ที่รัฐสภา วานนี้ (26 พ.ค.) มีการประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ประธานคณะกรรมการเป็นประธานการประชุม เพื่อพิจารณาผลการศึกษา ของคณะอนุกรรมการสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองของสังคมไทย ซึ่งคณะกรรมการฯ กำหนดตารางการพิจารณาไว้ 3 วัน คือวันที่ 26-28 พ.ค.
นายตวง อันทะไชย ส..ว.สรรหา ประธานคณะอนุกรรมการสร้างความสมานฉันท์ฯ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการฯมีข้อเสนอระยะเร่งด่วน 7 ข้อ คือ 1.ลดวิวาทะไม่ตอบโต้ร้ายทางการเมือง โดยให้พรรคการเมืองเป็นเจ้าภาพ 2.รัฐบาลและฝ่ายค้านต้องลดการสร้างเงื่อนไขนำไปสู่ความรุนแรง โดยต้องเริ่มแสดงพฤติกรรม เพื่อเป็นแบบอย่างในสังคม
3.ให้สื่อมวลชนทุกแขนงเข้ามาเป็นเครือข่ายในการรณรงค์และสร้างความสมานฉันท์ในชาติ เพื่อพื้นที่ข่าวสร้างสรรค์ สื่อสารลดความขัดแย้ง 4..ควรมีกระบวนการเจรจาสร้างสันติสุขกับคู่ขัดแย้งทุกระดับ โดยมอบหมายให้สถาบันพระปกเกล้า และองค์กรที่เป็นกลางยอมรับได้ของทุกฝ่ายเป็นเจ้าภาพ เพื่อลดความขัดแย้ง
5.ตั้งสมัชชาสมานฉันท์เพื่อระดมความเห็นจากประชาชนทั้ง 4 ภาค โดยรัฐสภาเป็นเจ้าภาพ 6.สร้างรัฐธรรมนูญสมานฉันท์ โดยมีการศึกษาผลกระทบจากการบังคับใช้ และผลของการบังคับใช้ ต้องให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน โดยมีรัฐสภา คือ รัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ส.และ ส.ว. รวมไปถึงองค์กรประชาชนทุกภาคส่วนร่วมกันคิด นำไปสู่การเลือกตั้งที่สันติ 7.สร้างกระแสสังคมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ไม่เลือกสี ไม่เลือกข้างว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน
นอกจากนี้ ควรให้รัฐสภาตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ทำงานต่อไป เพื่อรองรับการปฏิรูปการเมืองในอนาคต การแก้รัฐธรรมนูญ การยุบสภาที่จะนำไปสู่การเลือกตั้ง โดยผ่านองค์กรเครือข่ายทางความคิดทุกฝ่าย เพื่อลดระดับความขัดแย้งในประเด็นการเมือง
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์(นิด้า) กรรมการ กล่าวว่า การจะลดความขัดแย้งคงเป็นไปไม่ได้ เพราะกลุ่มที่ขัดแย้ง มีจุดยืนต่างกันมาก ซึ่งโดยปกติก็ต้องตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามเพื่อรักษาจุดของตัวเอง และยังมีสื่อขยายผล วิวาทะจึงดำรงอยู่ สิ่งที่จะทำได้คือ ให้กลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คู่ขัดแย้งเห็นว่า การตอบโต้เป็นผลเสียต่อสังคมและไม่ได้รับการสนับสนุนจากสังคม
นายอรรคพล สรสุชาติ กรรมการจากสัดส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า การลดวิวาทะจะทำไมได้เลย หากไม่พูดกับสื่อชัดๆว่า อะไรควรเป็นข่าว แต่ข่าวจากสื่อ ก็เป็นสิ่งสะท้อนสังคม ไม่ต่างจากละคร สุดท้ายก็เป็นการขยายผลจากวิวาทะ ในอดีต ที่แรงที่สุดคือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะมีการขยายผล หรือการถ่ายทอดสด แต่ตอนนี้ ทั้งการปราศรัยตามที่ต่างๆ ก็ถ่ายทอสดทั้งนั้น ก็ต้องปลุกอารมณ์ ตนคิดว่า สื่อต้องคว่ำบาตรคนที่พูดจาไม่สร้างสรรค์ ไม่เสนอข่าวคนๆ นั้น
