xs
xsm
sm
md
lg

"นิติธร" จวก พนง.สอบสวนตั้งข้อหาอิงกระแส - หาก พธม.เป็นผู้ก่อการร้าย คงมีผู้ร้ายเต็มประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


"นิติธร" จี้ พนง.สอบสวนทวนข้อกล่าวหา ชี้หาก พธม.เป็นผู้ก่อการร้าย คงมีผู้ร้ายเต็มประเทศ แนะตั้งข้อหาอย่าดูแต่ตัวบทต้องดูสภาพแวดล้อมประกอบด้วย ด้าน "สุรพงษ์" เผยไม่มี กม.ใดระบุการกระทำแบบพันธมิตรฯเป็นก่อการร้าย ย้ำประชาธิปัตย์เท่านั้นที่ปลด "กษิต" ได้



 คลิกที่นี่ เพื่อฟัง รายการ คนในข่าว 
รายการ “คนในข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน ช่วงเวลา 20.30-21.30 น. วันที่ 16 กรกฎาคม โดยนายนิติธร ล้ำเหลือ กรรมการสิทธิมนุษย์ชนสภาทนายความ และนายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และเอกอัครราชทูตหลายประเทศ มาร่วมพูดคุยถึงแนวทางการต่อสู้กับการยัดเยียดข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวนในฐานก่อการร้าย

นายนิติธร กล่าวว่าวานนี้ได้ไปยื่นหนังสือโต้แย้งคัดค้านการตั้งข้อหา ก่อการ้าย ว่า ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งในหมายเรียกได้ ถึงแม้พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจในการออกหมายเรียก แต่การกระทำดังกล่าวต้องทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจริงๆ ไม่ใช่ไปอ้างอิงตามกระแส แล้วเอาความน่าจะเป็นมาตั้งข้อหาใส่ร้าย เพราะการอ้างอิงถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนี้เราจึงโต้แย้ง ให้พนักงานสอบสวนกลับไปคิดว่า การตั้งข้อกล่าวหาควรคำนึงถึงอะไรบ้าง พร้อมกับขอให้ทบทวนการตั้งข้อกล่าวหาด้วย เพราะที่ผ่านมาพนักงานสอบสวนได้สอบพยานเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งข้อหานี้ไม่สามารถที่จะไปคาดความน่าจะเป็นของบุคคลแล้วมาตั้งข้อหาก่อการร้ายได้ เพราะคดีนี้มันเป็นคดีพิเศษ จะเข้าก่อการร้ายต้องเป็นการกระทำที่มีลักษณะรุนแรงปรากฏอย่างชัดเจน มีผลกระทบอย่างชัดเจน มุ่งหมายทำลายบุคคลทำลายชาติชัดเจน และข้อเท็จจริงในขณะที่พันธมิตรฯชุมนุมไม่ปรากฏว่าเข้าข่ายดังกล่าวเลย อย่างไรก็ดีเราได้คุย ทำความเข้าใจ กับพนักงานสอบสวนถึงการปฏิบัติหน้าที่ ยังไม่อยากฟ้องศาล เพราะไม่ต้องการให้คดีไปรกศาล

“คำว่าก่อการร้ายส่งผลกระทบอย่างมาก เพราะคนที่ถูกตั้งข้อเสียหาย แต่ที่เสียหายยิ่งกว่าคือประเทศ กล่าวคือถ้าคิดว่าการกระทำของพันธมิตรฯเป็นการก่อการร้ายมันไม่ใช่แค่ 20-30 คน ซึ่งในแต่ละครั้งการเคลื่อนขบวนมีคนเป็นหมื่นเป็นแสน ยังไม่ร่วมถึงคนที่มีอุดมการณ์เดียวกันแต่ไม่ได้ออกมาเคลื่อนไหวอีกเป็นล้านๆ คน นั่นหมายความว่าคนเหล่านี้เป็นผู้ก่อการร้ายหรือป่าว แล้วไหนจะมีกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับพันธมิตรฯ กลุ่มเสื้อแดง อย่างนี้จะเป็นผู้ก่อการร้ายหรือไม่ ถ้าเป็นก่อการร้ายก็เท่ากับว่าในขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ก่อการร้ายเป็นล้านๆ คน นี่คือความเสียหายในสายตาประเทศและเป็นความเสียหายที่แท้จริง” นายนิติธร กล่าว

