ด่วนที่สุด
จดหมายเปิดผนึก
๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๑
เรื่อง การนำวิกฤตออกจากอำนาจ
เรียน ผู้แทนปวงชนชาวไทย
ด้วยปรากฏแจ้งแล้วต่อสาธารณชน จากปัญหาวิกฤตทางการเมืองไทย ซึ่งได้ขยายตัวลุกลามไปสู่วิกฤตของประเทศ และกำลังจะนำประเทศไปสู่ความล่มจม ดังพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเตือนแก่สังคมไทยไปแล้วติดต่อกันถึงสองวโรกาส ความละเอียดดังที่ทราบกันแล้วนั้น
จนถึงเวลานี้ปัญหาวิกฤตทางการเมืองดังกล่าว หาได้คลี่คลายไปในหนทางที่น่าไว้วางใจไม่ ในทางตรงกันข้ามกลับมีแนวโน้มที่กำลังเดินเข้าสู่ความรุนแรงที่มากขึ้น อันมีต้นตอและผลสืบเนื่องจากวิกฤตความชอบธรรมในทางการเมือง ที่แสดงออกจากพฤติกรรมการใช้อำนาจรัฐของรัฐบาลปัจจุบันที่มีท่าทีวางเฉยในความรับผิดชอบในทางการเมืองตลอดจนความมีจริยธรรมในทางการเมือง ดังเห็นได้จากกรณีการจงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๙๐ โดยไม่ได้ขอความเห็นชอบจากรัฐสภาในการลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา แม้ในกรณีนี้จะเป็นเหตุในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลไปแล้วก็ตามแต่ก็หาได้มีผลเปลี่ยนแปลงใดๆ เลยในทางการเมืองรวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดว่ากระบวนการดังกล่าวเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแต่รัฐบาลก็มิได้แสดงความรับผิดชอบหรือแก้ไข สถานการณ์เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติแต่อย่างใด จากปัญหาดังกล่าวจึงก่อให้เกิดปัญหาคาใจต่อสาธารณชนตลอด ถึงแม้ว่าก่อนเข้าทำหน้าที่ทั้งที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ/หรือ รัฐบาลที่เข้าบริหารประเทศ จะได้มีการถวายสัตย์ปฏิญาณ ต่อพระมหากษัตริย์ตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๗๕ ตามความที่ว่า “ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีพระมหากษัตริย์ และ จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” จนเป็นเหตุให้รัฐบาลนี้ถูกโจษขานในเรื่องความชอบธรรมในการบริหารประเทศ อันนำไปสู่การลุกฮือของประชาชนทั่วประเทศ โดยแสดงออกในลักษณะของอารยะขัดขืน (civil disobedience) อย่างกว้างขวางและมีแนวโน้มขยายวงออกไปมากขึ้น จนอาจทำให้การบริหารราชการแผ่นดินต้องหยุดชะงักอาจนำความเสียหายอย่างใหญ่หลวงมาสู่สังคม เศรษฐกิจ และ การเมืองไทยได้ในท้ายที่สุด
แทนที่รัฐบาลนี้จะระมัดระวังในการใช้อำนาจรัฐ และแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบในการบริหารแบบธรรมาภิบาลที่ดี แต่กลับมีพฤติกรรมการใช้อำนาจในลักษณะแบบรัฐตำรวจ (police state) จับกุมขุมขังและตั้งข้อหาประชาชนที่แสดงออกซึ่งอารยะขันขืนโดยสันติวิธี จากทัศนะคติที่คับแคบมองประชาชนดังกล่าวเป็นเพียงศัตรูทางการเมืองที่จะต้องขจัดให้พ้นไป
นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลบล้างความผิดให้แก่อดีตนายกรัฐมนตรีและครอบครัว อันส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย อีกทั้งพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อหลีกหนีความผิดจากการยุบพรรค การกระทำเหล่านี้เป็นการกระทำโดยอาศัยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรโดยไม่ฟังเสียงสะท้อนของประชาชน ความมุ่งหมายในการกระทำดังกล่าวย่อมนำมาซึ่งการขาดความชอบธรรมต่อการดำรงอยู่ของรัฐบาลซึ่งจะต้องกระทำเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
พวกเราในฐานะที่เป็น คณาจารย์ทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ จากหลายมหาวิทยาลัย ได้ติดตามปัญหาดังกล่าวนี้มาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา รู้สึกวิตกห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้อำนาจของรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งถือว่ามีที่มาจากการรับรองของท่านตามความแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๗๒
ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบสูงสุดและเสียสละของท่าน พวกเราขอเรียกร้องในมโนธรรมสำนึกของท่านได้โปรดใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบ ดำเนินการในทุกวิถีทางที่จะหยุดยั้งการใช้อำนาจ และ ไม่ดำรงตนในฐานะที่จะสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลนี้อยู่ใช้อำนาจต่อไป จึงไม่มีหนทางใดที่เหมาะสมในขณะนี้ดีเท่าการเสียสละ ด้วยการลาออกเพื่อนำวิกฤติออกจากอำนาจโดยเร็ว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง
อ. ดร. นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์
อ.เจริญ คัมภีรภาพ
อ. คมสัน โพธิ์คง
จดหมายเปิดผนึก
๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๑
