แม้จะแค่ออกสตาร์ทแต่ก็เห็นเค้าลางความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันของพรรคร่วมรัฐบาลต่อทิศทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาไปเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมา
ฟัดกันในหมวดว่าด้วยที่มาของส.ส.
เหตุเพราะ ในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฝ่ายกรรมาธิการจากซีกประชาธิปัตย์ แสดงท่าทีชัดเจนว่าการแก้ไขที่มาของส.ส.ในมาตรา 93-98 ต้องการให้คงร่างเดิมที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งให้มีส.ส.ระบบเขตวันแมนวันโหวตหรือเขตเดียวเบอร์เดียว 375 คน และระบบบัญชีรายชื่อทั่วประเทศ 125 คน
ด้วยเหตุว่า เพื่อเป็นการเคารพต่อมติของที่ประชุมรัฐสภา แต่เหตุผลใหญ่ ที่ฝ่ายประชาธิปัตย์กังวลก็คือ เกรงว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในสาระสำคัญก็จะเป็นเหตุให้ ทั้งส.ส.ประชาธิปัตย์และฝ่ายสภาสูง-วุฒิสภา ไม่พอใจ เพราะไปเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญจากที่เห็นชอบไว้ในวาระแรก จนอาจทำให้การโหวตในวาระ 2 และ 3 มีปัญหาปั่นป่วนได้
แต่ฝ่ายกรรมาธิการจากซีกพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน อย่าง “ภูมิใจไทย”ที่จับมือกับ “ชาติไทยพัฒนา”ก็ส่งสัญญาณมาแล้วว่าต้องการแปรญัตติร่างดังกล่าว ด้วยการแก้ไขให้ที่มาของส.ส.กลับไปเหมือนกับรัฐธรรมนูญปี 2540 คือ ให้มีส.ส.ระบบเขต 400 คนและระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน หรือสูตร 400+100
จากคำแปรญัตติในชั้นกรรมาธิการฯ พบว่ากรรมาธิการได้เสนอขอแก้ไขรายละเอียดที่มาของส.ส.มากถึง 11 รูปแบบ แต่พบว่าส่วนใหญ่คือ 26 คนเสนอแนวคิดให้ที่มาของส.ส.กลับไปใช้ระบบเดิมเหมือนเมื่อปี 2540 คือ 400+100
ซึ่งท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาลอย่างภูมิใจไทย เด็กเนวินอย่าง ปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.ขอนแก่น หนึ่งในกมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญจากพรรคภูมิใจไทย ได้ออกมาระบุชัดเพื่อส่งสัญญาณในเรื่องนี้ไว้แล้วว่า
“จุดยืนของพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทยและพรรคชาติไทยพัฒนามีความเห็นร่วมกันว่า ตัวเลข ส.ส.ควรเป็นระบบเขตเดียวเบอร์เดียว 400 คน และบัญชีรายชื่อ 100 คน เพราะทำให้ ส.ส.สามารถเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น
แม้เรื่องนี้พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์จะเห็นไม่ตรงกันแต่เชื่อว่าจะไม่ถึงขั้นที่นายกรัฐมนตรี จะตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร เพราะเรื่องแค่นี้”
การแสดงท่าทีดังกล่าวของกมธ.จากพรรคภูมิใจไทย ทั้งที่ยังเหลือเวลาอีกมากในการถกเถียงเรื่องนี้ในชั้นกรรมาธิการก่อนการลงมติ แต่ภูมิใจไทยกลับรีบแสดงสวนทางกับจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่ธรรมดาแน่นอน
