xs
xsm
sm
md
lg

“บิ๊กตู่” ย้ำเดินหน้าสัมปทาน ขู่เกิดวิกฤตพลังงานพวกต้านต้องรับผิดชอบ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“ประยุทธ์” ปลอบเจ้าหน้าที่รัฐอย่าท้อเจอวิจารณ์ผ่านโซเชียล โอ่สัมพันธ์ไทย - เขมร แนบแน่นจะไม่ขัดแย้งกันอีก อ้างขึ้นราคาก๊าซ LPG ตามกลไกตลาด ปรามผู้ค้าอย่าฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า สั่งพาณิชย์คุมเข้ม ใครฝ่าฝืนเจอโทษตามกฎหมาย พร้อมย้ำเดินหน้าสัมปทานรอบใหม่ ขู่หากชะงักอาจเกิดวิกฤติพลังงาน ท้าพวกต้านลงชื่อไว้ อนาคตขาดแคลนต้องรับผิดชอบ

วันนี้ (7 พ.ย.) เมื่อเวลา 20.15 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ว่า การดำเนินงานของรัฐบาลในห้วงที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า หน่วยงานของรัฐ ข้าราชการทุกคนต้องทำงานหนักขึ้นในส่วนที่ไม่ดี คำกล่าวหาอยู่ตามโซเชียลนั้น ก็ไปว่ากันอีกที คนดีๆ ยังมีอีกเยอะมาก ให้กำลังใจเขา ทุกคนทำงานหนักขึ้น โดยความร่วมมือจากประชาชนและทุกภาคส่วน ช่วยกัน บูรณะซ่อมแซมประเทศของเรา ประกอบกับการพัฒนาที่ชะลอตัว ด้วยความไม่สงบทางการเมือง ในเมืองไทย ตนคิดว่าเกิน 10 ปี ที่ทำให้มีปัญหามาโดยตลอด ต้องขอขอบคุณ และขอความร่วมมือต่อไปอีก ขอให้ทุกคนจดจำไว้ เราเสียกรุงมาแล้ว 2 ครั้ง ก็เนื่องจากการขาดความสามัคคีของคนในชาติ วันนี้ถ้าเรายังมีความขัดแย้งกันอยู่ ไม่มีการปรองดอง ไม่ไว้ใจกัน ประเทศก็จะเหมือนคนป่วย ไม่มีภูมิคุ้มกันจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นคอร์รัปชัน, ยาเสพติด, การก่อการร้าย

ในส่วนของผู้กระทำความผิดกฎหมายนั้นขอให้แยกเป็นประเด็นในเรื่องของการแก้ไข หรือการดำเนินการทางกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม และได้รับความพึงพอใจ อันนี้เป็นประเด็นสำคัญ คือ ถ้าเอาทุกอย่างมาปนกันหมด แก้อะไรไม่ได้สักอย่าง แล้วบ้านเมืองก็มีปัญหาหมด ผมมิได้ต้องการให้กฎหมายหรือความยุติธรรม นำไปใช้ประโยชน์ทางที่ไม่ถูกต้อง ใครผิดก็ว่ากันไป ใครถูกก็ว่าไปตามถูก

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการสร้างความเชื่อมั่น ตนได้เดินทางไปเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาเมื่อวันที่ 30 - 31 ต.ค.ที่ผ่านมา ในโอกาสนี้ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี เพื่อถวายพระพรเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 10 ปี และแสดงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานอภัยโทษให้แก่นักโทษไทยมาโดยตลอด ส่วนเรื่องที่อยากจะเน้นเนื่องจากเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญ คือ เรื่องการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย กับ กัมพูชา ซึ่งไม่ได้ผิดกฎหมายอะไรทั้งสิ้น เป็นเรื่องการทำความเข้าใจร่วมกัน เกี่ยวกับการร่วมมือทวิภาคีว่าด้วยการขจัดการค้ามนุษย์และการคุ้มครองเหยื่อของการค้ามนุษย์ เนื่องจากรัฐบาลตระหนักถึงปัญหาที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น

การเยือนครั้งนี้ยังมีการลงนามบันทึกความเข้าใจอีก 2 เรื่อง ได้แก่ ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวซึ่งเราทั้งสองประเทศนั้นก็มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ถ้าสามารถเป็นแพก็เกจ ร่วมกันได้ก็น่าจะทำ ต่างคนต่างส่งเสริมซึ่งกันและกัน และความร่วมมือในการเชื่อมต่อเครือข่ายเส้นทางรถไฟ อันนี้เป็นหลักการแนวทางที่จะต้องเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ ที่เขาเรียกว่า “คอนเน็คติวิตี” ทั้งรถไฟ ถนน การจราจร รวมทั้งการขนส่งทางอากาศด้วย วันนี้เราก็มีแผนงานที่จะต้องปรับปรุงเรื่องเส้นทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน เชื่อมต่อประชาคมอื่นๆ ด้วย อันนี้อยู่ในแผนงานของรัฐบาลในเวลานี้ ก็ขอให้มั่นใจและไว้ใจในการทำงาน ทั้ง 3 เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชากระชับแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วย เราต้องไม่มีความขัดแย้งกันอีกต่อไป

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า เมื่อต้นสัปดาห์ได้มีโอกาสต้อนรับ นายโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัยแห่งสหราชอาณาจักร โดยได้ชี้แจงถึงสถานการณ์และความคืบหน้าการดำเนินงานของรัฐบาลที่มุ่งเน้นความโปร่งใสและทันเวลาในการบริหารประเทศเพื่อเดินหน้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มั่นคงและยั่งยืน ทั้งนี้นายโทนี่ แบลร์ ได้แสดงความเข้าใจถึงปัญหาและความท้าทายที่รัฐบาลกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งท่านได้กล่าวว่าปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยนั้นหยั่งรากลึกและมีความสลับซ้อนมาก เกินกว่าที่ทุกๆ คนจะเข้าใจได้ง่าย สิ่งที่รัฐบาลไทยควรทำคือการทำให้เศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าไปได้พร้อมกับการปฏิรูปในด้านต่างๆ เช่น การศึกษา สังคม และสาธารณสุข ให้มากที่สุดภายในรัฐบาลปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการมีประชาธิปไตยที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรได้เสนอให้มีการประชาสัมพันธ์ชี้แจง รายละเอียดขั้นตอนและผลการดำเนินงานให้กับประชาคมโลกต่อเนื่องเป็นระยะๆ ซึ่งขณะนี้เราก็ให้ทั้งกระทรวง ในส่วนของรัฐบาล ก็มีการชี้แจงอย่างต่อเนื่องทั้งเอกสารและวาจา ไปยังสถานทูตทุกส่วน

ด้านเศรษฐกิจ เป็นที่ทราบกันดีว่าเศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในช่วงฟื้นตัว หลายประชาคมก็ดีขึ้น บางประชาคมก็ยังชะลอตัวอยู่ ทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยสำหรับการส่งออก ต้องเข้าใจในภาพใหญ่ก่อนว่าในปีนี้ยังไงก็ตามเราพยายามจะขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของเราเดินหน้าไปให้ได้อย่างน้อยก็อยู่ในระดับที่ไม่เกิดความเดือดร้อน ซึ่งมันพันกันทั้งในเรื่องกฎหมาย พันธะสัญญา กติกาต่างๆที่อาจจะมีการปล่อยปละละเลยกันมาเป็นเวลานาน วันนี้เราพยายามเข้าไปรื้อทุกอย่าง มันก็เลยอาจจะวุ่นวายไป อาจจะได้รับความไม่พอใจบ้าง สำหรับผู้ประกอบการ แต่ตนทำเพื่ออนาคต เพื่อจะได้ขายเขาได้ต่อไป ถ้าเราขายเขาไม่ได้จะไปขายที่ไหน อยากให้พี่น้องประชาชนทราบว่า สัญญาณการส่งออกของไทยในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นแล้ว โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 และตลาดอาเซียน ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ในส่วนของการท่องเที่ยวไทย แม้ว่าจะยังชะลอตัวอยู่ แต่จากข้อมูลยอดของการจองห้องพักล่วงหน้าในช่วงที่ผ่านมา ก็ส่งสัญญาณดีขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือน พ.ค. คาดว่า ในช่วงปลายปีนี้จนถึงต้นปีหน้า ซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประมาณการว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยทั้งปีจะมีจำนวนมากกว่า 25.5 ล้านคน ก็ขอให้พี่น้องชาวไทย ช่วยกันแสดงไมตรีจิตต่อนักท่องเที่ยวเพื่อให้เค้าประทับใจและกลับมาเที่ยวเมืองไทยหลายๆ ครั้ง

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อยากให้ทุกท่านมั่นใจว่ารัฐบาลกำลังเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ทั้งการผลักดันการใช้จ่ายงบประมาณปี 57 ที่กำลังทยอยลงไป ที่ติดขั้นตอนการใช้จ่ายงบประมาณอยู่ที่ทุกคนทราบกันแล้ว ก็เร่งรัดไปแล้ว และการเร่งกระบวนการใช้จ่ายงบปี 58 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นำเม็ดเงินสู่มือประชาชน การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม การส่งเสริมการลงทุน การสร้างแรงงานที่มีทักษะ อันเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องเตรียมพร้อมสำหรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน วางรากฐานเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ที่หลายโครงการจะเริ่มลงทุนในปีหน้า ทำให้มีผลต่อการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชน มีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นคงเป็นช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป ในไตรมาสที 4 และไตรมาสที่ 1 ของปี 58 และจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีขึ้นจากปีนี้ค่อนข้างมาก

ผมมั่นใจว่าภาวะเศรษฐกิจไทยจะคลี่คลายในปีหน้า และมีแนวโน้มที่ดีขึ้นดังที่หน่วยงานด้านเศรษฐกิจทั้งไทยและต่างประเทศคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า และหากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว รวมทั้งความร่วมแรงร่วมใจกันของรัฐประชาชนทุกคน และหน่วยงานทุกภาคส่วนหากทุกอย่างเป็นปัจจัยบวกแล้ว รวมถึงการมีเสถียรภาพของประเทศของรัฐบาล การกลับเข้าสู่ตลาดแข่งขันในเวทีโลกของเราก็ดูสดใส

“ในส่วนของการปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ลิตรละ 50 สตางค์ในเดือนนี้นั้น เป็นการปรับขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาด สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และเป็นการปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งทางรัฐบาลพยายามให้มีผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนน้อยที่สุด ทั้งนี้ผมได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ให้จัดเตรียมมาตรการดูแลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และผมต้องขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนในเรื่องนี้ด้วย โดยเฉพาะเรื่องอุปโภคบริโภค ถ้าเกิดขึ้นราคามากจนเกินไปอ้างเหตุผลการขึ้นราคาพลังงานแล้วไปบวก 5-6 บาท 10 บาท นี่ไม่ได้ ให้กระทรวงพาณิชย์ไปกำกับดูแล ไปควบคุม ถ้าใครฉวยโอกาสก็ต้องลงโทษตามกฎหมาย” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

ส่วนการแก้ไขปัญหาเกษตรกร รัฐบาลจะพยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ซึ่งก็จะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน และต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจ และแสวงหาความร่วมมืออีกระยะเวลาหนึ่ง โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ให้เงินช่วยเหลือพี่น้องชาวนาผ่านทาง ธ.ก.ส. ไปแล้วกว่า 2 พันล้านบาท ซึ่งก็จะมีการทยอยจ่ายเงินจนครบ อันนี้เป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้นเฉพาะปีนี้ สำหรับชาวสวนยางก็สบายใจได้ในส่วนของเงินช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความดือดร้อน ท่านก็ต้องอดทนรอเวลา เราก็พยายามให้ราคาผลิตผลการเกษตรนั้นสูงขึ้น เพราะมีผลมาจากนอกประเทศด้วย ข้าวเรามีจำนวนมาก ตอนนี้เราส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ราคายังไม่สูงมากนักแต่ก็ต้องพยายามต่อไป คณะรัฐมนตรี ก็ได้อนุมัติมาตรการไปแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำทะเบียนผู้มีสิทธิ์ได้รับเงิน ให้ถูกต้อง ใครที่ไม่สุจริตก็ต้องถูกลงโทษตามมาตรการทางกฎหมาย ฉะนั้น พี่น้องชาวนาก็อย่าไปฟังคำกล่าวอ้างของใครต่างๆ นานาว่าจะได้เงินก่อนเงินหลัง แล้วไปจ่ายเงินให้เขาก่อน แบ่งเงินบางส่วน เพราะรัฐบาลตั้งใจให้กับผู้ที่ทำนาจริงๆ ในส่วนของการทยอยจ่ายเงินให้กับพี่น้องชาวสวนยางในเร็วๆ ตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่ เรืองทะเบียน เรื่องต่างๆ ยังไม่เรียบร้อย มีทั้งในพื้นที่นอกพื้นที่ ผิดกฎหมาย ถูกกฎหมาย จึงช้าเพราะเหตุนี้ เพราะมีการกระทำผิดกฎหมาย เราก็ไม่อยากใช้กฎหมายมากจนเกินไปเพราะส่วนใหญ่ก็เดือดร้อน คนจนเดือดร้อน ใครมีที่มีทางก็อย่าไปขายต่อ อดทนทำต่อไป เชื่อคำแนะนำของรัฐ ถ้ารีบขายที่ขายทางให้คนอื่นไปหมด เราก็ไม่มีที่ทำกินอีก แล้วก็ไปร้องเรียนหาที่ทำกิน แล้วไปบุกรุกป่าคนรวยก็มาซื้อไปอีก

พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวถึงเรื่องพลังงาน ว่า มีอยู่หลายประเด็นที่ยังเข้าใจไม่ตรงกัน ขอเรียนว่าอยากให้ได้ข้อสรุปเสียทีว่าเราจะทำยังไง จะเดินหน้าไปอย่างไร เพราะรัฐบาลมีความรับผิดชอบจะต้องไม่ให้เกิดวิกฤติพลังงานในอนาคต ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาต้องคิดแบบนี้ว่าทำอย่างไรเราจะมีความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งมีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน ในเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน หลายคนอาจจะไม่เข้าใจ ว่าประเทศที่ไม่มีน้ำมัน แล้วทำไมมีความมั่นคงด้านพลังงาน เขามีวิธีการอื่นไง เขามีเศรษฐกิจที่ดี มีเงินเยอะ ประชากรมีรายได้สูงเขาก็ไปซื้อได้ แต่บ้านเราไม่ใช่แบบนั้น ถ้าเศรษฐกิจดี คนดีแล้ว ทำได้ แต่ถ้ายังเป็นอย่างนี้อยู่เราเป็นเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ คนมีรายได้น้อยเยอะ ปัญหาการบริหารจัดการและการกำหนดนโยบายที่จะต้องไม่ขาดความต่อเนื่อง ต้องมีความชัดเจน ในเรื่องของการลงทุนเพื่อจะหาแหล่งพลังงาน สร้างความเชื่อมั่นให้คนมาลงทุน ไม่ใช่เราก็ไม่มีเสถียรภาพ เขาก็ไม่มั่นใจในการลงทุน แล้วเราจะทำยังไงต่อไปในวันหน้า ตราบใดที่รายได้ต่อหัว รายได้ GDP ของเราก็ยังต่ำอยู่ ขณะนี้ ไม่ได้สูงเท่าเทียมกับประเทศที่มีการกล่าวอ้างว่าเขาไม่เห็นจะต้องเดือดร้อนเลยด้านพลังงาน คนละเรื่องกัน สำหรับการบริโภคในประเทศ ขาดช่วงมา 7 ปี เนื่องจากความไม่มีเสถียรภาพด้านการเมือง และปัญหาความไม่สมดุลย์ เรื่องสัดส่วนการผลิตและการนำเข้าพลังงานของประเทศ ซึ่งเราต้องนำเข้าพลังงาน มากกว่าที่เราผลิตได้เอง

โดยมูลค่าการนำเข้าพลังงานทุกประเภทมากกว่า 1.4 ล้านล้านบาทต่อปี คิดดูเอาแล้วกัน งบประมาณเรามี 2.75 ล้านล้านบาท แต่ละปีนำเข้ามา 1.4 ล้านล้าน นี่เกือบครึ่งของงบประมาณประเทศ แล้วมันสูญเสียไป ก็ต้องระมัดระวัง เทียบกับข้าว เงินจำนวนนี้ เท่ากับเราต้องขายข้าวไป 16 ปี ถึงจะได้เงินแลกกับเชื้อเพลิงที่เราซื้อมาทุกปี ก็สนับสนุนให้ทุกคนประหยัดพลังงาน ถ้าถูกมากก็ใช้กันมาก นี่ขนาดบ่นกันว่าแพง ก็ยังใช้กันเยอะเลย คราวนี้ก็ต้องไปดูเรื่องระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ดี ต้องไปดูเรื่องการขนส่งมวลชน ขสมก. รถไฟฟ้า คือมันพันกันไปหมด รัฐบาลก็มองในภาพกว้างทั้งหมด ก็ต้องแก้

วันนี้ที่บอกว่าเอาน้ำมันเข้ามาน้ำมันดิบ 85%, ถ่านหิน/ลิกไนต์ 70%, ก๊าซธรรมชาติ 20%, น้ำมันสำเร็จรูป 10% และไฟฟ้า 4% ครับ ไฟฟ้านี่คือซื้อไฟฟ้าเขาเข้ามา จะเห็นได้ว่าตัวเลขเหล่านี้ คือตัวเลขของสัดส่วนการนำเข้าพลังงาน แต่อาจจะบอกว่า ก๊าซ 20% แต่ 20% นั้นเอาไปใช้อะไรบ้างแล้วที่เอาไปใช้นี่ ถูกที่ อาจจะไม่จำเป็น หรือราคาบิดเบือน ก็ทำให้ใช้มากขึ้น เอาไปเผาสร้างพลังงานไฟฟ้าบ้าง ต้องปรับเปลี่ยนทั้งหมด สัดส่วนการใช้พลังงาน โรงไฟฟ้าจะต้องมี แก๊ส มีลม มีแสงแดด ตอนนี้ทำแผนพลังงานใหม่หมด ก็ต้องช่วยกัน

ปริมาณก๊าซธรรมชาติ แม้ว่าปัจจุบันเราเคยผลิตได้เอง 80% นำเข้าอีก 20% แต่อีก 8 ปีข้างหน้า หากเราไม่มีการลงทุน ผมไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่มีอะไรเลย เดี๋ยวก็ขุดหา สำรวจ เดี๋ยวก็เจอ ถ้าเราไม่มีการลงทุนล่วงหน้าไม่ทันการณ์ ถึงแม้ว่าจะมีบางบ่อ บางแหล่งยังอยู่แต่ก็น้อยลง น้อยลง แล้วในระหว่างที่การลงทุนใหม่ยังไม่เกิด แล้วถ้ามันหมด แล้วจะยังไง มันไม่ได้หมดพร้อมกันอยู่แล้ว มี 2 กลุ่ม ถ้ากลุ่มหนึ่งหมดก่อน ก็หาทางสำรวจให้ได้ กลุ่มที่ 2 กำลังใกล้จะหมด อีกไม่กี่ปี แต่ต้องดูว่าทั้งหมดนี่ จะหมดทั้งประเทศไทยเมื่อไหร่ ไปหาข้อมูลให้ชัดเจนกันมา ไม่เช่นนั้นเราก็จะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติ 100% ถ้า 100% นำเข้ามาราคาก็สูงมากกว่านี้อีก ก็มีผลกระทบไปถึงการประกอบการ ไฟฟ้า ประปา เพราะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งสิ้น ใช้แก๊สตอนนี้ ก็ต้องปรับเปลี่ยนโรงไฟฟ้า จากโรงงานใช้แก๊ส สร้างพลังงานไปหมุนมอเตอร์ เย็นเนอเรเตอร์ ก็ต้องเปลี่ยนจากก๊าซ มาเป็นถ่านหินได้ไหม? ถ่านหินก็บอกว่ามีอันตราย ก็ไปหาว่าถ่านหินไหนไม่มีอันตราย หรือโรงงาน เครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือมีตรงไหนที่ทำให้ลดอันตรายไปได้ ถ้าอะไรก็ไม่ได้เลยสักอย่างแล้วผมถามว่าจะเอาพลังงาน มาจากไหน เอาไฟฟ้ามาจากไหน ผมไม่รู้เหมือนกันนะ ก็ช่วยไปคิดกันมาด้วยนะ

"ในการสำรวจพบปิโตเลียมนั้น ตามข้อมูลพื้นฐานก็พอมีอยู่นะครับ พอทราบได้จากดาวเทียม จากเครื่องมือสำรวจบ้าง แต่เจาะไปจะลึกขนาดไหน ไม่รู้ จะเจอหรือเปล่าก็ไม่รู้ ต้องเสี่ยงกันเอาเอง ภาคเอกชนก็ต้องเสี่ยง รัฐก็ต้องหาวิธีการที่เหมาะสมว่าจะเสี่ยงด้วยหรือเปล่า ผลประโยชน์จะพอเพียงกันไหม ก็ไปว่ากันมา วันนี้ต้องเห็นใจว่า รัฐบาลต้องเดินหน้าเรื่องนี้ควบคู่ไปด้วย กระทรวงพลังงานเขาก็ต้องรับผิดชอบ วันหน้าพอไม่มีแก๊ส ก็จะโทษกลับมาที่นี่อีก ถ้ามันเกิดขึ้นไม่ได้ ก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ใครที่ไม่เห็นด้วยก็ลงชื่อกันไว้แล้วกันว่าไม่เห็นด้วย ถ้ามันเกิดขึ้นไม่ได้นะ วันหน้าอีก 10 ปี 8 ปีถ้าเกิดปัญหาท่านต้องมารับผิดชอบด้วย” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ในการสำรวจ จนถึงผลิตใช้ ต้องการเวลาประมาณ 10 ปี เพราะต้องเตรียมเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือ ถึงแม้จะเป็นบริษัทเดิม ก็ต้องมีค่าขนย้ายเครื่องไม่เครื่องมือ หรือต้องหาเครื่องมือใหม่มา เดิมเจาะไม่เจอ ก็ต้องเจาะลึกกว่าเดิม เปลี่ยนวิธีการใหม่ อะไรใหม่ ก็ต้องลงทุนใหม่ ไม่ใช่เอื้อประโยชน์กับใครทั้งสิ้น ใครมีส่วนได้ก็เข้ามาทุกบริษัท ท่านจะเอาใครมาแข่งกับบริษัทที่ทำอยู่แล้วเดิม ก็ต้องไปหามา ไปช่วยกันเรียกมา ไม่ใช่ไปผลักเขาออกไปหมด แล้วก็บอกว่าเหลือแต่บริษัทเหล่านี้มาทำ ไม่ใช่ รัฐบาลเปิดฟรีทั้งหมด เพราะฉะนั้นต้องรีบดำเนินการสำรวจ ขอให้ทำความเข้าใจให้ดี ให้ได้แล้วกัน ก่อนที่ประเทศจะประสบวิกฤติพลังงาน สิ่งสำคัญคือประชาชนทุกท่านควรตระหนักและตื่นตัว กรณีที่มีปัญหาพลังงาน จะทำให้ธุรกิจต่างๆ เดินหน้าไม่ได้เลย เรายังไม่เข้มแข็งเพียงพอ ไม่เช่นนั้นลูกหลานไทยจะลำบากในอนาคต

ส่วนการร่างรัฐธรรมนูญ ในข้อสังเกตของตน ได้พูดกับรัฐบาลว่า ในรัฐธรรมนูญหลายฉบับที่ผ่านมา มักจะร่างขึ้นเนื่องมาจากเหตุผลหลักก็คือเพื่อจะควบคุม กำกับดูแล หรือไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง สาระใจความบางครั้งก็ทำให้เหมือนกับประชาชนมีส่วนร่วมน้อยเกินไป หรือมองไม่ออกว่าประชาชนจะได้ประโยชน์จากตรงไหน
ตนได้พูดใน ครม. ว่า ให้ช่วยกันดูว่าจะทำยังไง เพราะเรามีการตั้งคณะกรรมการ ติดตามอยู่แล้วในเรื่องนี้ ว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมได้ตรงไหนแล้วก็ผลประโยชน์มากหรือน้อย ทุกอย่างถ้าเรามีศูนย์กลางอยู่ที่ประชาชน ทุกงานทุกกระทรวง ประชาชนคือศูนย์กลางก็จะคิดออกหมด ไม่ใช่เอาเรื่องความขัดแย้ง ไม่ใช่เอามาเพื่อมีการต่อสู้กันอีกในวันหน้า ปัญหาส่วนใหญ่ก็มาจากกฎหมาย มาจากรัฐธรรมนูญ วันนี้ก็ต้องยอมรับกันว่าเป็นกติกา แล้วเดินต่อไป

ไม่อยากให้เกิดการโต้แย้งกันอีกในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ วันนี้ยังไม่เห็นสักบรรทัดเลย วันนี้ก็มาคาดการณ์อย่างโน้นอย่างนี้ ตนก็ตอบท่านไม่ได้เหมือนกันว่าจะอกมาอย่างไร เพราะงั้น อย่าเอามาต่อสู้ผิดถูกกันเลย ตอนนี้ เอาประชาชนเป็นศูนย์กลางดีกว่า ต่อไปก็ดูว่าเราจะทำให้เกิดความเป็นธรรมอย่างไร โปร่งใสอย่างไร มีประสิทธิภาพ ย้อนกลับไปที่กระบวนการบริหาร ถ้าปลายทางของรัฐธรรมนูญ ปลายทางของกฎหมาย ดูว่าประชาชน ย้อนกลับไปที่กระบวนการจะมาอย่างไร คนใช้สู่อำนาจจะเป็นยังไงผมว่าอย่างนั้นจะดีกว่า อันนี้คือหลักการ จะผิดหรือถูกผมไม่รู้ แต่ตนคิดแบบนี้ แล้วไม่ได้ให้ใครคิดตามด้วย ถ้าใครคิดว่าไม่ใช่ก็บอกมา

พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไปแล้ รัฐบาลและ คสช. ก็ได้เร่งผลักดันการจัดทำรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่มีอยู่ ได้มีการอนุมัติรายชื่อกรรมาธิการฯ ในส่วนของคณะรัฐมนตรี และ คสช. ไปแล้ว ในการประชุมร่วม ครม.- คสช. เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เมื่อวันอังคาร ครั้งที่ 2 ได้พูดคุยกันหลายเรื่องหลายประเด็นในเรื่องของ งาน 3 งาน การบริหาราชาการแผ่นดิน งานปฏิรูป งานรักษาความสงบเรียบร้อย ก็มีหลายเรื่องที่มีการพูดคุย ระหว่าง คสช. และ ครม. ก็ไม่ได้ทับซ้อนอำนาจกันอะไรที่ คสช. ช่วยได้ คสช. ก็จะช่วยเต็มที่ภายในกรอบของกฎหมาย และอำนาจที่มีอยู่ ถูกต้อง และชอบธรรม

