ที่ประชุม กมธ.พิจารณากู้ 2 ล้านล้าน “วิฑูรย์” เผยเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องทบทวน พ.ร.บ.พรุ่งนี้ ก่อนแปรญัตติ โดยเชิญ ก.คลัง-สปน.ร่วม อธิบดีทางหลวง แจงแผนพัฒนาในงบ 341,080 ล้านบ.และมอเตอร์เวย์เชื่อมต่อภูมิภาค รวมถึงขยายช่องจราจร พร้อมบูรณะการทางหลวง เริ่ม 57 คาดเสร็จปี 61 “สามารถ” รับห่วงมอเตอร์เวย์ มากสุด เหตุแข่งกันกับรถไฟความเร็วสูง ทำขาดทุน
วันนี้ (4 มิ.ย.) การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ….วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ที่มีนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสักนักนายกรัฐมนตรี และรองประธานคณะกรรมาธิการ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ก่อนเข้าสู่วาระการประชุมนายวิฑูรย์ นามบุตร กรรมาธิการ กล่าวว่า ในการประชุมวันพรุ่งนี้จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานมาทบทวนร่าง พ.ร.บ.ก่อนที่จะพิจารณาคำแปรญัตติในวันที่ 6 มิถุนายนนี้ โดยเสนอให้เพิ่มกระทรวงการคลังและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ สปน.เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่จะกำหนดราคา และหลักเกณฑ์ของค่าจ้างที่ปรึกษาต่างๆ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นด้วยตามที่นายวิฑูรย์ เสนอ
จากนั้นเมื่อเข้าสู่วาระการประชุมนายชัชวาล บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง ชี้แจงภาพรวมในส่วนของโครงการที่อยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ จำนวน 377 โครงการ วงเงิน 341,080 ล้านบาทว่า กรมทางหลวงมีแผนจะพัฒนาโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ 83 แห่ง โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศ และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสนับสนุนการค้าชายแดน รองรับการเข้สู่ AEC จำนวน 11 รายการ วงเงิน 13,770 ล้านบาท
ส่วนแผนการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์ เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง พัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น และการพัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว โครงการเร่งรัดขยาย 4 ช่องจราจร และเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงจำนวน 45 รายการ วงเงิน 80,610 ล้านบาท เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณคอขวด โครงการก่อสร้างบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค จำนวน 325 รายการ วงเงิน 31,600 ล้านบาท เพื่อบูรณะทางที่ชำรุดเสียหาย โดยโครงการทั้งหมดจะเริ่มก่อสร้างในปี 2557 คาดว่าเสร็จในปี 2561
ขณะที่ นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ กรรมาธิการ กล่าวว่า จากทั้ง 4 โครงการของกรมทางหลวง เป็นห่วงโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์ มากที่สุด เนื่องจากจะมีการแข่งขันระหว่างรถไฟความเร็วสูงและมอเตอร์เวย์ ซึ่งมองว่าประชาชนจะหันมาใช้บริการมอเตอร์เวย์มากกว่า และจะทำให้โครงการรถไฟความเร็วสูงขาดทุน ดังนั้นควรมีการพิจารณาโครงการดังกล่าวอย่างรอบคอบ ส่วนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ 83 แห่งถือเป็นโครงการที่มีความจำเป็นในด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ
วันนี้ (4 มิ.ย.) การประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ….วงเงิน 2 ล้านล้านบาท ที่มีนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสักนักนายกรัฐมนตรี และรองประธานคณะกรรมาธิการ ทำหน้าที่ประธานการประชุม ก่อนเข้าสู่วาระการประชุมนายวิฑูรย์ นามบุตร กรรมาธิการ กล่าวว่า ในการประชุมวันพรุ่งนี้จะเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานมาทบทวนร่าง พ.ร.บ.ก่อนที่จะพิจารณาคำแปรญัตติในวันที่ 6 มิถุนายนนี้ โดยเสนอให้เพิ่มกระทรวงการคลังและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ สปน.เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่จะกำหนดราคา และหลักเกณฑ์ของค่าจ้างที่ปรึกษาต่างๆ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นด้วยตามที่นายวิฑูรย์ เสนอ
จากนั้นเมื่อเข้าสู่วาระการประชุมนายชัชวาล บุญเจริญกิจ อธิบดีกรมทางหลวง ชี้แจงภาพรวมในส่วนของโครงการที่อยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของประเทศ จำนวน 377 โครงการ วงเงิน 341,080 ล้านบาทว่า กรมทางหลวงมีแผนจะพัฒนาโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ 83 แห่ง โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางและขนส่งไปสู่ศูนย์กลางของภูมิภาคทั่วประเทศ และเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อสนับสนุนการค้าชายแดน รองรับการเข้สู่ AEC จำนวน 11 รายการ วงเงิน 13,770 ล้านบาท
ส่วนแผนการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อภูมิภาค โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์ เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง พัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น และการพัฒนาและปรับปรุงระบบขนส่งเพื่อยกระดับความคล่องตัว โครงการเร่งรัดขยาย 4 ช่องจราจร และเพิ่มประสิทธิภาพทางหลวงจำนวน 45 รายการ วงเงิน 80,610 ล้านบาท เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดบริเวณคอขวด โครงการก่อสร้างบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค จำนวน 325 รายการ วงเงิน 31,600 ล้านบาท เพื่อบูรณะทางที่ชำรุดเสียหาย โดยโครงการทั้งหมดจะเริ่มก่อสร้างในปี 2557 คาดว่าเสร็จในปี 2561
ขณะที่ นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ กรรมาธิการ กล่าวว่า จากทั้ง 4 โครงการของกรมทางหลวง เป็นห่วงโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือ มอเตอร์เวย์ มากที่สุด เนื่องจากจะมีการแข่งขันระหว่างรถไฟความเร็วสูงและมอเตอร์เวย์ ซึ่งมองว่าประชาชนจะหันมาใช้บริการมอเตอร์เวย์มากกว่า และจะทำให้โครงการรถไฟความเร็วสูงขาดทุน ดังนั้นควรมีการพิจารณาโครงการดังกล่าวอย่างรอบคอบ ส่วนโครงการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ 83 แห่งถือเป็นโครงการที่มีความจำเป็นในด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