มติ พปช.หนุนแก้ไข รธน.5 ประเด็น ไม่หวั่นกระแสต้าน ย้ำ 6 พรรคไฟเขียว ยันเข้าชื่อยื่นสัปดาห์หน้าหากจำเป็นต้องเปิดวิสามัญถก เบะท่าตัด ม.309 เปิดช่องให้ “111 ซาก” ฟ้องศาล รธน.ล้มประกาศ คปค.เว้นวรรค 5 ปี ย้ำแก้เสร็จสิ้นศาล รธน.ต้องยึดตาม
วานนี้ (1 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรพลังประชาชนว่า นายพีระพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร คณะทำงานด้านกฎหมาย พรรคพลังประชาชน ในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการศึกษาและประเด็นแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมพรรคว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) ที่ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ ได้ยกร่างเสร็จแล้ว มี 13 มาตรา โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 5 ประเด็น
“ประกอบด้วย 1.แก้ไขเพิ่มเติมหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิ และเสรีภาพของชนชาวไทย ยังขาดหลักการเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพบางประการ ประกอบกับสมควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในการเสนอกฎหมายได้ทุกประเภท ไม่จำกัดเฉพาะในหมวด 3 และหมวด 5 เท่านั้น 2.แก้ไขมาตรา 190 ที่กำหนดขั้นตอนการทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศไว้หลายขั้นตอน ทำให้การทำสัญญาในบางเรื่องที่เปิดเผยไม่ได้ ไม่สามารถทำได้” นายพีระพันธุ์ กล่าว
นายพีระพันธุ์ กล่าวอีกว่า 3.แก้ไขมาตรา 237 วรรคสอง ที่กำหนดเหตุของการยุบพรรคการเมืองไว้อย่างกว้าง ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ทำให้การมีคำสั่ง หรือคำพิพากษาให้ยุบพรรคการเมืองทำได้โดยง่าย 4.แก้ไขมาตรา 266 ตัดข้อความที่ห้าม ส.ส.หรือ ส.ว.ติดต่อประสานงานหน่วยราชการเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน และสาธารณะ 5.ตัดทิ้งมาตรา 309 ที่มีผลกระทบต่อบุคคลที่ถูกระทบกระเทือน ซึ่งสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ อันเนื่องมาจากกฎเกณฑ์ใดๆ หรือการกระทำการใดๆ ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถฟ้องต่อศาลหรือองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องว่ากฎ หรือการกระทำนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งการยกเลิกมาตรานี้ไม่มีผลต่อ คตส. หรือประกาศของ คปค.
นายพีระพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้จะต้องรอพรรคร่วมรัฐบาลพิจารณามีมติก่อนเพราะเราจะเสนอในนามพรรคร่วมรัฐบาล ดังนั้นร่างที่จะเสนอจะต้องได้รับความเห็นชอบจากทุกพรรคก่อน ส่วนจะยื่นได้เมื่อไหร่นั้น ทางคณะกรรมการฯ จะนำข้อสรุปของแต่ละพรรคมาหารืออีกครั้งในวันที่ 2-3 เม.ย.นี้
“ถ้าทุกพรรคเห็นตรงกันแล้วก็จะยกร่างที่สมบูรณ์แล้วเสนอต่อประธานรัฐสภาเพื่อบรรจุวาระ หากสามารถยื่นได้ในสัปดาห์หน้า คาดว่าอาจจะพิจารณาในวาระต่อไปหลังเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งตามกระบวนการพิจารณาตามปกติ คาดว่าจะใช้เวลา 2-3 เดือน ซึ่งคงตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาทั้งฉบับ ถ้าในสมัยประชุมนี้พิจารณาไม่ทัน รัฐบาลก็จำเป็นต้องเสนอขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาแก้ไข” นายพีระพันธุ์ กล่าว
เมื่อถามว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นก่อน แล้ว กกต.จะต้องยุติการพิจารณาคดียุบพรรคหรือไม่ นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกัน เพราะทาง กกต.ก็ยังพิจารณาต่อไปได้ แต่ กกต.ต้องนำผลการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปดูด้วยว่า มาตรา 237 บัญญัติไว้อย่างไร และจะยุบพรรคได้ในกรณีใดบ้าง
