นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เปิดเผยถึงผลงานการดำเนินการระยะ 6 เดือน ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และแผนงานเชิงรุกตามนโยบายรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้ตั้งแต่ดำเนินการได้รับการร้องทุกข์/กล่าวโทษ 1,025 เรื่อง และมีการแจ้งเบาะแส 726 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 1,751 ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงและหากมีมูลจะเข้าสู่กระบวนการไต่สวนทันที สำหรับหัวข้อเรื่องร้องเรียน และจัดอันดับเรื่องที่ถูกร้องเรียนเข้ามามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. การทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ 2. การทุจริตภายใต้โครงการรัฐ 3. การทุจริตโครงการก่อสร้าง/ฮั้วประมูล ส่วนเรื่องที่มีการแจ้งเบาะแสเข้ามามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การรับส่วยหรือตั้งด่าน , การก่อสร้างงาน/ประมูลงานไม่เป็นธรรม
รัฐบาลเน้นบูรณาการเพื่อดำเนินการร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ยังได้ดำเนินการแก้กฎ ก.พ. และการปรับปรุงร่างกฎมายพระราชบัญญัติต่าง ๆ
ทั้งภายหลังได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นขึ้นในทุกกระทรวง จำนวน 19 กระทรวง ทั้งนี้ยังเร่งดำเนินการแก้กฎ ก.พ. เพื่อให้การดำเนินการสอบสวนลงโทษกรณีทุจริต ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน เพื่อให้การสอบสวนและลงโทษได้รวดเร็วขึ้น ลดระยะเวลาในการวิ่งเต้นของผู้ที่กระทำผิดลดน้อยลง ด้วยการเพิ่มบทลงโทษอย่างหนัก อาทิเช่น ขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) ข้าราชการที่คอร์รัปชันไม่สามารถเติบโตขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูง และกระทำการทุจริตต่อไปได้
นายทศพร ยังกล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการ 1 กรม 1 ป้องกันโกง ที่ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นอีก 22 คน คัดกรองทุก 3, 6 และ 9 เดือน ทั้งระดับกรมและจังหวัด มีโครงการของส่วนราชการระดับกรมที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นน่าสนใจ 10 หน่วยงาน ได้แก่ 1.กรมทางหลวงชนบท 2.กรมศุลกากร 3.กรมสรรพากร 4. กรมพัฒนาที่ดิน 5.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 6.สำนักงานประกันสังคม 7.กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 8.จังหวัดเชียงราย 9.จังหวัดนครปฐม และ10. จังหวัดลำพูน
ขณะเดียวกันในอนาคตจะมีการตั้ง คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (Anti-Corruption Cooperation Committee) ซึ่งมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เป็นประธาน และจะเสนอให้มีการจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาเป็นผู้เสนอราคาหรือเสนองานกับรัฐว่าจะไม่กระทำการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และมีบุคคลภายนอกร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ต้นจนจบ (Integrity Pact)
ทั้งนี้ตั้งแต่ดำเนินการได้รับการร้องทุกข์/กล่าวโทษ 1,025 เรื่อง และมีการแจ้งเบาะแส 726 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 1,751 ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงและหากมีมูลจะเข้าสู่กระบวนการไต่สวนทันที สำหรับหัวข้อเรื่องร้องเรียน และจัดอันดับเรื่องที่ถูกร้องเรียนเข้ามามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. การทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ 2. การทุจริตภายใต้โครงการรัฐ 3. การทุจริตโครงการก่อสร้าง/ฮั้วประมูล ส่วนเรื่องที่มีการแจ้งเบาะแสเข้ามามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การรับส่วยหรือตั้งด่าน , การก่อสร้างงาน/ประมูลงานไม่เป็นธรรม
รัฐบาลเน้นบูรณาการเพื่อดำเนินการร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ยังได้ดำเนินการแก้กฎ ก.พ. และการปรับปรุงร่างกฎมายพระราชบัญญัติต่าง ๆ
ทั้งภายหลังได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นขึ้นในทุกกระทรวง จำนวน 19 กระทรวง ทั้งนี้ยังเร่งดำเนินการแก้กฎ ก.พ. เพื่อให้การดำเนินการสอบสวนลงโทษกรณีทุจริต ให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน เพื่อให้การสอบสวนและลงโทษได้รวดเร็วขึ้น ลดระยะเวลาในการวิ่งเต้นของผู้ที่กระทำผิดลดน้อยลง ด้วยการเพิ่มบทลงโทษอย่างหนัก อาทิเช่น ขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) ข้าราชการที่คอร์รัปชันไม่สามารถเติบโตขึ้นไปเป็นผู้บริหารระดับสูง และกระทำการทุจริตต่อไปได้
นายทศพร ยังกล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการ 1 กรม 1 ป้องกันโกง ที่ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการต่อต้านคอร์รัปชั่นอีก 22 คน คัดกรองทุก 3, 6 และ 9 เดือน ทั้งระดับกรมและจังหวัด มีโครงการของส่วนราชการระดับกรมที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่นน่าสนใจ 10 หน่วยงาน ได้แก่ 1.กรมทางหลวงชนบท 2.กรมศุลกากร 3.กรมสรรพากร 4. กรมพัฒนาที่ดิน 5.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 6.สำนักงานประกันสังคม 7.กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 8.จังหวัดเชียงราย 9.จังหวัดนครปฐม และ10. จังหวัดลำพูน
ขณะเดียวกันในอนาคตจะมีการตั้ง คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (Anti-Corruption Cooperation Committee) ซึ่งมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เป็นประธาน และจะเสนอให้มีการจัดทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่สนใจเข้ามาเป็นผู้เสนอราคาหรือเสนองานกับรัฐว่าจะไม่กระทำการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และมีบุคคลภายนอกร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ต้นจนจบ (Integrity Pact)