"ลูกกรอก1"เกณฑ์“ม็อบ นปช.”เชียร์หนุนแก้ รธน.ด้าน “สาทิตย์”ถูกโห่กลางเวที เหตุพูดไม่เข้าหูค้านแก้ รธน.ด้าน “ณัฐวุฒิ ออกโรงปราบ “ม็อบ”ให้อยู่ในความสงบ พันธมิตรรู้ทันปัดรับคำเชิญขึ้นเวที หวั่นเหตุปะทะ ด้าน “วรพล”ไฟเขียว สสร 3 แต่ขอใช้ รธน.40 เฉพาะหน้าก่อน
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม มหาวิทยาลัยเกริกได้จัดการสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อ ‘แก้- ไม่แก้รัฐธรรมนูญ คนไทยได้อะไร’ โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบไปด้วย นายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก นายวรพล พรหมมิกบุตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ และประธานคณะทำงานประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งมีประชาชนจากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กว่า 100 คน เข้าร่วมรับฟัง
โดยนายสมชาย ภคภาศน์วิวัฒน์ กล่าวว่ารัฐธรรมนูญคือทิศทางของประเทศ แผนที่จะเดินไปสู่อนาคต สิ่งสำคัญคือขึ้นอยู่กับโลกทัศน์ของผู้ที่ทำหน้าที่ในการร่างรัฐธรรมนูญ โลกทัศน์ของผู้ร่าง เป็นแบบไหน จะเป็นตัวกำหนดรัฐธรรมนูญ หรือการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อกลุ่มเดียว อาจหลายๆ กลุ่ม และเป็นการแก้เพื่อประชาธิปไตยแท้จริงหรือไม่ เนื่องจากคำว่าประชาธิปไตย มีหลายคำ คอมมิวนิสต์ก็ถือว่าตัวเองเป็นประชาธิปไตย ซึ่งขณะนี้ประชาธิปไตย มี 2 แบบ คือเผด็จการประชาธิปไตย ประชาธิปไตย เสรีนิยม ที่ต้องรับฟังเสียงข้างน้อยด้วย ไม่ใช่รับฟังเสียงข้างมากอย่างเดียว
“ การร่างรัฐธรรมนูญตามโลกทัศน์แบบใด ก็จะดำเนินการไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญแบบนั้น ไม่เหมือนกัน ถ้าต้องการแบบเสียงข้างมากอย่างเดียว กระบวนการเป็นตัวกำหนด อีกแบบหนึ่ง ถ้าต้องการรัฐธรรมนูญที่คำนึงถึงเสียงข้างน้อยด้วย จะได้รัฐธรรมนูญเพื่อการถ่วงดุล ใช้เวลา มีคนกลาง นักการเมืองมีส่วนร่วม อาจให้ฝ่ายค้าน รัฐบาล มีคนกลางกำหนดกติกา เพื่อที่ว่าฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ต้องร่วมกันร่าง ใช้เวลา มีกระบวนการ หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)ก็ได้ แต่ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสสร.อย่างเดียว การออกแบบรัฐธรรมนูญต้องให้เข้ากับวัฒนธรรมของประเทศด้วย ” นายสมชายกล่าว
นายสมชายกล่าวต่อว่า เรื่องของเนื้อหารัฐธรรมนูญนั้นต้องคำนึงสิทธิเสรีภาพ วิธีการประชาธิปไตยแบบถ่วงดุลได้ ต้องดูด้วยว่า เรื่องการจัดตั้งองค์กรกลางที่ต้องแน่ใจว่าเป็นกลางจริงๆ โดยจะต้องมีการตรวจสอบว่า คนที่จะมาทำหน้าที่องค์กรกลางนั้นๆ เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดหรือไม่ เหมาะสมที่จะมาทำหน้าที่เป็นตุลาการแค่ไหน และระบบคิด เป็นอย่างไร จะต้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้น สำหรับคนเหล่านี้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง
“ รัฐธรรมนูญเขียนดีขนาดไหน ระบบคิดแบบพวกกู พวกมันเข้ามา กระบวนการต้องเข้มข้น ไม่ให้เสียงข้างมากเข้าไป และสุดท้ายในสังคมไทย สถาบันต่างๆ สิงห์ดำ สิงห์เเดง อยากได้คอนเน็คชั่น แยกกันไม่ถูกว่าสิ่งที่จะทำ กับควรจะทำ เพื่อนฝูงกัน แต่ถ้าเป็นข้าราชการต้องบอกโน เป็นเรื่องอันตรายของระบบสังคม มีการโจมตีกัน ซึ่งองค์กรกลางรัฐธรรมนูญในที่นี้ผมหมายถึง ทุกอย่างรวมทั้งศาลปกครอง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย นอกจากนี้วัฒนธรรมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อประชาธิปไตย คือวัฒนธรรมแนวตั้ง คือเราเคารพเขา เรียกกันว่า วัฒนธรรมอุปถัมภ์ ในอดีต ระบบอุปถัมภ์ ตั้งแต่ 2475 ไม่เคยทำให้บรรลุประชาธิปไตยได้เลย อุปถัมภ์วันนี้ เขาดีกับตน ให้เงินกู้กับตน ทำให้เกิดความเกรงใจ โอกาสจะพัฒนาระบบประชาธิปไตย ทำให้สังคมพัฒนาไปด้วยความลำบาก ผิดถูกเขาช่วยเราไม่เป็นไร เขาช่วยเรา ที่รัสเซียพัฒนาอย่างเข้มข้นจากคอมมิวนิสต์ ไปสู่ประชาธิปไตย ฟิลิปปินส์ ไม่ช่วยกันก็ลำบาก ” นายสมชายกล่าว
ด้านนายวรพล พรหมมิกบุตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เรื่องสาระสำคัญรัฐธรรมนูญ 2550 ได้มีการจับกลุ่ม เคลื่อนไหวในสองทิศทางทั้งสนับสนุน และค้านการแก้รัฐธรรมนูญ เรื่องของความเห็นที่แตกต่าง ตนคิดว่าทุกฝ่าย จะต้องมีสิ่งที่ยึดมั่นร่วมกัน ให้แต่ละกลุ่มละวางประโยชน์ ของตนเอง ของพรรคไว้ แล้วควรหันมายึดประโยชน์สังคมเป็นหลัก ซึ่งในเรื่องแก้รัฐธรรมนูญนั้น ตนและนักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้ทำหนังสือไปยื่นให้ทบทวนกฎหมายของสนช.ตัวแทนฝ่ายรมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ไปยื่นประธานสภาฯ นอกจากนี้ยังไปยื่นที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ด้วย
นายวรพล กล่าวต่อว่า สาระของ 2550 เป็นลักษณะ แบบกึ่งเผด็จการ เห็นพ้องต้องกัน โครงสร้างของรัฐธรรมนูญนี้มีการจัดวางตำแหน่ง แบะจัดวางอำนาจ ให้กลุ่มคณาธิปไตย ให้ใหญ่กว่าประชาธิปไตย เพราะกลุ่มคณาธิปไตย คือคณะบุคคลที่ใหญ่กว่า ผู้มาจากปวงชน โดยใช้ประโยชน์จากวงจรอุบาทว์การแต่งตั้ง โดยใช้บุคคลในเครือข่ายอุปถัมภ์ เช่นบุคคลจากฝ่ายผู้พิพากษาศาลฎีกา และขึ้นไปเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อครบวาระก็อาศัยอาศัยสมาชิกวุฒิสภาจากที่มาจากการแต่งตั้งเข้ามาคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกรอบ และให้ชุดใหม่สืบทอดอำนาจต่อไปได้
“คณาธิปไตยเหล่านี้ มีอำนาจตั้งแต่การปลดหรือถอดถอน บุคคลทุกตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน นายกฯ สส และ สว.ได้หมด ทำให้คณาธิปไตยที่มาจากการแต่งตั้ง เหนือหัวประชาชน ให้บุคคลเหล่านี้ใช้ดุลพินิจให้เชื่อว่า บุคคลอื่นทำผิดหรือไม่ เป็นการใช้ดุลพินิตตามความอำเภอใจ มีการเขียนบทบัญญัติยกโทษล่วงหน้าให้ตัวเอง เขียนไว้ในมาตรา 309 ปรัชญาที่เขียนไว้ในมาตรานี้นั้น เรื่องก่อนและหลัง ที่จะมีรัฐธรรมนูญ 50 ไม่มีความผิด ทำให้สถานะของคณาธิปไตยนี้มีฐานะเป็นสมมุติเทพ ในทางปรัชญาสังคมวิทยา เป็นหลักการที่เลวร้าย ในสังคมอดีตทำได้คือสมัยอยุธยา ที่มีสมมุติเทพ เพียงพระองค์เดียว คือระบบกษัตริย์ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สมมุติเทพขึ้นมาหลายๆคนเช่น คตส.มีอำนาจตัดสินคนอื่นให้ผิดหรือถูกได้" นายวรพล กล่าว
