เลขาธิการสำนักงาน ก.พ.ร.แจงผลงานต้านทุจริตคอร์รัปชัน 4 ด้าน พร้อมเผยความคืบหน้าโครงการ 1 กรม 1 ป้องกันโกง เผย 10 หน่วยงานรัฐปราบโกงดีเด่น เน้นสร้างกลไกป้องกันรับแปะเจี๊ย ส่วย เงินใต้โต๊ะ
วันนี้ (1 เม.ย.) นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เปิดเผยถึงผลงานการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ตามนโยบายรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย 4 ด้านสำคัญ คือ 1. การปลุกจิตสำนึกและสร้างความตระหนักรู้ ได้จัดการประชุม ฝึกอบรม และประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อต่างๆ และมีการสัญจรสร้างเครือข่ายในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ 2. การพัฒนาองค์การ ได้ดำเนินโครงการ 1 กรม 1 ป้องกันโกง หรือ Clean Initiative ขึ้นทุกกรมและจังหวัด และจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านทุจริตขึ้นในทุกกระทรวง 3. การตรวจสอบ เฝ้าระวังเชิงรุก ได้เปิด 3 ช่องทางพิเศษรับเรื่องร้องเรียนการทุจริต ได้แก่ ตู้รับเรื่องร้องเรียนทุจริตทั่วประเทศ, สายด่วน 1206, สื่อออนไลน์ http://www.stopcorruption.go.th และ 4. การปราบปรามที่จริงจัง และการลงโทษที่เข้มงวด ซึ่งเน้นบูรณาการการทำงานของ 3 หน่วยงานรัฐ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รวมทั้งการแก้ไขกฎ ก.พ. เพื่อให้การลงโทษข้าราชการทุจริตรวดเร็วขึ้น และกำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้ส่วนราชการรับผู้ถูกลงโทษทุจริตกลับเข้ารับราชการได้อีก
สำหรับความคืบหน้าของโครงการ 1 กรม 1 ป้องกันโกง ทุกส่วนราชการทั้งระดับกรมและจังหวัด ได้รับการอนุมัติครบหมดแล้ว โดยผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการต่อต้านคอร์รัปชันอีก 22 ท่าน ทั้งนี้แต่ละหน่วยงานที่ได้รับการอนุมัติ จะต้องรายงานความคืบหน้าทุกเดือน รวมทั้งมีการตรวจติดตามประเมินผลทุก 3, 6 และ 9 เดือน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจติดตามในพื้นที่จริงโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิฯ ร่วมตรวจติดตามด้วย นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ร.ได้จัดให้มีเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินการ และมีผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ โดยมีตัวแทนจากส่วนราชการที่จัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงฯ ในกลุ่มกระบวนงาน 3 ประเภท ได้แก่ กระบวนงานเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนและบริการสาธารณะ (21 ส่วนราชการ) กระบวนการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาต อนุมัติ และใบรับรอง (30 ส่วนราชการ) และกระบวนงานเกี่ยวกับการกำกับและบังคับใช้กฎหมาย (17 ส่วนราชการ)
ทั้งนี้ ผลงานการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามนโยบายรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายใต้ โครงการ 1 กรม 1 ป้องกันโกง ทุกส่วนราชการทั้งระดับกรมและจังหวัด มีโครงการของส่วนราชการระดับกรมที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นน่าสนใจ 10 หน่วยงาน ได้แก่ 1. กรมทางหลวงชนบท ได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการควบคุมงาน โดยเน้นให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบติดตามมาตรฐานการก่อสร้างและบำรุงรักษาทางในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการที่มีมูลค่ามากกว่า 2 ล้านบาทขึ้นไป 2. กรมศุลกากร ได้พัฒนากระบวนการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Import) เพื่อให้มีความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดทำบันทึกความร่วมมือ 3 ฝ่าย ระหว่างกรมฯ ผู้รับจ้าง และประชาชนในพื้นที่เพื่อเปิดเผยข้อมูลต่างๆ และลงนามใน MOU ระหว่างกรมศุลกากรกับตัวแทนผู้ออกของเพื่อร่วมกันหยุดทุจริต
