เปิดร่างรัฐธรรมนูญฉบับหมกเม็ด แก้ ม.237 ฟอกผิดคดียุบพรรค ตัด ม.309 ทิ้งทั้งมาตรา ลบล้างผลพวงรัฐประหาร พ่วงแก้ ม.266 เปิดทาง ส.ส.-ส.ว.เข้ายุ่มย่ามโยกย้าย ขรก.ได้ แถมแก้ ม.190 ให้รัฐบาลมุบมิบทำสัญญากับต่างชาติได้ตามเดิม
เนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของคณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ของคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ซึ่งที่ประชุมวิปรัฐบาลให้ความเห็นแล้ว และจะนำไปกลับให้พรรคร่วมรัฐบาลพิจารณาอีกครึ่งหนึ่ง ก่อนนำเสนอต่อประธานรัฐสภาในสัปดาห์หน้า
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้เสนอแก้ไขใน 8 ประเด็นด้วยกัน คือ
1.เรื่องสิทธิและเสรีภาพในทางการเมืองจะกระทำมิได้เว้นแต่อาศัยบทบัญญัติของกฎหมายได้เฉพาะเท่าที่จำเป็น
2.การยกเลิกการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคกรณีถูกยุบพรรคตามมาตรา 68
3.การเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน 10,000 คน สามารถทำได้ในทุกหมวดจากเดิมที่ทำได้เฉพาะหมวด 3 และหมวด 5
4.เรื่องสนธิสัญญาที่มีการจำกัดสิทธิประชาชนในการเข้าถึงรายละเอียดของสนธิสนธิสัญญาก่อนที่จะแสดงเจตนาผูกพัน (ของรัฐสภา)
5.แก้ไขมาตรา 237 วรรคสอง ให้ตัดโทษยุบพรรคทิ้งเมื่อหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้เห็นหรือทราบถึงการกระทำในการทุจริตเลือกตั้ง แต่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการพรรครายนั้นแทน
6.แก้ไขมาตรา 266 ให้ ส.ส.และ ส.ว.เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการประจำ เจ้าหน้าที่รัฐได้ ถ้าก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน
7.ให้ยกเลิก มาตรา 309 ที่ระบุว่า บรรดาการใดๆ ที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่า เป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่า ก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่า การนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้
8.ให้มาตรา 68 และ มาตรา 237 ที่แก้ไขแล้วใช้บังคับย้อนหลังถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งเท่ากับเป็นการนิรโทษกรรมการกระทำผิดที่อาจนำไปสู่การยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด
--------------------------------------------------
บันทึกหลักการและเหตุผล
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง (เพิ่มส่วนที่ 3/1 มาตรา 38/1 และมาตรา 38/2 และยกเลิกมาตรา 65)
(2) กำหนดให้กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามมาตรา 68 วรรคสอง แต่พรรคการเมืองยังคงเพิกเฉย ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68)
(3) กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อรัฐสภาได้ทุกประเภทโดยไม่มีข้อจำกัด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 163 วรรคหนึ่ง)
(4) กำหนดขั้นตอนการจัดทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการเจรจาเพื่อทำหนังสือสัญญาดังกล่าว (ยกเลิกมาตรา 191 วรรคสาม และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 วรรคสี่)
(5) กำหนดเหตุในการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองให้ชัดเจนขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 237 วรรคสอง)
(6) กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาอาจใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภากระทำการที่มุ่งหมายให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน หรือประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นการกระทำเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ (เพิ่มมาตรา 266 วรรคสอง)
(7) ยกเลิกบทเฉพาะกาลมาตรา 318 (ยกเลิกมาตรา 309)
เหตุผล
เนื่องจากหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยังขาดหลักการเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองบางประการ ประกอบกับสมควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในการเสนอพระราชบัญญัติได้ทุกประเภท ไม่จำกัดเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวด 3 และหมวด 5 เท่านั้น และโดยที่บทบัญญัติมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ กำหนดขั้นตอนการทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศไว้หลายขั้นตอน ทำให้การเจรจาหรือการทำหนังสือสัญญาในบางเรื่องที่เปิดเผยไม่ได้ ไม่สามารถกระทำได้
นอกจากนี้ การที่มาตรา 237 วรรคสอง บัญญัติเหตุของการยุบพรรคการเมืองไว้อย่างกว้าง และไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ทำให้การมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ยุบพรรคการเมืองกระทำได้โดยง่าย อันขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีและการดำรงอยู่ของพรรคการเมืองที่เป็นองค์กรสำคัญองค์กรหนึ่งในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และปรากฏข้อเท็จจริงในปัจจุบันว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไม่สามารถดูแลปัดเป่าทุกข์บำรุงสุขของประชาชนได้ เพราะเกรงว่าจะไปกระทำการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหม่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น อันขัดต่อมาตรา 262 (1)
ตลอดทั้งบทบัญญัติตามมาตรา 309 มีผลทำให้บุคคลซึ่งถูกกระทบกระเทือนซึ่งสิทธิและเสรีภาพซึ่งรัฐธรรมนูญรองรับไว้ อันเนื่องมาจากกฎ การใดๆ หรือการกระทำใดๆ ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไม่สามารถฟ้องต่อศาลหรือองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องว่ากฎ การนั้น หรือการกระทำนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ สมควรแก้ไขบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หลักการของรัฐธรรมนูญเป็นไปตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญนี้
***************
ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
มาตรา 1 รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า 'รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พุทธศักราช...'
