“ปณิธาน” ยัน รบ.ช่วยวิศวกรไทย เต็มที่ อาจช้าไม่ทันใจ เพราะต้องทำตามขั้นตอน เผยเขมรตีตนไปก่อนไข้ คิดเลยเถิดไทยไม่ให้กู้ 1.4 พันล้าน ย้ำแม้ “ฮุนเซน” ก้าวร้าว แต่สัมพันธ์ไทย-เขมร โครงการที่ดี ยังได้รับการสานต่อ ด้าน “สุรพงษ์” ย้ำจุดยืนไทย อยากเห็นสัมพันธ์ไทย-เขมร ย้อนกลับไปก่อน 23 ต.ค. แต่ติดอุปสรรค์ “ฮุนเซน” ยังไม่ตื่น หวัง“นช.แม้ว” สร้างปาฏิหาริย์สานต่อผลประโยชน์ทางทะเลได้ แนะยืมมือเวียดนามกล่อมผู้นำเขมรปรับท่าที
คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ "คนในข่าว"
รายการ “คนในข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน ช่วงเวลา 20.30-22.00 น. วันที่ 1 ธันวาคม2552 โดยมีนายเติมศักดิ์ จารุปราณ เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต 5 ประเทศ และนายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาร่วมพูดคุยถึงสาเหตุที่ทำให้ สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ออกมาท้าทายรัฐบาลไทย
นายสุรพงษ์ กล่าวว่าหากย้อนดูท่าทีของ สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ตั้งแต่ครั้งประชุมที่หัวหิน ไล่มาจนถึงการเรียกทูตกลับ จับกุมวิศวกรไทย ล่าสุดก็ ออกมาพูดถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับนายกษิต ภิรมย์ ว่าหากตราบใดทั้งสองคนนี้ ยังทำหน้าที่อยู่ เขาไม่ปลื้ม ยากที่จะคุยกันได้ การแสดงออกอย่างนี้ เป็นการกระทำที่ผิดวิสัยของผู้นำ ที่เอาความรู้สึกส่วนตัว มาครอบงำ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะปกติในหลายๆประเทศ หากผู้นำกับผู้นำ มีปัญหาส่วนตัว ส่วนใหญ่เขาจะควบคุมอารมณ์ได้ แยกแยะออกเรื่องไหนส่วนตัว เรื่องไหนส่วนรวม
ส่วนสาเหตุที่ทำให้ ฮุนเซน กลับมาท้าทายรัฐบาลไทยอีก หลังจากเงี่ยบหายไปพักหนึ่ง เป็นเพราะเขาดูแล้วว่า การเมืองไทยยังไม่มีอะไรที่จะทำให้เห็นว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เสียเปรียบมากนัก อีกอย่างรัฐบาลไทยก็ไม่ได้อยู่ในผลประโยชน์ของเขา แม้ตอนนี้ ฮุนเซน จะยังไม่ได้ประโยชน์ แต่ก็ไม่ได้เสียหาย อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยประสบวิกฤติ จนทำให้ ฮุนเซน มองได้ว่าอำนาจรัฐกำลังเปลี่ยน ท่าทีของเขาก็จะรุกหนักกว่านี้อีก ดังนั้น หากให้ตนประเมินพฤติกรรมของ ฮุนเซน มั่นใจว่าเขาจะก้าวร้าว เยาะเย้ยรัฐบาลไทยต่อไปเรื่อยๆ จนกว่า รัฐบาลไทย จะมีความมั่นคง มีเอกภาพ เมื่อถึงเวลานั้น ฮุนเซน จะปรับท่าทีเข้าเจรจากับรัฐบาลไทยเอง
