ที่ประชุม ครม.ไฟเขียว อนุมัติงบ 184 ล้านบาท ให้ลาวปรับปรุงสนามบินปากเซ เห็นชอบให้เงินกู้ต่อ กคช.ลงทุนต่อโครงการบ้านเอื้ออาทร รับทราบร่างแถลงการณ์ พร้อมร่วมมือด้านพลังงาน ไทย-เวียดนาม สั่งทบทวนการรับซื้อมันสำปะหลัง ครม. พร้อมแต่งตั้ง .-คกก.ทรงคุณวุฒิ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ บอร์ดองค์การสะพานปลา แต่งตั้ง คกก.ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
วันนี้ (8 พ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภักดีหาญส์ หิมะทองคํา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม. )วันนี้ว่า ครม.มีมติให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สำหรับโครงการปรับปรุงสนามบินปากเซ ระยะที่ 2 ซึ่งมีรายละเอียดของโครงการในการปรับปรุง คือ มีการขยายความยาวและความกว้างของทางรันเวย์ ที่ให้เครื่องบินลงจอด เพื่อรับการขึ้นลงของท่าอากาศยานขนาด 150 ที่นั่ง เพื่อปรับปรุงลานจอดของอากาศยานจากขนาด 80 x 120 เมตร ให้มีขนาด 80 x 155 เมตร โดยมีการติดตั้งระบบไฟนำร่องอากาศยาน ซึ่งติดตั้งระบบไฟบริเวณทางวิ่งทางขับและบริเวณลานจอดอากาศยาน เพื่อปรับปรุงหอบังคับการบินจาก 3 ชั้น เป็น 6 ชั้น โดยใช้วงเงินทั้งสิ้นในการช่วยเหลือครั้งนี้อยู่ที่ 184 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายดังนี้ ค่าก่อสร้างทั้งหมด 147 ล้านบาท ค่าซื้ออุปกรณ์ 69.3 ล้านบาท ค่าวิศวกรที่ปรึกษา 3 ล้านบาท ค่าบริหารจัดการ 2 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 5 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 ต่อปี อายุสัญญา 20 ปี ค่าบริหารจัดการของ (สบพ.) อยู่ที่ร้อยละ 0.15 ของเงินกู้ กำหนดชำระดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกคือวันที่ 20 พ.ค.และ 20
พ.ย. ของแต่ละปี ปริมาณการเบิกจ่ายเงินทั้งหมด 2 ปี ประกอบด้วย ปี 2555 จำนวน 84 ล้านบาท และปี 2556 จำนวน 100 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้จะใช้เงินที่เคยอนุมัติมาแล้วในปี 2555 จำนวน 248 ล้านบาท
ซึ่งตอนนั้นเราได้อนุมัติให้กัมพูชาไปแล้ว แต่ทางกัมพูชาได้ทำหนังสือขอยกเลิกสัญญาดังกล่าว โดยเงินจำนวนนี้ยังคงอยู่ และจะดำเนินการเบิกจ่ายให้ลาวจำนวน 184 ล้านบาท เป็นลำดับต่อไป
ไฟเขียวการกู้เงินประจำปี 2555 ของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ที่จะมีการกู้เงินเพื่อนำมาลงทุนในประเทศจำนวนทั้งสิน 2,500 ล้านบาท ทั้งหมด 3 โครงการ โดยโครงการแรก คือ 1. โครงการบ้านเอื้ออาทรระยะที่ 3 วงเงิน 400 ล้านบาท 2. โครงการเอื้ออาทรระยะที่ 4 วงเงิน 1,000 ล้านบาท และ 3. โครงการเอื้ออาทรระยะที่ 5 วงเงิน 1,100 ล้านบาท และมีแผนการปรับโครงสร้างหนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 5,500 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ของธนาคารออมสินวงเงิน 2 พันล้านบาท และเงินกู้จากธนาคารทหารไทยวงเงิน 3.5 พันล้านบาท ส่วนแผนเงินกู้เพื่อการดำเนินกิจการทั่วไปและอื่นๆ ซึ่งเป็นหนี้ในประเทศนั้น เป็นการกู้เบิกเงินเกินบัญชีเพื่อเสริมสภาพคล่องอีกจำนวน 500 ล้านบาท รวมเงินกู้ในประเทศทั้งสิ้น 8.5 พันล้านบาท โดยกระทรวงการคมนาคมเป็นผู้ค้ำประกัน และจะเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ซึ่งกระทรวงการคลังมีข้อสังเกตว่าโครงสร้างรายรับของ กคช. ส่วนใหญ่มาจากหมู่บ้านเอื้ออาทร ซึ่งวันนี้หมู่บ้านเอื้ออาทรเหลือขายเพียง 37,606 หน่วย จากทั้งหมดโครงการมีถึง 281,556 หน่วย ซึ่งถือว่าเหลือน้อย ดังนั้น จากจำนวนการขายที่ลดลงก็จะทำให้รายได้หลักของ กคช.ลดลง จึงมีความเสี่ยงและอาจจะไม่พอต่อค่าใช้จ่ายประจำและดอกเบี้ยในอนาคต จึงเห็นควรที่จะให้อนุมัติเงินกู้ประจำปี 2555 ต่อการเคหะแห่งชาติ
