นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์เกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อคณะกรรมการสมานฉันท์ฯว่า คณะทำงานของพรรคเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ได้เสนอประเด็นการแก้ไข ตามที่เคยมีการศึกษาตั้งแต่ตอนยกร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมการชุดอื่นที่ตั้งขึ้นเพื่อศึกษาเรื่องนี้มาก่อนหน้านี้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่พรรคเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.237 ในเรื่อง การยุบพรรคนั้นเห็นว่าควรแยก แยกระหว่างการลงโทษพรรคกับการลงโทษกรรมการบริหาร เพราะเห็นว่าพรรคเป็นองค์กร ที่เป็นของสมาชิกทุกคน ซึ่งการไปยุบพรรคแล้วกระทบกับสมาชิกดูไม่เป็นธรรมกับสมาชิก แต่กรรมการบริหารเป็นผู้ที่รับผิดชอบการบริหารพรรค หากพรรคจะทำอะไรที่ผิดต้องรับผิดชอบ แต่ไม่ควรกระเทือนไปถึงสมาชิก
ส่วนที่มีข้อเสนอจาก คณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองของสังคมไทยให้คู่ขัดแย้งมาเจรจากันทางลับนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าหมายถึงใคร เจรจาในเรื่องอะไร เห็นแต่ข่าวเฉยๆว่า เสนอให้แกนนำคู่ขัดแย้งเจรจากัน อย่างไรก็ตามตนไม่ได้คิดว่า ปัญหาของประเทศขณะนี้เป็นปัญหาที่เป็นความขัดแย้งส่วนตัวของใคร ตนมองว่า แนวทางแก้ไขขณะนี้คือ การสร้างระบบที่เป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับมากกว่า ทั้งนี้ตนไม่แน่ใจว่า ผู้เสนอเขาคิดว่า คู่ขัดแย้งที่ว่านี้ คือใคร และจะให้เจราจาเรื่องอะไร แต่ถ้าถามทัศนะตนก็บอกว่า การแก้ไขปัญหาขณะนี้เป็นเรื่องการสร้างระบบ ให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายมากกว่า
ส่วนที่นายชุมพล ศิลปะอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เสนอว่า คู่ขัดแย้งคือ ผู้ที่เคยทำธุรกิจด้วยกันเคยเป็นเพื่อนกันมาก่อน แต่มาแตกแยกกัน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าความขัดแย้งที่มีในสังคมขณะนี้ และมีคนจำนวนมากที่เคลื่อนไหว หรือมีการแสดงความคิดเห็น คงจะเป็นประเด็นที่สำคัญและกว้างไปกว่าประเด็นความขัดแย้งส่วนตัวดูที่มาของความขัดแย้งขณะนี้
วานนี้ (21 พ.ค.) มีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทาง สร้างความ สมานฉันท์ทางการเมืองของสังคมไทย มีนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมการฯเป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมได้สรุปแนวทางสมานฉันท์เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ชุดใหญ่ในวันที่ 26 พ.ค.นี้ โดยทั้งหมดมี 8 แนวทางคือ 1.ลดวิวาทะทางการเมืองด้วยการตอบโต้ ใส่ร้ายซึ่งกันและกัน โดยมอบหมายให้ พรรคการเมืองทุกพรรคเป็นเจ้าภาพ 2.รัฐบาลและฝ่ายค้านต้องลดการสร้างเงื่อนไข นำไปสู่ความรุนแรง โดยรัฐบาลและฝ่ายค้าน จะต้องเป็นฝ่ายริเริ่ม เป็นแบบอย่างในสังคม 3.ให้สื่อมวลชนทุกแขนงเข้ามาเป็นเครือข่ายในการรณรงค์และสร้างความ สมานฉันท์ในชาติ โดยการเป็นเจ้าภาพในการประสานงาน และสื่อสารลดความขัดแย้งในสังคม ไม่มีการชี้นำให้เกิดความขัดแย้ง
4.ควรมีกระบวนการเจรจาสร้างสันติสุขกับคู่ขัดแย้งทุกระดับ โดยมอบหมายให้สถาบันพระปกเกลา และองค์ที่เป็นกลางยอมรับได้ของทุกฝ่าย เพื่อลดความขัดแย้ง 5.ตั้งสมัชชาสมานฉันท์เพื่อระดมความเห็นจากประชาชนทั้ง 4 ภาค โดยรัฐสภาเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะมีการจัดเวทีสมานฉันท์ทางอากาศ 6.ร่วมกันสร้างรัฐธรรมนูญสมานฉันท์ โดยมีการศึกษาผลกระทบจากการบังคับใช้ และผลของการบังคับใช้ต้องให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน โดยมี รัฐสภา คือ รัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ส.และส.ว.รวมไปถึงองค์กรประชาชนทุกภาคส่วน ร่วมกันคิด 7.องค์กรต่างๆ ในสังคมต้องใช้อำนาจด้วยความถูกต้อง ลดการใช้ความรุนแรง และ 8.สร้างกระแสสังคมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ไม่เลือกสี ไม่เลือกข้างว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ละเว้นการแบ่งสี
