xs
xsm
sm
md
lg

“ตุ๊ดตู่” เจอสื่อโห่หลังหลุดสันดานไพร่ชี้หน้า “มาร์ค” กลางโต๊ะเจรจา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


เจรจารัฐบาล-นปช.รอบสองเดือด “ตู่” ชี้หน้านายกฯ ชนวนทุบรถมหาดไทย สื่อโห่ดังมวยคู่เอกผิดคิวนอกสภา “มาร์ค” ปัด 15 วันเส้นตายยุบสภา อ้างเหตุแก้เศรษฐกิจ-กติกา-บรรยากาศ ไม่ทัน ขอเวลา 9 เดือน “กอร์ปศักดิ์” ชูทำประชามติ 4 เดือนวัดใจ ใครก่อเหตุก่อนจบ “มาร์ค” ขัดนัดพฤหัสฯ ถกอีกรอบ “ตู่” ไม่รับปากอ้างขอประชามติเสื้อแดงก่อน



ที่สถาบันพระปกเกล้า เมื่อเวลา 18.15 น. สำหรับการเจรจาระหว่าง 3 ตัวแทนรัฐบาลกับกลุ่ม นปช. เพื่อหาข้อยุติทางการเมือง หลังจากการเจรจาวันแรก นปช.ยื่นเงื่อนไขยุบสภาภายใน 15 วัน

การเจรจาช่วงแรกบรรยากาศเต็มไปด้วยความตึงเครียด เมื่อนายจตุพรได้หยิบยกเรื่องราวในอดีตของรัฐบาลมาอภิปราย ทั้งการมาในตำแหน่งนายกฯ โดยไม่ชอบ ปัญหาการทุจริตรัฐบาล และการกู้เงินจำนวนมากกอบกู้เศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ นายกฯและนายจตุพร มีการตอบโต้กันไปมา โดยนายกฯอ้างว่าสิ่งที่นายจตุพรกล่าวเป็นความเท็จทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม เมื่อมาถึงตอนที่นายกฯ ชี้แจงเรื่องว่าอยู่ในรถที่กระทรวงมหาดไทยโดยมีคนเสื้อแเดงเข้าทำร้าย และถามว่าเป็นแดงแท้หรือแดงเทียมทำให้นายจตุพรถึงกับออกมาตอบโต้อีกครั้ง โดยชี้หน้านายกฯ และยังยืนยันนายกฯไม่ได้อยู่ในรถ ทำให้สื่อที่เกาะติดรายงานข่าวอยู่ด้านนอกติดตามชมการเจรจาต่างพร้อมใจกันโห่ ร้องพฤติกรรมนายจตุพร และมีการวิจารณ์ว่านี่เป็นการอภิปรายซักฟอกรัฐบาลนอกสภาไม่ใช่การเจรจาเพื่อ หาข้อยุติ

หลังจากนั้น นพ.เหวง โตจิรการ ก็ได้จังหวะนำภาพเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนเม.ย.มากล่าวหารรัฐบาลอีกครั้งว่าใช้ทหารยิงทำร้ายประชาชน และกล่าวถึงท่าทีนายกฯที่ตอบโต้นายจตุพรว่าเป็นพฤติกรรมตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่ามีความขัดแย้งทางการเมือง จนทำให้นายวีระเสนอขึ้นมาให้มีเจรจากันต่อ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วาระรัฐบาล เหลือ 1 ปี 9 เดือน ถามว่า อยากเห็นอะไรก่อนเลือกตั้ง 1.การแก้ปัญหา เศรษฐกิจ 2.การทำกติกา 3.บรรยากาศบ้าน เมืองให้เป็นปกติ สำหรับเรื่องที่ 1 การแก้ไขปัญหา เศรษฐกิจ ไม่ค่อยเท่าไหร่แล้วค่อนข้างจะดี แต่ว่าครึ่งเดือน แรกกระทบนิดหน่อย มีปัญหาเรื่องท่องเที่ยวอยู่บ้าง คุยกับพรรคร่วมรัฐบาล ข้าราชการ เขามองว่าให้ปฏิทินงบประมารณเดินตามปกติได้ไหม 2.เรื่องกติกา ลองมาดูแล้วว่ า ถ้าประกาศทำประชามติ สมมติมีประเด็นไหนแก้ไข ก็ทำในสภาให้ดำเนินการ พอทำ เสร็จแล้วกฎหมายต่างๆรับแล้วก็เป็นกรอบเวลา 3.สิ่งที่คุยคือ ทำบรรยากาศบ้านเมืองให้เป็นปกติ ฝ่ายท่านทำหน้าที่ตรวจสอบ ก็ตรวจสอบได้ ชุมนุมก็เป็นไปตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดไม่ปิดล้อม ใครผิดกฎหมายก็ถูกดำเนินคดี แกนนำบางท่านก็ถูกดำเนินคดี จากนั้นฝ่ายรัฐบาลก็ทำ งาน ฝ่ายค้านก็ทำงาน

