เป็นคดีที่น่าสนใจทีเดียวครับ... สำหรับกรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้นให้ผู้อำนวยการเขตปทุมวันและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ให้เจ้าของอาคารขนาดใหญ่ 2 หลังในซอยร่วมฤดี รื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยผิดกฎหมาย ภายใน 60 วัน
สิ้นเสียงแห่งคำพิพากษา... เสียงเฮของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในซอยร่วมฤดีก็ดังลั่นขึ้น....
คดีนี้จึงเป็นบรรทัดฐานสำคัญเกี่ยวกับก่อสร้างอาคารสูงใหญ่ในเขตชุมชนเมือง และเป็นกรณีศึกษาที่ให้บทเรียนแก่หลายฝ่าย ในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม และการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการอยู่ร่วมกันภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียม
คดีนี้สืบเนื่องจาก บริษัท เอ และ บริษัท บี (ผู้ร้องสอดในคดี) ประสงค์จะก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ โดยหลังแรกเป็นอาคารสูง 18 ชั้น (78 ห้อง) พื้นที่รวม 29,502 ตารางเมตร ส่วนหลังที่สองสูง 24 ชั้น (76 ห้อง) พื้นที่รวม 28,987 ตารางเมตร ทั้งสองบริษัทจึงได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการเขตขอให้ตรวจสอบความกว้างของซอย ซึ่งต่อมาได้มีการแจ้งผลการตรวจสอบว่าเขตถนนซอยร่วมฤดีมีความกว้าง 10.00 เมตร ผิวจราจรกว้าง 7.50 เมตรตลอดแนว บริษัทดังกล่าวจึงได้ยื่นแจ้งความประสงค์ต่อสำนักการโยธา โดยใช้หนังสือรับรองของสำนักงานเขตเป็นเอกสารประกอบ และได้รับใบแจ้งตามแบบ กทม.6 จึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่พิพาท
ต่อมาประชาชนผู้อยู่อาศัยในซอยร่วมฤดีได้มีหนังสือร้องเรียนไปยังผู้อำนวยการเขตและผู้ว่าราชการจังหวัดขอให้ตรวจสอบความกว้างของซอยร่วมฤดี 1 และซอยร่วมฤดี 2 อันเป็นที่ตั้งของอาคารทั้งสองหลัง รวมทั้งได้มีหนังสือไปถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนสำนักการโยธาเพื่อขอให้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวด้วย เพราะเห็นว่าความกว้างของซอยน่าจะไม่ถึง 10 เมตร ตลอดแนวตามที่สำนักงานเขตได้รับรอง อันไม่สามารถสร้างตึกขนาดใหญ่ได้
เนื่องจากอาคารทั้งสองหลังดังกล่าวซึ่งเป็นอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการโดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ถือเป็นอาคารใหญ่พิเศษตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และตามข้อ 1 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยข้อ 2 ของกฎกระทรวงฉบับเดียวกัน ได้กำหนดให้ลักษณะที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของอาคารสูงหรืออาคารที่มีขนาดใหญ่พิเศษที่มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร ต้องติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร
จากนั้นผู้อำนวยการเขตได้มีหนังสือถึงผู้ร้องเรียนและสำนักการโยธาแจ้งผลการตรวจสอบความกว้างของถนนดังกล่าวว่าตามเอกสารหลักฐานทะเบียนคุมที่สาธารณะที่สำนักงานเขตใช้อยู่นั้น ซอยร่วมฤดีมีความกว้างของเขตทาง 10.00 เมตร โดยตลอดซอยมีความกว้างไม่แน่นอน จากการวัดตามจริงมีเขตทางกว้าง 7.80 เมตร - 10.40 เมตร สำนักการโยธาจึงมีหนังสือถึงบริษัททั้งสอง ให้พิจารณาทบทวนการก่อสร้างเนื่องจากเป็นอาคารที่ขัดกับข้อ 2 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535)ฯ
บริษัททั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ข้อทักท้วงซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีมติไม่รับอุทธรณ์ และสำนักการโยธาได้มีหนังสือแจ้งผู้อำนวยการเขตว่าอาคารทั้งสองหลังขัดกับกฎกระทรวงฉบับที่ 33ฯ และให้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในมาตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 42 และมาตรา 43 ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ แล้วแต่กรณี (คือให้มีการสั่งระงับการก่อสร้างและให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือหากกรณีแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ก็ให้ดำเนินการรื้อถอน)
เมื่อผู้อำนวยการเขตและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมิได้ดำเนินการใดๆ ผู้ร้องเรียนจึงนำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลปกครอง โดยศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาประเด็นเกี่ยวกับความเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง (ผู้อำนวยการเขตและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายควบคุมอาคาร ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ดำเนินการใดๆ กับอาคารที่พิพาทซึ่งก่อสร้างโดยผิดกฎหมาย เมื่อผู้ฟ้องคดีเป็นผู้พักอาศัยอยู่ในอาคารชุดที่ตั้งอยู่ในซอยร่วมฤดี และผู้ฟ้องคดีบางรายเป็นเจ้าของอาคารหรือมีที่ดินอยู่ในซอยดังกล่าวโดยแม้บางรายจะมีทรัพย์สินอยู่หลายพื้นที่ก็ตาม แต่เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งหมดเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารชุด หรืออาคารและที่ดินในซอยร่วมฤดี จึงต้องใช้ถนนในซอยร่วมฤดีเป็นทางสัญจรเข้าออก ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการจราจร ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินกรณีเกิดอัคคีภัย จึงถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จากการงดเว้นการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดี อันเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ตามมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ
ประเด็นต่อมา ระยะเวลาในการฟ้องคดี ซึ่งมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกัน กำหนดให้ การฟ้องคดีจะต้องยื่นฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจงที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าไม่มีเหตุผล แล้วแต่กรณี
โดยกรณีนี้ ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอความเป็นธรรมถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2550 ภายหลังจากที่ได้รับหนังสือชี้แจงจากผู้อำนวยการเขตและสำนักการโยธา กรณีจึงถือว่าผู้ฟ้องคดีรู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีอย่างช้า วันที่ 11 ธันวาคม 2550 คือวันที่มีหนังสือขอความเป็นธรรมต่อนายกรัฐมนตรี การนำคดีมาฟ้องต่อศาลในวันที่ 17 กันยายน 2551 จึงเป็นการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 49 ดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นผู้ฟ้องคดีก็ยังคงมีหนังสือร้องเรียนอีกหลายฉบับ และผู้ถูกฟ้องคดีก็ยังมิได้ดำเนินการใดๆ กรณีจึงถือว่าผู้ถูกฟ้องคดียังคงละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ประกอบกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีตามคำฟ้องจะส่งผลให้ประชาชนส่วนรวมได้รับประโยชน์ คดีนี้จึงเป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม อันเป็นข้อยกเว้นที่ศาลสามารถรับคำฟ้องไว้พิจารณาได้แม้จะพ้นเวลาการฟ้องคดี (มาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ)
สำหรับประเด็นเนื้อหาของคดีนั้น ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยวางหลักว่า เมื่อคดีนี้เกิดประเด็นโต้แย้งเรื่องความกว้างของถนน ซึ่งเป็นที่ดินที่เกิดจากการอุทิศให้จากประชาชนหลายรายและมีข้อมูลหลักฐานเรื่องความกว้างของถนนที่ปรากฏไม่ตรงกัน ผู้อำนวยการเขตจึงมีหน้าที่ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงตามความเหมาะสมในเรื่องนั้นๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนเสียก่อน (ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ประกอบมาตรา 29 ซึ่งกำหนดว่า เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่ตนเห็นว่าจำเป็นแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริง โดยแสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องรวมถึงการออกไปตรวจสถานที่) มิใช่เพียงยืนยันข้อมูลตามทะเบียนข้อมูลของตน เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมิได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับความกว้างที่แท้จริงของถนน จึงถือว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ไม่ดำเนินการตรวจสอบที่สาธารณะตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ฯ และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครฯ
อีกทั้งเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากการรังวัดเขตทางซอยร่วมฤดีเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2553 ตามที่ศาลได้มีคำสั่งให้กรมที่ดินมอบหมายเจ้าหน้าที่ไปรังวัดทางดังกล่าวบริเวณ 8 จุด ร่วมกับคู่กรณีทุกฝ่าย ซึ่งปรากฏว่ามีเขตทางกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ฉะนั้นการก่อสร้างอาคารทั้งสองหลังดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 42 และมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ดำเนินการกับเจ้าของอาคาร จึงถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ภายใน 60 วัน (คดีหมายเลขแดงที่ อ.588/2557)
คดีนี้... ศาลปกครองได้วินิจฉัยเกี่ยวกับความเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายไว้ค่อนข้างกว้าง กล่าวคือ ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในอาคารในซอย รวมไปถึงผู้เป็นเจ้าของอาคารและที่ดินในซอย ซึ่งแม้ผู้ฟ้องคดีบางรายจะมีทรัพย์สินอยู่หลายพื้นที่ก็ตาม ถือว่าเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายเนื่องจากต้องใช้ซอยดังกล่าวในการสัญจรอันกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการฟ้องคดีลักษณะนี้ถือเป็นคดีที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม เมื่อผู้ถูกฟ้องคดียังละเลยต่อหน้าที่และความเดือดร้อนเสียหายยังไม่ได้รับการแก้ไข ศาลจึงรับฟ้องได้แม้จะพ้นระยะเวลาการฟ้องคดีแล้ว
ที่สำคัญ... คดีนี้เป็นบทเรียนที่ควรต้องตระหนักอย่างยิ่งสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีอำนาจหน้าที่ แต่กลับไม่ดำเนินการตามกฎหมาย มีการออกใบรับรองความกว้างของเขตทางไม่ตรงตามข้อเท็จจริงโดยไม่ตรวจสอบให้รอบคอบ และยังปล่อยให้มีการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จ อันเป็นสิ่งที่สังคมต่างตั้งคำถาม นอกจากนี้ยังเป็นบทเรียนสำหรับฝ่ายเอกชนเจ้าของอาคารที่ดึงดันก่อสร้างทั้งที่ทราบว่าอาจเสียงต่อการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จนสุดท้ายถูกศาลปกครองสั่งให้ต้องรื้อถอน งานนี้เรียกได้ว่า... ตึกถล่มไปภายในพริบตากันเลยทีเดียวละครับ !
ครองธรรม ธรรมรัฐ
สิ้นเสียงแห่งคำพิพากษา... เสียงเฮของผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในซอยร่วมฤดีก็ดังลั่นขึ้น....
คดีนี้จึงเป็นบรรทัดฐานสำคัญเกี่ยวกับก่อสร้างอาคารสูงใหญ่ในเขตชุมชนเมือง และเป็นกรณีศึกษาที่ให้บทเรียนแก่หลายฝ่าย ในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม และการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการอยู่ร่วมกันภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียม
คดีนี้สืบเนื่องจาก บริษัท เอ และ บริษัท บี (ผู้ร้องสอดในคดี) ประสงค์จะก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ โดยหลังแรกเป็นอาคารสูง 18 ชั้น (78 ห้อง) พื้นที่รวม 29,502 ตารางเมตร ส่วนหลังที่สองสูง 24 ชั้น (76 ห้อง) พื้นที่รวม 28,987 ตารางเมตร ทั้งสองบริษัทจึงได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการเขตขอให้ตรวจสอบความกว้างของซอย ซึ่งต่อมาได้มีการแจ้งผลการตรวจสอบว่าเขตถนนซอยร่วมฤดีมีความกว้าง 10.00 เมตร ผิวจราจรกว้าง 7.50 เมตรตลอดแนว บริษัทดังกล่าวจึงได้ยื่นแจ้งความประสงค์ต่อสำนักการโยธา โดยใช้หนังสือรับรองของสำนักงานเขตเป็นเอกสารประกอบ และได้รับใบแจ้งตามแบบ กทม.6 จึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่พิพาท
ต่อมาประชาชนผู้อยู่อาศัยในซอยร่วมฤดีได้มีหนังสือร้องเรียนไปยังผู้อำนวยการเขตและผู้ว่าราชการจังหวัดขอให้ตรวจสอบความกว้างของซอยร่วมฤดี 1 และซอยร่วมฤดี 2 อันเป็นที่ตั้งของอาคารทั้งสองหลัง รวมทั้งได้มีหนังสือไปถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตลอดจนสำนักการโยธาเพื่อขอให้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวด้วย เพราะเห็นว่าความกว้างของซอยน่าจะไม่ถึง 10 เมตร ตลอดแนวตามที่สำนักงานเขตได้รับรอง อันไม่สามารถสร้างตึกขนาดใหญ่ได้
