xs
xsm
sm
md
lg

“พิชาย-คมสัน” ซัด “นิติราษฎร์” ไร้เดียงสา หนุนทุนนิยมสามานย์ครอบงำประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
“คมสัน” ชำแหละข้อเสนอ “นิติราษฎร์” ไร้เดียงสา เพิ่มอำนาจเผด็จการทุนนิยมพรรคการเมือง ให้ครอบงำสถาบันของสังคมอย่างสมบูรณ์แบบ อีกทั้งมีเจตนาให้ประมุขของรัฐกลายเป็นเพียงสัญลักษณ์ หวั่นเกิดเผด็จการเบ็ดเสร็จ จะไม่มีใครทัดทานได้เลย นอกจากรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ด้าน “พิชาย” คาดการเสนอให้ “กษัตริย์” สาบานตน หวังยั่วยุทหารปฏิวัติ จะได้ปลุกมวลชนสู้ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง


วันที่ 23 ม.ค. เมื่อเวลา 20.30 น. คณาจารย์ “กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์” ได้แก่ รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองคณบดีคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และนายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ร่วมพูดคุยในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV ถึงประเด็นข้อเสนอของ “นิติราษฎร์”

รศ.ดร.พิชายกล่าวว่า ถ้าดูรูปแบบข้อเสนอของนิติราษฎร์ ที่ให้มีคณะจัดทำรัฐธรรมนูญ 25 คน มาจากฝ่ายการเมืองทั้งสิ้น คือ ส.ส.20 คน และ ส.ว.5 คน โดยมองว่าเป็นตัวแทนของประชาชน แต่มันก็ขัดแย้งกับสิ่งที่นิติราษฎร์คัดค้าน เพราะส.ส.ชุดนี้ก็มาจากรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐประหารที่พวกนี้ต่อต้าน คือไม่ว่าจะเสนออะไรภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญนี้ ก็เท่ากับยอมรับอำนาจรัฐประหาร ฉะนั้นถ้าไม่เห็นด้วยจริง ควรใช้วิธีการอื่น ที่ไม่ได้เป็นไปตามวิถีรัฐธรรมนูญปี 50

วิธีการที่เสนอ เป็นการเสนอเกินขอบเขตเส้นแบ่งการยอมรับของสังคมไปมาก เช่นข้อเสนอให้กษัตริย์สาบานตน เป็นข้อเสนอที่เกินกว่าคนไทยที่มีจิตใจปกติจะยอมรับได้ สะท้อนว่าเจตนาจริงๆ ไม่ได้อยากเสนอสิ่งที่อยู่บนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แต่เขาต้องการเสนอ อาจเพื่อทำลายรัฐธรรมนูญฉบับนี้

ด้านหนึ่งสะท้อนเจตนาว่าต้องการบางสิ่งบางอย่างทางการเมืองให้เกิดขึ้นมาเพื่อลบล้างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยอาจต้องการยั่วยุทหารให้ปฏิวัติ เสร็จแล้วก็ให้มวลชนออกมาต่อต้าน เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง นั่นคือเป็นเกม จึงเสนอให้เกินเลย และโฟกัสไปที่สถาบันฯ

รศ.ดร.พิชายกล่าวต่อว่า เห็นได้ชัดว่าการเสนอของนิติราษฎร์เป็นการปูพรมแดงให้เผด็จการทุนสามานย์ทั้งหลาย ให้ครองอำนาจในสังคมไทยได้อย่างราบเรียบ โดยไม่ให้มีผู้มีอำนาจเชิงคุณธรรมทั้งหลายมาหยุดยั้ง ฉะนั้น นิติราษฎร์เป็นกองหน้าของทุนนิมยมผูกขาด ไม่ใช่เป็นกองหน้าของประชาธิปไตยแต่อย่างใด แล้วบอกว่าตัวเองก้าวหน้า ทั้งๆที่หาความก้าวหน้าไม่เจอ เพราะข้อเสนอ ย้อนไปปี 2475 ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีทุนนิยมผูกขาดในสังคมไทยด้วยซ้ำไป

รศ.ดร.พิชายยังกล่าวว่า ข้อเสนอนิติราษฎร์ คือ ต้องการย้อนรอยรัฐธรรมนูญปี 40 คือมอบอำนาจให้นักการเมืองที่มาจากการทุจริตในการเลือกตั้ง แสวงหาประโยชน์จากการบริหารประเทศ เอาอนาคตของประเทศไปอยู่ในมือนักการเมืองพวกนี้อีก หลังจากรัฐธรรมนูญปี 50 พยายามถ่วงดุลอำนาจต่างๆ ไว้

ข้อเสนอข้อ 8 เสนอในแง่โครงสร้างทางการเมืองและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เช่นการใช้สภาเดียว หรือสองสภา แต่ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งก็จะไม่พ้นสภาผัวเมีย

ข้อ 9 ให้ผู้พิพากษาศาลสูง ก็คือศาลฎีกา ได้รับการเสนอชื่อโดยคณะรัฐมนตรี และได้รับความเห็นชอบโดยรัฐสภา อันนี้ไปจำลองอเมริกามา แต่ก็ไม่ดูรัฐมนตรีบ้านเรา บางคนยังมีแบล็กลิสต์ บางคนยังมีคดีก่อการร้ายอยู่เลย แล้วให้คนเหล่านี้แต่งตั้งศาลสูง ยิ่งทำให้ระบบยุติธรรมมีปัญหามากขึ้น

ไม่ใช่ตนรังเกียจการเลือกตั้ง แต่ทุกวันนี้ความจริงในสังคมไทย เวลาเอาระบบเลือกตั้งเข้าไป ระบบคุณธรรมหายหมด มีปัญหาหมด เพราะมีการเสนอผลประโยชน์กัน เพราะโครงสร้างอุปถัมน์ และจิตสำนึกยังมองการเลือกตั้งเป็นการแลกเปลี่ยนเฉพาะหน้า ที่ อ.วรเจตน์เสนอ พื้นฐานที่สำคัญที่เสนอ คือมองคนไทยเปี่ยมไปด้วยเหตุผล มีความรู้ เป็นปัจเจกชนนิยม ไม่มีระบบอุปถัมน์ ซึ่งไม่ใช่สังคมไทย ข้อเสนอเหล่านี้จะยิ่งทำลายระบบต่างๆ ของประเทศ

ที่หนักข้อไปอีก คือ ผู้ตรวจการกองทัพ โดยให้แต่งตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎร โดยนัยยะเหมือนเป็นการดูถูกกองทัพ ให้อยู่ในมือกลุ่มทุน ทำตามบัญชาการของนักการเมือง และแยกกองทัพออกจากสถาบันกษัตริย์ เขาก็วางเกมอันนี้ไว้สำหรับคนที่เป็นเจ้าของพรรคให้ควบคุมกองทัพ

ด้าน นายคมสันกล่าวว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์เป็นข้อเสนอเก่า ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และข้อเสนอใหม่ แต่ค่อนข้างวิปริตอีกประมาณครึ่งหนึ่ง เพราะเสนอไม่ดูสภาพความเป็นจริงของสังคมไทย เสมือนกับเชื่อว่านักการเมืองของไทยไร้มลทินโดยสิ้งเชิง และเสนอแบบไร้เดียงสา ไม่แตะต้องรากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง

อีกเรื่องที่ไม่พูดถึงคือการพยายามสร้างระบบเผด็จการทุนนิยมผูกขาดโดยพรรคการเมือง โดยลืมไปว่าพรรคการเมืองไทยไม่ได้มีฐานรากมาจากประชาชนอย่างแท้จริง

นายคมสันกล่าวอีกว่า รูปแบบข้อเสนอของนิติราษฎร์พยายามบอกว่าตัวเองก้าวหน้ามาก ซึ่งดูจริงๆ แล้วไม่ได้เป็นสิ่งใหม่ แต่เคยเกิดในประเทศฝรั่งเศสแล้ว คือ การร่างรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐที่ 5 โดยให้ประธานาธิบดีคัดเลือกบุคคลมาทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ของนิติราษฎร์ตะขิดตะขวงใจในการให้ประมุขของรัฐเป็นผู้แต่งตั้ง จึงให้นักการเมืองมาทำสิ่งเหล่านี้

ข้อเสนอของนิติราษฎร์ คือ การสร้างฝ่ายบริหารให้เข้มแข็ง ที่สำคัญสร้างระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ และหากเกิดขึ้นแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลยต่อไปในอนาคต นอกจากรัฐธรรมนูญจะถูกฉีกโดยรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง

อีกทั้งเป็นการเอาอำนาจรัฐให้ไปอยู่ภายใต้กลุ่มทุนนิยมผูกขาด ให้สามารถครอบงำสถาบันประมุข ศาล ตุลาการ และกองทัพอย่างสมบูรณ์แบบ และไม่มีการตรววจสอบทัดทานใดๆทั้งสิ้น สุดท้ายต้องการให้ประมุขของรัฐเป็นเพียงสัญลักษณ์ของสังคม เป็นข้อเสนอที่วิปริตต่อสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง เหมือนข้อเสนอของคนบ้า เหมือนเด็กเรียนใหม่ ชุ่ยทางวิชาการอย่างยิ่ง

นายคมสันกล่าวอีกว่า มองรากเหง้าสังคมไทยจริงๆ มาจากการผูกขาดระบบอุปถัมน์ ถ้าใช้ข้อเสนอของนิติราษฎร์ ฉิบหายทั้งเมือง ข้อเสนอบางอย่างไม่ใช่ของใหม่ เช่นเอารัฐธรรมนูญพื้นฐานปี 2475 และ 2489 มาใช้ ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 2489 ก็คือการเอา 2475 มาใช้ทั้งยวง และนี่อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีที่เขาเอามาใช้ คือเอารัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาใช้แทนเลย แล้วยกเลิกของปี 50 ไป แล้วบอกว่ามีการจัดสร้างโครงสร้างให้เข้ากับยุคร่วมสมัย ใช้คำว่าร่วมสมัย คือการเอาของใหม่ผสมกับของเก่า แต่นี่ที่เสนอมาส่วนใหญ่มันเก่า

ถ้าเดินตามโครงสร้างที่นิติราษฎร์เสนอ จะเกิดระบบเผด็จการผูกขาดเบ็ดเสร็จ โดยที่ไม่มีใครทำอะไรต่อได้แล้ว ไม่ใช่ประชาธิปไตยแต่สร้างเผด็จการภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย ลองกลับไปดูในแง่เนื้อหา พบว่าสิ่งที่ใหม่คือเรื่องประมุขของรัฐ แต่ก็สอดคล้องกับปี 2475 ตอนนั้นคณะราษฎร์พยายามเสนอ แต่ถ้ารู้ความจริง จริงๆแล้วสิ่งที่คณะราษฎรทำไม่ได้ยิ่งใหญ่มากมาย แต่กษัตริย์ทรงเมตตา ไม่อยากให้เกิดสังคมนองเลือด เพราะถ้ารบกันจริงๆก็แพ้ แล้วคณะราษฎร์ก็บอกว่านั่นคือการอภิวัติ แต่จริงๆ ก็คือการรัฐประหารอีกรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้น

รัฐธรรมนูญปี 2540 ถ้ามองในทฤษฎีผลไม้เป็นพิษ รัฐธรรมนูญปี 40 ก็มาจากรัฐประหาร เพราะมาจากรัฐธรรมนูญปี 2534 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 8 ปี 2538 ซึ่งมาจากรัฐประหาร ฉะนั้นทฤษฎีผลไม้เป็นพิษของนิติราษฎร์ใช้ไม่ได้ ไม่เช่นนั้นสิ่งที่เสนอมาก็ใช้ไม่ได้ทั้งหมด

นายคมสันกล่าวอีกว่า การพูดถึงเรื่องหลักการ การแบ่งแยกอำนาจ อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน มันเป็นของเดิมหมด หลักนิติรัฐก็ของเดิม ความเป็นกฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญก็ของเดิม มีเพิ่มขึ้นมาคือเรื่องสถาบันกษัตริย์ เพื่อให้การเมืองครอบงำประมุข ให้กษัตริย์สาบานตนก่อนรับตำแหน่ง โดยเอารูปแบบประธานาธิบดีมาใช้ แต่ลืมว่าประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้ง เป็นเพียงเรื่องการให้สัญญากับปวงชน แต่ของเราจะให้ไปสาบานตนต่อสภา ซึ่งปัจจุบันเราตั้งคำถามอะไรคือการเลือกตั้งที่แท้จริง มีใครบอกได้หรือไม่ว่าไม่มีการทุจริต อ.วรเจตน์ ทำไมไม่ระบุว่าการเลือกตั้งอย่างแท้จริงคืออะไร