อีกทั้งก่อนหน้านี้ แกนนำพรรคภูมิใจไทยคือ อนุทิน ชาญวีรกูล หรือชาติไทยพัฒนาอย่าง พลตรี สนั่น ขจรประศาสตร์ ก็แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการรีบประกาศปฏิทินการยุบสภาในกลางปีนี้ ของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมตรีและสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ
เหตุผลก็พอจะวิเคราะห์ได้ไม่ยาก พรรคร่วมรัฐบาลอย่างภูมิใจไทย-ชาติไทยพัฒนา ตอนนี้ร่วมรัฐบาลก็สบายดีอยู่แล้วเพราะมีอำนาจการต่อรองในรัฐบาลสูงยิ่ง
โดยเฉพาะเนวิน ชิดชอบและพรรคภูมิใจไทย ที่ได้คุมกระทรวงหลักอย่างคมนาคม-มหาดไทย-พาณิชย์ โดยที่ไม่มีหลักประกันใดๆเลยว่าหากมีการเลือกตั้งแล้ว ภท.จะได้ส.ส.กลับมาเท่าไหร่ แล้วจะมีอำนาจต่อรองทางการเมืองเหมือนตอนนี้ที่กำลังอิ่มหมีพีมันกันเต็มที่ จนแกนนำพรรคชวรัตน์ ชาญวีรกูล-รมว.มหาดไทย “ได้ฉายาจากสื่อมวลชนว่า”เสืออิ่ม”
ฝ่ายภูมิใจไทยที่แม้จะเป็นฝ่ายต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งส.ส.ก็จริง แต่เงื่อนไขของภูมิใจไทยไม่ได้ต้องการให้ยุบสภาทันทีหลังแก้ไขรัฐธรรมนูญ
หากแต่ต้องการให้รัฐบาลอยู่ไปจนถึงการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 55 และแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงล็อตสุดท้ายจริงๆในช่วงสิงหาคม-กันยายนมากกว่า เพื่อให้ฝายตัวเองพร้อมที่สุดสำหรับการลงสนามเลือกตั้ง
ทว่า ทั้งอภิสิทธิ์-สุเทพ ออกมาบอกตรงกันว่าช่วงกลางปีนี้คือมิถุนายน น่าจะเป็นช่วงที่มีการยุบสภาได้แน่นอน
ทั้งที่ก่อนหน้านี้สุเทพ ก็ไม่เห็นด้วยกับอภิสิทธิ์ในการบอกช่วงเวลายุบสภาไว้แต่เนิ่นๆ ก่อนที่สุดท้ายสุเทพจะต้องออกมาประสานเสียงคีย์เดียวกับอภิสิทธิ์ในเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้ถูกมองว่า นายกฯกับผู้จัดการรัฐบาล ขัดแย้งกัน และที่สำคัญเงื่อนไขการยุบสภากลางปีนี้ สุเทพก็คงเห็นแล้วว่าลงตัวที่สุดแล้ว
เพราะการรีบประกาศปฏิทินยุบสภา บนเงื่อนไขสถานการณ์ในประเทศต้องสงบเรียบร้อย ก็จะทำให้ฝ่ายเพื่อไทย-เสื้อแดง เคลื่อนไหวนอกรัฐสภาหนักหน่วงไม่ได้ เพราะเพื่อไทยก็อยากเลือกตั้งใจจะขาด ทำให้การส่งกำลังบำรุงและหนุนหลังคนเสื้อแดงก็ต้องยุติไป
อีกทั้งยังทำให้คนเสื้อแดงหมดความชอบธรรมในการจัดกิจกรรมหนักๆ แบบแดงซ่าส์ เพราะกระแสสังคมทุกวงการต่างอยากให้มีการเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนเป็นคนตัดสินอนาคตประเทศชาติรอบใหม่ ไม่ใช่การก่อม็อบตามท้องถนนแบบไม่มีวันจบสิ้น
ขณะเดียวกันหากจะประคองรัฐบาลไปเรื่อยๆ เพื่อให้มีการเลือกตั้งปลายปี จนมีรัฐบาลรักษาการ ขณะที่ประเทศไทยจะมีการจัดงานใหญ่ 5 ธันวาคม ก็คงไม่เหมาะสม
คำประกาศของอภิสิทธิ์ที่บอกจะยุบสภากลางปี จึงได้รับการขานรับจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะภาคธุรกิจอย่างเห็นได้ชัด มันจึงยากแล้วที่ ฝ่ายภูมิใจไทย-ชาติไทยพัฒนา จะขวางลำอภิสิทธิ์-สุเทพในเรื่องนี้ได้
