หมอเพจดังเผยประวัติไวรัสอาร์เอสวี พบการระบาดในคนช่วงปลายฤดูฝนต่อต้นฤดูหนาว และประเทศไทยมักพบช่วงเดือน มิ.ย.-ต.ค. ยันมาตรการป้องกันโควิดสามารถช่วยได้ และแนะนำฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
วันนี้ (27 ต.ค.) เพจ “Infectious ง่ายนิดเดียว” เป็นที่กลุ่มแพทย์ร่วมก่อตั้ง เน้นเพจที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา ปาราสิต, Emerging disease, ยาต้านจุลชีพ และเอชไอวี ได้ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับไวรัสอาร์เอสวีเพิ่มเติม เนื่องจากกำลังระบาดหนักทั้วประเทศไทยในขณะนี้ โดยคนไข้เด็กบางรายมีอาการรุนแรงถึงขนาดต้องเข้าไอซียูได้
โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า “เป็น 10 ข้อเท็จจริงเรื่องไวรัส RSV กำลังระบาดหนัก ทางการแพทย์ เตียงเต็มทุกโรงพยาบาล
“สำหรับแพทย์ พยาบาล เภสัช MT และเจ้าหน้าที่
1. ไวรัส RSV ชื่อเต็มคือ Respiratory syncitial virus อยู่ในกลุ่ม Pneumoviridiae ลักษณะเป็น single stranded RNA ค้นพบปี พ.ศ. 2498 ครั้งแรกพบในลิงแชมแปนซี พบการระบาดในคนช่วงปลายฤดูฝนต่อต้นฤดูหนาวประเทศไทยพบช่วงเดือน มิถุนายน-ตุลาคม มี 2 subgroup คือ A ละ B
2. ทำให้เกิดโรคปอดบวม (Pneumonia) หรือ หลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) ส่วนใหญ่พบในคนไข้เด็กโดยเฉพาะน้อยกว่า 2 ปี จนถึง 5 ปี
มีอาการน้อย ไข้ น้ำมูก หวัด จนถึงอาการรุนแรง ปอดอักเสบ
3. พยาธิกำเนิดสำคัญ 3 อย่าง
- เมื่อติดเชื้อในทางเดินหายใจไวรัสจะทำลายเยื่อบุภายในระบบทางเดินหายใจ (ciliated epithelial cell)
- ทำให้เกิดเมือกหรือเสมหะ (mucus) และเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจที่ตาย (sloughed epithelial cell debris) ในทางเดินหายใจ
- และมีปริมาณ neutrophil มาก
3 อย่างได้แก่ 3 S (Swelling Spasm Secretion) โดยภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ใช้คือเม็ดเลือดขาวชนิด Tcell lymphocyte (CD8)
4. ระยะฝักตัว 2-8 วัน ติดต่อทางการสัมผัสสารคัดหลั่งน้ำมูกเสมหะ และละอองฝอย
อาการมีได้ตั้งแต่เล็กน้อยถึงรุนแรง ได้แก่ทางเดินหายใจส่วนบนอักเสบ ไข้ ไอ เสมหะ ไข้อาจพบสูงหรือต่ำ ไอ น้ำมูก เสมหะ
อาจไม่ต้องแอดมิต หรือนอนโรงพยาบาล
ถ้าอาการไม่รุนแรง หรือทางเดินหายใจส่วนล่างอักเสบ จะมีอาการ ไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย หน้าอกบุ๋ม เขียว
ถ้ารุนแรงอาจพบภาวะหายใจล้มเหลว ออกซิเจนในเลือดต่ำและต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือใช้เครื่องช่วยหายใจ ออกซิเจนชนิด พิเศษ
5. การส่งตรวจเพื่อวินิจฉัย ส่วนใหญ่หมอเด็ก หมอทั่วไป จะอาศัยการซักประวัติและตรวจร่างกาย
พบลักษณะมีเสียงเสมหะในทางเดินหายใจ (coarse/fine crepitation) และหลอดลมตีบได้ยินเสียงหวีด (wheezing)
ถ้าจะตรวจยืนยัน (ไม่สามารถตรวจได้ทุก รพ.) ป้ายคอหอยหรือโพรงจมูกตรวจหาเชื้อ
6. การรักษา
ไม่มียารักษาเฉพาะเจาะจง มียากลุ่มต้านไวรัสชื่อ Ribavrin มีฤทธิ์ในหลอดทดลอง มีการนำมาใช้เป็นชนิดยาพ่นแต่ไม่แพร่หลาย ไม่มีใช้ในไทย ส่วนยาปฏิชีวนะไม่มีความจำเป็น ยกเว้นมีภาวะติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย
เด็กจะมีอาการ ไข้สูงลอย ไอหอบมาก ซึม ตรวจเลือดพบ WBC สูงและ neutrophil เด่น ทำ CXR พบ patchy หรือ alveolar infiltration บ่งว่าเป็นแบคทีเรีย
7. การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการ ที่เป็นมาตราฐานได้แก่
- ให้สารน้ำ ระวังภาวะขาดน้ำ
- ให้ออกซิเจน (มีหลายชนิด ให้แบบทางสายจมูก ให้แบบออกซิเจน mask ให้แบบ high flow
- ดูดเสมหะ เคาะปอดเพื่อระบายเสมหะ
- มีการศึกษายาหลายชนิดพบว่ายังเป็นที่ถกเถียง เช่น montelucast Hypertronic saline, steroid, epinephrine, anticholinergic ยังไม่ได้ใช้ยาเหล่านี้เป็นยามาตราฐาน
8. การป้องกัน
8.1) ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไวรัส RSV (เคสศึกษาตั้งแตปี พ.ศ.2512 เป็นวัคซีน formaline-inactivated: หลังฉีดพบว่าเพิ่มการติดเชื้อมากขึ้นเรียกว่า immunopotentiation หรือ vaccine enhanced disease จึงยกเลิกการใช้ไป) ปัจจุบันกำลังศึกษาวัคซีนใหม่อยู่
8.2) หลีกเลี่ยงการติดต่อจากคนที่ป่วย
ถ้ามีอาการไข้หวัดไม่ดีขึ้นใน 3 วันหรือมีอาการไอ หายใจหอบเหนื่อย ให้มาพบแพทย์
มาตรการป้องกันโควิด ช่วยได้เพราะติดต่อทางเสมหะ ไอ จาม ได้แก่ ล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย รักษาระยะห่าง, รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
8.3) เนื่องจากอาจพบภาวะติดเชื้อร่วมกับเชื้ออื่นได้
- แนะนำฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ หรือ
- วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี (เชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae)
โดยเฉพาะคนไข้กลุ่มเสี่ยงได้แก่ อายุน้อยกว่า 2 ปี มีโรคประจำตัว อ้วน ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ มีโรคปอด หอบหืด คลอดก่อนกำหนด โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
8.4) ในต่างประเทศในเด็กที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่เมื่อติดเชื้อจะรุนแรงได้แก่ เด็กคลอดก่อนกำหนด (น้อยกว่า 29 สัปดาห์) มีโรคปอดเรื้อรัง หรือหัวใจพิการแต่กำเนิด มีการให้ภูมิคุ้มกันชื่อ
Palivizumab เป็น monoclonal antibody IgG ซึ่งเป็น passive immune โดยให้เดือนละ 1 ครั้งในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จะให้ป้องกันก่อนหน้าที่จะถึงฤดูระบาด ในประเทศไทยยังไม่มียาชนิดนี้ [ราคาต่อคอร์สเกือบ 2 แสนบาท] มีการศึกษาอีกชนิดคือ Motavizumab แต่ FDA ยังไม่รับรอง
9. สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้
มีหลายการศึกษาพบว่าถ้ามีประวัติในครอบครัวเป็นภูมิแพ้หรือหอบหืด อนาคตเด็กอาจเป็นหอบหืดตามมาได้ บางการศึกษาพบว่าไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดหอบหืดในอนาคต แต่กลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อแล้วรุนแรง ได้แก่ คลอดก่อนกำหนด อายุน้อย มีโรคประจำตัว ปอด หรือ หัวใจพิการ
10. RSV พบพยาธิสภาพ จำชื่อย่อ 3 S
Spasm หลอดลมไวและตีบเมื่อได้สิ่งกระตุ้นเช่นควันบุหรี่ สารที่แพ้
Swelling หลอดลมบวม ทำให้อุดตัน หายใจเสียงหวีด
Secretion เสมหะ น้ำมูกมาก”
คลิกโพสต์ต้นฉบับ