ASTVผู้จัดการรายวัน-ที่ประชุุมกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินให้ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯชายแดนใต้อีก 3 เดือน จ่อยกเลิกใน 5 อำเภอ หลังไร้เหตุความรุนแรง แต่ขอวัดใจ "บีอาร์เอ็น"ก่อน "มาร์ค"ชี้การเจรจากับกลุ่มไร้อำนาจ ระวังปฏิกิริยาสะท้อนกลับ ด้าน ส.ว.ข้องใจ การเจรจาที่ผ่านมาแค่จัดฉาก สร้างภาพ
วานนี้ (4 มี.ค.) พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ( สมช. ) กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่า ที่ประชุมมติให้มีการขยายการประกาศใช้ พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ในทุกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไปอีก 3 เดือน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 19 มี.ค.นี้
ทั้งนี้ในการประชุมทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้มีการเสนอพื้นที่ที่เห็นว่า ควรจะมีการยกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินใน 5 อำเภอ ประกอบด้วย อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี อ.เบตง อ.กาบัง จ.ยะลา และ อ.แว้ง อ.สุขิริน จ.นราธิวาส ซึ่งที่ประชุมได้เห็นด้วย แต่ต้องการให้มีการดำเนินการเป็นไปตามโรดแมปของ สมช. ที่ต้องนำเรื่องนี้ไปพูดคุยหารือกับทางกลุ่มบีอาร์เอ็น ซึ่งหากในพื้นที่ 5 อำเภอนี้ พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นก็สามารถยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และนำพ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 (พ.ร.บ.มั่นคงฯ) เข้ามาใช้ในพื้นที่อีกได้ โดยเมื่อมีการลงนามกับกลุ่มบีอาร์เอ็นแล้ว ทางไทยก็อยากดูความจริงใจกับฝ่ายที่จะพูดคุยว่าเราจะสามารถดำเนินการควบคู่ไปได้อย่างไร ซึ่งคาดว่าจะนำผลการประชุมครั้งนี้ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า
** "สุกำพล"หนุนเดินหน้าเจรจาบีอาร์เอ็น
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม กล่าวถึงการลงนามระหว่างสมช. กับกลุ่มบีอาร์เอ็น เพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า สถานการณ์ภายใต้จะดีขึ้น โดยหลังจากที่เราได้มีการหารือ เจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็น ถือเป็นช่องทางในการแก้ไขปัญหามากขึ้น ทุกสมรภูมิและทุกการรบ ต้องมีการคุยกัน เพราะคู่ขัดแย้งต้องมีการพูดคุยกัน
ทั้งนี้การพูดคุยครั้งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้ทราบต่อไปว่าการแก้ไขจะต้องดำเนินการอย่างไร ดีกว่ามาเดากันเอง โดยหน่วยงานด้านความมั่นคงรับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็จะต้องทำต่อไปเพื่อให้เกิดความสงบสุข การลงนามครั้งนี้ เป็นกุญแจดอกแรก และต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญไทย ส่วนขั้นตอนต่อไปจะต้องมีการพูดคุยเพื่อกำหนดว่าจะพูดคุยเรื่องอะไร และอย่างไร ที่ไหน แต่ต้องคุยหลายฝ่าย
**"มาร์ค"ชี้รัฐลงนามกับกลุ่มไร้อำนาจ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ออกมายอมรับว่าตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่รัฐบาลไทยไปลงนามเจรจาในกระบวนการสันติภาพที่ประเทศมาเลเซีย เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจในการสั่งการ และไม่มีกองกำลังเคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ว่า เข้าใจว่า ไม่ใช่กลุ่มคนที่มีบทบาทในการสั่งการในพื้นที่แล้ว แต่ตนเข้าใจว่า สิ่งที่รัฐบาลหวังขณะนี้ คือขอความร่วมมือจากทางการอินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คาดหวังจะให้เป็นการเริ่มให้กลุ่มที่เคลื่อนไหวอื่นๆ เข้ามาเจรจากับรัฐบาลไทยเพิ่ม แต่ยังไม่ทราบว่ารัฐบาลไทย จะเชื่อบนพื้นฐานนั้นหรือไม่ อย่างไร ซึ่งรัฐบาลควรชี้แจงให้ประชาชนทราบด้วย
** เตือนจะมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับ
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังจะเจรจา เพื่อขอหารือกับแกนนำที่ควบคุมขบวนการก่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทยในประเทศอินโดนีเซียเพิ่มอีก ตนเห็นว่าวิธีการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ คาดหวัง และใช้อยู่เป็นวิธีการบนพื้นฐานความคิดแบบอำนาจนิยม โดยคิดว่าทางการของประเทศเหล่านั้น จะสามารถทำ หรือมีอำนาจในการดึงแกนนำต่างๆ เข้ามาพูดคุยได้ ก็เป็นความเชื่อส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ และตนเคยได้เตือนแต่แรกแล้วว่า ความเชื่อเช่นนี้ หากทำโดยขาดความละเอียดอ่อน ก็จะมีปฏิกริยาสะท้อนกลับ เหมือนกับที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วและมีความเชื่อมโยงกันมาตลอด ที่พ.ต.ท.ทักษิณไปหารือกับแกนนำที่มาเลเซียก่อนแล้ว จากนั้น เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบตามมา ซึ่งที่ผ่านมา นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาส่วนตัวของพ.ต.ท.ทักษิณ ได้ออกมาปฏิเสธโดยตลอดว่า ไม่มีการเจรจาตกลงหรือต่อรองใดๆ แต่พอมาวันนี้กลับออกมายอมรับว่า ไปหารือกันจริง
**ส.ว.ข้องใจแค่เป็นการจัดฉาก
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา ได้หารือต่อที่ประชุมถึงเรื่องนี้ว่า ประชาชนสงสัยว่าการเจรจาระหว่างสมช.กับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น เป็นการจัดฉากหรือไม่ เนื่องจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญเรื้อรังมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว
ทั้งนี้ตนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว คือ 1. การลงนามดังกล่าว เป็นไปตามที่ทางการไทยกดดัน หรือเป็นการลงนามเพื่อเข้าสู่แผนการแบ่งแยกดินแดนของกลุ่มโจรแบ่งแยกดินแดน เพราะตามข้อมูล กลุ่มบีอาร์เอ็น เป็นกลุ่มที่แยกออกมาจากกลุ่ม บีไอพีพี เมื่อ ปี 2006 ตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายสถาปนารัฐปัตตานี ให้เป็นรัฐเอกราช ซึ่งแผนการของมาเลเซียมุสลิม คือ แยกดินแดน 4 จังหวัด มีการต่อสู้เพื่อสถานะรัฐบาลท้องถิ่น ดังนั้นการลงนามเจรจาดังกล่าว อาจนำไปสู่การนำเรื่องหารือต่อที่ประชุมโอไอซี
2. รัฐบาลเจรจาถูกกลุ่ม ถูกคนหรือไม่ ทั้งนี้ขอให้รีฐบาลเปิดเผยรายละเอียด หรือข้อมูลเกี่ยวกับนายฮัสซัน ตอยิบ ด้วย 3. การเจรจาดังกล่าว รัฐบาลไทยควรเจรจากับพรรคฝ่ายค้านของมาเลเซียด้วย เพราะอาจเกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองหลังการเลือกตั้งในเดือนมิ.ย.นี้ และ4. รัฐบาลไทยเคลียร์กับทหารที่ปฎิบัติงานในพื้นที่แล้วหรือไม่ ทั้งนี้ตนไม่ปฎิเสธการเจรจา แต่กรณีดังกล่าว ควรมีการเจรจาทางลับจนตกผลึกเสียก่อน
**สังหารโหด ชรบ.รือเสาะ1ราย
ด้านสถานการณ์ความไม่สงบเมื่อเวลา 07.30 น. วานนี้ (4 มี.ค.) มีเหตุคนถูกยิงเสียชีวิตบนถนนทางเข้าหมู่บ้านยือลาแป ม.3 ต.สุวารี อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส โดยผู้เสียชีวิตนอนจมกองเลือดอยู่ข้างรถจักรยานยนต์ ยี่ห้อฮอนด้า คลิก สีดำ ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ทราบชื่อ คือ นายมะรอซี ยานิง อายุ 37 ปี อยู่บ้านเลขที่ 163/1 ม.7 ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านปะลุกาแปเราะ อ.บาเจาะ โดยมีร่องรอยถูกกระสุนปืนพกสั้นไม่ทราบขนาดที่บริเวณหน้าอกซ้าย 1 นัด ศีรษะ 1 นัด รวม 2 นัด ในที่เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ไม่สามารถตรวจสอบพบหลักฐานใดๆ ของคนร้าย