เมื่อถามย้ำว่า ในการแก้ไขครั้งนี้อาจส่งผลให้การพิจารณาคดียุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย เป็นโมฆะหรือไม่ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ต้องว่าไปตามกฎหมายในขณะนั้นที่เสร็จสิ้น และมีผลใช้บังคับ จะบอกว่าเป็นโมฆะหรือไม่ ยังตอบไม่ได้ ต้องรอดูว่า ร่างจะผ่านการแก้ไขตามร่างนี้หรือไม่ หากผ่านตามร่างแก้ไขศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะต้องนำกฎหมายที่มีอยู่ปัจจุบันกลับมาพิจารณา ซึ่งคงไม่ใช่เป็นโมฆะแต่จะเป็นความผิดเฉพาะบุคคลเท่านั้น
เมื่อถามว่า สำหรับร่างฯ ดังกล่าว นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนรีได้เห็นด้วยหรือไม่ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า นายกฯ ได้เห็นร่างฯ แล้ว โดยจะขอให้เป็นหน้าที่ของ ส.ส.โดยรัฐบาลจะไม่เป็นผู้เสนอเอง ส่วนจะมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนอย่างไร นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า จะมีการทำควบคู่กันไป ซึ่งขณะนี้มี ส.ส.บางคนเสนอให้แก้ไขทั้งฉบับ โดยให้ยึดรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นหลัก แต่คณะทำงานเห็นว่าหากแก้ทั้งฉบับจะใช้เวลานาน ดังนั้นเห็นว่า 4-5 ประเด็นจำเป็นต้องแก้ไขก่อน ขณะเดียวกันก็จะมีการศึกษาแก้ไขทั้งฉบับควบคู่ไปกับการรับฟังความเห็นประชาชน อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าอาจจะมีการแก้ไข 2 ครั้ง เพราะยังมีอีกหลายเรื่องที่สำคัญ ซึ่งยังมีญัตติด่วนที่เสนอขอให้มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการใช้รัฐธรรมนูญปี 2250 เพื่อศึกษาต่อไป
เมื่อถามอีกว่า การแก้ไขมาตรา 309 จะเป็นการช่วยเหลืออดีตกรรมการบริหารพรรคทั้ง 111 คนหรือไม่ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกัน เพราะศาลมีคำตัดสินแล้วถือว่าคดีจบ แต่การแก้ไขมาตราดังกล่าวจะเป็นการเปิดช่องทางให้ทั้ง 111 คนฟ้องร้องศาลรัฐธรรมนูญว่าคำสั่ง คปค.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปีไม่เป็นธรรมซึ่งเป็นสิทธิของแต่ละคนจะดำเนินการ
ต่อข้อถามที่ว่า ได้มีการประเมินกระแสต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการประเมินว่าหากแก้ไขในลักษณะนี้จะมีการเผชิญหน้าหรือไม่เป็นสิ่งที่พรรคต้องประเมินดูว่าสำเร็จหรือไม่ ระหว่างการแก้ไข ใน 4-5 ประเด็นกับการแก้ไขทั้งฉบับ จะมีการเผชิญหน้ามากกว่ากัน ซึ่งในการแก้ไขทั้งสองส่วนก็ถูกต่อต้านอยู่แล้วทุกฝ่ายก็เห็นกันอยู่และหลายคนเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนโยบายหนึ่งในการใช้หาเสียง จากนี้ต่อไปเป็นหน้าที่ของพรรคจะต้องไปชี้แจงเหตุผลทำความเข้าใจกับประชาชนว่าต้องแก้ไขเพราะอะไรซึ่งพรรคไม่ได้แก้ไขเพื่อตัวเองตามที่ถูกกล่าวหา ซึ่งในที่สุดที่ประชุมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข พร้อมให้มีการศึกษาทั้งฉบับต่อไป
นอกจากนี้ ทางพรรคยังไม่ได้มีการพิจารณาศึกษายกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เพราะประกาศที่ผ่านมายังมีผลตามกฎหมาย จนกว่าจะยกเลิก
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ตามที่วิปรัฐบาลเห็นชอบในขั้น สุดท้ายได้ให้หลักการ และเหตุผลประกอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังเป็นที่สังเกตในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวในมาตราท้าย คือ มาตรา 13 ตามต้นร่าง ระบุว่า “บทบัญญัติในมาตรา 68 และบทบัญญัติในวรรคสองของมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยรัฐธรรมนูญนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค.2550 เป็นต้นไป” ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ในวันที่ 24 ส.ค.2550 เป็นวันที่รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 บังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า ในเวลาประมาณ 19.00 น. นายพีระพันธุ์ได้เดินเข้ามายังห้องสื่อมวลชน พร้อมได้ชี้แจงร่างแก้ไขที่แจกให้กับสื่อ โดยเฉพาะในมาตราสุดท้ายว่ามีการลักไก่ พร้อมนำปากกาไปขีดตัดออก และระบุว่าไม่มีมาตรานี้ เอาออกไป พร้อมระบุว่ากำลังตรวจสอบดูว่าใครเป็นคนแก้ไข แต่สงสัยมือที่มองไม่เห็นแอบลักไก่ เพราะที่เสนอไปไม่ใช่แบบนี้
วานนี้ (1 เม.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรพลังประชาชนว่า นายพีระพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร คณะทำงานด้านกฎหมาย พรรคพลังประชาชน ในฐานะหนึ่งในคณะกรรมการศึกษาและประเด็นแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมพรรคว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่…) ที่ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ ได้ยกร่างเสร็จแล้ว มี 13 มาตรา โดยที่ประชุมมีมติเห็นชอบตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 5 ประเด็น
“ประกอบด้วย 1.แก้ไขเพิ่มเติมหมวดที่ 3 ว่าด้วยสิทธิ และเสรีภาพของชนชาวไทย ยังขาดหลักการเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพบางประการ ประกอบกับสมควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในการเสนอกฎหมายได้ทุกประเภท ไม่จำกัดเฉพาะในหมวด 3 และหมวด 5 เท่านั้น 2.แก้ไขมาตรา 190 ที่กำหนดขั้นตอนการทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศ หรือองค์กรระหว่างประเทศไว้หลายขั้นตอน ทำให้การทำสัญญาในบางเรื่องที่เปิดเผยไม่ได้ ไม่สามารถทำได้” นายพีระพันธุ์ กล่าว
นายพีระพันธุ์ กล่าวอีกว่า 3.แก้ไขมาตรา 237 วรรคสอง ที่กำหนดเหตุของการยุบพรรคการเมืองไว้อย่างกว้าง ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม ทำให้การมีคำสั่ง หรือคำพิพากษาให้ยุบพรรคการเมืองทำได้โดยง่าย 4.แก้ไขมาตรา 266 ตัดข้อความที่ห้าม ส.ส.หรือ ส.ว.ติดต่อประสานงานหน่วยราชการเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน และสาธารณะ 5.ตัดทิ้งมาตรา 309 ที่มีผลกระทบต่อบุคคลที่ถูกระทบกระเทือน ซึ่งสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ อันเนื่องมาจากกฎเกณฑ์ใดๆ หรือการกระทำการใดๆ ที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ไม่สามารถฟ้องต่อศาลหรือองค์กรที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องว่ากฎ หรือการกระทำนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งการยกเลิกมาตรานี้ไม่มีผลต่อ คตส. หรือประกาศของ คปค.
นายพีระพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้จะต้องรอพรรคร่วมรัฐบาลพิจารณามีมติก่อนเพราะเราจะเสนอในนามพรรคร่วมรัฐบาล ดังนั้นร่างที่จะเสนอจะต้องได้รับความเห็นชอบจากทุกพรรคก่อน ส่วนจะยื่นได้เมื่อไหร่นั้น ทางคณะกรรมการฯ จะนำข้อสรุปของแต่ละพรรคมาหารืออีกครั้งในวันที่ 2-3 เม.ย.นี้
“ถ้าทุกพรรคเห็นตรงกันแล้วก็จะยกร่างที่สมบูรณ์แล้วเสนอต่อประธานรัฐสภาเพื่อบรรจุวาระ หากสามารถยื่นได้ในสัปดาห์หน้า คาดว่าอาจจะพิจารณาในวาระต่อไปหลังเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งตามกระบวนการพิจารณาตามปกติ คาดว่าจะใช้เวลา 2-3 เดือน ซึ่งคงตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาทั้งฉบับ ถ้าในสมัยประชุมนี้พิจารณาไม่ทัน รัฐบาลก็จำเป็นต้องเสนอขอเปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อพิจารณาแก้ไข” นายพีระพันธุ์ กล่าว
เมื่อถามว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นก่อน แล้ว กกต.จะต้องยุติการพิจารณาคดียุบพรรคหรือไม่ นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกัน เพราะทาง กกต.ก็ยังพิจารณาต่อไปได้ แต่ กกต.ต้องนำผลการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปดูด้วยว่า มาตรา 237 บัญญัติไว้อย่างไร และจะยุบพรรคได้ในกรณีใดบ้าง
เมื่อถามย้ำว่า ในการแก้ไขครั้งนี้อาจส่งผลให้การพิจารณาคดียุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย เป็นโมฆะหรือไม่ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ต้องว่าไปตามกฎหมายในขณะนั้นที่เสร็จสิ้น และมีผลใช้บังคับ จะบอกว่าเป็นโมฆะหรือไม่ ยังตอบไม่ได้ ต้องรอดูว่า ร่างจะผ่านการแก้ไขตามร่างนี้หรือไม่ หากผ่านตามร่างแก้ไขศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะต้องนำกฎหมายที่มีอยู่ปัจจุบันกลับมาพิจารณา ซึ่งคงไม่ใช่เป็นโมฆะแต่จะเป็นความผิดเฉพาะบุคคลเท่านั้น
เมื่อถามว่า สำหรับร่างฯ ดังกล่าว นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนรีได้เห็นด้วยหรือไม่ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า นายกฯ ได้เห็นร่างฯ แล้ว โดยจะขอให้เป็นหน้าที่ของ ส.ส.โดยรัฐบาลจะไม่เป็นผู้เสนอเอง ส่วนจะมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนอย่างไร นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า จะมีการทำควบคู่กันไป ซึ่งขณะนี้มี ส.ส.บางคนเสนอให้แก้ไขทั้งฉบับ โดยให้ยึดรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นหลัก แต่คณะทำงานเห็นว่าหากแก้ทั้งฉบับจะใช้เวลานาน ดังนั้นเห็นว่า 4-5 ประเด็นจำเป็นต้องแก้ไขก่อน ขณะเดียวกันก็จะมีการศึกษาแก้ไขทั้งฉบับควบคู่ไปกับการรับฟังความเห็นประชาชน อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าอาจจะมีการแก้ไข 2 ครั้ง เพราะยังมีอีกหลายเรื่องที่สำคัญ ซึ่งยังมีญัตติด่วนที่เสนอขอให้มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการใช้รัฐธรรมนูญปี 2250 เพื่อศึกษาต่อไป
เมื่อถามอีกว่า การแก้ไขมาตรา 309 จะเป็นการช่วยเหลืออดีตกรรมการบริหารพรรคทั้ง 111 คนหรือไม่ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ไม่เกี่ยวกัน เพราะศาลมีคำตัดสินแล้วถือว่าคดีจบ แต่การแก้ไขมาตราดังกล่าวจะเป็นการเปิดช่องทางให้ทั้ง 111 คนฟ้องร้องศาลรัฐธรรมนูญว่าคำสั่ง คปค.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปีไม่เป็นธรรมซึ่งเป็นสิทธิของแต่ละคนจะดำเนินการ
ต่อข้อถามที่ว่า ได้มีการประเมินกระแสต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้มีการประเมินว่าหากแก้ไขในลักษณะนี้จะมีการเผชิญหน้าหรือไม่เป็นสิ่งที่พรรคต้องประเมินดูว่าสำเร็จหรือไม่ ระหว่างการแก้ไข ใน 4-5 ประเด็นกับการแก้ไขทั้งฉบับ จะมีการเผชิญหน้ามากกว่ากัน ซึ่งในการแก้ไขทั้งสองส่วนก็ถูกต่อต้านอยู่แล้วทุกฝ่ายก็เห็นกันอยู่และหลายคนเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนโยบายหนึ่งในการใช้หาเสียง จากนี้ต่อไปเป็นหน้าที่ของพรรคจะต้องไปชี้แจงเหตุผลทำความเข้าใจกับประชาชนว่าต้องแก้ไขเพราะอะไรซึ่งพรรคไม่ได้แก้ไขเพื่อตัวเองตามที่ถูกกล่าวหา ซึ่งในที่สุดที่ประชุมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเร่งด่วนเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไข พร้อมให้มีการศึกษาทั้งฉบับต่อไป
นอกจากนี้ ทางพรรคยังไม่ได้มีการพิจารณาศึกษายกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) เพราะประกาศที่ผ่านมายังมีผลตามกฎหมาย จนกว่าจะยกเลิก
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ตามที่วิปรัฐบาลเห็นชอบในขั้น สุดท้ายได้ให้หลักการ และเหตุผลประกอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังเป็นที่สังเกตในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวในมาตราท้าย คือ มาตรา 13 ตามต้นร่าง ระบุว่า “บทบัญญัติในมาตรา 68 และบทบัญญัติในวรรคสองของมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยรัฐธรรมนูญนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค.2550 เป็นต้นไป” ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ในวันที่ 24 ส.ค.2550 เป็นวันที่รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 บังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา
รายงานข่าวแจ้งเพิ่มเติมว่า ในเวลาประมาณ 19.00 น. นายพีระพันธุ์ได้เดินเข้ามายังห้องสื่อมวลชน พร้อมได้ชี้แจงร่างแก้ไขที่แจกให้กับสื่อ โดยเฉพาะในมาตราสุดท้ายว่ามีการลักไก่ พร้อมนำปากกาไปขีดตัดออก และระบุว่าไม่มีมาตรานี้ เอาออกไป พร้อมระบุว่ากำลังตรวจสอบดูว่าใครเป็นคนแก้ไข แต่สงสัยมือที่มองไม่เห็นแอบลักไก่ เพราะที่เสนอไปไม่ใช่แบบนี้