ในส่วนของการรับฟังความคิดเห็นขอ สปช.นั้น ก็คือตามกรอบที่ กำหนดไว้แล้วเดิม ก็มีการตั้งมา รับฟังความคิดเห็นอีกครับ แล้วจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ รัฐธรรมนูญนี่ต้องแล้วเสร็จภายใน 120 วัน เพราะฉะนั้น หลังจากนั้น ในระหว่างนี้ มีการรับฟังมาตลอดทุกช่องทาง แต่ไปทำที่อื่นมาก็ค่อนข้างจะลำบากนะ เพราะช่องทางมันไม่ใช่ ก็พยายามเข้าหาช่องทางแล้วกัน

ทราบทุกคนมีความคิดเห็นแล้วทุกคนก็มีส่วนเข้าไปเป็น สปช. ก็มี เพราะงั้นเข้าไปทั้งหมดไม่ได้ เมื่อไม่ได้ก็ต้องหาช่องทางให้ ถ้าพูดข้างนอก กับข้างในไม่ตรงกันเลย แล้วจะฟังอันไหน? พอข้างในตัดสินมาอย่างนี้ ข้างนอกก็ไม่รับ ผมว่าท่านต้องไปคุยกันมาให้ได้ ต้องรวมกันให้ได้ เข้าใจว่าทุกท่านตั้งใจ มีแนวคิดที่ดี แต่อย่าลืมว่ากรรมการร่างรัฐธรรมนูญนี่ จะบอกว่าทำไมไม่ได้เข้ามาก็มีกฎหมายอยู่ข้อเขียนไว้ว่า ถ้าเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญนี้ เข้าเล่นการเมืองไม่ได้ 2 ปี นี่ไง เขาถึงไม่เข้ามากัน คราวนี้ก็ไปพูดกันอยู่ข้างนอกพอสมควร ก็ไปดูข้อเท็จจริงด้วยว่าเป็นอะไร เป็นเพราะอะไร ตนไม่ได้ไปปิดกั้นใครทั้งสิ้นอยากให้เข้ามาทุกพวกทุกฝ่าย แต่เป็นประเด็นของการเมืองต่อไปในอนาคตอีก 2 ปี

ตนเข้าใจในเรื่องนี้ ก็จะหาทางให้มีส่วนร่วมให้มากที่สุด ต่อไปในเรื่องของการให้ สปช. ที่เรียนไปแล้วว่าเราตั้ง มีทั้งที่ปรึกษา มีทั้ง 2 - 3 อันนะ ตามของ กอ.รมน. บ้าง ตามของท่านปลัดกลาโหมก็ทำไปตามนั้น ชี้แจง กกต. ก็ชี้แจงไป มีข้อเสนออะไรก็เสนอมา

คำต่อคำ : รายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" วันที่ 7 พ.ย. 2557

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้กล่าวถึงลุงสอิ้ง หาญประโคน ที่แสดงออกถึงความจงรักภักดี โดยการวิ่งและเดินเท้า มาถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอให้ทรงหายจากพระอาการประชวร ที่โรงพยาบาลศิริราช สัปดาห์นี้ก็มีเยาวชนรุ่นใหม่ 2 ท่าน คือ นายอังกูร ธนภาณุวงศ์ และนายฐานิศ จันทร์คำ ชาวอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งก็แสดงออกดีๆในลักษณะเดียวกัน เป็นการทำตามความฝันที่ว่า “วันหนึ่งจะปั่นจักรยานไปถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ”บนเส้นทางสายฝัน (หลังสวน - รพ.ศิริราช) ระยะทาง 529 กม.
“ผมมองว่าปรากฎการณ์นี้เป็นสิ่งที่น่ายินดีของสังคมไทย ที่เยาวชนรุ่นใหม่ก็มีความจงรักภักดี ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และตระหนักว่า “พวกเราอยู่ดี กินดี มีความสุข” ได้ทุกวันนี้ ก็เป็นผลมาจากในหลวงฯ ของเรา ทรงวางรากฐานการพัฒนาประเทศให้กับพวกเขาโดยมีพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ได้เล่าขานและปลูกฝังในครอบครัวครับ

หลายส่วนราชการก็ได้ดำเนินงานตามแนวทางพระราชดำริเพื่อสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่นเดียวกันผมขอชื่นชมข้าราชการ เจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ได้กรุณาเสียสละทุ่มเททำงาน แก้ไขปัญหาของชาติ สร้างความเข้มแข็งในหน่วยงานของตนเองในส่วนของข้าราชการ อาทิ เช่นกระทรวงศึกษาธิการที่ได้ร่วมมือกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมดำเนินโครงการขยายผลการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเป็นกรณีเร่งด่วน โดยทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้นำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในรูปของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 สุพรรณบุรี มาเป็นต้นแบบ เนื่องจากนักเรียนในเขตพื้นที่ดังกล่าวมีสัมฤทธิผลทางการเรียนสูงขึ้น คะแนนสอบ NT และ O-Net เพิ่มเป็นสองเท่า และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ

ทั้งนี้จะนำไปขยายผลในโรงเรียนเป้าหมาย คือโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน จำนวน 15,369 โรงเรียนทั่วประเทศ ขณะนี้โรงเรียนเป้าหมายทั้งหมดได้เริ่มจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่สองนี้ด้วยการรับสัญญาณทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน ซึ่งเป็นโรงเรียนราษฎร์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และมีครูสอนครบทุกชั้นทุกวิชา เป็นการแก้ปัญหาให้แก่โรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดแคลนครู มีครูสอนไม่ครบชั้น ไม่ตรงวิชาเอก ได้อย่างเป็นรูปธรรม ทำให้นักเรียนในโรงเรียนเป้าหมาย 15,000 กว่าโรง จำนวนรวมทั้งสิ้นประมาณ 1 ล้าน 2 หมื่นคน ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ได้เรียนกับครูคนเดียวกันคุณภาพเดียวกันไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ใดในประเทศไทย อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เราจะแก้ปัญหาเรื่องขาดแคลนครูยกระดับมาตรฐานการสอน การเรียนในพื้นที่ที่ห่างไกลนะครับ ก็คงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ครูในพื้นที่ก็ต้องนำมาประยุกต์ นำมาเพิ่มเติมให้นะครับ ซึ่งโครงการนี้นับเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 5 ธันวาคม 2557 นี้ด้วย

สำหรับการดำเนินงานของรัฐบาลในห้วงที่ผ่านมา ก็ต้องยอมรับว่าหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการทุกคนต้องทำงานหนักขึ้นในส่วนที่ไม่ดี คำกล่าวหาอยู่ตามโซเชียลต่างๆ นั้นก็ไปว่ากันอีกทีนะครับ คนดีๆ ยังมีอีกเยอะมาก ให้กำลังใจเขา ทุกคนเขาทำงานหนักขึ้น โดยความร่วมมือจากประชาชนและทุกภาคส่วน ช่วยกัน บูรณะซ่อมแซมประเทศ ของเราที่อาจจะมีการ ชำรุดทรุดโทรมอยู่บ้างประกอบกับการพัฒนาที่ชะลอตัว ด้วยความไม่สงบทางการเมือง ในเมืองไทยผมคิดว่าเกิน 10 ปี ที่ทำให้มีปัญหามาโดยตลอด ผมต้องขอขอบคุณและขอความร่วมมือต่อไปอีกนะครับ ขอให้ทุกคนจดจำไว้นะครับ เราเสียกรุงมาแล้ว 2 ครั้ง ก็เนื่องจาก “การขาดความสามัคคี” ของคนในชาติ วันนี้ถ้าเรายังมีความขัดแย้งกันอยู่ ไม่มีการปรองดอง ไม่ไว้ใจกัน ประเทศก็จะเหมือนคนป่วย ไม่มีภูมิคุ้มกันจากภัยคุกคามทุกรูปแบบครับ ไม่ว่าจะเป็น คอรัปชั่น, ยาเสพติด, การก่อการร้าย ในส่วนของผู้กระทำความผิดกฎหมายนั้นขอให้แยกเป็นประเด็นในเรื่องของการแก้ไข หรือการดำเนินการทางกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรม และได้รับความพึงพอใจ อันนี้เป็นประเด็นสำคัญนะครับ คือถ้าเอาทุกอย่างมาปนกันหมด แก้อะไรไม่ได้สักอย่าง แล้วบ้านเมืองก็มีปัญหาหมด ผมมีได้ต้องการให้กฎหมายหรือความยุติธรรม นำไปใช้ประโยชน์ทางที่ไม่ถูกต้อง ใครผิดก็ว่ากันไป ใครถูกก็ว่าไปตามถูก

โอกาสนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่ว่า "รู้" คือ ปัญญา มีความรู้ความเข้าใจในงานที่จะต้องทำ, "รัก" คือ การมีความรัก ความพอใจในงานที่จะต้องทำนั้น และ “สามัคคี” คือ การร่วมกันทำงานด้วยความจริงใจ ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวมอย่างแท้จริง โดยระบุว่า เป็นการเตือนสติ และชี้แนะเทคนิคการทำงานร่วมกัน และขอให้ทุกคนยึดถือเป็นแนวทางการปฏิบัติร่วมกันนะครับ

เรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการสร้างความเชื่อมั่น

ผมได้เดินทางไปเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาเมื่อวันที่ 30-31 ต.ค.ที่ผ่านมา พี่น้องประชาชนคงได้รับทราบผ่านสื่อต่างๆ แล้ว ในโอกาสนี้ผมได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนีเพื่อถวายพระพรเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 10 ปี และแสดงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณที่พระราชทานอภัยโทษให้แก่นักโทษไทยมาโดยตลอด ส่วนเรื่องที่ผมอยากจะเน้นเนื่องจากเป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญคือเรื่องการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งไม่ได้ผิดกฎหมายอะไรทั้งสิ้นนะครับ เป็นเรื่องการทำความเข้าใจร่วมกัน เกี่ยวกับการร่วมมือทวิภาคีว่าด้วยการขจัดการค้ามนุษย์และการคุ้มครองเหยื่อของการค้ามนุษย์ เนื่องจากรัฐบาลตระหนักถึงปัญหาที่นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นและมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไป จะมีผลในเรื่องของการค้าขายสินค้าทุกประเภทด้วย มีพันธสัญญามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการค้าขาย ผลิตผลทางการเกษตร สัตว์น้ำ ประมง มีกติกามากมาย ถ้าเราไม่ดูแลเรื่องการค้ามนุษย์ ไม่ดูแลในเรื่องของการประมง ที่ทำถูกกฎหมาย เราก็จะถูกสกัดกั้นในการนำสินค้าเหล่านั้นไปขายในต่างประเทศ วันนี้เราก็แก้ในทุกมิติ เมื่อเร็วๆ นี้ก็ให้กระทรวงต่างประเทศจัดคณะทีมไทยไป ไปชี้แจงที่สหภาพยุโรป ที่มีปัญหาเรื่องกรค้าขายสัตว์น้ำ แนวโน้มก็มีความเข้าใจมากขึ้น ช่วงนี้ต้องใช้เวลาในการแก้ไขทั้งหมด เพราะหมักหมมมาหลายปีแล้ว

การลงนามในครั้งนี้เป็นการปรับแก้ไขบันทึกความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวที่มีอยู่ก่อนนี้ให้เหมาะสมและเท่าทันสถานการณ์ในปัจจุบัน เพราะคนไม่ดีมีเยอะขึ้น มีวิธีการใหม่ๆมา ในการค้ามนุษย์ มีการใช้แรงงานที่ผิดกฎหมาย เราก็ทำมาโดยตลอด ซึ่งแต่ก่อนนี้ไม่เคยทำได้ถึงขนาดนี้ วันนี้เราทำมาได้ จดทะเบียน มีขึ้นทะเบียนมากว่าล้านคนและส่วนใหญ่ก็เป็นแรงงานกัมพูชา เกินครึ่งประมาณสัก 6 แสนคน ประเด็นนี้นอกจากจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรงแล้ว จากรอบบ้าน ยังเป็นปัญหาสำคัญในภูมิภาคและประชาคมโลกอีกด้วย