นายนิติธร กล่าวต่อถึงกรณีที่พนักงานสอบสวนยัดเยียดข้อหาก่อการร้าย แล้วบอกว่า เป็นมติในที่ประชุมของพนักงานสอบสวนจำนวน 105 ท่าน โดยเสียงส่วนใหญ่เห็นว่าการชุมนุมของพันธมิตรฯเข้าข่ายองค์ประกอบความผิด ก็เลยจำเป็นต้องออกหมายเรียกผู้ต้องหาในข้อหาก่อการร้าย ตรงนี้ยอมรับอยู่ว่าข้อหานี้เป็นข้อหาใหม่ ไม่เคยมีแนวฎีกาวินิจฉัยไว้ ที่สำคัญกฎหมายมาตรานี้ข้อนข้างแปลกไม่มีคำจำกัดความ อย่างตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 135(1) ใช้กำลังประทุษร้าย (2)ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบขนส่ง (3)ทำความเสียหายต่อรัฐ ตรงนี้โดยปกติหากกระทำการดังกล่าวจะเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาอยู่แล้ว แต่จะเป็นความผิดก่อการร้ายได้มันมีความพิเศษอยู่ คือเพิ่มคำว่ามุ่งหมายเพื่อขู่เข็ญรัฐบาลไทย หรือรัฐบาลต่างประเทศด้วย ซึ่งต้องทำครบทั้งหมดถึงจะเข้าข้อหาความผิดฐานก่อการร้าย ในขณะเดียวกันถ้าการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีความหมายที่คล้ายคลึง เช่นการกระทำในการเดินขบวนประท้วงตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือ ก็จะกลายเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นการขู่เข็ญบังคับรัฐบาล

“พนักงานสอบสวนต้องคิดวิเคราะห์หลักเกณฑ์ในการใช้ข้อหาก่อการร้าย ซึ่งนอกจากจะดูข้อกฎหมายแล้วต้องดูสภาพแวดล้อมประกอบด้วย กล่าวคือ ตอนที่พันธมิตรฯชุมนุมแม้จะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ ร้านค้า ปั๊มน้ำมัน ธนาคารก็ยังเปิดปกติอยู่ มีคนเดินพลุกพล่านเป็นปกติ ถือว่าการชุมนุมของพันธมิตรฯเป็นการแสดงออกอย่างเปิดเผย อย่างนี้ไม่น่าจะถือว่าเป็นการก่อการร้าย กลับกันถ้าบรรยากาศเป็นไปแบบมีกลุ่มบุคคลเข้าอยู่ในห้องแล้วไม่ให้สื่อเข้าไปเกี่ยวข้อง มีกำลังล้อมลอบอยู่ห้ามใครเข้าออกไม่สามารถสื่อสารได้ ส่งแต่ข้อความออกมา อย่างนี้ถึงจะเข้าข่ายก่อการร้าย” นายนิติธร กล่าว

นายนิติธร กล่าวว่ามีการเปิดใจถาม พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ผู้ช่วย ผบ.ตร.หัวหน้าคณะพนักงานสอบสวนคดีก่อการร้าย ว่า ถามใจกัน จริงๆ การกระทำของพันธมิตรฯมันเป็นการก่อการร้ายหรือ ซึ่งพล.ต.ท.วุฒิ ก็ตอบว่ามันเป็นความเห็นของที่ประชุม ตรงนี้หากวิเคราะห์กันบนโต๊ะประชุม บนเอกสาร การสื่อสารที่ผ่านมาถือว่าอยู่ในระดับที่มีคุณธรรมพอสมควร ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยกับการตั้งข้อหาก่อการร้าย แต่ก็ยอมรับได้ถ้าเป็นองค์ประชุม ไม่ว่ากัน แต่สิ่งหนึ่งที่ยังค้างคาใจคือ ไม่รู้ว่าข้อมูลที่ท่านพูดเป็นจริงหรือไม่ อย่างไรก็ดีถือว่าเป็นโอกาสอันดี อย่างน้อยพนักงานสอบสวนก็กล้าที่จะออกมาให้ข้อมูลที่ชัดเจน รับฟังเสียงติติงของประชาชน