คำต่อคำรายการคนเคาะข่าว 23 ม.ค. 2554 ตอน ชำแหละข้อเสนอนิติราษฎร์

ช่วงที่ 1


เติมศักดิ์ : สวัสดีครับ คนเคาะข่าวจันทร์ที่ 23 มกราคม 2554 นะครับ วันนี้เราจะวิพากษ์ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์อย่างที่ได้ชมไปเมื่อสักครู่นะครับที่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวานนี้ กลุ่มนักวิชาการที่ใช้นามว่าคณะนิติราษฎร์ ได้จัดอภิปรายลบล้างผลพวงรัฐประหาร-นิรโทษกรรม-ปรองดอง เพื่อนำเสนอแนวทางการลบล้างผลพวงที่มาจากการรัฐประหารทั้งหมด รวมไปถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนที่ยึดโยงกับการทำรัฐประหาร ซึ่งบรรยากาศก่อนเริ่มการอภิปรายได้มีการแจกคู่มือประชาชน ลบล้างผลพวงรัฐประหาร มีการตั้งโต๊ะล่ารายชื่อประชาชนเพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยคณะกรรมการรณรงค์แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือในชื่อย่อคือ ครก.112 ก็มีประชาชน ซึ่งส่วนมากเป็นคนเสื้อแดงเข้ามารับฟังจนเต็มห้องประชุมศรีบูรพา หรือหอประชุมเล็กมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นะครับ

วันนี้เราก็จะได้เห็นสื่อที่ได้สรุปข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ เรื่องรูปแบบองค์กรยกร่างและจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ และกระบวนการยกร่างและจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่เสนอให้คณะรัฐมนตรีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนญใหม่ ซึ่งมีรายละเอียดที่เราจะจะวิพากษ์วิจารณ์กันในคืนวันนี้นะครับ รวมทั้งสิ่งที่นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ หนึ่งในนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ได้พูดเอาไว้ตอนหนึ่งว่า หลักการของ รัฐธรรมนูญใหม่จะมีอยู่ 4 ส่วน คือ บททั่วไป สิทธิเสรีภาพ สถาบันทางการเมือง องค์กรอิสระ และเรื่องใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน คือ การต่อต้านรัฐประหาร และลบล้างผลพวงจากการรัฐประหาร

ตอนหนึ่งนายวรเจตน์บอกว่า การปฏิรูปที่จะเกิดขึ้นนั้น ในที่สุดแล้วประเทศไทยก็ยังคงเป็นราชอาณาจักร ยังมีประมุขของรัฐคือพระมหากษัตริย์ โดยจะต้องจัดวางโครงสร้างของประมุขของรัฐกับองค์กรผู้ใช้อำนาจอื่นๆ ให้สอดคล้องกัน โดยกำหนดให้ประมุขของรัฐจะต้องสาบานตนว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และพิทักษ์รัฐธรรมนูญก่อนเข้ารับตำแหน่ง นี่เป็นประโยคที่มาของเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดในวันนี้นะครับ และเราจะไปฟังความคิดเห็นจากวิทยากร 2 ท่านจากกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์นะครับ ท่านแรกเป็นอาจารย์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์หรือนิด้า รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ท่านที่สองคือ อาจารย์คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อาจารย์คมสัน โพธิ์คง

เท่าที่ดูเนื้อหาในภาพรวมของข้อเสนอนิติราษฎร์ ร่างจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่และประโยคที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดก็คือกำหนดให้ประมุขของรัฐจะต้องสาบานตนว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และพิทักษ์รัฐธรรมนูญก่อนเข้ารับตำแหน่ง มุมมองของอาจารย์สองท่านเป็นยังไงครับ อาจารย์พิชายครับ

รศ.ดร.พิชาย : ผมอาจจะเริ่มจากตรงนี้ก่อนนะครับว่า ข้อเสนอในการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ผมคิดว่าตรงนี้มีปมประเด็นอยู่ที่มีนักวิชาการหลายคนก็ถกเถียงกันอยู่พอสมควรว่า การเสนอยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ไม่ว่าจะในรูป ส.ส.ร. หรือ อะไรก็ตาม นัยยะมันก็เหมือนกับการล้มล้างรัฐธรรมนูญปี 2550 ทีนี้การลบล้าง รัฐธรรมนูญ 2550 ในตัว รัฐธรรมนูญเองก็มีมาตรา 68 ที่ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพในการทำการล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้ในทำนองนั้นนะครับ ซึ่งการตั้ง ส.ส.ร. ขึ้นมาไม่ว่าจะในรูปแบบใดก็ตามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็เป็นการใช้สิทธิ์ที่ล้มล้าง รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ซึ่งผมคิดว่าเป็นการกระทำที่ไม่สามารถทำได้ ซึ่งถ้ามีการเสนอและมีพรรคการเมืองไหน พรรคใด รับข้อเสนอนี้ไปก็อาจจะถูกยื่นให้มีการยุบพรรคได้ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าข้อเสนอทุกข้อเสนอที่เสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยการยกร่าง รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา จึงกลายเป็นความสุ่มเสี่ยงของตัวพรรคการเมืองเอง รวมถึงใครก็ตามที่จะยกมือให้กับข้อเสนอแบบนี้ก็จะถูกฟ้องและถูกยุบพรรคได้ นั่นเป็นประการนึง

ทีนี้ถ้าเราดูรูปแบบ จากข้อเสนอของนิติราษฎร์นะครับ ในการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เขาให้มีคณะจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมา 25 คนซึ่ง 25 คนนี้มาจากฝ่ายการเมืองทั้งสิ้นนะครับ หมายความว่า มาจาก ส.ส. 20 จาก ส.ว. อีก 5 คือ ส.ว.เลือกตั้ง 3 และ ส.ว.สรรหา 2 นะครับ อาจมองว่าการให้ ส.ส. และ ส.ว. เป็นผู้ร่าง เขาอาจจะมองในแง่ของการเชื่อมโยงกับประชาชน โดยคิดว่า ส.ส.-ส.ว.อันนี้เป็นตัวแทนประชาชน แต่ขณะเดียวกันมันก็ขัดแย้งกับสิ่งที่เขาเสนอเองนั่นแหละเพราะ ส.ส. กลุ่มนี้ก็มาจากรัฐธรรมนูญฉบับรัฐประหารที่เขาต่อต้าน เพราะฉะนั้นข้อเสนอของเขาที่จะเอา ส.ส.มา ก็คือเอาส.ส.ที่เกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้มาต่อต้าน ... คือตอนนี้ไม่ว่าเขาจะเสนออะไรภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญนี้ และอ้างสิ่งใดก็ตามตามรัฐธรรมนูญนี้ก็เท่ากับว่าเขายอมรับอำนาจของคณะรัฐประหารที่เขาไม่เห็นด้วย เพราะฉะนั้นถ้าเขาจะไม่เห็นด้วยจริงนะครับ เขาก็ควรจะใช้วิธีการอื่นที่ไม่ใช่เป็นวิถีตามรัฐธรรมนูญ คือ หมายความว่าวิธีการตามรัฐธรรมนูญที่เสนอขึ้นมา จะเห็นได้ว่าเขาจะเสนอในลักษณะขอบเขตที่เกินเลยกว่าเส้นแบ่งการยอมรับได้ของสังคม ข้ามเส้นบรรทัดฐานของสังคมไปมาก

วิธีการเสนอการข้ามเส้นการยอมรับของสังคมไปมาก มันสะท้อนว่าเจตนาจริงๆ แล้วเขาไม่ได้อยากจะเสนอที่อยู่บนพื้นฐานของรัฐธรรมนูญฉบับนี้แต่เขากำลังเสนอให้มีการทำลายรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยตรง อย่างเช่นข้อเสนอที่คุณเติมศักดิ์พูดสักครู่ที่ว่าจะให้พระมหากษัตริย์จะต้องสาบานตนนะครับ ก็เป็นข้อเสนอที่เกินกว่าที่คนไทยที่เป็นสามัญชนทั่วไป ที่เป็นคนไทยธรรมดาจิตปกติจะยอมรับได้

เติมศักดิ์ : กำหนดให้ประมุขของรัฐจะต้องสาบานตนว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และพิทักษ์รัฐธรรมนูญก่อนเข้ารับตำแหน่ง

รศ.ดร.พิชาย : นั่นแหละครับ คือข้อเสนอแบบนี้คนทั่วไปที่มีความคิดปกติก็ยากที่จะยอมรับข้อเสนอแบบนี้ได้ ซึ่งมันก็ไปกระทบกับคนอีกหลายๆ กลุ่ม ทีนี้ข้อเสนอที่เกินเลยแบบนี้ ด้านหนึ่งก็สะท้อนเจตนาที่ว่าจริงๆ แล้ว เขาต้องการให้บางสิ่งบางอย่างทางการเมืองเกิดขึ้นมา เพื่อที่จะลบล้างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไป เหมือนยั่วยุให้เกิดเหตุการณ์ในทำนองนั้นขึ้นมาอย่างค่อนข้างจะชัดเจน เพราะสิ่งที่เขาเสนอภายใต้รัฐธรรมนูญนี้นั้นเท่ากับเขากลืนน้ำลายตัวเองทั้งหมด ก็คือเขามองว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากการรัฐประหาร เพราะฉะนั้นสิ่งที่ขาเสนอภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ ถ้ายืนอยู่บนรัฐธรรมนูญนี้เป็นฐานก็เท่ากับว่าเขายอมรับอำนาจรัฐประหาร เขามองว่าถ้าจะไม่ยอมรับอำนาจรัฐประหารจริง เขาก็อาจจะกระตุ้นให้เกิดการรัฐประหารโดยประชาชน ซึ่งเมื่อเกิดการรัฐประหารปุ๊บเขาก็จะเอากำลังมวลชนเข้ามาต่อต้านตามแนวทางยุทธศาสตร์ที่เขาวางไว้แล้วนะครับ

เพราะฉะนั้นเขาจึงเสนอให้เกินเลยเพื่อที่อาจจะทำให้ทหารออกมาทำการรัฐประหาร หรือ ปฏิวัติ เสร็จแล้วเขาก็จะเอากองกำลังที่เขาวางเอาไว้ มวลชนที่เขาไปปลุกกระแสเอาไว้ ออกมาต่อต้านนะครับ แล้วใช้มวลชนตรงนั้นมาเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นมา และสถาปนารัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมาตามที่เขาต้องการ ผมคิดว่านั่นคือเป็นเกมที่ทำให้เกิดมีข้อเสนอที่เกินเลย และมุ่งเน้นไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์

ซึ่งตรงนี้มีผู้ถามกันมากว่าถ้านิติราษฎร์มีความจริงใจต่อประชาธิปไตยจริง หรือ จริงใจต่อเสรีภาพจริงเขาก็ควรจะต้องตั้งคำถามกับพรรคการเมืองที่เป็นเผด็จการของนายทุนมากกว่า หรือ อย่างน้อยๆ ก็พอๆ กับการตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะถ้าเราดูความเป็นจริงในระยะ 30-40 ปีที่ผ่านมานี้ กลุ่มคนที่มีบทบาททางการเมืองที่ทำให้การเมืองผิดเพี้ยน สร้างปัญหาต่างๆ คอร์รัปชั่นอะไรต่างๆ ก็อยู่ที่บรรดาพรรคการเมืองและนักการเมืองเกือบทั้งสิ้น แต่ว่าเป็นประเด็นที่เขาละเลยไป และไม่ได้ใส่ใจกับตรงนั้น ร่างรัฐธรรมนูญที่เขาร่างขึ้นมาใหม่ไม่มีประเด็นไหนที่ไปแตะต้อง ตรวจสอบนักการเมืองใดๆ ทั้งสิ้น แต่ไปตรวจสอบกับสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันศาลและกองทัพเป็นหลัก รวมทั้งอาจจะยกเลิกสถาบันหรือองค์กรอิสระต่างๆ ไปด้วย

อันนี้ก็เห็นได้ชัดว่า ทางเดินของข้อเสนอของนิติราษฎร์ คือ การปูพรมแดงให้กับเผด็จการทุนสามานย์ทั้งหลายได้เดินในการครองอำนาจในสังคมไทยได้อย่างราบเรียบมากขึ้น โดยไม่มีอำนาจเชิงคุณธรรมใดๆ มาหยุดยั้งหรือมาสกัดกั้นเส้นทางเหล่านั้น เพราะฉะนั้นนิติราษฎร์จึงเป็นกองหน้าของพวกทุนนิยมเผด็จการผูกขาด ไม่ใช่กองหน้าของประชาธิปไตยแต่อย่างใดนะครับ และก็พยายามที่จะบอกว่าตัวเองก้าวหน้า ซึ่งจริงๆ แล้วข้อเสนอที่ผ่านมาทั้งหมด ผมก็ดูแล้วหาความก้าวหน้าอะไรไม่เจอ เพราะเสนอย้อนหลังไปถึง 2475 ซึ่งสมัยนั้นมันยังไม่มีทุนนิยมผูกขาดเกิดขึ้นในสังคมไทยด้วยซ้ำไป พูดง่ายๆ คือว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์ไปอิงอุดมการณ์ 2475 แต่กำลังวางรากฐานที่มั่นคงและหนาแน่นให้กับกลุ่มทุนนิยมสามานย์ผูกขาดที่เป็นเผด็จการอยู่ในขณะนี้ นี่คือภาพรวมๆ ที่ผมคิดว่าอยู่เบื้องหลังของกลุ่มนิติราษฎร์ที่เป็นแนวหน้า กองหน้าของทุนเผด็จการ สามานย์นะครับ

เติมศักดิ์ : เดี๋ยวจะมาลงรายละเอียดกันทั้งในข้อเสนอเกี่ยวกับกระบวนการและข้อเสนอเกี่ยวกับเนื้อหาในรัฐธรรมนูญของคณะนิติราษฎร์นะครับ

อ.คมสัน : จริงๆ อาจารย์พิชายกับผมเห็นไม่ต่างกันเท่าไหร่ แต่ผมมีรายละเอียดเพิ่มเติมนิดหน่อยถึงวิธีคิดของพวกเขานะครับ จริงๆ ที่เราพูดกันถึงปัจจุบันมันไม่ได้มีเพียงกลุ่มนิติราษฎร์ที่ไปเคลื่อนไหวในเชิงจัดทำรัฐธรรมนูญขึ้นมา แต่มีกลุ่มบางกลุ่มที่อยู่ในหน่วยงานนั้นเช่น ศูนย์สันติวิธีของมหิดล ซึ่งมีคนอยู่ใน ครก.112 เต็มเลย ก็ไปจัดเสวนาอีกที่นึงที่สมาคมนักข่าว พูดถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และก็พูดถึงการจะเลือกใช้ ส.ส.ร. หรือ คณะกรรมการยกร่างดี

ผมก็เคยมีข้อโต้เถียงว่า จริงๆ แล้วเรื่องนี้มันไม่ได้พูดถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญคือ พยายามที่จะทำให้ประชาชนงง จนเข้าใจว่ารัฐธรรมนูญมีปัญหา แต่ว่าไม่มีใครพูดประเด็นของปัญหาที่เกิดขึ้นเลย กลับไปพูดกันถึงวิธีการแล้วว่าจะใช้ ส.ส.ร.ดีหรือจะใช้คณะกรรมการดี หรือมีข้อเสนอใหม่คือคณะจัดทำร่างรัฐธรรมนูญโดยนิติราษฎร์ที่เสนอขึ้นมา ที่เรียกว่าคณะจัดทำรัฐธรรมนูญนิติรัฐและประชาธิปไตย แต่ชื่อว่ามันสะท้อนตัวตนว่ามันไม่เป็นไปตามนี้นะครับ

ทีนี้การตั้งคำถามตรงนี้ การที่กำลังจะทำกันนี้มันไม่เรียกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มันเรียกว่า “เลิกรัฐธรรมนูญ” เป็นความคิดจะเลิกรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นเขาจึงไม่เอาสาระในเชิงประเด็นปัญหา แต่เขาจะเลิกรัฐธรรมนูญ เพราะว่ารัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้เป็นไปตามกรอบอุดมการณ์ทางการเมืองในวิถีคิดของกลุ่มของเขา เขาจึงจะเลิกเสีย ซึ่งการบอกจะเลิกในที่นี้มันก็ไม่มีความชัดเจนว่าจริงๆ แล้วมันมีปัญหาจริงๆ หรือเปล่าตามที่เขากล่าวอ้าง แต่ที่แน่ๆ ถ้าเราดูตามที่เขาเสนอก็จะเห็นได้ว่าวิธีคิดของเขาเป็นข้อเสนอเก่าประมาณ 50% มันเป็นข้อเสนอปัญหาเดิม ตั้งแต่ 40 หรือ 50 ก็มีมาแล้ว ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง และก็เป็นข้อเสนอใหม่แต่ค่อนข้างวิปริตในสภาพความเป็นจริงของสังคมไทยอีกประมาณครึ่งหนึ่ง ซึ่งหลักการเหล่านี้ผมคิดว่ามันผสมอยู่ แล้วเขาก็บอกว่ามันเป็นเรื่องก้าวหน้า

ที่ผมบอกว่าวิปริตในแง่ของสังคมไทยก็คือว่า เขาไม่ได้สะท้อนภาพในความเป็นจริง ของบริบทของสังคมการเมืองไทยว่า จริงๆ สภาพการเมืองเป็นอย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้วสองเรื่องที่เขาละเลย ไม่กล่าวถึงเลย คือ หนึ่ง พฤติกรรมของนักการเมือง พฤติกรรมความชั่วช้า ความเลวทราม และความเลวร้ายของนักการเมืองที่มีอยู่ในระบบปัจจุบัน มันเลวร้ายอย่างไร เช่น การแทรกแซงองค์กรอิสระ การแทรกแซงในกระบวนการยุติธรรม หรือพฤติกรรมของความไม่รับผิดชอบ ไม่มีจริยธรรมในทางการเมืองของนักการเมืองในสภาพปัจจุบัน การทุจริตคอร์รัปชั่นของนักการเมืองในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ สิ่งนี้ไม่มีการกล่าวอยู่ในข้อเสนอของนิติราษฎร์ เสมือนเขาเชื่อว่าข้อเสนอของประเทศไทยนี้บริสุทธิ์ไร้มลทินโดยสิ้นเชิงกับพฤติกรรมของนักการเมืองเหล่านี้ แล้วข้อเสนอทางการเมืองก็มาในแบบไร้เดียงสา ซึ่งไมได้แตะต้องถึงพฤติกรรมซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาที่แท้จริง ปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายทุกฉบับ ไม่เว้นแม้แต่รัฐธรรมนูญ

เรื่องที่สองที่กลุ่มนิติราษฎร์ไม่พูดถึงก็คือ การสร้างระบบเผด็จการทุนนิยมผูกขาดโดยพรรคการเมืองให้เกิดขึ้น ความจริงระบบเผด็จการทุนนิยมผูกขาดมันสะท้อนมา และมีการวิเคราะห์กันมาในทางวิชาการมาตั้งแต่ปี 2517 ซึ่งมีความเข้าใจในเรื่องของระบบของการสร้างพรรคการเมืองให้มีความเข้มแข็ง แต่มันไปสร้างภายใต้บริบทวิธีคิดข้อนึงก็คือ พรรคการเมืองไทยไม่ได้มีฐานรากมาจากประชาชนที่แท้จริง พรรคการเมืองไทยเป็นเรื่องของกลุ่มทุนธุรกิจอยากจะจัดตั้งพรรคการเมืองเข้าไปเสวยอำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ทางธุรกิจ โดยใช้อำนาจทางการเมืองนั้นเข้าไปแทรกแซงในผลประโยชน์ต่างๆ แล้วก็ดำเนินการได้มาซึ่งผลประโยชน์โดยวิธีการไหน อย่างเช่น ผลประโยชน์ทับซ้อน หรือแม้แต่วิธีทุจริตคอร์รัปชั่น เพราะฉะนั้นในเรื่องของหลักการสองเรื่องนี้ ซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาของสังคมไทย ซึ่งต้องยอมรับข้อนึงนะฮะว่านิติราษฎร์ไม่กล่าวถึงว่า คุณทักษิณต้องพ้นจากอำนาจเพราะสองเรื่องนี้ นี่คือพฤติกรรมที่ทำให้เกิดวงจรของการเมืองไทยเกิดขึ้น ในช่วงเวลาที่ผ่านมา

ทีนี้คำถามคือว่า เขาเนี่ยไปเอารูปแบบมาจากไหน เขาพยายามบอกว่ารูปแบบเขาก้าวหน้ามาก แต่ความจริงมันไม่ใช่รูปแบบใหม่ เพราะรูปแบบนี้มันใช้มาตั้งแต่ปี 2501 ใช้ในประเทศฝรั่งเศส คือการร่างรัฐธรรมนูญสาระที่ 5 ที่ตั้งคณะกรรมการแบบนี้ขึ้นมาโดยสภาเป็นผู้แต่งตั้ง เพียงแต่เขาตะขิดตะขวงใจในการที่จะให้ประมุขของรัฐเป็นคนแต่งตั้ง เพราะว่าในโมเดล 1958 ที่ร่างรัฐธรรมนูญสาระที่ 5 ของฝรั่งเศส เขาให้อำนาจประธานาธิบดีเดอ โกล์ ในการที่จะคัดเลือกบุคคลที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆ มาทำหน้าที่ในการที่จะยกร่างรัฐธรรมนูญ แล้วเขาไม่ได้ยกเฉพาะรัฐธรรมนูญด้วย และเขาไม่ได้ทำอะไรกินรวบ ทำอะไรเบ็ดเสร็จแบบลวกๆ แค่สิบเดือน เขาใช้เวลาทำไปถึงข้อเสนอของกฎหมายที่จำเป็นในการบริหาร จำเป็นในการตรวจสอบการใช้อำนาจ ที่เรียกว่ากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไปพร้อมกันด้วย มันจึงมีโมเดลนี้ โมเดลนี้ไม่ใหม่นะฮะ เป็นโมเดลโบราณครับ เพียงแต่ว่าเขาทำสิ่งใหม่ก็คือ ให้นักการเมืองมาเป็นคนเลือกกรรมการเหล่านี้ โดยที่ไม่มีคำตอบใดๆ ในเรื่องของความเชี่ยวชาญหรือความรู้เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างองค์กรของรัฐ ไม่มีตรงไหนที่เป็นหลักประกันในเรื่องของความเชี่ยวชาญในเรื่องรัฐธรรมนูญ มีอยู่เรื่องเดียวคือ มาจากตัวแทนของปวงชน เท่ากับเป็นการเลือกโดยทางอ้อม หรือเลือกตั้งโดยทางอ้อมโดยกลุ่มการเมืองขึ้นมา

เพราะฉะนั้นโมเดลที่เขาเสนอขึ้นมาไม่ใช่โมเดลใหม่ เป็นโมเดลโบราณ แต่ว่าพยายามจะเสนอใหม่ แต่ว่าไม่ยอมให้ประมุขของรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจตรงนี้ เพราะในใจนั้นมีอุดมการณ์ทางการเมือง หรือมีโมทีฟทางการเมืองในลักษณะของการเปลี่ยนแปลงหรือทำให้สถาบันอ่อนแอลง ภาพใต้ข้อเสนอต่างๆ จึงไม่ยอมให้ประมุขของรัฐทำตรงนี้ เพราะว่าถ้าเขาทำตรงนี้เท่ากับทูลเกล้าเสนอให้ ประมุขของรัฐคืนพระราชอำนาจ และทำการเลือกคณะกรรมการขึ้นมา ซึ่งมันก็จะคล้ายกับโมเดลที่เขาไปดูรูปแบบมา แบบฝรั่งเศส ก็ออกมาในรูปแบบนี้ เพราะต่างคนต่างก็เรียนฝรั่งเศสมาหลายคน ตรงนั้นเรียนจบบ้าง ไม่จบบ้าง บางคนก็เรียนนานมา เพราะมัวแต่คิดเรื่องล้มเจ้านี่นะฮะ และก็ในข้อเสนอของเขานี่เขาพยายามสร้างข้อเสนอที่สำคัญที่เป็นโจทย์มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ก็คือ การสร้างฝ่ายบริหารที่เข้มแข็ง แต่การสร้างฝ่ายบริหารที่เข้มแข็งของเขา เขาตอกย้ำสิ่งที่เป็นความผิดพลาดของรัฐธรรมนูญปี 40 ที่สำคัญก็คือ มันสร้างระบบเผด็จการพรรคการเมืองให้เกิดขึ้น ภายใต้วิธีคิดหรือข้อเสนอจะเห็นได้ว่ามันสร้างระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จเกิดขึ้น แล้วแก้ไขใดๆ ไม่ได้ต่อไปเลยในอนาคต นอกจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะถูกฉีกโดยการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง เพราะว่ามันไปสร้างระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยพรรคการเมือง ซึ่งเป็นทุนนิยมผูกขาด ภายใต้บริบทของสังคมที่มีปัจจุบัน ซึ่งพรรคการเมืองเป็นแบบนั้นเสียส่วนใหญ่ แล้วก็เอาอำนาจรัฐ อำนาจอธิปไตยของรัฐไปอยู่ในมือของกลุ่มคนซึ่งเป็นกลุ่มทุนนิยมผูกขาดให้สามารถครอบงำสถาบันประมุข ครอบงำสถาบันศาล ครอบงำสถาบันตุลาการ และครอบงำกองทัพได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยไม่มีการตรวจสอบ คัดคานใดๆ ทั้งสิ้น