นายวรพล กล่าวอีกว่า ตนได้เสนอแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 3 ประเด็น คือ 1. ขอให้ผู้ที่เกี่ยวของนำเอารัฐธรรมนูญ 2540 มาใช้บังคับแทนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ในปัจจุบัน โดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้กลุ่มคนที่อยู่ในวงจรอุบาทว์ที่อยู่เหนืออำนาจประชาชนสามารถใช้อำนาจที่ตัวเองมีอยู่ต่อไปได้ โดยไม่ต้องรอการตั้ง สสร.3 หรือทำประชามติก่อน 2. หลังจากที่ได้นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 มาใช้บังคับแทนฉบับ 50 แล้ว หากจะมีการตั้งสสร.3ขึ้นมา ควรจะต้องเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับวงจรอุบาทว์ และ3. หลังจากสสร.3 ทำการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้วขอให้นำรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข เข้าสู่การพิจารณาของสภา ผ่านการทำประชามติก่อนที่จะมีการประกาศใช้
ด้านนายสาทิตย์ กล่าวว่า ถ้าการขึ้นมาอภิปรายครั้งนี้ของตนที่ใครๆคาดว่าจะต้องปะทะกันกับฝ่ายตรงข้ามนั้นคิดผิด แต่ถ้าคิดว่า เอาความเห็นส่วนตัวเป็นหลัก พูดที่ไหนก็ขัดแย้งที่นั่น ตนขอพูดในฐานะเป็นนักการเมืองในสภา ที่ได้ยินเสียงส.ส.ในสภาพูดถึงเรื่องแก้รัฐธรรมนูญอย่างน่าเป็นห่วง เราจะคิดว่าน่าตกใจ การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย จะแบ่งเป็น 2 ขั้ว เพราะการ แก้รัฐธรรมนูญสิ่งที่คนไทยได้ คือความขัดแย้ง มีทั้งคนศึกษาอย่างดี ทั้งคนที่รับฟังกันมา ประเด็นขณะนี้มีทั้งเหตุ และผล และอารมณ์นายสาธิต กล่าวต่อว่า ทางออกการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่องพิเศษอะไรเป็นเรื่องปกติมากเกิดวิกฤติ เกิดปัญหาจะมีการยกร่างใหม่โดยสสร.หรืออะไรก็ตาม ถ้าเสนอในสถานการณ์ปกติ ไม่มีอะไรเลย มีความสนุกสนาน แต่บังเอิญเป็นการแก้ในสถานการณ์ไม่ปกติ เป็นการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ ถ้าถอยไปอีก อีกฝ่ายก็จะรู้สึกชนะ
“รัฐธรรมนูญ คือกติกาอันหนึ่งที่ใช้จัดอำนาจของสังคม มีการรับรองสิทธิ์เป็นเรื่องของคนทุกคน เวลาเขียนรัฐธรรมนูญ เข้าชื่อ 5 หมื่นชื่อขอแก้ไขก็ได้ แต่เมื่อมีการแก้ไข ทุกคนก็เข้ามามีส่วนร่วมด้วย แต่เสรีภาพทางวิชาการนั้นต้องมี เวลาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ควรมีคนทุกคนมามีส่วนเกี่ยวข้อง การต่อสู้เรื่องแก้ไม่แก้ ไม่ควรเป็นเรื่องอคติ เป็นเรื่องการรัก และการชอบใคร มาเกี่ยวข้อง การต่อสู้เรื่องรัฐธรรมนูญขณะนี้มีที่มาที่ไป การขัดแย้งทางความคิด คนที่ออกมาเคลื่อนไหว มีทุกส่วน ทั้งคนเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย สังคมประชาธิปไตยต้องอยู่ได้บนความแตกต่าง”นายสาทิตย์ กล่าว