นายนิติธร กล่าวว่า กรณีตังข้อหาก่อการร้ายให้ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เราได้ยื่นข้อเรียกร้อง 1.ขอให้พนักงานสอบสวนทบทวนการตังข้อกล่าวหา 2.ตั้งคณะกรรมการขึ้นตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่การใช้ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนทั้งคณะ และ 3.กับขอให้ยุติการสืบสวนสอบสวนเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะได้คำตอบจากข้อที่ 1และ2 ส่วนคำว่าก่อการไม่มีอุปสรรค์ต่อการทำงานของ นายกษิต หากรัฐบาลยังรับรองอยู่ เพราะต่างชาติเขาเคารพกระบวนกฎหมายภายใน ฉะนั้นขอหาเหล่านี้เขามองเป็นเรื่องตลก แต่ที่ไม่ตลกคือมาตรฐานทางกฎหมายของไทยอยู่ตรงไหน คำจำกัดความก่อการร้ายคืออะไร ทำไม่ประเทศไทยมีผู้ก่อการร้ายเยอะมาก นี่คือความเสียหายที่ต้องคำนึงถึง เพราะถ้าขืนเป็นอย่างนี้อีกหน่อยใครเดินขบวนประท้วงก็เป็นก่อการร้ายหมด

“การตั้งข้อกล่าวหาก่อการร้ายย่อมกระทบกับสิทธ์เสรีภาพของประชาชน ฉะนั้นพนักงานสอบสวนจะต้องประชุมในเรื่องเจตนารมณ์ของกฏหมายว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ต้องการบังคับให้เป็นแนวทางใด แล้วเอาข้อยกเว้นกฎหมายมาดูให้กระจ่าง ที่สำคัญต้องย้อนไปดูต้นตอการบัญญัติมาตรานี้แนวคิดเป็นอย่างไร ก่อนที่จะมีมาตรานี้ก็เป็นที่ถกเถียงกันมาก เพราะจะทำให้รัฐมีอำนาจสูงขึ้นโดยที่ประชาชนคาดไม่ถึง เท่ากับว่ารัฐจะโยนข้อหาก่อการร้ายไปให้ใครก็ได้” นายนิติธร กล่าว

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ดูมาตราที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย ไม่มีมาตราไหนที่การกระทำของพันธมิตรฯเข้าข่ายก่อการร้ายเลย คิดว่าเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการตีความของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะตอนท้ายเดินขบวนตามรัฐธรรมนูญไม่เป็นความผิดฐานก่อการ และพันธมิตรฯชุมนุมเป็นการใช้สิทธิ์ตามมาตรา 130/1 วรรคสุดท้าย ระบุไว้ว่า การกระทำในการเดินขบวนประท้วงตามกฏหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือ ไม่ถือว่าเป็นการก่อการร้าย เพราะถ้าดูตามข้อเท็จจริงการก่อการร้ายมันต้องใช้ความรุนแรง ใช้อาวุธ ข่มขู่ แต่พันธมิตรฯ ต่อสู้ในระบอบประชาธิปไตย แถมเสียเปรียบอย่างมากกับการต่อสู้อำนาจรัฐ ซึ่งที่จริงผู้ที่เสียเปรียบสมควรจะใช้อาวุธเข้าต่อสู้ แต่พันธมิตรฯก็ไม่ได้ใช้ความรุนแรงเลย เพราะว่า เป้าประสงค์การชุมนุมไม่ใช่ก่อการร้าย ไม่ได้ต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง แต่ต้องการแก้ไขภายในระบบที่เห็นว่าไม่มีความยุติธรรม เสียหายต่อสังคม มีความเสียหายต่อส่วนรวม

“การตั้งข้อกล่าวหาก่อการร้าย หากเราไม่เคารพกฎหมายเราจะใช้วิธีอื่นไม่ใช่นั่งชุมนุม แต่เราก็เลือกใช้ช่องทางที่กฎหมายกำหนดให้ทำได้ เลือกที่จะก็หยิบกฎหมายขึ้นมาดูว่าจะต่อสู้อย่างไร ในขณะที่จะตอบโต้ จะตอบโต้อย่างไร มีการกำหนดเป็นขั้นตอน ซึ่งในที่สุดแล้วเราเห็นว่ายังไม่ฟ้องศาล ควรสื่อสารกับพนักงานสอบสวนให้ชัดเจนว่าทำไมถึงทำแบบนี้ บนพื้นฐานอะไร เพื่อไม่ให้คดีขึ้นสู่ศาลโดยไม่จำเป็น เพราะแต่ละคนความเห็นทางกฎหมายมันอาจจะแตกต่างกันได้”นายสุรพงษ์ กล่าว

