เรื่องที่ค่อนข้างฮือฮาที่สุดเมื่อปลายสัปดาห์ก็คือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ได้ลงนามในหมายเรียกลงวันที่ 1 กรกฎาคมนี้ ให้แกนนำและแนวร่วมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ไปชุมนุมกันที่สนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ เข้ารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีฯ
ผู้ต้องหาคดีบุกรุกสนามบินดอนเมืองให้เข้ารายงานตัว 9.30 น.
ผู้ต้องหาคดีบุกรุกสนามบินสุวรรณภูมิให้เข้ารายงานตัวเวลา 13.00 น.
คดีบุกรุกสนามบินดอนเมืองมี 27 คน ส่วนคดีบุกรุกสนามบินสุวรรณภูมิมีผู้ต้องหา 25 คน มี 16 คนที่ถูกหมายเรียกทั้งบุกรุกสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ
คดีบุกรุกสนามบินสุวรรณภูมิดูจะหนักกว่าการบุกรุกสนามบินดอนเมือง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อหาว่า ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่การกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก ก่อการร้าย บุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ ทำให้บริการท่าอากาศยานฯ หยุดชะงักลง
นอกจากนี้ยังมีข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เหตุเกิดระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน-3 ธันวาคม 2551
ข้อหาที่หนักและร้ายแรงคือ การก่อการร้าย ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ ที่ว่ากันว่า อาหารดี ดนตรีเพราะ ซึ่งนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บอกกับนักข่าวต่างประเทศระหว่างที่มีการเฟ้นตัวคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลผสมปัจจุบัน
ทันทีที่หมายเรียกผู้ต้องหาทั้ง 2 คดีนี้ออกมา เสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และมีต่อสถานการณ์การเมืองก็กระหึ่มขึ้นทันที
ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นเบื้องต้นของกระบวนการยุติธรรมก็คือ การยัดเยียดข้อหาที่เกินจริงให้แก่ผู้ชุมนุมโดยการนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต่อสถานการณ์การเมือง นี่คือผลตอบแทนที่ประชาชนที่รักชาติรักประชาธิปไตยได้รับจากรัฐบาลผสมชุดนี้ ชุดที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
เป็นผลตอบแทนที่เจ็บปวดและสะใจจริงๆ
เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนอยู่แล้วว่า การชุมนุมต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างทรหดอดทนยืดเยื้อยาวนาน 193 วันนั้น เป็นการลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ไม่ให้รัฐบาลชั่ว นายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อมิให้พรรคพลังประชาชนซึ่งทำผิดกฎหมายเลือกตั้งถูกยุบพรรค และเพื่อให้ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเสมือนบิดาบังเกิดเกล้าของพวกเขาพ้นผิด กลับมาเสวยสุขและเสวยอำนาจได้อีก (ดังที่พวกเขาพยายามอยู่ในขณะนี้ด้วยการขอพระราชทานอภัยโทษ)
ถ้าหากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ออกมาขวางตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ป่านนี้รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ก็ยังบริหารประเทศอยู่ (ถ้าหากนายสมัคร สุนทรเวช มีปัญหาสุขภาพก็อาจจะเป็นนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หรือร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หรือนอมินีตัวไหนก็ได้ในพรรคพลังประชาชนขึ้นมาเป็น) การแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มิให้มีการยุบพรรค รวมทั้งการฟอกผิดให้ ทักษิณ ชินวัตร ก็อาจจะเสร็จไปแล้ว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และชาวพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหลายก็คงทำหน้าที่ฝ่ายค้านตามที่ถนัดต่อไป
การออกมาของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม-3 ธันวาคม 2551 เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อพิทักษ์รักษา เพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยแท้ เจ้าหน้าที่ตำรวจไปมุดหัวอยู่ที่ไหนจึงเห็นเป็นว่า มิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ
การเคลื่อนออกจากทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน มาที่สนามบินดอนเมือง ต่อยาวมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ นั่นก็เนื่องจากว่าการชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อคัดค้านรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นั่นเพราะประชาชนที่มีเพียงสองมือเปล่าถูกเข่นฆ่าครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งจากอำนาจรัฐ (6-7 ตุลาคม 2551) ที่หน้ารัฐสภา และกระสุนปืนจากเอ็ม 79 ที่ทำเนียบรัฐบาล มิใช่หรือ?
