วานนี้( 13 ก.ค.) ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ แนวร่วมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) โดยนายณัฐพร โตประยูร ทนายความ เป็นโจทก์ฟ้อง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมาย อาญา ม. 91, 157 และ 200
โดยโจทก์บรรยายฟ้องสรุปว่า จำเลยที่ 1 เป็นนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 2 เป็นรองนายกรัฐมนตรี และจำเลยที่ 3 เป็นผบ.ตร. มีอำนาจดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และ พ.ร.บ.บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 เมื่อวันที่ 1 ก.ค.52 เวลากลางวัน จำเลยทั้ง 3 ได้บังอาจร่วมกันทำผิดต่อกฎหมายอาญา โดยจำเลยทั้ง 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาได้สั่งการให้ พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ผู้ช่วย ผบ.ตร. หัวหน้าพนักงานสอบสวน ลงนามออกหมายเรียกผู้ต้องหา ฉบับวันที่ 1 ก.ค.52 โดยกล่าวหาโจทก์ว่า
“ ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่การกระทำในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ , มั่วสุมกันแต่งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก, ก่อการร้าย. บุกรุก, ทำให้เสียทรัพย์, ทำให้การบริหารท่าอากาศยานหยุดชะงักลง ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม ม.9 แห่ง พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ” ทั้งที่ ข้อกล่าวหานั้นไม่เป็นความจริงตามที่จำเลยทั้ง 3 ได้มอบหมายให้พนักงานสอบสวนตั้งข้อกล่าวหากับโจทก์
ที่จริงแล้วตามวันเวลาที่ พนักงานสอบสวน กล่าวหาโจทก์ เมื่อวันที่ 25 พ.ค.51 เป็นต้นมีประชาชนจำนวนมหาศาล รวมตัวกันใช้ชื่อกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ใช้สิทธิตามรัฐธรรม พ.ศ.2550 ม. 69, 70,71 โดยชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งขณะนั้นมีกลุ่มบุคคลก้าวล่วง แต่รัฐบาลกลับเพิกเฉย ต่อมานายสมัคร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนต่อมา ไม่แก้ไขปัญหาเรื่องเขตแดนเขาพระวิหารกับประเทศกัมพูชา และสั่งให้มีการสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ จนมีผู้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51
ทั้งนี้ในระหว่างการชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อหาโจทก์กับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ กระทำผิดฐานเป็นกบฏ และขอให้ศาลออกหมายจับ ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมโจทก์ และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง แต่ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์กับพวกไม่ได้กระทำผิดข้อหากบฏตามที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา และต่อมากลุ่มพันธมิตรฯ เพิ่มมาตรการเรียกร้องโดยการเข้าไปชุมนุมที่สนามบินดอนเมือง ซึ่งใช้เป็นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชั่วคราว แทนทำเนียบรัฐบาล และที่สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อกดดันให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาตามที่เรียกร้อง
การกระทำของจำเลยทั้ง 3 ที่สั่งให้พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาเกินความจริงต่อโจทก์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งโดยมิชอบ เพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ต้องรับโทษ หรือรับโทษหนักขึ้น และเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องถูกออกหมายเรียกและตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และกระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพ เสื่อมเสียชื่อเสียง เหตุเกิดที่แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพ ขอให้ศาลมีคำสั่งออกหมายเรียกจำเลยทั้ง 3 มาแก้ต่างคดีและพิพากษาลงโทษตามความผิดด้วย
ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณา และนัดฟังคำสั่งว่าจะรับฟ้องคดีหรือไม่ วันที่ 14 ก.ค.นี้ เวลา 13.30 น.
โดยโจทก์บรรยายฟ้องสรุปว่า จำเลยที่ 1 เป็นนายกรัฐมนตรี จำเลยที่ 2 เป็นรองนายกรัฐมนตรี และจำเลยที่ 3 เป็นผบ.ตร. มีอำนาจดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และ พ.ร.บ.บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 และพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 เมื่อวันที่ 1 ก.ค.52 เวลากลางวัน จำเลยทั้ง 3 ได้บังอาจร่วมกันทำผิดต่อกฎหมายอาญา โดยจำเลยทั้ง 3 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาได้สั่งการให้ พล.ต.ท.วุฒิ พัวเวส ผู้ช่วย ผบ.ตร. หัวหน้าพนักงานสอบสวน ลงนามออกหมายเรียกผู้ต้องหา ฉบับวันที่ 1 ก.ค.52 โดยกล่าวหาโจทก์ว่า
“ ร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันมิใช่การกระทำในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ , มั่วสุมกันแต่งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแล้วไม่เลิก, ก่อการร้าย. บุกรุก, ทำให้เสียทรัพย์, ทำให้การบริหารท่าอากาศยานหยุดชะงักลง ฝ่าฝืนข้อกำหนดตาม ม.9 แห่ง พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ” ทั้งที่ ข้อกล่าวหานั้นไม่เป็นความจริงตามที่จำเลยทั้ง 3 ได้มอบหมายให้พนักงานสอบสวนตั้งข้อกล่าวหากับโจทก์
ที่จริงแล้วตามวันเวลาที่ พนักงานสอบสวน กล่าวหาโจทก์ เมื่อวันที่ 25 พ.ค.51 เป็นต้นมีประชาชนจำนวนมหาศาล รวมตัวกันใช้ชื่อกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ใช้สิทธิตามรัฐธรรม พ.ศ.2550 ม. 69, 70,71 โดยชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งขณะนั้นมีกลุ่มบุคคลก้าวล่วง แต่รัฐบาลกลับเพิกเฉย ต่อมานายสมัคร พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนต่อมา ไม่แก้ไขปัญหาเรื่องเขตแดนเขาพระวิหารกับประเทศกัมพูชา และสั่งให้มีการสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรฯ จนมีผู้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51
ทั้งนี้ในระหว่างการชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งข้อหาโจทก์กับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ กระทำผิดฐานเป็นกบฏ และขอให้ศาลออกหมายจับ ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุมโจทก์ และพล.ต.จำลอง ศรีเมือง แต่ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์กับพวกไม่ได้กระทำผิดข้อหากบฏตามที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา และต่อมากลุ่มพันธมิตรฯ เพิ่มมาตรการเรียกร้องโดยการเข้าไปชุมนุมที่สนามบินดอนเมือง ซึ่งใช้เป็นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชั่วคราว แทนทำเนียบรัฐบาล และที่สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อกดดันให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาตามที่เรียกร้อง
การกระทำของจำเลยทั้ง 3 ที่สั่งให้พนักงานสอบสวนตั้งข้อหาเกินความจริงต่อโจทก์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งโดยมิชอบ เพื่อกลั่นแกล้งโจทก์ต้องรับโทษ หรือรับโทษหนักขึ้น และเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องถูกออกหมายเรียกและตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และกระทบกระเทือนสิทธิเสรีภาพ เสื่อมเสียชื่อเสียง เหตุเกิดที่แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพ ขอให้ศาลมีคำสั่งออกหมายเรียกจำเลยทั้ง 3 มาแก้ต่างคดีและพิพากษาลงโทษตามความผิดด้วย
ศาลรับคำฟ้องไว้พิจารณา และนัดฟังคำสั่งว่าจะรับฟ้องคดีหรือไม่ วันที่ 14 ก.ค.นี้ เวลา 13.30 น.