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่พรรคเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.237 ในเรื่อง การยุบพรรคนั้นเห็นว่าควรแยก แยกระหว่างการลงโทษพรรคกับการลงโทษกรรมการบริหาร เพราะเห็นว่าพรรคเป็นองค์กร ที่เป็นของสมาชิกทุกคน ซึ่งการไปยุบพรรคแล้วกระทบกับสมาชิกดูไม่เป็นธรรมกับสมาชิก แต่กรรมการบริหารเป็นผู้ที่รับผิดชอบการบริหารพรรค หากพรรคจะทำอะไรที่ผิดต้องรับผิดชอบ แต่ไม่ควรกระเทือนไปถึงสมาชิก
ส่วนที่มีข้อเสนอจาก คณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองของสังคมไทยให้คู่ขัดแย้งมาเจรจากันทางลับนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่าหมายถึงใคร เจรจาในเรื่องอะไร เห็นแต่ข่าวเฉยๆว่า เสนอให้แกนนำคู่ขัดแย้งเจรจากัน อย่างไรก็ตามตนไม่ได้คิดว่า ปัญหาของประเทศขณะนี้เป็นปัญหาที่เป็นความขัดแย้งส่วนตัวของใคร ตนมองว่า แนวทางแก้ไขขณะนี้คือ การสร้างระบบที่เป็นธรรมและเป็นที่ยอมรับมากกว่า ทั้งนี้ตนไม่แน่ใจว่า ผู้เสนอเขาคิดว่า คู่ขัดแย้งที่ว่านี้ คือใคร และจะให้เจราจาเรื่องอะไร แต่ถ้าถามทัศนะตนก็บอกว่า การแก้ไขปัญหาขณะนี้เป็นเรื่องการสร้างระบบ ให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายมากกว่า
ส่วนที่นายชุมพล ศิลปะอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เสนอว่า คู่ขัดแย้งคือ ผู้ที่เคยทำธุรกิจด้วยกันเคยเป็นเพื่อนกันมาก่อน แต่มาแตกแยกกัน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าความขัดแย้งที่มีในสังคมขณะนี้ และมีคนจำนวนมากที่เคลื่อนไหว หรือมีการแสดงความคิดเห็น คงจะเป็นประเด็นที่สำคัญและกว้างไปกว่าประเด็นความขัดแย้งส่วนตัวดูที่มาของความขัดแย้งขณะนี้
วานนี้ (21 พ.ค.) มีการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทาง สร้างความ สมานฉันท์ทางการเมืองของสังคมไทย มีนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมการฯเป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมได้สรุปแนวทางสมานฉันท์เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ชุดใหญ่ในวันที่ 26 พ.ค.นี้ โดยทั้งหมดมี 8 แนวทางคือ 1.ลดวิวาทะทางการเมืองด้วยการตอบโต้ ใส่ร้ายซึ่งกันและกัน โดยมอบหมายให้ พรรคการเมืองทุกพรรคเป็นเจ้าภาพ 2.รัฐบาลและฝ่ายค้านต้องลดการสร้างเงื่อนไข นำไปสู่ความรุนแรง โดยรัฐบาลและฝ่ายค้าน จะต้องเป็นฝ่ายริเริ่ม เป็นแบบอย่างในสังคม 3.ให้สื่อมวลชนทุกแขนงเข้ามาเป็นเครือข่ายในการรณรงค์และสร้างความ สมานฉันท์ในชาติ โดยการเป็นเจ้าภาพในการประสานงาน และสื่อสารลดความขัดแย้งในสังคม ไม่มีการชี้นำให้เกิดความขัดแย้ง
4.ควรมีกระบวนการเจรจาสร้างสันติสุขกับคู่ขัดแย้งทุกระดับ โดยมอบหมายให้สถาบันพระปกเกลา และองค์ที่เป็นกลางยอมรับได้ของทุกฝ่าย เพื่อลดความขัดแย้ง 5.ตั้งสมัชชาสมานฉันท์เพื่อระดมความเห็นจากประชาชนทั้ง 4 ภาค โดยรัฐสภาเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะมีการจัดเวทีสมานฉันท์ทางอากาศ 6.ร่วมกันสร้างรัฐธรรมนูญสมานฉันท์ โดยมีการศึกษาผลกระทบจากการบังคับใช้ และผลของการบังคับใช้ต้องให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน โดยมี รัฐสภา คือ รัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ส.และส.ว.รวมไปถึงองค์กรประชาชนทุกภาคส่วน ร่วมกันคิด 7.องค์กรต่างๆ ในสังคมต้องใช้อำนาจด้วยความถูกต้อง ลดการใช้ความรุนแรง และ 8.สร้างกระแสสังคมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ไม่เลือกสี ไม่เลือกข้างว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ละเว้นการแบ่งสี