นายสุรพงษ์ กล่าวกล่าวถึงการช่วยเหลือ นายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ วิศวกรไทย ว่า หากฝ่ายค้านช่วยได้ก่อนรัฐบาล เป็นที่แน่นอนที่สุด ฝ่ายค้านต้องนำมาเป็นประเด็นโจมตี ว่า รัฐบาลไม่ไมน้ำยา ไม่สามารถใช้ความสัมพันธ์ทางการทูตได้ ประเด็นนี้รัฐบาลสามารถชี้แจงได้ ด้วยการอธิบายความเกี่ยวโยงของ พ.ต.ท.ทักษิณ ตั้งแต่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ไปกัมพูชา แล้วกลับมาอะไรเกิดขึ้น อะไรที่ทางกัมพูชาพูดเท็จ ก็ต้องบอกว่าความจริงเป็นอย่างไร เรื่องไหนที่เป็นเรื่องสำคัญต้องออกมาชี้แจง เนื่องจากคนไทยที่ยังไม่เข้าใจยังมีอีกมาก ที่สำคัญรัฐบาล ต้องมองการช่วยเหลือ นายศิวรักษ์ เป็นเรื่องมนุษย์ธรรม ในฐานะเป็นคนไทยคนหนึ่ง ที่รัฐบาลต้องช่วยเหลือ ไม่ใช่ไปคิดเลยเถิด เป็นเรื่องที่จะทำให้ความสัมพันธ์ไทยกับกัมพูชา ดีขึ้น หรือเป็นเรื่องการเมือง คิดว่าใครเอา นายศิวรักษ์ กลับมาได้ก่อนจะได้เปรียบทางการเมือง หากฝ่ายค้านทำให้ได้ตัวกลับมาก่อน ก็ต้องแสดงความดีใจกับเขาด้วย
เมื่อถามว่า จะให้เวียดนาม ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ของกัมพูชา กดดัน ฮุนเซน อีกทีได้หรือไม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่าเวียดนาม เกำลังจะเป็นผู้นำอาเซียน เขาคงไม่อยากให้ สมาชิกขัดแย้งกัน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อภาพพจน์ผู้นำอาเซียน อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงคราวจำเป็น เราอาจขอให้ประเทศเวียดนาม เป็นตัวกลาง ช่วยโน้มน้าวให้ ฮุนเซน ปรับท่าที มีอะไรก็พูดเป็นการภายใน ไม่ต้องวิจารผ่านสื่อ ได้ผลเมื่อไรค่อยแถลงร่วมกัน หากทำได้วิธีนี่มีแนวโน้มทำให้สถานการณ์คลี่คลายได้สูง แต่มีอุปสรรค์ติดอยู่ที่ ท่าทีของ ฮุนเซน ดูแล้วเหมือนไม่รับบุญ ไม่พร้อมที่จะปรับความสัมพันธ์
นายสุรพงษ์ กล่าวว่าจุดยืนของไทยอยากจะให้ความสัมพันธ์ ระหว่างไทย-เขมร ย้อนไปก่อนวันที่ 23 ตุลาคม 2552 มีสัญญาณหลายอย่าง บ่งได้ว่าเรายังมีโอกาสปรับความสัมพันธ์กันได้ เช่น การประชุมชายแดนร่วมหรือJBC เดินหน้าไปด้วยดี ความสัมพันธ์ระหว่างนายกฯ กับ ฮุนเซน ถึงแม้ฮุนเซน จะก้าวร้าวแต่ก็ยังคุยรู้เรื่องในบางครั้ง ส่วนที่บอกว่าไทยไม่มีช่องทางอื่น นอกจากต้องง้อเขมร นั้น ไม่จริง เรามีช่องทางหลายทาง แต่ด้วยต้องการใช้ยุทธวิธีทางการทูต ที่ก่อนหน้าเคยใช้ได้ผลมาแล้วเป็นเวลาหลายร้อยปี ไม่เน้นความรุนแรง ทำให้ไทยเฉยๆ ต่อท่าทีของกัมพูชา
