ที่ประชุมกรรมการสมานฉันท์ ถกหลักนิติธรรม ชี้ จำเป็นต้องศึกษากฎหมายที่ไม่เป็นธรรม สร้างความเสมอภาค เร่งดึงภาคประชาชนเข้าถึงบริการรัฐ ใช้มาตรฐานทางกฎหมายเดียวกัน ระบุเห็นควรให้สิทธิภาคประชาชนเสนอกฎหมาย พร้อมยื่นถอดถอนนักการเมือง ชี้หากเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่สภาไม่เห็นด้วย ให้ทำประชามติแทน พร้อมเคาะแนวทางปฏิรูปให้ตั้งสภาปฏิรูป-สภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันนี้ (4 มิ.ย.) ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้มีการพิจารณายุทธศาสตร์ที่ 3 หลักนิติธรรม (Rule of Low) และระเบียบกฎเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ตามหลักแห่งการเป็นสังคม นิติรัฐ ทั้งนี้ ที่ประชุมอภิปรายหลากหลาย โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย 2 มาตรฐาน อาทิ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา ได้เสนอให้มีการปฏิรูประบบกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม รวมถึงสิทธิความเท่าเทียม และความเสมอภาค ในการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากร และที่ดินทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงบริการต่างๆ ของรัฐ เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายในแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน และมีมาตรการป้องกันอย่างจริงจังให้มีการใช้อภิสิทธิ์ในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ที่ประชุมสรุปยุทธศาสตร์ ที่ 3 โดยให้ศึกษาปัญหาการออกกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย และหลักนิติรัฐ ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม หรือสองมาตรฐาน รวมถึงการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากร และที่ดินทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงบริการต่างๆ ของรัฐ และเข้มงวดให้มีการบังคับใช้กฎหมายในแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน และป้องกันไม่ให้มีการใช้หรือมีอภิสิทธิ์ในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
จากนั้นเป็นการพิจารณาในยุทธศาสตร์ที่ 4 บทบาททางการเมืองของภาคส่วนต่างๆ ที่สอดคล้องและส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เช่น ภาคพลเมือง ภาคการเมือง (รัฐสภา/นิติบัญญัติ) ภาครัฐ (ราชการ/ศาล/องค์กรตามรัฐธรรมนูญ) และภาควิชาการ โดยที่ประชุมมีการถกเถียงกันอย่างเข้มข้น เรื่องการเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอร่างกฎหมายและร่างรัฐธรรมนูญ ที่ปัจจุบัน แม้มีกติกากำหนดไว้ แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง
อาทิ พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ไม่อยากเห็นการเลือกปฏิบัติ เพราะเรื่องการกำหนดจำนวนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมา กรณีที่มีประชาชนเข้าชื่อ 7 หมื่นคน (ฉบับ คพปร.) ทำให้รัฐบาลล้มมาแล้ว 2 ชุด ทั้งนี้ กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของสภาล้วนมาจาก ส.ส.ไม่ใช่ประชาชน
นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคเพื่อไทย กรรมการ กล่าวว่า ควรมีการกำหนดระยะเวลาให้สภาพิจารณาร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนว่า ต้องมีการพิจารณาภายหลังการยื่นร่างให้สภาแล้วภายใน 60 วัน ทั้งนี้ สภาต้องให้ความสำคัญกับการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง
นายตวง อินทะไชย ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ปัญหาที่ผ่านมาคือการที่ส.ส.และประชาชนต่างไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน ประชาชนก็กลัวว่าการให้ ส.ส.ดำเนินการแก้ไขจะกลายเป็นการชงเองกินเอง ดังนั้นการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการตั้งส.ส.ร.3 ขึ้นมา เพื่ออนุวัติรัฐธรรมนูญ 50 ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่วนการกำหนดระยะเวลาอาจทำให้มีปัญหาในอนาคต