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า ต้องยอมรับความจริง ว่าคนชอบหรือไม่ชอบมี 2 ส่วน ปล่อยให้สถานการณ์เป็นแบบนี้ ก็เคลื่อนไหว ระดมประชาชน ลูกหลานวันข้างหน้าจะคิดอย่างไร ตกลงผมสามารถอภิปรายได้ต่อหรือไม่ สถานการณ์ที่เป็นจริง ต้องมีการเคลื่อนไหว ทั้งสองข้างแน่นอน เหตุผลทั้งสองฝ่ายมีทั้งจุดต่าง และจุดร่วม จุดต่างมาจากเผด็จการ มีบทบัญญัติไม่สอดคล้องกับประชาธิปไตย (เสียงตะโกน คนร่างเป็นคนหรือเปล่า) ฝ่ายที่ไม่เมื่อใด ยกญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นมาโดยการศึกษาก่อน พรรคประชาธิปัตย์ก็ควร สนับสนุน ควรจะสนใจเรื่องปากท้องก่อน
“ผมคิดว่าการแก้รัฐธรรมนูญ ไม่ควรเป็นเชื้อไฟ ทางการเมือง เมื่อวานก็มีร่างฉบับประชาชน กระบวนการตรวจสอบกฎหมายและการบรรจุวาระ เป็นช่วงเวลาที่ให้ตั้งคณะกรรมการต้องยอมรับความจริงของประเทศ และชี้ความจริงของประเทศ เมื่อฟังแล้ว ที่มาที่ไป ก็มีทางออกเสมอ แต่อย่าทำให้เป็นทางตันเท่านั้นเอง บางส่วนจำเป็นจะต้องแก้ การตั้งเป็นกรรมาธิการถึงสิ่งที่จำเป็นจะต้องแก้ไข”นายสาทิตย กล่าว
ด้านนายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ขอยืนยันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 โดยเร็วที่สุด เนื่องจากที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากอำนาจเผด็จการอย่างชัดเจน โดยมาจากกลุ่มที่ใช้อำนาจและอาวุธเข้ายึดเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งนายณัฐวุฒิพยายามแสดงความเข้าใจกับกลุ่มที่มาเชียร์ให้กำลังใจ ว่าอย่าใช้ความรุนแรงกับวิทยากรที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศในห้องสัมมนานั้น ส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่มาจากกลุ่มนปช.กว่า 100 คนซึ่งบรรยากาศในห้องสัมมนาเป็นไปอย่างคึกคักโดยเมื่อนายสาทิตย์ กล่าวอภิปรายในช่วงหนึ่งด้วยถ้อยคำที่ระบุว่า ‘การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ของตัวเอง’ ทำให้ผู้เข้ารับฟังส่งเสียงตะโกนโห่ร้องสวนขึ้นมาอย่างไม่พอใจทันที ซึ่งทำให้ผู้ดำเนินรายการ ต้องออกมาห้ามปรามให้เคารพสถานที่และเกียรติสถาบันการศึกษาด้วย ไม่เช่นนั้นการภิปรายจะดำเนินต่อไปไม่ได้
ทั้งนี้ต้องมีการกล่าวห้ามของผู้ดำเนินรายการถึง 2 ครั้ง ในช่วงที่นายสาทิตย์ ใช้เวลาอภิปรายเพียง 15 นาที ทำให้ต้องใช้เวลาในการอภิปรายน้อยกว่าที่กำหนด ขณะเดียวกันกับที่นายณัฐวุฒิ และนายวรพล อภิปราย กลุ่มมวลชนดังกล่าวก็ปรบมือ ยินดี แสดงท่าทีเป็นพวกเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเหมือนมีการจัดตั้งมวลชนกลุ่มเหล่านี้มาให้กำลังใจ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าทางผู้จัดสัมมนาได้ติดต่อแกนนำพันธมิตรมาร่วมงานด้วย แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ เนื่องจากเห็นว่าจะเป็นการปะทะกันอย่างดุเดือดของกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนา
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม มหาวิทยาลัยเกริกได้จัดการสัมมนาทางวิชาการในหัวข้อ ‘แก้- ไม่แก้รัฐธรรมนูญ คนไทยได้อะไร’ โดยผู้ร่วมเสวนาประกอบไปด้วย นายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก นายวรพล พรหมมิกบุตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ และประธานคณะทำงานประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งมีประชาชนจากกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กว่า 100 คน เข้าร่วมรับฟัง
โดยนายสมชาย ภคภาศน์วิวัฒน์ กล่าวว่ารัฐธรรมนูญคือทิศทางของประเทศ แผนที่จะเดินไปสู่อนาคต สิ่งสำคัญคือขึ้นอยู่กับโลกทัศน์ของผู้ที่ทำหน้าที่ในการร่างรัฐธรรมนูญ โลกทัศน์ของผู้ร่าง เป็นแบบไหน จะเป็นตัวกำหนดรัฐธรรมนูญ หรือการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อกลุ่มเดียว อาจหลายๆ กลุ่ม และเป็นการแก้เพื่อประชาธิปไตยแท้จริงหรือไม่ เนื่องจากคำว่าประชาธิปไตย มีหลายคำ คอมมิวนิสต์ก็ถือว่าตัวเองเป็นประชาธิปไตย ซึ่งขณะนี้ประชาธิปไตย มี 2 แบบ คือเผด็จการประชาธิปไตย ประชาธิปไตย เสรีนิยม ที่ต้องรับฟังเสียงข้างน้อยด้วย ไม่ใช่รับฟังเสียงข้างมากอย่างเดียว
“ การร่างรัฐธรรมนูญตามโลกทัศน์แบบใด ก็จะดำเนินการไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญแบบนั้น ไม่เหมือนกัน ถ้าต้องการแบบเสียงข้างมากอย่างเดียว กระบวนการเป็นตัวกำหนด อีกแบบหนึ่ง ถ้าต้องการรัฐธรรมนูญที่คำนึงถึงเสียงข้างน้อยด้วย จะได้รัฐธรรมนูญเพื่อการถ่วงดุล ใช้เวลา มีคนกลาง นักการเมืองมีส่วนร่วม อาจให้ฝ่ายค้าน รัฐบาล มีคนกลางกำหนดกติกา เพื่อที่ว่าฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง ต้องร่วมกันร่าง ใช้เวลา มีกระบวนการ หรือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)ก็ได้ แต่ก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นสสร.อย่างเดียว การออกแบบรัฐธรรมนูญต้องให้เข้ากับวัฒนธรรมของประเทศด้วย ” นายสมชายกล่าว
นายสมชายกล่าวต่อว่า เรื่องของเนื้อหารัฐธรรมนูญนั้นต้องคำนึงสิทธิเสรีภาพ วิธีการประชาธิปไตยแบบถ่วงดุลได้ ต้องดูด้วยว่า เรื่องการจัดตั้งองค์กรกลางที่ต้องแน่ใจว่าเป็นกลางจริงๆ โดยจะต้องมีการตรวจสอบว่า คนที่จะมาทำหน้าที่องค์กรกลางนั้นๆ เคยเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดหรือไม่ เหมาะสมที่จะมาทำหน้าที่เป็นตุลาการแค่ไหน และระบบคิด เป็นอย่างไร จะต้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้น สำหรับคนเหล่านี้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง
“ รัฐธรรมนูญเขียนดีขนาดไหน ระบบคิดแบบพวกกู พวกมันเข้ามา กระบวนการต้องเข้มข้น ไม่ให้เสียงข้างมากเข้าไป และสุดท้ายในสังคมไทย สถาบันต่างๆ สิงห์ดำ สิงห์เเดง อยากได้คอนเน็คชั่น แยกกันไม่ถูกว่าสิ่งที่จะทำ กับควรจะทำ เพื่อนฝูงกัน แต่ถ้าเป็นข้าราชการต้องบอกโน เป็นเรื่องอันตรายของระบบสังคม มีการโจมตีกัน ซึ่งองค์กรกลางรัฐธรรมนูญในที่นี้ผมหมายถึง ทุกอย่างรวมทั้งศาลปกครอง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญด้วย นอกจากนี้วัฒนธรรมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อประชาธิปไตย คือวัฒนธรรมแนวตั้ง คือเราเคารพเขา เรียกกันว่า วัฒนธรรมอุปถัมภ์ ในอดีต ระบบอุปถัมภ์ ตั้งแต่ 2475 ไม่เคยทำให้บรรลุประชาธิปไตยได้เลย อุปถัมภ์วันนี้ เขาดีกับตน ให้เงินกู้กับตน ทำให้เกิดความเกรงใจ โอกาสจะพัฒนาระบบประชาธิปไตย ทำให้สังคมพัฒนาไปด้วยความลำบาก ผิดถูกเขาช่วยเราไม่เป็นไร เขาช่วยเรา ที่รัสเซียพัฒนาอย่างเข้มข้นจากคอมมิวนิสต์ ไปสู่ประชาธิปไตย ฟิลิปปินส์ ไม่ช่วยกันก็ลำบาก ” นายสมชายกล่าว
ด้านนายวรพล พรหมมิกบุตร อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เรื่องสาระสำคัญรัฐธรรมนูญ 2550 ได้มีการจับกลุ่ม เคลื่อนไหวในสองทิศทางทั้งสนับสนุน และค้านการแก้รัฐธรรมนูญ เรื่องของความเห็นที่แตกต่าง ตนคิดว่าทุกฝ่าย จะต้องมีสิ่งที่ยึดมั่นร่วมกัน ให้แต่ละกลุ่มละวางประโยชน์ ของตนเอง ของพรรคไว้ แล้วควรหันมายึดประโยชน์สังคมเป็นหลัก ซึ่งในเรื่องแก้รัฐธรรมนูญนั้น ตนและนักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้ทำหนังสือไปยื่นให้ทบทวนกฎหมายของสนช.ตัวแทนฝ่ายรมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ไปยื่นประธานสภาฯ นอกจากนี้ยังไปยื่นที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ด้วย
นายวรพล กล่าวต่อว่า สาระของ 2550 เป็นลักษณะ แบบกึ่งเผด็จการ เห็นพ้องต้องกัน โครงสร้างของรัฐธรรมนูญนี้มีการจัดวางตำแหน่ง แบะจัดวางอำนาจ ให้กลุ่มคณาธิปไตย ให้ใหญ่กว่าประชาธิปไตย เพราะกลุ่มคณาธิปไตย คือคณะบุคคลที่ใหญ่กว่า ผู้มาจากปวงชน โดยใช้ประโยชน์จากวงจรอุบาทว์การแต่งตั้ง โดยใช้บุคคลในเครือข่ายอุปถัมภ์ เช่นบุคคลจากฝ่ายผู้พิพากษาศาลฎีกา และขึ้นไปเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อครบวาระก็อาศัยอาศัยสมาชิกวุฒิสภาจากที่มาจากการแต่งตั้งเข้ามาคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีกรอบ และให้ชุดใหม่สืบทอดอำนาจต่อไปได้
“คณาธิปไตยเหล่านี้ มีอำนาจตั้งแต่การปลดหรือถอดถอน บุคคลทุกตำแหน่งที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน นายกฯ สส และ สว.ได้หมด ทำให้คณาธิปไตยที่มาจากการแต่งตั้ง เหนือหัวประชาชน ให้บุคคลเหล่านี้ใช้ดุลพินิจให้เชื่อว่า บุคคลอื่นทำผิดหรือไม่ เป็นการใช้ดุลพินิตตามความอำเภอใจ มีการเขียนบทบัญญัติยกโทษล่วงหน้าให้ตัวเอง เขียนไว้ในมาตรา 309 ปรัชญาที่เขียนไว้ในมาตรานี้นั้น เรื่องก่อนและหลัง ที่จะมีรัฐธรรมนูญ 50 ไม่มีความผิด ทำให้สถานะของคณาธิปไตยนี้มีฐานะเป็นสมมุติเทพ ในทางปรัชญาสังคมวิทยา เป็นหลักการที่เลวร้าย ในสังคมอดีตทำได้คือสมัยอยุธยา ที่มีสมมุติเทพ เพียงพระองค์เดียว คือระบบกษัตริย์ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สมมุติเทพขึ้นมาหลายๆคนเช่น คตส.มีอำนาจตัดสินคนอื่นให้ผิดหรือถูกได้" นายวรพล กล่าว
