“ผอ.ไบโอไทย” เชื่อรัฐตั้งธงร่วม CPTPP ผุด กมธ.ศึกษา แค่สร้างความชอบธรรม คาดอย่างน้อยก็ให้ได้ไปแสดงความจำนงขอเข้าร่วม แนะจับตาการประชุมทุกนัด ไปจนถึงลงมติในสภา จะได้รู้ใครทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง เตือนหากดึงดัน อาจนำไปสู่การชุมนุมใหญ่
วันที่ 11 มิ.ย. 63 นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) ร่วมสนทนาผ่านทางโทรศัพท์ ในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ช่อง “นิวส์วัน” ในหัวข้อ “สภาจะไม่ใช่ตรายาง!! จับตา กมธ.วิสามัญ CPTPP”
นายวิฑูรย์ กล่าวถึงการตั้งกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญศึกษาผลกระทบการลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) จำนวน 49 คน ว่า มีข้อสังเกตอยู่พอควรของกรรมาธิการนี้ จะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ใน 30 วัน ซึ่งจะมีประชุมกันสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เท่ากับประชุมได้ 8 ครั้ง กับข้อตกลงหนาพันหน้า เกรงว่าน่าจะไม่พอที่จะทำความเข้าใจเรื่องนี้
นายวิฑูรย์ กล่าวอีกว่า ค่อนข้างชัดเจน รัฐบาลใช้สภาเป็นทางผ่านเพื่อผลักดันเรื่องนี้อย่างชอบธรรม ขณะเดียวกัน คิดว่า รัฐบาลเดินหน้าเรื่องนี้แน่ๆ ดูจากการอภิปรายของทีมเศรษฐกิจ การตั้งคณะกรรมาธิการ อย่างน้อยที่สุดกรรมาธิการชุดนี้น่าจะผลักดันให้ไปแสดงความจำนงขอเข้าร่วม แล้วบอกกับประชาชนว่าเป็นแค่เพียงการไปเจรจา
แค่เข้าไปแจ้งความจำนงก็น่ากังวลแล้ว เพราะถ้าเทียบกับกระบวนการเจรจาการค้าระหว่างประเทศของรัฐธรรมนูญ 60 เทียบกับปี 40 กับ 50 รัฐธรรมนูญปี 50 ได้เขียนขั้นตอนให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ ก่อนหน้าจะเจรจาต้องรับฟังความคิดเห็นประชาชนก่อน แล้วต้องแจ้งกรอบการเจรจาต่อสภา แล้วสภาต้องเห็นชอบก่อนถึงจะเริ่มเจรจา หลังเจรจาเสร็จแล้ว ต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดต่อประชาชน แล้วก็มีระยะเวลาในการพิจารณาของสภาอย่างเต็มที่ ก่อนที่จะให้สัตยาบัน
แต่รัฐธรรมนูญปี 60 ตัดขั้นตอนตอนข้างต้นออกไปแทบทั้งหมด การเสนอกรอบการเจรจาต่อสภานี่ไม่มีเลย แต่รอบนี้โชคดี ที่แรงกดดันของประชาชน ทำให้ต้องเปิดเผยข้อมูล ในที่สุดเลยตั้งกรรมาธิการขึ้นมา
ที่น่าห่วง คือหลังจากรัฐบาลได้ไฟเขียวจากสภา ให้ไปร่วมเจรจา ปัญหาจะอยู่ตรงนี้ ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีเวลาให้ไว้แค่เพียง 60 วันเท่านั้น ที่จะพิจารณาให้แล้วเสร็จ แล้วถ้าสภาไม่มีมติเรื่องนี้ออกมา ให้ถือว่ามีผลบังคับใช้ในทันทีเลย
