xs
xsm
sm
md
lg

ไม่ยึดหลักกฎหมาย บ้านเมืองลุกเป็นไฟ กกต.จะต้องรับผิดชอบ

เผยแพร่:   โดย: ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง

จุดเริ่มต้นในวิกฤติของบ้านเมือง อันนำไปสู่กระบวนการทุจริตโดยนโยบาย การฉ้อฉล และกลโกงของระบอบทักษิณทั้งหลายทั้งปวง ก็เริ่มจากทำอะไรมั่วๆ แล้วอ้างว่าเป็น “หลักรัฐศาสตร์” เพื่ออุ้มทักษิณ ในคดีซุกหุ้น มิใช่หรือ?

ขณะนี้ มีกรณีสำคัญ 2 กรณี อยู่ระหว่างการวินิจฉัยขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ “กกต.” โดยล่าสุด ข่าวแว่วว่า มีคนอ้างจะใช้ “หลักรัฐศาสตร์” ในการพิจารณาวินิจฉัยการกระทำผิดกฎหมาย

จะเอาอีกแล้วหรือ !

1. กรณียุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตย

ข้อเท็จจริง ปรากฏว่า มีกรรมการบริหารพรรคของพรรคชาติไทย และกรรมการบริหารพรรคของพรรคมัชฌิมาฯ เป็นผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งร้ายแรง จนถูก กกต.เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (ใบแดง)

ข้อกฎหมาย รัฐธรรมนูญ มาตรา 237 บัญญัติว่า

“ผู้สมัครรับเลือกตั้งผูใดกระทําการ กอ หรือสนับสนุนใหผูอื่นกระทําการอันเปนการฝ่าฝนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการไดมาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา หรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทําใหการเลือกตั้งมิไดเปนไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ใหเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกลาว...

...ถ้าการกระทําของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อไดวาหัวหนาพรรคการเมือง หรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด มีส่วนรูเห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทํานั้นแล้ว มิไดยับยั้งหรือแกไขเพื่อใหการเลือกตั้งเปนไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ใหถือวาพรรคการเมืองนั้นกระทําการเพื่อให ไดมาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิไดเปนไปตามวิถีทางที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา 68 และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งใหยุบพรรคการเมืองนั้น ใหเพิ กถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกลาวมีกําหนดเวลาหาปนับแตวันที่มีคําสั่งใหยุบพรรคการเมือง”

ข้อพิจารณา ในบรรดากรรมการบริหารพรรคของพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาฯ มีผู้ใดมีสวนรูเห็น หรือปลอยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทําของผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคตนที่ถูกใบแดงนั้นแลว มิไดยับยั้งหรือแกไขเพื่อใหการเลือกตั้งเปนไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม หรือไม่ ?

ถ้ามี ก็จะต้องดำเนินการเพื่อยุบพรรคการเมืองนั้น สถานเดียว !

ข้อบิดเบือน ปรากฏข่าวว่า คณะอนุกรรมการของ กกต. ที่ทำหน้าที่สืบสวนเรื่องนี้ (นายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธานฯ) จะสรุปว่า พรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาฯ ไม่ผิด ไม่ต้องถูกดำเนินการยุบพรรค อ้างว่า

1.พรรคชาติไทย ได้ประชุมแจ้งต่อกรรมการบริหารพรรคและผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนแล้วว่า ขอให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย โดยผู้สมัครทุกคนก็ได้ลงนามรับทราบ หลังจากนั้น ผู้ใดไม่ทำตามกฎหมายจึงถือว่าเป็นความผิดเฉพาะตัว กรณีนายมณเฑียร สงฆ์ประชา กรรมการบริหารของพรรค กระทำผิดจนได้ใบแดง จึงไม่เกี่ยวกับพรรค พรรคไม่ต้องรับผิดชอบ

2.พรรคมัชฌิมาฯ มีความขัดแย้งภายใน แตกเป็นเสี่ยง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม เชื่อว่า เงินที่นำมาซื้อเสียงของนายสุนทร วิลาวัลย์ กรรมการบริหารพรรค เป็นเงินส่วนตัว ไม่ใช่เงินที่นำมาจากหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรครายอื่นก็ไม่มีส่วนรู้เห็น จึงไม่เกี่ยวกับพรรค พรรคไม่ต้องรับผิดชอบ