การวางรูปแบบของเขา จะเห็นได้ว่าเสนอของเขา เขาพยายามบอกว่า พยายามจัดสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นประมุขของรัฐ แต่ข้อเสนอของเขาจะไปสอดคล้องกับที่เขาทำมาตรา 112 ที่เขาเขียนข้อความไว้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเขาเติมว่าภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งข้อเสนออันนี้สุดท้ายรัฐธรรมนูญอันนี้คือรัฐธรรมนูญของกลุ่มทุนนิยมผูกขาด แล้วก็เอากลุ่มทุนนั้นมาวางหลักการในเชิงของการครอบงำสถาบันโดยอาศัยการสาบานตนในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็นข้ออ้างในอนาคต เพื่อเงื่อนไขของผลประโยชน์ทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ นะฮะ และสุดท้ายการทำอย่างนั้นทำให้ความสำคัญของสถาบันประมุขของรัฐกลายเป็นเพียงแค่สัญลักษณ์ของการเป็นประมุขของรัฐ ไม่ใช่เป็นประมุขของรัฐในความเป็นจริง เป็นเพียงแค่สัญลักษณ์เท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้น ผมคิดว่าข้อเสนออันนี้เป็นข้อเสนอที่วิปริตต่อสภาพความเป็นจริงของสังคมการเมืองไทยเป็นอย่างยิ่งครับ ใหม่ครับ ใหม่แต่วิปริต ใหม่มากเลย แต่เหมือนข้อเสนอของคนบ้าที่เสนอเข้ามาในนี้ โดยไม่ได้ดูความจริง เป็นข้อเสนอที่ชุ่ยในทางวิชาการอย่างยิ่ง เพราะว่าข้อเสนอของเขาสามารถวิจารณ์ได้ทุกข้อ เช่นให้ศาลให้ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี

เติมศักดิ์ : ผู้พิพากษาศาลสูงและตุลาการศาลสูงต้องได้รับการเสนอชื่อโดยคณะรัฐมนตรี และได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา

อ.คมสัน : ก็รัฐสภาประกอบด้วยนักการเมืองซึ่งมาจากกลุ่มทุนผูกขาด คณะรัฐมนตรีมาจากตัวแทนซึ่งรัฐสภาให้ความเห็นชอบจากกลุ่มพรรคการเมืองผูกขาด แล้วข้อสำคัญคือเลือกมาแล้ว สุดท้ายศาลจะเลือกใครล่ะครับ ก็คือการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมแล้วก็หลักการแบ่งแยกอำนาจที่วางเอาไว้ เขียนเสียอย่างดี ในร่างที่เขาเสนอนั้นมันทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยโดยสิ้นเชิง ภายใต้หลักคิดวิธีนี้นะฮะ ภายใต้บริบทสังคมไทย ส่วนเขาจะตอบว่าเอาล่ะที่ประเทศอื่นเขาก็ทำ เช่น สหรัฐอเมริกาเขาก็ทำ คำถามข้อที่หนึ่ง สหรัฐฯ มีพรรคการเมืองเป็นเผด็จการทุนนิยมผูกขาดหรือพรรคการเมืองอย่างประเทศไทยหรือเปล่า นี่คือคำถามข้อที่หนึ่งในเชิงบริบทสังคม ข้อที่สอง ประชาชนมีความเข้าใจการเมืองแบบไหน การเลือกตั้งของไทย กับการเลือกตั้งแบบสหรัฐอเมริกา ทุจริตการเลือกตั้งเหมือนกันไหม?

หลักการเลือกตั้งอันนึงที่ อ.วรเจตน์ไม่ยอมพูดเลยนะฮะ อ.วรเจตน์ละเลยหลักการเลือกตั้งสากล 5 ข้อมาตลอด พูดแต่ว่าการเลือกตั้งคือประชาธิปไตย การเลือกตั้งนั้นผลของการเลือกตั้งคือเจตจำนงอันเป็นสวรรค์สูงสุดของประชาชน เพราะฉะนั้นใครจะไปเลิกเจตจำนงของประชาชนมิได้ แต่ในขณะเดียวกันหลักวิชาเขาก็บอกว่าถึงแม้การเลือกตั้งอันนั้นจะแสดงถึงเจตจำนงของประชาชน แต่ถ้าเจตจำนงของประชาชนนั้นบิดเบี้ยวจากหลักการสำคัญ 5 ประการ โดยเฉพาะในข้อ 1 คือ เรื่องของหลักการว่า การเลือกตั้งที่แท้จริง ก็คือการเลือกตั้งนั้นต้องสุจริต เที่ยงธรรม ไม่มีการทุจริตหรือการซื้อเสียง หรือการกระทำใดๆ ให้เป็นการบิดเบือนผลของการเลือกตั้งด้วยวิธีการอันมิชอบด้วยกฎหมายต่างๆ อันนี้เป็นหลักกฎหมายนะฮะ แกไม่เคยพูดถึงเลย เพราะฉะนั้นการเพิกถอนเจตนารมย์ของประชาชนที่เกิดโดยวิปริต บิดเบือนจากหลักการเลือกตั้งสากลมันจึงใช้ไม่ได้ ประเทศไทยเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า? ถ้าประเทศไทยเป็นอย่างนี้ ข้อเสนอนี้ ในสภาพสังคมไทยเปรียบเทียบกับในประเทศไหนก็ใช้ข้อเสนอนี้ไม่ได้

เติมศักดิ์ : เบื้องต้นนี้เราว่ากันโดยภาพรวมก่อน เดี๋ยวช่วงหน้าจะเริ่มมาชำแหละกันทีละข้อๆ ซึ่งตอนนี้ทั้งสองท่านก็มีข้อเสนอของนิติราษฎร์ฉบับสมบูรณ์ ซึ่งเขาแยกแยะเนื้อหาออกเป็น 15 หัวข้อ เดี๋ยวเราจะมาชำแหละกันเป็นข้อๆ ว่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ในแต่ละข้อนะครับ สักครู่ครับ

ช่วงที่ 2

เติมศักดิ์ : กลับมาช่วงที่ 2 เรามาชำแหละเนื้อหาข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์กันทีละข้อนะครับ ไม่ว่าจะเป็นการใช้พื้นฐานของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว 2475 รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 2489 และ 2540 ในการเป็นฐานคิดในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หรือ จุดนึงก็คือคณะนิติราษฎร์เสนอให้คำปรารภของรัฐธรรมนูญนั้นมีเนื้อหาที่หวนกลับไปหาเจตนารมย์ของคณะราษฎร์และอุดมการณ์ประชาธิปไตยแบบคณะราษฎร์ โดยในส่วนของประเด็นเนื้อหานะครับ ทางคณะราษฎร์เขาบอกว่าเขามีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ศาล กองทัพ และสถาบันทางการเมือง ก็มีข้อเสนอที่วันนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์กันมากเช่น ข้อ 8 ยุบเลิกองค์กรตามรัฐธรรมนูญในปัจจุบันที่ไม่มีสถานะเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญในทางเนื้อหา และในข้อ 8 เช่นกันที่ว่าด้วยโครงสร้างของสถาบันทางการเมืองและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ใช้ระบบสภาเดี่ยว แต่หากต้องการให้ใช้ระบบสองสภา ที่มาของสภาทั้งสองต้องมาจากการเลือกตั้ง

ในหัวข้อ ข้อที่ 9 ความชอบธรรมทางประชาธิปไตยขององค์กรตุลาการ ผู้พิพากษาศาลสูงและตุลาการศาลสูง ต้องได้รับการเสนอชื่อโดยคณะรัฐมนตรี และได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา ข้อ 13 หลักความสูงสุดของรัฐบาลพลเรือนเหนือทหาร กำหนดให้มีผู้ตรวจการกองทัพที่แต่งตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎร, รับรองสิทธิและหน้าที่ของทหารในการปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและละเมิดกฎหมายอย่างชัดแจ้งและร้ายแรง, การแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งระดับสูงในกองทัพเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรี

แล้วก็ในหัวข้อสุดท้ายคือ หัวข้อที่ว่าด้วย การต่อต้านการแย่งชิงอำนาจสูงสุดของประชาชน กำหนดให้มีบทบัญญัติในหมวดว่าด้วย “การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549” โดยมีเนื้อหาสาระตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์เรื่องการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549, กำหนดให้ปวงชนชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ในการต่อต้านโดยวิธีการใดๆ ต่อการแย่งชิงอำนาจสูงสุดของประชาชน, กำหนดให้การแย่งชิงอำนาจสูงสุดของประชาชนเป็นความผิดอาญา ภายหลังการรื้อฟื้นอำนาจที่ชอบธรรมกลับมาได้แล้ว ก็ให้ดำเนินคดีต่อบุคคลที่แย่งชิงอำนาจสูงสุดของประชาชนดังกล่าว โดยให้อายุความเริ่มนับตั้งแต่มีการรื้อฟื้นอำนาจอันชอบธรรมนั้น

อันนี้ยังไม่นับเนื้อหาที่ค่อนข้างล่อแหลมในข้อ 4 ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ก็คือ กำหนดให้ประมุขของรัฐต้องสาบานตนว่าจะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและพิทักษ์ไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญก่อนเข้ารับตำแหน่ง อาจารย์ทั้งสองท่านดูในรายละเอียดของแต่ละข้อแล้วเป็นยังไงบ้างครับ อาจารย์พิชายเชิญครับ

รศ.ดร.พิชาย : ผมอยากจะพูดอะไรสักนิดก่อน คือ เสาร์อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมไปที่ จ.ตรัง ก็ไปคุยกับนักพัฒนาอาวุโสท่านหนึ่ง ซึ่งทำงานพัฒนามาเกือบ 30 ปีละ คือหลังจากที่ท่านทำงานพัฒนามาท่านก็พูดอย่างชัดเจนว่า ในปัจจุบันภาคประชาชนจำนวนมากก็เริ่มตื่นตัวในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ภาครัฐในระดับจังหวัดไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าฯ หรือ หน่วยงานราชการจำนวนหนึ่งก็ให้ความร่วมมือและสนับสนุน นักวิชาการก็ให้การสนับสนุนภาคประชาชนในการอนุรักษ์หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตต่างๆ แต่ท่านบอกว่าประสบการณ์ที่ท่านทำงานมา องค์กรที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนนี่แหละ ในขณะที่ส่วนอื่นไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจเขาพร้อมที่จะปกป้องผืนแผ่นดิน ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ แล้วพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน แต่ไอ้นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นคือปัญหา ที่เป็นอุปสรรคต่างๆ ปัญหาทั้งในแง่ที่ไม่ยอมให้ประชาชนสามารถยืนหยัดขึ้นมาได้ ในเรื่องของงบประมาณต่างๆ มากมาย ภาพนี้มันก็สะท้อนภาพใหญ่ของประเทศ