นายปณิธาน กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลกัมพูชา แสดงท่าทีไม่เงินกู้ 1.4 พันล้าน ว่า เกิดจากความคลาดเคลื่อนในการสื่อสาร เนื่องจากเอกอัครราชทูตไม่ได้ประจำอยู่ในพื้นที่ ทำไม่กระจ่างในการสื่อสาร อีกอย่างการเมืองภายใน ก็เป็นตัวแปลหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการสื่อสาร ไทยมีจุดยืนชัดเจน เริ่มมาตั้งแต่ วันที่ 23 ตุลาคม ที่ สมเด็จ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ให้สัมภาษณ์ พาดพิงสถาบันและกระบวนการยุติธรรมของไทย ประกอบกับแต่งตังให้ พ.ต.ท.ชินวัตร เป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจ เป็นจุดผกผัน ทำให้ไทยต้องปกป้องดูแลผลประโยชน์ของประเทศ จำต้องถอนตัวจากความร่วมมือบางอย่าง ที่จะเป็นปัญหาในอนาคต เช่น การเจรจาตกลงเรื่องเขตุแดน เมื่อเงื่อนไขเปลี่ยน มีการแต่งตังคนที่รู้เรื่อง ภายในของประเทศเป็นอย่างดี ไปเป็นที่ปรึกษา อาจทำให้ไทยเสียเปรียบ ด้วยเหตุนี้ทำให้ไทยต้องถอนตัว และเป็นเรื่องเดียวที่ไทยถอนตัว ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 ซึ่งในวันนั้นข่าวออกไปว่า มีการทบทวนความสัมพันธ์ต่างๆ ด้วย
ทั้งนี้ หลังจากไทยประกาศทบทวนความสัมพันธ์ รัฐบาลกัมพูชา เข้าใจคลาดเคลื่อน ว่า เจตนารมณ์ของไทย ส่งผลให้โครงการช่วยเหลือทุกอย่างยุติด้วย เพราะเมื่อโครงการสร้างถนนสาย 68 ครบกำหนดเวลาต้องแสดงเจตจำนงค์ขอต่อวงเงิน เมื่อกัมพูชาแสดงเจตนาขอกู้แล้ว แต่ท่าทีของไทยล่าช้า อีกประการทุกครั้งที่รัฐบาลไทย เดินทางไปประเทศกัมพูชา เขาจะถามมาตลอดว่า โครงการเงินกู้มาหรือยั้ง ซึ่งไทยก็ยืนยันว่าได้แน่นอน แต่เมื่อเขาถามหลายครั้ง แล้วยังไม่ได้ ก็เป็นไปได้ที่เขาจะสงสัย ส่วนสาเหตุที่ทำให้ล่าช้า เป็นเพราะสถานการณ์ขณะนี้ รัฐบาลก็ต้องดูปัจจัยหลายๆ อย่าง จะไปให้เงินกู้ใครก็ต้องทบทวน ด้วยเหตุนี้ทำให้กัมพูชานึกว่า เมื่อหมดเวลาที่จะต้องแสดงเจตจำนงขอต่อวงเงินแล้ว งั้นก็ไม่ต้องขอเพราะมันก็ยกเลิกไปแล้ว ทั้งนี้เมื่อเราได้ข่าว ก็มีการประสานงานกัน ซึ่งทางกัมพูชาเองก็ไม่แน่ใจ ว่าไทยจะให้กู้เงินหรือไม่ ทำให้ ฮุนเซน ต้องขอให้นายกรัฐมนตรีไทย โทรศัพท์ยืนยัน ด้วยตนเอง
“เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ถ้าเป็นโครงการที่ดี เป็นผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้ เราแสดงเจตจำนงค์ยืนยันในข้อเท็จจริง ในประเด็นที่กัมพูชาเข้าใจผิด ส่วนกัมพูชาจะคิดอย่างไรก็เป็นอีกเรื่อง จะกู้หรือไม่ก็ตัดสินใจเอง เราทำตามพันธกรณีที่มี ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ดีเท่านั้น รัฐบาลยังหวังว่า ไทยกับกัมพูชา ยังสามารถทำงานร่วมกันได้ ในพันธกรณีที่สามารถทำงานร่วมกันได้ อย่างในวันที่ 1 ธ.ค. 2552คณะรัฐมนตรีก็มีมติยืด โครงตามพระราชดำริของพระเทพฯ ในการช่วยเหลือ สร้างโรงเรียนที่ทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2544ให้กับเด็กกัมพูชา กว่าพันคน เรื่องนี้คณะรัฐมนตรีก็อนุมัติ เพราะเป็นโครงการต่อเนื่องที่ดี ช่วยเหลือเด็ก สร้างความสัมพันธ์ที่ดี”นายปณิธาน กล่าว