มาตรา 2 รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 3/1 สิทธิและเสรีภาพทางการเมืองมาตรา 38/1 และมาตรา 38/2 ของหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
-----------------
ส่วนที่ 3/1
สิทธิและเสรีภาพทางการเมือง
มาตรา 38/1 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง การใช้สิทธิทางการเมืองให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
การจำกัดสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม
มาตรา 38/2(เดิมคือ มาตรา 65) บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้นตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
การจัดองค์กรภายใน การดำเนินกิจการ และข้อบังคับของพรรคการเมืองต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือสมาชิกพรรคการเมืองตามจำนวนที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกอยู่นั้น จะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับดังกล่าวขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้มติหรือข้อบังคับนั้นเป็นอันยกเลิกไป
มาตรา 5 ให้ยกเลิกมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
'มาตรา 68 บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้
ในกรณีนี้บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง แต่พรรคการเมืองยังคงเพิกเฉย ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้'
มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 163 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
'มาตรา 163 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติได้'
มาตรา 8 ให้ยกเลิกวรรคสามของมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
'ในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม'
มาตรา 10 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
'หากหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็นหรือทราบถึงการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่งนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา'
มาตรา 11 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
'ความใน (1) ไม่ใช่บังคับกับการกระทำที่มุ่งหมายให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนหรือประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นการกระทำเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน'
มาตรา 12 ให้ยกเลิกมาตรา 309 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 13 บทบัญญัติในมาตรา 68 และบทบัญญัติในวรรคสองของมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2550 เป็นต้นไป
เนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมของคณะอนุกรรมการศึกษาและแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ของคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ซึ่งที่ประชุมวิปรัฐบาลให้ความเห็นแล้ว และจะนำไปกลับให้พรรคร่วมรัฐบาลพิจารณาอีกครึ่งหนึ่ง ก่อนนำเสนอต่อประธานรัฐสภาในสัปดาห์หน้า
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้เสนอแก้ไขใน 8 ประเด็นด้วยกัน คือ
1.เรื่องสิทธิและเสรีภาพในทางการเมืองจะกระทำมิได้เว้นแต่อาศัยบทบัญญัติของกฎหมายได้เฉพาะเท่าที่จำเป็น
2.การยกเลิกการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคกรณีถูกยุบพรรคตามมาตรา 68
3.การเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน 10,000 คน สามารถทำได้ในทุกหมวดจากเดิมที่ทำได้เฉพาะหมวด 3 และหมวด 5
4.เรื่องสนธิสัญญาที่มีการจำกัดสิทธิประชาชนในการเข้าถึงรายละเอียดของสนธิสนธิสัญญาก่อนที่จะแสดงเจตนาผูกพัน (ของรัฐสภา)
5.แก้ไขมาตรา 237 วรรคสอง ให้ตัดโทษยุบพรรคทิ้งเมื่อหัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคมีส่วนรู้เห็นหรือทราบถึงการกระทำในการทุจริตเลือกตั้ง แต่ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการพรรครายนั้นแทน
6.แก้ไขมาตรา 266 ให้ ส.ส.และ ส.ว.เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการประจำ เจ้าหน้าที่รัฐได้ ถ้าก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน
7.ให้ยกเลิก มาตรา 309 ที่ระบุว่า บรรดาการใดๆ ที่ได้รับการรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่า เป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าวไม่ว่า ก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่า การนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้
8.ให้มาตรา 68 และ มาตรา 237 ที่แก้ไขแล้วใช้บังคับย้อนหลังถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2550 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ซึ่งเท่ากับเป็นการนิรโทษกรรมการกระทำผิดที่อาจนำไปสู่การยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคทั้งหมด
--------------------------------------------------
บันทึกหลักการและเหตุผล
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง (เพิ่มส่วนที่ 3/1 มาตรา 38/1 และมาตรา 38/2 และยกเลิกมาตรา 65)
(2) กำหนดให้กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามมาตรา 68 วรรคสอง แต่พรรคการเมืองยังคงเพิกเฉย ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68)
(3) กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อรัฐสภาได้ทุกประเภทโดยไม่มีข้อจำกัด (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 163 วรรคหนึ่ง)
(4) กำหนดขั้นตอนการจัดทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการเจรจาเพื่อทำหนังสือสัญญาดังกล่าว (ยกเลิกมาตรา 191 วรรคสาม และแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 190 วรรคสี่)
(5) กำหนดเหตุในการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองให้ชัดเจนขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 237 วรรคสอง)
