MGR Online - เผยรายชื่อ 30 อาจารย์/อดีตอาจารย์จุฬาฯ ร่วมลงชื่อปกป้อง “ณัฐพล ใจจริง” หลังถูก ศ.ดร.ไชยันต์เผยว่า วิทยานิพนธ์ ป.เอก ใช้หลักฐานอ้างอิงปลอม-แต่งเรื่องให้ร้ายผู้สำเร็จราชการแทน ร.๙ จน นสพ.บางกอกโพสต์ตีข่าวปฏิเสธไม่ปรากฏข้อความตามอ้างอิง และหลานกรมพระยาชัยนาทฯ ฟ้องร้องปกป้องชื่อเสียง จนจุฬาฯ ต้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ
จากกรณีที่วานนี้ (26 มี.ค.) เฟซบุ๊กเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง-คนส. ได้มีการเผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความห่วงใยต่อการดำเนินการกรณีวิทยานิพนธ์ ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตของ นายณัฐพลใจจริง โดยมีการล่ารายชื่อ 279 นักวิชาการ และวิชาชีพอื่นที่สนับสนุนจดหมายเปิดผนึกดังกล่าว
“ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตของนายณัฐพล ใจจริง ปีการศึกษา 2552 เรื่อง “การเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500)” โดยเริ่มต้นจากการที่บุคคลกลุ่มหนึ่งได้ตรวจสอบการอ้างอิงในเล่มวิทยานิพนธ์ดังกล่าว จนร้องเรียนมายังบัณฑิตวิทยาลัย และนำไปสู่การออกคำสั่งระงับการเผยแพร่วิทยานิพนธ์ การดำเนินการเพื่อถอดถอนปริญญา การตั้งกรรมการสอบแบบปิดลับ การเคลื่อนไหวโจมตีของสมาคมและเครือข่ายต่างๆ อาทิ สถาบันทิศทางไทย กลุ่มจุฬาฯพิทักษ์ธรรม มาจนกระทั่งการฟ้องร้องคดีแพ่งของตัวแทนราชสกุลรังสิต ต่อนายณัฐพล ผู้เขียน รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู มี้ด อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ผู้ตีพิมพ์เผยแพร่
“นักวิชาการ 239 คน นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 25 คน และบุคคลในสาขาอาชีพอื่นอีก 15 คน ดังมีรายชื่อข้างท้ายจดหมายฉบับนี้รู้สึกกังวลใจอย่างยิ่งกับการดำเนินการตั้งแต่ต้นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ...” จดหมายดังกล่าวระบุ
ทั้งนี้ ในจำนวน 279 รายชื่อดังกล่าว แบ่งเป็นรายชื่อนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ จำนวน 239 คน, นิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก 25 คน และ สาขาอาชีพอื่นๆ 15 คน ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่า ในจำนวนนักวิชาการ 239 คน นั้น มีอาจารย์-อดีตอาจารย์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามทั้งสิ้น 30 คน โดยมีรายชื่อดังนี้
1. ศ.ดร.นิติ ภวัครพันธุ์ อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. ศ.สรวิศ ชัยนาม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. ศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. รศ. ดร.จักรกริช สังขมณี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. รศ.ฉลอง สุนทราวณิชย์ อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
6. รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
7. รศ.ดร.พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. รศ.ดร.แพร จิตติพลังศรี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
9. รศ.ดร.วริตตา ศรีรัตนา ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
10. รศ.ดร.วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11. รศ.ดร.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12. รศ.ดร.สิริพรรณ นกสวน สวัสดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
13. รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ อดีตอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14. ผศ.ดร.กนกรัตน์ สถิตนิรามัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
15. ผศ.ดร.กนิษฐ์ ศิริจันทร์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
16. ผศ.ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
17. ผศ.ดร.วิลลา วิลัยทอง อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
18. ผศ.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
19. ผศ.ดร.พงศ์พิสุทธิ์ บุษบารัตน์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
20. ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
21. อ.ดร.กรพินธุ์ พัวพันสวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
22. อ.ดร.กัลยา เจริญยิ่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
23. อ.ดร.เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
24. อ.ณัฐพล พินทุโยธิน คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
25. อ.ดร.ธนาพล ลิ่มอภิชาต ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
26. อ.ธิบดี บัวคำศรี ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
27. อ.พรรณพิมล นาคนาวา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
28. อ.ดร.พรรษาสิริ กุหลาบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
29. อ.ดร.วงอร พัวพันสวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
30. อุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำหรับวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก เรื่องการเมืองไทยสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ภายใต้ระเบียบโลกของสหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2491-2500) ของนายณัฐพล ใจจริง ขณะกำลังศึกษาระดับปริญญาเอกอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก คือ รศ.ดร.กุลลดา เกษบุญชู-มี้ด ถูก ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบการอ้างอิงหลักฐานปลอม ซึ่งต่อมาวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าวถูกสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน ดัดแปลงเนื้อหามาตีพิมพ์เป็นหนังสือ 2 เล่ม คือ ขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ และ ขุนศึก ศักดินา และพญาอินทรี โดยเฉพาะเชิงอรรถอ้างอิงถึงข่าวในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับวันที่ 18 ธ.ค. 2493 ระบุว่า “ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร พยายามขยายบทบาททางการเมือง โดยเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี ซึ่งนำโดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี อยู่บ่อยครั้ง โดยการกระทำดังกล่าวสร้างความไม่พอใจให้กับ จอมพล ป. และตอบโต้ด้วยการขอเข้าร่วมการประชุมองคมนตรีด้วย”
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า ในวันที่ 28 ธันวาคม 2563 หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ชี้แจงว่า “ไม่เคยรายงานข้อมูลดังกล่าว” ตามที่มีการอ้างอิง รวมถึงนำไปเผยแพร่ในช่องทางอื่นๆ รวมถึงหนังสือขอฝันใฝ่ในฝันอันเหลือเชื่อ เขียนโดยผู้เขียนคนเดียวกัน คือ นายณัฐพล รวมถึงในงานเสวนา นอกจากนี้ ยังตรวจพบการอ้างอิงคลาดเคลื่อนรวม 31 จุดในวิทยานิพนธ์เล่มนี้ และพบว่าไม่สามารถหาที่มาที่ไปของแหล่งข้อมูลได้ เมื่อสอบถามไปยังอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ฉบับดังกล่าว และผู้วิจัย ก็ได้คำตอบกลับมาว่าไม่ได้เก็บหลักฐานของแหล่งอ้างอิงที่มางานวิจัยเอาไว้ จึงทำให้เกิดการเรียกร้องขอให้เพิกถอนวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิตของนายณัฐพลออกไปจากระบบ ไม่ควรนำมาเป็นแหล่งสืบหาความรู้ กลายเป็นวิทยานิพนธ์ฉาวที่ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริงเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564
อ่านประกอบ : เผยคำฟ้อง “หลานกรมพระยาชัยนาทฯ” ชี้ วิทยานิพนธ์ “ณัฐพล ใจจริง” ปั้นแต่งคำเท็จ-ให้ร้ายสถาบัน บิดเบือนประวัติศาสตร์
“หลานกรมพระยาชัยนาทฯ” สุดทน ฟ้อง “ณัฐพล ใจจริง-ฟ้าเดียวกัน” 50 ล้าน ชี้เจตนาให้ร้ายสถาบันกษัตริย์
“เบิกเนตร แก๊งตาสว่าง” ฉบับ “ไชยันต์ ไชยพร” : “ผมคิดว่าเด็กรุ่นใหม่ไม่อยากให้อนาคตเน่า ๆ ของการเมืองและวิชาการ ที่ผ่านมาตลอดหลายสิบปีมันเน่าต่อไป”
บางกอกโพสต์ชี้แจง ปี 2493 ไม่เคยลงข่าวผู้สำเร็จราชการฯ เข้าร่วมประชุม ครม. ตามที่ “ดร.ณัฐพล-ฟ้าเดียวกัน” อ้างในวิทยานิพนธ์-หนังสือ
279 นักวิชาการและวิชาชีพอื่น ร่วมลงชื่อในจดหมายเปิดถึงนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย...Posted by เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง - คนส. on Thursday, March 25, 2021