xs
xsm
sm
md
lg

“บิ๊กตู่” สั่งตั้ง “ซูเปอร์บอร์ดการศึกษา”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
“บิ๊กตู่” สั่งตั้ง “ซูเปอร์บอร์ดการศึกษา” กำหนดเป้าหมาย 6 ประการ ต่างกับแนวคิดของ สปช. สายปฏิรูปการศึกษา ที่เน้นควบคุมโยกย้าย ข้าราชการระดับผู้บริหาร พร้อมปลุกกระแสเลิกให้คุณค่าใบปริญญา

วันนี้ (3 มี.ค.) พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลง ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งให้ตั้ง “ซูเปอร์บอร์ดการศึกษา” เพื่อดูแลการศึกษา โดยมีเป้าหมาย 6 ประการ ประกอบด้วย

1. เด็กจบ ป.1 ต้องอ่านออกเขียนได้ และต้องมีการประเมินผลที่เป็นรูปธรรม
2. เด็กชั้น ม.1 - 6 ต้องเลือกเรียนวิชาเสริม เป็นสาขาวิชาชีพ เพื่อการวางแผนอาชีพในอนาคตได้
3. เชื่อมโยงการศึกษากับการส่งเสริมวิชาชีพ ให้ตรงความต้องการของท้องถิ่นและประเทศชาติ
4. ในระดับอุดมศึกษา ให้เน้นการวิจัย เพื่อเชื่อมต่อกับงานวิจัยกับภาคเอกชน
5. ให้นักเรียนมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษที่มาจากประเทศต้นทาง เคยชินกับเจ้าของภาษา
6. ผลิตคุณครูที่มีความเข้มข้น อาทิ คุรุทายาท ที่มีความสามารถตอบรับการสอนของเด็กได้อย่างแท้จริง

มีรายงานว่า สำหรับแนวคิด “ซูเปอร์บอร์ดศึกษา” ของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาแผนปฏิรูปการศึกษา โดยเฉพาะประเด็นการกระจายอำนาจ ที่พบว่าไม่มีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง เนื่องจากทุกอย่างยังอยู่ที่ส่วนกลางไม่สามารถเข้าถึงปัญหาในพื้นที่ได้ ทั้งที่ พ.ร.บ. การศึกษา ระบุชัดเจนว่าให้ดำเนินการได้ แต่ที่ผ่านมาไม่ได้ทำ จึงเสนอให้มีคณะกรรมการเหมือนซูเปอร์บอร์ดเรื่องการศึกษา ขึ้นมาพิจารณาแต่งตั้งตำแหน่งที่สำคัญ เช่น ปลัดกระทรวง อธิบดี หรือข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการระดับ 10 ขึ้นไป เพื่อเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเซ็นอนุมัติอุปสรรคของการศึกษาไทย คือ ระบบการจัดการ ตั้งแต่การผลิตและการกำหนดวิทยฐานะของครู วิธีการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและสถานศึกษา

การบริหารจัดการสถานศึกษาทั้งในด้านบุคลากรและงบประมาณ ระเบียบและกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การวางแผนและการผลิตกำลังคนในภาคการศึกษาไม่สอดคล้องกับความต้องการในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม รศ.ณรงค์ มองว่า ทุกภาคส่วนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขและเปลี่ยนแปลงทั้งภาคประชาชน สังคม องค์กรธุรกิจและภาครัฐ นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมและหน่วยงานรัฐ จะต้องร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์และแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนร่วมกัน เพื่อให้ได้กำลังคนสอดคล้องตรงตามความต้องการ

“ขณะที่การสร้างความยอมรับให้กับผู้จบการศึกษาในระดับ ปวช. และ ปวส. สถานประกอบการต้องมุ่งเน้นความสามารถของพนักงานตามลักษณะงานที่รับผิดชอบ และก้าวหน้าในวิชาชีพได้ ต้องกำหนดค่าตอบแทนเหมาะสม ไม่ใช้ปริญญาบัตรเป็นตัวกำหนด จนเกิดค่านิยมของการมุ่งเรียนเพื่อให้ได้ปริญญาบัตร”


กำลังโหลดความคิดเห็น