เรื่อง การนำวิกฤตออกจากอำนาจ
เรียน ผู้แทนปวงชนชาวไทย
ด้วยปรากฏแจ้งแล้วต่อสาธารณชน จากปัญหาวิกฤตทางการเมืองไทย ซึ่งได้ขยายตัวลุกลามไปสู่วิกฤตของประเทศ และกำลังจะนำประเทศไปสู่ความล่มจม ดังพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเตือนแก่สังคมไทยไปแล้วติดต่อกันถึงสองวโรกาส ความละเอียดดังที่ทราบกันแล้วนั้น
จนถึงเวลานี้ปัญหาวิกฤตทางการเมืองดังกล่าว หาได้คลี่คลายไปในหนทางที่น่าไว้วางใจไม่ ในทางตรงกันข้ามกลับมีแนวโน้มที่กำลังเดินเข้าสู่ความรุนแรงที่มากขึ้น อันมีต้นตอและผลสืบเนื่องจากวิกฤตความชอบธรรมในทางการเมือง ที่แสดงออกจากพฤติกรรมการใช้อำนาจรัฐของรัฐบาลปัจจุบันที่มีท่าทีวางเฉยในความรับผิดชอบในทางการเมืองตลอดจนความมีจริยธรรมในทางการเมือง ดังเห็นได้จากกรณีการจงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๙๐ โดยไม่ได้ขอความเห็นชอบจากรัฐสภาในการลงนามในแถลงการณ์ร่วมระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา แม้ในกรณีนี้จะเป็นเหตุในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลไปแล้วก็ตามแต่ก็หาได้มีผลเปลี่ยนแปลงใดๆ เลยในทางการเมืองรวมทั้งศาลรัฐธรรมนูญได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดว่ากระบวนการดังกล่าวเป็นการขัดต่อบทบัญญัติมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแต่รัฐบาลก็มิได้แสดงความรับผิดชอบหรือแก้ไข สถานการณ์เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติแต่อย่างใด จากปัญหาดังกล่าวจึงก่อให้เกิดปัญหาคาใจต่อสาธารณชนตลอด ถึงแม้ว่าก่อนเข้าทำหน้าที่ทั้งที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ/หรือ รัฐบาลที่เข้าบริหารประเทศ จะได้มีการถวายสัตย์ปฏิญาณ ต่อพระมหากษัตริย์ตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๗๕ ตามความที่ว่า “ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีพระมหากษัตริย์ และ จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ” จนเป็นเหตุให้รัฐบาลนี้ถูกโจษขานในเรื่องความชอบธรรมในการบริหารประเทศ อันนำไปสู่การลุกฮือของประชาชนทั่วประเทศ โดยแสดงออกในลักษณะของอารยะขัดขืน (civil disobedience) อย่างกว้างขวางและมีแนวโน้มขยายวงออกไปมากขึ้น จนอาจทำให้การบริหารราชการแผ่นดินต้องหยุดชะงักอาจนำความเสียหายอย่างใหญ่หลวงมาสู่สังคม เศรษฐกิจ และ การเมืองไทยได้ในท้ายที่สุด
แทนที่รัฐบาลนี้จะระมัดระวังในการใช้อำนาจรัฐ และแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบในการบริหารแบบธรรมาภิบาลที่ดี แต่กลับมีพฤติกรรมการใช้อำนาจในลักษณะแบบรัฐตำรวจ (police state) จับกุมขุมขังและตั้งข้อหาประชาชนที่แสดงออกซึ่งอารยะขันขืนโดยสันติวิธี จากทัศนะคติที่คับแคบมองประชาชนดังกล่าวเป็นเพียงศัตรูทางการเมืองที่จะต้องขจัดให้พ้นไป
นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลบล้างความผิดให้แก่อดีตนายกรัฐมนตรีและครอบครัว อันส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย อีกทั้งพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อหลีกหนีความผิดจากการยุบพรรค การกระทำเหล่านี้เป็นการกระทำโดยอาศัยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรโดยไม่ฟังเสียงสะท้อนของประชาชน ความมุ่งหมายในการกระทำดังกล่าวย่อมนำมาซึ่งการขาดความชอบธรรมต่อการดำรงอยู่ของรัฐบาลซึ่งจะต้องกระทำเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
พวกเราในฐานะที่เป็น คณาจารย์ทางนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ จากหลายมหาวิทยาลัย ได้ติดตามปัญหาดังกล่าวนี้มาอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา รู้สึกวิตกห่วงใยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้อำนาจของรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งถือว่ามีที่มาจากการรับรองของท่านตามความแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๑๗๒
ด้วยเหตุผลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบสูงสุดและเสียสละของท่าน พวกเราขอเรียกร้องในมโนธรรมสำนึกของท่านได้โปรดใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบ ดำเนินการในทุกวิถีทางที่จะหยุดยั้งการใช้อำนาจ และ ไม่ดำรงตนในฐานะที่จะสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลนี้อยู่ใช้อำนาจต่อไป จึงไม่มีหนทางใดที่เหมาะสมในขณะนี้ดีเท่าการเสียสละ ด้วยการลาออกเพื่อนำวิกฤติออกจากอำนาจโดยเร็ว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
เครือข่ายสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง
อ. ดร. นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์
อ.เจริญ คัมภีรภาพ
อ. คมสัน โพธิ์คง