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กรรมการ กล่าวว่า ขอเสนอให้มีการถอดถอนนักการเมืองในภาคประชาชนได้ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยห้มีส่วนร่วมในทุกระดับ และมีกฎหมายรองรับอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ ที่ประชุมสรุปว่า ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอร่างกฎหมายและการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง แม้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จะบัญญัติให้ประชาชนจำนวน 5 หมื่นคนสามารถเข้าชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ แต่หากสมาชิกรัฐสภาลงมติไม่เห็นชอบในวาระสาม ก็ควรกำหนดให้มีการลงประชามติเพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินในขั้นสุดท้ายสำหรับร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนร่างกฎหมายให้กำหนดกรอบเวลาในการพิจารณาของรัฐสภา รวมถึงให้มีกระบวนการถอดถอนนักการเมืองโดยภาคภาคประชาชน และการมีกฎหมายเข้ามารองรับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
จากนั้นได้พิจารณากรอบแนวทางการดำเนินงานปฏิรูปการเมือง ที่คณะอนุกรรมการเสนอให้ กำหนดให้ทำในระยะสั้น 1 ปี ระยะกลาง 3 ปี และระยะยาว 5 ปี โดย 1.ในระยะสั้นและระยะกลาง ควรศึกษาโครงสร้างรัฐธรรมนูญ และกฎหมายในประเด็นที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่เป็นธรรม รวมทั้งประเด็นทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ และเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาการเมืองของประเทศ ซึ่งอาจนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา 2.ในระยะกลางและระยะยาว ให้มีองค์กรที่รับผิดชอบในการเผยแพร่ความรู้ด้านประชาธิปไตย โดยผ่านระบบการศึกษาและระบบอื่นๆ เพื่อสร้างและปลูกฝังวิถีประชาธิปไตยให้แก่เยาวชนบุคคลและชุมชนต่างๆ อันจะเป็นพื้นฐานในการปฏิรูปการเมือง 3.ควรมีการตั้งสภาปฏิรูปการเมืองแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมาตราใด มีความขัดแย้งในสาระการปฏิรูปการเมือง ก็ให้มี ส.ส.ร.ดำเนินการทั้งในระยะสั้น กลาง ยาว ซึ่งในระยะกลาง และยาว ควรทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมมีการถกเถียงกว้างขวางในเรื่องสภาปฏิรูปการเมือง และสภาร่างรัฐธรรมนูญ อาทิ นายพีระพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กรรมการ กล่าวว่า อยากให้มีทางเลือกของบุคลากรมากขึ้นเมื่อเกิดวิกฤตทางการเมือง ไม่ใช่จะนึกถึงเพียง นพ. ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส หรือ นายนรนิติ เศรษฐบุตร อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมากระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองที่จัดให้ภาคประชาชนมีน้อยมาก ส่วนสถาบันพระปกเกล้า หรือวปอ. ก็มุ่งให้ความรู้ไปที่นักการเมืองและข้าราชการ ดังนั้น การให้ความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองกับภาคประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำ
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า การตั้ง ส.ส.ร.3 ควรมี เพื่อให้เกิดการปฏิรูปการเมืองทั้งระบบ หรือการตั้งกติกาอะไรออกมาถูกมองว่าเป็นการซื้อเวลามาตลอด ตนไม่อยากให้คณะกรรมการฯทำงานแบบเสียเวลาเปล่า การทำงานทางการเมืองต้องกล้า นายกฯ มีความกล้าที่จะบอกว่ารัฐธรรมนูญ มาตราใดควรแก้ไขบ้าง ไม่ใช่ไปโยนภาระให้ ส.ส.ร.99 คน
นายตวง กล่าวว่า การให้ฝ่ายการเมืองไปดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเองจะเกิดความไม่ไว้วางใจของภาคประชาชน เปรียบเหมือนกับให้แมวไปทำลูกกระพรวนแขวนคอตัวเอง ก็จะได้ลูกกระพรวนที่ไม่มีเสียง ทั้งนี้การเสนอให้มี ส.ส.ร.3 ไม่ใช่การซื้อเวลา แต่เป็นการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
นายประเสริฐ ชิดพงษ์ ส.ว.สงขลา ประธานคณะอนุกรรมการฯ กล่าวว่า สิ่งที่อนุกรรมการเสนอต่อที่ประชุมส่วนใหญ่ไม่ได้นำไปสู่การปฏิรูปการเมือง เป็นการแก้ปัญหาการเมือง แก้ปัญหาให้นักการเมือง
