อีกเพียงไม่เกินสองสัปดาห์ “การประชุมรัฐสภา” จะเปิด “สมัยสามัญทั่วไป” ซึ่งการประชุมครั้งนี้ จะเป็นการประชุมยาวนาน 3 เดือน โดยการประชุมรัฐสภาจะมีการประชุมเพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น ประมาณ 6 เดือน เกือบ 7 เดือนเท่านั้น
การประชุมรัฐสภาจะประกอบไปด้วย “ประชุมสภาผู้แทนราษฎร” และ “ประชุมวุฒิสภา” โดยแต่ละส่วนจะแยกประชุมกัน แต่ถ้าเมื่อใดที่ต้องมีประเด็นใด มาตราใดที่ต้องประชุมร่วมรัฐสภา กล่าวคือ ทั้งสองสภาจะเปิดประชุมร่วมกัน ในกรณีที่ต้องเป็นการประชุมและโหวตร่วมกัน ซึ่งก็น่าจะมีประมาณสมัยละน่าจะประมาณ 7-8 ครั้งเท่านั้น การประชุมปีละ 2 ครั้ง “การประชุมรัฐสภา” จะมีการประชุม 15-16 ครั้งต่อปีสูงสุด
ว่าไปแล้ว ประชุมร่วมรัฐสภา 2 ครั้งต่อปี กล่าวคือ การประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป ซึ่งพรรคการเมืองฝ่ายค้านสามารถยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ ประกอบกับการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติได้ตามแต่กรณี พูดง่ายๆ คือ “เปิดกว้าง” สำหรับการประชุมทั่วไปในสภาทั้งสอง
ส่วนการประชุมในช่วงตั้งแต่สิงหาคมจนถึงเดือนตุลาคมนั้น เป็น “การประชุมสภาสมัยนิติบัญญัติ” ที่ไม่สามารถมีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ แต่เป็นการประชุมพิจารณาเกี่ยวกับ “กฎหมาย” ล้วนๆ ตลอด 3 เดือน ซึ่งว่าไปแล้ว นับว่ามีความสำคัญอย่างมากในการที่จะบริหารชาติ
เพียงแต่ว่า สังคมไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการศึกษาด้านกฎหมายในการปกครองบริหารประเทศชาติ แต่กลับไปสนใจในการประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป เนื่องด้วย “อยากฟังฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล” ซึ่งน่าจะมันกว่าเยอะ!
อย่างไรก็ตาม “การประชุมของทั้งสองสภา” ที่มีประชุมกันเพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น เพียงแค่ 6 เดือนนิดๆ ต่อปี แต่ดันมาขอเงินเดือนเพิ่มจากรัฐบาล ซึ่งว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว รัฐบาลเอง “เอาใจ” สมาชิกทั้งสองสภาในการพิจารณาขึ้นเงินเดือน “เสมือนเอาใจ!”
การประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปในครั้งนี้ จริงๆ แล้ว ไม่ค่อยมีประชาชนสนใจการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านมากมายนัก ถ้าจะดูเพื่อความมันก็คงจะเป็นไปได้ แต่ถ้าดูว่าจะ “โค่นรัฐบาล” ลงได้หรือไม่นั้น ไม่มีทางจะเป็นไปได้
แต่การเปิดสภาสมัยนี้ จะมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ “วาระ 2 - วาระ 3” ของการพิจารณา “ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ” โดยเฉพาะที่ว่าด้วย “มาตรา 93 -มาตรา 98” เกี่ยวกับ “การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” ว่าจะผ่านเหมือนชุดคณะกรรมาธิการฯ หรือไม่ ที่ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว 18 ต่อ 17 เสียง ชนิดที่ประธานคณะกรรมาธิการฯ ต้องลงมติโหวตเพื่อให้ผ่านเพียง 1 เสียง
ประเด็นสำคัญ คือ ชุดคณะกรรมาธิการที่ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคภูมิใจไทย พรรคกิจสังคม และอีกหนึ่งพรรค ที่พรรคเพื่อไทยปฏิเสธที่จะร่วมสังฆกรรมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามคณะกรรมการชุดศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธานนำเสนอต่อรัฐบาลทั้ง 6 ประเด็น แต่รัฐบาลนำเพียง 2 มาตราเท่านั้นเสนอต่อที่ประชุม
คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาหลักการแรก ด้วยข้อเสนอ 375 จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ 125 เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่ “พรรคร่วมรัฐบาล” เสนอ 400 ส.ส.เขต และ 100 ส.ส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งก็มี “วิวาทะการเมือง” ละเลงกันออกมาสู่สาธารณชน ด้วยการผนึกกำลังกันทั้งของพรรคชาติไทยพัฒนา โดยมีคุณบรรหาร ศิลปอาชา และ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ และพรรคภูมิใจไทย ที่นำร่วมเสนอค้านแนวคิดของพรรคประชาธิปัตย์
อย่างไรก็ตาม “สนามการเมือง” ยังนับว่าไม่สิ้นสุดดังคำกล่าวโบราณที่ว่า “เมื่อศึกสงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพ” หมายความว่า การลงคะแนนของสมาชิกรัฐสภายังไม่จบสิ้น เพราะต้องผ่านสู่กระบวนการวาระ 2 และวาระ 3 ช่วงการเปิดสภาสมัยสามัญทั่วไปในอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ที่ประธานรัฐสภาจะบรรจุเข้าเป็นบัญญัติทั้งสงวนคำแปรญัตติ และนับคะแนนโหวตกัน ซึ่งน่าเชื่อว่า ราวๆ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ น่าจะจบ
คำถามสำคัญที่ถามว่า “แล้วจะจบกันอย่างไร” ในเมื่อพรรคร่วมรัฐบาลเสนอสูตร 400 + 100 แต่พรรคประชาธิปัตย์เสนอสูตร 375 + 125 ในกรณีนี้ต้องเรียนว่า “การต่อรองทางการเมือง” ยังไม่จบสิ้น และน่าจะมีการพิจารณาต่อรองกันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือ สมาชิกวุฒิสภาชุด 40 ส.ว.ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็น ส.ว.จากการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้จำนวนสมาชิกรัฐสภาเกิน 310 เสียง จากทั้งหมด 620 เสียง
ประเด็นสำคัญที่มีการถกเถียงกันอย่างมากคือ “ความได้เปรียบเสียเปรียบ” ของพรรคประชาธิปัตย์ที่น่าจะได้จำนวนที่นั่งของ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลน่าจะได้จำนวนที่นั่งเพิ่มขึ้นดังสูตร 400+100 เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้พรรคฝ่ายค้านเพื่อไทย น่าจะร่วมสังฆกรรม “ข่มขู่” พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมรัฐบาลก็น่าจะเป็นได้
ดังนั้น กรณีศึกษานี้ยังไม่จบ แต่ตามข้อมูลและความเห็นของผู้รู้ทั้งหลายต่างคำนวณกันว่า สูตรน่าจะออกมาที่ 400+100 กล่าวคือ 400 เขตจาก ส.ส. และ ส.ว.บัญชีรายชื่อ 100 เหมือนกับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ฉบับที่ 16
ทั้งนี้ ไม่ขอย้ำว่า ผลจะออกมาเช่นไร กรณีนี้เป็นกรณีที่ “ภาคประชาชน” จะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะ “ผลประโยชน์การเมือง” ตกอยู่กับ “พรรคการเมือง-นักการเมือง” โดย “ภาคประชาชน” จำต้องมีส่วนร่วมกับการลงมติในครั้งนี้ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์บวกกับพรรคร่วมรัฐบาลต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ว่า ทำไมต้องเอาสูตร 375+125 หรือ สูตร 400+100 จริงๆ แล้ว “คนดี!” น่าจะมีส่วนเข้ามาร่วมปฏิรูปการเมืองในสนามการเมืองได้บ้าง อย่างน้อยก็น่าจะประมาณ 10-15 คน ในกรณีสูตรของอาจารย์สมบัติ ธำรงธัญวงศ์!
การประชุมรัฐสภาจะประกอบไปด้วย “ประชุมสภาผู้แทนราษฎร” และ “ประชุมวุฒิสภา” โดยแต่ละส่วนจะแยกประชุมกัน แต่ถ้าเมื่อใดที่ต้องมีประเด็นใด มาตราใดที่ต้องประชุมร่วมรัฐสภา กล่าวคือ ทั้งสองสภาจะเปิดประชุมร่วมกัน ในกรณีที่ต้องเป็นการประชุมและโหวตร่วมกัน ซึ่งก็น่าจะมีประมาณสมัยละน่าจะประมาณ 7-8 ครั้งเท่านั้น การประชุมปีละ 2 ครั้ง “การประชุมรัฐสภา” จะมีการประชุม 15-16 ครั้งต่อปีสูงสุด
ว่าไปแล้ว ประชุมร่วมรัฐสภา 2 ครั้งต่อปี กล่าวคือ การประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป ซึ่งพรรคการเมืองฝ่ายค้านสามารถยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ ประกอบกับการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติได้ตามแต่กรณี พูดง่ายๆ คือ “เปิดกว้าง” สำหรับการประชุมทั่วไปในสภาทั้งสอง
ส่วนการประชุมในช่วงตั้งแต่สิงหาคมจนถึงเดือนตุลาคมนั้น เป็น “การประชุมสภาสมัยนิติบัญญัติ” ที่ไม่สามารถมีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลได้ แต่เป็นการประชุมพิจารณาเกี่ยวกับ “กฎหมาย” ล้วนๆ ตลอด 3 เดือน ซึ่งว่าไปแล้ว นับว่ามีความสำคัญอย่างมากในการที่จะบริหารชาติ
เพียงแต่ว่า สังคมไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการศึกษาด้านกฎหมายในการปกครองบริหารประเทศชาติ แต่กลับไปสนใจในการประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไป เนื่องด้วย “อยากฟังฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล” ซึ่งน่าจะมันกว่าเยอะ!
อย่างไรก็ตาม “การประชุมของทั้งสองสภา” ที่มีประชุมกันเพียงปีละ 2 ครั้งเท่านั้น เพียงแค่ 6 เดือนนิดๆ ต่อปี แต่ดันมาขอเงินเดือนเพิ่มจากรัฐบาล ซึ่งว่ากันตามความเป็นจริงแล้ว รัฐบาลเอง “เอาใจ” สมาชิกทั้งสองสภาในการพิจารณาขึ้นเงินเดือน “เสมือนเอาใจ!”
การประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปในครั้งนี้ จริงๆ แล้ว ไม่ค่อยมีประชาชนสนใจการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านมากมายนัก ถ้าจะดูเพื่อความมันก็คงจะเป็นไปได้ แต่ถ้าดูว่าจะ “โค่นรัฐบาล” ลงได้หรือไม่นั้น ไม่มีทางจะเป็นไปได้
แต่การเปิดสภาสมัยนี้ จะมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับ “วาระ 2 - วาระ 3” ของการพิจารณา “ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ” โดยเฉพาะที่ว่าด้วย “มาตรา 93 -มาตรา 98” เกี่ยวกับ “การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” ว่าจะผ่านเหมือนชุดคณะกรรมาธิการฯ หรือไม่ ที่ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว 18 ต่อ 17 เสียง ชนิดที่ประธานคณะกรรมาธิการฯ ต้องลงมติโหวตเพื่อให้ผ่านเพียง 1 เสียง
ประเด็นสำคัญ คือ ชุดคณะกรรมาธิการที่ประกอบไปด้วย พรรคประชาธิปัตย์ พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคภูมิใจไทย พรรคกิจสังคม และอีกหนึ่งพรรค ที่พรรคเพื่อไทยปฏิเสธที่จะร่วมสังฆกรรมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามคณะกรรมการชุดศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธานนำเสนอต่อรัฐบาลทั้ง 6 ประเด็น แต่รัฐบาลนำเพียง 2 มาตราเท่านั้นเสนอต่อที่ประชุม
คณะกรรมาธิการฯ พิจารณาหลักการแรก ด้วยข้อเสนอ 375 จากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ 125 เป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่ “พรรคร่วมรัฐบาล” เสนอ 400 ส.ส.เขต และ 100 ส.ส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งก็มี “วิวาทะการเมือง” ละเลงกันออกมาสู่สาธารณชน ด้วยการผนึกกำลังกันทั้งของพรรคชาติไทยพัฒนา โดยมีคุณบรรหาร ศิลปอาชา และ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ และพรรคภูมิใจไทย ที่นำร่วมเสนอค้านแนวคิดของพรรคประชาธิปัตย์
อย่างไรก็ตาม “สนามการเมือง” ยังนับว่าไม่สิ้นสุดดังคำกล่าวโบราณที่ว่า “เมื่อศึกสงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพ” หมายความว่า การลงคะแนนของสมาชิกรัฐสภายังไม่จบสิ้น เพราะต้องผ่านสู่กระบวนการวาระ 2 และวาระ 3 ช่วงการเปิดสภาสมัยสามัญทั่วไปในอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ที่ประธานรัฐสภาจะบรรจุเข้าเป็นบัญญัติทั้งสงวนคำแปรญัตติ และนับคะแนนโหวตกัน ซึ่งน่าเชื่อว่า ราวๆ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ น่าจะจบ
คำถามสำคัญที่ถามว่า “แล้วจะจบกันอย่างไร” ในเมื่อพรรคร่วมรัฐบาลเสนอสูตร 400 + 100 แต่พรรคประชาธิปัตย์เสนอสูตร 375 + 125 ในกรณีนี้ต้องเรียนว่า “การต่อรองทางการเมือง” ยังไม่จบสิ้น และน่าจะมีการพิจารณาต่อรองกันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรคร่วมรัฐบาล แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือ สมาชิกวุฒิสภาชุด 40 ส.ว.ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะเป็น ส.ว.จากการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้จำนวนสมาชิกรัฐสภาเกิน 310 เสียง จากทั้งหมด 620 เสียง
ประเด็นสำคัญที่มีการถกเถียงกันอย่างมากคือ “ความได้เปรียบเสียเปรียบ” ของพรรคประชาธิปัตย์ที่น่าจะได้จำนวนที่นั่งของ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลน่าจะได้จำนวนที่นั่งเพิ่มขึ้นดังสูตร 400+100 เพราะฉะนั้น ในกรณีนี้พรรคฝ่ายค้านเพื่อไทย น่าจะร่วมสังฆกรรม “ข่มขู่” พรรคประชาธิปัตย์กับพรรคร่วมรัฐบาลก็น่าจะเป็นได้
ดังนั้น กรณีศึกษานี้ยังไม่จบ แต่ตามข้อมูลและความเห็นของผู้รู้ทั้งหลายต่างคำนวณกันว่า สูตรน่าจะออกมาที่ 400+100 กล่าวคือ 400 เขตจาก ส.ส. และ ส.ว.บัญชีรายชื่อ 100 เหมือนกับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ฉบับที่ 16
ทั้งนี้ ไม่ขอย้ำว่า ผลจะออกมาเช่นไร กรณีนี้เป็นกรณีที่ “ภาคประชาชน” จะต้องเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะ “ผลประโยชน์การเมือง” ตกอยู่กับ “พรรคการเมือง-นักการเมือง” โดย “ภาคประชาชน” จำต้องมีส่วนร่วมกับการลงมติในครั้งนี้ ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์บวกกับพรรคร่วมรัฐบาลต้องตอบคำถามสังคมให้ได้ว่า ทำไมต้องเอาสูตร 375+125 หรือ สูตร 400+100 จริงๆ แล้ว “คนดี!” น่าจะมีส่วนเข้ามาร่วมปฏิรูปการเมืองในสนามการเมืองได้บ้าง อย่างน้อยก็น่าจะประมาณ 10-15 คน ในกรณีสูตรของอาจารย์สมบัติ ธำรงธัญวงศ์!