นายสุรพงษ์ กล่าวการต่อสู้ของพันธมิตรฯไม่เป็นการก่อการร้าย เพราะถ้าเป็นผู้ก่อการร้ายจะไม่ต่อสู้แบบเปิดเผย ไม่ใช้แนวทางสันติวิธี และจะต่อสู่ภายในระบบ ซึ่งการต่อสู้ของพันธมิตรฯเป็นการต่อสู้นอกระบบตามรัฐธรรมนูญ เพราะสภาไม่สามารช่วยเหลืออะไรได้ ดังนั้นการออกหมายเรียกของพนักงานสอบสวนในข้อหาก่อการร้ายจึงเป็นเรื่องของการเมืองชัดๆ เป็นการตีความของเจ้าหน้าที่ในด้านอัตถะวิสัย อย่างไรก็ดีคำว่าก่อการร้ายมันก็มีมาตรฐานอยู่ คือต้อง ใช้อาวุธประหาร ไม่เลือกเป้า ต่อสู้นอกระบบ ยื่นคำขาดความต้องการ อย่างนี้ถึงจะเข้าข่ายการก่อการร้าย อย่างไรก็ดีปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ที่มีการฆ่า มีการวางระเบิด รัฐบาลยังเรียกว่าผู้ก่อความไม่สงบ แต่พันธมิตรฯไม่เคยใช้อาวุธเข่นฆ่าใคร แล้วจะมาเรียกผู้ก่อการร้ายได้อย่างไร

นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่าการที่สื่อบางสื่อโจมตี ว่านายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ก่อการร้าย เรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในความสนใจของชาวต่างชาติเลย แต่สิ่งที่เขาจะมอง เขามองว่ารัฐบาลนี้ยังให้ นายกษิต เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอยู่หรือไม่ นายกฯให้สัมภาษณ์อย่างไร ทั้งนี้หากการให้สัมภาษณ์บุคคลสำคัญ ยังสะท้อนให้เห็นว่าให้ความไว้วางใจนายกษิต อยู่ นายกษิต จะพ้นจากตำแหน่งหรือไม่ ใครก็ไม่มีสิทธิเอาออกจากตำแหน่งได้ นอกจากพรรคประชาธิปัตย์ และเมื่อใดก็ตามที่นายกฯให้สัมภาษณ์เชิงกำกวม นั่นเป็นการส่งสัญญาณให้นายกษิต ต้องพิจารณาตัวเอง พอถึงตรงนี้ต่างชาติเขาจะตีความการให้สัมภาษณ์ของนายกฯ เองว่ายังให้ความไว้วางใจหรือตัดความไว้วางใจแล้ว แต่ขณะนี้ต่างประเทศก็ยังให้เกียรติ นายกษิต เพราะการเจรจาต่างประเทศก็ยังเจรจากับนายกษิต อยู่ เพราะ นายกษิต ยังเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยที่พันธมิตรฯชุมนุม หวั่นไม่มีใครมาลงทุน ตรงนี้ตนขอย้ำว่าไม่มีชาติไหนที่เป็นห่วงประชาธิปไตยไทย ตราบใดที่เขาเห็นว่าอำนาจรัฐยังอยู่ในรัฐบาลนี้ จะบกพร่องมากน้อยแค่ไหน เขาไม่สนใจหากเขายังได้ประโยชน์จากประเทศไทยอยู่ จะเห็นได้ว่าช่วงแรกที่มีการรัฐประหารใหม่ๆ เขาก็บอกว่าประเทศไทยไม่เป็นประชาธิปไตย เพราะทักษิณ ถูกโค่น สำหรับประเทศกำลังพัฒนาเขาถือคำนิยามว่าประชาธิปไตยคือต้องมาจากการเลือกตั้งอย่างเดียว เพราะ ทักษิณ สามารถเป็นร่างทรงให้กับทุนนิยมได้อย่างดี อีกอย่างทำไมกรณี ทักษิณ ที่บอกถูกรัฐประหาร แล้วไปหาผู้นำฟิจิ ทั้งที่ผู้นำฟิจิก็เพิ่งทำรัฐประหารมาหลังประเทศไทยไม่กี่เดือน ดังนั้นจะเห็นว่าเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทั้งนั้น
นายนิติธร ล้ำเหลือ
นายสุรพงษ์ ชัยนาม
กำลังโหลดความคิดเห็น