ซึ่งจริงๆ เราเคยพยายามเอาอำนาจทั้งหมดไปให้นักการเมืองมาแล้วครั้งหนึ่ง คือ รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งพอให้ปั๊บก็เกิดปัญหาอย่างมหาศาลให้กับประเทศไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผูกขาดระบบรัฐสภา การทุจริตฉ้อฉลอะไรต่างๆ ก็เกิดขึ้นมากมาย ทีนี้ข้อเสนอของนิติราษฎร์ก็คือจะย้อนรอยรัฐธรรมนูญ 2540 คือ มอบความไว้วางใจทั้งหมดในการบริหารประเทศให้กับนักการเมืองที่มาจากการทุจริตในการเลือกตั้ง นักการเมืองที่แสวงหาผลประโยชน์จากการบริหารประเทศ เขาจะเอาอนาคตของประเทศจับวางไปบนมือนักการเมืองประเภทนี้อีก นั่นคือสิ่งที่นิติราษฎร์ทำในระดับประเทศ หลังจากที่รัฐธรรมนูญปี 2550 พยายามสร้างหรือว่าถ่วงดุลย์อำนาจต่างๆ

ข้อเสนอในแง่ของโครงสร้างสถาบันทางการเมืองและองค์กรตามรัฐธรรมนูญข้อ 8 ของเขา จะเห็นได้ว่าอย่างเช่น กำหนดให้ใช้ระบบสภาเดี่ยว แต่หากต้องการให้ใช้ระบบสองสภา ที่มาของสภาทั้งสองต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด อันนี้ก็เหมือนกับรัฐธรรมนูญ 2540 ผลก็ออกมาเป็นสภาผัว-สภาเมีย สภาของตระกูลขุนนางท้องถิ่น นายทุนท้องถิ่น ในการกุมอำนาจเป็นหลักของประเทศ ก็เช่นเดียวกันก็คือ เข้าอิหรอบเดิม

เติมศักดิ์ : เหมือนเขาว่าจะให้ตัดวุฒิสภาออกไป แต่ถ้าจะมีก็ต้องมาจากการเลือกตั้ง

รศ.ดร.พิชาย : ซึ่งลอจิกมันผิดกัน เพราะถ้าจะดูว่าอะไรที่มีประสิทธิผลต่อผลประโยชน์ของประเทศมากกว่า เราก็จะเห็นได้ว่า ส.ว.ที่มาจากการสรรหาในปัจจุบันก็เห็นๆ กันอยู่ว่า สามารถทำงานให้กับประชาชนได้มากกว่า ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งเสียอีก หรือว่าสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองมากกว่า ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งส่วนใหญ่ก็ไปยอมสนับสนุนรัฐบาลเสียมากกว่า และถ้า ส.ว.จากการเลือกตั้งเป็นนักการเมืองประเภทสองคือ สมัคร ส.ส.ไม่ได้ แล้วก็มาลง ส.ว. ทั้งนั้นน่ะครับ หรือนักการเมืองแถวสอง สมัคร อบจ.แล้วไม่ได้ ตอนนี้มันเป็นอย่างนั้น ถ้าใช้แบบเดิมก็เป็นอย่างนี้อีก

ส่วนข้อ 9 นี่ยิ่งหนักข้อเลยครับ คือ ให้ผู้พิพากษาศาลสูงและตุลาการศาลสูงต้องได้รับการเสนอชื่อโดยคณะรัฐมนตรี และได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา อันนี้ก็เป็นความพยายามไปจำลองระบบของต่างประเทศมา ระบบของสหรัฐอเมริกามา แต่ว่าคณะรัฐมนตรีบ้านเรา คุณเติมศักดิ์ก็ลองดูสิว่าบางคนยังถูกแบล็กลิสต์อยู่เลย บางคนยังโดนคดีผู้ก่อการร้ายอยู่เลย แล้วก็ให้คนเหล่านี้เสนอชื่อแต่งตั้งศาลสูง แล้ว ส.ส.จำนวนมากก็มีคดี มีอิทธิพล อะไรต่างๆ มากมาย มันก็ยิ่งทำให้ระบบยุติธรรมยิ่งมีปัญหามากขึ้น

คือทุกที่นะครับ ไม่ใช่ว่าผมรังเกียจการเลือกตั้งนะครับอาจารย์ คุณเติมศักดิ์ แต่ทุกที่ในความเป็นจริงของสังคมไทยตอนนี้ก็คือ เมื่อไหร่ที่เอาระบบการเลือกตั้งแทรกเข้าไป ระบบคุณธรรมจะหายหมด อย่างเช่นถ้าเอาระบบการเลือกตั้งเข้าไปเลือกอธิการบดีในมหาวิทยาลัย คุณธรรมก็จะหายหมด มันก็จะเสนอผลประโยชน์กัน หรือว่าเอาระบบเลือกตั้งเข้าไปใน ... อันนี้ผมได้ยินมาจากบรรดาลูกศิษย์ที่เป็นชาวมุสลิม ในคณะกรรมการอิสลาม ปราชญ์ผู้รู้ผู้อาวุโสที่เคยได้รับความเคารพนับถือในอดีตก็หายหมด ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ได้แต่คนที่แจกจ่ายผลประโยชน์ เอาระบบการเลือกตั้งไปที่ไหนในบริบทของสังคมไทยตอนนี้มีปัญหามากเพราะว่าโครงสร้างสังคมอุปถัมภ์และจิตสำนึกของประชาชนเรายังมองการเลือกตั้งเป็นการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เฉพาะหน้า ไม่ได้มองภาพรวม เพราะฉะนั้นถ้าหากให้ระบบการเลือกตั้งแบบนี้มันครอบงำประเทศอยู่ ก็จะทำให้ประเทศเกิดความเสียหายมากขึ้น

นี่คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยซึ่งที่ อ.วรเจตน์เสนอ พื้นฐานที่เขาเสนอคือเขามองคนไทยเปี่ยมไปด้วยเหตุผล มีความรู้ มีข้อมูลข่าวสาร เป็นระบบเสรีนิยม เป็นระบบปัจเจกชนนิยม คนมีกินเรียบร้อยแล้ว ระบบอุปถัมภ์ไม่มี นั่นคือระบบเลือกตั้งที่อยู่บนพื้นฐานของสังคมตะวันตก ซึ่งไม่ใช่สังคมไทยอย่างแน่นอน สังคมไทยตอนนี้เทียบได้ก็คือประเทศอังกฤษในประมาณปี 1832 ซึ่งมีระบบอุปถัมภ์อยู่เป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นข้อเสนอนี้ก็ยิ่งทำลายระบบต่างๆ ของประเทศ ทำลายระบบคุณธรรมให้วอดวายไป

ที่หนักเข้าไปอีก ผมอยากจะพูดอีกประเด็นนึงแล้วเดี๋ยวจะให้ อ.คมสันช่วยพูดต่อ ก็คือในเรื่องของการกำหนดให้มีผู้ตรวจการกองทัพที่แต่งตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎร ข้อเสนอนี้โดยนัยยะเหมือนกับเป็นการดูถูกกองทัพนะครับ ไปควบคุมกองทัพให้อยู่ในมือของกลุ่มทุน จะสั่งให้กองทัพซ้ายหัน ขวาหันตามบัญชาของนักการเมือง และอีกด้านหนึ่งก็เป็นนัยยะของการแยกกองทัพออกจากสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะกองทัพถูกควบคุมโดย ส.ส. โดยสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรนี่ก็ถูกควบคุมโดยพรรคการเมืองที่เป็นเสียงข้างมาก พรรคการเมืองที่เป็นเสียงข้างมากก็ถูกควบคุมโดยกลุ่มทุนผูกขาดที่เป็นเจ้าของพรรค กลุ่มทุนผูกขาดบางพรรรคอาจจะมีหลายคน บางพรรคอาจจะมีคนเดียว เพราะฉะนั้นเขาก็วางเกมอันนี้ไว้สำหรับคนที่เป็นเจ้าของพรรคให้ควบคุมกองทัพ ถ้าควบคุมผ่านสภากลาโหมไม่ได้ก็ควบคุมผ่านสภาผู้แทนราษฎรอย่างเบ็ดเสร็จเลย

และถ้าหากว่าแก้รัฐธรรมนูญตามนิติราษฎร์เสนอ มันก็คงจะไม่ต่างกับที่ฮิตเลอร์เสนอแก้รัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมืองพรรคอื่นทั้งหมด เพราะถ้าเขาเสนอแบบนี้ได้ ต่อไปเขาก็อาจจะเสนอให้มีพรรคพรรคเดียวที่เป็นพรรคที่ถูกต้องตามกฎหมายก็ได้ อันนี้ก็คือประชาธิปไตยของเขานะครับ

เติมศักดิ์ : เหมือนกับว่าอะไรที่ทักษิณแค้น เขาเอามาใส่ไว้ในนี้ทั้งหมด

อ.คมสัน : คงต้องมองข้ามทักษิณนะครับ แต่เผอิญเขาเองก็มองข้ามไม่ค่อยพ้น เพราะข้อเสนอหลายเรื่อง ก็เป็นเรื่องของคุณทักษิณทั้งนั้น เราก็พยายามที่จะมองข้ามในเรื่องของปัญหารากเหง้าของสังคมไทยจริงๆ ว่ามันมีปัญหามาจากระบบอุปถัมภ์ ปัญหาการผูกขาดอำนาจ ทั้งอำนาจในระบบเศรษฐกิจ และอำนาจทางการเมืองของกลุ่มทุนนิยมผูกขาด แต่ข้อเสนอเหล่านี้มันไม่ค่อยมีอยู่ในของกลุ่มนิติราษฎร์ เขามองอย่างที่อาจารย์ว่าคือ คนไทยเป็นคนดีร้อยเปอร์เซ็นต์ คุณธรรมสูงยิ่งกว่าคนในประเทศต่างๆ จึงนำเสนอข้อมูลที่วิปลาสพอสมควรในสภาพความเป็นจริงของสังคมไทย เพราะถ้าใช้ ภาษาชาวบ้านก็คือฉิบหายทั้งเมืองนะครับ

ทีนี้ข้อเสนอบางอย่างมันไม่ใช่ของใหม่ มันเป็นของเก่า ยกตัวอย่างเช่น การเอารัฐธรรมนูญพื้นฐานมาจัดทำรัฐธรรมนูญคือ 2475, 2489 ฉบับ 2489 คือ เอา 2475 มาทั้งยวงนะครับ แล้วให้เอา 2475 มาใช้ ก็คือพูดง่ายๆ ว่า วิธีนึงที่เขาอาจจะใช้คือเอารัฐธรรมนูญใดรัฐธรรมนูญหนึ่งมาเขียนแทน แล้วก็ยกเลิก 2550 ไป คือเอามาสวมเลยก็ได้ นี่ก็สะท้อนถึงวิธีคิดอีกแบบหนึ่งนะครับ แล้วก็บอกว่ามีการจัดโครงสร้างสถาบันการเมืองและองค์กรทางรัฐธรรมนูญเท่าที่สอดคล้องกับพัฒนาการในยุคร่วมสมัย คำว่าร่วมสมัยมันคือ เก่ากับใหม่ คือเอาของเก่ามาผสมกับของใหม่ตามที่เขาว่า

แต่ผมดูแล้ว ข้อเสนอส่วนใหญ่มันเก่าอ่ะ อย่างเช่น การพูดถึงคำปรารภของรัฐธรรมนูญ พูดถึงเรื่องความเลวร้ายของรัฐประหารเป็นการก่อให้เกิดวงจรอุบาทว์ในการเมืองไทย มันก็ถูกส่วนหนึ่งนะ แต่มันก็ไม่ถูกทั้งหมด เขาก็ตั้งสมมติฐานว่าถ้าไม่มีรัฐประหารแล้ววงจรอุบาทว์มันไม่มี ถูกต้องฮะ มันไม่มีแต่ว่าถ้าตราบใดมีการทุจริตคอร์รัปชั่นโดยธรรมชาติการรัฐประหารมันคงหนีไม่พ้น คงเกิดขึ้นแน่ถ้านักการเมืองไทยไม่ยอมเลิก แต่ที่แน่ๆ ถ้าเดินตามโครงสร้างที่นิติราษฎร์เสนอคงไม่มีรัฐประหารเพราะมันเกิดเผด็จการผูกขาด โดยชัดเจน เบ็ดเสร็จ โดยที่ไม่มีใครทำอะไรต่ออะไรไปได้แล้ว ไม่ใช่ประชาธิปไตยนะฮะ เป็นการสร้างระบบเผด็จการภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย อย่างที่อาจารย์เคยพูดมาตลอดนะฮะ