นายวิฑูรย์ กล่าวต่อว่า สิงหาคมนี้ จะมีการประชุมของประเทศสมาชิก CPTPP ไทยไปก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเนื้อหาได้เลย เพราะเขาเจรจาตกลงกันเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่เราจะทำได้มีอยู่ 2 อย่าง
อย่างแรก อาจต้องจ่ายค่าผ่านทาง พอเราขอเข้าร่วม อาจมีบางประเทศเรียกร้องเงื่อนไขเพิ่มเติม
สอง ไปเจรจาทำไม่ได้ เพราะเขาตกลงกันไปแล้ว ทำได้เพียงยืดเวลาบังคับใช้ กรณีเข้า CPTPP ต้องร่วมสนธิสัญญา UPOV 1991 ซึ่งจะทำให้เกษตรกรเก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อไม่ ต้องขยายสิทธิผูกขาดให้บริษัทแม่พันธุ์ เป็นไปได้แค่ขอยืดการบังคับใช้ แทนที่จะมีผลทันที ก็ยืดเป็น 3 ปี ทำได้แค่นั้นเอง ซึ่งไม่ได้ช่วยอะไรเลย
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า กฎหมายที่เราเรียกร้อง UPOV 1978 อนุญาตให้เกษตรกรเก็บพันธุ์ที่ซื้อมาจากตลาดไปปลูกต่อได้ แต่ UPOV 1991 ตัดสิทธินั้นออกไป อันนี้เรื่องใหญ่ เราไม่ได้แย้งเรื่องการเก็บพันธุ์พื้นเมืองไปปลูกต่อไม่ได้ คนละประเด็นกัน ผลกระทบที่รัฐบาลปิดบังอยู่ เรื่องพันธุ์พืชพื้นเมือง เช่น เตรียมแก้กฎหมายเรียบร้อยแล้ว ไปตัดข้อความในกฎหมายเดิม กรณีบริษัทเม็ดพันธุ์ นำเมล็ดพันธุ์พืชท้องถิ่น พืชพื้นเมือง ไปใช้ประโยชน์ เดิมบอกว่าจะต้องแสดงที่มาของพันธุ์พืชเหล่านี้ เพราะเป็นกลไกสำคัญสำคัญในการแบ่งปันผลประโยชน์ แต่กฎหมายใหม่ไปตัดเรียบเลย หมายความว่ากลไกแบ่งปันผลประโยชน์ก็จะหายไป อันนี้กระทบพันธุ์พืชพื้นเมือง
แม้อ้างว่า UPOV 1991 ห้ามเก็บพันธุ์พืชไปปลูกต่อ แต่ยกเว้นในบางกรณี ที่รัฐมีข้อยกเว้นให้ได้ ตรงนี้เป็นสิทธิเกษตรกร แต่ไปดูรายละเอียดในคำอธิบาย ใช้ได้เฉพาะกรณีธัญพืชเมล็ดเล็กเท่านั้น และปลูกในพื้นที่ตัวเองเพื่อการยังชีพ ไม่ใช่เพื่อขาย จากข้อยกเว้นแทบไม่มีเกษตรกรคนไหนที่เก็บไปปลูกต่อได้เลย
ผอ.ไบโอไทย ยังกล่าวด้วยว่า ตนพอใจในระดับหนึ่ง ในรายชื่อกรรมาธิการ มีนักวิชาการอิสระกลุ่มต่าง ๆ เข้าร่วม และอยากให้จับตากรรมาธิการ ซึ่งมาจากพรรคต่างๆ จะบอกได้เลยพรรคไหนมีจุดยืนอย่างไร
ตอนนี้ขึ้นอยู่กับเสียงประชาชนข้างนอก ที่จะต้องจับจ้องการประชุมแต่ละครั้งของกรรมาธิการ และจับตาการลงมติของ ส.ส. ถ้าเห็นว่าไม่เป็นไปตามข้อมูลและเหตุผลอย่างที่ควรจะเป็น หากรัฐบาลดึงดัน จะได้รับการตอบแทนจากประชาชนแน่ๆ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า หรืออาจนำไปสู่การชุมนุมขนาดใหญ่ก็ได้
คำต่อคำ : สภาจะไม่ใช่ตรายาง!! จับตา กมธ.วิสามัญ #CPTPP