ประชาชนที่ไปชุมนุมกันที่สนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ ต้องการที่จะกดดันให้รัฐบาลชั่วลาออกโดยเร็วที่สุด แต่ไม่มีการใช้อาวุธประทุษร้าย เข่นฆ่า ทำร้ายทรัพย์สินให้เสียหายเลยแม้แต่น้อย ตรงกันข้าม สัตว์นรกมันยังตามไปเข่นฆ่าที่สนามบินดอนเมืองเสียอีก
ใครกันที่ควรจะเป็นโจทก์ ใครกันที่ควรจะเป็นจำเลย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี บอกว่าจะปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามตัวบทกฎหมาย รัฐบาลจะไม่เข้าไปแทรกแซงใดๆ ทั้งสิ้น
ใครเป็นนายกรัฐมนตรีก็คงจะพูดทำนองเดียวกันนี้
ในช่วงของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นี่เองแหละก็คงจะได้เห็นแล้วว่า สำนักงานอัยการสูงสุดเคยพิจารณาคดีทำนองเดียวกันนี้อย่างไร คดีบุกบ้านสี่เสาเทเวศร์ของท่านประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ผู้ชุมนุมเอาอิฐ เอาหิน ถล่มบ้านสี่เสาฯ ถล่มอาคารสถานที่ราชการของกองทัพบก
อัยการยังมีความเห็นว่า เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ สั่งไม่ฟ้อง
ที่รัฐบาลกำกับดูแลตำรวจ ซ้ำเป็นตำรวจที่คุมเป้าให้ทักษิณ ชินวัตร ตลอดเวลา และกำชับกำชาให้เขารู้เรื่องการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญอย่างที่อัยการให้ความเห็นไว้แล้วไม่ได้ ไม่เป็นดอกหรือ?
อย่าว่าแต่ 25 คนจะห่างไกลจากคำว่า ก่อการร้ายเลย นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเลือกด้วยตัวเองแท้ๆ มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ย่อมรู้และตระหนักดีอยู่แล้วว่า นายกษิต ภิรมย์ เป็นวิทยากรในเวทีพันธมิตรฯ ที่สะพานมัฆวานฯ ทำเนียบรัฐบาล และสนามบินสุวรรณภูมิ ในฐานะวิทยากร ในฐานะผู้คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และในฐานะผู้เกลียดชังระบอบทักษิณเข้ากระดูก
หรือความรู้ ความเข้าใจของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เปลี่ยนไปแล้ว
ผู้ต้องหาคดีบุกรุกสนามบินดอนเมืองให้เข้ารายงานตัว 9.30 น.
ผู้ต้องหาคดีบุกรุกสนามบินสุวรรณภูมิให้เข้ารายงานตัวเวลา 13.00 น.
คดีบุกรุกสนามบินดอนเมืองมี 27 คน ส่วนคดีบุกรุกสนามบินสุวรรณภูมิมีผู้ต้องหา 25 คน มี 16 คนที่ถูกหมายเรียกทั้งบุกรุกสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ
คดีบุกรุกสนามบินสุวรรณภูมิดูจะหนักกว่าการบุกรุกสนามบินดอนเมือง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อหาว่า ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่การกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ มั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก ก่อการร้าย บุกรุก ทำให้เสียทรัพย์ ทำให้บริการท่าอากาศยานฯ หยุดชะงักลง
นอกจากนี้ยังมีข้อหาฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เหตุเกิดระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน-3 ธันวาคม 2551
ข้อหาที่หนักและร้ายแรงคือ การก่อการร้าย ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ ที่ว่ากันว่า อาหารดี ดนตรีเพราะ ซึ่งนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บอกกับนักข่าวต่างประเทศระหว่างที่มีการเฟ้นตัวคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลผสมปัจจุบัน
ทันทีที่หมายเรียกผู้ต้องหาทั้ง 2 คดีนี้ออกมา เสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งที่มีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และมีต่อสถานการณ์การเมืองก็กระหึ่มขึ้นทันที
ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นเบื้องต้นของกระบวนการยุติธรรมก็คือ การยัดเยียดข้อหาที่เกินจริงให้แก่ผู้ชุมนุมโดยการนำของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต่อสถานการณ์การเมือง นี่คือผลตอบแทนที่ประชาชนที่รักชาติรักประชาธิปไตยได้รับจากรัฐบาลผสมชุดนี้ ชุดที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
เป็นผลตอบแทนที่เจ็บปวดและสะใจจริงๆ
เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนอยู่แล้วว่า การชุมนุมต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างทรหดอดทนยืดเยื้อยาวนาน 193 วันนั้น เป็นการลุกขึ้นสู้เพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ไม่ให้รัฐบาลชั่ว นายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อมิให้พรรคพลังประชาชนซึ่งทำผิดกฎหมายเลือกตั้งถูกยุบพรรค และเพื่อให้ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเสมือนบิดาบังเกิดเกล้าของพวกเขาพ้นผิด กลับมาเสวยสุขและเสวยอำนาจได้อีก (ดังที่พวกเขาพยายามอยู่ในขณะนี้ด้วยการขอพระราชทานอภัยโทษ)
ถ้าหากพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ออกมาขวางตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2551 ป่านนี้รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ก็ยังบริหารประเทศอยู่ (ถ้าหากนายสมัคร สุนทรเวช มีปัญหาสุขภาพก็อาจจะเป็นนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ หรือร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หรือนอมินีตัวไหนก็ได้ในพรรคพลังประชาชนขึ้นมาเป็น) การแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มิให้มีการยุบพรรค รวมทั้งการฟอกผิดให้ ทักษิณ ชินวัตร ก็อาจจะเสร็จไปแล้ว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และชาวพรรคประชาธิปัตย์ทั้งหลายก็คงทำหน้าที่ฝ่ายค้านตามที่ถนัดต่อไป
การออกมาของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม-3 ธันวาคม 2551 เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อพิทักษ์รักษา เพื่อปกป้องรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยแท้ เจ้าหน้าที่ตำรวจไปมุดหัวอยู่ที่ไหนจึงเห็นเป็นว่า มิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ
การเคลื่อนออกจากทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน มาที่สนามบินดอนเมือง ต่อยาวมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ นั่นก็เนื่องจากว่าการชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อคัดค้านรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นั่นเพราะประชาชนที่มีเพียงสองมือเปล่าถูกเข่นฆ่าครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งจากอำนาจรัฐ (6-7 ตุลาคม 2551) ที่หน้ารัฐสภา และกระสุนปืนจากเอ็ม 79 ที่ทำเนียบรัฐบาล มิใช่หรือ?
ประชาชนที่ไปชุมนุมกันที่สนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ ต้องการที่จะกดดันให้รัฐบาลชั่วลาออกโดยเร็วที่สุด แต่ไม่มีการใช้อาวุธประทุษร้าย เข่นฆ่า ทำร้ายทรัพย์สินให้เสียหายเลยแม้แต่น้อย ตรงกันข้าม สัตว์นรกมันยังตามไปเข่นฆ่าที่สนามบินดอนเมืองเสียอีก
ใครกันที่ควรจะเป็นโจทก์ ใครกันที่ควรจะเป็นจำเลย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี บอกว่าจะปล่อยให้ทุกอย่างดำเนินไปตามตัวบทกฎหมาย รัฐบาลจะไม่เข้าไปแทรกแซงใดๆ ทั้งสิ้น
ใครเป็นนายกรัฐมนตรีก็คงจะพูดทำนองเดียวกันนี้
ในช่วงของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นี่เองแหละก็คงจะได้เห็นแล้วว่า สำนักงานอัยการสูงสุดเคยพิจารณาคดีทำนองเดียวกันนี้อย่างไร คดีบุกบ้านสี่เสาเทเวศร์ของท่านประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ผู้ชุมนุมเอาอิฐ เอาหิน ถล่มบ้านสี่เสาฯ ถล่มอาคารสถานที่ราชการของกองทัพบก
อัยการยังมีความเห็นว่า เป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ สั่งไม่ฟ้อง
ที่รัฐบาลกำกับดูแลตำรวจ ซ้ำเป็นตำรวจที่คุมเป้าให้ทักษิณ ชินวัตร ตลอดเวลา และกำชับกำชาให้เขารู้เรื่องการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญอย่างที่อัยการให้ความเห็นไว้แล้วไม่ได้ ไม่เป็นดอกหรือ?
อย่าว่าแต่ 25 คนจะห่างไกลจากคำว่า ก่อการร้ายเลย นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีเลือกด้วยตัวเองแท้ๆ มาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ย่อมรู้และตระหนักดีอยู่แล้วว่า นายกษิต ภิรมย์ เป็นวิทยากรในเวทีพันธมิตรฯ ที่สะพานมัฆวานฯ ทำเนียบรัฐบาล และสนามบินสุวรรณภูมิ ในฐานะวิทยากร ในฐานะผู้คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และในฐานะผู้เกลียดชังระบอบทักษิณเข้ากระดูก
หรือความรู้ ความเข้าใจของนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เปลี่ยนไปแล้ว