3. กรมสรรพากร ได้มีการพัฒนากระบวนงานการคัดเลือกผู้เสียภาษีเพื่อกำกับ และตรวจสอบ มีความโปร่งใส เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งทำให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีที่ถูกตรวจสอบ ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมีความถูกต้องมากขึ้น 4. กรมพัฒนาที่ดิน มีการพัฒนาระบบงานที่มุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจรับงานก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน พร้อมจัดทำหลักเกณฑ์ในทุกขั้นตอนที่มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ 5. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่เช่าให้มีความถูกต้อง พร้อมสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังเพื่อให้ผู้เช่ามีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และร่วมตรวจสอบการเช่าในชุมชนตนเอง เพื่อสร้างความโปร่งใสในการดูแลรักษาศาสนสมบัติ 6. สำนักงานประกันสังคม ได้ปรับปรุงวิธีการรับเงินธนาณัติจากเงินสดเป็นแคชเชียร์เช็ค ทำให้เงินสดไม่ผ่านมือเจ้าหน้าที่ ช่วยลดความเสี่ยงในการที่เจ้าหน้าที่นำธนาณัติไปขึ้นเงินสดก่อน และลงทะเบียนคุมไม่ครบถ้วน
7. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีการวางระบบการตรวจสอบขั้นตอนการจับกุมให้รัดกุม พร้อมทั้งจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานและการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าตรวจสอบขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และแจ้งเบาะแสการทุจริต เพื่อป้องกันการละเว้นการจับกุมผู้กระทำผิดในคดีบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หรือการจับกุมที่ไม่ถูกต้อง หลักฐานไม่เพียงพอ ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ถูกดำเนินคดี 8. จังหวัดเชียงราย ได้พัฒนาระบบงานฐานข้อมูลการให้ถ้อยคำของพยานบุคคล ซึ่งช่วยให้การตรวจสอบข้อมูลพยานผู้รู้เห็นการเกิด เพื่อออกหนังสือรับรองการเกิดมีความถูกต้อง ทำให้ลดความเสี่ยงการให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จของพยานการเกิดได้เป็นอย่างดี ซึ่งช่วยลดปัญหาการอนุมัติลงรายการสัญชาติไทยให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิได้สัญชาติไทย และสร้างความโปร่งใสในกระบวนงานลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียน
9. จังหวัดนครปฐม ได้พัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลการออกหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ ซึ่งช่วยให้การตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนสัตว์น้ำต่อพื้นที่การเพาะเลี้ยง และป้องกันการสวมสิทธิใบอนุญาตการจำหน่ายสัตว์น้ำ โดยโปรแกรมจะเตือนเมื่อจำนวนสัตว์น้ำที่แจ้งเกินสัดส่วนอัตรารอดของลูกพันธุ์ ซึ่งเดิมเจ้าหน้าที่จะต้องคำนวณแล้วจึงบันทึกลงเครื่องทำให้เกิดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลและการออกใบอนุญาตที่เกินจำนวนที่เป็นจริงได้ 10. จังหวัดลำพูน ได้มีการแก้ไขปัญหากระบวนงานจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขาย มักมีข้อร้องเรียนการปฏิบัติงานว่าค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมไม่ถูกต้องเป็นธรรม โดยการจัดทำราคาประเมินเป็นรายแปลงทั่วทั้งจังหวัด โดยใช้ฐานข้อมูลราคาประเมินที่ดินและโซน/บล็อก และเปิดเผยข้อมูลราคาประเมินดังกล่าวต่อสาธารณชนในช่องทางต่างๆ เพื่อความโปร่งใส นับเป็นจุดเริ่มต้นและปลุกระดมให้ทุกส่วนราชการและจังหวัดดำเนินการแก้ปัญหาและป้องกันการทุจริตอย่างครอบคลุม เชื่อมั่นว่า จะสามารถป้องกันและแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศได้อีกระดับ
นายทศพรยังเปิดเผยว่า ในอนาคตจะมีการตั้งคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (Anti-Corruption Cooperation Committee) ซึ่งมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน จะเสนอให้มีการจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาเป็นผู้เสนอราคาหรือเสนองานกับรัฐว่าจะไม่กระทำการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และมีบุคคลภายนอกร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ต้นจนจบ (Integrity Pact)
“การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในระยะที่ผ่านมา ถือว่ามีความก้าวหน้าไปมาพอสมควร ทุกหน่วยงานได้เริ่มต้นปัดกวาดบ้านตนเองให้สะอาด ผ่านโครงการ 1 กรม 1 ป้องกันโกง ซึ่งก็อยากจะฝากให้ประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคมร่วมกันติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลสำเร็จและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง ในระยะต่อไปจะขยายการดำเนินงานให้เข้มข้นมากขึ้นและเปิดให้สังคมภายนอกได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง” นายทศพรกล่าวทิ้งท้าย
วันนี้ (1 เม.ย.) นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เปิดเผยถึงผลงานการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ตามนโยบายรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกอบด้วย 4 ด้านสำคัญ คือ 1. การปลุกจิตสำนึกและสร้างความตระหนักรู้ ได้จัดการประชุม ฝึกอบรม และประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อต่างๆ และมีการสัญจรสร้างเครือข่ายในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ 2. การพัฒนาองค์การ ได้ดำเนินโครงการ 1 กรม 1 ป้องกันโกง หรือ Clean Initiative ขึ้นทุกกรมและจังหวัด และจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านทุจริตขึ้นในทุกกระทรวง 3. การตรวจสอบ เฝ้าระวังเชิงรุก ได้เปิด 3 ช่องทางพิเศษรับเรื่องร้องเรียนการทุจริต ได้แก่ ตู้รับเรื่องร้องเรียนทุจริตทั่วประเทศ, สายด่วน 1206, สื่อออนไลน์ http://www.stopcorruption.go.th และ 4. การปราบปรามที่จริงจัง และการลงโทษที่เข้มงวด ซึ่งเน้นบูรณาการการทำงานของ 3 หน่วยงานรัฐ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รวมทั้งการแก้ไขกฎ ก.พ. เพื่อให้การลงโทษข้าราชการทุจริตรวดเร็วขึ้น และกำหนดมาตรการเพื่อไม่ให้ส่วนราชการรับผู้ถูกลงโทษทุจริตกลับเข้ารับราชการได้อีก
สำหรับความคืบหน้าของโครงการ 1 กรม 1 ป้องกันโกง ทุกส่วนราชการทั้งระดับกรมและจังหวัด ได้รับการอนุมัติครบหมดแล้ว โดยผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติราชการ ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการต่อต้านคอร์รัปชันอีก 22 ท่าน ทั้งนี้แต่ละหน่วยงานที่ได้รับการอนุมัติ จะต้องรายงานความคืบหน้าทุกเดือน รวมทั้งมีการตรวจติดตามประเมินผลทุก 3, 6 และ 9 เดือน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจติดตามในพื้นที่จริงโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิฯ ร่วมตรวจติดตามด้วย นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ร.ได้จัดให้มีเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การดำเนินการ และมีผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ โดยมีตัวแทนจากส่วนราชการที่จัดทำข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงฯ ในกลุ่มกระบวนงาน 3 ประเภท ได้แก่ กระบวนงานเกี่ยวกับการให้บริการประชาชนและบริการสาธารณะ (21 ส่วนราชการ) กระบวนการเกี่ยวกับการออกใบอนุญาต อนุมัติ และใบรับรอง (30 ส่วนราชการ) และกระบวนงานเกี่ยวกับการกำกับและบังคับใช้กฎหมาย (17 ส่วนราชการ)
ทั้งนี้ ผลงานการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามนโยบายรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายใต้ โครงการ 1 กรม 1 ป้องกันโกง ทุกส่วนราชการทั้งระดับกรมและจังหวัด มีโครงการของส่วนราชการระดับกรมที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นน่าสนใจ 10 หน่วยงาน ได้แก่ 1. กรมทางหลวงชนบท ได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการควบคุมงาน โดยเน้นให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบติดตามมาตรฐานการก่อสร้างและบำรุงรักษาทางในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการที่มีมูลค่ามากกว่า 2 ล้านบาทขึ้นไป 2. กรมศุลกากร ได้พัฒนากระบวนการนำเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Import) เพื่อให้มีความโปร่งใสในการปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดทำบันทึกความร่วมมือ 3 ฝ่าย ระหว่างกรมฯ ผู้รับจ้าง และประชาชนในพื้นที่เพื่อเปิดเผยข้อมูลต่างๆ และลงนามใน MOU ระหว่างกรมศุลกากรกับตัวแทนผู้ออกของเพื่อร่วมกันหยุดทุจริต