เติมศักดิ์- สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการคนเคาะข่าว วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน 2563 คนเคาะข่าววันนี้เราจะมาจับตาบทบาทของสภาผู้แทนราษฎรหลังจากที่เมื่อวานนี้เห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบของการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP นะครับ เป็นการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ โดยไม่ต้องลงมติ 49 คน เนื่องจากคณะกรรมการชุดนี้จะมีเวลาทำงาน 30 วัน การจับตามองสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจสกนี้ก็คือการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ครั้งนี้ จะเป็นแค่พิธีกรรมหรือไม่ นะครับ วันนี้เราจะไปสนทนากับ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี หรือว่า ไบโอไทย คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ สวัสดีครับ คุณวิฑูรย์ ครับ
วิฑูรย์- สวัสดีครับคุณเติมศักดิ์และคุณผู้ชมครับ
เติมศักดิ์- สิ่งที่เกิดขึ้นในสภาฯ เมื่อวานนี้ โดยภาพรวมถือว่าน่าพอใจไหมครับในแง่ของการอภิปราย ส.ส. ส่วนใหญ่ ถือว่าเข้าใจในสถาการณ์ของ CPTPP ไหมครับ พี่วิฑูรย์ ครับ
วิฑูรย์- ผมคิดว่า เขาได้ทำการบ้านพอสมควรนะครับ ทางที่มาจากฝ่ายรัฐบาลและทางพรรคฝ่ายค้านนะครับ ก็อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจนะครับ สำหรับเรื่องที่อาจจะมีความซับซ้อนนะครับ แต่ว่าเห็น ส.ส. หลายท่านทำการบ้านมาอย่างดีพอสมควรเลยนะครับ ฉะนั้นก็หวังว่าช่วงเวลา 30 วัน ที่มีก็คงจะเปิดพื้นที่ให้กับหลายฝ่ายได้เสนอความเห็น ได้วิเคราะห์และก็เปิดเผยข้อมูลเหล่านี้กับประชาชนมากขึ้นนะครับ แต่ว่าผมเองอาจจะ เขาเรียกว่าก็มีข้อสังเกตอยู่พอสมควรนะครับ ของการทำงานคณะนี้นะครับว่ามันจะบรรลุเป้าหมายอย่างที่หลายฝ่ายต้องการหรือไม่ เพราะว่าแรกสุดเลยนะครับ คือระยะเวลาการทำงานแค่เพียง 30 วัน เนี่ยนะครับ ซึ่งโดยเบื้องต้นที่ผมทราบก็คือมีการประชุมกัน เมื่อเช้านี้ แล้ว นะครับ โดยที่มีการตกลงกันว่าจะมีการประชุมสัปดาห์ละ 2 ครั้งนะครับ นั่นหมายความว่าจะมีการประชุมได้อย่างมากที่สุดก็ 8 ครั้ง นะครับ 8 ครั้ง เนี่ยสำหรับความตกลงที่มีความหนาเป็นพันหน้า เนี่ยนะครับ ก็ ก็ และก็ไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ นะครับผม ผม เกรงว่าเวลา 30 น่าจะไม่พอที่จะทำความเข้าใจเรื่องนี้ครับ
เติมศักดิ์- ครับ เป็นห่วงไหมครับเนี่ย ว่านี่มันอาจจะเป็นแค่พิธีกรรม หรือว่า เกมการเมือง ที่เพียงแค่จะสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลไปขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ CPTPP เนี่ยครับ