ทั้งนี้ วิวาทะไม่ได้มีแค่ ครั้งเดียวจบ แต่มีมาเรื่อยๆ ยิ่งวันเสาร์อาทิตย์ ไม่มีข่าว แต่ละคนก็สรรหาคำมา โต้ตอบกัน เช้าพูด สายโต้ตอบ เย็นวิเคราะห์ ค่ำเชิญนักวิชาการมาผสมโรง รุ่งขึ้นข่าวก็เป็นการยำทั้งหมดรวมกัน ขยายผลต่ออีก สื่อเองก็เอาไมค์ไปจ่อปาก เป็นข่าวปิงปอง ประชาชนก็ดูบางช่วงไม่ได้ดูบางช่วง เกิดความเบื่อหน่าย ฉะนั้นต้องลดวิวาทะ ลดทิฐิ ลดอคติ
นายสันติ พร้อมพัฒน์ กรรมการจากสัดส่วนพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สนับสนุนให้สื่อการคว่ำบาตรไม่ลงข่าวผู้ที่พูดเท็จ ใส่ร้าย สร้างความขัดแย้ง เหมือนในต่างประเทศ สื่อก็มีมาตรการแบบนี้กับคนที่มีพฤติกรรมดังกล่าว
ด้านนายตวง ชี้แจงว่า ที่อภิปรายกันมา ไม่แน่ใจว่า ที่ประชุมจะแก้ปัญหาที่โลกทัศน์ของประชาชน หรือโลกทัศน์ของนักการเมืองกันแน่ เพราะประชาชนดูถ่ายทอดการประชุม ก็เห็นข้อเท็จจริงอยู่ว่า นักการเมืองทะเลาะกัน ไม่ได้พูดสาระสำคัญอะไรมากมายในการประชุม ฉะนั้นนักการเมืองต้องดูตัวเองด้วยเช่นกัน
ขณะที่นาย เสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ที่ปรึกษาคณะกรรมการฯ กล่าวว่า การจะทำให้สมานฉันท์เป็นรูปธรรม ต้องมองไปที่สาเหตุ ซึ่งข้อเสนอข้อ 1 เรื่องการลดการวิวาทะ ตนคิดว่า วิวาทะ ไม่ได้สร้างความแตกแยกประชาชนมากนัก เหตุที่เกิดขึ้นอย่ามาโยนแต่นักการเมือง นักการเมืองเล่นการเมืองตามระบบ แต่ก็ถูกดูหมิ่น มีการโจมตีว่าซื้อเสียง ส.ส.หรือแม้แต่รัฐมนตรีก็หมดความสง่างาม
นายเสนาะ กล่าวว่า การวิวาทะเป็นเรื่องการเมือง เมื่อก่อนไม่มีการทดเท็จใส่ร้ายป้ายสีจนเกิดเหตุ แต่เดี๋ยวนี้มีเครื่องมือเยอะ ใครทำอะไรไปขัดผลประโยชน์ของตัวเองก็จะใช้มือที่สาม ไปกล่าวหา เดี๋ยวนี้มีนักวิชาการรับจ้างไปออกรายการพูดเหน็บแนมเยอะแยะ
ปัญหาเกิดจากคนนอกวง และกลุ่มผลประโยชน์ทั้งนั้น ถ้าเป็นข้างในวง จะไม่ขนาดนี้ ตอนนี้พรรคการเมืองเป็นแก๊งการเมือง เดี๋ยวนี้ซื้อผู้แทนเลยแล้วมาตั้งกันเป็นแก๊งเป็นกลุ่มเป็นฝ่าย เกิดการส่งนอมินีเข้ามาเป็นผู้แทนฯ เข้ามาเป็นรัฐมนตรี มาจัดสรรผลประโยชนื รัฐบาลก็ต้องมีเสียง จึงเกิดปรากฏการณ์ว่า ใครจะเอาอะไรก็ได้ ดังนั้น ผมคิดว่า ต้องหาทางจัดรัฐบาล ไล่กุ๊ยการเมืองไปให้ได้ ทำได้ปัญหาจบเลย
นายเสนาะ กล่าวว่าด้วยเหตุนี้ตนจึงเสนอให้จับมือกันทุกฝ่าย แต่ไม่มีใครทำกันทั้งที่เป็นผู้ใหญ่กันทั้งนั้นยังเล่นแง่กัน บุคลากรแค่นี้ไม่พอบริหารประเทศแน่ ตนคิดว่าช่วยกันหาคนนอก คนใน แต่ละพรรคช่วยกันสรรหามา คนนอก 10 คน คนใน 20 คน แค่นี้ก็สมานฉันฑ์คนทุกภาคได้ แค่เสียสละกันแป๊บเดียวเอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากการอภิปรายนานกว่า 3 ชั่วโมง นายดิเรก ได้สรุปข้อเสนอระยะเร่งด่วน ซึ่งที่ประชุมมีมติแก้ไขแล้ว 2 ข้อคือ 1.ให้ทุกฝ่ายลดวิวาทะ ลดทิฐิ ลดอคติ และการตอบโต้ใส่ร้ายทางการเมือง ทั้งนักการเมืองและองค์กรทางสังคม 2.รัฐบาลและฝ่ายค้าน ควรลดเงื่อนไขเดิมที่มีอยู่และไม่สร้างเงื่อนไขใหม่ในความ ขัดแย้ง
นายตวง อันทะไชย ส..ว.สรรหา ประธานคณะอนุกรรมการสร้างความสมานฉันท์ฯ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการฯมีข้อเสนอระยะเร่งด่วน 7 ข้อ คือ 1.ลดวิวาทะไม่ตอบโต้ร้ายทางการเมือง โดยให้พรรคการเมืองเป็นเจ้าภาพ 2.รัฐบาลและฝ่ายค้านต้องลดการสร้างเงื่อนไขนำไปสู่ความรุนแรง โดยต้องเริ่มแสดงพฤติกรรม เพื่อเป็นแบบอย่างในสังคม
3.ให้สื่อมวลชนทุกแขนงเข้ามาเป็นเครือข่ายในการรณรงค์และสร้างความสมานฉันท์ในชาติ เพื่อพื้นที่ข่าวสร้างสรรค์ สื่อสารลดความขัดแย้ง 4..ควรมีกระบวนการเจรจาสร้างสันติสุขกับคู่ขัดแย้งทุกระดับ โดยมอบหมายให้สถาบันพระปกเกล้า และองค์กรที่เป็นกลางยอมรับได้ของทุกฝ่ายเป็นเจ้าภาพ เพื่อลดความขัดแย้ง
5.ตั้งสมัชชาสมานฉันท์เพื่อระดมความเห็นจากประชาชนทั้ง 4 ภาค โดยรัฐสภาเป็นเจ้าภาพ 6.สร้างรัฐธรรมนูญสมานฉันท์ โดยมีการศึกษาผลกระทบจากการบังคับใช้ และผลของการบังคับใช้ ต้องให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน โดยมีรัฐสภา คือ รัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ส.และ ส.ว. รวมไปถึงองค์กรประชาชนทุกภาคส่วนร่วมกันคิด นำไปสู่การเลือกตั้งที่สันติ 7.สร้างกระแสสังคมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ไม่เลือกสี ไม่เลือกข้างว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน
นอกจากนี้ ควรให้รัฐสภาตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ทำงานต่อไป เพื่อรองรับการปฏิรูปการเมืองในอนาคต การแก้รัฐธรรมนูญ การยุบสภาที่จะนำไปสู่การเลือกตั้ง โดยผ่านองค์กรเครือข่ายทางความคิดทุกฝ่าย เพื่อลดระดับความขัดแย้งในประเด็นการเมือง
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์(นิด้า) กรรมการ กล่าวว่า การจะลดความขัดแย้งคงเป็นไปไม่ได้ เพราะกลุ่มที่ขัดแย้ง มีจุดยืนต่างกันมาก ซึ่งโดยปกติก็ต้องตอบโต้ฝ่ายตรงข้ามเพื่อรักษาจุดของตัวเอง และยังมีสื่อขยายผล วิวาทะจึงดำรงอยู่ สิ่งที่จะทำได้คือ ให้กลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ไม่ใช่คู่ขัดแย้งเห็นว่า การตอบโต้เป็นผลเสียต่อสังคมและไม่ได้รับการสนับสนุนจากสังคม
นายอรรคพล สรสุชาติ กรรมการจากสัดส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวว่า การลดวิวาทะจะทำไมได้เลย หากไม่พูดกับสื่อชัดๆว่า อะไรควรเป็นข่าว แต่ข่าวจากสื่อ ก็เป็นสิ่งสะท้อนสังคม ไม่ต่างจากละคร สุดท้ายก็เป็นการขยายผลจากวิวาทะ ในอดีต ที่แรงที่สุดคือ การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่จะมีการขยายผล หรือการถ่ายทอดสด แต่ตอนนี้ ทั้งการปราศรัยตามที่ต่างๆ ก็ถ่ายทอสดทั้งนั้น ก็ต้องปลุกอารมณ์ ตนคิดว่า สื่อต้องคว่ำบาตรคนที่พูดจาไม่สร้างสรรค์ ไม่เสนอข่าวคนๆ นั้น