3. กรมสรรพากร ได้มีการพัฒนากระบวนงานการคัดเลือกผู้เสียภาษีเพื่อกำกับ และตรวจสอบ มีความโปร่งใส เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ขึ้นอยู่กับการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งทำให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้เสียภาษีที่ถูกตรวจสอบ ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีมีความถูกต้องมากขึ้น 4. กรมพัฒนาที่ดิน มีการพัฒนาระบบงานที่มุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจรับงานก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน พร้อมจัดทำหลักเกณฑ์ในทุกขั้นตอนที่มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ 5. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ดำเนินการปรับปรุงข้อมูลการใช้ประโยชน์พื้นที่เช่าให้มีความถูกต้อง พร้อมสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังเพื่อให้ผู้เช่ามีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และร่วมตรวจสอบการเช่าในชุมชนตนเอง เพื่อสร้างความโปร่งใสในการดูแลรักษาศาสนสมบัติ 6. สำนักงานประกันสังคม ได้ปรับปรุงวิธีการรับเงินธนาณัติจากเงินสดเป็นแคชเชียร์เช็ค ทำให้เงินสดไม่ผ่านมือเจ้าหน้าที่ ช่วยลดความเสี่ยงในการที่เจ้าหน้าที่นำธนาณัติไปขึ้นเงินสดก่อน และลงทะเบียนคุมไม่ครบถ้วน
7. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีการวางระบบการตรวจสอบขั้นตอนการจับกุมให้รัดกุม พร้อมทั้งจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานและการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าตรวจสอบขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และแจ้งเบาะแสการทุจริต เพื่อป้องกันการละเว้นการจับกุมผู้กระทำผิดในคดีบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หรือการจับกุมที่ไม่ถูกต้อง หลักฐานไม่เพียงพอ ทำให้ผู้กระทำความผิดไม่ถูกดำเนินคดี 8. จังหวัดเชียงราย ได้พัฒนาระบบงานฐานข้อมูลการให้ถ้อยคำของพยานบุคคล ซึ่งช่วยให้การตรวจสอบข้อมูลพยานผู้รู้เห็นการเกิด เพื่อออกหนังสือรับรองการเกิดมีความถูกต้อง ทำให้ลดความเสี่ยงการให้ถ้อยคำอันเป็นเท็จของพยานการเกิดได้เป็นอย่างดี ซึ่งช่วยลดปัญหาการอนุมัติลงรายการสัญชาติไทยให้แก่ผู้ไม่มีสิทธิได้สัญชาติไทย และสร้างความโปร่งใสในกระบวนงานลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียน
9. จังหวัดนครปฐม ได้พัฒนาโปรแกรมฐานข้อมูลการออกหนังสือกำกับการจำหน่ายสัตว์น้ำ ซึ่งช่วยให้การตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนสัตว์น้ำต่อพื้นที่การเพาะเลี้ยง และป้องกันการสวมสิทธิใบอนุญาตการจำหน่ายสัตว์น้ำ โดยโปรแกรมจะเตือนเมื่อจำนวนสัตว์น้ำที่แจ้งเกินสัดส่วนอัตรารอดของลูกพันธุ์ ซึ่งเดิมเจ้าหน้าที่จะต้องคำนวณแล้วจึงบันทึกลงเครื่องทำให้เกิดความผิดพลาดในการบันทึกข้อมูลและการออกใบอนุญาตที่เกินจำนวนที่เป็นจริงได้ 10. จังหวัดลำพูน ได้มีการแก้ไขปัญหากระบวนงานจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขาย มักมีข้อร้องเรียนการปฏิบัติงานว่าค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธินิติกรรมไม่ถูกต้องเป็นธรรม โดยการจัดทำราคาประเมินเป็นรายแปลงทั่วทั้งจังหวัด โดยใช้ฐานข้อมูลราคาประเมินที่ดินและโซน/บล็อก และเปิดเผยข้อมูลราคาประเมินดังกล่าวต่อสาธารณชนในช่องทางต่างๆ เพื่อความโปร่งใส นับเป็นจุดเริ่มต้นและปลุกระดมให้ทุกส่วนราชการและจังหวัดดำเนินการแก้ปัญหาและป้องกันการทุจริตอย่างครอบคลุม เชื่อมั่นว่า จะสามารถป้องกันและแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศได้อีกระดับ
นายทศพรยังเปิดเผยว่า ในอนาคตจะมีการตั้งคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (Anti-Corruption Cooperation Committee) ซึ่งมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน จะเสนอให้มีการจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาเป็นผู้เสนอราคาหรือเสนองานกับรัฐว่าจะไม่กระทำการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และมีบุคคลภายนอกร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ต้นจนจบ (Integrity Pact)
“การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกของรัฐบาลในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในระยะที่ผ่านมา ถือว่ามีความก้าวหน้าไปมาพอสมควร ทุกหน่วยงานได้เริ่มต้นปัดกวาดบ้านตนเองให้สะอาด ผ่านโครงการ 1 กรม 1 ป้องกันโกง ซึ่งก็อยากจะฝากให้ประชาชนและทุกภาคส่วนในสังคมร่วมกันติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดผลสำเร็จและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง ในระยะต่อไปจะขยายการดำเนินงานให้เข้มข้นมากขึ้นและเปิดให้สังคมภายนอกได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง” นายทศพรกล่าวทิ้งท้าย