วิฑูรย์- ครับ คือถ้าดูตั้งแต่แรกเริ่ม ผมคิดว่ามัน มันค่อยข้างชัดเจนอยู่แล้วนะครับ ก็คือว่าเมื่อ ในช่วงเดือนแรกนะครับ ที่ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลพยายามจะผลักดันเรื่องนี้เข้าไป แต่ก็ปรากฏว่ามันก็ยังมีความเห็นที่นอกเหนือจากความกังขาของประชาชนแล้วนะครับ ในพรรครัฐบาลเองก็มีความเห็นที่อาจจะยังไม่เป็นแนวเดียวกัน เช่น ทางฝั่งกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีที่ดูแลเรื่องนั้น ก็แสดงความกังวลนะครับ ส่วนทางกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจริงๆ ควรจะเป็นแม่งานแล้วเนี่ย ก็อาจจะรู้สึกว่าประชาชนจะมีข้อคำถามเยอะ ไม่ควร ไม่พร้อมที่จะพิจารณาในเดือนแรกนะครับ ในช่วงเดือนหนึ่งที่ผ่านมา ทีนี้เราก็เห็นแล้วนะครับว่า รัฐบาลก็ชัดเจน ก็คือว่า หวังว่าจะใช้กระบวนการของสภาฯ เป็นทางผ่านละกัน ที่จะผลักดันเรื่องนี้ อย่างชอบธรรมต่อไป แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นก็ ผมคิดว่ารัฐบาลจะเดินหน้าเรื่องนี้แน่ๆ ดูจากการตั้งกรรมาธิการก็ดี และการอภิปรายของทีมเศรษฐกิจก็ดีเนี่ย รวมถึงผมได้มีโอกาสได้ไป เปิดชี้แจงตามคำเชิญของพรรคการเมืองบางพรรคที่ดูแลเรื่องเศรษฐกิจ นอกเหนือจากพรรคแกนนำร่วมรัฐบาลนะครับ ก็ดูสัญญาณแล้วน่าจะเดินหน้าเรื่องนี้ อย่างน้อยที่สุด กรรมการชุดนี้น่าจะผลักดันให้ไปแจงความจำนงขอเข้าร่วม แล้วก็จะอธิบายต่อประชาชนว่า นี่เป็นแค่เพียงการไปเจรจานะครับ อันนี้ตรงนี้น่าจะเดินไปสู่ทิศทางนี้ เพราะฉะนั้นถ้าดูคำอภิปรายเมื่อวานนี้ในสภาฯ เนี่ยเหมือนกับว่ากรรมาธิการวิสามัญฯ ชุดนี้ จะตั้งขึ้นมาโดยที่จะรวบรวมข้อคิดเห็นนะครับ ทั้งในเชิงผลกระทบและผลประโยชน์นะครับ โดยที่จะไม่มี เขาเรียกอะไรนะครับ ไม่มีมติไปทางใดทางหนึ่งนะครับ ก็คือเปิดโอกาสให้คุยกันอย่างเต็มที่นะครับ วิเคราะห์ได้อย่างเต็มที่ แต่ว่าผมดู เขาเรียกว่าระหว่างบรรทัด เขาให้สัมภาษณ์กระบวนการที่ผ่านมาคงจะเดินหน้าแน่ๆ นะครับที่จะไปขอเข้าร่วมนะครับ
เติมศักดิ์- ดูระหว่างบรรทัดของคำพูด การชี้แจง และการอภิปรายในสภาฯ โดยเฉพาะจากปีกของพรรคร่วมรัฐบาล เนี่ย มันเป็นการส่งสัญญาณว่า กรรมาธิการชุดนี้ ไม่อยากใช้คำว่ามีธงนะ แต่ว่ามันเหมือนกับปลายทางก็คือผลักดันนั่นแหละ ผลักดันหรีอสนับสนุนให้รัฐบาลเข้าไป แจ้งความจำนง ไอ้การแจ้งความจำนง แค่นี้เนี่ยมันจะเสียหายอย่างไร คุณวิฑูรย์ ครับ
วิฑูรย์- ทีนี้มัน มันค่อนข้างน่ากังวลนะครับ ก็คือว่า ถ้าเราหากเปรียบเทียบกับกระบวนการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้รัฐธรรมนูญปี 60 นะครับ ถ้าเทียบกับรัฐธรรมนูญปี 40 ก็ดีนะครับ หรือรัฐธรรมนูญปี 50 รัฐธรรมนูญปี 50 เนี่ยได้เขียนขั้นตอนการเจรจาเอาไว้โดยเปิดให้ประชาชน มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ นะครับ ยกตัวอย่างเช่น