xs
xsm
sm
md
lg

ยุทธการ "ล้อมเจ้า"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
วันที่ 20 เมษายน ปีที่แล้ว หลังเหตุการณ์ชายชุดดำติดอาวุธที่แฝงตัวอยู่ในกลุ่มคนเสื้อแดงที่ชุมนุมกันอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ยิงถล่มทหารที่เคลื่อนกำลังเข้ามาขอคืนพื้นที่ และคนเสื้อแดงด้วยกันเอง จนมีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก เมื่อคืนวันที่10 เมษายน พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ขณะนั้น ยังเป็นประธานพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวร่วมกับ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี น้องเขย นช.ทักษิณ ชินวัตร ว่ากำลังประสานกับสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง เพื่อขอเข้าเฝ้าฯ ในการขอรับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณที่จะมาหยุดความสูญเสียของบ้านเมือง

“ถ้าไม่มีพระมหากรุณาธิคุณ ไม่แน่ใจถึงความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นในอีก 1-2 วันข้างหน้า และจะเป็นตราบาปเป็นสิ่งที่พวกเราพี่น้องคนไทยไม่ต้องการที่จะเห็น หากมีสิ่งใดที่ผิดพลาดข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว” พล.อ.ชวลิตกล่าวในการแถลงข่าวครั้งนั้น

นั่นคือครั้งแรกที่กลุ่มคนเสื้อแดงและพรรคเพื่อไทยกดดันสถาบันพระมหากษตริย์อย่างเปิดเผย พยายามดึงเอาสถาบันสูงสุดของชาติลงมาอยู่หว่างเขาควายของการเผชิญหน้าระหว่างคนเสื้อแดงกับรัฐบาล เลียนแบบ “พฤษภาโมเดล” โดยยกเรื่อง “ตราบาป”เป็นคำขู่กลายๆ ซึ่งสุดท้ายแล้วล้มเหลว เพราะพลเอกชวลิตไม่ได้เข้าเฝ้าฯ กลุ่มคนเสื้อแดงจึงต้องเดินหน้าใช้วิธีเผาบ้านเผาเมืองเพื่อล้มรัฐบาลให้ได้ แต่ก็ไม่เป็นผล

ปีนี้ นช.ทักษิณได้ม้าใช้ตัวใหม่ คือ พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่หันมาสวามิภักดิ์ตอบแทนพระคุณที่ได้รับจากตัวเอง ดำเนินภารกิจที่บิ๊กจิ๋วทำไม่สำเร็จคือ กดดัน และดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ลงมาเป็นคู่ความขัดแย้งทางการเมืองโดยตรง ผ่านเกมขอพระราชทานอภัยโทษ ให้ นช.ทักษิณที่หลบหนีไม่ยอมรับโทษจำคุก 2 ปี ในคดีที่ดินรัชดาฯ

ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พลตำรวจเอกประชามีหน้าที่ถวายเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษต่อพระมหากษัตริย์พร้อมทั้งถวายความเห็นว่าควรพระราชทานอภัยโทษหรือไม่

ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดถวายเรื่องราว ถ้ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเห็นเป็นการสมควร จะถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ขอให้พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องคำพิพากษานั้นก็ได้

พลตำรวจเอกประชาจึงมีบทบาทที่สำคัญมาก ในเกมของ นช.ทักษิณ เป็นบทบาทที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มคนเสื้อแดงหรือไม่ก็ได้ ถ้าพลตำรวจเอกประชาเป็นอย่างที่เจ้าตัวพูดเอาไว้ว่า “ไม่ต้องมากังวลเรื่องความจงรักภักดีของผม ซึ่งผมได้ถวายความจงรักภักดีตลอดชีวิตรับราชการร่วม 40ปีมาแล้ว และผมมีจุดยืนของผม ซึ่งจะยึดหลักกฎหมายเป็นสำคัญ” เรื่องก็จะจบลงที่รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม ยกฎีกาของคนเสื้อแดงขอพระราชทานอภัยโทษให้นช.ทักษิณ ไม่นำขึ้นทูลเกล้าฯ

