ชาติไทย-มัชฌิมาฯส่อไม่ถูกยุบ อนุฯสอบสรุปการทุจริตเลือกตั้งของ 2 กก.บริหารพรรคเป็นการกระทำส่วนบุคคล ด้าน กกต.เลื่อนชี้ พปช.เป็นนอมินี ทรท.หรือไม่ อ้างผลสอบยังไม่ครบสั่งสอบเพิ่ม “ทักษิณ-วีระ” ให้เสร็จใน 15 วัน
วานนี้ ( 11 มี.ค.) คณะอนุกรรมการพิจารณายุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่มีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธาน ได้มีการประชุม เพื่อสรุปความเห็น โดยนายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อนุกรรมการ กล่าวหลังการประชุมว่า คณะอนุกรรมการ มีมติเป็นเอกฉันท์ ในการสรุปสำนวนทั้ง 2 พรรคการเมือง แต่ไม่ขอเปิดเผยมติ ต่อสื่อมวลชนจนกว่าจะรายงานต่อ กกต. ก่อน โดยการเสนอความเห็น คณะอนุกรรมการไม่ได้มีการชี้ชัดว่าจะต้องมีการยุบพรรคหรือไม่ เพียงแค่เป็นการตอบ ความเห็นของกกต. ว่าพรรคมีส่วนรู้เห็นกับการกระทำของกรรมการบริหารพรรคที่ถูกสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือไม่เท่านั้น ซึ่งในการประชุมประเด็นที่ถกเถียงกันมากคือ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง
ทั้งนี้ การพิจารณาของคณะอนุกรรมการใช้หลักกฎหมายควบคู่กับการพิจารณาปัจจัยทางการเมือง ซึ่งข้อกฎหมายที่คณะอนุกรรมการใช้อ้างอิงประกอบการพิจารณาได้แก่ รัฐธรรมนูญ, พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. โดยอนุกรรมการมีความเห็นไปในทางเดียวกัน ไม่มีใครเห็นแย้งแตกต่าง ส่วนร่างความเห็นของอนุกรรมการฯได้มอบหมายให้ฝายเลขานุการที่ประชุมไปเขียน และนัดตรวจร่างความเห็นในวันที่ 13 มี.ค.นี้ ก่อนจะเสนอให้ กกต.ในวันถัดไป
“มติที่ออกมาเป็นเอกฉันท์ 4 เสียง ซึ่งไม่ได้มีปัญหาในการวินิจฉัย แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะไม่ได้เด็ดขาดที่อนุกรรมการ และโดยมารยาท ไม่ควรเปิดเผย ซึ่งข้อกฎหมายที่อ้างถึงอยู่ในพ.ร.บ.พรรคการเมือง และรัฐธรรมนูญ รวมทั้ง พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. โดยพยายามจะส่งให้กกต.ทราบในสัปดาห์นี้”
ผู้สื่อข่าวถามว่า รายละเอียดของร่างความเห็น จะเขียนอธิบายตามข้อเท็จจริง หรือจะเขียนว่าพรรคมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องหรือไม่ นายธนพิชญ์ กล่าวว่า เขียนรวมกันไป โดยดูกฎหมายและข้อเท็จจริงเป็นหลัก เมื่อถามต่อว่า มติที่ออกมากระทบต่อสังคม หรือพรรคการเมืองมากแค่ไหน นายธนพิชญ์ กล่าวว่า ตอบไม่ได้ เป็นเรื่องที่สังคมต้องดูเอง เราดูข้อกฎหมาย
“คณะอนุฯ ไม่ได้ชี้ชัดลงไปว่าต้องมีการยุบพรรคหรือไม่ เนื่องจากกกต. ได้มอบหมายให้คณะอนุฯ พิจารณาว่าพรรคการเมืองมีส่วนรู้เห็นกับการกระทำผิดของกรรมการบริหารพรรคหรือไม่เท่านั้น ทั้งนี้ เราพิจารณาจากคำให้การ ของพยานและสำนวนการสอบสวนที่กกต.ได้ใช้วินิจฉัย โดยนำมาพิจารณาประกอบกับข้อกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพรรคการเมือง มาตรา 103 (2) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. รัฐธรรมนูญ และเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ”
ส่วนการลงมติครั้งนี้จะเป็นมาตรฐานในการพิจารณากรณีนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ที่ถูกให้ใบแดงหรือไม่นั้น นายธนพิชญ์ กล่าวว่า คงตอบไม่ได้ เพราะแต่ละเรื่องมีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันไป และตอนนี้เราดูเฉพาะกรณีของพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยเท่านั้น โดยไม่ได้พูดถึงเรื่อง นายยงยุทธแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่พรรคมัชฌิมาและพรรคชาติไทยได้รับทราบว่า คณะอนุกรรมการสอบยุบพรรคมัชฌิมาฯ และพรรคชาติไทย สรุปผลแล้ว ก็ได้มีการเช็คข่าว และทราบว่าผลสรุปที่ออกมาไม่มีผลกระทบกับพรรค เพราะการทุจริตจนนำมาซึ่งการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 2 กรรมการบริหารพรรค นั้น เป็นการการกระทำส่วนบุคคล พรรคไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้อง ทำให้เป็นที่น่าสังเกตว่าการออกมาให้สัมภาษณ์ของแต่ละพรรคไม่ได้แสดงท่าทีหวั่นวิตกแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามการการพิจารณาของกกต.ในเรื่องดังกล่าวไม่จำเป็นที่จะเห็นเหมือนกับคณะกรรมการฯชุดนี้ เนื่องจากการกระทำของกรรมการบริหารพรรคและการปล่อยปะละเลยของหัวหน้าพรรคจนทำให้เกิดการทุจริตเข้าข่ายองค์ประกอบของกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดให้นายทะ เบียนพรรคการเมือง โดยความเห็นของที่ประชุมกกต.เสนอศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งยุบพรรคได้
กกต.ให้สอบ “แม้ว”เพิ่มคดีนอมินี
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลง ภายหลังการประชุมกกต.ว่าที่ประชุมได้พิจารณาผลสรุปของคณะอนุกรรมการ ตรวจสอบกรณีที่มีผู้ร้องว่าพรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีของพรรคไทยรักไทย ที่มี นายไพฑูรย์ เนติโพธิ์ เป็นประธานฯ พร้อมให้เลขานุการของอนุกรรมการฯ มาชี้แจง ในที่ประชุม โดยที่ประชุมเห็นว่าเพื่อให้ได้ข้อมูลมากขึ้น จึงมีมติสั่งให้อนุกรรมการฯ ไปดำเนินการเพิ่มเติมใน 3 ประเด็น คือ 1.สอบสวน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตามข้อกล่าวหาว่า มีส่วนเข้ามาจัดการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ครอบงำ และสนับสนุนเงินในการจัดตั้งพรรคหรือไม่
2.ให้พิจารณาข้อบังคับพรรคพลังประชาชนเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กรรมการบริหารพรรค 3.สอบเพิ่มเติมนายวีระ สมความคิด และ ทพ.ศุภผล เอี่ยมเมธาวี ผู้ร้อง เกี่ยวกับประเด็นข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียนตามที่กล่าวหาว่าพ.ต.ท ทักษิณเข้ามาครอบงำพรรค จัดส่งผู้สมัครและสนับสนุนการเงิน โดยให้แล้วเสร็จใน 15 วัน
ทั้งนี้เหตุที่ให้สอบ พ.ต.ท.ทักษิณเพิ่มเติม เนื่องจากเห็นว่าขณะที่สอบสวนนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ที่ต่างประเทศ แต่ขณะนี้ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย และยังขาดข้อมูลในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังจะเดินทาง ไปต่างประเทศ และไม่สะดวกจะชี้แจง โดยจะขอขยายเวลา ก็ให้ทางอนุกรรมการฯ เสนอ เรื่องมาที่ กกต. เพื่อมาพิจารณาอีกครั้ง แต่คาดว่า เบื้องต้นน่าจะสอบสวนแล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
“การพิจารณาครั้งนี้ที่ประชุมดูเพียงข้อเท็จจริงว่าสอบครบถ้วนหรือยัง และเมื่อเห็นว่ายังขาดในบางประเด็นก็ให้ไปสอบเพิ่มเติม ขณะที่ในส่วนของข้อกกฎหมาย ที่ไม่มีการระบุความหมายคำว่า นอมินี นั้นก็ยังไม่พิจารณา เพราะตอนนี้ดูเพียงแค่ ความสมบูรณ์ของข้อมูล โดย กกต. จะพิจารณาเมื่อข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้ว”
นายสุทธิพล ยังกล่าวถึงกรณีร่างความเห็นที่จะส่งให้ศาลฎีกาพิจารณาเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งนายยงยุทธ ติยะไพรัช ว่าขณะนี้ เจ้าหน้าที่ยกร่างความเห็นเสร็จสิ้นและสำเนาให้ กกต. แต่ละคนไปพิจารณาคาดว่าในสัปดาห์นี้น่าที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุม กกต. ได้ โดยที่ประชุมจะพิจารณาว่าจะปรับแก้อย่างไรหรือไม่ หากแล้วเสร็จจะดำเนินการเรื่องการส่งศาลฎีกาต่อไป
วานนี้ ( 11 มี.ค.) คณะอนุกรรมการพิจารณายุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่มีนายบุญทัน ดอกไธสง เป็นประธาน ได้มีการประชุม เพื่อสรุปความเห็น โดยนายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อนุกรรมการ กล่าวหลังการประชุมว่า คณะอนุกรรมการ มีมติเป็นเอกฉันท์ ในการสรุปสำนวนทั้ง 2 พรรคการเมือง แต่ไม่ขอเปิดเผยมติ ต่อสื่อมวลชนจนกว่าจะรายงานต่อ กกต. ก่อน โดยการเสนอความเห็น คณะอนุกรรมการไม่ได้มีการชี้ชัดว่าจะต้องมีการยุบพรรคหรือไม่ เพียงแค่เป็นการตอบ ความเห็นของกกต. ว่าพรรคมีส่วนรู้เห็นกับการกระทำของกรรมการบริหารพรรคที่ถูกสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือไม่เท่านั้น ซึ่งในการประชุมประเด็นที่ถกเถียงกันมากคือ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง
ทั้งนี้ การพิจารณาของคณะอนุกรรมการใช้หลักกฎหมายควบคู่กับการพิจารณาปัจจัยทางการเมือง ซึ่งข้อกฎหมายที่คณะอนุกรรมการใช้อ้างอิงประกอบการพิจารณาได้แก่ รัฐธรรมนูญ, พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. โดยอนุกรรมการมีความเห็นไปในทางเดียวกัน ไม่มีใครเห็นแย้งแตกต่าง ส่วนร่างความเห็นของอนุกรรมการฯได้มอบหมายให้ฝายเลขานุการที่ประชุมไปเขียน และนัดตรวจร่างความเห็นในวันที่ 13 มี.ค.นี้ ก่อนจะเสนอให้ กกต.ในวันถัดไป
“มติที่ออกมาเป็นเอกฉันท์ 4 เสียง ซึ่งไม่ได้มีปัญหาในการวินิจฉัย แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะไม่ได้เด็ดขาดที่อนุกรรมการ และโดยมารยาท ไม่ควรเปิดเผย ซึ่งข้อกฎหมายที่อ้างถึงอยู่ในพ.ร.บ.พรรคการเมือง และรัฐธรรมนูญ รวมทั้ง พ.ร.บ.เลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. โดยพยายามจะส่งให้กกต.ทราบในสัปดาห์นี้”
ผู้สื่อข่าวถามว่า รายละเอียดของร่างความเห็น จะเขียนอธิบายตามข้อเท็จจริง หรือจะเขียนว่าพรรคมีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้องหรือไม่ นายธนพิชญ์ กล่าวว่า เขียนรวมกันไป โดยดูกฎหมายและข้อเท็จจริงเป็นหลัก เมื่อถามต่อว่า มติที่ออกมากระทบต่อสังคม หรือพรรคการเมืองมากแค่ไหน นายธนพิชญ์ กล่าวว่า ตอบไม่ได้ เป็นเรื่องที่สังคมต้องดูเอง เราดูข้อกฎหมาย
“คณะอนุฯ ไม่ได้ชี้ชัดลงไปว่าต้องมีการยุบพรรคหรือไม่ เนื่องจากกกต. ได้มอบหมายให้คณะอนุฯ พิจารณาว่าพรรคการเมืองมีส่วนรู้เห็นกับการกระทำผิดของกรรมการบริหารพรรคหรือไม่เท่านั้น ทั้งนี้ เราพิจารณาจากคำให้การ ของพยานและสำนวนการสอบสวนที่กกต.ได้ใช้วินิจฉัย โดยนำมาพิจารณาประกอบกับข้อกฎหมาย เช่น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพรรคการเมือง มาตรา 103 (2) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. รัฐธรรมนูญ และเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ”
ส่วนการลงมติครั้งนี้จะเป็นมาตรฐานในการพิจารณากรณีนายยงยุทธ ติยะไพรัช รองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ที่ถูกให้ใบแดงหรือไม่นั้น นายธนพิชญ์ กล่าวว่า คงตอบไม่ได้ เพราะแต่ละเรื่องมีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันไป และตอนนี้เราดูเฉพาะกรณีของพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยเท่านั้น โดยไม่ได้พูดถึงเรื่อง นายยงยุทธแต่อย่างใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่พรรคมัชฌิมาและพรรคชาติไทยได้รับทราบว่า คณะอนุกรรมการสอบยุบพรรคมัชฌิมาฯ และพรรคชาติไทย สรุปผลแล้ว ก็ได้มีการเช็คข่าว และทราบว่าผลสรุปที่ออกมาไม่มีผลกระทบกับพรรค เพราะการทุจริตจนนำมาซึ่งการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 2 กรรมการบริหารพรรค นั้น เป็นการการกระทำส่วนบุคคล พรรคไม่ได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวข้อง ทำให้เป็นที่น่าสังเกตว่าการออกมาให้สัมภาษณ์ของแต่ละพรรคไม่ได้แสดงท่าทีหวั่นวิตกแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามการการพิจารณาของกกต.ในเรื่องดังกล่าวไม่จำเป็นที่จะเห็นเหมือนกับคณะกรรมการฯชุดนี้ เนื่องจากการกระทำของกรรมการบริหารพรรคและการปล่อยปะละเลยของหัวหน้าพรรคจนทำให้เกิดการทุจริตเข้าข่ายองค์ประกอบของกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดให้นายทะ เบียนพรรคการเมือง โดยความเห็นของที่ประชุมกกต.เสนอศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งยุบพรรคได้
กกต.ให้สอบ “แม้ว”เพิ่มคดีนอมินี
นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลง ภายหลังการประชุมกกต.ว่าที่ประชุมได้พิจารณาผลสรุปของคณะอนุกรรมการ ตรวจสอบกรณีที่มีผู้ร้องว่าพรรคพลังประชาชนเป็นนอมินีของพรรคไทยรักไทย ที่มี นายไพฑูรย์ เนติโพธิ์ เป็นประธานฯ พร้อมให้เลขานุการของอนุกรรมการฯ มาชี้แจง ในที่ประชุม โดยที่ประชุมเห็นว่าเพื่อให้ได้ข้อมูลมากขึ้น จึงมีมติสั่งให้อนุกรรมการฯ ไปดำเนินการเพิ่มเติมใน 3 ประเด็น คือ 1.สอบสวน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตามข้อกล่าวหาว่า มีส่วนเข้ามาจัดการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง ครอบงำ และสนับสนุนเงินในการจัดตั้งพรรคหรือไม่
2.ให้พิจารณาข้อบังคับพรรคพลังประชาชนเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของ กรรมการบริหารพรรค 3.สอบเพิ่มเติมนายวีระ สมความคิด และ ทพ.ศุภผล เอี่ยมเมธาวี ผู้ร้อง เกี่ยวกับประเด็นข้อเท็จจริงตามข้อร้องเรียนตามที่กล่าวหาว่าพ.ต.ท ทักษิณเข้ามาครอบงำพรรค จัดส่งผู้สมัครและสนับสนุนการเงิน โดยให้แล้วเสร็จใน 15 วัน
ทั้งนี้เหตุที่ให้สอบ พ.ต.ท.ทักษิณเพิ่มเติม เนื่องจากเห็นว่าขณะที่สอบสวนนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ที่ต่างประเทศ แต่ขณะนี้ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย และยังขาดข้อมูลในส่วนนี้ อย่างไรก็ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ กำลังจะเดินทาง ไปต่างประเทศ และไม่สะดวกจะชี้แจง โดยจะขอขยายเวลา ก็ให้ทางอนุกรรมการฯ เสนอ เรื่องมาที่ กกต. เพื่อมาพิจารณาอีกครั้ง แต่คาดว่า เบื้องต้นน่าจะสอบสวนแล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่กำหนด
“การพิจารณาครั้งนี้ที่ประชุมดูเพียงข้อเท็จจริงว่าสอบครบถ้วนหรือยัง และเมื่อเห็นว่ายังขาดในบางประเด็นก็ให้ไปสอบเพิ่มเติม ขณะที่ในส่วนของข้อกกฎหมาย ที่ไม่มีการระบุความหมายคำว่า นอมินี นั้นก็ยังไม่พิจารณา เพราะตอนนี้ดูเพียงแค่ ความสมบูรณ์ของข้อมูล โดย กกต. จะพิจารณาเมื่อข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้ว”
นายสุทธิพล ยังกล่าวถึงกรณีร่างความเห็นที่จะส่งให้ศาลฎีกาพิจารณาเพิกถอน สิทธิเลือกตั้งนายยงยุทธ ติยะไพรัช ว่าขณะนี้ เจ้าหน้าที่ยกร่างความเห็นเสร็จสิ้นและสำเนาให้ กกต. แต่ละคนไปพิจารณาคาดว่าในสัปดาห์นี้น่าที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุม กกต. ได้ โดยที่ประชุมจะพิจารณาว่าจะปรับแก้อย่างไรหรือไม่ หากแล้วเสร็จจะดำเนินการเรื่องการส่งศาลฎีกาต่อไป