ก็คือก่อนหน้าที่จะเจราจา นะครับ จะต้องรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน แล้วก็ก่อนหน้าที่จะร่วมเจรจาเนี่ย รัฐบาลจะต้องแจ้งกรอบการเจรจาในเรื่องประเด็นสำคัญ ต่อสภาฯ ว่าจะเจรจาในระดับใด เรื่องอะไรที่เป็นเรื่องสำคัญ อย่างนี้เป็นต้นนะครับ และสภาฯ จะต้องเห็นชอบก่อนถึงจเริ่มเจรจา และก็เสร็จแล้ว หลังจากเจรจาเสร็จแล้วเนี่ย ก็จะต้องเปิดเผยข้อมูลทั้งหมดต่อประชาชนนะครับ และก็มีระยะเวลาในการพิจารณาของสภาฯ อย่างเต็มที่เลยนะครับ ที่จะต้องพิจารณาก่อน ก่อนที่จะให้จรรยาบรรณนะครับ แต่ว่ารัฐธรรมนูญปี 60 ตัดขั้นตอน ตอนต้นออกไปทั้งหมดเลย เช่นการเสนอกรอบการเจรจาต่อสภาฯ นี่ไม่มีเลย ผมคิดว่าอันนี้เป็นโชคดีนะครับ ที่แรงกดดันจากประชาชนเรียกร้องให้มีการเปิดเผยข้อมูลนะครับ และในที่สุดมีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญฯ ชุดนี้ขึ้นมานะครับ ก็เป็นการเปิดพื้นที่ให้เรา แต่ว่าจุดห่วงครับ คุณเติมศักดิ์ครับ ก็คือหลังจากรัฐบาลได้ไฟเขียวจาก กรรมาธิการหรือสภาฯ ไปร่วมเจรจาเนี่ย ปัญหาจะอยู่ตรงนั้นนะครับ ก็คือว่าตามรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปเนี่ย มีเวลาที่รัฐธรรมนูญ ให้ไว้เนี่ย แค่เพียง 60 เท่านั้นเอง ที่จะต้องพิจารณาใหเแล้วเสร็จ นะครับ ถ้าสภายังไม่มีมติเรื่องนี้ออกมาก็ถือว่าตัวความตกลงนั้น มีผลบังคับใช้โดยทันทีเลยครับ อย่างนี้ก็น่ากล้วมาก ถ้าไปดูโครงสร้างของสภาฯ ปัจจุบันก็จะมีปัญหาเช่นเดียวกันก็คือว่า นอกเหนือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งตอนนี้เนี่ย ฝ่ายรัฐบาลก็มีเสียงข้างมากพอสมควร และบวกกับเสียงจากวุฒิสมาชิกซึ่งถูกแต่งตั้งจากรัฐบาลเองเนี่ย หมายความว่า กระบวนการเมื่อเจรจาแล้วเสร็จเนี่ย ถ้ารัฐบาลตั้งธงผลักดันจริงๆ เนี่ย จะมีโอกาสน้อยมากเลยนะครับที่แม้ว่าความตกลงเมื่อเจรจาแล้วมัน ก็เขาเรียกอะไร ไม่ได้แก้ปัญหาเขาว่าเป็น เรื่องใหญ่ๆ ที่ประชาชนกังวล เรื่องยา เรื่องเมล็ดพันธุ์ได้เนี่ย มัน ยังถูกเดินหน้าโยที่กระบวนการตรวจสอบมันน้อยมาก
เติมศักดิ์- ทวนอีกครั้งครับ พี่วิฑูรย์ 30 วันจากนี้จะเป็นการทำงานของกรรมาธิการนะ แต่ถ้าสุดท้าย 30 วันจากนี้ สรุปกรรมาธิการ ไฟเขียวให้รัฐบาลไปเจรจา แล้วรัฐบาลก็ไปเจรจาตรงนี้จะมีกรอบเวลา 60 วันใช่ไหมครับ
วิฑูรย์- เส้นเวลาของการเข้าร่วมก็คือเดือนสิงหาคมจะมีการประชุมของภาคีสมาชิกใน CPTPP ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลเห็นเวลาเป็นช่วงที่สำคัญที่จะยึดหนังสือแสดงความจำนงว่าประเทศไทยจะเข้าร่วมเพราะฉะนั้นกระบวนการ 30 วันที่เราเห็นก็คืออยู่ภายใต้กรอบเวลาดังกล่าวรัฐบาลอยากให้มีการสรุปโดยเร็ว เพื่อที่อย่างช้าที่สุดอย่างเช่นภายในกรกฎาคมนี้หรือปลายกรกฎาคมจะสามารถทำหนังสือแจ้งความจำนงไปยังสมาชิก CPTPP เพื่อที่จะเป็นตามขั้นตอนของการเจรจาแต่ว่าหลังจากเจรจาเสร็จแล้วมีมติออกมา ว่าประเทศไทยจะมีเงินขายอะไรบ้างที่เราจะต้องจ่ายค่าผ่านทางเพิ่มเติมให้กับสมาชิกเมื่อนั้นแหละครับความตกลงที่จะถูกส่งกลับมายังรัฐบาลและเสนอไปยังสภาเพื่อพิจารณาครับ
เติมศักดิ์- หมายความว่าคุณวิฑูรย์ยังยืนยันว่าสิงหาคมนี้ มันคือการไปคือทางฝ่ายรัฐบาลพยามจะบอกว่ามันแค่ไปเจรจาถ้าเราไม่เข้ากระบวนการเจรจาเราจะรู้ข้อดีข้อเสียอะไรที่เราต่อรองได้บ้างไม่ได้บ้างเลยยังไงก็ต้องเข้าไปซึ่งการเข้าไปเหมือนกันทำหนังสือแจ้งความจำนง ใช่ไหมครับ
วิฑูรย์- ตรงนั้นน่ะสำคัญมากๆนะครับ ก็คือรัฐบาลอธิบายต่อประชาชนว่าเรายังไม่ได้ไปตกลงอะไรเราแค่ไปเจรจาแต่ความจริงที่ควรทราบก็คือว่าความตกลงนี้เค้าเจรจากันเสร็จสิ้นหมดแล้วเราไม่สามารถไปเปลี่ยนในตัวเนื้อหาความตกลงได้เลยสิ่งที่เราจะทำได้มีอยู่สองอย่างอย่างแรกสุดก็คือเราอาจจะต้องจ่ายค่าผ่านทาง หมายความว่าเข้าเป็นสมาชิกอยู่แล้วเราขอเข้าร่วมอาจจะมีบางประเทศขอเรียกร้องเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับประเทศไทยเป็นที่ทราบกันอยู่โดยเฉพาะทั่วไปว่าเป็นค่าผ่านทางอันนั้นเราไม่ได้อะไรนะครับเพียงแต่ว่าเราจะเสียอะไรมากกว่าประเด็นที่สองที่บอกว่าจะไปเจรจาทำไม่ได้หรอครับสิ่งที่พอจะทำได้ก็คือเช่นการ ยืดเวลาบังคับใช้ในตัวตกลงบางประการ ที่สำคัญออกไปบ้างยกตัวอย่างเช่นในกรณีที่ถ้าเข้า CPTPP จะต้องจะต้องเข้าร่วมสนธิสัญญา 1991 ซึ่งจะทำให้เกษตรกรต้องขยายสิทธิผูกขาดให้กับบริษัทเม็ด พันธุ์ อันนี้มีความเป็นไปได้ที่จะขอยื่นการใช้เช่นแทนที่จะมีผลทันทีที่ให้สัญญาบัตรแล้วก็จะขอยึดเป็นสามปีเป็นต้นซึ่งมีความเป็นไปได้นะครับเพราะว่าที่ผ่านมาอย่างนิวซีแลนด์ก็ดีหรือเม็กซิโกก็ขอหยุดให้มีผลสามปีหลังจากที่ ให้สัตยาบันจะทำได้แค่นั้นเองครับซึ่งไม่ได้ช่วยอะไรเลย
เติมศักดิ์- คือหมายความว่าการก้าวเข้าไปเจรจาในเดือนสิงหาคมของรัฐบาลของตัวแทนผู้เข้าไปเจรจามันเท่ากับการยอมรับเงื่อนไขครึ่งเก้าแล้วใช่ไหมครับอาจารย์ในการเข้าไปเป็น CPTPP
วิฑูรย์- ผมคิดว่ามันเต็มเก้าก็คือเท่ากับเราความตกลงของอย่างเช่นในกรณี 1991 = นิวซีแลนด์ฉันขอต่อรองสามปีหรือมาเลเซียก็ขอสามปีแล้วว่าหลังจากต่อรองเสร็จแล้วนิวซีแลนด์จะยังไม่ได้สัตยาบัน มาเลเซียก็ยังไตร่ตรองอยู่ว่ามันจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นมาเลเซียยังไม่ได้สัตยาบันนะครับทำได้แค่นั้นเองก็คือคือเหมือนกับว่าความตกลงนี้เกือบสมบูรณ์แล้วครับเพียงแต่ว่าเหมือนกับทำพิธีกรรมว่าไปขอแจ้งความจำนงว่าจริงๆแล้วได้อะไรทำได้นิดเดียวเหมือนกับที่ผมว่าแค่นั้นเอง แล้วรอให้สภาให้ความเห็นว่าเราจะให้สัตยาบันหรือไม่นะครับ
เติมศักดิ์- คือมันไม่ใช่การเข้าไปเพื่อที่จะจะบอกว่าจะร่วมหรือไม่ร่วมแต่มันเหมือนกับบอกว่าเราร่วมแน่เพียงแต่เราจะไปต่อรองว่าใช้เค้าให้เขาลดหรือว่าต่อรองเรื่องค่าผ่านทาง ให้เราพอจะยอมรับได้
วิฑูรย์- เราต้องจ่ายอะไรเพิ่มเติมแล้วก็ในส่วนเวลาที่เราจะขอยืดเวลาการบังคับใช้บางเรื่องจะทำได้แค่ไหนซึ่งพอเห็นเค้าลางว่าทำได้มากที่สุดอย่างเช่น 1991 ก็แค่ว่ายืดเวลาการภาคี UPOV ได้แค่นั้นเองครับ
เติมศักดิ์- มองยังไงกับท่าทีของกกร. ที่ออกมาเมื่อวานนี้วันเดียวกับที่มีเรื่องนี้เข้าไปในสภา กกร. ก็ชูมือสนับสนุนการเข้าไปเจรจาครั้งนี้
วิฑูรย์- ผมเห็นว่าเป็นจังหวะก้าวที่รัฐบาลกลับกกร. มาก่อน หน้านี้แล้วผมชอบตั้งแต่เมื่อเดือนที่แล้วหลังจากที่ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ขอถอนวาระออกไปก็ได้ไปคุยทางพระเอกชนว่าต่อไปทางพระเอกชนจะต้องมีบทบาทในการผลักดันเรื่องนี้ เราได้เห็นกระบวนการของ กกร. ที่จัดประชุมแล้วครั้งหนึ่งก็เชิญผมไปให้ข้อมูลด้วยนะครับก็เห็นว่า กกร. คงมีทิศทางแบบนั้นเพราะฉะนั้นสิ่งที่ กกร. ออกมาแถลงในวันเดียวกับที่มีการพิจารณาวาระเรื่องนี้แล้วก็ตั้งกรรมาธิการก็ยื่นพร้อมกันเลยก็หมายความว่าเป็นการวางแผนร่วมกันมาก่อนหน้านี้แล้วนะครับถ้าไปดูแล้วผมคิดว่าประชาชนก็วิพากษ์วิจารณ์กันรุนแรงเพราะมีโอกาสได้เห็น สำนักข่าวของรัฐก็เผยแพร่ข่าวคำแถลงของกกร. เรื่องที่จะสนับสนุนรัฐบาลให้เข้าร่วมปรากฏว่ามีคนแชร์เป็นหลาย 10,000 แชร์หลาย 1000 ความคิดเห็นผมดูเค้าคร่าวๆน่าจะเกิน 3000 ความคิดเห็นแล้วนะครับ ล้วนแล้วแต่ 99.9% ก็คือวิพากษ์วิจารณ์ท่าทีของ กกร. อย่างแรงว่าจะคำนึงถึงแต่ประโยชน์ของเอกชนแต่ว่าไม่คำนึงถึงประชาชนส่วนใหญ่เลยรัฐบาลไหนก็ต้องระวังเรื่องนี้ไว้เช่นเดียวกันครับเพราะว่าเสียงในสภาจะมากกว่าจริงแต่ถ้าเสียงในรัฐสภาตอนที่จะโหวตอาจจะมากกว่าแน่แน่กับฝั่งที่เป็นฝ่ายค้านหรือที่ไม่สนับสนุนซึ่งจะมีบางส่วนอยู่ในพรรครัฐบาลด้วยแล้ว รัฐบาลอาจจะชนะขาดลอย ในการผลักดันเรื่องนี้แต่ว่าเสียงประชาชนที่ไม่เห็นด้วยผมว่ามีปัญหาแน่แน่ต่อความมั่นคงของรัฐบาลและอาจจะมีผลต่อการเลือกตั้งคราวหน้า ผมบอกได้เลยนะครับว่าความตกลงในลักษณะแบบนี้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องยาที่จะทำให้เราทำ CL ยากขึ้นการที่จะไปแทรกแซงเรื่องของการติดยาชื่อสามัญเป็นต้นรวมถึงเรื่อง UPOV1991 ที่จะลดทอนสิทธิเกษตรกรในการไปปลูกต่อ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มากในประเทศไทยในอดีตด้วยนะครับตอนที่เราเจรจากับอเมริกาเห็นได้ชัดเจนเลยนะครับว่า