รายงานการเมือง
กลายเป็นข่าวครึกโครมไปทั่วโลก สำหรับพิธีลงนามความเห็นพ้องทั่วไปเพื่อร่วมกระบวนการเจรจาสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างรัฐบาลไทยโดย “สภาความมั่นคงแห่งชาติ” (สมช.) กับ “แกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น” ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา
ทางการไทยนำโดย “พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร” เลขาธิการ สมช. “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้” (ศอ.บต.) “พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก” รองปลัดกระทรวงกลาโหม “พล.ต.ท. สฤษดิ์ชัย อเนกเวียง” ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
ส่วนฝั่ง “บีอาร์เอ็น” นำโดย “ฮัสซัน ตอยิบ” หรืออาแซ เจ๊ะหลง รองเลขาธิการบีอาร์เอ็น และหัวหน้าสภาการเมือง “อาแว ยะบะ” เลขานุการฝ่ายต่างประเทศ “อับดุลเลาะห์ มาหะมะ” ระดับนำฝ่ายอูลามา “อับดุลเลาะห์มาน ยะบะ” ระดับนำฝ่ายการเมือง
และมี “พล.อ.ตันสรี ดาโต๊ะสรี บิน โมฮัมเหม็ด ซิน” ผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาเลเซีย เป็นสักขีพยาน ในฐานะที่รับหน้าเสื่อเป็นผู้ประสานงาน
เมื่อไล่เรียงรายชื่อในพิธีลงนามทั้งหมด จะเห็นว่าไม่มีระดับ “รัฐมนตรี” ของทั้งฝั่ง “ไทย-มาเลเซีย” เข้าไปร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีแม้แต่คนเดียว เรื่องนี้ทั้งสองฝ่ายอ้างว่า อยากให้การลงนามครั้งนี้ ปลอดจากฝ่าย “การเมือง” ให้มากที่สุด เพราะประเมินว่าหากมีฝ่ายการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง ระดับความร่วมมือจะถูกยกให้สูงขึ้นไปอีก และหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญา หรือทำตามเงื่อนไขที่สัญญาระบุไว้ไม่ได้ ก็จะทำให้ “เดิมพัน” ที่ตามมาสูงกว่าไปด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็แล้วแต่ การเลือกจังหวะเซ็นหนังสือก่อนที่คณะของ “นายกฯ ยิ่งลักษณ์” จะเดินทางเข้าร่วมประชุมกับรัฐบาลมาเลเซียในวันนั้นพอดิบพอดี ก็หนีไม่พ้น “เกมการเมือง” ของรัฐบาลทั้งสองประเทศ ที่ต้องการสร้างภาพความสำเร็จในการประชุมร่วมกัน
เพียงแต่เมื่อบวกลบคูณหารแล้ว เป็นฝ่ายไทยที่ยังไม่เห็นผลกำไร และมีแนวโน้มที่จะ “ขาดทุน” เพราะยอมลดตัวลงไปพูดคุยกับกลุ่มก่อความไม่สงบ ราวกับยกฐานะให้เป็นการเจรจาแบบ “รัฐต่อรัฐ” ก็ว่าได้
ส่วนฝ่ายมาเลเซียนั้นลอยตัว ได้คะแนนไปเต็มเปา ในฐานะ “ว่าที่ผู้นำสันติภาพ” ให้แก่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ทั้งๆที่ตั้งแต่ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้กลับมารุนแรงในรอบเกือบ 10 ปีที่ผ่านมานั้น รัฐบาลไทยหลายต่อหลายชุด พยายามขอความร่วมมือจากรัฐบาลมาเลเซีย แต่ก็ทำได้แค่ความร่วมมือแบบกว้าง ไม่มีการลงรายละเอียดแต่อย่างใด
การให้ความร่วมมือของ “มาเลเซีย” ครั้งนี้ จึงเต็มไปด้วย “นัยซ่อนเร้น” อย่างหนีไม่พ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กำลังมีการเลือกตั้งภายในประเทศมาเลเซีย ซึ่ง “นาจิบ ราซัค” นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ก็ต้องการสร้างภาพของความร่วมมือความประนีประนอม นำไปสู่การ “ได้ใจ” ประชาชนในประเทศ รวมทั้ง “ซื้อใจ” รัฐบาลไทย โดยหวังผลในภายภาคหน้าอย่างแน่นอน ทำให้หลังจากนี้ต้องจับตาความเคลื่อนไหวและความร่วมมืออื่นๆ ระหว่าง “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “รัฐบาลนาจิบ” ไว้ให้ดี