ดังนั้น เมื่อจำเป็นต้องเตรียมตัวเข้าสู่สนามเลือกตั้งจริงๆ ฝ่ายภูมิใจไทย-ชาติไทยพัฒนาก็ต้องการใช้ หน้ากระดานการเมืองทุกอย่างเป็นเครื่องต่อรองกับประชาธิปัตย์และอภิสิทธิ์ให้มากที่สุด
และหนึ่งในเกมการต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาลกับประชาธิปัตย์ ที่ทีมข่าวการเมืองASTVผู้จัดการ ขอให้จับตาก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญในชั้นกรรมาธิการและการโหวตเห็นชอบในวาระ 2 และ 3 ที่หากวิเคราะห์กันจริงๆ แล้ว ภูมิใจไทย-ชาติไทยพัฒนา คงไม่ได้คาดหวังไว้เต็มร้อยว่า ประชาธิปัตย์จะเอาด้วยกับสูตร ส.ส. 400+100 ที่จะทำให้พรรคภท.-ชทพ.มีโอกาสจะได้ส.ส.เขตมากขึ้นกว่าสูตร 375+125 ที่จะเอื้อกับพรรคใหญ่อย่างปชป.ให้มีโอกาสได้ส.ส.บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้นแบบเป็นกอบเป็นกำ
แต่จะใช้เรื่องการแก้ไขรธน.ไปต่อรองทางการเมืองในผลประโยชน์อย่างอื่นมากกว่า
เพราะเนวิน-บรรหาร ศิลปอาชา ก็รู้ดีว่า หากเรียกร้องเอาทุกอย่างกับอภิสิทธิ์-ปชป.มากเกินไป อภิสิทธิ์-ปชป.ก็ลำบากหากต้องยอมภท.-ชทพ.อยู่ร่ำไปโดยเฉพาะในเรื่องแก้ไขรธน. ที่อภิสิทธิ์เสียหายทางการเมืองมากพอแล้วกับการถูกวิจารณ์ว่า กลืนน้ำลายตัวเองยอมแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อตอบแทนพรรคร่วมรัฐบาล
ที่สำคัญ หากครั้งนี้ปชป.ยอมพรรคร่วมรัฐบาลอีกครั้ง มันจะทำให้เกิดแรงต้านจากคนในปชป.ที่คัดค้านเรื่องการแก้ไขรธน.มาตั้งแต่วาระแรกกลับมาปะทุอีกรอบหนึ่ง
หลังส.ส.-แกนนำปชป.หลายคนจำต้องยอมโหวตเห็นชอบร่างแก้ไขรธน.มาแล้วในวาระแรกแบบลำบากใจและเสียจุดยืน เพราะต้องทำตามมติพรรคและการล็อบบี้ของอภิสิทธิ์-สุเทพ
แต่ครั้งนี้ ไม่มีใครรู้ว่า หากสุดท้ายเสียงส่วนใหญ่ในกมธ.วิสามัญแก้ไขรธน. เห็นชอบให้มีการแก้ไขร่างเดิมในสูตร 375+125แล้วออกมาเป็นสูตร 400+100 ส.ส.ปชป.จะยอมให้อีกครั้งหรือไม่ หรือจะงัดข้อกฎหมายมาสู้ว่าส.ส.ไม่มีสิทธิ์เสนอคำแปรญัตติเปลี่นนแปลงหลักการที่รัฐสภาเห็นชอบไปแล้ว แต่ประเด็นนี้ดูเหมือนหลายฝ่ายบอกว่าไม่น่าจะมีปัญหาในข้อกฎหมาย
แต่ที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือ สุดท้าย พรรคร่วมรัฐบาลใช้เรื่องการแก้ไขรธน.มาต่อรองปชป.ไม่สำเร็จ แล้วการผลักดันการแก้ไขรธน.มีปัญหาขึ้นมาจริงๆ ในการโหวตเห็นชอบของที่ประชุมรัฐสภา จนคุมสภาพการณ์ไม่ได้จริงๆ
อภิสิทธิ์ก็อาจใช้จังหวะนี้ ยุบสภาได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ แม้จะเร็วก่อนกำหนด แต่อภิสิทธิ์ก็คงคิดแล้วว่าดีกว่าหากจะต้องยอมเสียหลักการในเรื่องแก้ไขรธน.เพื่อให้พรรคร่วมรัฐบาลสมประโยชน์รอบแล้วรอบเล่า
ถ้าอย่างงั้นก็คืนอำนาจให้ประชาชนดีกว่า ออกมาแบบนี้ ก็เท่ากับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แท้งไปโดยปริยาย
เว้นแต่ อภิสิทธิ์-สุเทพ-ปชป.สุดท้าย จะกลับลำไปหนุนสูตร 400+100 แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย
ถ้าเล่นกันแบบนี้ ไม่ใครก็ใคร ก็หมาทางการเมืองแน่นอน!
ฟัดกันในหมวดว่าด้วยที่มาของส.ส.