ส่วนเรื่องที่เป็นมติ ครม. เรื่องเปิดตลาดนำเข้าสินค้าเส้นไหมดิบปี 2555 ตามข้อผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลก โดยเห็นชอบให้เปิดตลาดสินค้าเส้นไหมดิบตามข้อผูกพันประมาณ 483 เมตริกตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 20 อัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 226 มีผลบังคับใช้ตั้ง 1 ม.ค. 2555 จนสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2555 ในการแบ่งการนำเข้าจะแบ่งเป็น 2 งวด งวดที่ 1 ตั้งแต่ ม.ค. ถึง มิ.ย. และงวดที่ 2 ตั้งแต่ ก.ค. ถึง ธ.ค.
ส่วนร่างแถลงการณ์ร่วมด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามนั้น มีสาระสำคัญอยู่ที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายด้านพลังงานระหว่างทั้ง 2 ประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การร่วมกันจัดเตรียมข้อเสนอแนะในประเด็นที่เกี่ยวกับด้านพลังงาน เพื่อสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งด้านพลังงานระหว่างกัน การส่งเสริมและสนับสนุนรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนของทั้ง 2 ประเทศ ในการดำเนินความร่วมมือในด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนที่จำเป็นจากภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการดำเนินโครงการ การแลกเปลี่ยนข้อมูล และความร่วมมือในด้านพลังงาน การประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต สนับสนุนการดำเนินงานตามความตกลงที่มีอยู่ และที่กำลังจะมีขึ้นในอนาคต จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อสนเทศในการลงทุนด้านพลังงานระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยากลงทุนของทั้ง 2 ประเทศ สามารถมาลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตได้อีกด้วย
ครม.ได้ทบทวนเรื่องโครงการรับซื้อผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ซึ่ง ครม.มีมติไปแล้วในกรณีที่ให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินทุนหมุนเวียนรับซื้อผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในปี 2554/2555 วงเงิน 10,000 ล้านบาท ตามมติ ครม. เป็นการจัดหาวงเงินใหม่และเห็นว่าวงเงินกู้จากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ในปีการผลิต 2554 ถึงปี 2555 ซึ่งกระทรวงการคลังได้ค้ำประกันเงินกู้ยังเหลืออยู่ จึงขอทบทวนมติ ครม.ใหม่ จากที่ให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินทุนเป็นให้ อคส. กู้เงินจาก ธ.ก.ส.วงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อใช้เงินดำเนินโครงการรับซื้อผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปี 2554/2555 จากวงเงินกู้โครงการรับจำนำข้าวเปลืองนาปี ปีการผลิต 2554/2555 สำหรับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากเดิมมติ (ครม.) ได้ระบุไว้ว่า เมื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังดังกล่าว ให้กระทรวงพาณิชย์นำข้อมูลราคาจำหน่ายเสนอคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการจำหน่าย ก็เปลี่ยนเป็นให้กระทรวงพาณิชย์เร่งระบายมันเส้นและแป้งมันที่แปรสภาพจากหัวมันสดที่ได้รับจำนำจากเกษตรกรตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี 2554/2555 โดยเร็ว และรายงานผลการระบายให้ ครม. ทราบต่อไป
นอกจากนี้ ครม.ยังได้ทบทวนมติการแก้ไข้ปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ซึ่งมติเดิมจาก ครม. ให้
ประเมินสถานการณ์และผลกระทบต่างๆ แล้วรายงานต่อ ครม. เพื่อพิจารณาความจำเป็นในการนำเข้าเพิ่มเติมตามแต่ละกรณีต่อไป เปลี่ยนเป็นมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ประเมินสถานการณ์ผลกระทบต่างๆ หากจำเป็นต้องนำเข้าเพิ่มเติมให้ดำเนินการนำเข้าครั้งละไม่เกิน10,000 ตัน และรายงานให้ ครม.ทราบโดยเร็ว หากปรากฏว่าสถานการณ์ได้คลี่คลายลงแล้ว ก็ยุติการนำเข้าทันที