หันมาดูในส่วนของไทย ที่แม้จะไม่มีฝ่ายการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องกับการลงนามการเจรจาเพื่อสันติภาพ แต่หากเกิดอะไรขึ้นภายหลังก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะถือเป็นการกระทำที่ “รัฐบาล” ที่กำกับดูแลหน่วยงานทั้งหมด
อีกทั้งตามโครงสร้างของ “สมช.” นายกรัฐมนตรี คือ “ประธาน” โดยตำแหน่ง
การที่ “รัฐบาล” จะบอกว่าไม่รู้เห็นคงเป็นไปไม่ได้ จึงต้องร่วมรับผิดชอบด้วย และการมอบหมายให้ “สมช.” ถือว่า “เสี่ยง” ไม่ใช่น้อย เพราะนี่คือครั้งแรกที่ “หน่วยงานด้านความมั่นคง” ลงไปยืนยันสถานะของ “กลุ่มก่อความไม่สงบ” ว่ามีตัวตนอยู่จริงเป็นครั้งแรก
หากบุคคลที่มาเปิดโต๊ะลงนามครั้งนี้ ไม่ใช่ “ตัวจริง” ขึ้นมา จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในสายตาของ “ชาวโลก” อย่างแน่นอน เนื่องจากปกติแล้วจะไม่ค่อยมีประเทศไหนให้ “หน่วยงานความมั่นคง” ลงนามความร่วมมือสำคัญๆ เพราะหากมีความแปรผันขึ้นมาจะส่งผลเสียอย่างมหันต์
แต่หากมีการลงนามความร่วมมือ ก็จะดำเนินการใน “ทางลับ” เท่านั้น ไม่มีมาลงนามสร้างภาพให้ “สาธารณะ” รับทราบแต่อย่างใด เพราะมันมี “ผลเสีย” มากกว่า “ผลดี” ที่จะได้รับ
ไม่ต่างจาก “โจ๊กระดับโลก” เมื่อปี 2551 ที่ “บิ๊กเหวียง-พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร” นำเทปของกลุ่มบุคคลที่อ้างตัวว่า “กลุ่มใต้ดินรวมภาคใต้ของประเทศไทย” มาออกอากาศทางสถานี ททบ. 5 เพื่อประกาศยุติการก่อความไม่สงบในจังหวัดภาคใต้ สุดท้ายก็ “โอละพ่อ” เพราะคนกลุ่มดังกล่าวไม่มีตัวตนอยู่จริง และความรุนแรงก็ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันนี้
การดำเนินการครั้งนี้ของรัฐบาล จึงหนีไม่พ้นคำถามเรื่อง “ตัวจริง-ตัวปลอม” หรือ 3-4 คนที่ปรากฎในเวทีการลงนามนั้นมี “อิทธิพล” หรือมีอำนาจในการสั่งการระดับปฏิบัติการได้ขนาดไหน เพราะให้หลังการลงนามความร่วมมือกับ “บีอาร์เอ็น” ไม่ถึงวัน ก็เกิดเหตุการณ์ระเบิดในหลายพื้นที่ ราวกับว่า เวทีการลงนามดังกล่าวเหมือนไม่ได้เกิดขึ้น
อย่าลืมว่า กลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้มีแค่ “บีอาร์เอ็น” แค่กลุ่มเดียว หาก “รัฐบาลไทย” มุ่งแต่ให้ความสำคัญกลุ่มนี้ โดยอ้างว่าเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด ก็หนีไม่พ้นที่กลุ่มอื่นๆจะออกมาก่อเหตุแสดงพลังให้เห็น เพื่อแสดงสถานะว่ายังมีตัวตนอยู่เหมือนกัน
หากเป็นเช่นนี้จริง สถานการณ์ความรุนแรงก็โหมกระหน่ำหนักข้อขึ้นอีกทวีคูณ เมื่อทุกกลุ่มต่างเฮโลออกมาแสดงพลังก่อเหตุปั่นป่วน ก็คงยากที่ “เจ้าหน้าที่รัฐ” จะรับมือไหว
อีกทั้งน่ากังวลอีกว่าภายใน “บีอาร์เอ็น” ก็มีการแตกกอ แบ่งพรรคแบ่งพวกออกไปหลายกลุ่ม มีทั้ง “สายพิราบ” ก็ไม่ค่อยออกมาก่อเหตุมากนัก และ “สายฮาร์ดคอร์” ต้องการแบ่งแยกดินแดนอย่างจริงจัง จึงเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมให้ “แนวร่วม” เดินตามแนวทางเดียวกันทั้งหมด เพราะว่าความเชื่อของแต่ละคน แต่ละกลุ่มต่างกันสุดขั้ว บางครั้ง “แกนนำ” สั่งอย่าง แต่ “หน่วยปฏิบัติ” ทำอีกอย่างก็มีให้เห็น
งานนี้ ใครได้-ใครเสีย-ใครขาดทุน-ใครกำไร ก็เห็นๆ กันอยู่แล้ว