นายวรพล กล่าวอีกว่า ตนได้เสนอแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 3 ประเด็น คือ 1. ขอให้ผู้ที่เกี่ยวของนำเอารัฐธรรมนูญ 2540 มาใช้บังคับแทนรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ในปัจจุบัน โดยเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้กลุ่มคนที่อยู่ในวงจรอุบาทว์ที่อยู่เหนืออำนาจประชาชนสามารถใช้อำนาจที่ตัวเองมีอยู่ต่อไปได้ โดยไม่ต้องรอการตั้ง สสร.3 หรือทำประชามติก่อน 2. หลังจากที่ได้นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 มาใช้บังคับแทนฉบับ 50 แล้ว หากจะมีการตั้งสสร.3ขึ้นมา ควรจะต้องเป็นกลุ่มบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับวงจรอุบาทว์ และ3. หลังจากสสร.3 ทำการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้วขอให้นำรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข เข้าสู่การพิจารณาของสภา ผ่านการทำประชามติก่อนที่จะมีการประกาศใช้
ด้านนายสาทิตย์ กล่าวว่า ถ้าการขึ้นมาอภิปรายครั้งนี้ของตนที่ใครๆคาดว่าจะต้องปะทะกันกับฝ่ายตรงข้ามนั้นคิดผิด แต่ถ้าคิดว่า เอาความเห็นส่วนตัวเป็นหลัก พูดที่ไหนก็ขัดแย้งที่นั่น ตนขอพูดในฐานะเป็นนักการเมืองในสภา ที่ได้ยินเสียงส.ส.ในสภาพูดถึงเรื่องแก้รัฐธรรมนูญอย่างน่าเป็นห่วง เราจะคิดว่าน่าตกใจ การเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย จะแบ่งเป็น 2 ขั้ว เพราะการ แก้รัฐธรรมนูญสิ่งที่คนไทยได้ คือความขัดแย้ง มีทั้งคนศึกษาอย่างดี ทั้งคนที่รับฟังกันมา ประเด็นขณะนี้มีทั้งเหตุ และผล และอารมณ์นายสาธิต กล่าวต่อว่า ทางออกการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่องพิเศษอะไรเป็นเรื่องปกติมากเกิดวิกฤติ เกิดปัญหาจะมีการยกร่างใหม่โดยสสร.หรืออะไรก็ตาม ถ้าเสนอในสถานการณ์ปกติ ไม่มีอะไรเลย มีความสนุกสนาน แต่บังเอิญเป็นการแก้ในสถานการณ์ไม่ปกติ เป็นการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ ถ้าถอยไปอีก อีกฝ่ายก็จะรู้สึกชนะ
“รัฐธรรมนูญ คือกติกาอันหนึ่งที่ใช้จัดอำนาจของสังคม มีการรับรองสิทธิ์เป็นเรื่องของคนทุกคน เวลาเขียนรัฐธรรมนูญ เข้าชื่อ 5 หมื่นชื่อขอแก้ไขก็ได้ แต่เมื่อมีการแก้ไข ทุกคนก็เข้ามามีส่วนร่วมด้วย แต่เสรีภาพทางวิชาการนั้นต้องมี เวลาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ควรมีคนทุกคนมามีส่วนเกี่ยวข้อง การต่อสู้เรื่องแก้ไม่แก้ ไม่ควรเป็นเรื่องอคติ เป็นเรื่องการรัก และการชอบใคร มาเกี่ยวข้อง การต่อสู้เรื่องรัฐธรรมนูญขณะนี้มีที่มาที่ไป การขัดแย้งทางความคิด คนที่ออกมาเคลื่อนไหว มีทุกส่วน ทั้งคนเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย สังคมประชาธิปไตยต้องอยู่ได้บนความแตกต่าง”นายสาทิตย์ กล่าว