นายสันติ พร้อมพัฒน์ กรรมการจากพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องแก้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เพราะการบริหารประเทศ และอำนาจนั้นถูกใช้โดยนักการเมือง หากกฎหมายต่างๆ มีข้อจำกัดจนกระทั่งไปสร้างสองมาตรฐานทำให้นักการเมืองไม่สามารถใช้อำนาจหรือมีอำนาจที่ผิดๆ จึงเป็นเรื่องถูกต้องที่ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้นักการเมืองใช้อำนาจและกำหนดอย่างชอบธรรมและเป็นธรรม การบริหารบ้านเมืองที่ดี มีความสงบสุขจะทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ ไม่ทำให้นักการเมืองมาทะเลาะกัน ซึ่งตนเห็นว่ามีความจำเป็น ไม่ใช่ข้อน่ารังเกียจ ทั้งนี้ในระยะสั้นควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางมาตราที่เห็นว่าเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมืองก่อน
นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ กรรมการ กล่าวว่า ช่วงที่ไม่มีการเลือกตั้งกกต.จะไม่ได้ทำงานเลย ความจริงควรเดินหน้าให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้เลือกนักการเมืองเข้ามาในสภา แต่นี่ไม่ทำ อะไร ดีแต่คิดเลือกตั้ง
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา กล่าวว่า นอกจาก กกต.แล้วยังมีผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ต้องมีหน้าที่ดูแลการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ใช่ดูเฉพาะงานในระบบรัฐสภา เพราะมีอำนาจหน้าที่ให้การศึกษา ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ เพราะเมื่อเกิดวิกฤตประเทศเราไม่เคยได้รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานเหล่านี้เลย
จากนั้น นายดิเรก กล่าวสรุปว่า ยุทธศาสตร์ที่ 4 ให้ยืนตามที่คณะอนุกรรมการเสนอ และขอให้คณะอนุกรรมการ เสนอวิธีปฏิบัติด้วยว่าต้องทำอย่างไร เพื่อเป็นคู่มือให้รัฐบาลนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ วันที่ 9-11 มิถุนายน คณะกรรมการจะพิจารณาผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น จากนั้นวันที่ 16 มิถุนายน เป็นการพิจารณาแผนปฏิบัติการของอนุกรรมการสมานฉันท์ ส่วนวันที่ 17 มิถุนายน จะเป็นการพิจารณาแผนปฏิบัติการของอนุกรรมการปฏิรูปฯ จากนั้นวันที่ 17-19 มิถุนายน ฝ่ายเลขานุการสรุปรายงาน และวันที่ 20 มิถุนายน คณะกรรมการชุดใหญ่ จะเสนอรายงานทั้งหมดต่อประธานรัฐสภา พิจารณาต่อไป
วันนี้ (4 มิ.ย.) ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้มีการพิจารณายุทธศาสตร์ที่ 3 หลักนิติธรรม (Rule of Low) และระเบียบกฎเกณฑ์เงื่อนไขต่างๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ตามหลักแห่งการเป็นสังคม นิติรัฐ ทั้งนี้ ที่ประชุมอภิปรายหลากหลาย โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย 2 มาตรฐาน อาทิ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา ได้เสนอให้มีการปฏิรูประบบกฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม รวมถึงสิทธิความเท่าเทียม และความเสมอภาค ในการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากร และที่ดินทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงบริการต่างๆ ของรัฐ เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายในแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน และมีมาตรการป้องกันอย่างจริงจังให้มีการใช้อภิสิทธิ์ในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ ที่ประชุมสรุปยุทธศาสตร์ ที่ 3 โดยให้ศึกษาปัญหาการออกกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย และหลักนิติรัฐ ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม หรือสองมาตรฐาน รวมถึงการปฏิรูปการเมืองเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากร และที่ดินทำกิน รวมทั้งการเข้าถึงบริการต่างๆ ของรัฐ และเข้มงวดให้มีการบังคับใช้กฎหมายในแนวทางและมาตรฐานเดียวกัน และป้องกันไม่ให้มีการใช้หรือมีอภิสิทธิ์ในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
