นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ในฐานะคณะอนุกรรมการสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองของสังคมไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการฯ ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปแนวทางการสร้างความสมานฉันท์ 8 แนวทาง คือ 1. ลดวิวาทะทางการเมืองด้วยการตอบโต้ ใส่ร้ายซึ่งกันและกัน 2. รัฐบาลและฝ่ายค้านต้องลดการสร้างเงื่อนไขนำไปสู่ความรุนแรง 3. ให้สื่อมวลชนทุกแขนงเข้ามาเป็นเครือข่ายในการรณรงค์และสร้างความสมานฉันท์ในชาติ 4. ควรมีกระบวนการเจรจาสร้างสันติสุขกับคู่ขัดแย้งทุกระดับ 5. ตั้งสมัชชาสมานฉันท์เพื่อระดมความเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน 6. ร่วมกันสร้างรัฐธรรมนูญสมานฉันท์ โดยมีการศึกษาผลกระทบจากการบังคับใช้ และผลของการบังคับใช้ต้องให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน 7. องค์กรต่างๆ ในสังคมต้องใช้อำนาจด้วยความถูกต้อง ลดการใช้ความรุนแรง และ 8. สร้างกระแสสังคมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ไม่เลือกสี ไม่เลือกข้างว่าจะเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ละเว้นการแบ่งสี
นายตวง กล่าวว่า ทั้ง 8 แนวทางการสร้างความสมานฉันท์ จะมีการประชุมสรุปครั้งสุดท้ายอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ (21 พ.ค.) เวลา 09.30 น. เพื่อหาเจ้าภาพในการดำเนินการอย่างเป็นทางการ เช่น การสร้างกระแสสังคมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะมีรูปแบบของการรณรงค์ด้วยการทำเสื้อ มีสัญลักษณ์และสโลแกนของการสร้างความสมานฉันท์ โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้ดำเนินการคิดรูปแบบสัญลักษณ์และสโลแกน พร้อมทั้งจะขอความร่วมมือกับสื่อมวลชนทุกแขนงในการร่วมรณรงค์
ประธานคณะอนุกรรมการสร้างความสมานฉันท์ฯ กล่าวด้วยว่า ในการประชุมครั้งนี้มีอนุกรรมการบางส่วน เสนอให้มีการต่ออายุของอนุกรรมการฯ ต่อไปอีก แต่ที่ประชุมเห็นว่าสมควรที่จะปฏิบัติตามกรอบเวลา ซึ่งหากประชาชนเห็นความสำคัญกับแนวทางนี้ สุดท้ายประชาชนจะมาเป็นแนวร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ โดยอนุกรรมการฯ อาจเสนอประธานสภา เพื่อขอตั้งคณะกรรมการเพื่อสร้างความสมานฉันท์ ขึ้นมาทำงานเรื่องนี้อย่างจริงจังต่อไป เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
นายตวง กล่าวว่า ทั้ง 8 แนวทางการสร้างความสมานฉันท์ จะมีการประชุมสรุปครั้งสุดท้ายอีกครั้งในวันพรุ่งนี้ (21 พ.ค.) เวลา 09.30 น. เพื่อหาเจ้าภาพในการดำเนินการอย่างเป็นทางการ เช่น การสร้างกระแสสังคมให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะมีรูปแบบของการรณรงค์ด้วยการทำเสื้อ มีสัญลักษณ์และสโลแกนของการสร้างความสมานฉันท์ โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้ดำเนินการคิดรูปแบบสัญลักษณ์และสโลแกน พร้อมทั้งจะขอความร่วมมือกับสื่อมวลชนทุกแขนงในการร่วมรณรงค์
ประธานคณะอนุกรรมการสร้างความสมานฉันท์ฯ กล่าวด้วยว่า ในการประชุมครั้งนี้มีอนุกรรมการบางส่วน เสนอให้มีการต่ออายุของอนุกรรมการฯ ต่อไปอีก แต่ที่ประชุมเห็นว่าสมควรที่จะปฏิบัติตามกรอบเวลา ซึ่งหากประชาชนเห็นความสำคัญกับแนวทางนี้ สุดท้ายประชาชนจะมาเป็นแนวร่วมในการสร้างความสมานฉันท์ โดยอนุกรรมการฯ อาจเสนอประธานสภา เพื่อขอตั้งคณะกรรมการเพื่อสร้างความสมานฉันท์ ขึ้นมาทำงานเรื่องนี้อย่างจริงจังต่อไป เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม