ชาวบ้าน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง รวมตัวยื่นฟ้องศาลปกครอง ร้องสั่ง กฟผ.ยกเลิกสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี ประเทศลาว เหตุไม่ผ่านความเห็นชอบ 4 ประเทศ หวั่นกระทบชาวบ้านฝั่งไทย เกิดตะกอนทราย พันธุ์ปลาลด เชื่อจะส่งผลให้ลาวหยุดการก่อสร้างเพราะใช้ไฟน้อย พร้อมยื่นเงื่อนไขนายกฯ หาก 2 สัปดาห์ไม่คืบเตรียมเดินหน้ายื่นขอคุ้มครองชั่วคราว
วันนี้ (7 ส.ค.) น.ส.รัตนมณี พลเกล้า พร้อมด้วยชาวบ้าน 37 คน จาก 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนไซยะบุรี จ.ไซยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 1,019 ราย ได้ยื่นคำฟ้องการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ, กระทรวงพลังงาน, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะรัฐมนตรี ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้มีคำสั่งให้ กฟผ.ยกเลิกสัญญาการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรีในแม่น้ำโขง
ทั้งนี้ คำฟ้องระบุว่า เนื่องจากเขื่อนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เป็น 1 ใน 11 โครงการก่อสร้างเขื่อนขั้นบันไดในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1,285 เมกะวัตต์ กฟผ.รับซื้อ 1,220 เมกะวัตต์ คิดเป็น 95% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมด แต่การก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ที่ประกอบด้วย ผู้แทนของประเทศสมาชิก 4 ประเทศ คือ ไทย, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม รวมทั้งการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ก็ไม่ครอบคลุมการประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน รวมถึงผลกระทบของโครงการเขื่อนขั้นบันได หากปล่อยให้โครงการเสร็จสมบูรณ์จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านใน 8 จังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง พันธุ์ปลาจะลดน้อยลง และมีปัญหาตะกอนทรายในแม่น้ำโขง ส่งผลกระทบทั้งการทำประมงและเกษตรกรรม และหาก กฟผ.ยกเลิกสัญญารับซื้อไฟฟ้า ชาวบ้านเชื่อว่า โครงการก่อสร้างเขื่อนจะยุติไปเองโดยอัตโนมัติ เพราะลาวไม่มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น 1,285 เมกะวัตต์ ซึ่งในการไปยื่นฟ้องศาลปกครองครั้งนี้ ชาวบ้านได้ไปทำกิจกรรมสาธิตการทอดแหจับปลาที่หน้าศาลด้วย
ด้าน นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิการจัดการน้ำแบบบูรณาการแห่งประเทศไทย หนึ่งในแกนนำที่พาชาวบ้านมายื่นคำฟ้อง กล่าวว่า จากที่ไปดูพื้นที่การก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมมา ก็พบว่า ขณะนี้ยังมีการเดินหน้าก่อสร้างอยู่ และได้รับการแจ้งจากบริษัท ช.การช่าง ที่เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี ว่า ทางรัฐบาลลาวไม่ได้แจ้งให้หยุดการก่อสร้าง จึงต้องเดินหน้าก่อสร้างต่อไป ทางชาวบ้านจึงต้องมายื่นคำร้องต่อศาลปกครองให้มีคำสั่งให้ยกเลิกสัญญาซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี เพราะเห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อวิถีชาวบ้าน ทั้งระบบนิเวศ การดำรงชีวิต หรือสังคม ส่วนหลังจากนี้ ก็จะรอกระบวนการของศาล อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ทางชาวบ้านได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผู้มีอำนาจสูงสุดในการสั่งการ ได้ใช้อำนาจตามคำสั่งเพื่อยกเลิกมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และมติ ครม.ในการโครงการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยบุรี และหากใน 2 สัปดาห์ ยังไม่มีการสั่งการใดๆ ออกมา ทางชาวบ้านก็จะมายื่นขอให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินและคุ้มครองชั่วคราวในเรื่องนี้อีกครั้ง
วันนี้ (7 ส.ค.) น.ส.รัตนมณี พลเกล้า พร้อมด้วยชาวบ้าน 37 คน จาก 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนไซยะบุรี จ.ไซยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำนวน 1,019 ราย ได้ยื่นคำฟ้องการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ, กระทรวงพลังงาน, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะรัฐมนตรี ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้มีคำสั่งให้ กฟผ.ยกเลิกสัญญาการรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรีในแม่น้ำโขง
ทั้งนี้ คำฟ้องระบุว่า เนื่องจากเขื่อนที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เป็น 1 ใน 11 โครงการก่อสร้างเขื่อนขั้นบันไดในลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1,285 เมกะวัตต์ กฟผ.รับซื้อ 1,220 เมกะวัตต์ คิดเป็น 95% ของไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมด แต่การก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ที่ประกอบด้วย ผู้แทนของประเทศสมาชิก 4 ประเทศ คือ ไทย, ลาว, กัมพูชา และเวียดนาม รวมทั้งการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ก็ไม่ครอบคลุมการประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน รวมถึงผลกระทบของโครงการเขื่อนขั้นบันได หากปล่อยให้โครงการเสร็จสมบูรณ์จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านใน 8 จังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง พันธุ์ปลาจะลดน้อยลง และมีปัญหาตะกอนทรายในแม่น้ำโขง ส่งผลกระทบทั้งการทำประมงและเกษตรกรรม และหาก กฟผ.ยกเลิกสัญญารับซื้อไฟฟ้า ชาวบ้านเชื่อว่า โครงการก่อสร้างเขื่อนจะยุติไปเองโดยอัตโนมัติ เพราะลาวไม่มีความต้องการใช้ไฟฟ้ามากขึ้น 1,285 เมกะวัตต์ ซึ่งในการไปยื่นฟ้องศาลปกครองครั้งนี้ ชาวบ้านได้ไปทำกิจกรรมสาธิตการทอดแหจับปลาที่หน้าศาลด้วย
ด้าน นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิการจัดการน้ำแบบบูรณาการแห่งประเทศไทย หนึ่งในแกนนำที่พาชาวบ้านมายื่นคำฟ้อง กล่าวว่า จากที่ไปดูพื้นที่การก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรีเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมมา ก็พบว่า ขณะนี้ยังมีการเดินหน้าก่อสร้างอยู่ และได้รับการแจ้งจากบริษัท ช.การช่าง ที่เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี ว่า ทางรัฐบาลลาวไม่ได้แจ้งให้หยุดการก่อสร้าง จึงต้องเดินหน้าก่อสร้างต่อไป ทางชาวบ้านจึงต้องมายื่นคำร้องต่อศาลปกครองให้มีคำสั่งให้ยกเลิกสัญญาซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยะบุรี เพราะเห็นว่าจะส่งผลกระทบต่อวิถีชาวบ้าน ทั้งระบบนิเวศ การดำรงชีวิต หรือสังคม ส่วนหลังจากนี้ ก็จะรอกระบวนการของศาล อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ทางชาวบ้านได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผู้มีอำนาจสูงสุดในการสั่งการ ได้ใช้อำนาจตามคำสั่งเพื่อยกเลิกมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และมติ ครม.ในการโครงการซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนไซยบุรี และหากใน 2 สัปดาห์ ยังไม่มีการสั่งการใดๆ ออกมา ทางชาวบ้านก็จะมายื่นขอให้ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินและคุ้มครองชั่วคราวในเรื่องนี้อีกครั้ง