เนื่องจากอาคารทั้งสองหลังดังกล่าวซึ่งเป็นอาคารที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการโดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป ถือเป็นอาคารใหญ่พิเศษตามความในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และตามข้อ 1 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยข้อ 2 ของกฎกระทรวงฉบับเดียวกัน ได้กำหนดให้ลักษณะที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของอาคารสูงหรืออาคารที่มีขนาดใหญ่พิเศษที่มีพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร ต้องติดถนนสาธารณะที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร ยาวต่อเนื่องกันโดยตลอดจนไปเชื่อมต่อกับถนนสาธารณะอื่นที่มีเขตทางกว้างไม่น้อยกว่า 10.00 เมตร
จากนั้นผู้อำนวยการเขตได้มีหนังสือถึงผู้ร้องเรียนและสำนักการโยธาแจ้งผลการตรวจสอบความกว้างของถนนดังกล่าวว่าตามเอกสารหลักฐานทะเบียนคุมที่สาธารณะที่สำนักงานเขตใช้อยู่นั้น ซอยร่วมฤดีมีความกว้างของเขตทาง 10.00 เมตร โดยตลอดซอยมีความกว้างไม่แน่นอน จากการวัดตามจริงมีเขตทางกว้าง 7.80 เมตร - 10.40 เมตร สำนักการโยธาจึงมีหนังสือถึงบริษัททั้งสอง ให้พิจารณาทบทวนการก่อสร้างเนื่องจากเป็นอาคารที่ขัดกับข้อ 2 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535)ฯ
บริษัททั้งสองได้ยื่นอุทธรณ์ข้อทักท้วงซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีมติไม่รับอุทธรณ์ และสำนักการโยธาได้มีหนังสือแจ้งผู้อำนวยการเขตว่าอาคารทั้งสองหลังขัดกับกฎกระทรวงฉบับที่ 33ฯ และให้พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ในมาตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 42 และมาตรา 43 ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ แล้วแต่กรณี (คือให้มีการสั่งระงับการก่อสร้างและให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎหมาย หรือหากกรณีแก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้ก็ให้ดำเนินการรื้อถอน)
เมื่อผู้อำนวยการเขตและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมิได้ดำเนินการใดๆ ผู้ร้องเรียนจึงนำคดีนี้มาฟ้องต่อศาลปกครอง โดยศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาประเด็นเกี่ยวกับความเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสอง (ผู้อำนวยการเขตและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามกฎหมายควบคุมอาคาร ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ดำเนินการใดๆ กับอาคารที่พิพาทซึ่งก่อสร้างโดยผิดกฎหมาย เมื่อผู้ฟ้องคดีเป็นผู้พักอาศัยอยู่ในอาคารชุดที่ตั้งอยู่ในซอยร่วมฤดี และผู้ฟ้องคดีบางรายเป็นเจ้าของอาคารหรือมีที่ดินอยู่ในซอยดังกล่าวโดยแม้บางรายจะมีทรัพย์สินอยู่หลายพื้นที่ก็ตาม แต่เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งหมดเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารชุด หรืออาคารและที่ดินในซอยร่วมฤดี จึงต้องใช้ถนนในซอยร่วมฤดีเป็นทางสัญจรเข้าออก ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อการจราจร ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินกรณีเกิดอัคคีภัย จึงถือว่าเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ จากการงดเว้นการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดี อันเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ตามมาตรา 42 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ
ประเด็นต่อมา ระยะเวลาในการฟ้องคดี ซึ่งมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ.เดียวกัน กำหนดให้ การฟ้องคดีจะต้องยื่นฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดี หรือนับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอต่อหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและไม่ได้รับหนังสือชี้แจงจากหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือได้รับแต่เป็นคำชี้แจงที่ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าไม่มีเหตุผล แล้วแต่กรณี