ถ้าเรากลับไปดูในแง่ของเนื้อหาทั้งหลาย เราก็พบว่า สิ่งที่ใหม่ของเขาก็คือเรื่องของประมุของรัฐ ข้อเสนอใหม่เลย แต่ข้อเสนอใหม่ของเขามันก็ค่อนข้างไปสอดคล้องกับปี 2475 สมัยคณะราษฎร์ที่เคยพยายามจะเสนอรูปแบบนี้นะฮะ แต่สุดท้ายในความเป็นจริง ถ้าใครรู้การเมืองไทยในอดีตก็จะรู้ว่าตอนคณะราษฎร์ทำ ไม่ใช่ว่ายิ่งใหญ่อลังการจากไหนนะฮะ ทำก็เพราะว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ท่านมีความเมตตาไม่อยากก่อให้เกิดการนองเลือดขึ้นในสังคมไทย ก็คือประนีประนอม ซึ่งถ้ารบกันจริงๆ ก็แพ้ล่ะฮะตอน 2475 แล้วก็บอกว่านั่นคือการอภิวัฒน์ หมายถึงการทำให้เกิดสังคมใหม่ขึ้นมา มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ แต่จริงๆ แล้วก็คือการรรัฐประหารอีกแบบหนึ่งที่เกิดขึ้น

ในข้อเสนอของเขา เขาเอา 2540 อย่าลืมนะฮะว่ากลุ่มนิติราษฎร์เขาปฏิเสธเรื่องการรัฐประหาร รัฐธรรมนูญ 2540 ถ้ามองทฤษฎีผลไม้เป็นพิษ จากต้นไม้ที่เป็นพิษก็ต้องบอกว่า 2540 มาจากรัฐประหาร เพราะว่ารัฐธรรมนูญที่เป็นตัวก่อเกิดให้รัฐธรรมนูญ 2540 คือรัฐธรรมนูญ 2534 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 8 ปี พ.ศ.2538 แต่อย่าลืมนะฮะว่ามันแก้ไขมาตั้งแต่ปี 2534 ซึ่งมาจากรัฐประหาร เพราะฉะนั้นถ้าบอกว่ามันเป็นพิษมันก็เป็นพิษมาตั้งแต่ปี 2534 เพราะฉะนั้น 2538 มันก็พิษ แล้วก็ 2540 มันก็เป็นพิษ เพราะฉะนั้นทฤษฎีผลไม้เป็นพิษของเขานั้นมันใช้ไม่ได้ จนถึงขนาดบอกว่าทฤษฎีการก่อให้เกิดรัฐประหาร มันจะต้องล้มล้างให้หมด ถ้าล้มล้างจริง สิ่งที่เขานำมาเสนอมันก็ใช้ไม่ได้สักเรื่องเดียว จริงๆ มันต้องพูดกันถึงเนื้อหาสาระภายในมากกว่า เรื่องไหนเหมาะ ไม่เหมาะ แต่ไอ้ทฤษฎีแบบนี้เนี่ยพูดได้ในเชิงวาทกรรม สร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง แต่จริงๆ ชอบธรรมหรือเปล่านั่นก็เป็นอีกเรื่องนึง

ในเรื่องต่างๆ จะเห็นได้ว่าเรื่องของการพูดถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจ อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนเนี่ย อันนี้เขาพยายามย้ำ ความจริงมันก็ใช่ แล้วเมืองไทยก็บอกว่าเป็นของประชาชนแต่ว่าพระมหากษัตริย์ท่านทรงใช้ ก็คือ ในแนวของวิธีคิดเนี่ยมันมีทฤษฎีเบื้องหลังอยู่ ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ใช่ของใหม่ เป็นของเดิมครับ หลักนิติรัฐก็ของเดิม ไม่ใช่ของใหม่ สิ่งที่เขาเสนอมานี่ของเดิมทั้งนั้นะฮะ ผมก็ไม่เข้าใจว่าหลักนิติรัฐของเขากับที่เป็นอยู่ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมันต่างกันยังไง ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญก็เป็นของเก่า

จริงๆ เพิ่มใหม่คือเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ เรื่องพิทักษ์รัฐธรรมนูญที่ให้สาบานตน ซึ่งมีปัญหาสำคัญคือให้การเมืองครอบงำสถาบันประมุของรัฐ ด้วยกระบวนการของการปฏิญาณตนภายใต้ระบบของเขาก่อนเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งก็เอารูปแบบคล้ายระบอบประธานาธิบดีในสหรัฐอเมริกาที่ต้องสาบานตนต่อรัฐสภา แต่อย่าลืมนะฮะว่า ประธานาธิบดีของเขา เขามาจากการเลือกตั้งเหมือนกัน เพราะฉะนั้นภายใต้ระบบการสาบานต่อผู้แทน ในรูปแบบของประมุขของรัฐแบบประธานาธิบดีมันจึงเป็นเพียงของการให้สัญญาต่อผู้แทนปวงชน ที่มาจากการเลือกตั้งเหมือนกันว่าจะปฏิบัติหน้าที่ในเชิงการดำเนินการร่วมกัน

เติมศักดิ์ : ต่างคนต่างมาจากการเลือกตั้ง

อ.คมสัน : ถูกต้องฮะ แต่ของเราเนี่ยจะให้สถาบันประมุขของรัฐ ซึ่งเป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ไปสาบานตนต่อสภาฯ ซึ่งปัจจุบันเราถูกต้องคำถามในข้อเสนอของ อ.วรเจตน์ ที่ว่าเจตจำนงของประชาชนแสดงออกโดยการเลือกตั้งอย่างแท้จริง คำถามของผมคือว่า อะไรคือแท้จริงของกลุ่มนิติราษฎร์ ปัจจุบันมันไม่มีการเลือกตั้งแท้จริงเลยในความเป็นจริง ในสภาพทางวิชาการเราก็รู้ว่ามีใครบอกได้ไหมว่ามันไม่มีการทุจริตการเลือกตั้ง กกต.อาจบอกว่าไม่มีนะฮะ เพราะกกต.ไม่ค่อยมองเห็นอะไรทั้งนั้นในเรื่องของการทุจริตการเลือกตั้ง แต่ชาวบ้านเขารับรู้กันโดยทั่วไปว่ามันมีการทุจริตการเลือกตั้งเกิดขึ้น

การเลือกตั้งอย่างแท้จริงตรงนี้คืออะไร เขาไม่ยอมใส่ ภายใต้หลักการนี้เห็นไหมฮะการเลือกตั้งอย่างแท้จริงที่กำหนดให้มีขึ้นตามระยะเวลาที่แน่นอน โดยทั่วไป โดยเสมอภาค โดยเสรี และโดยลับ ซึ่งในหลักการเลือกตั้งสากลมันจะเพิ่มอีกข้อนึง คือ โดยแท้จริง แต่เขายกคำว่าอย่างแท้จริงไปไว้ข้างบนมันจึงไม่ใช่หลักการในเรื่องของการกำหนดหลักการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นเรื่องเหล่านี้ที่เขาเขียนเนี่ย เก่าเสียส่วนใหญ่ ยกเว้นเรื่องของสถาบันประมุขและยุติธรรมให้เป็นสัญลักษณ์ สถาบันประมุขของรัฐ แต่ไม่ใช่ประมุขของรัฐอย่างแท้จริงในแง่ของหลักการที่เขาพยายามดำเนินการ

เรื่องหลักการความเป็นรัฐเดี่ยวแบบกระจายอำนาจเป็นของเก่าฮะ ไม่มีของใหม่เลย หลักประกันสิทธิและเสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ก็ของเก่าครับ ไม่ใช่นวัตกรรมใหม่ ไม่ใช่ใหม่อย่างที่อ้าง เรื่องโครงสร้างของสถาบันทางการเมืองและองค์กรตามรัฐธรรมนูญผมอาจจะเห็นด้วยเพียงเรื่องเดียว คือเรื่องกำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาจากการเลือกตั้งโดยตรง โดยใช้ระบบเลือกตั้งที่มีความยุติธรรมและเสมอภาค ในแง่จำนวนคะแนนเสียงและค่าของคะแนนเสียง อันนี้ถูกใจผมเพียงข้อเดียว และข้อนี้จะเป็นตัวสำคัญที่จะไปทำลายในเรื่องของระบบของคะแนนเสียงที่ทำให้ระบบของฝ่ายบริหารมีความเข้มแข็งจนเป็นเผด็จการ เพราะฉะนั้นไอ้ตรงนี้เป็นข้อเสนอเดียวที่ผมเห็นว่ามันใหม่ นอกนั้นเก่าหมดเลยครับ

เติมศักดิ์ : ที่อาจารย์เห็นด้วยก็เพราะว่ามันมีคำว่า “ในแง่จำนวนคะแนนและค่าของคะแนนเสียง”

อ.คมสัน : ถูกต้องฮะ ระบบการเลือกตั้งตามปี 2540 ที่เขาจะมาเป็นรูปแบบ เป็นระบบที่ก่อให้เกิดโบนัสของ ส.ส.มากกว่าฐานของคะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่แท้จริง ในระบบนี้เขาเรียกว่า ระบบการเลือกตั้งที่ผสมระหว่างเสียงข้างมาก กับสัดส่วนเข้าด้วยกัน โดยเอาระบบเสียงข้างมากเป็นหลัก แล้วเอาสัดส่วนเป็นโบนัสเพิ่ม เพราะฉะนั้นถ้าเราไปดูตัวเลขที่แท้จริงเราจะเห็นได้ชัดว่า ระบบปาร์ตี้ลิสต์เดิมที่เขาใช้คะแนนมันไม่ตรงกับฐานความเป็นจริง มันเป็นคะแนนโบนัสให้พรรคการเมืองใหญ่สูงสุดได้รับ และไปลดคะแนนเสียงของพรรคเล็ก เป็นระบบที่มีปัญหาความเป็นธรรมในเชิงของสัดส่วนของคะแนนเสียงและค่าของคะแนนเสียง

เติมศักดิ์ : เป็นระบบที่มีอคติหรือกีดกันพรรคเล็กใช่ไหมครับ

อ.คมสัน : กีดกันพรรคเล็ก ขณะเดียวกันข้อดีของระบบนี้คือ พยายามสร้างความเข้มแข็งให้กับฝ่ายบริหาร แต่สิ่งที่ตามมามันกลายเป็นเผด็จการเกิดขึ้นในทางบริหารและทางรัฐสภา เพราะเมื่อคะแนนมันมากจนเป็นโบนัส ทำให้คะแนนมันล้นพ้นจนคนตรวจสอบใดๆ ไม่ได้ นี่คือปัญหาของระบบการเลือกตั้งที่มีอยู่เดิม ถ้าจะเห็นด้วยผมก็เห็นด้วข้อนี้ แต่มันก็ไม่ใหม่ เพราะจริงๆ ตอนร่างรัฐธรรมนูญ 2550 เคยเสนอไปแล้ว แต่มันไม่สำเร็จ เพราะว่าเราไม่สามารถสู้คะแนนเสียงของคนที่ไม่เข้าใจเรื่องนี้ได้ มันมีการเสนอแล้ว

เติมศักดิ์ : เรื่องสภาเดี่ยวล่ะครับ

อ.คมสัน : ผมเห็นด้วยกับสภาเดี่ยว ผมเคยยืนยันเรื่องระบบสภาเดี่ยวมาตลอด เพราะผมเห็นว่าระบบสองสภา ในแง่ของรัฐเดี่ยว มันตอบความเห็นผู้แทนลำบาก คือ การบอกว่ามีสองสภา มันมีที่มาหลายแบบ อันที่หนึ่งเป็นตัวแทน เป็นตัวแทนของชนชั้น อย่างเช่นในอังกฤษ มันเป็นตัวแทนชนชั้นสามัญชนกับตัวแทนชนชั้นขุนนาง มันมีความชัดเจนในการเป็นตัวแทน เพราะมันมีการต่อสู้ในเชิงประวัติศาสตร์ร่วมกันมา ปัจจุบันในเรื่องของกฎหมายอังกฤษเองในการเลือกตั้งวุฒิสภา หรือ ที่เรียกว่าสภาขุนนาง เขาให้เลือกตั้งนะฮะ แต่ท่าทางก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จในเชิงความเป็นจริงเท่าไหร่ในสภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่ แต่ว่าตัวที่เขาเสนอมันมีตัวแทนอีกแบบหนึ่ง คือ ตัวแทนในรูปแบบของสหพันธรัฐ ตัวแทนของมลรัฐ และเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งสหพันธรัฐ ก็มีทั้งเยอรมัน ประเทศที่ใช้สหพันธรัฐทั้งหลายก็มีระบบสองสภารูปแบบนี้ สภาที่หนึ่งเป็นตัวแทนประชาชน สภาที่สองเป็นตัวแทนรัฐ ซึ่งประกอบเข้าเป็นสหพันธ์ เพราะฉะนั้นการตอบเรื่องสองสภาจึงมีความชัดเจน

แต่ของไทยในอดีต จนถึงปัจจุบัน ระบบสองสภาของเราเป็นสภาค้ำจุนอำนาจฝ่ายบริหาร ในอดีตนะฮะ แล้วก็ใช้เป็นสภาพี่เลี้ยงนั่นคำเพราะหน่อย แต่จริงๆ เป็นสภาค้ำจุนอำนาจ หลังรัฐธรรมนูญ 2534 เป็นต้นมา ก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2540 วุฒิสภาอยู่ในรูปแบบของสภาคำจุนอำนาจ 2540 แล้วจึงจะมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งตอบความเป็นตัวแทนใดๆ ไม่ได้เลย อย่างที่อาจารย์บอกว่า หนึ่งมันเป็นนักการเมืองเกรดสองมาลง สองโดยระบบของมันวิปริตจากระบบฐานเสียงที่แท้จริง เป็นสภาสูงที่เขตเลือกตั้งใหญ่ แต่มีคะแนนน้อยกว่าสภาล่าง ซึ่งมีเขตเลือกตั้งเล็กกว่า ยกตัวอย่างเขตพระนครนี้ ผมเคยดูคะแนนของ ส.ส.ที่ได้ในเขตนี้ตอนรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้ประมาณ 8 หมื่นกว่าถึง 9 หมื่น แต่ ส.ว.คนสุดท้ายของกรุงเทพมหานคร คะแนน 2.3 หมื่นน้อยกว่าที่นี่ ทั้งที่เป็นเขตจังหวัด เพราะฉะนั้นจึงตอบความเป็นตัวแทนยาก และข้อสำคัญโดยระบบเขาต้องการให้ไปตรวจสอบ ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้กับระบบการเลือกตั้ง เพราะว่าถ้าเมื่อใดใช้ระบบการตรวจสอบในระบบสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ฝ่ายการเมืองที่จะต้องถูกตรวจสอบก็ต้องส่งคนของตัวเข้าไปในสภาและแทรกแซงระบบนั้นทันที

เพราะฉะนั้นระบบที่เขาเสนอ ถ้าผมจะเห็นด้วยก็คือเห็นด้วยว่าใช้สภาเดี่ยว ส่วนถ้าใช้สองสภาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ผมไม่เห็นด้วย ผมคิดว่าจะต้องคุยกับใหม่ในเชิงของสภาที่สองว่าจะทำอย่างไรจึงจะได้ตัวแทนของสภาที่สะท้อนวุฒิภาวะความเป็นผู้อาวุโสและทรงความรู้จริงๆ เข้ามา แต่ไม่ใช่วิธีเลือกตั้ง วิธีเลือกตั้งวัดความนิยม แต่ไม่ได้บอกว่าคนนั้นพอเลือกตั้งเสร็จแล้วจะบรรลุโสดาบันขึ้นมาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ คำตอบมันไม่ใช่ ระบบจะใช้มันต้องเลือกให้ถูก

ส่วนเรื่องอื่นในเรื่องของศาล ก็อย่างที่อาจารย์ว่าล่ะครับ สุดท้ายศาลจะถูกแทรกแซงโดยฝ่ายการเมือง โดยการแต่งตั้ง ไอ้ที่เสนอมาเนี่ยมันใช้กันมาแล้วในเรื่ององค์กรอิสระ แล้วก็แทรกแซงด้วยวิธีนี้แหละ ก็คือเสนอแล้วให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ แล้วก็แทรกแซงโดยนักการเมืองก็เข้าไปต่อรองว่าคุณอยากได้ไหม อยากเป็นไหม ผมมีปัญหาอย่างนี้ คุณจะตอบแทนผมอย่างไร ถ้าคุณตอบแทนผมอย่างนี้ ผมก็จะหาเสียงมาสนับสนุนคุณได้ สุดท้ายการเมืองก็แทรกแซงฮะ แล้วข้อสำคัญการเมืองก็เป็นไปโดยระบบเผด็จการพรรคการเมือง ทุนนิยมผูกขาด มันก็เบ็ดเสร็จล่ะครับ ศาลก็ชี้อะไรไม่ได้ สุดท้ายก็ตกอยู่กับผลประโยชน์ของฝ่ายการเมืองเป็นหลัก จะเห็นด้วยก็คือการแจ้งบัญชีทรัพย์สินนั่นแหละ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นข้อดี ในแง่ของการตรวจสอบฝ่ายตุลาการ

ส่วนเรื่องของอื่นๆ เช่น คณะกรรมการที่ทำหน้าที่บริหารงานบุคคลของผู้พิพากษาและตุลาการต้องมีความเชื่อมโยงกับประชาชน มันเป็นเรื่องที่มีการพูดกันมาเยอะแล้ว แล้วปัจจุบันกฎหมายก็พยายามเชื่อมโยงด้วยการให้มีตัวแทนจากภายนอกเข้ามาได้ เรื่องปฏิรูปกฎหมายว่าด้วยกระบวนการได้มาซึ่งผู้พิพากษาตุลาการและว่าด้วยหน่วยธุรการของศาล ผมก็ต้องถามว่าปัญหาคืออะไร คำว่าปฏิรูปในที่นี้ถูกจุดหรือเปล่าว่า ระบบของศาลเรามันเป็นระบบวิชาชีพ มันไม่ใช่ระบบของการได้มาของผู้แทนซึ่งไปใช้อำนาจ เพราะฉะนั้นการจะได้ระบบวิชาชีพคู่กับการเป็นผู้แทนไปใช้อำนาจ ในการดีไซน์แบบนี้มันจะไม่ได้ระบบวิชาชีพเข้าไปในองค์กรตุลาการ มันจะได้ของตัวผู้ที่มีอำนาจทางการเมือง

เติมศักดิ์ : ประเด็นเรื่องกำหนดให้มีการกำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบที่ได้รับการเลือกจากประชาชนหรือองค์กรที่มีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยในศาลระดับล่าง

อ.คมสัน : ก็คงจะหมายถึงให้ฝ่ายสภานี่เป็นคนเลือก แต่ไม่ยอมเขียนตรงๆ ว่ารัฐสภา คือสุดท้ายก็คือการให้การเมืองเข้าไปแทรกแซงในกระบวนการยุติธรรมจนถึงระดับล่างเลยนะฮะ คือ ศาลชั้นต้นเลย อย่างนี้ผมคิดว่าปัญหาก็คือ ไม่พ้นการครอบงำในคดีทุกระดับ เพราะฉะนั้นคดีสองมาตรฐานก็จะไม่มี มีคดีมาตรฐานเดียวสำหรับคนที่เข้าหาผู้ที่มีอำนาจทางการเมือง

เรื่องความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ผมเห็นด้วยว่า มันคงเป็นสิ่งที่ต้องคุยกันค่อนข้างเยอะ ส่วนเรื่องอื่น ล้าหลังทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ เคารพหลักเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมโดยกลไกตลาดแต่สิ่งที่ไม่พูดก็คือ การเคารพที่ว่าจะป้องกันการผูกขาดตัดตอนอย่างไร แล้วเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องเดิมที่มันมีอยู่แล้วด้วย เรื่องหลักความสูงสุดของรัฐบาลเหนือทหาร ก็อันนี้ล่ะครับที่สุดท้ายรัฐธรรมนูญฉบับที่นิติราษฎร์เสนอ มันจะไปเร็วกว่ารัฐธรรมนูญฉบับอื่น เพราะสุดท้ายก็เข้าไปแตะต้องว่าทหารจะอยู่ที่ฝ่ายการเมืองกำหนด และแทรกแซงไปในองค์กรทหาร อย่าลืมนะฮะว่า พรรคการเมืองไทยในปัจจุบันเป็นพรรคที่มีกลุ่มทุนนิยมผูกขาดอยู่ค่อนข้างเยอะ การมีทุนนิยมผูกขาดในปัจจุบันมันไม่ใช่แค่ระดับประเทศ แต่เป็นระดับนานาชาติ ระดับโลก ผลประโยชน์ในทางทะเล ผลประโยชน์ในเรื่องของพลังงาน ผลประโยชน์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งกลุ่มทุนผูกขาดเข้าไปเกี่ยวข้องหาประโยชน์ในประเทศต่างๆ แล้วกระทบต่ออธิปไตยความมั่นคง สุดท้ายมันจะวัดที่ผลประโยชน์ของกลุ่มทุน ไม่ได้วัดกันที่ผลประโยชน์ของชาติและประชาชน องค์กรที่ทำหน้าที่พิทักษ์อธิปไตยของชาติก็จะถูกการเมืองกำหนดให้ไปเอื้อผลประโยชน์ของกลุ่มทุน ซึ่งเป็นผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม มากกว่าผลประโยชน์ของชาติโดยรวม

เพราะฉะนั้นเรื่องนี้มันก็เป็นเรื่องที่ผมคิดว่าจะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับของนิติราษฎร์นั้นไปได้เร็วขึ้น โดยธรรมชาติเอง โดยผมไม่ได้ไปแช่งนะครับ ส่วนเรื่องความชอบธรรมทางประชาธิปไตยในกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่าย อันนี้โบราณและล้าหลัง เพราะว่าเราทราบอยู่แล้ว การเสนองบประมาณเป็นอำนาจฝ่ายบริหาร อันนี้ทุกคนรู้ การพิจารณาและให้ความเห็นชอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ทุกคนก็ทราบว่ามันเป็นภารกิจดั้งเดิมของรัฐสภาก่อนการร่างกฎหมายเสียอีก สิ่งที่เขาจะตัดก็คือ ไม่มีองค์กรอื่นใดเสนอหรือแปรญัตติงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ ก็หมายความว่า ฝ่ายการเมืองก็คือฝ่ายสภาจะชี้ซ้าย ชี้ขวา จากองค์กรทั้งหลาย โดยอาศัยกระบวนการงบประมาณได้ ซึ่งในตอนรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ใช้วิธีการอย่างนี้ ปี 2550 จึงต้องเสนอให้องค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบสามารถเสนอหรือแปรญัตติได้ เพื่อให้กระบวนการตรวจสอบมันมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของฝ่ายบริหารและการครอบงำของฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งจะต้องถูกตรวจสอบเอง เพราะฉะนั้นข้อเสนอนี้เป็นข้อเสนอล้าหลัง กลับไปสู่ปี 2540 และก่อนปี 2540 เสียอีก

เติมศักดิ์ : ทีนี้โดยนัยยะหมายความว่า องค์กรอิสระ องค์กรอื่นใด

อ.คมสัน : จะหมายความถึงสถาบันประมุขก็ได้นะ ในความหมายของเขา แปลอย่างนั้นก็ได้นะฮะ

เติมศักดิ์ : อย่างนี้ก็หมายความว่าทำให้องค์กรอิสระตกอยู่ภายใต้การครอบงำผ่านวิธีการทางงบประมาณ

อ.คมสัน : ถูกต้องครับ เพราะทุกวันนี้ถามว่ากระบวนการทางงบประมาณเข้าไปแทรกแซงองค์กรอิสระไหม มีตลอดเวลา เช่น องค์กรอิสระมีความประสงค์จะต้องดำเนินกิจกรรมบางเรื่อง ก็ตัดงบประมาณเสีย ก็เป็นการเห็นกันระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากพรรคการเมืองทั้งนั้น ถึงแม้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 จะเขียนให้แปรญัตติได้ก็ตาม แต่ในความเป็นจริงแล้ว การได้ผลไม่เยอะ นอกจากจะอาศัยความร่วมมือจากพรรคฝ่ายค้านในการช่วยสนับสนุนเรื่องเหล่านี้ขึ้นมา ตรงนี้ก็คือการบอนไซองค์กรตรวจสอบโดยกระบวนการทางงบประมาณ ตัดแขนขาหมด

จะเห็นได้ว่า ยิ่งข้อสุดท้าย อันนี้ผมไม่ค่อยกังวลอยากเขียนอะไรก็เขียนไป เพราะถ้าเขาเกิดรัฐประหารจริง ไอ้ข้อนี้มันก็หายไปด้วย อยากจะเขียนก็มีความพยายามจะเขียนอย่างนี้มาตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 แล้ว มีหลายคนพยายามเสนอไม่ให้มีการรัฐประหาร เขียนแล้วสุดท้าย 2540 ก็โดนรัฐประหาร แล้วในความเป็นจริงก็คือ เขียนแล้วมันทำไม่ได้ ถ้ามันไม่มีเงื่อนไข ปัจจัยมาจากเหตุต่างๆ

