ศาลปกครองกลางพิพากษา กทม.ชดใช้ชาวบ้านย่านงามวงศ์วาน 35,503 บาทต่อคน ใน 60 วัน เหตุปล่อยสร้างคอนโดมิเนียมไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันผลกระทบ พร้อมให้ ผอ.เขตหลักสี่ใช้อำนาจคุมการก่อสร้างให้เป็นไปตามกฎหมาย
วันนี้ (13 ก.พ.) ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาสั่งให้กรุงเทพมหานครชดใช้ค่าเสียหาย 7 ชาวบ้านย่านงามวงศ์วาน รายละ 35,503 บาท ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน หลังปล่อยให้โครงการอาคารชุดแอสปาย คอนโดมิเนียม งามวงศ์วาน ก่อสร้างโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสั่งให้ผอ.เขตหลักสี่ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ควบคุมการก่อสร้างโครงการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องมาจากสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนพร้อมพวกรวม 39 ราย ซึ่งเป็นผู้พักอาศัยอยู่ในซอยชัยเกียรติ 1 และซอยชินเขต ใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้างโครงการอาคารชุดแอสปาย คอนโดมิเนียม งามวงศ์วาน ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขตหลักสี่ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริษัท เดอะแวลู พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เจ้าของโครงการฯ คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และการบริการชุมชน เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-6 ขอให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดดังกล่าว หรือสั่งให้แก้ไขปรับปรุงแบบแปลน ลดจำนวนชั้น มิให้กีดกั้นทิศทางลม แสงอาทิตย์ และมีระยะถอนร่อน เพื่อป้องกันปัญหาอัคคีภัย แผ่นดินไหว ให้เกิดความปลอดภัยกับผู้อาศัยข้างเคียง เพิกถอนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเนื่องจากไมได้รับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินและจิตใจเป็นเงินวันละ 2,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 2 มี.ค. 54 ที่มีการเริ่มก่อสร้างโครงการ
ส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวระบุว่า โครงการดังกล่าว ประกอบด้วยอาคารจำนวน 3 ทาวเวอร์ แบ่งเป็นอาคารพักอาศัยทาวเวอร์เอ สูง 28 ชั้น อาคารพักอาศัยทาวเวอร์บีสูง 28 ชั้น และอาคารจดรถยนต์ทาวเวอร์ซี สูง 9 ชั้น มีห้องพักอาศัยรวม 1458 ห้อง และห้องประกอบพานิชยกรรม 6 ห้อง ที่จอดรถยนต์จำนวน 491 คัน จักรยานยนต์ 85 คัน มีพื้นที่อาคารรวม 68,488.90 ตารางเมตร ได้มอบหมายให้บริษัทอีโคซีสเต็ม เอ็นจีเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ ได้ตรวจสอบและพิจารณาให้ความเห็นชอบเมื่อ 20 ธ.ค. 53 เมื่อพิจารณารายงานดังกล่าวแล้วพบว่าจัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านต่างๆ อย่างครบถ้วนแล้วและได้ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตอบแบบสอบถามในบริเวณพื้นที่โครงการและพื้นที่ที่อาจะได้รับผลกระทบจากโครงการทั้งทางตรงทางอ้อม จึงเป็นรายงานที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
อย่างไรก็ตาม จากข้อเท็จจริงพบว่า เมื่อเริ่มมีการก่อสร้างเจาะเสาเข็มเพื่อวางรากฐานของอาคารในเดือน เม.ย. 54 การดำเนินการของโครงการก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรำคาญ เสียงดัง มีแรงสั่นสะเทือนโดยมีการก่อสร้างในเวลากลางคืนซึ่งผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องเรียนไปยังผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อมีการตรวจสอบพบว่า โครงการ ไม่ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเห็นชอบมา อีกทั้งในเวลาต่อมายังพบว่าโครงการมีการฝ่าฝืนคำสั่งผอ.เขตหลักสี่ที่มีหนังสือ ให้ระงับการก่อสร้างอาคารหลายครั้งโดยไม่ปรากฎว่าผอ.เขตหลักสี่ ได้มีการแจ้งความดำเนินคดีหรือดำเนินการใดกับโครงการหรือผู้เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่