ข้ออ้างเช่นนี้ ไม่อาจรับฟังได้ และน่าจะขัดแย้งต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว ก็จะเปิดช่องให้มีการกระทำผิด บิดเบือน ชำเรารัฐธรรมนูญ โดยไม่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่มีเจตนาให้องค์กรต้องรับผิดชอบต่อการกระทำคนในองค์กร โดยเฉพาะคนระดับผู้บริหารองค์กรก็ถูกทำลาย

ถ้าอ้างอย่างนี้ได้ ต่อไป ทุกพรรคการเมืองก็คงจะออกมติในลักษณะนี้ คือ ออกมติเป็นเอกสารห้ามกรรมการบริหารพรรคทำผิดกฎหมาย เพื่อหวัง "ตัดตอนความผิด" มิให้มาถึงพรรคได้ ส่วนกรรมการบริหารพรรคจะไปทำเลวอย่างไร ชั่วอย่างไร ผิดกฎหมายอย่างไร แม้กฎหมายจะบัญญัติให้พรรคการเมืองต้องรับผิดชอบ พรรคก็ไม่ต้องรับผิดชอบ

เท่ากับว่า เอามติพรรคหรือความสัมพันธ์ทางการเมืองภายในพรรค มางดเว้นการบังคับใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ !

พิจารณาในรายงานการประชุมของ สสร. ครั้งที่ 34/2550 เมื่อวันอังคาร 26 มิถุนายน 2550 หน้า 38-51 บันทึกไว้ชัดเจนว่า นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และคณะ เป็นผู้ขอแปรญัตติเติมข้อความในวรรคสอง มาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญ และได้ปรากฏเจตนารมณ์ตามที่ได้มีการอภิปราย คือ ต้องการให้พรรคการเมืองเป็นนิติบุคคลที่รับผิดชอบต่อผู้สมัครของพรรคการเมืองในการควบคุมพฤติกรรมของคนของพรรค ไม่ให้กระทำผิด เปรียบเสมือนบริษัทจะต้องควบคุมพฤติกรรมของพนักงาน เจ้าหน้าที่ของบริษัท ไม่ให้กระทำผิดกฎหมาย ดังนั้น จึงต้องให้กรรมการบริษัทควบคุมพฤติกรรมของคนในบริษัท ซึ่งน่าจะทำให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด เช่นเดียวกับกรรมการบริหารของพรรค ซึ่งถ้ารู้เห็นหรือรู้การกระทำแล้วต้องแก้ไขเยียวยา ไม่ปล่อยปละละเลย กรรมการบริหารพรรคต้องทำหน้าที่บริหารจริงๆ ไม่ใช่ใส่ชื่อไว้เพื่อเป็นเกียรติ ไม่ต้องทำงาน

และหากกรรมการบริหารพรรคคนใด (ผู้ใด) รู้เห็น หรือปล่อยปละละเลย หรือทราบการกระทำนั้นแล้วมิได้ยับยั้งแก้ไข ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ อันเป็นเหตุให้ยุบพรรค

หากยึดหลัก “นิติศาสตร์” และ “รัฐศาสตร์” ที่แท้จริง โดยคำนึงถึงความเป็น “นิติรัฐ” และ “หลักการปกครองบ้านเมืองโดยความยุติธรรม” กรณีทั้ง 2 พรรคการเมืองนี้ ก็ไม่ยากที่จะสอบสวน

1.รัฐธรรมนูญ กำหนดว่า “ถ้าการกระทำ... ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า” ไม่ต้องถึงกับต้องพิสูจน์จนสิ้นสงสัย ไม่เหมือนการพิจารณาคดีอาญาอื่นใด แค่เชื่อได้ว่า ก็ต้องดำเนินการยุบพรรค

2. ประเด็นการพิสูจน์ คือ เชื่อได้ว่า มีกรรมการบริหารพรรคผู้ใด มีสวนรูเห็น หรือปลอยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทํานั้นแลวมิไดยับยั้งหรือแกไข หรือไม่ ?

3.วิธีการพิสูจน์

กรณีพรรคชาติไทย ก็โดยการสอบถามกรรมการบริหารของพรรคชาติไทย คือ นายมณเฑียร สงฆ์ประชา ว่าได้รูเห็นหรือทราบถึงการกระทําของนายมณเฑียร สงฆ์ประชา ผู้สมัครของพรรคแล้ว มิไดยับยั้งหรือแกไขเยียวยา จนกระทั่งความผิดสำเร็จ เพราะเหตุใด

กรณีพรรคมัชฌิมาฯ ก็คล้ายกัน ให้สอบถามกรรมการบริหารของพรรคมัชฌิมาฯ คือ นายสุนทร วิลาวัลย์ ว่าได้รูเห็นหรือทราบถึงการกระทําของนายสุนทร วิลาวัลย์ ผู้สมัครของพรรคแล้ว มิไดยับยั้งหรือแกไขเยียวยา จนกระทั่งความผิดสำเร็จ เพราะเหตุใด

ถ้าปฏิเสธว่าไม่รู้เห็น ก็ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่า ทั้ง 2 คน เป็นกรรมการบริหารพรรค มิได้มีส่วนรู้เห็น หรือทราบถึงการกระทำของตนเอง (จะเป็นไปได้อย่างไร) !!!