นายสาทิตย์ กล่าวอีกว่า ต้องยอมรับความจริง ว่าคนชอบหรือไม่ชอบมี 2 ส่วน ปล่อยให้สถานการณ์เป็นแบบนี้ ก็เคลื่อนไหว ระดมประชาชน ลูกหลานวันข้างหน้าจะคิดอย่างไร ตกลงผมสามารถอภิปรายได้ต่อหรือไม่ สถานการณ์ที่เป็นจริง ต้องมีการเคลื่อนไหว ทั้งสองข้างแน่นอน เหตุผลทั้งสองฝ่ายมีทั้งจุดต่าง และจุดร่วม จุดต่างมาจากเผด็จการ มีบทบัญญัติไม่สอดคล้องกับประชาธิปไตย (เสียงตะโกน คนร่างเป็นคนหรือเปล่า) ฝ่ายที่ไม่เมื่อใด ยกญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นมาโดยการศึกษาก่อน พรรคประชาธิปัตย์ก็ควร สนับสนุน ควรจะสนใจเรื่องปากท้องก่อน
“ผมคิดว่าการแก้รัฐธรรมนูญ ไม่ควรเป็นเชื้อไฟ ทางการเมือง เมื่อวานก็มีร่างฉบับประชาชน กระบวนการตรวจสอบกฎหมายและการบรรจุวาระ เป็นช่วงเวลาที่ให้ตั้งคณะกรรมการต้องยอมรับความจริงของประเทศ และชี้ความจริงของประเทศ เมื่อฟังแล้ว ที่มาที่ไป ก็มีทางออกเสมอ แต่อย่าทำให้เป็นทางตันเท่านั้นเอง บางส่วนจำเป็นจะต้องแก้ การตั้งเป็นกรรมาธิการถึงสิ่งที่จำเป็นจะต้องแก้ไข”นายสาทิตย กล่าว
ด้านนายณัฐวุฒิ กล่าวว่า ขอยืนยันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 โดยเร็วที่สุด เนื่องจากที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาจากอำนาจเผด็จการอย่างชัดเจน โดยมาจากกลุ่มที่ใช้อำนาจและอาวุธเข้ายึดเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งนายณัฐวุฒิพยายามแสดงความเข้าใจกับกลุ่มที่มาเชียร์ให้กำลังใจ ว่าอย่าใช้ความรุนแรงกับวิทยากรที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้รัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบรรยากาศในห้องสัมมนานั้น ส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่มาจากกลุ่มนปช.กว่า 100 คนซึ่งบรรยากาศในห้องสัมมนาเป็นไปอย่างคึกคักโดยเมื่อนายสาทิตย์ กล่าวอภิปรายในช่วงหนึ่งด้วยถ้อยคำที่ระบุว่า ‘การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์ของตัวเอง’ ทำให้ผู้เข้ารับฟังส่งเสียงตะโกนโห่ร้องสวนขึ้นมาอย่างไม่พอใจทันที ซึ่งทำให้ผู้ดำเนินรายการ ต้องออกมาห้ามปรามให้เคารพสถานที่และเกียรติสถาบันการศึกษาด้วย ไม่เช่นนั้นการภิปรายจะดำเนินต่อไปไม่ได้
ทั้งนี้ต้องมีการกล่าวห้ามของผู้ดำเนินรายการถึง 2 ครั้ง ในช่วงที่นายสาทิตย์ ใช้เวลาอภิปรายเพียง 15 นาที ทำให้ต้องใช้เวลาในการอภิปรายน้อยกว่าที่กำหนด ขณะเดียวกันกับที่นายณัฐวุฒิ และนายวรพล อภิปราย กลุ่มมวลชนดังกล่าวก็ปรบมือ ยินดี แสดงท่าทีเป็นพวกเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเหมือนมีการจัดตั้งมวลชนกลุ่มเหล่านี้มาให้กำลังใจ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าทางผู้จัดสัมมนาได้ติดต่อแกนนำพันธมิตรมาร่วมงานด้วย แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ เนื่องจากเห็นว่าจะเป็นการปะทะกันอย่างดุเดือดของกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนา