมกันเองระหว่างผู้เข้าประมูล
นอกจากนี้ ประชาชนยังไม่เคยมีส่วนร่วมในการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว แม้กระทั่งก่อนที่จะนำร่างเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ก็ไม่เคยเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบมาก่อน ดังนั้น อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ไม่สามารถอ้างได้ว่าร่างแก้กฎหมายมาจากการรับฟังความเห็นในเวทีเสวนา
อย่างไรก็ตาม นายปานเทพ ยืนยันว่า ข้อเสนอของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย ไม่ได้ต้องการผลประโยชน์ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต้องการผลตอบแทนสูงสุดแก่รัฐและประชาชน ในการแข่งขันอย่างเสรีและโปร่งใส
นายปานเทพ กล่าวว่า นอกจากนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่กำหนดแปลงสัมปทานในแต่ละรอบให้ชัดเจนว่าต้องมีจำนวนน้อยกว่าผู้เข้าประมูลแข่งขัน ดังนั้น จึงไม่มีหลักประกันว่าจะเกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่งต่างจากร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการปิโตรเลียม พ.ศ. ... ที่เสนอโดยเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย จะจำกัดจำนวนแปลงปิโตรเลียมในแต่ละรอบให้น้อยกว่าจำนวนผู้เข้าแข่งขัน และกำหนดจำนวนผู้เข้าแข่งขันขั้นต่ำในการประมูลในแต่ละแปลง และแต่ละรอบให้ชัดเจน โดยจะสามารถเกิดการแข่งขันเพื่อให้ผลตอบแทนแก่รัฐสูงสุดได้จริง รวมทั้งป้องกันการจัดสรรแปลงปิโตรเลียมกันเองระหว่างผู้เข้าประมูล
นอกจากนี้ ประชาชนยังไม่เคยมีส่วนร่วมในการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว แม้กระทั่งก่อนที่จะนำร่างเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ก็ไม่เคยเปิดเผยให้สาธารณชนได้รับทราบมาก่อน ดังนั้น อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ไม่สามารถอ้างได้ว่าร่างแก้กฎหมายมาจากการรับฟังความเห็นในเวทีเสวนา
อย่างไรก็ตาม นายปานเทพ ยืนยันว่า ข้อเสนอของเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย ไม่ได้ต้องการผลประโยชน์ทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ต้องการผลตอบแทนสูงสุดแก่รัฐและประชาชน ในการแข่งขันอย่างเสรีและโปร่งใส