คดีความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร คดีความผิดฐานบุกรุก คือคดีความที่เจ้าหน้าที่ตำรวจออกหมายเรียก แกนนำ ผู้ปราศรัย พิธีกร และผู้ปฏิบัติงานของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พันธมิตรฯ) ที่ได้ไปชุมนุมที่สนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิรวม 36 คน ส่วนที่สนามบินสุวรรณภูมินั้นได้เพิ่มอีกหนึ่งข้อหาที่สำคัญคือ “คดีความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย”
ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วการปิดสนามบินครั้งนั้นได้กระทำโดยการประกาศจาก นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ในฐานะผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “ก่อน” ที่ผู้ชุมนุมของพันธมิตรฯจะเคลื่อนตัวไปที่หน้าอาคารผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิเสียอีก
ผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ไม่เคยเข้าไปในรันเวย์ และไม่มีใครบุกรุกเข้าไปในหอบังคับการบิน จึงย่อมไม่มีเหตุที่จะต้องปิดสนามบินแต่ประการใด ส่วนภายในตัวอาคารผู้โดยสารก็เป็นพื้นที่ที่เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมงอยู่แล้ว จึงไม่ได้มีข้อห้ามประชาชนใช้สอยแต่ประการใด
จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า เคยมีกรณีการปิดหน้าอาคารผู้โดยสารก่อนหน้านี้โดยที่สนามบินสุวรรณภูมิยังคงเปิดใช้งานตามปกติต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มคนขับรถแท็กซี่ที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิ ประมาณ 4-5 ร้อยคัน ได้รวมตัวปิดถนนทุกด้านที่จะเข้าไปในอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไม่ว่าจะเป็นขาเข้าด้านอ่อนนุช ลาดกระบัง ด้านถนนกิ่งแก้ว และด้านที่มาจากบางนา-ตราด ตลอดจนไปถึงด้านบนยกระดับที่มุ่งหน้าขาเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้การจราจรที่จะเข้าสนามบินสุวรรณภูมิเป็นอัมพาต เพื่อประท้วงผู้บริหารท่าอากาศยานให้แก้ไขรถที่ออกต่างจังหวัดไม่ให้กดมิเตอร์เพื่อคิดเป็นแบบเหมาจ่าย และจัดการกับพวกแท็กซี่เถื่อนที่เอารัดเอาเปรียบแท็กซี่ในสนามบิน
ผลจากการปิดหน้าอาคารโดยสาร ไม่ได้เป็นผลทำให้ต้องประกาศปิดสนามบินสุวรรณภูมิแต่ประการใด อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ระดมกำลังมาจัดการจราจรให้ผู้ใช้เส้นทางเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นแทน ส่วนผู้โดยสารที่จำเป็นต้องขึ้นเครื่องบิน ต้องลงจากรถและเดินเท้าเข้าไปเช็กอินที่เคาน์เตอร์สายการบินภายในอาคารผู้โดยสาร ระยะทางเกือบ 1 กิโลเมตร
เจ้าหน้าที่สามารถบริหารจัดการได้โดยไม่ต้องปิดสนามบิน กลุ่มแท็กซี่ในวันนั้นไม่มีใครถูกแจ้งความหรือได้รับหมายเรียกว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” !
ทั้งนี้เพราะประมวลกฎหมายอาญามาตรา 135/1 วรรคสุดท้าย บัญญัติเอาไว้ว่า:
“การกระทำในการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือ หรือให้ได้รับความเป็นธรรมอันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นการกระทำความผิดฐานก่อการร้าย”
นี่คือตัวอย่างของคำว่า 2 มาตรฐานที่ชัดเจนที่สุดในเรื่องการชุมนุมที่หน้าอาคารผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิ
นอกจากนี้ยังมีผู้ส่งฟอร์เวิร์ดไปตามอีเมลต่างๆ เพื่อยกตัวอย่างให้เห็นถึงความเป็น 2 มาตรฐานที่เกิดขึ้นในคดีนี้อย่างพิลึกพิลั่น
นายกษิต ภิรมย์ ไปปราศรัยหลังวันเริ่มชุมนุมที่สนามบินเพียง 2 ครั้ง เป็นผู้ก่อการร้าย
นายพิเชษฐ พัฒนโชติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ไปปราศรัยเกือบทุกวัน ไม่เป็นผู้ก่อการร้าย
นายประพันธ์ คูณมี ที่ปรึกษากระทรวงวิทยาศาสตร์ สนิทกับคุณหญิงกัลยา ไปปราศรัย 2-3 ครั้ง เป็นผู้ก่อการร้าย
นายชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย คนสนิทนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ปราศรัยเกือบทุกวัน ไม่เป็นผู้ก่อการร้าย
นายสำราญ รอดเพชร คนสนิทนายสนธิ ลิ้มทองกุล ปราศรัยเกือบทุกวัน เป็นผู้ก่อการร้าย
หางแดงบุกโรงแรมพัทยา ทำลายโรงแรม ทำร้ายพนักงานโรงแรม จนผู้นำอาเซียนเผ่นหนีกระเจิง ไม่เป็นผู้ก่อการร้าย
หางแดงปิดการจราจรกรุงเทพฯ เผารถเมล์ของทางราชการ 23 คัน ยิงปืนใส่มัสยิด ขว้างระเบิดใส่บ้านเรือนประชาชน ใช้ปืนยิงประชาชน ใช้รถแก๊สขู่เผาเมือง และเจ้าหน้าที่ ไม่เป็นผู้ก่อการร้าย
สำหรับเหตุการณ์ข้างต้นที่กล่าวมา มันสอดคล้องกับสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พูดเอาไว้เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2551 หรือไม่? ที่ว่า:
“ผมจะขจัดการเมืองที่ล้มเหลวออกไปและจะนำความสมัครสมานสามัคคีกลับคืนมา โดยอาศัยความยุติธรรมเป็นกระบวนการนำหน้า รัฐบาลภายใต้การนำของผมจะยึดหลักนิติธรรม นิติรัฐ จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค”
สำหรับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีได้เรียกสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นว่าเป็น “กระบวนการยุติธรรมที่ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง”
แต่สำหรับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า...
กระบวนการ “อยุติธรรม” ที่ไม่มีใครกำกับดูแลและรับผิดชอบ!
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตอนที่เป็นฝ่ายค้านได้เคยไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 และนายอภิสิทธิ์ก็ยังไปงานศพของเหล่าวีรชนที่เสียชีวิตจากความโหดเหี้ยมและเลวทรามของเจ้าหน้าที่ตำรวจในปีที่แล้วอีกด้วย
เวลาผ่านไป 9 เดือน ตำรวจที่เกี่ยวข้องในคดี 7 ตุลาคม 2551 ยังคงได้ดิบได้ดี แม้แต่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ก็ยังคงกลับทำงานเป็น ผบ.ตร.ต่อไป มีอำนาจโยกย้ายตำรวจและสั่งการให้ความเห็นในคดีพันธมิตรฯ โดยไม่สนใจความรู้สึกของประชาชนที่บาดเจ็บ พิการ และญาติของผู้เสียชีวิต ว่าจะรู้สึกอย่างไร!?
เตือนด้วยความปรารถนาดี...เราไม่อยากเห็นประชาชนเข้าใจผิดถึงขั้นคิดมากเกินเลยไปว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นคนเอาแต่ได้ ตอนเป็นฝ่ายค้านอยากได้คะแนนนิยมจากพันธมิตรฯ ก็ไปสร้างภาพเยี่ยมคนบาดเจ็บ และไปงานศพผู้ที่เสียชีวิตจากการชุมนุม แต่พอเป็นมาเป็นรัฐบาล ประชาชนเรียกร้องหาความยุติธรรมจากนายกรัฐมนตรีให้แขวนหรือโยกย้ายตำรวจที่ทำร้ายและเข่นฆ่าประชาชน กลับมาบอกว่า “เป็นกลาง” และปล่อยให้ตำรวจเหล่านั้นเสวยสุขในตำแหน่งหน้าที่ พร้อมๆ กับกลั่นแกล้งและย่ำยีพันธมิตรฯ กันต่อไป
ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเรียกสิ่งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ว่า “กระบวนการยุติธรรม” มีคำถามอยู่ว่าคดี “ก่อน” การชุมนุมหน้าอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิเวลาผ่านไปกว่า 9 เดือนแล้วนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ยังคงดูแลเอาใจใส่คดีการทำร้ายและเข่นฆ่าพันธมิตรฯอยู่หรือไม่? อย่างไร?
โดยเฉพาะกรณีความรุนแรงที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยประณามเอาไว้ในตอนที่เป็นฝ่ายค้านเมื่อปีที่แล้ว!?
พันธมิตรฯ ถูกกลุ่มเสื้อแดงบุกทำร้ายร่างกายและทรัพย์สิน 3 ครั้ง ถูกตำรวจบุกทำร้าย 1 ครั้ง ถูกตำรวจใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาหลายครั้ง โดนถูกยิงด้วยอาวุธสงครามประเภทระเบิด M-79 10 ครั้ง มีคนเสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บจำนวนมาก ปัจจุบันเรื่องนี้เงียบหายเหมือนไม่มีเรื่องนี้เกิดขึ้น!
มิพักต้องพูดถึงคดีเข่นฆ่าประชาชนที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่ตำรวจมีทั้งให้ลาภยศกับลูกหลานคนใน ป.ป.ช. และมีทั้งการข่มขู่คุกคามคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยที่รัฐบาลไม่ส่งกำลังคนไปช่วยดูแลรักษาความปลอดภัย รัฐบาลได้ทำอะไรลงไปบ้าง?
แล้วอะไรคือหลักนิติรัฐ และหลักนิติธรรม!?
ส่วนคดีการออกหมายเรียกพันธมิตรฯ และนายกษิต เป็นเรื่องต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่แล้ว รัฐบาลชุดนี้ไม่รู้เรื่องด้วยจริงหรือไม่ ก็ขอให้ทบทวนดูคำพูดเหล่านี้ให้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น!?
25 มกราคม 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ความตอนหนึ่งว่า:
“ความคืบหน้าการดำเนินคดีกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ปิดสนามบินว่า ขณะนี้มีการดำเนินคดีอยู่ เพราะบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้แจ้งความไว้แล้ว และได้เร่งกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าให้ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งได้รับรายงานว่ากรณีการปิดท่าอากาศยานดอนเมืองสอบสวนคืบหน้าไปแล้วร้อยละ 80 ส่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสอบสวนคืบหน้าไปแล้วร้อยละ 30”
20 กุมภาพันธ์ 2552 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธานในการประชุมสรุปคดีที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการหลังเหตุการณ์การชุมนุมทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยในคดีพันธมิตรฯ ชุมนุมที่หน้าอาคารผู้โดยสารสนามบินได้มีการสรุปในที่ประชุมว่า:
“พนักงานสอบสวนได้ติดตามเร่งรัดคดีทุกวันศุกร์ ขณะนี้ได้สอบพยานบุคคลไปแล้ว 150 ปาก ถือได้ว่าคืบหน้าไปแล้วกว่า 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียงพยานปากสำคัญคืออธิบดีกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ หลังจากนั้นจะได้สรุปประเด็นข้อกล่าวหารวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อขออนุมัติหมายจับ คาดว่า ขั้นตอนดังกล่าวจะเสร็จสิ้นหลังการประชุมอาเซียนซัมมิต สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีนี้จะถูกดำเนินคดีในข้อหา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประเภทต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2521 ส่วนข้อหาก่อการร้ายยังไม่สามารถให้ความเห็นได้เพราะต้องรอสอบปากคำอธิบดีกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นถึงนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็เป็นถึงประธานในการประชุมสรุปคดีมาตั้งแต่ต้น ย่อมรับรู้ความคืบหน้าของคดีมาเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