เห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ จำนวน 7 คน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนด 4 ปีตามวาระแล้ว โดยมีรายชื่อ คือ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานกรรมการ โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์, นายประเสริฐ ตปนียางกูร, นายชญานิน เทพาคำ, นายสมัย เจียมจินดารัตน์, นายสุรพล ธรรมสาร และนางสาวสุวรรณี สำโรงวัฒนา
ครม. ได้อนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา จำนวน 6 คน เนื่องจากกรรมการชุดเดิมได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนด 2 ปีตามวาระ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 แล้ว ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้ 1. นายภาณุ อุทัยรัตน์ ประธานกรรมการ 2. นายวิรัติ ศักดิ์จิรพาพงษ์ กรรมการ 3. นายศุภชัย จงศิริ กรรมการ 4. นายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ กรรมการ 5. นายธรรมศักดิ์ ลออเอี่ยม กรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) 6. นายจิรายุส เนาวเกตุ กรรมการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป
โดยกรรมการในลำดับที่ 1,2 และ 3 เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้นตามมาตรา 12/1 แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550
รับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 104/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้ รัฐบาลได้กำหนดให้มีนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนโยบายรัฐบาล นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับนโยบายดังกล่าว ซึ่งทำให้มีกลไกที่รับผิดชอบอยู่หลายระดับ ส่งผลให้มีข้อจำกัดในเรื่องของเอกภาพและบูรณาการในการปฏิบัติให้เกิดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นเพื่อให้มีกลไกระดับสูง ทำหน้าที่ในการสั่งการ อำนวยการ กำกับ ติดตาม ประสานการดำเนินการ ขับเคลื่อนให้เกิดเอกภาพ และบูรณาการในการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย อันจะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น เรียกโดยย่อว่า “กปต.” เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรอำนวยการระดับชาติ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา) เป็นประธานกรรมการ
กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 โดยมี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่ ซึ่งแบ่งเป็นคำสั่งย่อยดังนี้ 2.1 สั่งการ อำนวยการ กำกับ ติดตาม บูรณาการ และขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามนโยบายรัฐบาล นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพและสัมฤทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 พิจารณาดำเนินการเพื่อการแก้ไขปัญหาอุปสรรคเฉพาะหน้า หรือเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
2.3 แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามความจำเป็นและเหมาะสม
2.4 ขอให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลและสนับสนุนการดำเนินการอย่างเต็มความสามารถตามที่ได้รับการร้องขอ
2.5 ดำเนินการอื่นตามที่คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี มอบหมาย
2.6 ให้ที่ปรึกษา คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะเดินทาง และอื่นๆ อันพึงมีตามระเบียบทางราชการ สำหรับค่าเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 โดยให้เบิกจ่ายงบประมาณจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป
อนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้ง นายธนา พุฒรังษี เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป
อนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคนเดิมที่ลาออก จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นายสิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง 2. นายกริชชัย อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้แทนองค์การเอกชน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค. 2555 เป็นต้นไป