เหตุเพราะ ในชั้นคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฝ่ายกรรมาธิการจากซีกประชาธิปัตย์ แสดงท่าทีชัดเจนว่าการแก้ไขที่มาของส.ส.ในมาตรา 93-98 ต้องการให้คงร่างเดิมที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งให้มีส.ส.ระบบเขตวันแมนวันโหวตหรือเขตเดียวเบอร์เดียว 375 คน และระบบบัญชีรายชื่อทั่วประเทศ 125 คน
ด้วยเหตุว่า เพื่อเป็นการเคารพต่อมติของที่ประชุมรัฐสภา แต่เหตุผลใหญ่ ที่ฝ่ายประชาธิปัตย์กังวลก็คือ เกรงว่าหากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขในสาระสำคัญก็จะเป็นเหตุให้ ทั้งส.ส.ประชาธิปัตย์และฝ่ายสภาสูง-วุฒิสภา ไม่พอใจ เพราะไปเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญจากที่เห็นชอบไว้ในวาระแรก จนอาจทำให้การโหวตในวาระ 2 และ 3 มีปัญหาปั่นป่วนได้
แต่ฝ่ายกรรมาธิการจากซีกพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน อย่าง “ภูมิใจไทย”ที่จับมือกับ “ชาติไทยพัฒนา”ก็ส่งสัญญาณมาแล้วว่าต้องการแปรญัตติร่างดังกล่าว ด้วยการแก้ไขให้ที่มาของส.ส.กลับไปเหมือนกับรัฐธรรมนูญปี 2540 คือ ให้มีส.ส.ระบบเขต 400 คนและระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน หรือสูตร 400+100
จากคำแปรญัตติในชั้นกรรมาธิการฯ พบว่ากรรมาธิการได้เสนอขอแก้ไขรายละเอียดที่มาของส.ส.มากถึง 11 รูปแบบ แต่พบว่าส่วนใหญ่คือ 26 คนเสนอแนวคิดให้ที่มาของส.ส.กลับไปใช้ระบบเดิมเหมือนเมื่อปี 2540 คือ 400+100
ซึ่งท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาลอย่างภูมิใจไทย เด็กเนวินอย่าง ปัญญา ศรีปัญญา ส.ส.ขอนแก่น หนึ่งในกมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญจากพรรคภูมิใจไทย ได้ออกมาระบุชัดเพื่อส่งสัญญาณในเรื่องนี้ไว้แล้วว่า
“จุดยืนของพรรคร่วมรัฐบาล โดยเฉพาะพรรคภูมิใจไทยและพรรคชาติไทยพัฒนามีความเห็นร่วมกันว่า ตัวเลข ส.ส.ควรเป็นระบบเขตเดียวเบอร์เดียว 400 คน และบัญชีรายชื่อ 100 คน เพราะทำให้ ส.ส.สามารถเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น
แม้เรื่องนี้พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคประชาธิปัตย์จะเห็นไม่ตรงกันแต่เชื่อว่าจะไม่ถึงขั้นที่นายกรัฐมนตรี จะตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎร เพราะเรื่องแค่นี้”
การแสดงท่าทีดังกล่าวของกมธ.จากพรรคภูมิใจไทย ทั้งที่ยังเหลือเวลาอีกมากในการถกเถียงเรื่องนี้ในชั้นกรรมาธิการก่อนการลงมติ แต่ภูมิใจไทยกลับรีบแสดงสวนทางกับจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ จึงไม่ธรรมดาแน่นอน
อีกทั้งก่อนหน้านี้ แกนนำพรรคภูมิใจไทยคือ อนุทิน ชาญวีรกูล หรือชาติไทยพัฒนาอย่าง พลตรี สนั่น ขจรประศาสตร์ ก็แสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับการรีบประกาศปฏิทินการยุบสภาในกลางปีนี้ ของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมตรีและสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ
เหตุผลก็พอจะวิเคราะห์ได้ไม่ยาก พรรคร่วมรัฐบาลอย่างภูมิใจไทย-ชาติไทยพัฒนา ตอนนี้ร่วมรัฐบาลก็สบายดีอยู่แล้วเพราะมีอำนาจการต่อรองในรัฐบาลสูงยิ่ง
โดยเฉพาะเนวิน ชิดชอบและพรรคภูมิใจไทย ที่ได้คุมกระทรวงหลักอย่างคมนาคม-มหาดไทย-พาณิชย์ โดยที่ไม่มีหลักประกันใดๆเลยว่าหากมีการเลือกตั้งแล้ว ภท.จะได้ส.ส.กลับมาเท่าไหร่ แล้วจะมีอำนาจต่อรองทางการเมืองเหมือนตอนนี้ที่กำลังอิ่มหมีพีมันกันเต็มที่ จนแกนนำพรรคชวรัตน์ ชาญวีรกูล-รมว.มหาดไทย “ได้ฉายาจากสื่อมวลชนว่า”เสืออิ่ม”
ฝ่ายภูมิใจไทยที่แม้จะเป็นฝ่ายต้องการให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งส.ส.ก็จริง แต่เงื่อนไขของภูมิใจไทยไม่ได้ต้องการให้ยุบสภาทันทีหลังแก้ไขรัฐธรรมนูญ
หากแต่ต้องการให้รัฐบาลอยู่ไปจนถึงการจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 55 และแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงล็อตสุดท้ายจริงๆในช่วงสิงหาคม-กันยายนมากกว่า เพื่อให้ฝายตัวเองพร้อมที่สุดสำหรับการลงสนามเลือกตั้ง
ทว่า ทั้งอภิสิทธิ์-สุเทพ ออกมาบอกตรงกันว่าช่วงกลางปีนี้คือมิถุนายน น่าจะเป็นช่วงที่มีการยุบสภาได้แน่นอน
ทั้งที่ก่อนหน้านี้สุเทพ ก็ไม่เห็นด้วยกับอภิสิทธิ์ในการบอกช่วงเวลายุบสภาไว้แต่เนิ่นๆ ก่อนที่สุดท้ายสุเทพจะต้องออกมาประสานเสียงคีย์เดียวกับอภิสิทธิ์ในเรื่องนี้ เพื่อไม่ให้ถูกมองว่า นายกฯกับผู้จัดการรัฐบาล ขัดแย้งกัน และที่สำคัญเงื่อนไขการยุบสภากลางปีนี้ สุเทพก็คงเห็นแล้วว่าลงตัวที่สุดแล้ว
เพราะการรีบประกาศปฏิทินยุบสภา บนเงื่อนไขสถานการณ์ในประเทศต้องสงบเรียบร้อย ก็จะทำให้ฝ่ายเพื่อไทย-เสื้อแดง เคลื่อนไหวนอกรัฐสภาหนักหน่วงไม่ได้ เพราะเพื่อไทยก็อยากเลือกตั้งใจจะขาด ทำให้การส่งกำลังบำรุงและหนุนหลังคนเสื้อแดงก็ต้องยุติไป
อีกทั้งยังทำให้คนเสื้อแดงหมดความชอบธรรมในการจัดกิจกรรมหนักๆ แบบแดงซ่าส์ เพราะกระแสสังคมทุกวงการต่างอยากให้มีการเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนเป็นคนตัดสินอนาคตประเทศชาติรอบใหม่ ไม่ใช่การก่อม็อบตามท้องถนนแบบไม่มีวันจบสิ้น
ขณะเดียวกันหากจะประคองรัฐบาลไปเรื่อยๆ เพื่อให้มีการเลือกตั้งปลายปี จนมีรัฐบาลรักษาการ ขณะที่ประเทศไทยจะมีการจัดงานใหญ่ 5 ธันวาคม ก็คงไม่เหมาะสม
คำประกาศของอภิสิทธิ์ที่บอกจะยุบสภากลางปี จึงได้รับการขานรับจากทุกฝ่ายโดยเฉพาะภาคธุรกิจอย่างเห็นได้ชัด มันจึงยากแล้วที่ ฝ่ายภูมิใจไทย-ชาติไทยพัฒนา จะขวางลำอภิสิทธิ์-สุเทพในเรื่องนี้ได้
ดังนั้น เมื่อจำเป็นต้องเตรียมตัวเข้าสู่สนามเลือกตั้งจริงๆ ฝ่ายภูมิใจไทย-ชาติไทยพัฒนาก็ต้องการใช้ หน้ากระดานการเมืองทุกอย่างเป็นเครื่องต่อรองกับประชาธิปัตย์และอภิสิทธิ์ให้มากที่สุด
