สพฐ. ระดมสมองกูรูการศึกษา วางแนวทางการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ยกระดับคุณภาพการศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของไทยทัดเทียมนานาประเทศ
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า จากสถิติข้อมูลการจัดอันดับการศึกษาของไทยในเวทีโลก ปี 2556 โดย WEF : World Economic Form พบว่า อัตราการเข้าเรียนของเด็กไทยอยู่ในอันดับ 101 ของโลก และเป็นอันดับ 9 ของอาเซียน ในส่วนของคุณภาพ ระบบการศึกษาของไทยอยู่ในอันดับ 78 ของโลก และอันดับ 8 ของอาเซียน รวมทั้งคุณภาพประถมศึกษาอยู่ในอันดับ 86 ของโลก อันดับ 7 ของอาเซียน และล่าสุด WEF ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางการศึกษาของประเทศต่างๆ ในปี 2556 - 2557 พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 37 จาก 148 ประเทศดังกล่าว ซึ่งหากมองจุดอ่อนของการศึกษาไทยในภาพรวมแม้ว่าจะอยู่ระดับกลางๆ แต่ก็ประมาทไม่ได้ เพราะในระยะ 8 ปีที่ผ่านมา อันดับรวมของกัมพูชาสูงขึ้นมา 23 อันดับ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ สูงขึ้นมา 19 อันดับ หากการศึกษาไทยยังย่ำอยู่ที่เดิมอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราอาจตามหลังประเทศอื่นในอาเซียน อย่างไรก็ตาม การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ สพฐ. ก็เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะฉะนั้นเพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินไปในทางที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติมากที่สุด จึงได้เชิญคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารระดับสูง และผู้เกี่ยวข้อง ระดมสมองร่วมเสวนากำหนดแนวทางการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2558 - 2564 ในวันที่ 11 มกราคม 2558 ณ โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลส มหานาค กรุงเทพฯ
“แนวทางการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2558 - 2564 มีเป้าหมายวางไว้ชัดเจนอยู่แล้ว การประชุมเสวนาในครั้งนี้คาดว่าจะได้แนวทางการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ครอบคลุมและมีความสมบูรณ์ ในทุกด้าน ส่งผลให้การศึกษาของไทยมีคุณภาพยืนหยัดในเวทีโลกได้อย่างไม่อายใคร” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า จากสถิติข้อมูลการจัดอันดับการศึกษาของไทยในเวทีโลก ปี 2556 โดย WEF : World Economic Form พบว่า อัตราการเข้าเรียนของเด็กไทยอยู่ในอันดับ 101 ของโลก และเป็นอันดับ 9 ของอาเซียน ในส่วนของคุณภาพ ระบบการศึกษาของไทยอยู่ในอันดับ 78 ของโลก และอันดับ 8 ของอาเซียน รวมทั้งคุณภาพประถมศึกษาอยู่ในอันดับ 86 ของโลก อันดับ 7 ของอาเซียน และล่าสุด WEF ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันทางการศึกษาของประเทศต่างๆ ในปี 2556 - 2557 พบว่าประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 37 จาก 148 ประเทศดังกล่าว ซึ่งหากมองจุดอ่อนของการศึกษาไทยในภาพรวมแม้ว่าจะอยู่ระดับกลางๆ แต่ก็ประมาทไม่ได้ เพราะในระยะ 8 ปีที่ผ่านมา อันดับรวมของกัมพูชาสูงขึ้นมา 23 อันดับ อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ สูงขึ้นมา 19 อันดับ หากการศึกษาไทยยังย่ำอยู่ที่เดิมอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราอาจตามหลังประเทศอื่นในอาเซียน อย่างไรก็ตาม การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ สพฐ. ก็เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพราะฉะนั้นเพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินไปในทางที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติมากที่สุด จึงได้เชิญคณะอนุกรรมการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารระดับสูง และผู้เกี่ยวข้อง ระดมสมองร่วมเสวนากำหนดแนวทางการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2558 - 2564 ในวันที่ 11 มกราคม 2558 ณ โรงแรมปริ๊นซ์ พาเลส มหานาค กรุงเทพฯ
“แนวทางการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปี 2558 - 2564 มีเป้าหมายวางไว้ชัดเจนอยู่แล้ว การประชุมเสวนาในครั้งนี้คาดว่าจะได้แนวทางการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ครอบคลุมและมีความสมบูรณ์ ในทุกด้าน ส่งผลให้การศึกษาของไทยมีคุณภาพยืนหยัดในเวทีโลกได้อย่างไม่อายใคร” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่