กลายเป็นข่าวครึกโครมไปทั่วโลก สำหรับพิธีลงนามความเห็นพ้องทั่วไปเพื่อร่วมกระบวนการเจรจาสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างรัฐบาลไทยโดย “สภาความมั่นคงแห่งชาติ” (สมช.) กับ “แกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น” ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา
ทางการไทยนำโดย “พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร” เลขาธิการ สมช. “พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง” เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้” (ศอ.บต.) “พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก” รองปลัดกระทรวงกลาโหม “พล.ต.ท. สฤษดิ์ชัย อเนกเวียง” ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล
ส่วนฝั่ง “บีอาร์เอ็น” นำโดย “ฮัสซัน ตอยิบ” หรืออาแซ เจ๊ะหลง รองเลขาธิการบีอาร์เอ็น และหัวหน้าสภาการเมือง “อาแว ยะบะ” เลขานุการฝ่ายต่างประเทศ “อับดุลเลาะห์ มาหะมะ” ระดับนำฝ่ายอูลามา “อับดุลเลาะห์มาน ยะบะ” ระดับนำฝ่ายการเมือง
และมี “พล.อ.ตันสรี ดาโต๊ะสรี บิน โมฮัมเหม็ด ซิน” ผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาเลเซีย เป็นสักขีพยาน ในฐานะที่รับหน้าเสื่อเป็นผู้ประสานงาน
เมื่อไล่เรียงรายชื่อในพิธีลงนามทั้งหมด จะเห็นว่าไม่มีระดับ “รัฐมนตรี” ของทั้งฝั่ง “ไทย-มาเลเซีย” เข้าไปร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีแม้แต่คนเดียว เรื่องนี้ทั้งสองฝ่ายอ้างว่า อยากให้การลงนามครั้งนี้ ปลอดจากฝ่าย “การเมือง” ให้มากที่สุด เพราะประเมินว่าหากมีฝ่ายการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง ระดับความร่วมมือจะถูกยกให้สูงขึ้นไปอีก และหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดสัญญา หรือทำตามเงื่อนไขที่สัญญาระบุไว้ไม่ได้ ก็จะทำให้ “เดิมพัน” ที่ตามมาสูงกว่าไปด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็แล้วแต่ การเลือกจังหวะเซ็นหนังสือก่อนที่คณะของ “นายกฯ ยิ่งลักษณ์” จะเดินทางเข้าร่วมประชุมกับรัฐบาลมาเลเซียในวันนั้นพอดิบพอดี ก็หนีไม่พ้น “เกมการเมือง” ของรัฐบาลทั้งสองประเทศ ที่ต้องการสร้างภาพความสำเร็จในการประชุมร่วมกัน
เพียงแต่เมื่อบวกลบคูณหารแล้ว เป็นฝ่ายไทยที่ยังไม่เห็นผลกำไร และมีแนวโน้มที่จะ “ขาดทุน” เพราะยอมลดตัวลงไปพูดคุยกับกลุ่มก่อความไม่สงบ ราวกับยกฐานะให้เป็นการเจรจาแบบ “รัฐต่อรัฐ” ก็ว่าได้
ส่วนฝ่ายมาเลเซียนั้นลอยตัว ได้คะแนนไปเต็มเปา ในฐานะ “ว่าที่ผู้นำสันติภาพ” ให้แก่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ทั้งๆที่ตั้งแต่ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้กลับมารุนแรงในรอบเกือบ 10 ปีที่ผ่านมานั้น รัฐบาลไทยหลายต่อหลายชุด พยายามขอความร่วมมือจากรัฐบาลมาเลเซีย แต่ก็ทำได้แค่ความร่วมมือแบบกว้าง ไม่มีการลงรายละเอียดแต่อย่างใด
การให้ความร่วมมือของ “มาเลเซีย” ครั้งนี้ จึงเต็มไปด้วย “นัยซ่อนเร้น” อย่างหนีไม่พ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กำลังมีการเลือกตั้งภายในประเทศมาเลเซีย ซึ่ง “นาจิบ ราซัค” นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ก็ต้องการสร้างภาพของความร่วมมือความประนีประนอม นำไปสู่การ “ได้ใจ” ประชาชนในประเทศ รวมทั้ง “ซื้อใจ” รัฐบาลไทย โดยหวังผลในภายภาคหน้าอย่างแน่นอน ทำให้หลังจากนี้ต้องจับตาความเคลื่อนไหวและความร่วมมืออื่นๆ ระหว่าง “รัฐบาลยิ่งลักษณ์” กับ “รัฐบาลนาจิบ” ไว้ให้ดี