โดยกรณีนี้ ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องขอความเป็นธรรมถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 11 ธันวาคม 2550 ภายหลังจากที่ได้รับหนังสือชี้แจงจากผู้อำนวยการเขตและสำนักการโยธา กรณีจึงถือว่าผู้ฟ้องคดีรู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีอย่างช้า วันที่ 11 ธันวาคม 2550 คือวันที่มีหนังสือขอความเป็นธรรมต่อนายกรัฐมนตรี การนำคดีมาฟ้องต่อศาลในวันที่ 17 กันยายน 2551 จึงเป็นการฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 49 ดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นผู้ฟ้องคดีก็ยังคงมีหนังสือร้องเรียนอีกหลายฉบับ และผู้ถูกฟ้องคดีก็ยังมิได้ดำเนินการใดๆ กรณีจึงถือว่าผู้ถูกฟ้องคดียังคงละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย ประกอบกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีตามคำฟ้องจะส่งผลให้ประชาชนส่วนรวมได้รับประโยชน์ คดีนี้จึงเป็นการฟ้องเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม อันเป็นข้อยกเว้นที่ศาลสามารถรับคำฟ้องไว้พิจารณาได้แม้จะพ้นเวลาการฟ้องคดี (มาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองฯ)
สำหรับประเด็นเนื้อหาของคดีนั้น ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยวางหลักว่า เมื่อคดีนี้เกิดประเด็นโต้แย้งเรื่องความกว้างของถนน ซึ่งเป็นที่ดินที่เกิดจากการอุทิศให้จากประชาชนหลายรายและมีข้อมูลหลักฐานเรื่องความกว้างของถนนที่ปรากฏไม่ตรงกัน ผู้อำนวยการเขตจึงมีหน้าที่ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงตามความเหมาะสมในเรื่องนั้นๆ เพื่อให้เกิดความชัดเจนเสียก่อน (ตามมาตรา 28 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ประกอบมาตรา 29 ซึ่งกำหนดว่า เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่ตนเห็นว่าจำเป็นแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริง โดยแสวงหาพยานหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องรวมถึงการออกไปตรวจสถานที่) มิใช่เพียงยืนยันข้อมูลตามทะเบียนข้อมูลของตน เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองมิได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับความกว้างที่แท้จริงของถนน จึงถือว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ไม่ดำเนินการตรวจสอบที่สาธารณะตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ฯ และ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครฯ
อีกทั้งเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงจากการรังวัดเขตทางซอยร่วมฤดีเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2553 ตามที่ศาลได้มีคำสั่งให้กรมที่ดินมอบหมายเจ้าหน้าที่ไปรังวัดทางดังกล่าวบริเวณ 8 จุด ร่วมกับคู่กรณีทุกฝ่าย ซึ่งปรากฏว่ามีเขตทางกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ฉะนั้นการก่อสร้างอาคารทั้งสองหลังดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 40 มาตรา 41 มาตรา 42 และมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ดำเนินการกับเจ้าของอาคาร จึงถือว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ภายใน 60 วัน (คดีหมายเลขแดงที่ อ.588/2557)
คดีนี้... ศาลปกครองได้วินิจฉัยเกี่ยวกับความเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายไว้ค่อนข้างกว้าง กล่าวคือ ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในอาคารในซอย รวมไปถึงผู้เป็นเจ้าของอาคารและที่ดินในซอย ซึ่งแม้ผู้ฟ้องคดีบางรายจะมีทรัพย์สินอยู่หลายพื้นที่ก็ตาม ถือว่าเป็นผู้เดือดร้อนเสียหายเนื่องจากต้องใช้ซอยดังกล่าวในการสัญจรอันกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และการฟ้องคดีลักษณะนี้ถือเป็นคดีที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม เมื่อผู้ถูกฟ้องคดียังละเลยต่อหน้าที่และความเดือดร้อนเสียหายยังไม่ได้รับการแก้ไข ศาลจึงรับฟ้องได้แม้จะพ้นระยะเวลาการฟ้องคดีแล้ว
ที่สำคัญ... คดีนี้เป็นบทเรียนที่ควรต้องตระหนักอย่างยิ่งสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีอำนาจหน้าที่ แต่กลับไม่ดำเนินการตามกฎหมาย มีการออกใบรับรองความกว้างของเขตทางไม่ตรงตามข้อเท็จจริงโดยไม่ตรวจสอบให้รอบคอบ และยังปล่อยให้มีการก่อสร้างอาคารจนแล้วเสร็จ อันเป็นสิ่งที่สังคมต่างตั้งคำถาม นอกจากนี้ยังเป็นบทเรียนสำหรับฝ่ายเอกชนเจ้าของอาคารที่ดึงดันก่อสร้างทั้งที่ทราบว่าอาจเสียงต่อการกระทำที่เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย จนสุดท้ายถูกศาลปกครองสั่งให้ต้องรื้อถอน งานนี้เรียกได้ว่า... ตึกถล่มไปภายในพริบตากันเลยทีเดียวละครับ !
ครองธรรม ธรรมรัฐ