จากนั้นเป็นการพิจารณาในยุทธศาสตร์ที่ 4 บทบาททางการเมืองของภาคส่วนต่างๆ ที่สอดคล้องและส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เช่น ภาคพลเมือง ภาคการเมือง (รัฐสภา/นิติบัญญัติ) ภาครัฐ (ราชการ/ศาล/องค์กรตามรัฐธรรมนูญ) และภาควิชาการ โดยที่ประชุมมีการถกเถียงกันอย่างเข้มข้น เรื่องการเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอร่างกฎหมายและร่างรัฐธรรมนูญ ที่ปัจจุบัน แม้มีกติกากำหนดไว้ แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง
อาทิ พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า ไม่อยากเห็นการเลือกปฏิบัติ เพราะเรื่องการกำหนดจำนวนการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย หรือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมา กรณีที่มีประชาชนเข้าชื่อ 7 หมื่นคน (ฉบับ คพปร.) ทำให้รัฐบาลล้มมาแล้ว 2 ชุด ทั้งนี้ กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของสภาล้วนมาจาก ส.ส.ไม่ใช่ประชาชน
นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคเพื่อไทย กรรมการ กล่าวว่า ควรมีการกำหนดระยะเวลาให้สภาพิจารณาร่างกฎหมายที่เสนอโดยประชาชนว่า ต้องมีการพิจารณาภายหลังการยื่นร่างให้สภาแล้วภายใน 60 วัน ทั้งนี้ สภาต้องให้ความสำคัญกับการเข้ามามีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง
นายตวง อินทะไชย ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ปัญหาที่ผ่านมาคือการที่ส.ส.และประชาชนต่างไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน ประชาชนก็กลัวว่าการให้ ส.ส.ดำเนินการแก้ไขจะกลายเป็นการชงเองกินเอง ดังนั้นการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการตั้งส.ส.ร.3 ขึ้นมา เพื่ออนุวัติรัฐธรรมนูญ 50 ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่วนการกำหนดระยะเวลาอาจทำให้มีปัญหาในอนาคต
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กรรมการ กล่าวว่า ขอเสนอให้มีการถอดถอนนักการเมืองในภาคประชาชนได้ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยห้มีส่วนร่วมในทุกระดับ และมีกฎหมายรองรับอย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ ที่ประชุมสรุปว่า ต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเสนอร่างกฎหมายและการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างแท้จริง แม้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จะบัญญัติให้ประชาชนจำนวน 5 หมื่นคนสามารถเข้าชื่อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ แต่หากสมาชิกรัฐสภาลงมติไม่เห็นชอบในวาระสาม ก็ควรกำหนดให้มีการลงประชามติเพื่อให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินในขั้นสุดท้ายสำหรับร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนร่างกฎหมายให้กำหนดกรอบเวลาในการพิจารณาของรัฐสภา รวมถึงให้มีกระบวนการถอดถอนนักการเมืองโดยภาคภาคประชาชน และการมีกฎหมายเข้ามารองรับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
จากนั้นได้พิจารณากรอบแนวทางการดำเนินงานปฏิรูปการเมือง ที่คณะอนุกรรมการเสนอให้ กำหนดให้ทำในระยะสั้น 1 ปี ระยะกลาง 3 ปี และระยะยาว 5 ปี โดย 1.ในระยะสั้นและระยะกลาง ควรศึกษาโครงสร้างรัฐธรรมนูญ และกฎหมายในประเด็นที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและไม่เป็นธรรม รวมทั้งประเด็นทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ และเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาการเมืองของประเทศ ซึ่งอาจนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา 2.ในระยะกลางและระยะยาว ให้มีองค์กรที่รับผิดชอบในการเผยแพร่ความรู้ด้านประชาธิปไตย โดยผ่านระบบการศึกษาและระบบอื่นๆ เพื่อสร้างและปลูกฝังวิถีประชาธิปไตยให้แก่เยาวชนบุคคลและชุมชนต่างๆ อันจะเป็นพื้นฐานในการปฏิรูปการเมือง 3.ควรมีการตั้งสภาปฏิรูปการเมืองแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในกรณีที่รัฐธรรมนูญมาตราใด มีความขัดแย้งในสาระการปฏิรูปการเมือง ก็ให้มี ส.ส.ร.