แต่เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หลังจากที่นายกษิต ภิรมย์ ได้ระเบิดคำพูดท้ารบกับทุกคนที่จะมารุมกินโต๊ะ ก็ได้ทำให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เปลี่ยนท่าทีเป็นครั้งแรกจากไม่แทรกแซงกลายมาเป็นแสดงความเห็นในเรื่องคดีผู้ก่อการร้ายของนายกษิต ภิรมย์ ความตอนหนึ่งว่า:
“ผมเห็นตั้งแต่ต้นแล้วว่า การตั้งข้อหาการก่อการร้ายมันรุนแรงเกินเหตุ เพราะเรารู้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นหลายอย่างมันไม่ใช่การก่อการร้าย ถ้าผิดในกฎหมายอื่นก็ว่าไปสิ ไม่ได้หมายความว่าถ้าไม่ผิดก่อการร้าย ไม่ผิดเลยก็ไม่ใช่ ต้องให้ผู้ถูกกล่าวหาต่อสู้คดี”
รู้ทั้งรู้ว่านายกษิต ภิรมย์ ไม่เป็นผู้ก่อการร้ายตั้งแต่ต้น แต่นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีกลับปล่อยปละละเลยให้ตำรวจแจ้งข้อหาเกินกว่าเหตุ โดยไม่ลงโทษ หรือตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง
จะไม่ให้เรียกว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่กำกับดูแลรับผิดชอบ และจะให้เรียกว่าอะไร !?
แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ คงจะพอใจ เพราะการไม่กำกับดูแลความ “อยุติธรรม” ของรัฐบาลดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ประสบความสำเร็จในการทำให้สังคมเชื่อแล้วว่า “ประชาธิปัตย์และพันธมิตรฯ ไม่ใช่พวกเดียวกัน”!
ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วการปิดสนามบินครั้งนั้นได้กระทำโดยการประกาศจาก นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ในฐานะผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “ก่อน” ที่ผู้ชุมนุมของพันธมิตรฯจะเคลื่อนตัวไปที่หน้าอาคารผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิเสียอีก
ผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ ไม่เคยเข้าไปในรันเวย์ และไม่มีใครบุกรุกเข้าไปในหอบังคับการบิน จึงย่อมไม่มีเหตุที่จะต้องปิดสนามบินแต่ประการใด ส่วนภายในตัวอาคารผู้โดยสารก็เป็นพื้นที่ที่เปิดใช้งานตลอด 24 ชั่วโมงอยู่แล้ว จึงไม่ได้มีข้อห้ามประชาชนใช้สอยแต่ประการใด
จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า เคยมีกรณีการปิดหน้าอาคารผู้โดยสารก่อนหน้านี้โดยที่สนามบินสุวรรณภูมิยังคงเปิดใช้งานตามปกติต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มคนขับรถแท็กซี่ที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารในสนามบินสุวรรณภูมิ ประมาณ 4-5 ร้อยคัน ได้รวมตัวปิดถนนทุกด้านที่จะเข้าไปในอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไม่ว่าจะเป็นขาเข้าด้านอ่อนนุช ลาดกระบัง ด้านถนนกิ่งแก้ว และด้านที่มาจากบางนา-ตราด ตลอดจนไปถึงด้านบนยกระดับที่มุ่งหน้าขาเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ ทำให้การจราจรที่จะเข้าสนามบินสุวรรณภูมิเป็นอัมพาต เพื่อประท้วงผู้บริหารท่าอากาศยานให้แก้ไขรถที่ออกต่างจังหวัดไม่ให้กดมิเตอร์เพื่อคิดเป็นแบบเหมาจ่าย และจัดการกับพวกแท็กซี่เถื่อนที่เอารัดเอาเปรียบแท็กซี่ในสนามบิน
ผลจากการปิดหน้าอาคารโดยสาร ไม่ได้เป็นผลทำให้ต้องประกาศปิดสนามบินสุวรรณภูมิแต่ประการใด อีกทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ระดมกำลังมาจัดการจราจรให้ผู้ใช้เส้นทางเลี่ยงไปใช้เส้นทางอื่นแทน ส่วนผู้โดยสารที่จำเป็นต้องขึ้นเครื่องบิน ต้องลงจากรถและเดินเท้าเข้าไปเช็กอินที่เคาน์เตอร์สายการบินภายในอาคารผู้โดยสาร ระยะทางเกือบ 1 กิโลเมตร
เจ้าหน้าที่สามารถบริหารจัดการได้โดยไม่ต้องปิดสนามบิน กลุ่มแท็กซี่ในวันนั้นไม่มีใครถูกแจ้งความหรือได้รับหมายเรียกว่าเป็น “ผู้ก่อการร้าย” !
ทั้งนี้เพราะประมวลกฎหมายอาญามาตรา 135/1 วรรคสุดท้าย บัญญัติเอาไว้ว่า:
“การกระทำในการเดินขบวน ชุมนุม ประท้วง โต้แย้ง หรือเคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องให้รัฐช่วยเหลือ หรือให้ได้รับความเป็นธรรมอันเป็นการใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ไม่เป็นการกระทำความผิดฐานก่อการร้าย”
นี่คือตัวอย่างของคำว่า 2 มาตรฐานที่ชัดเจนที่สุดในเรื่องการชุมนุมที่หน้าอาคารผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิ
นอกจากนี้ยังมีผู้ส่งฟอร์เวิร์ดไปตามอีเมลต่างๆ เพื่อยกตัวอย่างให้เห็นถึงความเป็น 2 มาตรฐานที่เกิดขึ้นในคดีนี้อย่างพิลึกพิลั่น
นายกษิต ภิรมย์ ไปปราศรัยหลังวันเริ่มชุมนุมที่สนามบินเพียง 2 ครั้ง เป็นผู้ก่อการร้าย
นายพิเชษฐ พัฒนโชติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ไปปราศรัยเกือบทุกวัน ไม่เป็นผู้ก่อการร้าย
นายประพันธ์ คูณมี ที่ปรึกษากระทรวงวิทยาศาสตร์ สนิทกับคุณหญิงกัลยา ไปปราศรัย 2-3 ครั้ง เป็นผู้ก่อการร้าย
นายชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย คนสนิทนายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ปราศรัยเกือบทุกวัน ไม่เป็นผู้ก่อการร้าย
นายสำราญ รอดเพชร คนสนิทนายสนธิ ลิ้มทองกุล ปราศรัยเกือบทุกวัน เป็นผู้ก่อการร้าย
หางแดงบุกโรงแรมพัทยา ทำลายโรงแรม ทำร้ายพนักงานโรงแรม จนผู้นำอาเซียนเผ่นหนีกระเจิง ไม่เป็นผู้ก่อการร้าย
หางแดงปิดการจราจรกรุงเทพฯ เผารถเมล์ของทางราชการ 23 คัน ยิงปืนใส่มัสยิด ขว้างระเบิดใส่บ้านเรือนประชาชน ใช้ปืนยิงประชาชน ใช้รถแก๊สขู่เผาเมือง และเจ้าหน้าที่ ไม่เป็นผู้ก่อการร้าย
สำหรับเหตุการณ์ข้างต้นที่กล่าวมา มันสอดคล้องกับสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พูดเอาไว้เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2551 หรือไม่? ที่ว่า:
“ผมจะขจัดการเมืองที่ล้มเหลวออกไปและจะนำความสมัครสมานสามัคคีกลับคืนมา โดยอาศัยความยุติธรรมเป็นกระบวนการนำหน้า รัฐบาลภายใต้การนำของผมจะยึดหลักนิติธรรม นิติรัฐ จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเสมอภาค”
สำหรับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีได้เรียกสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นว่าเป็น “กระบวนการยุติธรรมที่ไม่ควรเข้าไปแทรกแซง”
แต่สำหรับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ว่า...
กระบวนการ “อยุติธรรม” ที่ไม่มีใครกำกับดูแลและรับผิดชอบ!
