วานนี้ ( 21 มี.ค.) นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า จากการประชุมกรณี มติครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ. การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. …. ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของกรรมาธิการ กสม.เห็นว่า 1.รัฐธรรมนูญ มาตรา 4 ,28 ,29, 45, และ63 ได้บัญญัติรับรองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ซึ่งสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ (UDHR) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ดังนั้น กฎหมายที่อนุวัติการจึงต้องส่งเสริมและคุ้มครองเสรีภาพเพื่อเป็นหลักประกันแก่ในการแสดงเสรีภาพ และหลีกเลี่ยงการบัญญัติเงื่อนไข หรือข้อจำกัดที่เกินความจำเป็น อีกทั้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการเกี่ยวกับการชุมนุมตามกฎหมายว่าด้วย การชุมนุมสาธารณะก่อน จะใช้กฎหมายการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน กฎหมายว่าด้วยกฎอัยการศึก มาใช้บังคับแก่การชุมนุม ต้องเป็นกรณีที่จำเป็นแก่สถานการณ์
2. การตรากฎหมายนี้ ควรคำนึงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ที่มุ่งส่งเสริมคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของประชาชนด้านหลัก ส่วนการจำกัดเสรีภาพของประชาชนเป็นเพียงข้อยกเว้น
“กสม.เห็นว่า การชุมนุมสาธารณะ ควรหมายถึงการรวมกันเพื่อแสดงออกให้รัฐทราบถึงความประสงค์ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิก การกำหนดให้ศาลเข้ามามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการชุมนุมฯ ควรเป็นศาลปกครอง เพราะเป็นการพิพาทกันทางปกครองระหว่างประชาชนผู้ชุมนุมกับรัฐ ไม่ใช่ศาลแพ่ง หรือศาลจังหวัด ที่จะเป็นผู้ออกคำสั่งให้เลิกชุมนุม”
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ขณะที่โทษของการขัดคำสั่ง ควรเป็นโทษปรับทางปกครอง ไม่ใช่โทษอาญาจำคุก อย่างที่ระบุไว้ และการห้ามชุมนุมกีดขวางทางเข้าออกสถานที่สำคัญ ก็ควรครอบคลุมถึงองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ อีกทั้งที่กำหนดให้ผู้ประสงค์จัดการชุมนุมสาธารณะ ต้องแจ้งเป็นหนังสือล่วงหน้าและต้องได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจนครบาลหรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ควรกำหนดให้แจ้งโดยวิธีอื่นได้ เช่น โทรสาร หรือ E-mail รวมทั้งกำหนดให้ชุมนุมที่ไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ต้องขออนุญาต ถือว่าไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
ส่วนการกำหนดให้เจ้าพนักงาน อาจใช้เครื่องมือควบคุมฝูงชนได้ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ไม่เหมาะสม ไม่ควรให้อำนาจแก่ รมต.ในการกำหนดกรอบ เจ้าหน้าที่รัฐ ต้องได้รับการฝึกอบรมโดยเฉพาะ เพื่อให้เป็นตามหลักสากล และห้ามใช้อาวุธปืนกับกลุ่มผู้ชุมนุมโดยเด็ดขาด
ส่วนอำนาจค้น จับ ยึดหรืออายัดทรัพย์สินผู้ชุมนุมในพื้นที่ควบคุมได้ เห็นว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่มีความสำคัญ ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 32 และ ICCPR ข้อ 9 ได้บัญญัติรับรองไว้ หากจะมีการกระทำใดๆ ที่กระทบสิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าวเป็นเพียงข้อยกเว้น ซึ่งต้องผ่านการวินิจฉัยขององค์กรตุลาการ
ดังนั้น ควรมีการกำหนดกลไกรองรับการชุมนุมสาธารณะ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนกลาง ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่มอบหมาย เป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดการชุมนุมหรือผู้เข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะ โดยมีผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นเลขานุการ ส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่มอบหมาย หรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ หรือผู้เข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะ โดยมีผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเป็นเลขานุการ.
2. การตรากฎหมายนี้ ควรคำนึงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 ที่มุ่งส่งเสริมคุ้มครองเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธของประชาชนด้านหลัก ส่วนการจำกัดเสรีภาพของประชาชนเป็นเพียงข้อยกเว้น
“กสม.เห็นว่า การชุมนุมสาธารณะ ควรหมายถึงการรวมกันเพื่อแสดงออกให้รัฐทราบถึงความประสงค์ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิก การกำหนดให้ศาลเข้ามามีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการชุมนุมฯ ควรเป็นศาลปกครอง เพราะเป็นการพิพาทกันทางปกครองระหว่างประชาชนผู้ชุมนุมกับรัฐ ไม่ใช่ศาลแพ่ง หรือศาลจังหวัด ที่จะเป็นผู้ออกคำสั่งให้เลิกชุมนุม”
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ขณะที่โทษของการขัดคำสั่ง ควรเป็นโทษปรับทางปกครอง ไม่ใช่โทษอาญาจำคุก อย่างที่ระบุไว้ และการห้ามชุมนุมกีดขวางทางเข้าออกสถานที่สำคัญ ก็ควรครอบคลุมถึงองค์กรระหว่างประเทศ เช่น ที่ทำการขององค์การสหประชาชาติ อีกทั้งที่กำหนดให้ผู้ประสงค์จัดการชุมนุมสาธารณะ ต้องแจ้งเป็นหนังสือล่วงหน้าและต้องได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจนครบาลหรือ ผู้ว่าราชการจังหวัด ก็ควรกำหนดให้แจ้งโดยวิธีอื่นได้ เช่น โทรสาร หรือ E-mail รวมทั้งกำหนดให้ชุมนุมที่ไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ต้องขออนุญาต ถือว่าไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
ส่วนการกำหนดให้เจ้าพนักงาน อาจใช้เครื่องมือควบคุมฝูงชนได้ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ไม่เหมาะสม ไม่ควรให้อำนาจแก่ รมต.ในการกำหนดกรอบ เจ้าหน้าที่รัฐ ต้องได้รับการฝึกอบรมโดยเฉพาะ เพื่อให้เป็นตามหลักสากล และห้ามใช้อาวุธปืนกับกลุ่มผู้ชุมนุมโดยเด็ดขาด
ส่วนอำนาจค้น จับ ยึดหรืออายัดทรัพย์สินผู้ชุมนุมในพื้นที่ควบคุมได้ เห็นว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่มีความสำคัญ ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 32 และ ICCPR ข้อ 9 ได้บัญญัติรับรองไว้ หากจะมีการกระทำใดๆ ที่กระทบสิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าวเป็นเพียงข้อยกเว้น ซึ่งต้องผ่านการวินิจฉัยขององค์กรตุลาการ
ดังนั้น ควรมีการกำหนดกลไกรองรับการชุมนุมสาธารณะ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนกลาง ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี หรือผู้ที่มอบหมาย เป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้จัดการชุมนุมหรือผู้เข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะ โดยมีผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นเลขานุการ ส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่มอบหมาย หรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องผู้จัดการชุมนุมสาธารณะ หรือผู้เข้าร่วมการชุมนุมสาธารณะ โดยมีผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเป็นเลขานุการ.