วานนี้ (4 มี.ค.) พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ( สมช. ) กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่า ที่ประชุมมติให้มีการขยายการประกาศใช้ พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ พ.ศ.2548 (พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ) ในทุกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไปอีก 3 เดือน ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 19 มี.ค.นี้
ทั้งนี้ในการประชุมทางศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้มีการเสนอพื้นที่ที่เห็นว่า ควรจะมีการยกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินใน 5 อำเภอ ประกอบด้วย อ.กะพ้อ จ.ปัตตานี อ.เบตง อ.กาบัง จ.ยะลา และ อ.แว้ง อ.สุขิริน จ.นราธิวาส ซึ่งที่ประชุมได้เห็นด้วย แต่ต้องการให้มีการดำเนินการเป็นไปตามโรดแมปของ สมช. ที่ต้องนำเรื่องนี้ไปพูดคุยหารือกับทางกลุ่มบีอาร์เอ็น ซึ่งหากในพื้นที่ 5 อำเภอนี้ พัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นก็สามารถยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และนำพ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 (พ.ร.บ.มั่นคงฯ) เข้ามาใช้ในพื้นที่อีกได้ โดยเมื่อมีการลงนามกับกลุ่มบีอาร์เอ็นแล้ว ทางไทยก็อยากดูความจริงใจกับฝ่ายที่จะพูดคุยว่าเราจะสามารถดำเนินการควบคู่ไปได้อย่างไร ซึ่งคาดว่าจะนำผลการประชุมครั้งนี้ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า
** "สุกำพล"หนุนเดินหน้าเจรจาบีอาร์เอ็น
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม กล่าวถึงการลงนามระหว่างสมช. กับกลุ่มบีอาร์เอ็น เพื่อพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า สถานการณ์ภายใต้จะดีขึ้น โดยหลังจากที่เราได้มีการหารือ เจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็น ถือเป็นช่องทางในการแก้ไขปัญหามากขึ้น ทุกสมรภูมิและทุกการรบ ต้องมีการคุยกัน เพราะคู่ขัดแย้งต้องมีการพูดคุยกัน
ทั้งนี้การพูดคุยครั้งนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะทำให้ทราบต่อไปว่าการแก้ไขจะต้องดำเนินการอย่างไร ดีกว่ามาเดากันเอง โดยหน่วยงานด้านความมั่นคงรับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็จะต้องทำต่อไปเพื่อให้เกิดความสงบสุข การลงนามครั้งนี้ เป็นกุญแจดอกแรก และต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญไทย ส่วนขั้นตอนต่อไปจะต้องมีการพูดคุยเพื่อกำหนดว่าจะพูดคุยเรื่องอะไร และอย่างไร ที่ไหน แต่ต้องคุยหลายฝ่าย
**"มาร์ค"ชี้รัฐลงนามกับกลุ่มไร้อำนาจ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ออกมายอมรับว่าตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่รัฐบาลไทยไปลงนามเจรจาในกระบวนการสันติภาพที่ประเทศมาเลเซีย เป็นกลุ่มที่ไม่มีอำนาจในการสั่งการ และไม่มีกองกำลังเคลื่อนไหวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ว่า เข้าใจว่า ไม่ใช่กลุ่มคนที่มีบทบาทในการสั่งการในพื้นที่แล้ว แต่ตนเข้าใจว่า สิ่งที่รัฐบาลหวังขณะนี้ คือขอความร่วมมือจากทางการอินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คาดหวังจะให้เป็นการเริ่มให้กลุ่มที่เคลื่อนไหวอื่นๆ เข้ามาเจรจากับรัฐบาลไทยเพิ่ม แต่ยังไม่ทราบว่ารัฐบาลไทย จะเชื่อบนพื้นฐานนั้นหรือไม่ อย่างไร ซึ่งรัฐบาลควรชี้แจงให้ประชาชนทราบด้วย
** เตือนจะมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับ
ส่วนที่มีกระแสข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังจะเจรจา เพื่อขอหารือกับแกนนำที่ควบคุมขบวนการก่อความไม่สงบในภาคใต้ของไทยในประเทศอินโดนีเซียเพิ่มอีก ตนเห็นว่าวิธีการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ คาดหวัง และใช้อยู่เป็นวิธีการบนพื้นฐานความคิดแบบอำนาจนิยม โดยคิดว่าทางการของประเทศเหล่านั้น จะสามารถทำ หรือมีอำนาจในการดึงแกนนำต่างๆ เข้ามาพูดคุยได้ ก็เป็นความเชื่อส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ และตนเคยได้เตือนแต่แรกแล้วว่า ความเชื่อเช่นนี้ หากทำโดยขาดความละเอียดอ่อน ก็จะมีปฏิกริยาสะท้อนกลับ เหมือนกับที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้วและมีความเชื่อมโยงกันมาตลอด ที่พ.ต.ท.ทักษิณไปหารือกับแกนนำที่มาเลเซียก่อนแล้ว จากนั้น เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบตามมา ซึ่งที่ผ่านมา นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาส่วนตัวของพ.ต.ท.ทักษิณ ได้ออกมาปฏิเสธโดยตลอดว่า ไม่มีการเจรจาตกลงหรือต่อรองใดๆ แต่พอมาวันนี้กลับออกมายอมรับว่า ไปหารือกันจริง
**ส.ว.ข้องใจแค่เป็นการจัดฉาก
ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวานนี้ นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ส.ว.สรรหา ได้หารือต่อที่ประชุมถึงเรื่องนี้ว่า ประชาชนสงสัยว่าการเจรจาระหว่างสมช.กับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น เป็นการจัดฉากหรือไม่ เนื่องจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นปัญเรื้อรังมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว
ทั้งนี้ตนมีข้อสังเกตเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว คือ 1. การลงนามดังกล่าว เป็นไปตามที่ทางการไทยกดดัน หรือเป็นการลงนามเพื่อเข้าสู่แผนการแบ่งแยกดินแดนของกลุ่มโจรแบ่งแยกดินแดน เพราะตามข้อมูล กลุ่มบีอาร์เอ็น เป็นกลุ่มที่แยกออกมาจากกลุ่ม บีไอพีพี เมื่อ ปี 2006 ตั้งขึ้นโดยมีเป้าหมายสถาปนารัฐปัตตานี ให้เป็นรัฐเอกราช ซึ่งแผนการของมาเลเซียมุสลิม คือ แยกดินแดน 4 จังหวัด มีการต่อสู้เพื่อสถานะรัฐบาลท้องถิ่น ดังนั้นการลงนามเจรจาดังกล่าว อาจนำไปสู่การนำเรื่องหารือต่อที่ประชุมโอไอซี
2. รัฐบาลเจรจาถูกกลุ่ม ถูกคนหรือไม่ ทั้งนี้ขอให้รีฐบาลเปิดเผยรายละเอียด หรือข้อมูลเกี่ยวกับนายฮัสซัน ตอยิบ ด้วย 3. การเจรจาดังกล่าว รัฐบาลไทยควรเจรจากับพรรคฝ่ายค้านของมาเลเซียด้วย เพราะอาจเกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมืองหลังการเลือกตั้งในเดือนมิ.ย.นี้ และ4. รัฐบาลไทยเคลียร์กับทหารที่ปฎิบัติงานในพื้นที่แล้วหรือไม่ ทั้งนี้ตนไม่ปฎิเสธการเจรจา แต่กรณีดังกล่าว ควรมีการเจรจาทางลับจนตกผลึกเสียก่อน
**สังหารโหด ชรบ.รือเสาะ1ราย
ด้านสถานการณ์ความไม่สงบเมื่อเวลา 07.30 น. วานนี้ (4 มี.ค.) มีเหตุคนถูกยิงเสียชีวิตบนถนนทางเข้าหมู่บ้านยือลาแป ม.3 ต.สุวารี อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส โดยผู้เสียชีวิตนอนจมกองเลือดอยู่ข้างรถจักรยานยนต์ ยี่ห้อฮอนด้า คลิก สีดำ ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน ทราบชื่อ คือ นายมะรอซี ยานิง อายุ 37 ปี อยู่บ้านเลขที่ 163/1 ม.7 ต.ปะลุกาสาเมาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส ซึ่งเป็นชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านปะลุกาแปเราะ อ.บาเจาะ โดยมีร่องรอยถูกกระสุนปืนพกสั้นไม่ทราบขนาดที่บริเวณหน้าอกซ้าย 1 นัด ศีรษะ 1 นัด รวม 2 นัด ในที่เกิดเหตุเจ้าหน้าที่ไม่สามารถตรวจสอบพบหลักฐานใดๆ ของคนร้าย