ศูนย์ข่าวภาคเหนือ – นักวิชาการสับรัฐบาล “หมัก-หุ่นเชิด” อ้าง “นิติรัฐ” ทั้งที่ละเมิดกฎหมายมาตลอด กลับยืมมือศาลปราบปรามประชาชน ย้ำ วันนี้ทางออกมีแค่รัฐบาลลาออกทั้งคณะเท่านั้น
นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิจัยนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่า ปรากฏการณ์ครั้งนี้ ถือเป็นความรุนแรงที่สุดในการปกครองประเทศไทย หลังมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540-2550 ประเด็นสำคัญ คือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นรัฐพยายามจะบอกว่าประชาชนละเมิดกฎหมาย และใช้ศาลเป็นเครื่องมือในการกำจัดประชาชนที่ออกมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
“จริงอยู่ที่ประชาชนดื้อแพ่งในการบุกเข้ายึดสถานที่ราชการ แต่ประชาชนเหล่านั้นไม่มีเจตนาจะทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงการปกครอง หากแต่ต้องการเรียกร้องความยุติธรรมจากรัฐ และแก้ปัญหาการโกงกินบ้านเมือง”
นายคมสัน กล่าวอีกว่า ความรุนแรงในครั้งนี้ รัฐต้องออกมารับผิดชอบโดยการย้อนดูพฤติกรรมของตนเอง ว่า ยืนอยู่บนหลักนิติรัฐหรือไม่ ในขณะที่กำลังใช้อำนาจศาลไปปราบปรามประชาชน ฝ่ายตำรวจอ้างความชอบธรรมของการฝ่าฝืนคำพิพากษาของศาลไปปราบปรามประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลเองไม่ได้ดำเนินการบริหารบ้านเมืองตามหลักนิติรัฐอยู่แล้วมีการละเมิดกฎหมายอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อใช้มาตรการเชิงกฎหมายเข้าปราบปรามประชาชนไม่เพียงสร้างความเสียหายให้กับประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายลดลงไปทันที
ทางออกที่ดีนั้น ตนได้กล่าวผ่านโทรทัศน์ไทยพีบีเอสแล้ว ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์อันน่ารังเกียจนี้ คือ รัฐจะต้องรับผิดชอบโดยการ “ลาออกสถานเดียว และกลับไปทบทวน เพราะถ้าดูไปแล้วรัฐทำการละเมิดกฎหมายตลอดเวลา ทำให้ประชาชนไม่ยอมรับสิ่งที่รัฐทำ จนเป็นที่มาของประชาชนดื้อแพ่งหรืออารยะขัดขืน”
นายคมสัน บอกอีกว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นจะเห็นว่าไม่มี ส.ส.เข้าไปดูแลประชาชนเลย เพราะกรอบคิดของ ส.ส.มีความคิดเข้าข้างตัวเองและส่วนใหญ่เป็นฝ่ายของรัฐบาล การทำงานของชาวบ้านในครั้งนี้ถือเป็นแนวทางใหม่ เป็นการเมืองภาคประชาชนที่ออกมาทวงอำนาจตามกฎหมายนั่นเอง ซึ่งจะเห็นว่า มี ส.ว.กลุ่มหนึ่งเข้าไปช่วยเหลือให้กำลังใจ เป็นหน้าที่อันชอบธรรม
“จากนี้ไปมีทางเดียวที่จะทำ คือ รัฐบาลลาออกและทบทวนตัวเอง ก่อนที่เหตุการณ์จะสายไปกว่านี้”
นายคมสัน โพธิ์คง อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิจัยนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่า ปรากฏการณ์ครั้งนี้ ถือเป็นความรุนแรงที่สุดในการปกครองประเทศไทย หลังมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540-2550 ประเด็นสำคัญ คือ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นรัฐพยายามจะบอกว่าประชาชนละเมิดกฎหมาย และใช้ศาลเป็นเครื่องมือในการกำจัดประชาชนที่ออกมาเรียกร้องสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
“จริงอยู่ที่ประชาชนดื้อแพ่งในการบุกเข้ายึดสถานที่ราชการ แต่ประชาชนเหล่านั้นไม่มีเจตนาจะทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงการปกครอง หากแต่ต้องการเรียกร้องความยุติธรรมจากรัฐ และแก้ปัญหาการโกงกินบ้านเมือง”
นายคมสัน กล่าวอีกว่า ความรุนแรงในครั้งนี้ รัฐต้องออกมารับผิดชอบโดยการย้อนดูพฤติกรรมของตนเอง ว่า ยืนอยู่บนหลักนิติรัฐหรือไม่ ในขณะที่กำลังใช้อำนาจศาลไปปราบปรามประชาชน ฝ่ายตำรวจอ้างความชอบธรรมของการฝ่าฝืนคำพิพากษาของศาลไปปราบปรามประชาชน ซึ่งที่ผ่านมา รัฐบาลเองไม่ได้ดำเนินการบริหารบ้านเมืองตามหลักนิติรัฐอยู่แล้วมีการละเมิดกฎหมายอยู่อย่างต่อเนื่อง เมื่อใช้มาตรการเชิงกฎหมายเข้าปราบปรามประชาชนไม่เพียงสร้างความเสียหายให้กับประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายลดลงไปทันที
ทางออกที่ดีนั้น ตนได้กล่าวผ่านโทรทัศน์ไทยพีบีเอสแล้ว ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์อันน่ารังเกียจนี้ คือ รัฐจะต้องรับผิดชอบโดยการ “ลาออกสถานเดียว และกลับไปทบทวน เพราะถ้าดูไปแล้วรัฐทำการละเมิดกฎหมายตลอดเวลา ทำให้ประชาชนไม่ยอมรับสิ่งที่รัฐทำ จนเป็นที่มาของประชาชนดื้อแพ่งหรืออารยะขัดขืน”
นายคมสัน บอกอีกว่า จากปัญหาที่เกิดขึ้นจะเห็นว่าไม่มี ส.ส.เข้าไปดูแลประชาชนเลย เพราะกรอบคิดของ ส.ส.มีความคิดเข้าข้างตัวเองและส่วนใหญ่เป็นฝ่ายของรัฐบาล การทำงานของชาวบ้านในครั้งนี้ถือเป็นแนวทางใหม่ เป็นการเมืองภาคประชาชนที่ออกมาทวงอำนาจตามกฎหมายนั่นเอง ซึ่งจะเห็นว่า มี ส.ว.กลุ่มหนึ่งเข้าไปช่วยเหลือให้กำลังใจ เป็นหน้าที่อันชอบธรรม
“จากนี้ไปมีทางเดียวที่จะทำ คือ รัฐบาลลาออกและทบทวนตัวเอง ก่อนที่เหตุการณ์จะสายไปกว่านี้”