หากอนุกรรมการของ กกต.อ้างว่า การกระทำความผิดของกรรมการบริหารพรรคทั้ง 2 คน 2 พรรค เป็นความผิดส่วนตัว ไม่สามารถจะเอาผิดพรรค ย่อมเป็นการอ้างที่ฟังไม่ขึ้น และน่าจะขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติกำหนดว่า “กรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใด” ซึ่งไม่จำเป็นว่า หัวหน้าพรรคหรือกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดจะต้องรับรู้ เนื่องเพราะต้องการให้กรรมการบริหารพรรคแต่ละคนจะต้องทำหน้าที่สอดส่องดูแล ตรวจสอบพฤติกรรมของคนในพรรค และไม่ทำชั่วเสียเอง

2. กรณีนอมินี (Nominee) พรรคไทยรักไทย

กรณีนี้ เริ่มมีเรื่องแปลกๆ แปร่งๆ ฟังดูชอบกล

มีข่าวถึงขนาดว่า กกต.บางคน ให้สัมภาษณ์ทำนองว่า จากการสอบสวน พบว่า พรรคพลังประชาชนมีพฤติการณ์เข้าลักษณะเป็นนอมินี (ตัวแทน) ของพรรคไทยรักไทย แต่อาจจะไม่สามารถทำอะไรได้ เอาผิดไม่ได้ เพราะไม่มีคำว่านอมินี (Nominee) ในกฎหมาย ไม่มีการระบุโทษของการเป็นนอมินีในกฎหมาย !!!

โปรดตั้งหลักกันบนพื้นฐานข้อเท็จจริง เหตุและผล

ในความเป็นจริง ปรากฏว่า พรรคไทยรักไทยกระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 กระทำการเพื่อใหไดมาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิไดเปนไปตามวิถีทางที่บัญญัติไวในรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรค ด้วยเหตุผล ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายเป็นที่ยุติ

หากปรากฏหลักฐานชัดว่า ไม่ว่าจะเป็น พยานหลักฐานต่างๆ ซึ่งประจักษ์ต่อสาธารณะ และได้จากการสอบสวนของ กกต. อาทิ พ.ต.ท.ทักษิณพูดในวีซีดีว่าให้เลือกพรรคพลังประชาชนเพราะพวกเรารวมกันตั้งพรรคชื่อใหม่ – นางสุดารัตน์แถลงว่าได้ติดต่อให้ทักษิณเจรจากับนายสมัคร- นายสมัครรับว่าเป็นนอมินี – การใช้ที่ทำการพรรคเดิมของไทยรักไทย – การใช้โลโก้คล้ายกัน - การที่กรรมการบริหารพรรคเดิมเข้าเลือกคนลงสมัคร ฯลฯ

ก็เท่ากับว่า พรรคไทยรักไทยยังทำงานการเมือง จัดส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง โดยเพียงเปลี่ยนชื่อพรรคเท่านั้น ในสาระสำคัญทุกอย่างเหมือนเดิม ทั้งๆ ที่ คณะตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทยและตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคไปแล้ว เพื่อมิให้กระทำความเสียหายแก่บ้านเมืองซ้ำอีก

ไม่เห็นจำเป็นว่า ต้องมีคำว่า “นอมินี” ในกฎหมาย หรือไม่

ไม่เห็นจำเป็นว่า กฎหมายต้องมีการระบุโทษของการเป็น “นอมินี” หรือไม่


โดยไม่จำเป็นว่า จะต้องมีคำว่า “นอมินี” ในคำวินิจฉัย

แค่วินิจฉัยอย่างตรงไปตรงมา อยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล ข้อเท็จจริง เจตนารมณ์ วิญญาณของกฎหมาย

ไม่ใช่แบบศรีธนญชัย หรือนิติอักษรศาสตร์ ที่ชอบตีความตามตัวอักษรลูกเดียว

กกต. จะใช้อำนาจตามอำเภอใจ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ มิได้ !
กำลังโหลดความคิดเห็น