ผมได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคอยกำกับดูแลและเดินหน้ามาตรการต่างๆ เป็นการเร่งด่วน ขอให้ทุกคนช่วยกันเป็นหูเป็นตา ใครมีหรือทราบข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในเรื่องนี้ ผมขอให้ให้ข้อมูลที่ละเอียดถี่ถ้วนมานะครับ บางครั้ง เป็นการกล่าวอ้างมาก็ไม่สมารถจะดำเนินการต่อไปได้ ขอให้แจ้งให้รัฐบาลทราบผ่านศูนย์ดำรงธรรมได้ในทุกพื้นที่นะครับ การเยือนครั้งนี้ยังมีการลงนามบันทึกความเข้าใจอีก 2 เรื่อง ได้แก่ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวซึ่งเราทั้งสองประเทศนั้นก็มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายนะครับ ถ้าสามารถเป็นแพ็คเกจ ร่วมกันได้ก็น่าจะทำ ต่างคนต่างส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพราะเราเป็นประเทศเพื่อนบ้านกันนะครับ และความร่วมมือในการเชื่อมต่อเครือข่ายเส้นทางรถไฟ อันนี้เป็นหลักการแนวทางที่จะต้องเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ ที่เขาเรียกว่า “คอนเน็คติวิตี้” ทั้งรถไฟ ทั้งถนน ทั้งการจราจร รวมทั้งการขนส่งทางอากาศด้วย วันนี้เราก็มีแผนงานที่จะต้องปรับปรุงเรื่องเส้นทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้าน เชื่อมต่อประชาคมอื่นๆ ด้วย อันนี้อยู่ในแผนงานของรัฐบาลในเวลานี้ ก็ขอให้มั่นใจและไว้ใจนะครับ ในการทำงาน ทั้ง 3 เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชากระชับแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วยนะครับ เราต้องไม่มีความขัดแย้งกันอีกต่อไป

พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้เปิดเผยถึงการเข้าพบของ นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัยแห่งสหราชอาณาจักรว่า เมื่อต้นสัปดาห์ ผมได้มีโอกาสต้อนรับนายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรี 2 สมัยแห่งสหราชอาณาจักร โดยได้ชี้แจงถึงสถานการณ์และความคืบหน้าการดำเนินงานของรัฐบาลที่มุ่งเน้นความโปร่งใสและทันเวลาในการบริหารประเทศเพื่อเดินหน้าสู่ความเป็นประชาธิปไตยที่มั่นคงและยั่งยืน ทั้งนี้นายโทนี่ แบลร์ ได้แสดงความเข้าใจถึงปัญหาและความท้าทายที่รัฐบาลกำลังเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน ซึ่งท่านได้กล่าวกับผมว่าปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยนั้นหยั่งรากลึกและมีความสลับซ้อนมาก เกินกว่าที่ทุกๆ คนจะเข้าใจได้ง่าย สิ่งรัฐบาลไทยควรทำคือการทำให้เศรษฐกิจของประเทศเดินหน้าไปได้พร้อมกับการปฏิรูปในด้านต่างๆ เช่นการศึกษา สังคมและสาธารณสุขให้มากที่สุดภายในรัฐบาลปัจจุบัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการมีประชาธิปไตยที่มั่นคงและยั่งยืนต่อไป

อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรได้เสนอให้มีการประชาสัมพันธ์ชี้แจง รายละเอียดขั้นตอนและผลการดำเนินงานให้กับประชาคมโลกต่อเนื่องเป็นระยะๆ ซึ่งขณะนี้เราก็ให้ทั้งกระทรวง ในส่วนของรัฐบาล ก็มีการชี้แจงอย่างต่อเนื่องทั้งเอกสารและวาจา ไปยังสถานทูตทุกส่วนนะครับ สื่อ หนังสือพิมพ์ต่างๆ ก็ส่งไปหมด ก็ขึ้นอยู่กับว่าเขาจะไปทำความเข้าใจให้เราด้อย่างไร ก็ไม่เป็นไรครับ เราก็จะพยายามต่อไป ไม่งั้นแล้วประชาคมโลกก็จะไม่มั่นใจ แล้วก็เข้าใจไม่ถูกต้อง และคงคาดหวังว่าเมื่อไร เราจะไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ ในเวลาที่เหมาะสม สุดท้ายผมในนามของรัฐบาลและประชาชนคนไทยทุกคน ก็ได้แสดงความขอบคุณในความเข้าใจและกำลังใจที่ท่านได้มีให้กับประเทศของเรามาโดยตลอด นอกจากนั้นผมได้ให้การต้อนรับคณะนักธุรกิจสหรัฐฯ - อาเซี่ยน (USABC) ได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนประเด็นทางเศรษฐกิจและการลงทุนในไทย โดยผมได้ยืนยันกับผู้แทนจาก 34 บริษัทที่เข้าร่วมหารือว่ารัฐบาลยินดีและพร้อมให้การสนับสนุนการประกอบธุรกิจและการลงทุนในประเทศ โดยจะรักษาผลประโยชน์ของทุกส่วนอย่างดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ก็ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศและคนไทยด้วย ผมอยากเห็นความก้าวหน้าของบุคลากรไทยและเทคโนโลยีภายในประเทศ รวมถึงโครงการวิจัยและพัฒนาต่างๆ ที่ล้วนจะเป็นประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนเกิดขึ้นไปพร้อมกับการลงทุนต่างๆ

ผมขอเรียนพี่น้องประชาชนว่าตั้งแต่ 22 พ.ค.มานั้น ทั้ง คสช. และรัฐบาลได้ดูแลผลประโยชน์ของประเทศเพื่อนบ้านและต่างชาติมาโดยตลอด พยายามที่จะเอื้อประโยชน์ในการลงทุนแต่ประเทศไทยก็ต้องได้ผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสม โดยการกำหนดหลักการต่างๆ ของ BOI หลักการต่างๆ ในเรื่องของกองทุน การส่งเสริม SME อะไรเหล่านั้น ก็มีมาทุกเรื่อง ประมาณสัก 11 คณะได้ที่ทำมาในขณะนี้ สร้างขึ้นมาใหม่ทั้งหมด เพื่อจะขับเคลื่อนในด้านเศรษฐกิจในภาพใหญ่ภาพรวม กับประชาคมโลก ในส่วนของที่สำคัญก็มีการแก้ไขข้อติดขัดต่างๆ ในด้านการประกอบธุรกิจและการลงทุน วันนี้ก็น่ายินดีนะครับ ทีเราได้รับการจัดลำดับประเทศที่น่าลงทุนในอันดับที่ดีขึ้นนะครับ รวมถึงการส่งเสริมการลงทุนทุกขนาดของนักธุรกิจต่างชาติและไทย อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบการท่านใดมีปัญหาข้อขัดข้องหรือข้อเสนอแนะ ขอให้แจ้งรัฐบาลทราบนะครับ เรายินดีเป็นอย่างยิ่ง ในเรื่องนี้ผมอยากให้นักลงทุนของไทย ถ้าสามารถขึ้นทะเบียนได้ ว่าพร้อมจะลงทุนเรื่องโน้นเรื่องนี้ ในภูมิภาคที่ไหน แล้วก็กระทรวงไหน ก็ขอให้ขึ้นทะเบียนไว้นะครับ ที่ BOI ก็ได้ จะได้เชื่อมต่อให้ทุกปรเทศที่เขาอาจจะกำลังต้องการลงทุนในธุรกิจที่ท่านต้องการอยู่ จะได้เร็วขึ้น จะได้เร่งดำเนินการให้ทันเวลาทั้งนี้เราต้องขับเคลื่อนทั้งในเศรษฐกิจในประเทศเรา และประเทศเพื่อนบ้านด้วย เพื่อให้ อาเซี่ยนเข้มแข็งนะครับ ผมมองอย่างนั้นนะใครที่มีความเห็นอย่างอื่นก็ลองว่ามา ผมอยากใช้คำว่า ไทยบวกหนึ่ง หรือประเทศเพื่อนบ้านบวกหนึ่ง อะไรทำนองนี้ หลักการที่ผมให้นโยบายไปแล้ว

ในโอกาสเดียวกันนี้ นักลงทุนสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสนใจการลงทุนในเรื่องของพลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน ไอที และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทั้งการแพทย์ อยากให้เราเป็น ฮับในเรื่องโน้นเรื่องนี้หลายอย่างเราก็ต้องหารือกันต่อไป ว่าทำอย่างไรจะเกิดได้อย่างยั่งยืนนะครับ แล้วก็เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้คนไทยด้วย ในเรื่องความสนใจกับเศรษฐกิจดิจิตอลอีโคโนมี และคาดหวังว่าจะได้มาร่วมงานกับไทยในอนาคตอีกด้วย ในส่วนของเศรษฐกิจดิจิตอลอีโคโนมี เราก็กำลังปรับปรุงอยู่นะครับ ในส่วนของกระทรวง ICT ในส่วนของผู้เกี่ยวข้องในเรื่องการสื่อสารเทคโนโลยี กำลังดำเนินการให้ได้โดยเร็วนะครับ ในเรื่องต่อไปก็คือการร่วมงานกับไทยในอนาคตนั้น สมาคมทุกสมาคมในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นอาเซี่ยน ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา หรือยุโรป ก็อยากร่วมงานกับไทยมาโดยตลอดต่อเนื่องและก็มีแผนในการลงทุน เพราะงั้นเราต้องสร้างความมั่นใจให้เขาด้วยถ้าเราขัดแย้งกันอยู่ ก็ไม่น่าลงทุน ให้นึกถึงประเทศชาติ เศรษฐกิจก็มาจากต้องมาจากใหญ่ ลงมาเล็ก ถ้าลงทุนไม่ดี ต่างชาติไม่เชื่อมัน เราก็ขายของเขาไม่ได้เขาไม่ลงทุนกับเราเศรษฐกิจจะดีได้อย่างไร เพราะมันพ่วงเชื่อมโยงไปหมด ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก แล้วประเทศเราส่วนใหญ่ก็เป็นธุรกิจ SMEs ทั้งสิ้น

ด้านเศรษฐกิจ

เป็นที่ทราบกันดีนะครับว่า เศรษฐกิจโลกยังคงอยู่ในช่วงฟื้นตัว หลายประชาคมก็ดีขึ้น บางประชาคมก็ยังชะลอตัวอยู่ ทำให้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยสำหรับการส่งออก ต้องเข้าใจในภาพใหญ่ก่อนว่า ในปีนี้ยังไงก็ตามเราพยายามจะขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของเราเดินหน้าไปให้ได้อย่างน้อยก็อยู่ในระดับที่ไม่เกิดความเดือดร้อน ซึ่งมันพันกันทั้งในเรื่องกฎหมาย พันธะสัญญา กติกาต่างๆที่อาจจะมีการปล่อยปละละเลยกันมาเป็นเวลานาน วันนี้เราพยายามเข้าไปรื้อทุกอย่าง มันก็เลยอาจจะวุ่นวายไป อาจจะได้รับความไม่พอใจบ้าง สำหรับผู้ประกอบการ แต่ผมทำเพื่ออนาคตนะ เพื่อเราจะได้ขายเขาได้ต่อไป ถ้าเราขายเขาไม่ได้จะไปขายที่ไหน อยากให้พี่น้องประชาชนทราบว่า สัญญาณการส่งออกของไทยในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นแล้วครับ โดยเฉพาะในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 และตลาดอาเซียน ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วนะครับ

ในส่วนของการท่องเที่ยวไทย แม้ว่าจะยังชะลอตัวอยู่ แต่จากข้อมูลยอดของการจองห้องพักล่วงหน้าในช่วงที่ผ่านมา ก็ส่งสัญญาณดีขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือน พ.ค.นะครับ คาดว่าในช่วงปลายปีนี้จนถึงต้นปีหน้า ซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยว จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามายังประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประมาณการว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยทั้งปีจะมีจำนวนมากกว่า 25.5 ล้านคน โดยเป็นนักท่องเที่ยวจากทวีปยุโรปถึง 6.5 ล้านคน ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วถึง 350,000 คน ก็ขอให้พี่น้องชาวไทย ช่วยกันแสดงไมตรีจิตต่อนักท่องเที่ยวเพื่อให้เค้าประทับใจและกลับมาเที่ยวเมืองไทยหลายๆครั้งกันด้วยนะครับ อย่างเช่น นายทองศิลป์ มีทองแสน โชเฟอร์ แท็กซี่ เก็บกระเป๋าเงินและติดตามคืนให้กับนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ การกระทำแบบนี้ มีหลายท่าน อาจจะกล่าวได้ไม่ครบ มีผลต่อชื่อเสียงของประเทศ และยังมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในทางอ้อมอีกด้วยครับ

ทั้งนี้ ผมอยากให้ทุกท่านมั่นใจว่ารัฐบาลกำลังเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ ทั้งการผลักดันการใช้จ่ายงบประมาณปี 57 ที่กำลังทยอยลงไปที่ติดขั้นตอนการใช้จ่ายงบประมาณอยู่ที่ทุกคนทราบกันแล้ว ก็เร่งรัดไปแล้ว และ การเร่งกระบวนการใช้จ่ายงบปี 58 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นำเม็ดเงินสู่มือประชาชน การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม การส่งเสริมการลงทุน การสร้างแรงงานที่มีทักษะ อันเป็นเรื่องที่สำคัญและต้องเตรียมพร้อมสำหรับเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน วางรากฐานเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็ง โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ที่หลายโครงการจะเริ่มลงทุนในปีหน้า ทำให้มีผลต่อการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชน มีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นคงเป็นช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป ในไตรมาสที 4 และไตรมาสที่ 1 ของปี 58 และจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีขึ้นจากปีนี้ค่อนข้างมาก ช่วงนี้คงต้องระมัดระวัง อดทนนะครับ แล้วก็ใช้หลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คืออยู่อย่างพอเพียง มีมากใช้มากแล้วกันเพื่อจะได้ช่วยกันหมุนเวียนเศรษฐกิจในประเทศให้ขับเคลื่อนไปได้ดีขึ้น ช่วยคนจน คนรวยต้องเสียสละกันบ้างนะครับ ก็ใช้จ่ายออกมา ช่วยคนจนให้มากขึ้นแล้วกันนะครับ จะได้ลดความเหลื่อมล้ำ ลดความไม่เข้าใจซึ่งกัน และกัน ทางรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ของรัฐ ของเอกชนที่เกี่ยวข้อง กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็ได้มีการพบปะหารือ สร้างความมั่นใจกับนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ ซึ่งส่วนใหญ่มีความมั่นใจในเศรษฐกิจไทย และมองว่าไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจในเชิงกลยุทธ์การลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ หรือ emerging markets

ผมมั่นใจว่าภาวะเศรษฐกิจไทยจะคลี่คลายในปีหน้า และมีแนวโน้มที่ดีขึ้นดังที่หน่วยงานด้านเศรษฐกิจทั้งไทยและต่างประเทศคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าแล้วนะครับ และหากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว รวมทั้งความร่วมแรงร่วมใจกันของรัฐประชาชนทุกคน และหน่วยงานทุกภาคส่วนหากทุกอย่างเป็นปัจจัยบวกแล้ว รวมถึงการมีเสถียรภาพของประเทศของรัฐบาลด้วยนะครับ การกลับเข้าสู่ตลาดแข่งขันในเวทีโลกของเราก็ดูสดใสครับ

ในส่วนของการปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ลิตรละ 50 สตางค์ในเดือนนี้นั้น เป็นการปรับขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามกลไกตลาด สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และเป็นการปรับแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งทางรัฐบาลพยายามให้มีผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนน้อยที่สุดนะครับ ทั้งนี้ผมได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ให้จัดเตรียมมาตรการดูแลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และผมต้องขอความร่วมมือพี่น้องประชาชนในเรื่องนี้ด้วยนะครับ โดยเฉพาะเรื่องอุปโภคบริโภคนะครับถ้าเกิดขึ้นราคามากจนเกินไปอ้างเหตุผลการขึ้นราคาพลังงานแล้วไปบวก 5-6 บาท 10 บาท นี่ไม่ได้นะครับ ให้กระทรวงพาณิชย์ไปกำกับดูแล ไปควบคุม ถ้าใครฉวยโอกาสก็ต้องลงโทษนะครับ ตามกฎหมายนะครับ ข้าวของทุกอย่างอาจจะแพงขึ้น ผมได้ข่าวว่า อาหารจานด่วนเพิ่ม 10 บาท 15 บาทอะไรอย่างนี้ผมว่าไม่ใช่ ขึ้น 50 สตางค์ จะขึ้น 5 บาท ช่วยกัน นึกถึงคนอื่นเข้าด้วยคนกลางก็อย่าเอาเปรียบคนอื่นเขามากเกินไป ยอมเสียสละกำไรลงบ้าง ประชาชนจะได้ไม่เดือดร้อน เพราะเขาเป็นผู้รับผลประโยชน์ ถ้ามันแพง เขาก็ไม่มีเงินใช้จ่าย เอาขายมากดีกว่าไปขายแพงๆ แล้วขายน้อย ขอให้ทุกคนช่วยกันให้ประเทศพัฒนาอย่างยั่งยืนนะครับ ใครขายแพงก็อย่าไปรับประทานเขา ช่วยกัน กระทรวงพาณิชย์ต้องเป็นหลักนะครับ

การแก้ไขปัญหาเกษตรกร

ในส่วนของการแก้ไขปัญหาให้แก่ พี่น้องเกษตรกรนั้น รัฐบาลจะพยายามดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนนะครับ ซึ่งก็จะต้องได้รับความร่วมมือจากเกษตรกร / นายทุน / พ่อค้าคนกลาง รัฐ / เอกชน / ประชาชน ทุกภาคส่วน และต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจและแสวงหาความร่วมมืออีกระยะเวลาหนึ่ง ต้องร่วมมือกันนะครับ ทั้งนี้ รัฐบาลก็ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในระยะเบื้องต้นเพื่อบรรเทาปัญหาไปบ้างแล้วนะครับ โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ให้เงินช่วยเหลือพี่น้องชาวนาผ่านทาง ธ.ก.ส.ไปแล้วกว่า 2 พันล้านบาท เป็นการช่วยเหลือพี่น้องชาวนากว่า 165,000 ราย ซึ่งก็จะมีการทยอยจ่ายเงินช่วยเหลือพี่น้องชาวนาจนครบนะครับ อันนี้เป็นมาตรการชั่วคราวเท่านั้นเอง เฉพาะปีนี้ ก็ขอให้สบายใจได้ สำหรับในส่วนของเงินช่วยเหลือชาวสวนยางเพื่อบรรเทาความดือดร้อนนั้น ฉะนั้นก็ลดๆ กันลงไปหน่อย ช่วยกันว่า เรามีมาตรการอย่างไร รัฐว่าอย่างไร ต้องร่มมือกัน ท่านก็ต้องอดทนรอเวลา เราก็พยายามให้ราคาผลิตผลการเกษตรนั้นสูงขึ้น เพราะมีผลมาจากนอกประเทศด้วย เพราะเป็นตลาดส่งออกของเรา ข้าวเรามีจำนวนมาก ตอนนี้เราก็ส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก แล้วนะครับ ในปีนี้ ตอนนี้ยอดก็สูงแล้ว แต่ราคายังไม่สูงมากนักแต่ก็ต้องพยายามต่อไปนะครับ คณะรัฐมนตรี ก็ได้อนุมัติมาตรการไปแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำทะเบียนผู้มีสิทธิ์ได้รับเงิน ให้ถูกต้อง ใครที่ไม่สุจริตก็ต้องถูกลงโทษนะครับตามมาตรการทางกฎหมาย ฉะนั้นพี่น้องชาวนาก็อย่าไปฟังคำกล่าวอ้างของใครต่างๆ นานาว่าจะได้เงินก่อนเงินหลัง แล้วไปจ่ายเงินให้เขาก่อน แบ่งเงินบางส่วน อย่างนี้ไม่ได้ เพราะรัฐบาลตั้งใจให้กับผู้ที่ทำนาจริงๆ นะครับไม่ว่าจะเป็นนาเช่า นาตัวเอง ต้องเป็นคนที่รักษาผลประโยชน์ตัวเองอย่าให้คนอื่นเขามาเอาผลประโยชน์เราไปนะครับ แล้วเราก็ต้องไปเป็นหนี้เป็นสินคนเขาต่อไป ไม่ได้ เราไปช่วยเท่านั้นเองนะครับ ในส่วนของการทยอยจ่ายเงินให้กับพี่น้องชาวสวนยางในเร็วๆ ตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่นะครับ เรืองทะเบียน เรื่องต่าๆ ยังไม่เรียบร้อย มีทั้งในพื้นที่นอกพื้นที่ ผิดกฎหมาย ถูกกฎหมาย จึงช้าเหตุนี้ไง เพราะมีการกระทำผิดกฎหมาย เราก็ไม่อยากใช้กฎหมายมากจนเกินไปเพราะส่วนใหญ่ก็เดือดร้อน คนจนเดือดร้อน เพราะงั้นใครมีที่มีทางก็อย่าไปขายต่อ อดทนทำต่อไป เชื่อคำแนะนำของรัฐ ถ้ารีบขายที่ขายทางให้คนอื่นไปหมด เราก็ไม่มีที่ทำกินอีก แล้วก็ไปร้องเรียนหาที่ทำกิน แล้วไปบุกรุกป่าคนรวยก็มาซื้อไปอีก นี่มันเป็นอย่างนี้นะ

การจัดสรรที่ดินทำกิน

การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของพี่น้องเกษตรกร ปัญหานี้ทางรัฐบาลสำรวจและพบข้อเท็จจริง ว่าเป็นปัญหาใน 7 ลักษณะ ได้แก่ปัญหาการไร้ที่ดินทำกิน, ปัญหาความขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดิน,ปัญหาการบุกรุกพื้นที่สงวนหวงห้ามของรัฐ, ปัญหาการใช้ที่ดินไม่เต็มศักยภาพ, ปัญหาการถือครองที่ดินขนาดใหญ่, ปัญหาการกระจายการถือครองที่ดินที่ไม่เป็นธรรมและปัญหาด้านการบริหารจัดการที่ดินปัญหาต่างๆ แล้วก็เรื่องของการทุจริต แล้วเอาที่ดินที่ให้ไปแล้วนั้นไปขายต่อทำนองนี้ ต้องมีการตรวจสอบทั้งหมดนะครับ ซึ่งปัญหาทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ และเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ จำนวนมาก ต้องแก้ไขพร้อมๆ กัน แก้ด้วยกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งไม่ได้ประชาชนเดือดร้อน ฉนั้นความซับซ้อนดังกล่าว รัฐบาลจึงกำหนดแนวทางแก้ปัญหาแบบบูรณาการโดยจัดตั้ง “คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ.2557” (14 ต.ค. 57) เพื่อบริหารจัดการปัญหาต่างๆ อย่างครบวงจร
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกันก็คือ การจัดสรรที่ดินให้กับผู้ยากไร้ ต้องตรวจสอบก่อน เพื่อความถูกต้อง ไม่ได้เป็นการให้เปล่า ไม่ได้ยกให้ใครและไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ เป็นการอนุญาตให้เข้ามาประกอบอาชีพตามเงื่อนไขที่กำหนดกรรมสิทธิ์ที่ดินยังคงเป็นของรัฐ ที่ดินที่ได้รับการจัดสรร จะต้องถึงมือประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกิน มารวมกลุ่มกัน ออกแรงแล้วรัฐก็จะดูแล ปันส่วนให้ เพราะงั้นเมื่อผลประโยชน์ออกมาก็แบ่งปันกัน เพราะว่าใช้พื้นที่ของหลวง ก็เหมือนกับเช่า คล้ายๆ กัน แต่นี่ออกแรงไปด้วย ทำนาทำไร่ปลูกพืช สวน อะไรไปด้วย ก็น่าจะเป็นสัดส่วนที่น่าจะพอให้พี่น้องประชาชนไม่มีที่ทำกินพออยู่ได้นะ อย่างที่กล่าวอ้างกันมาว่า ไม่มีที่ดินทำกิน แล้วจะให้ไปทำอะไร เราเป็นห่วงเรื่องเหล่านี้ ไม่อยากให้ตกถึงมือนายทุน ใน 50 ปีที่ผ่านมา ผืนป่าของเราลดลงจาก 171 ล้านไร่ เหลือเพียง 102 ล้านไร่ จะต้องไม่มีบุกรุกอีกนะครับ 102 นี่ก็ต้องรักษายิ่งชีวิตกันนะ ทุกคนทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่หายไปจะทำยังไงก็ไปหามาตรการมา 171 ลบ 102 มีเท่าไร ตรงนั้นถูกต้องแค่ไหน ใครบุกรุก ก็ไปเคลียร์ทางกฎหมายมา แล้วจะทำยังไงให้คนไม่มีที่ทำกินเขาได้มีที่ทำกิน ต้องคิดใหม่ทั้งหมด ถ้าใช้กฎหมายอย่างเดียวก็เดินหน้าไปไม่ได้ คนก็ยากจนไปเรื่อยๆ ที่ดินก็ไม่มี ก็ต้องหาวิธีการใหม่ๆ มา ก็ให้เวลาเราหน่อย ต้องกำหนดมาตรการ เพื่ออนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำ และอนุรักษ์ระบบนิเวศน์ให้กับชนรุ่นหลังของไทย และเป็นปอดของโลก ของอาเซี่ยน ด้วยในลำดับแรก

เรื่องพลังงาน

การบริหารงานด้านพลังงาน มีอยู่หลายประเด็นที่ยังเข้าใจไม่ตรงกันครับ ผมขอเรียนว่า อยากให้ได้ข้อสรุปเสียทีว่าเราจะทำยังไง จะเดินหน้าไปอย่างไร? เพราะรัฐบาลมีความรับผิดชอบจะต้องไม่ให้เกิดวิกฤติพลังงานในอนาคต ทุกรัฐบาลที่ผ่านมาต้องคิดแบบนี้ รัฐบาลผมก็คิดแบบนี้ ว่าทำอย่างไรเราจะมีความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งมีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน ในเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน หลายคนอาจจะไม่เข้าใจ ว่าประเทศที่ไม่มีน้ำมัน แล้วทำไม่มีความมั่นคงด้านพลังงาน เขามีวิธีการอื่นไง เขามีเศรษฐกิจที่ดี มีเงินเยอะ ประชากรมีรายได้สูงเขาก็ไปซื้อได จะแพงเท่าไร เขาก็ซื่อได้ รัฐก็ดูแลน้อย แต่บ้านเราไม่ใช่แบบนั้นนะ ถ้าเศรษฐกิจดี คนดีแล้ว โอเค. ทำได้ แต่ถ้ายังเป็นอย่างนี้อยู่เราเป็นเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่นะ คนมีรายได้น้อยเยอะ ปัญหาการบริหารจัดการและการกำหนดนโยบายที่จะต้องไม่ขาดความต่อเนื่อง ต้องมีความชัดเจน ในเรื่องของการลงทุนเพื่อจะหาแหล่งพลังงาน สร้างความเชื่อมั่นให้คนมาลงทุน ไม่ใช่เราก็ไม่มีเสถียรภาพ เขาก็ไม่มั่นใจในการลงทุน แล้วเราจะทำยังไงต่อไปในวันหน้านะครับ ตราบใดที่รายได้ต่อหัว รายได้ GDP ของเราก็ยังต่ำอยู่ ขณะนี้ ไม่ได้สูงเท่าเทียมกับประเทศที่มีการกล่าวอ้างว่าเขาไม่เห็นจะต้องเดือดร้อนเลยด้านพลังงาน คนละเรื่องกัน สำหรับการบริโภคในประเทศ ขาดช่วงมา 7 ปี เนื่องจากความไม่มีเสถียรภาพด้านการเมือง และปัญหาความไม่สมดุลย์ เรื่องสัดส่วนการผลิตและการนำเข้าพลังงานของประเทศ ซึ่งเราต้องนำเข้าพลังงาน มากกว่าที่เราผลิตได้เอง
โดยมูลค่าการนำเข้าพลังงานทุกประเภทมากกว่า 1.4 ล้านล้านบาท/ปี คิดดูเอาแล้วกัน งบประมาณเรามีเท่าไร 2.75 ล้านล้านบาท แต่ละปีนำเข้ามา 1.4 ล้านล้าน นี่ เท่าไร เกือบครึ่งนะ ของงบประมาณประเทศ แล้วมันสูญเสียไป ก็ต้องระมัดระวังนะ เทียบกับข้าว เงินจำนวนนี้ เท่ากับเราต้องขายข้าวไป 16 ปี ถึงจะได้เงินแลกกับเชื้อเพลิงที่เราซื้อมาทุกปี ก็สนับสนุนให้ทุกคนประหยัด ประหยัดพลังงาน ถ้าถูกมากก็ใช้กันมาก นี่ขนาดบ่นกันว่าแพง ก็ยังใช้กันเยอะเลย คราวนี้ก็ต้องไปดูเรื่องระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ดี ต้องไปดูเรื่องการขนส่งมวลชน ขสมก. รถไฟฟ้า คือมันพันกันไปหมด รัฐบาลก็มองในภาพกว้างทั้งหมด ก็ต้องแก้ ๆๆๆ สรุปคือแก้ทุกวัน จะเสร็จใน 5 วัน 10 วัน หรือเดือน สองเดือน ไม่ได้ ก็ต้องมีระยะสั้น ระยะยาว ก็ต้องให้เวลาในการแก้ เพราะไม่ได้ทำมาที่ผ่านมากี่ปีมาแล้ว ไม่ได้ทำให้ชัดเจน การลงทุนก็เกิดขึ้นไม่ได้ รายได้รัฐก็ไม่มี แล้วทุกคนก็ต้องการบริการสาธารณะที่ดีกว่าเดิม ไปไม่ได้หรอกครับต้องเริ่มต้นด้วยความเข้าใจซึ่งกัน และกันก่อน แล้วสร้างความมีเสถียรภาพ สร้างความน่าอยู่น่าลงทุนให้กับประเทศ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ผลิตคนให้มารองรับจุดที่ตลาดต้องการแรงงาน ทำนองนี้ ก็ได้สั่งการไปหมดแล้ว ทุกกระทรวงก็รับไป นโยบาย

วันนี้ที่บอกว่าเอาน้ำมันเข้ามาน้ำมันดิบ 85 %, ถ่านหิน/ลิกไนต์ 70 %, ก๊าซธรรมชาติ 20 %, น้ำมันสำเร็จรูป 10 % และไฟฟ้า 4%ครับ ไฟฟ้านี่คือซื้อไฟฟ้าเขาเข้ามา จะเห็นได้ว่าตัวเลขเหล่านี้ คือตัวเลขของสัดส่วนการนำเข้าพลังงาน แต่อาจจะบอกว่า ก๊าซ 20% แต่ 20% นั้นเอาไปใช้อะไรบ้างแล้วที่เอาไปใช้นี่ ถูกที่ อาจจะไม่จำเป็น หรือราคาบิดเบือน ก็ทำให้ใช้มากขึ้น เอาไปเผาสร้างพลังงานไฟฟ้าบ้าง ต้องปรับเปลี่ยนทั้งหมด สัดส่วนการใช้พลังงาน โรงไฟฟ้าจะต้องมี แก๊ส มีลม มีแสงแดด ตอนนี้ทำแผนพลังงานใหม่หมด ก็ต้องช่วยกันนะครับ

ปริมาณก๊าซธรรมชาติ แม้ว่าปัจจุบันเราเคยผลิตได้เอง 80% นำเข้าอีก 20% แต่อีก 8 ปีข้างหน้า หากเราไม่มีการลงทุน ผมไม่ได้หมายความว่ามันจะไม่มีอะไรเลย เดี๋ยวก็ขุดหา สำรวจ เดี๋ยวก็เจอ ถ้าเราไม่มีการลงทุนล่วงหน้าไม่ทันการณ์ ถึงแม้ว่าจะมีบางบ่อ บางแหล่งยังอยู่แต่ก็น้อยลง น้อยลง แล้วในระหว่างที่การลงทุนใหม่ยังไม่เกิด แล้วถ้ามันหมด แล้วจะยังไง มันไม่ได้หมดพร้อมกันอยู่แล้ว มี 2 กลุ่ม ถ้ากลุ่มหนึ่งหมดก่อน ก็หาทางสำรวจให้ได้ กลุ่มที่ 2 กำลังใกล้จะหมด อีกไม่กี่ปี แต่ต้องดูว่าทั้งหมดนี่ จะหมดทั้งประเทศไทยเมื่อไร ไปหาข้อมูลให้ชัดเจนกันมานะครับไม่งั้นเราก็จะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติ 100%

ถ้า 100% เข้ามาราคาก็สูงมากกว่านี้อีก ก็มีผลกระทบไปถึงการประกอบการ ไฟฟ้า ประปา เพราะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งสิ้น ใช้แก๊สตอนนี้ ก็ต้องปรับเปลี่ยนโรงไฟฟ้า จากโรงงานใช้แก๊ส สร้างพลังงานไปหมุนมอเตอร์ เย็นเนอเรเตอร์อะไรนี่แหละ ก็ต้องเปลี่ยนจากก๊าซ มาเป็นถ่านหินได้ไหม? ถ่านหินก็บอกว่ามีอันตราย ก็ไปหาว่าถ่านหินไหนไม่มีอันตราย หรือโรงงาน เครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือมีตรงไหนที่ทำให้ลดอันตรายไปได้ ถ้าอะไรก็ไม่ได้เลยสักอย่างแล้วผมถามว่าจะเอาพลังงาน มาจากไหน เอาไฟฟ้ามาจากไหน ผมไม่รู้เหมือนกันนะ ก็ช่วยไปคิดกันมาด้วยนะครับ

ในการสำรวจพบปิโตเลียมนั้น ตามข้อมูลพื้นฐานก็พอมีอยู่นะครับ พอทราบได้จากดาวเทียม จากเครื่องมือสำรวจบ้าง แต่เจาะไปจะลึกขนาดไหน ไม่รู้ จะเจอหรือเปล่าก็ไม่รู้ ต้องเสี่ยงกันเอาเอง ภาคเอกชนก็ต้องเสี่ยง รัฐก็ต้องหาวิธีการที่เหมาะสมว่าจะเสี่ยงด้วยหรือเปล่าผลประโยชน์จะพอเพียงกันไหม ก็ไปว่ากันมา วันนี้ต้องเห็นใจว่า รัฐบาลต้องเดินหน้าเรื่องนี้ควบคู่ไปด้วยนะครับ กระทรวงพลังงานเขาก็ต้องรับผิดชอบ วันหน้าพอไม่มีแก๊ส ก็จะโทษกลับมาที่นี่อีก ถ้ามันเกิดขึ้นไม่ได้ ก็ต้องรับผิดชอบร่วมกันนะครับ ใครที่ไม่เหนด้วยก็ลงชื่อกันไว้แล้วกันว่าไม่เห็นด้วย ถ้ามันเกิดขึ้นไม่ได้นะ วันหน้าอีก 10 ปี 8 ปีถ้าเกิดปัญหาท่านต้องมารับผิดชอบด้วย

ในการสำรวจ จนถึงผลิตใช้ ต้องการเวลาประมาณ 10 ปี เพราะต้องเตรียมเครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือ ถึงแม้จะเป็นบริษัทเดิม ก็ต้องมีค่าขนย้ายเครื่องไม่เครื่องมือ หรือต้องหาเครื่องมือใหม่มา เดิมเจาะไม่เจอ ก็ต้องเจาะลึกกว่าเดิม เปลี่ยนวิธีการใหม่ อะไรใหม่ ก็ต้องลงทุนใหม่ ไม่ใช่เอื้อประโยชน์กับใครทั้งสิ้น ก็ไปดูซิครับ ใครมีส่วนได้ก็เข้ามาทุกบริษัท ท่านจะเอาใครมาแข่งกับบริษัทที่ทำอยู่แล้วเดิม ก็ต้องไปหามา ไปช่วยกันเรียกมา ไม่ใช่ไปผลักเขาออกไปหมด แล้วก็บอกว่าเหลือแต่บริษัทเหล่านี้มาทำ ไม่ใช่ รัฐบาลเปิดฟรีทั้งหมด เพราะงั้นต้องรีบดำเนินการสำรวจนะครับ ขอให้ทำความเข้าใจให้ดี ให้ได้แล้วกัน ก่อนที่ประเทศจะประสบวิกฤติพลังงานนะครับ สิ่งสำคัญคือประชาชนทุกท่านควรตระหนักและตื่นตัว / กรณีที่มีปัญหาพลังงาน จะทำให้ธุรกิจต่างๆ เดินหน้าไม่ได้เลย เรายังไม่เข้มแข็งเพียงพอ ไม่งั้นลูกหลานไทยจะลำบากในอนาคต

การร่างรัฐธรรมนูญ / กฎหมาย / กระบวนการยุติธรรม

ในข้อสังเกตของผมเอง ผมได้พูดกับรัฐบาลว่า ในรัฐธรรมนูญหลายฉบับที่ผ่านมา มักจะร่างขึ้นเนื่องมาจาก เหตุผลหลักก็คือเพื่อจะควบคุม กำกับดูแล หรือไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง สาระใจความบางครั้งก็ทำให้เหมือนกับ ประชาชนมีส่วนร่วมน้อยเกินไป หรือมองไม่ออกว่าประชาชนจะได้ประโยชน์จากตรงไหน

ผมได้พูดใน ครม. ว่า ให้ช่วยกันดูซิว่าจะทำยังไง เพราะเรามีการตั้งคณะกรรมการ ติดตามอยู่แล้วในเรื่องนี้นะครับ ว่าประชาชนจะมีส่วนร่วมได้ตรงไหนแล้วก็ผลประโยชน์มากหรือน้อย ทุกอย่างถ้าเรามีศูนย์กลางอยู่ที่ประชาชน ทุกงานทุกกระทรวง ประชาชนคือศูนย์กลางก็จะคิดออกหมด ไม่ใช่เอาเรื่องความขัดแย้ง ไม่ใช่เอามาเพื่อมีการต่อสู้กันอีกในวันหน้า ปัญหาส่วนใหญ่ก็มาจากกฎหมาย มาจากรัฐธรรมนูญ วันนี้ก็ต้องยอมรับกันว่าเป็นกติกา แล้วเดินต่อไป

ผมไม่อยากให้เกิดการโต้แย้งกันอีกในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ วันนี้ยังไม่เห็นสักบรรทัดเลย วันนี้ก็มาคาดการณ์อย่างโน้นอย่างนี้ ผมก็ตอบท่านไม่ได้เหมือนกันว่าจะอกมาอย่างไร เพราะงั้น อย่าเอามาต่อสู้ผิดถูกกันเลย ตอนนี้ เอาประชาชนเป็นศูนย์กลางดีกว่า ต่อไปก็ดูว่าเราจะทำให้เกิดความเป็นธรรมอย่างไร โปร่งใสอย่างไร มีประสิทธิภาพ ย้อนกลับไปที่กระบวนการบริหาร ถ้าปลายทางของรัฐธรรมนูญ ปลายทางของกฎหมาย ดูว่าประชาชน ย้อนกลับไปที่กระบวนการจะมาอย่างไร คนใช้สู่อำนาจจะเป็นยังไงผมว่าอย่างนั้นจะดีกว่า อันนี้คือหลักการ จะผิดหรือถูกผมไม่รู้ แต่ผมคิดแบบนี้

แล้วผมไม่ได้ให้ใครคิดตามผมด้วยถ้าใครคิดว่าไม่ใช่ก็บอกมา ฉะนั้นจะต้องไม่ใช้อำนาจในการแสวงหาผลประโยชน์ สร้างความขัดแย้ง ทั้ง 2 ฝ่าย หรือ 3 ฝ่ายที่ผ่านมา จะด้วยเหตุผลที่ดีหรือไม่ดี ก็กฎหมายว่ามา จะมีการนำประชาชนบางส่วนที่เกิดความบาดเจ็บสูญเสีย เหล่านี้ไม่ดีไม่ถูกต้อง

ปัจจุบัน ได้มีการจัดตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ไปแล้วนะครับ รัฐบาลและ คสช. ก็ได้เร่งผลักดันการจัดทำรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่มีอยู่ ได้มีการอนุมัติรายชื่อกรรมาธิการฯ ในส่วนของคณะรัฐมนตรี และ คสช. ไปแล้ว ในการประชุมร่วม ครม.-คสช. เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เมื่อวันอังคาร ครั้งที่ 2 ได้พูดคุยกันหลายเรื่องหลายประเด็นในเรื่องของ งาน 3 งาน การบริหาราชาการแผ่นดิน งานปฏิรูป งานรักษาความสงบเรียบร้อย ก็มีหลายเรื่องที่มีการพูดคุย ระหว่าง คสช. และ ครม. ก็ไม่ได้ทับซ้อนอำนาจกันอะไรที่ คสช. ช่วยได้ คสช. ก็จะช่วยเต็มที่ภายในกรอบของกฎหมาย และอำนาจที่มีอยู่ ถูกต้อง และชอบธรรม

ในส่วนของการรับฟังความคิดเห็นขอ สปช.นั้น ก็คือตามกรอบที่ กำหนดไว้แล้วเดิม ก็มีการตั้งมา รับฟังความคิดเห็นอีกครับ แล้วจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ รัฐธรรมนูญนี่ต้องแล้วเสร็จภายใน 120 วัน เพราะฉะนั้น หลังจากนั้น ในระหว่างนี้ มีการรับฟังมาตลอดทุกช่องทาง แต่ไปทำที่อื่นมาก็ค่อนข้างจะลำบากนะ เพราะช่องทางมันไม่ใช่ ก็พยายามเข้าหาช่องทางแล้วกัน

ผมทราบทุกคนมีความคิดเห็นแล้วทุกคนก็มีส่วนเข้าไปเป็น สปช. ก็มี เพราะงั้นเข้าไปทั้งหมดไม่ได้ เมื่อไม่ได้ก็ต้องหาช่องทางให้ ถ้าพูดข้างนอก กับข้างในไม่ตงกันเลย แล้วจะฟังอันไหน? พอข้างในตัดสินมาอย่างนี้ ข้างนอกก็ไม่รับ ผมว่าท่านต้องไปคุยกันมาให้ได้นะ ต้องรวมกันให้ได้นะครับ

ผมเข้าใจว่าทุกท่านตั้งใจ มีแนวคิดที่ดี เสนอแนะที่ดี แต่อย่าลืมว่ากรรมการร่างรัฐธรรมนูญนี่ จะบอกว่าทำไมไม่ได้เข้ามาก็มีกฎหมายอยู่ข้อเขียนไว้ว่า ถ้าเป็นกรรมการร่างรัฐธรรมนูญนี้ เข้าเล่นการเมืองไม่ได้ 2 ปี นี่ไง เขาถึงไม่เข้ามากันไง คราวนี้ก็ไปพูดกันอยู่ข้างนอกพอสมควร ก็ไปดูข้อเท็จจริงด้วยว่าเป็นอะไร เป็นเพราะอะไรนะ ผมไม่ได้ไปปิดกั้นใครทั้งสิ้นอยากให้เข้ามาทุกพวกทุกฝ่าย แต่เป็นประเด็นของการเมืองต่อไปในอนาคตอีก 2 ปี

ผมเข้าใจในเรื่องนี้ ก็จะหาทางให้มีส่วนร่วมให้มากที่สุด ต่อไปในเรื่องของการให้ สปช. ที่เรียนไปแล้วว่าเราตั้ง มีทั้งที่ปรึกษา มีทั้ง 2-3 อันนะ ตามของ กอ.รมน. บ้าง ตามของท่านปลัดกลาโหมก็ทำไปตามนั้น ชี้แจง กกต. ก็ชี้แจงไป มีข้อเสนออะไรก็เสนอมา

สำหรับเรื่องการปรองดองสมานฉันท์นั้น ก็มีปัญหาอยู่หลายประการด้วยกันนะ หลายคนก็เป็นห่วงว่าจะทำได้ไม่ได้เรียนว่ามีคำกล่าวของ ท่านผู้รู้ชาวต่างประเทศนะครับ ท่านหนึ่ง ผมเรียนท่านก็ได้ ท่านโทนี่ แบลร์ เคยกล่าวไว้ว่า การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อ 1.สังคมมีความรู้สึกอยากแบ่งปันมากกว่าแบ่งแยก 2.สังคมจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่พูดถึงการปรองดอง ยอมรับความแตกต่างและความไม่พอใจ 3.เราไม่สามารถลบล้างความอยุติธรรมได้ แต่สามารถตั้งกรอบการทำงานที่ทุกคนเห็นว่ายุติธรรมได้ การปรองดองจะเกิดขึ้นต่อเมื่อคุยลึกลงไปในประเด็นความยุติธรรมและความสมดุล 4.การปรองดองจะต้องมาจากประชาธิปไตยที่แท้จริง ที่ให้ทุกภาคส่วนในสังคมได้รับความเท่าเทียมไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง คำว่า ประชาธิปไตยไม่ได้หมายถึงอำนาจของพรรคการเมืองหนึ่ง แต่ต้องสร้างโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมในสังคม ทำให้ระบบกฎหมายมีความน่าเชื่อถือ เป็นธรรมเพื่อให้คนในสังคมยอมรับการบังคับใช้กฎหมายนั้น การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ เมื่อการเมืองสามารถนำมาซึ่งนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ความโปร่งใส และธรรมาภิบาลของรัฐบาลที่ขึ้นมาบริหารประเทศ จะสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน ซึ่งจะนำไปสู่ความปรองดองได้ง่ายขึ้น และ 5.การปรองดองจะเกิดขึ้นได้ง่าย ถ้ารัฐบาลมีประสิทธิภาพในการดูแลประชาชน โปร่งใสตรวจสอบได้ ทำให้ประชาชนรู้สึกดีขึ้น ให้เค้ามีความเป็นอยู่ดีขึ้น ก็ขอให้ทุกท่านได้นำไปพิจารณา ไตร่ตรอง

ที่พูดมาทั้งหมดนี่ เราจะทำยังไง ที่เป็นชาวต่างประเทศพูดแล้วเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่ยอมรับทั้งโลก เขาพูดมาแบบนี้ ผมคิดว่าน่าคิด น่าเอามาเป็นวิธีการส่วนหนึ่งในการทำงานของเรา แต่ก็ต้องปรับให้ตรงกับบ้านเมืองของเราด้วย แต่ผมคิดว่าถูกต้องทั้งหมดนะ ทำให้ได้ก็แล้วกัน วันนี้พยายามทำทุกอัน เพราะงั้นเราต้องให้เกิดความสมานฉันท์อย่างยั่งยืนไม่ใช่เฉพาะตอนนี้ หรือเอาเรื่องปรองดองเรื่องผิดกฎหมายเรื่องคดีความเอามาปนกันไปหมด มันก็แกะอะไรไม่ออกเลยสักอัน กฎหมายก็ให้กฎหมายเขาทำงานไป ปรองดองก็ต้องเดินหน้าสร้างสังคมปรองดองกันให้ได้ รัฐบาลก็ขับเคลื่อนประเทศ แก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง จิตวิทยา แล้วก็เตรียมการเลือกตั้งให้ได้
ตอนนี้เอาเรื่อง กฎหมาย ความผิดความถูก ตีกันอยู่ในการบริหาราชการแผ่นดิน ประเทศชาติสำคัญกว่าสำคัญที่สุด คนผิดก็ไปสู้คดีกันมา ก็ตัดสินกันออกมาแล้วกัน ตามกฎหมายเขาว่ายังไง ก็ฟังเหตุฟังผลกัน แต่ถ้าทะเลาะกันเรื่องความผิดตรงนี้ แล้วบอกว่ารัฐบาลเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มนี้ แล้วรัฐบาลก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว แล้วก็ทำเพื่อช่วย สองกลุ่ม สามกลุ่มนี้หรือเปล่า ขับเคลื่อนอะไรก็ไม่ต้องขับเคลื่อน เศรษฐกิจก็ปล่อยเป็นอย่างนี้ คนไม่มีอะไรกินก็ช่างเขาหรือไง ผมไม่เข้าใจผมถามท่านก็แล้วกัน เพราะงั้นสิ่งทีเราทำมาหลายเรื่อง เรื่องที่ดำเนินงานไปแล้วเป็นรูปธรรม ท่านไปดูซิครับว่าทำอะไร

1.ช่วยเหลือเกษตรกร บรรเทาภาระเบื้องต้น ข้าว ยางพารา อ้อย ลดต้นทุนการผลิต ก็เริ่มต้นทำให้ บริหารจัดการเรื่องราคา หาตลาด นี่พบปะทุกประเทศ พูดหมดน่ะในประชาคมโลก

2.การจัดระเบียบสังคม จดทะเบียนแรงงานต่างด้าว จดทะเบียน จัดระเบียบคิวรถตู้ วินมอเตอร์ไซค์ จัดระเบียบหาบเร่ แผงลอย ชายหาด สถานบริการ ช่วยให้เกิดความปลอดภัย เพื่อให้ประเทศเราน่าท่องเที่ยว เกิดความไว้วางใจ

3.การปราบปรามผู้ใช้อาวุธสงครามผู้มีอิทธิพล การปล่อยเงินกู้นอกระบบ - ผิดกฎหมาย

การปราบปรามผู้ใช้อาวุธสงคราม ผู้มีอิทธิพลนี่ตำรวจกำลังฟ้องอยู่ ส่งฟ้องอยู่ ตั้งหลายคน คดีทั้งหมดนำเข้าสู่ระบบทั้งหมดไม่ต้องกลัวหรอก เราก็สอบสวนไป ก็สู้คดีกันไป ผมก็ไปเร่งรัดอะไรไม่ได้เรื่องของกฎหมาย ใครทำให้เดือดร้อนมาก รุนแรงมากเขาก็ต้องพิจารณาก่อนมั้ง กฎหมายหลักการเขาว่าอย่างไร การปล่อยเงินกู้นอกระบบ เรากำลังคิดว่าจะลดหนี้ภาคประชาชนอย่างไร? ลดหนี้ครัวเรือนอย่างไร ไม่ใช่แก้ง่ายๆ นะ สะสมกันมาตั้งเท่าไรแล้ว เพราะงั้นวันนี้ลงมาที่นี่หมด ก็ต้องแก้ให้ได้แต่ต้องใช้ระยะยาว วันนี้ก็พยายามจะออกกฎหมาย อะไรต่างๆ เพื่อคุ้มครองทั้งเจ้าหนี้ลูกหนี้ เยอะแยะทับซ้อน

4.การผลักดันการใช้งบประมาณปี 57 เรียนไปแล้ว และการจัดทำงบประมาณปี 58ที่ติดขัดทั้งหมดทำเรียบร้อยไปแล้วเหลือแต่ขั้นตอนการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งต้องมีขั้นตอนการตรวจสอบต่างๆ เยอะแยะ ปลายปีนี้จะออกไปทั้งหมด ในไตรมาสสุดท้าย และ ไตรมาสหนึ่งของต้นปีหน้า จะได้เดินไปได้ เหลือเวลาอีกประมาณเดือนหนึ่ง ทุกคนก็ต้องเตรียมการอะไรให้เรียบร้อย แผนงานโครงการ ผมไล่ไปทุกกระทรวงเขาก็พร้อมอยู่แล้ว เงินเขาก็ต้องใช้ระบบการโอน การเบิกจ่ายไปตามขั้นตอนระเบียบราชการ ก็ไม่ได้ควักกระเป๋าซ้าย จ่ายกระเป๋าขวา พรุ่งนี้ใช้ได้ไม่ใช่ ต้องตรวจสอบ ผมว่านิดเดียวส่วนใหญ่ก็ลงไปหมดแล้วนะ ไตรมาสสุดท้าย และไตรมาสที่หนึ่ง ปัญหาการเมืองไม่น่าจะเกิดนะ

ขอร้องพวกเราต่อสู้กันเรื่องนี้ แล้วทำให้บ้านเมืองไปไม่ได้นี่ ผมถือว่าเราพยายามทำทุกอย่างให้บ้านเมืองสงบ แล้วคนที่ทำให้ไม่สงบโดยการเอาเรื่องนี้ มาปนเรื่องนี้ ประชาชนที่เหลือก็แบ่งแยกกันแล้วกัน ผมเรียนแล้วว่าต้องมีสติในการรู้ทราบนะแล้วออกมาเคลื่อนไหวกัน ก็ทำไม่ได้ก็กลับปัญหาเดิมอีก

5.การส่งเสริมการลงทุน BOI อะไรต่างๆ นี่อนุมัติไปแล้วกว่า 100 โครงการ ก็เร่งอนุมัติไป เป็นการลงทุนของต่างประเทศนะ แล้วก็ในประเทศที่ขยายกิจการด้วย ทั้งในประเทศ และลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านด้วย ไม่ใช่เป็นของรัฐบาลทั้งสิ้น เราเพียงแต่อนุมัติสุทธิประโยชน์ ปรับปรุงทุกอย่างเพื่อจะสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้คนของเราเข้มแข็งไปข้างนอก บอกแล้ว ไทย บวกหนึ่ง อาเซี่ยนบวกหนึ่ง

6.การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ก็มีอยู่แล้ว ใช้เวลาทั้งสิ้น

7.การเร่งเสริมสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศและประชาคมโลก วันนี้กระทรวงต่างประเทศต้องทำสองหน้าที่ ทั้งด้านพาณิชย์ด้วย คือทำยังไงให้เข้าใจ ราคาสินค้าเกษตร การลงทุนต่างๆ มิติใหม่ทั้งหมด
8.การรณรงค์สร้างความปรองดอง เราได้มีการจัดตั้ง ความปรองดองเป็นหลัก แล้ว คสช. ก็จะรับไป ก็จะรวมทั้ง พลเรือน ทหาร แล้วก็ อสม. องค์กรต่างๆ ที่จัดตั้งของแต่ละกระทรวง ครู ก็ยังพูดการเมืองที่ไม่ค่อยน่ารัก ฝากไว้ด้วยแล้วกัน คนดีๆ ก็เยอะ เขาอยากให้ประเทศชาติไปข้างหน้า
9.ในเรื่องของต่างประเทศ การจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนของไทยในต่างประเทศ (AEC Business Support Center) ผมได้สั่งการไปแล้ว และดำเนินการไปแล้วโดยกระทรวงการต่างประเทศ รองนายกรัฐมนตรีกำหับดูแล เช่น สถานทูตไทยในเมียนมาร์และกัมพูชา เพื่อเป็นที่พบปะ พูดคุย เจรจาธุรกิจของภาคเอกชนไทยและภาคเอกชนต่างชาติที่สนใจทำธุรกิจกับไทย

นอกจากนี้ สถานทูตและสถานกงสุลใหญ่ของไทยทั้ง 96 แห่งทั่วโลก อยู่ระหว่างการจัดตั้ง “มุมประเทศไทย (Thai Corner)” เพื่อประชาสัมพันธ์ประเทศไทย โดยจัดแสดงสินค้าไทย เช่น สินค้า OTOP สินค้าศิลปาชีพในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ และเอกสารเผยแพร่ข้อมูลด้านต่างๆ เกี่ยวกับประเทศไทย ทั้งแหล่งท่องเที่ยว แหล่งช๊อปปิ้ง วัฒนธรรม และโอกาสลู่ทางการค้าการลงทุน

10.การจัดตั้งศูนย์ดำรงธรรม ในทุกอำเภอและทุกจังหวัดทั่วประเทศ วันนี้มีประชาชนมาใช้บริการกว่า 2 แสนรายการ รวมทั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุก 1111 ของสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ เป็นต้นครับ

สำหรับสิ่งที่ คสช. และรัฐบาลจะดำเนินการต่อไป ได้แก่

1.การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ

2.การขับเคลื่อนการใช้จ่ายงบประมาณปี 58 เร่งดำเนินการตั้งแต่ไตรมาสแรก

3.การเสริมสร้างความปรองดอง

4.การส่งเสริมการปฏิรูปในด้านต่างๆ คู่ขนานไปการทำงานของ สปช.

5.การพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายต่างๆ ให้สอดคล้องกับพันธสัญญา และความจำเป็น และมีความทันสมัย

6.การดำเนินการทุกมิติให้อยู่ในกรอบ Road Map ที่ คสช. กำหนดไว้

7.การเร่งแก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามกรอบการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เช่น การจัดตั้งหมู่บ้านเสริมความมั่นคง 162 หมู่บ้าน, จัดตั้งชุดคุ้มครองตำบลและชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน รับผิดชอบควบคุมเส้นทาง ดูแลครูและโรงเรียนพร้อมทั้งจัดชุดเคลื่อนที่เร็วในหมู่บ้าน และการจัดตั้งศูนย์วิทยุระดับตำบล อันนี้เป็นเรื่ององการเฝ้าระวังการรักษาความปลอดภัย

เพราะเราไม่ได้ไปทำร้ายใคร เราไปดูแลคนบริสุทธิ์ แต่มีผู้ที่ทำผิดกฎหมายอาญา มาทำร้าย มาฆ่าคนอยู่แบบนี้ แล้วจะให้ทำยังไง ต้องมีกำลังที่ไปดูแล จัดตั้ง อ.ส. อะไรเพิ่มเติม จะต้องรับผิดชอบเมื่อทหารทั้งหมดถอนกลับ มีศูนย์วิทยุระดับตำบลเพิ่มเติม เพื่อจะได้รายงานได้เร็วขึ้น มีการประสาน มีการบูรณาการระดับพื้นที่ อันนี้ผมได้สั่งการตั้งผู้ขับเคลื่อนบูรณาการระดับพื้นที่ ขึ้นมาอีกนะครับให้มีทหารบก รอง รับไปแล้ว ทำยังไงเอาพลเรือน ทหารมาขับเคลื่อนงานทุกกระทรวงที่ผมสั่งลงไปแล้ว ทุกกระทรวงเมื่อรับไปแล้วก็จะมีแท่งของตัวเอง เพราะงั้น ต้องไปขับเคลื่อนข้างล่างด้วย เพราะตอนนี้ข้างบนมีแล้ว ขับเคลื่อนข้างล่างจะทำยังไง ดันให้ลงพื้นที่ที่ต้องการ พื้นที่ที่มี่ปัญหา จะได้เกิด อิมแพคออกมาให้ได้ ไม่งั้น กระจายไปหมด ก็ไม่ได้เรื่องอีกเหมือนเดิม เร่งไปแล้วนะครับ

เมื่อวานก็ได้พูดกับรัฐมนตรีมหาดไทยไปแล้วด้วย ท่านก็ดีใจมากที่จะมีคนมาช่วย ในชนบท ในอำเภอ จังหวัดต่างๆ ผมจะเน้นบทบาทภาคใต้ให้ สปก อำเภอ นายอำเภอเป็นหลักนะ ท่นผู้ว่าฯ ก็เกื้อกูลด้วย สนับสนุน ช่วยเหลือเกื้อกูล ทั้งในหน้าที่ อะไรก็แล้วแต่ ให้เข้มแข็งขึ้นโดยเร็ว เพิ่มซักยภาพให้ได้ ส่วนการพูดคุยสันติภาพนั้น ก็ยังอยู่ในกระบวนการประสานงานและเตรียมการประชุมร่วมกันต่อไปในเร็ววันครับ

8.ในเรื่องของการ การส่งเสริมบทบาทไทยในเวทีประชาคมอาเซียน หลายเรื่อง การพูดคุยสันติภาพอะไรก็แล้วแต่ก็ต้องดำเนินการต่อไป มีแผนจะไปเยี่ยมเยือนประเทศเพื่อนบ้านในเร็วๆนี้ ก็เป็นการเดินแทร็คคู่กันไปกับ การพัฒนา การรักษาความปลอดภัย การสร้างความเข้าใจ การประชาสัมพันธ์ ทั้งหมด 9 ยุทธศาสตร์ ทำให้เกิดผลงาน สงสารพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนบาดเจ็บสูญเสีย เจ้าหน้าที่ก็สูญเสีย เพราะว่ามีคนที่ไม่เข้าใจอยู่ก็ต้องไปทำยังไงให้เขาเข้าใจ ก็ต้องพูดกันคุยกันให้รู้เรื่อง คนไทยด้วยกัน

ขอขอบคุณ ประชาชน ส่วนราชการ ภาคธุรกิจเอกชน และสื่อมวลชนทุกท่าน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันในการขับเคลื่อนประเทศ ขอให้ทุกท่านร่วมกัน ทุ่มเท วางรากฐานต่างๆ ให้มั่นคงสร้างความรักความสามัคคี ในชุมชน ขนาดเล็กขนาดใหญ่ เราจะได้ร่วมกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

เมื่อวานวันลอยกระทง ผมได้เห็นเด็กๆ ใส่ชุดไทยไปโรงเรียนกัน เห็นก็น่ารักนะครับ ก็อดยิ้มไม่ได้ ผมชอบเห็นคนไทยแต่งตัวแบบนั้น ผมเองไม่ใช่ว่าผมโบราณนะ แต่บางเวลาบางครั้งก็แต่งบ้าง แต่แต่งสมัยใหม่ผมก็ไม่ได้ขัดแย้ง บางวันก็ต้องแต่งให้เหมาะสมอย่างงานวัฒนธรรมก็ต้องแต่งให้เรียบร้อย เช่นในไทยคนชอบมาเที่ยว วันอื่นท่านแต่อะไรก็แต่งไป แต่อย่าให้ประเจิดประเจ้อก็แล้วกัน

ในส่วนทีมนักกีฬาเอเชี่ยนบีชเกมส์ ที่รัฐบาลสนับสนุนการแข่งขันจัดหางบประมาณให้ เมื่อวานก็มีมาพบปะพูดคุยกัน ผมก็ให้กำลังใจไปแล้วนะครับ จะกำลังจะเริ่มแข่งขันที่ภูเก็ต ในวันศุกร์หน้า ผมก็ขอเป็นกำลังใจและขอให้พี่น้องประชาชนช่วยแรงกายแรงใจไปเชียร์นักกีฬาของเรากันด้วยนะครับ ทุกคนมีความตั้งใจ

เรื่องจักรยานก็เหมือนกันเป็นนโยบายของรัฐอยู่แล้วก็ขอให้ใช้กันต่อไป วันนี้เร่งรัดในการทำเส้นทางจักรยานเพิ่ม ทำเส้นทางจักรยานร่วมกับประเศเพื่อนบ้าน เพื่อไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ ใกล้ๆ อย่างน้อยก็เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ

เรื่องขยะเหมือนกันขยะก็มีหลายประเภท อันตรายนะครับ ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ต้งสิ้นเปลืองค่ารักษาพยาบาลต่างๆ อีกมากมาย เดือดร้อนไปหมด ขยะถ้ากำจัดไม่ได้ แยกขนะไม่ได้ ขยชนย้ายไม่ได้ แล้วก็ไป เผาฝังกลบ หรือทำโรงขยะโรงไฟฟ้าขยะไม่ได้ แล้วมันจะไปไหนล่ะ ขยะมันก็จะสุมไปเรื่อยๆ 7 แสนตันมั้ง ปีหนึ่ง วันนี้ก็สะสมเป็นกองอยู่ที่ หลายๆ จังหวัดนะ ทุกจังหวัดมีหมด

ลองดูตัวอย่างต่างประเทศ ผมดูในโทรทัศน์ ประเทศเกาหลีใต้ เขามีกองขยะมหาศาลเลย สูงท่วมหัวเป็ภูเขาเลากาเมื่อไม่กี่ปีมานี่ แล้วเขาใช้วิธีการ ควรไปดูเขาเหมือนกันว่าเขาทำยังไง แล้วปรากฏว่าวันนี้ บนนั้นเป็นภูเขา มีต้นไม้ขึ้น เป็นสถานที่ท่องเที่ยว มีลานตากอากาศ มีที่มากางเต้น มีที่ทำอาหาร ครอบครัวมาเป็น ในเมืองเลย ในกรุงโซล เลย ทำไมเขาทำได้ผมว่าต้องเริ่มจากความร่วมมือร่วมใจกันถ้าทุกคนยังถือของตัวเองว่าอันนี้ใช่ ไม่ใช่ มาตลอด

ไม่ได้ ต้องหาตรงกลางให้เจอ แล้วพอรับกันได้นะ อันนี้พอเห็นต่างกันแล้วก็ขัดแย้งกันหมดเลย ให้เอาทางนี้ ไอ้นี่ก็จะเอาทางนี้ ไม่มีทางจะหากันอย่างนี้ได้เลย ผมก็ฝากถามท่านไปแล้วกันทุกคน แล้วคนไทยที่เหลืออยู่ ที่ไม่ได้ขัดแย้ง เขาจะอยู่ตรงไหน คิดถึงเขาหรือเปล่า เพราะงั้นทำอะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการเมือง ฝ่ายมั่นคง ฝ่ายอะไร ทั้งหมดถ้าเราคิดว่าประชาชนเป็นศูนย์กลาง จะหาคำตอบได้ทั้งหมดเลย เพราะท่านจะทำอะไรต่อไปในวันนี้ วันหน้า ผมก็ทำเต็มที่แล้ว

ก็ยังมีกำลังใจที่จะทำอยู่ จากพ่อแม่พี่น้องที่ให้ผมมานะ ก็ทำเต็มที่ เพราะว่าเป็นอนาคตของประเทศชาตินะครับก็ให้กำลังใจกับ รัฐบาล รัฐมนตรีทุกรัฐมนตรีด้วย การว่ากล่าวให้ร้ายกันทาง โซเชียลมีเดีย นี่ผมเห็นหมด ผมก็มีการตรวจสอบผมอยู่แล้ว อย่ากังวล ก็แจ้งมาซิครับ ใครผิดใครถูก แจ้งมาอย่าเขียนให้คนเสียหายอย่างนี้ไม่ได้ เขาไม่มีโอกาสแก้ตัว บอกผมมา ส่งรายละเอียดมาให้ชัดเจน ผมจะได้สอบสวน ดำเนินคดี แค่นั้นเอง ยากตรงไหน เขียนโซเชียล มีเดีย แบบนี้ไม่ได้ ต้องให้เกียรติซึ่งกัน และกัน ทุกคนก็อาสาสมัครกันเข้ามาทั้งนั้น แต่อยู่ที่ขั้นตอน กระบวนการ คนหลายๆ คนที่ต้องทำนี่ เขาซื่อสัตย์ไหม? เราต้องสร้างให้เขาเข้มแข็งวันนี้เราต้องสร้างข้าราชการให้เข้มแข็ง คนไม่ดีจะได้อยู่ไม่ได้ ผมจะรู้ได้อย่างไร ว่าใครดีไม่ดี ข้าราชการมีกี่ล้านคน ก็ต้องใช้ระบบในการคัดกรอง ไปว่ากันมาให้ได้ คนดีก็ต้องอย่าให้คนไม่ดีเข้ามา แต่อย่าไปทะเลาะเบาะแว้ง ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น