เหมือนครั้งที่กรมราชทัณฑ์ ยังสังกัดกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ถวายคำแนะนำต่อพระมหากษัตริย์ เมื่อมีผู้ขอพระราชทานอภัยโทษเฉพาะราย ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อปี 2544-2545 ทำหนังสือถึง นช.ทักษิณ ในฐานะนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2545 ว่า ไม่สมควรกราบบังคมทูล ถวายฎีกาพระราชทานอภัยโทษให้ นายสุรินทร์ แสงขำ ซึ่งศาลฎีกามีคำพิพากษายืน ให้จำคุก 2 เดือน ข้อหาฟ้องเท็จ และเบิกความเท็จ เพราะนายสุรินทร์ซึ่งเป็นนายทุนเงินกู้ เอารัดเอาเปรียบ และฉ้อฉลผู้กู้อย่างร้ายแรง สมควรได้รับโทษตามคำพิพากษา และนายสุรินทร์ได้หลบหนีคดีแสดงให้เห็นว่านายสุรินทร์ไม่มีความสำนึกผิด ข้ออ้างประการอื่นๆ จึงไม่อาจรับฟังและไม่มีเหตุพิเศษอื่นใดที่จะสนับสนุนขอพระราชทานอภัยโทษให้ได้ จึงเห็นควรยกฎีการายนี้เสีย

แต่ถ้า พลตำรวจเอกประชาอ้างตัวหนังสือในข้อกฎหมาย ไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของการเปิดโอกาสให้ผู้ต้องโทษ ยื่นฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ และทำเป็นหูหนวก ตาบอด ไม่รับรู้เจตนาที่แท้จริงของกลุ่มคนเสื้อแดง และพรรคเพื่อไทย ที่

การผลักดันให้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาถวายคำแนะนำให้พระราชทานอภัยโทษ นช.ทักษิณ การกระทำของ พลตำรวจเอกประชา ก็ไม่ต่างกับ พลเอกชวลิต คือ ดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ลงมาเผชิญหน้ากับกลุ่มคนเสื้อแดงโดยตรง
มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานอภัยโทษแก่ นช.ทักษิณ ก็จะทำให้ประชาชนส่วนใหญ่หวั่นไหว และอาจจะเป็นบรรทัดฐานว่า ต่อไปตระกูลอัศวเหมก็อาจจะขอพระราชทานอภัยโทษให้ นายวัฒนา อัศวเหม ตระกูล คุณปลื้ม ขอพระราชทานอภัยโทษให้ นายสมชาย คุณปลื้ม

มีพระราชวินิจฉัยว่า ไม่สมควรพระราชทานอภัยโทษก็จะเข้าทางขบวนการล้มเจ้าที่ใช้เป็นประเด็นบิดเบือน ปลุกระดมคนเสื้อแดงให้เกลียดชังสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างรุนแรงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

การที่ พล.ต.อ.ประชาแต่งตั้งคณะทำงานกลั่นกรองและตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีมีคณะบุคคลทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประกอบด้วยนักวิชาการสาขารัฐศาสตร์ นักกฎหมายและข้าราชการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 10 คน ประกอบ ถ้ามองพล.ต.อ.ประชาในแง่ดี เรื่องนี้คือการซื้อเวลาให้แก่ตัวเองในการคิดอ่านหาทางปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์

แต่ถ้ามองในแง่ร้าย พลตำรวจเอกประชาจะใช้คณะทำงานชุดนี้ฟอกฎีกาอภัยโทษ นช.ทักษิณให้ดูมีความถูกต้อง ชอบธรรม เพื่อจะได้เป็นข้ออ้างในการนำขึ้นทูลเกล้าฯ และเมื่อดูองค์ประกอบของคณะทำงาน ที่อย่างน้อยที่สุดมีข้ารับใช้ นช.ทักษิณอย่างน้อย 3 คน จาก 10 คนร่วมอยู่ด้วย และอีก 5 คน เป็นข้ราชการประจำ ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็แทบจะเดาผลการตรวจสอบได้เลยว่า จะออกมาในทิศทางไหน

สถาบันพระมหากษัตริย์ ขณะนี้ เหมือนตกอยู่ในวงล้อมของขบวนการล้มเจ้า ที่ใช้ฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ นช.ทักษิณเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน กระชับวงล้อม อย่างสอดประสานกันทั้งคนเสื้อแดงพรรค และรัฐบาล

จะเป็นเรื่องบังเอิญ หรือเป็นเจตนาของขบวนการล้มเจ้าก็ไม่รู้ ในการจัดงานเฉลิมฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาปีนี้ ผู้จัดงานอีเวนต์ยักษ์ใหญ่ 3 รายถูกเรียกตัวไปรับ “บรีฟ” ในทำเนียบฯ ให้เสนอรูบแบบของงาน ภายใต้คอนเซ็ปต์“ความรักของพ่อ……. รักคือการให้” มาเสนอ
กำลังโหลดความคิดเห็น