นายกฯ กล่าวว่า ปฏิทินงบประมาณชงักมีปัญหา ตารางปฏิทินงบประมาณถูกกระทบ งบช่วงแรกตุลาคมผิดไปจะใช้งบผิดปกติ เรื่องรัฐธรรมนูญช้าเร็วไม่ได้อยู่ที่ว่ารัฐบาลจะเอาจริง กับสภาหรือไม่ วันนี้จะเอา ชัดๆ ให้ประชาชนลงประชามติ ประชาชนที่อยากแก้ประเด็นไหน นำมาวางไปเลยประชาชนลงประชามติ ทุกพรรคยอมรับตามนั้น ไม่เหมือนยุบสภาไป เลือกตั้ง ไปถามทุกพรรคก็บอกแก้รัฐธรรมนูญก่อนอีก และมีกลุ่มไม่เห็นด้วยให้ยุบสภา เพราะฉนั้นกระบวนการประชามติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นไหน จากนั้นก็แก้ไขรัฐธรรมนูญใช้เวลากัน ส่วนบรรยากาศบ้านเมือง เรื่องประชามติจะเป็นบทพิสูจน์ระดับหนึ่ง การประชามติไม่พูดลอยๆ ไม่สามารถพูดถึงคนหนึ่งเสียงที่นอกโต๊ะนี้ ได้ ถ้าร่วมแรงร่วมใจก็ทำได้ เพราะ ฉนั้นกรอบปลายปีก็อยู่ในกรอบนี้

นายกฯ กล่าวว่า ถามว่านายกฯเสียสละไหม ความจริงรัฐบาลมีวาระเหลือ 1 ปี 9 เดือน ถ้าพูดยุบสภาปลาย ปีนี้ ก็ถือว่าเฉือนไปแล้วหนึ่งปี ที่ผมย้ำตลอด คนบางกลุ่มมองว่าเรามาตกลงได้อย่างไร เรียนว่าสมมติไปประชามติยุบไม่ยุบสภา แต่ ถ้าสำรวจความคิดเห็นประชาชนไม่มั่นใจให้ยุบสภา ดีไม่ดีการให้ยุบสภาอาจเป็นเสียงส่วนน้อย ประเด็นนี้ไม่อยากเถียงท่าน อยาก หาจุดกลางๆ คนสนับสนุนไม่ควรยุบสภา ไม่เห็นด้วยชุมนุม เพราะวันข้างหน้าชุมนุมบ้าง ไม่ควรเถียงเขา แต่ถ้าเรากำหนดกรอบอย่างนี้ ก็พูดคุยกันได้

นายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำ นปช.กล่าวว่า ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจมันเป็นเรื่องความเชื่อ ฝ่ายเสื้อแดงเห็นว่า ให้เวลาเท่าไรก็ไม่ดี รอไม่ได้ รัฐสภาไม่เป็นที่พึ่งแล้ว ให้มันเป็นไปตามประชามติด้วย จะเอากติกาแบบไหน บรรยากาศการเมืองเราสร้างกันได้ ถ้าคู่ขัดแย้งเสื้อแดงสร้างแดงแต่ไม่ใช้เหตุผล 3 ประการ แล้วมามัด 15 วันไม่ได้ การเสนอกรอบเวลาเลยงบประมาณมันจะยาวไป ไม่เอาใจผมก็ได้ นักวิชาการ 3 เดือน ไม่ใช่ข้อเสนอของตน กรอบกติกามันไม่ควรจะยาวนานไปถึง 6 เดือนหรอกแค่ 2 เดือนก็ทำได้ สภาพึ่งไม่ได้ แค่รัฐบาลไปจี้ให้ทำ ไม่อย่างนั้นเถียงกันอยู่นั้นไม่จบ ไกลเกินความเป็นจริง ปัญหาอยู่ตรงที่ว่า ท่านต้องเห็นใจพวกผมหน่อย เขามาถูกสิทธิของเขา ขอคืนสิทธิไปตัดสินใจอนาคตการเมืองของเขา ต้องการความเสียสละจากท่าน ถ้าท่านเสียสละตรงนี้เป็นเกียรติยศ บังเอิญมาพูดที่สถาบันพระปกเกล้า หรือคิดถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้ายินดีสละอำนาจให้เป็นของปวงชนชาวไทย ยอม เจ็บปวดให้สิทธิประชาชน วันนี้คนเสื้อแดงมาขอความเสียสละจากนายกฯ ไม่ต้อง 15 วันหรอก มันก็เป็นการเสียสละ

นายกฯ กล่าวว่า ที่พูดถึงปฏิทิน เราบังเอิญอยู่ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจการฟื้นตัวยังไม่แข็งแรง ตนประกาศไว้ที่ทำ พ.ร.บ.4 แสนไม่ทำตามนั้น งบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี กฎหมายให้ใช้ของเก่าไปก่อนได้ใช้ปีก่อนได้ ส่วนที่จะเพิ่มให้รอปีใหม่ แต่บังเอิญตอนเข้ามารายได้หายไป 2 แสนล้าน ถ้าบอกให้ใช้งบนี้ไปพลางก่อนเดือดร้อนกันมา งบประมาณที่มีต้องออกไปประชาชนได้ประโยชน์เต็มๆ ถ้าตรงนี้ชะงักก็ส่งผลกระทบได้

นายจตุพรกล่าวว่า เงื่อนไขประเด็นเศรษฐกิจจะมาผูกมัดรวมไม่ได้ เวลาที่เหลือจากนี้ไป 9 เดือนเศรษฐกิจจะดีขึ้นหรือไม่ มันซ้ำซาก มันจะไม่พบความสำเร็จ ยิ่งขัดแย้งกว่าเดิม ถ้าต้องการให้สถานการณ์ปกติเป็นเรื่องที่น่ารับฟัง ทั้ง 3 อย่างที่จะลากไปเป็นเรื่องที่ยาวนาน การที่ท่านจะเสียสละ หรือไม่เสียสละเป็นเรื่องสำคัญอยู่ นายกฯต้องใช้ชีวิตปกติ ถ้าเราหาจุดความไม่พอดีกัน การเรียกร้องของเราไปวัดผลการเลือกตั้ง ถ้าท่านมั่นใจคนไม่เอาด้วย ควบคุมอำนาจรัฐเบ็ดเสร็จ คู่แข็งย่อมเสียเปรียบ บรรยากาศบ้านเมืองกลับมาสู่ปกติ สิ้นปีรับไม่ได้

นายกฯ กล่าวว่า ย้ำอีกครั้ง เรื่องทำเศรษฐกิจดีไม่ดี ดูตารางรัฐบาล ช่วงแรกตุลาฯเป็นต้นไป ต้องใช้งบไม่ปกติ ประชาชนส่วนหนึ่งก็เป็นห่วงเรื่องนี้ เรื่องรัฐธรรมนูญ แก้รัฐธรรมนูญวาระ 1,2,3 ไม่เกิน 1 ปี 9 เดือน วิธีที่เราจะทำคือ ทำประชามติชัดเจน ไม่ใช่ทำแล้วไปเถียงกัน เวลาไปถามต้องแน่ชัด มีสรุปสาระง่ายๆ คณะทำงานสภาทำไว้แล้ว ไม่เกี่ยวพรรคร่วมประชามติเอาอย่างไงก็เอาอย่างนั้น ถ้าต้องการของประชาชนผ่านประชามติเป็นอย่างไงก็อย่างนั้น