เมื่อถามว่ากัมพูชา จะใช้เงื่อนไข นายศิวรักษ์ เป็นการต่อลองหรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่ากรณีนี้เป็นเรื่องซับซ้อน รัฐบาลไม่ควรมองปัญหาของ นายศิวรักษ์ เป็นปัญหาการเมือง เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องมนุษย์ธรรม หน้าที่ของรัฐบาล คือ ช่วยเหลือ คุ้มครองคนไทยเหมือนที่ปฎิบัติกับทุกคน ให้ได้รับความเป็นธรรมเหมือนนักโทษทั่วไป อย่าให้มีสองมาตรฐานเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากดูทั่วไป คนที่รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ต่างเห็นตรงกัน ว่า ข้อมูลการบินเป็นข้อมูลเปิด ในเชิงสากล แต่ก็ไม่เป็นไรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของกระบวนยุติธรรมของกัมพูชา แต่รัฐบาลก็ไม่ได้นิ่งดูดาย เข้าดูแล หาทนาย ประสานงาน ติดต่อฝ่ายกฎหมายต่างๆ เพื่อให้ขั้นตอนกฎหมายของกัมพูชาเดินตามไปตามกระบวนยุติธรรม มันมีขั้นตอนมีกระบวนการอยู่ แต่หากใครจะช่วยเราก็ยินดี
“ซับซ้อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ พรรคเพื่อไทยพยายามใช้การทูตส่วนตัว สร้างภาพฮีโร่ ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ หรือ พล.อ.ชวลิต ที่จริงต้องร่วมมือกันเอา นายศิวรักษ์ ออกมาจากปัญหา โดยยึดรัฐบาลเป็นแกน เพราะช่องทางทางการทูต กฎหมายระหว่างประเทศมีอยู่ ส่วนช่องทางที่ไม่เป็นทางการ ของพรรคฝ่ายค้าน อาจแยกกันเดินเพื่อความคล่องตัว แต่วัตถุประสงค์สุดท้ายคือให้ได้ตัวคนไทยกลับมา”นายปณิธาน กล่าว
เมื่อถามว่าเงื่อนไขที่จะทำให้รัฐบาลไทย -กัมพูชา กลับมาอยู่ในความสัมพันธ์ที่ดีเหมือนเดิม ต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขอะไรบ้าง นายปณิธาน กล่าวว่า เราไม่ได้เป็นคนตั้งเงื่อนไข การเรียกทูตกลับ เป็นปฎิกริยาตอบโต้ ว่าเราไม่เห็นด้วยที่ ฮุนเซน พูดระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ที่หัวหิน ฉะนั้น เมื่อเราไม่ได้ตั้งเงื่อนไข ความสัมพันธ์จะคลี่คลายได้ ต้องทำให้เหตุการณ์ที่ฝ่ายไทยไม่เห็นด้วย หมดไป ตอนนี้ท่าทีทางฝ่ายกัมพูชายังไม่พร้อม เมื่อเขาไม่พร้อมเราจะไปดันทุรังปรับความสัมพันธ์ทำไม สู้รักษาสถานการณ์แสดงความพร้อมที่จะปรับความสัมพันธ์ ให้กลับสู่ภาวะปกติจะดีกว่า