และหนึ่งในเกมการต่อรองของพรรคร่วมรัฐบาลกับประชาธิปัตย์ ที่ทีมข่าวการเมืองASTVผู้จัดการ ขอให้จับตาก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญในชั้นกรรมาธิการและการโหวตเห็นชอบในวาระ 2 และ 3 ที่หากวิเคราะห์กันจริงๆ แล้ว ภูมิใจไทย-ชาติไทยพัฒนา คงไม่ได้คาดหวังไว้เต็มร้อยว่า ประชาธิปัตย์จะเอาด้วยกับสูตร ส.ส. 400+100 ที่จะทำให้พรรคภท.-ชทพ.มีโอกาสจะได้ส.ส.เขตมากขึ้นกว่าสูตร 375+125 ที่จะเอื้อกับพรรคใหญ่อย่างปชป.ให้มีโอกาสได้ส.ส.บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้นแบบเป็นกอบเป็นกำ
แต่จะใช้เรื่องการแก้ไขรธน.ไปต่อรองทางการเมืองในผลประโยชน์อย่างอื่นมากกว่า
เพราะเนวิน-บรรหาร ศิลปอาชา ก็รู้ดีว่า หากเรียกร้องเอาทุกอย่างกับอภิสิทธิ์-ปชป.มากเกินไป อภิสิทธิ์-ปชป.ก็ลำบากหากต้องยอมภท.-ชทพ.อยู่ร่ำไปโดยเฉพาะในเรื่องแก้ไขรธน. ที่อภิสิทธิ์เสียหายทางการเมืองมากพอแล้วกับการถูกวิจารณ์ว่า กลืนน้ำลายตัวเองยอมแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อตอบแทนพรรคร่วมรัฐบาล
ที่สำคัญ หากครั้งนี้ปชป.ยอมพรรคร่วมรัฐบาลอีกครั้ง มันจะทำให้เกิดแรงต้านจากคนในปชป.ที่คัดค้านเรื่องการแก้ไขรธน.มาตั้งแต่วาระแรกกลับมาปะทุอีกรอบหนึ่ง
หลังส.ส.-แกนนำปชป.หลายคนจำต้องยอมโหวตเห็นชอบร่างแก้ไขรธน.มาแล้วในวาระแรกแบบลำบากใจและเสียจุดยืน เพราะต้องทำตามมติพรรคและการล็อบบี้ของอภิสิทธิ์-สุเทพ
แต่ครั้งนี้ ไม่มีใครรู้ว่า หากสุดท้ายเสียงส่วนใหญ่ในกมธ.วิสามัญแก้ไขรธน. เห็นชอบให้มีการแก้ไขร่างเดิมในสูตร 375+125แล้วออกมาเป็นสูตร 400+100 ส.ส.ปชป.จะยอมให้อีกครั้งหรือไม่ หรือจะงัดข้อกฎหมายมาสู้ว่าส.ส.ไม่มีสิทธิ์เสนอคำแปรญัตติเปลี่นนแปลงหลักการที่รัฐสภาเห็นชอบไปแล้ว แต่ประเด็นนี้ดูเหมือนหลายฝ่ายบอกว่าไม่น่าจะมีปัญหาในข้อกฎหมาย
แต่ที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือ สุดท้าย พรรคร่วมรัฐบาลใช้เรื่องการแก้ไขรธน.มาต่อรองปชป.ไม่สำเร็จ แล้วการผลักดันการแก้ไขรธน.มีปัญหาขึ้นมาจริงๆ ในการโหวตเห็นชอบของที่ประชุมรัฐสภา จนคุมสภาพการณ์ไม่ได้จริงๆ
อภิสิทธิ์ก็อาจใช้จังหวะนี้ ยุบสภาได้ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ แม้จะเร็วก่อนกำหนด แต่อภิสิทธิ์ก็คงคิดแล้วว่าดีกว่าหากจะต้องยอมเสียหลักการในเรื่องแก้ไขรธน.เพื่อให้พรรคร่วมรัฐบาลสมประโยชน์รอบแล้วรอบเล่า
ถ้าอย่างงั้นก็คืนอำนาจให้ประชาชนดีกว่า ออกมาแบบนี้ ก็เท่ากับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แท้งไปโดยปริยาย
เว้นแต่ อภิสิทธิ์-สุเทพ-ปชป.สุดท้าย จะกลับลำไปหนุนสูตร 400+100 แบบไม่มีปี่มีขลุ่ย
ถ้าเล่นกันแบบนี้ ไม่ใครก็ใคร ก็หมาทางการเมืองแน่นอน!