ภายหลังจากที่มีการยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองแล้วเมื่อ 2 ส.ค. 54 ผอ.เขตหลักสี่จึงเพิ่งไปแจ้งความดำเนินคดีในฐานฝ่าฝืนคำสั่งระงับการก่อสร้าง แต่ไมได้แจ้งความดำเนินคดีอาญาวิศวกร และสถาปนิกผู้คุมงาน อันจะเป็นมาตรการรุนแรงขึ้นเพื่อให้คำสั่งระงับการก่อสร้างของ ผอ.เขตหลักสี่สัมฤทธิผล จึงถือว่าได้ว่า ผอ.เขตหลักสี่ละเลยต่อกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ซึ่งหากเมื่อมีการร้องเรียนแล้วผอ.เขตหลักสี่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ความเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับก็จะไม่เกิดขึ้น จึงถือว่าความเสียหายของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นความเสียหายโดยตรงจากการที่ผอ.เขตหลักสี่ ละเลยต่อหน้าที่ไม่ใช้มาตรการทางกฎหมายรุนแรงยิ่งขึ้นกับโครงการที่กระทำการก่อสร้างอาคารฝ่าฝืนกฎหมาย แม้ความเสียหายนั้นจะกิดจากการกระทำของโครงการด้วยก็ตาม แต่ผอ.เขตหลักสี่ยังต้องรับผิดในส่วนตน จึงต้องดำเนินการแก้ไขความเสียหายโดยกำกับดูแลและควบคุมการก่อสร้างอาคารของโครงการดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย และกรุงเทพมหานครต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีตามมาตรา 240 ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ประกอบมาตรา 5 พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539
ค่าชดใช้ความเสียหายนั้น ศาลเห็นว่า ขั้นตอนการก่อสร้างอาคารมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญด้านร่างกาย และจิตใจ แต่ผู้ฟ้องคดีไมได้ระบุรายละเอียดพยานหลักฐานค่าเสียหายไว้อย่างชัดเจน จึงกำหนดค่าเสียหายตามคำขอให้ผู้ฟ้องคดีวันละ 500 บาทต่อเดือน ซึ่งเมื่อหักผู้ฟ้องคดีที่ไมได้ยื่นคำขอในข้อหานี้และผู้ฟ้องคดีที่ศาลอนุญาตให้ถอนคำฟ้อง คงเหลือผู้ฟ้องคดีรวม 7 ราย ประกอบด้วย นายกิตติพงษ์ ธรรมกุล นางเบญจวรรณ พูลเจริญ นางปานเดือน ฤทธาภิรมย์ นายสุกิจ กอบกิจชัยสงค์ นางผัสพร วิมุกตานนท์ นายกัญญาณัฐ ตุโสตร นายโฆสิต ล้อศิริรัตน์ ที่จะมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินคนละ 35,503.42 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปีของเงินต้นดังกล่าวนับแต่ถูกกระทำละเมิด คือวันที่ 24 พ.ค. 54 ที่ ผอ.เขตหลักสี่มีคำสั่งให้โครงการฯ ระงับการก่อสร้าง จนถึงวันที่ 2 ส.ค. 54 ที่มีการฟ้องคดีรวม 70 วัน
วันนี้ (13 ก.พ.) ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาสั่งให้กรุงเทพมหานครชดใช้ค่าเสียหาย 7 ชาวบ้านย่านงามวงศ์วาน รายละ 35,503 บาท ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน หลังปล่อยให้โครงการอาคารชุดแอสปาย คอนโดมิเนียม งามวงศ์วาน ก่อสร้างโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสั่งให้ผอ.เขตหลักสี่ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ควบคุมการก่อสร้างโครงการให้เป็นไปตามกฎหมาย
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องมาจากสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนพร้อมพวกรวม 39 ราย ซึ่งเป็นผู้พักอาศัยอยู่ในซอยชัยเกียรติ 1 และซอยชินเขต ใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้างโครงการอาคารชุดแอสปาย คอนโดมิเนียม งามวงศ์วาน ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการเขตหลักสี่ สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บริษัท เดอะแวลู พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เจ้าของโครงการฯ คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และการบริการชุมชน เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1-6 ขอให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดดังกล่าว หรือสั่งให้แก้ไขปรับปรุงแบบแปลน ลดจำนวนชั้น มิให้กีดกั้นทิศทางลม แสงอาทิตย์ และมีระยะถอนร่อน เพื่อป้องกันปัญหาอัคคีภัย แผ่นดินไหว ให้เกิดความปลอดภัยกับผู้อาศัยข้างเคียง เพิกถอนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเนื่องจากไมได้รับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินและจิตใจเป็นเงินวันละ 2,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 2 มี.ค. 54 ที่มีการเริ่มก่อสร้างโครงการ