ทีนี้ถ้าวิเคราะห์ย้อนกลับทั้งหมด ทั้งข้อเสนอที่ล้าหลังและข้อเสนอเก่าๆ ที่มันมีอยู่แล้ว เพียงปัดฝุ่นและทำให้มันดูเหมือนใหม่ขึ้นโดยการเติมวาทกรรมบางอย่างเข้าไป เราจะเห็นได้ว่าโดยรวมๆ แล้วองค์กรตรวจสอบ สถาบันประมุขของรัฐ สถาบันตุลาการ ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรแบ่งแยกอำนาจ ถูกครอบงำโดยองค์กรที่มาจากพรรคการเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นพรรคทุนนิยมผูกขาดในทางเศรษฐกิจ แสวงหาประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ แล้วก็เข้ามาบริหารประเทศโดยอาศัยรัฐสภา และคณะรัฐมนตรีเพื่อใช้อำนาจนิติบัญญัติและบริหารในการดำเนินการ ข้อเสนอของนิติราษฎร์สร้างเผด็จการรัฐสภาและเผด็จการบริหารครอบงำองค์กรใช้อำนาจอธิปไตยอื่นทั้งหมดให้อยู่ภายใต้การบัญชาของพรรคการเมืองที่มีที่มาของกลุ่มทุนผูกขาดแต่เพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นอันนี้คือเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จสมบูรณ์แบบ เหมือนกับสมัยที่ฮิตเลอร์ทำทุกประการ โดยการใช้เสียงข้างมากในการจัดการต่างๆ ไม่ใช่ของใหม่หรอกครับ อันนี้เป็นข้อเสนอเก่า โบราณ แล้วก็มันใช้ไม่ได้แล้วในสังคมไทยในสภาพปัจจุบัน แล้วไม่วิเคราะห์สังคมไทยในบริบทปัจจุบันเลยครับ ไม่มีตรงไหนที่แตะสังคมไทยในบริบทปัจจุบันที่มา รากเหง้าของปัญหา มันมาจากการผูกขาดทางเศรษฐกิจ การผูกขาดทางการเมือง ระบบอุปถัมภ์นิยม อย่างสามานย์ ระบบเผด็จการรัฐสภาภายใต้เผด็จการพรรคการเมือง ทุนนิยมผูกขาด และในเรื่องพฤติกรรมของพรรคการเมือง ไม่แตะแม้แต่กรณีใดๆ เลย เพราะฉะนั้นผมคิดว่าข้อเสนอแบบนี้มันก็คือข้อเสนอของ ... ไม่รู้สิ ผมว่าถ้าเป็นอาจารย์ที่สอนกฎหมายจนระดับปริญญาเอก น่าจะคิดได้ดีกว่านี้

เติมศักดิ์ : พักกันสักครู่นะครับ แล้วช่วงหน้าเรากลับมาสู่บทสรุปของการชำแหละข้อเสนอนิติราษฎร์กันครับ

ช่วงที่ 3

เติมศักดิ์ : ช่วงสุดท้ายแล้วนะครับ เราชำแหละเนื้อหากันเป็นข้อๆ แล้วนะครับ ช่วงนี้มาที่บทสรุปแล้วครับว่าในเชิงสัญลักษณ์และเป้าหมาย ข้อเสนอของนิติราษฎร์ อาจารย์ทั้งสองท่านคิดว่าเขามุ่งไปสู่อะไรครับ

รศ.ดร.พิชาย : ผมขอสรุปอย่างนี้นะครับ โดยเร็วๆ ว่า ข้อเสนอของนิติราษฎร์นี่ เป็นข้อเสนอที่เรียกว่า “3 สร้าง 2 ทำลาย” อันแรกก็คือ การสร้างระบบทุนนิยมผูกขาดให้ควบคุมอำนาจในสังคมไทยได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ซึ่งการสร้างเส้นทางให้ทุนนิยมผูกขาด ควบคุมสังคมไทยได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดนั้นมันก็เป็นการตอบสนองเจตจำนงของพรรคการเมืองบางพรรคที่มีนายทุนเป็นเจ้าของอยู่แล้ว

สร้างอันที่สองก็คือ สร้างความแตกแยกในสังคมไทยขึ้นมา เพราะข้อเสนอแบบนี้เป็นข้อเสนอที่ทำให้คนไทยจำนวนมากคงจะมีความไม่พอใจกลุ่มนิติราษฎร์ ทั้งคนไทยในกลุ่มที่จงรักภักดีต่อสถาบัน และคนไทยที่อาจจะเกี่ยวข้องกับสถาบันทหาร หรือสถาบันอื่นๆ ก็อาจจะไม่พอใจกับข้อเสนอนี้ ซึ่งอันนั้นก็จะนำไปสู่ความรุนแรงต่างๆ ที่เกิดขึ้น จริงๆ ผมพูดด้วยใจจริงว่า ผมเองก็กังวลและเป็นห่วงสวัสดิภาพของกลุ่มนิติราษฎร์พอสมควร จากที่เกิดกระแสขึ้นมาแล้วว่า ประชาชนบางกลุ่มที่ไม่พอใจก็เริ่มที่จะมีการเผาหุ่นอะไรต่างๆ เพราะฉะนั้นการกระทำในลักษณะของการยั่วยุแบบนี้มันก็จะยิ่งไปตอกย้ำความไม่พึงพอใจ โดยเฉพาะ ถ้าใครไปดู หรือถ้าใครบังเอิญ หรือว่าฟรีทีวีช่องไหนไปถ่ายตอนที่เขาอภิปรายและมีการพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ต้องสาบานตนก่อน แล้วมีคนตบมือจำนวนมาก มันก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นว่าจะไปสร้างความอึดอัดคับข้องใจให้กับประชาชนอีกจำนวนมาก และอันนั้นก็จะนำไปสู่ความแตกแยกทางสังคมได้ง่ายขึ้น

ส่วนสร้างอันที่สามก็เป็นการสร้างให้บรรดานักการเมืองในระดับท้องถิ่น เครือญาติของนักการเมืองได้ครองอำนาจโดยไม่มีวงจรอุบาทว์ แต่มีความอุบาทว์ถาวร ก็คือพวกนายทุนสามานย์ท้องถิ่นจะสร้างความอุบาทว์ถาวรให้กับการเมืองไทย โดยที่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย อันนั้นก็คือ 3 สร้าง

ส่วน 2 บ่อนทำลาย นั้นอันแรกข้อเสนอของนิติราษฎร์เป็นการบ่อนทำลายองค์การที่ยังมีระบบคุณธรรมหลงเหลืออยู่บ้าง อย่างเช่น ศาล ทหาร หรือว่าองค์กรอื่นๆ รวมถึงสถาบันฯ ให้แปรสภาพ ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของนักการเมือง และจะทำให้องค์กรอย่างศาลหรือทหาร อาจจะมีคุณธรรมลดลงไปเมื่อถูกนักการเมืองเข้าไปครอบงำ อย่างเช่น ศาลจะต้องผ่านการเสนอจาอคณะรัฐมนตรี การรับรองจากรัฐสภา ซึ่งทำให้คนที่อยากจะเป็นตุลาการต้องไปสยบยอมกับอำนาจทางการเมืองมากขึ้น คุณธรรมที่จะรักษาหลักความยุติธรรม หรือ สัตธรรม ทั้งหลายก็จะแปลสภาพไป คุณธรรมของทหารในการปกป้องประเทศชาติ ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะหายไป กลายมาเป็นตอบสนองต่อผลประโยชน์ของกลุ่มนักการเมืองและกลุ่มทุนเป็นหลัก

บ่อนทำลายที่สอง อันนี้ก็ชัดเจนนะครับว่าเป็นการบ่อนทำลายเกียรติยศและศักดิ์ศรีของประมุขของประเทศที่ให้ต้องมาสาบานต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่สถาบันนั้นเป็นสถาบันที่อยู่เหนือการเมืองและมีความเป็นกลางทางการเมือง และเป็นที่เคารพของคนทั้งประเทศ เพราะฉะนั้นก็เป็นการทำลายที่สำคัญ ข้อเสนอทั้งหมดโดยข้อสรุปก็คือ เป็นข้อเสนอที่ทำให้สังคมไทยแตกเป็นเสี่ยง และเร่งเร้าให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงมากขึ้นครับ

อ.คมสัน : ถ้าดูข้อเสนอของนิติราษฎร์ เราจะพบความจริงสองประการ คือ เราพบถึงความไม่แนบเนียนในการใช้หลักวิชา เพราะว่าข้อเสนอจำนวนมากถ้าเราวิเคราะห์กันไปแล้วจะพบว่า ข้อเสนอเหล่านั้นสวนทางโดยสิ้นเชิงกับการที่จะบอกว่าเป็นข้อเสนอใหม่ในสังคมไทย ข้อเสนอทุกอย่างส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอเก่า เป็นข้อเสนอเก่าโบราณที่มีปัญหามาแล้วทั้งสิ้น และมีความพยายามแก้ปัญหาโดยในรัฐธรรมนูญในฉบับต่างๆ หรือมีกลไกในการแก้ไขต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ยกตัวอย่างเช่นระบบสภาก็ดี ระบบเรื่องสิทธิเสรีภาพ ก็เป็นเรื่องเดิม หรือแม้แต่ในเรื่องข้อเสนอหลายๆ เรื่อง เช่น งบประมาณรายจ่ายที่เขาแก้ไปแล้ว แต่กลับไปสู่หลักการที่มันล้าหลังกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบัน มันไม่ใช่ของใหม่ฮะ มันใหม่ในเชิงคนที่ไม่รู้ว่ามันมี แต่ในเชิงวิชาการต้องบอกว่าเป็นข้อเสนอเก่าที่เอามาปัดฝุ่น แล้วก็นำเสนอใหม่ภายใต้บริบทของการทำให้ทุนนิยมเผด็จการสามารถมีอำนาจสูงสุดในกระบวนการ

ต่อมาปรากฎการณ์ข้อที่สองจากข้อเสนอของเขา มันไม่แนบเนียนในการแสดงออกของตัวตนของเขาว่า โดยเจตนาของเขาที่แท้จริงในการนำเสนอ เขาต้องการเปลี่ยนระบอบมากกว่าที่จะเป็นระบอบประชาธิปไตย คือ สร้างระบอบการเมืองอันใหม่ที่เรียกว่า “เผด็จการโดยพรรคการเมืองทุนนิยมผูกขาดโดยถาวร” เกิดขึ้น แล้วจะทำลายระบบสถาบันทั้งหลายให้อยู่ภายใต้ทุนนิยมผูกขาด อันนี้เนื่องมาจากการไม่วิเคราะห์บริบทสังคมไทยและสภาพการเมืองไทยที่มีอยู่ในอดีตและปัจจุบัน

ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นปรากฎการณ์สองประการที่ผมคิดว่าต้องคุยกับเยอะในทางวิชาการเลยว่า ข้อเสนอแบบนี้ แบบสุกเอาเผากินหรือเปล่า หรือ จงใจให้เกิดขึ้น แต่ที่แน่ๆ คือ มันสะท้อนให้เห็นตัวตนของกลุ่มว่ามีอุดมการณ์ทางการเมืองแบบไหน ใช่กลุ่มวิชาการหรือกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ซึ่งผมได้ข้อสรุปว่าเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างแท้จริง

เติมศักดิ์ : กลุ่มสยามประชาวิวัฒน์ก็คงจะมีการพูดคุยกันและออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการอีกครั้งหรือเปล่าครับ?

อ.คมสัน : จะมีการพูดคุยกัน แต่อาจไม่ออกแถลงการณ์ก็ได้ครับ เราเตรียมจะมีเสวนาใหญ่ ซึ่งพอดีก็มีเรื่องที่เกี่ยวกับเผด็จการพรรคการเมืองทุนนิยมผูกขาดอยู่แล้ว ซึ่งสิ่งที่เสนอก็เป็นเนื้อเรื่องที่อยู่ในอุดมการณ์ของเราอยู่พอดี

เติมศักดิ์ : วันนี้ขอบคุณ อ.คมสัน และ อ.พิชายครับ
นายคมสัน โพธิ์คง
กำลังโหลดความคิดเห็น