วันนี้ (8 พ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภักดีหาญส์ หิมะทองคํา รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม. )วันนี้ว่า ครม.มีมติให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) สำหรับโครงการปรับปรุงสนามบินปากเซ ระยะที่ 2 ซึ่งมีรายละเอียดของโครงการในการปรับปรุง คือ มีการขยายความยาวและความกว้างของทางรันเวย์ ที่ให้เครื่องบินลงจอด เพื่อรับการขึ้นลงของท่าอากาศยานขนาด 150 ที่นั่ง เพื่อปรับปรุงลานจอดของอากาศยานจากขนาด 80 x 120 เมตร ให้มีขนาด 80 x 155 เมตร โดยมีการติดตั้งระบบไฟนำร่องอากาศยาน ซึ่งติดตั้งระบบไฟบริเวณทางวิ่งทางขับและบริเวณลานจอดอากาศยาน เพื่อปรับปรุงหอบังคับการบินจาก 3 ชั้น เป็น 6 ชั้น โดยใช้วงเงินทั้งสิ้นในการช่วยเหลือครั้งนี้อยู่ที่ 184 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายดังนี้ ค่าก่อสร้างทั้งหมด 147 ล้านบาท ค่าซื้ออุปกรณ์ 69.3 ล้านบาท ค่าวิศวกรที่ปรึกษา 3 ล้านบาท ค่าบริหารจัดการ 2 ล้านบาท ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด 5 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.5 ต่อปี อายุสัญญา 20 ปี ค่าบริหารจัดการของ (สบพ.) อยู่ที่ร้อยละ 0.15 ของเงินกู้ กำหนดชำระดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ครั้งแรกคือวันที่ 20 พ.ค.และ 20
พ.ย. ของแต่ละปี ปริมาณการเบิกจ่ายเงินทั้งหมด 2 ปี ประกอบด้วย ปี 2555 จำนวน 84 ล้านบาท และปี 2556 จำนวน 100 ล้านบาท ซึ่งโครงการนี้จะใช้เงินที่เคยอนุมัติมาแล้วในปี 2555 จำนวน 248 ล้านบาท
ซึ่งตอนนั้นเราได้อนุมัติให้กัมพูชาไปแล้ว แต่ทางกัมพูชาได้ทำหนังสือขอยกเลิกสัญญาดังกล่าว โดยเงินจำนวนนี้ยังคงอยู่ และจะดำเนินการเบิกจ่ายให้ลาวจำนวน 184 ล้านบาท เป็นลำดับต่อไป
ไฟเขียวการกู้เงินประจำปี 2555 ของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ที่จะมีการกู้เงินเพื่อนำมาลงทุนในประเทศจำนวนทั้งสิน 2,500 ล้านบาท ทั้งหมด 3 โครงการ โดยโครงการแรก คือ 1. โครงการบ้านเอื้ออาทรระยะที่ 3 วงเงิน 400 ล้านบาท 2. โครงการเอื้ออาทรระยะที่ 4 วงเงิน 1,000 ล้านบาท และ 3. โครงการเอื้ออาทรระยะที่ 5 วงเงิน 1,100 ล้านบาท และมีแผนการปรับโครงสร้างหนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 5,500 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ของธนาคารออมสินวงเงิน 2 พันล้านบาท และเงินกู้จากธนาคารทหารไทยวงเงิน 3.5 พันล้านบาท ส่วนแผนเงินกู้เพื่อการดำเนินกิจการทั่วไปและอื่นๆ ซึ่งเป็นหนี้ในประเทศนั้น เป็นการกู้เบิกเงินเกินบัญชีเพื่อเสริมสภาพคล่องอีกจำนวน 500 ล้านบาท รวมเงินกู้ในประเทศทั้งสิ้น 8.5 พันล้านบาท โดยกระทรวงการคมนาคมเป็นผู้ค้ำประกัน และจะเป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ซึ่งกระทรวงการคลังมีข้อสังเกตว่าโครงสร้างรายรับของ กคช. ส่วนใหญ่มาจากหมู่บ้านเอื้ออาทร ซึ่งวันนี้หมู่บ้านเอื้ออาทรเหลือขายเพียง 37,606 หน่วย จากทั้งหมดโครงการมีถึง 281,556 หน่วย ซึ่งถือว่าเหลือน้อย ดังนั้น จากจำนวนการขายที่ลดลงก็จะทำให้รายได้หลักของ กคช.ลดลง จึงมีความเสี่ยงและอาจจะไม่พอต่อค่าใช้จ่ายประจำและดอกเบี้ยในอนาคต จึงเห็นควรที่จะให้อนุมัติเงินกู้ประจำปี 2555 ต่อการเคหะแห่งชาติ
ส่วนเรื่องที่เป็นมติ ครม. เรื่องเปิดตลาดนำเข้าสินค้าเส้นไหมดิบปี 2555 ตามข้อผูกพันภายใต้องค์การการค้าโลก โดยเห็นชอบให้เปิดตลาดสินค้าเส้นไหมดิบตามข้อผูกพันประมาณ 483 เมตริกตัน อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 20 อัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 226 มีผลบังคับใช้ตั้ง 1 ม.ค. 2555 จนสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2555 ในการแบ่งการนำเข้าจะแบ่งเป็น 2 งวด งวดที่ 1 ตั้งแต่ ม.ค. ถึง มิ.ย. และงวดที่ 2 ตั้งแต่ ก.ค. ถึง ธ.ค.
ส่วนร่างแถลงการณ์ร่วมด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามนั้น มีสาระสำคัญอยู่ที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายด้านพลังงานระหว่างทั้ง 2 ประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การร่วมกันจัดเตรียมข้อเสนอแนะในประเด็นที่เกี่ยวกับด้านพลังงาน เพื่อสร้างความร่วมมือที่เข้มแข็งด้านพลังงานระหว่างกัน การส่งเสริมและสนับสนุนรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชนของทั้ง 2 ประเทศ ในการดำเนินความร่วมมือในด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนที่จำเป็นจากภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการดำเนินโครงการ การแลกเปลี่ยนข้อมูล และความร่วมมือในด้านพลังงาน การประสานงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต สนับสนุนการดำเนินงานตามความตกลงที่มีอยู่ และที่กำลังจะมีขึ้นในอนาคต จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข้อสนเทศในการลงทุนด้านพลังงานระหว่างไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยากลงทุนของทั้ง 2 ประเทศ สามารถมาลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตได้อีกด้วย
ครม.ได้ทบทวนเรื่องโครงการรับซื้อผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ซึ่ง ครม.มีมติไปแล้วในกรณีที่ให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินทุนหมุนเวียนรับซื้อผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในปี 2554/2555 วงเงิน 10,000 ล้านบาท ตามมติ ครม. เป็นการจัดหาวงเงินใหม่และเห็นว่าวงเงินกู้จากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ในปีการผลิต 2554 ถึงปี 2555 ซึ่งกระทรวงการคลังได้ค้ำประกันเงินกู้ยังเหลืออยู่ จึงขอทบทวนมติ ครม.ใหม่ จากที่ให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินทุนเป็นให้ อคส. กู้เงินจาก ธ.ก.ส.วงเงิน 10,000 ล้านบาท เพื่อใช้เงินดำเนินโครงการรับซื้อผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปี 2554/2555 จากวงเงินกู้โครงการรับจำนำข้าวเปลืองนาปี ปีการผลิต 2554/2555 สำหรับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังจากเดิมมติ (ครม.) ได้ระบุไว้ว่า เมื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังดังกล่าว ให้กระทรวงพาณิชย์นำข้อมูลราคาจำหน่ายเสนอคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการจำหน่าย ก็เปลี่ยนเป็นให้กระทรวงพาณิชย์เร่งระบายมันเส้นและแป้งมันที่แปรสภาพจากหัวมันสดที่ได้รับจำนำจากเกษตรกรตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลังปี 2554/2555 โดยเร็ว และรายงานผลการระบายให้ ครม. ทราบต่อไป
นอกจากนี้ ครม.ยังได้ทบทวนมติการแก้ไข้ปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ซึ่งมติเดิมจาก ครม. ให้
ประเมินสถานการณ์และผลกระทบต่างๆ แล้วรายงานต่อ ครม. เพื่อพิจารณาความจำเป็นในการนำเข้าเพิ่มเติมตามแต่ละกรณีต่อไป เปลี่ยนเป็นมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ประเมินสถานการณ์ผลกระทบต่างๆ หากจำเป็นต้องนำเข้าเพิ่มเติมให้ดำเนินการนำเข้าครั้งละไม่เกิน10,000 ตัน และรายงานให้ ครม.ทราบโดยเร็ว หากปรากฏว่าสถานการณ์ได้คลี่คลายลงแล้ว ก็ยุติการนำเข้าทันที
เห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ จำนวน 7 คน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดเดิมได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนด 4 ปีตามวาระแล้ว โดยมีรายชื่อ คือ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานกรรมการ โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วย นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์, นายประเสริฐ ตปนียางกูร, นายชญานิน เทพาคำ, นายสมัย เจียมจินดารัตน์, นายสุรพล ธรรมสาร และนางสาวสุวรรณี สำโรงวัฒนา