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตอนที่เป็นฝ่ายค้านได้เคยไปเยี่ยมผู้บาดเจ็บที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทำร้ายในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 และนายอภิสิทธิ์ก็ยังไปงานศพของเหล่าวีรชนที่เสียชีวิตจากความโหดเหี้ยมและเลวทรามของเจ้าหน้าที่ตำรวจในปีที่แล้วอีกด้วย
เวลาผ่านไป 9 เดือน ตำรวจที่เกี่ยวข้องในคดี 7 ตุลาคม 2551 ยังคงได้ดิบได้ดี แม้แต่ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ก็ยังคงกลับทำงานเป็น ผบ.ตร.ต่อไป มีอำนาจโยกย้ายตำรวจและสั่งการให้ความเห็นในคดีพันธมิตรฯ โดยไม่สนใจความรู้สึกของประชาชนที่บาดเจ็บ พิการ และญาติของผู้เสียชีวิต ว่าจะรู้สึกอย่างไร!?
เตือนด้วยความปรารถนาดี...เราไม่อยากเห็นประชาชนเข้าใจผิดถึงขั้นคิดมากเกินเลยไปว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นคนเอาแต่ได้ ตอนเป็นฝ่ายค้านอยากได้คะแนนนิยมจากพันธมิตรฯ ก็ไปสร้างภาพเยี่ยมคนบาดเจ็บ และไปงานศพผู้ที่เสียชีวิตจากการชุมนุม แต่พอเป็นมาเป็นรัฐบาล ประชาชนเรียกร้องหาความยุติธรรมจากนายกรัฐมนตรีให้แขวนหรือโยกย้ายตำรวจที่ทำร้ายและเข่นฆ่าประชาชน กลับมาบอกว่า “เป็นกลาง” และปล่อยให้ตำรวจเหล่านั้นเสวยสุขในตำแหน่งหน้าที่ พร้อมๆ กับกลั่นแกล้งและย่ำยีพันธมิตรฯ กันต่อไป
ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะเรียกสิ่งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ว่า “กระบวนการยุติธรรม” มีคำถามอยู่ว่าคดี “ก่อน” การชุมนุมหน้าอาคารผู้โดยสารสนามบินสุวรรณภูมิเวลาผ่านไปกว่า 9 เดือนแล้วนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ หรือ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ยังคงดูแลเอาใจใส่คดีการทำร้ายและเข่นฆ่าพันธมิตรฯอยู่หรือไม่? อย่างไร?
โดยเฉพาะกรณีความรุนแรงที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยประณามเอาไว้ในตอนที่เป็นฝ่ายค้านเมื่อปีที่แล้ว!?
พันธมิตรฯ ถูกกลุ่มเสื้อแดงบุกทำร้ายร่างกายและทรัพย์สิน 3 ครั้ง ถูกตำรวจบุกทำร้าย 1 ครั้ง ถูกตำรวจใช้ระเบิดแก๊สน้ำตาหลายครั้ง โดนถูกยิงด้วยอาวุธสงครามประเภทระเบิด M-79 10 ครั้ง มีคนเสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บจำนวนมาก ปัจจุบันเรื่องนี้เงียบหายเหมือนไม่มีเรื่องนี้เกิดขึ้น!
มิพักต้องพูดถึงคดีเข่นฆ่าประชาชนที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ที่ตำรวจมีทั้งให้ลาภยศกับลูกหลานคนใน ป.ป.ช. และมีทั้งการข่มขู่คุกคามคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยที่รัฐบาลไม่ส่งกำลังคนไปช่วยดูแลรักษาความปลอดภัย รัฐบาลได้ทำอะไรลงไปบ้าง?
แล้วอะไรคือหลักนิติรัฐ และหลักนิติธรรม!?
ส่วนคดีการออกหมายเรียกพันธมิตรฯ และนายกษิต เป็นเรื่องต่อเนื่องจากรัฐบาลชุดที่แล้ว รัฐบาลชุดนี้ไม่รู้เรื่องด้วยจริงหรือไม่ ก็ขอให้ทบทวนดูคำพูดเหล่านี้ให้ดีว่าเกิดอะไรขึ้น!?