ทั้งนี้ วิวาทะไม่ได้มีแค่ ครั้งเดียวจบ แต่มีมาเรื่อยๆ ยิ่งวันเสาร์อาทิตย์ ไม่มีข่าว แต่ละคนก็สรรหาคำมา โต้ตอบกัน เช้าพูด สายโต้ตอบ เย็นวิเคราะห์ ค่ำเชิญนักวิชาการมาผสมโรง รุ่งขึ้นข่าวก็เป็นการยำทั้งหมดรวมกัน ขยายผลต่ออีก สื่อเองก็เอาไมค์ไปจ่อปาก เป็นข่าวปิงปอง ประชาชนก็ดูบางช่วงไม่ได้ดูบางช่วง เกิดความเบื่อหน่าย ฉะนั้นต้องลดวิวาทะ ลดทิฐิ ลดอคติ
นายสันติ พร้อมพัฒน์ กรรมการจากสัดส่วนพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สนับสนุนให้สื่อการคว่ำบาตรไม่ลงข่าวผู้ที่พูดเท็จ ใส่ร้าย สร้างความขัดแย้ง เหมือนในต่างประเทศ สื่อก็มีมาตรการแบบนี้กับคนที่มีพฤติกรรมดังกล่าว
ด้านนายตวง ชี้แจงว่า ที่อภิปรายกันมา ไม่แน่ใจว่า ที่ประชุมจะแก้ปัญหาที่โลกทัศน์ของประชาชน หรือโลกทัศน์ของนักการเมืองกันแน่ เพราะประชาชนดูถ่ายทอดการประชุม ก็เห็นข้อเท็จจริงอยู่ว่า นักการเมืองทะเลาะกัน ไม่ได้พูดสาระสำคัญอะไรมากมายในการประชุม ฉะนั้นนักการเมืองต้องดูตัวเองด้วยเช่นกัน
ขณะที่นาย เสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช ที่ปรึกษาคณะกรรมการฯ กล่าวว่า การจะทำให้สมานฉันท์เป็นรูปธรรม ต้องมองไปที่สาเหตุ ซึ่งข้อเสนอข้อ 1 เรื่องการลดการวิวาทะ ตนคิดว่า วิวาทะ ไม่ได้สร้างความแตกแยกประชาชนมากนัก เหตุที่เกิดขึ้นอย่ามาโยนแต่นักการเมือง นักการเมืองเล่นการเมืองตามระบบ แต่ก็ถูกดูหมิ่น มีการโจมตีว่าซื้อเสียง ส.ส.หรือแม้แต่รัฐมนตรีก็หมดความสง่างาม
นายเสนาะ กล่าวว่า การวิวาทะเป็นเรื่องการเมือง เมื่อก่อนไม่มีการทดเท็จใส่ร้ายป้ายสีจนเกิดเหตุ แต่เดี๋ยวนี้มีเครื่องมือเยอะ ใครทำอะไรไปขัดผลประโยชน์ของตัวเองก็จะใช้มือที่สาม ไปกล่าวหา เดี๋ยวนี้มีนักวิชาการรับจ้างไปออกรายการพูดเหน็บแนมเยอะแยะ
ปัญหาเกิดจากคนนอกวง และกลุ่มผลประโยชน์ทั้งนั้น ถ้าเป็นข้างในวง จะไม่ขนาดนี้ ตอนนี้พรรคการเมืองเป็นแก๊งการเมือง เดี๋ยวนี้ซื้อผู้แทนเลยแล้วมาตั้งกันเป็นแก๊งเป็นกลุ่มเป็นฝ่าย เกิดการส่งนอมินีเข้ามาเป็นผู้แทนฯ เข้ามาเป็นรัฐมนตรี มาจัดสรรผลประโยชนื รัฐบาลก็ต้องมีเสียง จึงเกิดปรากฏการณ์ว่า ใครจะเอาอะไรก็ได้ ดังนั้น ผมคิดว่า ต้องหาทางจัดรัฐบาล ไล่กุ๊ยการเมืองไปให้ได้ ทำได้ปัญหาจบเลย
นายเสนาะ กล่าวว่าด้วยเหตุนี้ตนจึงเสนอให้จับมือกันทุกฝ่าย แต่ไม่มีใครทำกันทั้งที่เป็นผู้ใหญ่กันทั้งนั้นยังเล่นแง่กัน บุคลากรแค่นี้ไม่พอบริหารประเทศแน่ ตนคิดว่าช่วยกันหาคนนอก คนใน แต่ละพรรคช่วยกันสรรหามา คนนอก 10 คน คนใน 20 คน แค่นี้ก็สมานฉันฑ์คนทุกภาคได้ แค่เสียสละกันแป๊บเดียวเอง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากการอภิปรายนานกว่า 3 ชั่วโมง นายดิเรก ได้สรุปข้อเสนอระยะเร่งด่วน ซึ่งที่ประชุมมีมติแก้ไขแล้ว 2 ข้อคือ 1.ให้ทุกฝ่ายลดวิวาทะ ลดทิฐิ ลดอคติ และการตอบโต้ใส่ร้ายทางการเมือง ทั้งนักการเมืองและองค์กรทางสังคม 2.รัฐบาลและฝ่ายค้าน ควรลดเงื่อนไขเดิมที่มีอยู่และไม่สร้างเงื่อนไขใหม่ในความ ขัดแย้ง