เลขาธิการ กสม.กระตุ้นรัฐบาลให้มีความชัดเจนในการดูแลเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ ตอกหน้ารัฐบาลไม่ได้ใช้สิทธิคุ้มครองผู้พลัดถิ่นตามหลักมนุษธรรมสากล ชี้บ้านเรือนราษฎรตกเป็นเป้าโจมตีทางทหาร
วันนี้ (26 เม.ย.) นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ว่า รู้สึกเป็นห่วงที่มีรายงานข่าวว่า มีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะหัวหน้าครอบครัวและผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นห่วงทรัพย์สินไม่ยอมอพยพหนีภัยออกจากพื้นที่ หรือบางครอบครัวอพยพออกไปแล้ว หัวหน้าครอบครัวก็กลับเข้าไปใหม่เพื่อไปเฝ้าทรัพย์สิน ซึ่งในเรื่องนี้ตนเห็นว่ารัฐบาลจะต้องประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และให้มีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะดูแลทรัพย์สินของชาวบ้านในระหว่างที่ต้องอพยพออกจากที่พักอาศัย หรือหากเกิดความสูญเสียเกิดขึ้น รัฐจะต้องชดใช้เยียวยาให้อย่างพอเพียงกับความเสียหายที่เกิดขึ้น และต้องรีบทำความเข้าใจและให้ความมั่นใจกับประชาชนในเรื่องนี้
นายแพทย์ชูชัยกล่าวว่า เมื่อเกิดการสู้รบ บุคคลที่เป็นพลเรือนย่อมได้รับการคุ้มครองตามหลักการสิทธิมนุษยชน และหลักการด้านมนุษยธรรมสากล ว่าจะต้องไม่เป็นเป้าโจมตีทางทหาร แต่ที่ผ่านมาที่พักอาศัยของชาวบ้านได้รับความเสียหายอย่างกว้างขวางจากการถูกโจมตี รัฐบาลจำเป็นต้องคุ้มครองพลเรือน คือ ชาวบ้าน โดยเฉพาะเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ โดยอพยพบุคคลเหล่านี้ไปสู่พื้นที่ปลอดภัย และบุคคลเหล่านี้ถือเป็น “ผู้พลัดถิ่นในประเทศ” ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่จะต้องคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ความปลอดภัย การจัดสถานที่พักพิงชั่วคราว และการช่วยเหลือด้านปัจจัยสี่ รวมถึงรัฐบาลต้องประกันการฟื้นฟูเยียวยาหลังเหตุการณ์
นายแพทย์ชูชัยย้ำว่า ในสถานการณ์เช่นนี้หากรัฐยังไม่ให้คำมั่นที่ชัดเจนในการฟื้นฟูเยียวยาที่ เหมาะสมพอเพียง ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีชีวิตหรือพึ่งพาพื้นที่อาศัยในการยังชีพ เช่น ชาวนา เกษตรกร จะเป็นห่วงทรัพย์สิน สัตว์เลี้ยง ผลผลิตการเกษตรที่ต้องทิ้งไว้เบื้องหลังและไม่ยอมอพยพ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องมีความชัดเจน โดยการให้คำมั่นแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบว่าจะได้รับการ ชดเชยเยียวยาที่เป็นธรรมหรืออย่างพอเพียง มิฉะนั้นจะทำให้ประชาชนเหล่านี้ได้รับอันตรายเพราะไม่ยอมละทิ้งบ้านเรือน
วันนี้ (26 เม.ย.) นายแพทย์ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ว่า รู้สึกเป็นห่วงที่มีรายงานข่าวว่า มีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะหัวหน้าครอบครัวและผู้เฒ่าผู้แก่ที่เป็นห่วงทรัพย์สินไม่ยอมอพยพหนีภัยออกจากพื้นที่ หรือบางครอบครัวอพยพออกไปแล้ว หัวหน้าครอบครัวก็กลับเข้าไปใหม่เพื่อไปเฝ้าทรัพย์สิน ซึ่งในเรื่องนี้ตนเห็นว่ารัฐบาลจะต้องประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และให้มีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะดูแลทรัพย์สินของชาวบ้านในระหว่างที่ต้องอพยพออกจากที่พักอาศัย หรือหากเกิดความสูญเสียเกิดขึ้น รัฐจะต้องชดใช้เยียวยาให้อย่างพอเพียงกับความเสียหายที่เกิดขึ้น และต้องรีบทำความเข้าใจและให้ความมั่นใจกับประชาชนในเรื่องนี้
นายแพทย์ชูชัยกล่าวว่า เมื่อเกิดการสู้รบ บุคคลที่เป็นพลเรือนย่อมได้รับการคุ้มครองตามหลักการสิทธิมนุษยชน และหลักการด้านมนุษยธรรมสากล ว่าจะต้องไม่เป็นเป้าโจมตีทางทหาร แต่ที่ผ่านมาที่พักอาศัยของชาวบ้านได้รับความเสียหายอย่างกว้างขวางจากการถูกโจมตี รัฐบาลจำเป็นต้องคุ้มครองพลเรือน คือ ชาวบ้าน โดยเฉพาะเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ โดยอพยพบุคคลเหล่านี้ไปสู่พื้นที่ปลอดภัย และบุคคลเหล่านี้ถือเป็น “ผู้พลัดถิ่นในประเทศ” ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่จะต้องคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ความปลอดภัย การจัดสถานที่พักพิงชั่วคราว และการช่วยเหลือด้านปัจจัยสี่ รวมถึงรัฐบาลต้องประกันการฟื้นฟูเยียวยาหลังเหตุการณ์
นายแพทย์ชูชัยย้ำว่า ในสถานการณ์เช่นนี้หากรัฐยังไม่ให้คำมั่นที่ชัดเจนในการฟื้นฟูเยียวยาที่ เหมาะสมพอเพียง ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีชีวิตหรือพึ่งพาพื้นที่อาศัยในการยังชีพ เช่น ชาวนา เกษตรกร จะเป็นห่วงทรัพย์สิน สัตว์เลี้ยง ผลผลิตการเกษตรที่ต้องทิ้งไว้เบื้องหลังและไม่ยอมอพยพ รัฐบาลจึงจำเป็นต้องมีความชัดเจน โดยการให้คำมั่นแก่ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบว่าจะได้รับการ ชดเชยเยียวยาที่เป็นธรรมหรืออย่างพอเพียง มิฉะนั้นจะทำให้ประชาชนเหล่านี้ได้รับอันตรายเพราะไม่ยอมละทิ้งบ้านเรือน