(6) กำหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาอาจใช้สถานะหรือตำแหน่งการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภากระทำการที่มุ่งหมายให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน หรือประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นการกระทำเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชนได้ (เพิ่มมาตรา 266 วรรคสอง)
(7) ยกเลิกบทเฉพาะกาลมาตรา 318 (ยกเลิกมาตรา 309)
เหตุผล
เนื่องจากหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยังขาดหลักการเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองบางประการ ประกอบกับสมควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในการเสนอพระราชบัญญัติได้ทุกประเภท ไม่จำกัดเฉพาะตามบทบัญญัติในหมวด 3 และหมวด 5 เท่านั้น และโดยที่บทบัญญัติมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ กำหนดขั้นตอนการทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศไว้หลายขั้นตอน ทำให้การเจรจาหรือการทำหนังสือสัญญาในบางเรื่องที่เปิดเผยไม่ได้ ไม่สามารถกระทำได้
นอกจากนี้ การที่มาตรา 237 วรรคสอง บัญญัติเหตุของการยุบพรรคการเมืองไว้อย่างกว้าง และไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ทำให้การมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้ยุบพรรคการเมืองกระทำได้โดยง่าย อันขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดให้มีและการดำรงอยู่ของพรรคการเมืองที่เป็นองค์กรสำคัญองค์กรหนึ่งในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และปรากฏข้อเท็จจริงในปัจจุบันว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาไม่สามารถดูแลปัดเป่าทุกข์บำรุงสุขของประชาชนได้ เพราะเกรงว่าจะไปกระทำการก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ กิจการที่รัฐถือหุ้นใหม่ หรือราชการส่วนท้องถิ่น อันขัดต่อมาตรา 262 (1)
ตลอดทั้งบทบัญญัติตามมาตรา 309 มีผลทำให้บุคคลซึ่งถูกกระทบกระเทือนซึ่งสิทธิและเสรีภาพซึ่งรัฐธรรมนูญรองรับไว้ อันเนื่องมาจากกฎ การใดๆ หรือการกระทำใดๆ ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ไม่สามารถฟ้องต่อศาลหรือองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องว่ากฎ การนั้น หรือการกระทำนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ สมควรแก้ไขบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้หลักการของรัฐธรรมนูญเป็นไปตามการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จึงจำเป็นต้องตรารัฐธรรมนูญนี้
***************
ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
มาตรา 1 รัฐธรรมนูญนี้เรียกว่า 'รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พุทธศักราช...'
มาตรา 2 รัฐธรรมนูญนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้
มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นส่วนที่ 3/1 สิทธิและเสรีภาพทางการเมืองมาตรา 38/1 และมาตรา 38/2 ของหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
-----------------
ส่วนที่ 3/1
สิทธิและเสรีภาพทางการเมือง
มาตรา 38/1 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง การใช้สิทธิทางการเมืองให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
การจำกัดสิทธิและเสรีภาพทางการเมืองจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม
มาตรา 38/2(เดิมคือ มาตรา 65) บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชนและเพื่อดำเนินกิจกรรมในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้นตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
การจัดองค์กรภายใน การดำเนินกิจการ และข้อบังคับของพรรคการเมืองต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือสมาชิกพรรคการเมืองตามจำนวนที่กำหนดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ซึ่งเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกอยู่นั้น จะขัดต่อสถานะและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามติหรือข้อบังคับดังกล่าวขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้มติหรือข้อบังคับนั้นเป็นอันยกเลิกไป
มาตรา 5 ให้ยกเลิกมาตรา 65 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
'มาตรา 68 บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้
ในกรณีนี้บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง แต่พรรคการเมืองยังคงเพิกเฉย ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้'
มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 163 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
'มาตรา 163 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคนมีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติได้'
มาตรา 8 ให้ยกเลิกวรรคสามของมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
'ในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม'
มาตรา 10 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
'หากหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรู้เห็นหรือทราบถึงการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่งนั้นแล้ว มิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา'
มาตรา 11 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
'ความใน (1) ไม่ใช่บังคับกับการกระทำที่มุ่งหมายให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนหรือประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นการกระทำเพื่อแก้ไขปัญหาของประชาชน'
มาตรา 12 ให้ยกเลิกมาตรา 309 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 13 บทบัญญัติในมาตรา 68 และบทบัญญัติในวรรคสองของมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2550 เป็นต้นไป