นายกฯ กล่าวว่า เป็นกระบวนการที่ดีมาก เข้ามายอมรับคะแนน คะแนนนิยมไม่ติดใจ เลขาธิการพรรคผมมีความรับผิดชอบ ทุกพรรคอยากชนะทั้งนั้นไม่ติดใจ ผมตัดสินใจการเลือกตั้งเอาผลประโยชน์ส่วนร่วมเป็นที่ตั้ง ผมตัดวาระลงมา ฟังคนเสื้อแดง แล้วมาฟังอะไรดีที่สุดกับประชาชน ตนร่นให้ 1 ปี

จากนั้นนายวีระตัดบทว่า รอเสนอถ้า 15 วันมันไม่ไหว รอเสนอมากี่วันมาว่า เท่าไร

นายกอร์ปศักดิ์กล่าวว่า เรามานั่งคุยตรงนี้เพื่อหาข้อยุติ บอกเคารพก็ไม่รู้เคารพจริงไหม ประเด็นมีว่า ในเมื่อเราไม่เชือ่กัน ผมก็ไม่รู้ยังไง ทำยังไงเราก็ต้องตกลงกัน ผมบอกว่าภายใน 9 เดือน สิ้นปี ไม่เชื่อ ไม่รู้เชื่อใคร เพราะมันไม่เชื่อเท่านั้นเอง เรามานั่งคุยกันเพื่อประเทศไทย ไม่ใช่เพื่ออภิสิทธิ์เป็นนายกฯอีก ไม่เชื่อเพื่อกูเป็นรัฐบาล อย่าปฎิเสธเร็วๆ ท่านบอกว่า 15 วันบอกว่าทำไม่ได้ ผมไม่เชื่อว่าปัญหาบ้านเมืองที่หนักหนาจะจบได้ภายใน 2 สัปดาห์ ถ้าหากท่านอยากให้จบเพื่อประเทศไทย เรามาทดสอบเราเชื่อใจกันได้ไหม เราเริ่มว่าไปหาประชาชน เอาประชามติเป็นหลัก เอาเรื่องรธน. บอกมีหลายประเด็น เอา 6 ข้อไปหาประชาชน ท่านมีเสื้อสีแดงกี่คน สีอื่นกี่คน ไม่มีสี่อีกกี่คนเชื่อเป็นล้าน ใน 120 วัน หรือ 4 เดือน ใครผิดกติกาก่อน กติกาคือพวกผมไปทำที่ผิดกฎหมายไปสลายการชุมนุมไม่ได้

“4 เดือนทำเสร็จ ท้ายสุดเบี้ยวกันเดือนแรกก็จบแล้ว ไปไม่รอด เป็นเรื่องใหญ่ไม่ใช่ 6 คนตัดสินใจ แล้วมาคุยกัน พี่น้องทางบ้าน ไม่ว่าเสื้อสีอะไรก็ต้องพอใจทุกฝ่าย” นายกฯ กล่าว

จากนั้น นายกฯ กล่าวว่า จะคุยกันนอกรอบอีกครั้งก็ได้ และรัฐบาลพร้อมยินดีเจรจา ตนไปต่างประเทศจะกลับมาอีกครั้งวันพฤหัสบดี แต่อยากให้รักษาบรรยากาศอย่างนี้ไว้ อย่างไรก็ตาม นาย จตุพร กล่าวว่า พวกผมอยู่กับประชาชน พวกผมต้องไปถามผู้ชุมนุมจะเอาอย่างไรกันต่อ ขณะที่ นายกฯ กล่าวว่า ฝ่ายผมก็ยินดีนัดหมาย






กำลังโหลดความคิดเห็น