25 มกราคม 2552 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์ ความตอนหนึ่งว่า:
“ความคืบหน้าการดำเนินคดีกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ปิดสนามบินว่า ขณะนี้มีการดำเนินคดีอยู่ เพราะบริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้แจ้งความไว้แล้ว และได้เร่งกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าให้ดำเนินการอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งได้รับรายงานว่ากรณีการปิดท่าอากาศยานดอนเมืองสอบสวนคืบหน้าไปแล้วร้อยละ 80 ส่วนท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสอบสวนคืบหน้าไปแล้วร้อยละ 30”
20 กุมภาพันธ์ 2552 นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธานในการประชุมสรุปคดีที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการหลังเหตุการณ์การชุมนุมทั้งกลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยในคดีพันธมิตรฯ ชุมนุมที่หน้าอาคารผู้โดยสารสนามบินได้มีการสรุปในที่ประชุมว่า:
“พนักงานสอบสวนได้ติดตามเร่งรัดคดีทุกวันศุกร์ ขณะนี้ได้สอบพยานบุคคลไปแล้ว 150 ปาก ถือได้ว่าคืบหน้าไปแล้วกว่า 70 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ เหลือเพียงพยานปากสำคัญคืออธิบดีกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ หลังจากนั้นจะได้สรุปประเด็นข้อกล่าวหารวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อขออนุมัติหมายจับ คาดว่า ขั้นตอนดังกล่าวจะเสร็จสิ้นหลังการประชุมอาเซียนซัมมิต สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีนี้จะถูกดำเนินคดีในข้อหา พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประเภทต่อการเดินอากาศ พ.ศ. 2521 ส่วนข้อหาก่อการร้ายยังไม่สามารถให้ความเห็นได้เพราะต้องรอสอบปากคำอธิบดีกรมสนธิสัญญาระหว่างประเทศ”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นถึงนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็เป็นถึงประธานในการประชุมสรุปคดีมาตั้งแต่ต้น ย่อมรับรู้ความคืบหน้าของคดีมาเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
แต่เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 หลังจากที่นายกษิต ภิรมย์ ได้ระเบิดคำพูดท้ารบกับทุกคนที่จะมารุมกินโต๊ะ ก็ได้ทำให้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เปลี่ยนท่าทีเป็นครั้งแรกจากไม่แทรกแซงกลายมาเป็นแสดงความเห็นในเรื่องคดีผู้ก่อการร้ายของนายกษิต ภิรมย์ ความตอนหนึ่งว่า:
“ผมเห็นตั้งแต่ต้นแล้วว่า การตั้งข้อหาการก่อการร้ายมันรุนแรงเกินเหตุ เพราะเรารู้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นหลายอย่างมันไม่ใช่การก่อการร้าย ถ้าผิดในกฎหมายอื่นก็ว่าไปสิ ไม่ได้หมายความว่าถ้าไม่ผิดก่อการร้าย ไม่ผิดเลยก็ไม่ใช่ ต้องให้ผู้ถูกกล่าวหาต่อสู้คดี”
รู้ทั้งรู้ว่านายกษิต ภิรมย์ ไม่เป็นผู้ก่อการร้ายตั้งแต่ต้น แต่นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีกลับปล่อยปละละเลยให้ตำรวจแจ้งข้อหาเกินกว่าเหตุ โดยไม่ลงโทษ หรือตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง
จะไม่ให้เรียกว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่กำกับดูแลรับผิดชอบ และจะให้เรียกว่าอะไร !?
แต่เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ คงจะพอใจ เพราะการไม่กำกับดูแลความ “อยุติธรรม” ของรัฐบาลดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ประสบความสำเร็จในการทำให้สังคมเชื่อแล้วว่า “ประชาธิปัตย์และพันธมิตรฯ ไม่ใช่พวกเดียวกัน”!