หันมาดูในส่วนของไทย ที่แม้จะไม่มีฝ่ายการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องกับการลงนามการเจรจาเพื่อสันติภาพ แต่หากเกิดอะไรขึ้นภายหลังก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ เพราะถือเป็นการกระทำที่ “รัฐบาล” ที่กำกับดูแลหน่วยงานทั้งหมด
อีกทั้งตามโครงสร้างของ “สมช.” นายกรัฐมนตรี คือ “ประธาน” โดยตำแหน่ง
การที่ “รัฐบาล” จะบอกว่าไม่รู้เห็นคงเป็นไปไม่ได้ จึงต้องร่วมรับผิดชอบด้วย และการมอบหมายให้ “สมช.” ถือว่า “เสี่ยง” ไม่ใช่น้อย เพราะนี่คือครั้งแรกที่ “หน่วยงานด้านความมั่นคง” ลงไปยืนยันสถานะของ “กลุ่มก่อความไม่สงบ” ว่ามีตัวตนอยู่จริงเป็นครั้งแรก
หากบุคคลที่มาเปิดโต๊ะลงนามครั้งนี้ ไม่ใช่ “ตัวจริง” ขึ้นมา จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในสายตาของ “ชาวโลก” อย่างแน่นอน เนื่องจากปกติแล้วจะไม่ค่อยมีประเทศไหนให้ “หน่วยงานความมั่นคง” ลงนามความร่วมมือสำคัญๆ เพราะหากมีความแปรผันขึ้นมาจะส่งผลเสียอย่างมหันต์
แต่หากมีการลงนามความร่วมมือ ก็จะดำเนินการใน “ทางลับ” เท่านั้น ไม่มีมาลงนามสร้างภาพให้ “สาธารณะ” รับทราบแต่อย่างใด เพราะมันมี “ผลเสีย” มากกว่า “ผลดี” ที่จะได้รับ
ไม่ต่างจาก “โจ๊กระดับโลก” เมื่อปี 2551 ที่ “บิ๊กเหวียง-พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร” นำเทปของกลุ่มบุคคลที่อ้างตัวว่า “กลุ่มใต้ดินรวมภาคใต้ของประเทศไทย” มาออกอากาศทางสถานี ททบ. 5 เพื่อประกาศยุติการก่อความไม่สงบในจังหวัดภาคใต้ สุดท้ายก็ “โอละพ่อ” เพราะคนกลุ่มดังกล่าวไม่มีตัวตนอยู่จริง และความรุนแรงก็ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันนี้
การดำเนินการครั้งนี้ของรัฐบาล จึงหนีไม่พ้นคำถามเรื่อง “ตัวจริง-ตัวปลอม” หรือ 3-4 คนที่ปรากฎในเวทีการลงนามนั้นมี “อิทธิพล” หรือมีอำนาจในการสั่งการระดับปฏิบัติการได้ขนาดไหน เพราะให้หลังการลงนามความร่วมมือกับ “บีอาร์เอ็น” ไม่ถึงวัน ก็เกิดเหตุการณ์ระเบิดในหลายพื้นที่ ราวกับว่า เวทีการลงนามดังกล่าวเหมือนไม่ได้เกิดขึ้น
อย่าลืมว่า กลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้มีแค่ “บีอาร์เอ็น” แค่กลุ่มเดียว หาก “รัฐบาลไทย” มุ่งแต่ให้ความสำคัญกลุ่มนี้ โดยอ้างว่าเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด ก็หนีไม่พ้นที่กลุ่มอื่นๆจะออกมาก่อเหตุแสดงพลังให้เห็น เพื่อแสดงสถานะว่ายังมีตัวตนอยู่เหมือนกัน
หากเป็นเช่นนี้จริง สถานการณ์ความรุนแรงก็โหมกระหน่ำหนักข้อขึ้นอีกทวีคูณ เมื่อทุกกลุ่มต่างเฮโลออกมาแสดงพลังก่อเหตุปั่นป่วน ก็คงยากที่ “เจ้าหน้าที่รัฐ” จะรับมือไหว
อีกทั้งน่ากังวลอีกว่าภายใน “บีอาร์เอ็น” ก็มีการแตกกอ แบ่งพรรคแบ่งพวกออกไปหลายกลุ่ม มีทั้ง “สายพิราบ” ก็ไม่ค่อยออกมาก่อเหตุมากนัก และ “สายฮาร์ดคอร์” ต้องการแบ่งแยกดินแดนอย่างจริงจัง จึงเป็นเรื่องยากที่จะควบคุมให้ “แนวร่วม” เดินตามแนวทางเดียวกันทั้งหมด เพราะว่าความเชื่อของแต่ละคน แต่ละกลุ่มต่างกันสุดขั้ว บางครั้ง “แกนนำ” สั่งอย่าง แต่ “หน่วยปฏิบัติ” ทำอีกอย่างก็มีให้เห็น
งานนี้ ใครได้-ใครเสีย-ใครขาดทุน-ใครกำไร ก็เห็นๆ กันอยู่แล้ว