ดำเนินการทั้งในระยะสั้น กลาง ยาว ซึ่งในระยะกลาง และยาว ควรทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมมีการถกเถียงกว้างขวางในเรื่องสภาปฏิรูปการเมือง และสภาร่างรัฐธรรมนูญ อาทิ นายพีระพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กรรมการ กล่าวว่า อยากให้มีทางเลือกของบุคลากรมากขึ้นเมื่อเกิดวิกฤตทางการเมือง ไม่ใช่จะนึกถึงเพียง นพ. ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส หรือ นายนรนิติ เศรษฐบุตร อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมากระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองที่จัดให้ภาคประชาชนมีน้อยมาก ส่วนสถาบันพระปกเกล้า หรือวปอ. ก็มุ่งให้ความรู้ไปที่นักการเมืองและข้าราชการ ดังนั้น การให้ความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองกับภาคประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำ
พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า การตั้ง ส.ส.ร.3 ควรมี เพื่อให้เกิดการปฏิรูปการเมืองทั้งระบบ หรือการตั้งกติกาอะไรออกมาถูกมองว่าเป็นการซื้อเวลามาตลอด ตนไม่อยากให้คณะกรรมการฯทำงานแบบเสียเวลาเปล่า การทำงานทางการเมืองต้องกล้า นายกฯ มีความกล้าที่จะบอกว่ารัฐธรรมนูญ มาตราใดควรแก้ไขบ้าง ไม่ใช่ไปโยนภาระให้ ส.ส.ร.99 คน
นายตวง กล่าวว่า การให้ฝ่ายการเมืองไปดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญเองจะเกิดความไม่ไว้วางใจของภาคประชาชน เปรียบเหมือนกับให้แมวไปทำลูกกระพรวนแขวนคอตัวเอง ก็จะได้ลูกกระพรวนที่ไม่มีเสียง ทั้งนี้การเสนอให้มี ส.ส.ร.3 ไม่ใช่การซื้อเวลา แต่เป็นการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
นายประเสริฐ ชิดพงษ์ ส.ว.สงขลา ประธานคณะอนุกรรมการฯ กล่าวว่า สิ่งที่อนุกรรมการเสนอต่อที่ประชุมส่วนใหญ่ไม่ได้นำไปสู่การปฏิรูปการเมือง เป็นการแก้ปัญหาการเมือง แก้ปัญหาให้นักการเมือง
นายสันติ พร้อมพัฒน์ กรรมการจากพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องแก้รัฐธรรมนูญบางมาตรา เพราะการบริหารประเทศ และอำนาจนั้นถูกใช้โดยนักการเมือง หากกฎหมายต่างๆ มีข้อจำกัดจนกระทั่งไปสร้างสองมาตรฐานทำให้นักการเมืองไม่สามารถใช้อำนาจหรือมีอำนาจที่ผิดๆ จึงเป็นเรื่องถูกต้องที่ต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้นักการเมืองใช้อำนาจและกำหนดอย่างชอบธรรมและเป็นธรรม การบริหารบ้านเมืองที่ดี มีความสงบสุขจะทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ ไม่ทำให้นักการเมืองมาทะเลาะกัน ซึ่งตนเห็นว่ามีความจำเป็น ไม่ใช่ข้อน่ารังเกียจ ทั้งนี้ในระยะสั้นควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในบางมาตราที่เห็นว่าเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในบ้านเมืองก่อน
นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ กรรมการ กล่าวว่า ช่วงที่ไม่มีการเลือกตั้งกกต.จะไม่ได้ทำงานเลย ความจริงควรเดินหน้าให้ความรู้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้เลือกนักการเมืองเข้ามาในสภา แต่นี่ไม่ทำ อะไร ดีแต่คิดเลือกตั้ง
นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ส.ว.สรรหา กล่าวว่า นอกจาก กกต.แล้วยังมีผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ต้องมีหน้าที่ดูแลการบริหารราชการแผ่นดิน ไม่ใช่ดูเฉพาะงานในระบบรัฐสภา เพราะมีอำนาจหน้าที่ให้การศึกษา ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ เพราะเมื่อเกิดวิกฤตประเทศเราไม่เคยได้รับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานเหล่านี้เลย
จากนั้น นายดิเรก กล่าวสรุปว่า ยุทธศาสตร์ที่ 4 ให้ยืนตามที่คณะอนุกรรมการเสนอ และขอให้คณะอนุกรรมการ เสนอวิธีปฏิบัติด้วยว่าต้องทำอย่างไร เพื่อเป็นคู่มือให้รัฐบาลนำไปปฏิบัติ ทั้งนี้ วันที่ 9-11 มิถุนายน คณะกรรมการจะพิจารณาผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น จากนั้นวันที่ 16 มิถุนายน เป็นการพิจารณาแผนปฏิบัติการของอนุกรรมการสมานฉันท์ ส่วนวันที่ 17 มิถุนายน จะเป็นการพิจารณาแผนปฏิบัติการของอนุกรรมการปฏิรูปฯ จากนั้นวันที่ 17-19 มิถุนายน ฝ่ายเลขานุการสรุปรายงาน และวันที่ 20 มิถุนายน คณะกรรมการชุดใหญ่ จะเสนอรายงานทั้งหมดต่อประธานรัฐสภา พิจารณาต่อไป