ครม. ได้อนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสะพานปลา จำนวน 6 คน เนื่องจากกรรมการชุดเดิมได้ดำรงตำแหน่งมาครบกำหนด 2 ปีตามวาระ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2554 แล้ว ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้ 1. นายภาณุ อุทัยรัตน์ ประธานกรรมการ 2. นายวิรัติ ศักดิ์จิรพาพงษ์ กรรมการ 3. นายศุภชัย จงศิริ กรรมการ 4. นายพงษ์พิสุทธิ์ จินตโสภณ กรรมการ 5. นายธรรมศักดิ์ ลออเอี่ยม กรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง) 6. นายจิรายุส เนาวเกตุ กรรมการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป
โดยกรรมการในลำดับที่ 1,2 และ 3 เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้นตามมาตรา 12/1 แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550
รับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 104/2555 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้ รัฐบาลได้กำหนดให้มีนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนโยบายรัฐบาล นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับนโยบายดังกล่าว ซึ่งทำให้มีกลไกที่รับผิดชอบอยู่หลายระดับ ส่งผลให้มีข้อจำกัดในเรื่องของเอกภาพและบูรณาการในการปฏิบัติให้เกิดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นเพื่อให้มีกลไกระดับสูง ทำหน้าที่ในการสั่งการ อำนวยการ กำกับ ติดตาม ประสานการดำเนินการ ขับเคลื่อนให้เกิดเอกภาพ และบูรณาการในการทำงานร่วมกันของทุกฝ่าย อันจะส่งผลให้การแก้ไขปัญหาเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น เรียกโดยย่อว่า “กปต.” เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรอำนวยการระดับชาติ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 1. องค์ประกอบ รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา) เป็นประธานกรรมการ
กรรมการประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค 4 โดยมี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2. อำนาจหน้าที่ ซึ่งแบ่งเป็นคำสั่งย่อยดังนี้ 2.1 สั่งการ อำนวยการ กำกับ ติดตาม บูรณาการ และขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามนโยบายรัฐบาล นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปอย่างมีเอกภาพและสัมฤทธิผลอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 พิจารณาดำเนินการเพื่อการแก้ไขปัญหาอุปสรรคเฉพาะหน้า หรือเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
2.3 แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของคณะกรรมการตามความจำเป็นและเหมาะสม
2.4 ขอให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลและสนับสนุนการดำเนินการอย่างเต็มความสามารถตามที่ได้รับการร้องขอ
2.5 ดำเนินการอื่นตามที่คณะรัฐมนตรี หรือนายกรัฐมนตรี มอบหมาย
2.6 ให้ที่ปรึกษา คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะเดินทาง และอื่นๆ อันพึงมีตามระเบียบทางราชการ สำหรับค่าเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ. 2547 โดยให้เบิกจ่ายงบประมาณจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป
อนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้ง นายธนา พุฒรังษี เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป
อนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคนเดิมที่ลาออก จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นายสิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง 2. นายกริชชัย อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ผู้แทนองค์การเอกชน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค. 2555 เป็นต้นไป