ส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาดังกล่าวระบุว่า โครงการดังกล่าว ประกอบด้วยอาคารจำนวน 3 ทาวเวอร์ แบ่งเป็นอาคารพักอาศัยทาวเวอร์เอ สูง 28 ชั้น อาคารพักอาศัยทาวเวอร์บีสูง 28 ชั้น และอาคารจดรถยนต์ทาวเวอร์ซี สูง 9 ชั้น มีห้องพักอาศัยรวม 1458 ห้อง และห้องประกอบพานิชยกรรม 6 ห้อง ที่จอดรถยนต์จำนวน 491 คัน จักรยานยนต์ 85 คัน มีพื้นที่อาคารรวม 68,488.90 ตารางเมตร ได้มอบหมายให้บริษัทอีโคซีสเต็ม เอ็นจีเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด จัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ ได้ตรวจสอบและพิจารณาให้ความเห็นชอบเมื่อ 20 ธ.ค. 53 เมื่อพิจารณารายงานดังกล่าวแล้วพบว่าจัดทำขึ้นโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านต่างๆ อย่างครบถ้วนแล้วและได้ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตอบแบบสอบถามในบริเวณพื้นที่โครงการและพื้นที่ที่อาจะได้รับผลกระทบจากโครงการทั้งทางตรงทางอ้อม จึงเป็นรายงานที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
อย่างไรก็ตาม จากข้อเท็จจริงพบว่า เมื่อเริ่มมีการก่อสร้างเจาะเสาเข็มเพื่อวางรากฐานของอาคารในเดือน เม.ย. 54 การดำเนินการของโครงการก่อให้เกิดกลิ่นเหม็นรำคาญ เสียงดัง มีแรงสั่นสะเทือนโดยมีการก่อสร้างในเวลากลางคืนซึ่งผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องเรียนไปยังผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เมื่อมีการตรวจสอบพบว่า โครงการ ไม่ปฎิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและแผนการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความเห็นชอบมา อีกทั้งในเวลาต่อมายังพบว่าโครงการมีการฝ่าฝืนคำสั่งผอ.เขตหลักสี่ที่มีหนังสือ ให้ระงับการก่อสร้างอาคารหลายครั้งโดยไม่ปรากฎว่าผอ.เขตหลักสี่ ได้มีการแจ้งความดำเนินคดีหรือดำเนินการใดกับโครงการหรือผู้เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่
ภายหลังจากที่มีการยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองแล้วเมื่อ 2 ส.ค. 54 ผอ.เขตหลักสี่จึงเพิ่งไปแจ้งความดำเนินคดีในฐานฝ่าฝืนคำสั่งระงับการก่อสร้าง แต่ไมได้แจ้งความดำเนินคดีอาญาวิศวกร และสถาปนิกผู้คุมงาน อันจะเป็นมาตรการรุนแรงขึ้นเพื่อให้คำสั่งระงับการก่อสร้างของ ผอ.เขตหลักสี่สัมฤทธิผล จึงถือว่าได้ว่า ผอ.เขตหลักสี่ละเลยต่อกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่กำหนดให้ต้องปฏิบัติ ซึ่งหากเมื่อมีการร้องเรียนแล้วผอ.เขตหลักสี่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ความเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับก็จะไม่เกิดขึ้น จึงถือว่าความเสียหายของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นความเสียหายโดยตรงจากการที่ผอ.เขตหลักสี่ ละเลยต่อหน้าที่ไม่ใช้มาตรการทางกฎหมายรุนแรงยิ่งขึ้นกับโครงการที่กระทำการก่อสร้างอาคารฝ่าฝืนกฎหมาย แม้ความเสียหายนั้นจะกิดจากการกระทำของโครงการด้วยก็ตาม แต่ผอ.เขตหลักสี่ยังต้องรับผิดในส่วนตน จึงต้องดำเนินการแก้ไขความเสียหายโดยกำกับดูแลและควบคุมการก่อสร้างอาคารของโครงการดังกล่าวให้เป็นไปตามกฎหมาย และกรุงเทพมหานครต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีตามมาตรา 240 ประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ ประกอบมาตรา 5 พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 2539
ค่าชดใช้ความเสียหายนั้น ศาลเห็นว่า ขั้นตอนการก่อสร้างอาคารมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญด้านร่างกาย และจิตใจ แต่ผู้ฟ้องคดีไมได้ระบุรายละเอียดพยานหลักฐานค่าเสียหายไว้อย่างชัดเจน จึงกำหนดค่าเสียหายตามคำขอให้ผู้ฟ้องคดีวันละ 500 บาทต่อเดือน ซึ่งเมื่อหักผู้ฟ้องคดีที่ไมได้ยื่นคำขอในข้อหานี้และผู้ฟ้องคดีที่ศาลอนุญาตให้ถอนคำฟ้อง คงเหลือผู้ฟ้องคดีรวม 7 ราย ประกอบด้วย นายกิตติพงษ์ ธรรมกุล นางเบญจวรรณ พูลเจริญ นางปานเดือน ฤทธาภิรมย์ นายสุกิจ กอบกิจชัยสงค์ นางผัสพร วิมุกตานนท์ นายกัญญาณัฐ ตุโสตร นายโฆสิต ล้อศิริรัตน์ ที่จะมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินคนละ 35,503.42 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7 ต่อปีของเงินต้นดังกล่าวนับแต่ถูกกระทำละเมิด คือวันที่ 24 พ.ค. 54 ที่ ผอ.เขตหลักสี่มีคำสั่งให้โครงการฯ ระงับการก่อสร้าง จนถึงวันที่ 2 ส.ค. 54 ที่มีการฟ้องคดีรวม 70 วัน