UPOV 1991 ก็อยู่ในประเด็นการเจรจาแล้วก็นำไปสู่การชุมนุมใหญ่ของประชาชนนับ 10,000 คนที่เชียงใหม่ที่เจรจากับอเมริกาในอเมริกาตอนที่มีการจรจากับอเมริกาในความตกลงเช่นมีการชุมนุมเรือน 100,000 ของประชาชนในหลายประเทศ ที่ต้องการปฏิเสธการลงนามนี้แม้ว่ารัฐบาลบางประเทศจะสนับสนุนก็ตาม
เติมศักดิ์ - พี่วิฑูรย์ ครับ ก็มีนักวิชาการที่เขาท้วงติงว่าการทำความเข้าใจเรื่อง CPTPP จะ Yes หรือ No ก็ตามแต่ ทั้งฝ่ายหนุนฝ่ายค้านเหมือนกับไม่ยอมเผยแพร่ข้อมูลให้ครบถ้วนเหมือนกับต่างฝ่ายต่างก็พูดความจริงครึ่งเดียว เช่นฝ่ายที่หนุนบอกว่าเก็บเมล็ดพันธุ์พืชไปปลูกได้เอาไปขายต่อได้ แต่ก็ไม่ได้บอกว่ามันไม่ใช่ทุกประเภทที่เอาไปขายต่อได้ไปปลูกได้ ส่วนฝ่ายที่คัดค้านก็ค้านว่าเก็บเมล็ดพันธุ์พืชเอาไว้แล้วไปปลูกเอาไปขายต่อไม่ได้แต่อาจารย์ท่านนี้ก็บอกว่าการพูดอย่างนี้ก็เป็นการพูดความจริงครึ่งเดียวเพราะว่ามันเอาไปขายต่อได้เฉพาะพันธุ์พืชเดิมพันธุ์พืชพื้นเมืองพันธุ์เพื่อนป่า ที่เคยปลูกๆกันอยู่แล้ว เก็บและปลูกได้เหมือนเดิมคือเหมือนกำลังจะบอกว่า ทั้งสองฝ่ายต่างก็พูดความจริงครึ่งเดียวโดยเฉพาะเรื่องพันธุ์พืช ตกลงพี่วิฑูรย์ ในฐานะฝ่ายที่คัดค้านอยากจะชี้แจงประเด็นนี้อย่างไร
วิฑูรย์ - เหตุผลที่เราผลักดันให้มีเวทีของกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาในด้านหนึ่งเรารู้เราก็รู้ว่าเป็นเกมของรัฐบาลแต่ว่าเราเห็นว่านี่คือวิถีทางเดียวที่จะทำให้ประชาชนสื่อมวลชนทั้งหมดได้เห็นความจริงทั้งหมดในเรื่องนี้ถ้าดูพัฒนาการของหลายประเด็นที่มีการเปิดเผย ผมคิดว่าเนื้อหารายละเอียดทั้งหมดที่รัฐบาลจัดทำเอกสารเผยแพร่เราจะเห็นได้ชัดว่าการปิดบังความจริงมาจากฝั่งของราชการแล้วก็หน่วยงานที่ต้องการผลักดันเรื่อง CPTPP เป็นสำคัญเลย ผมยกตัวอย่างเช่น ในกรณีเรื่องของเก็บพันธุ์ไปปลูกต่อ ประชาชนทั่วไปอาจจะ คือหลักๆการเก็บพันธุ์ไปปลูกต่อเกี่ยวข้องในส่วน ที่เป็นพันธุ์พืชใหม่อันนี้เราก็เห็นตรงกันมาตั้งแต่ต้นเพราะว่าไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่บริษัทแม่พันธุ์จะมาห้ามเราไม่ให้เก็บพันธุ์พืชเดิมของเราใช่ไหมครับมันเป็นคนละประเด็นกฎหมายที่เราเรียกร้องก็คือว่า UPOV 1978 อนุญาตให้เกษตรกรเก็บพันธุ์ที่เขาซื้อพันธุ์ มาจากตลาดให้ไปปลูกต่อได้ถือว่าเป็นสิทธิของเกษตรกรแต่ว่า UPOV 1991 ตัดสิทธินั้นออกไปแล้วทีนี้เป็นเรื่องใหญ่ครับการได้มาของพันธ์พืชแล้วถ้าเก็บไปปลูกต่อไม่ได้จะส่งผลอย่างใหญ่หลวงเลยเราไม่ได้แย่งประเด็นในเรื่องของเก็บพันธุ์พื้นเมืองไปปลูกต่อไม่ได้คนละประเด็นแต่ว่าผลกระทบหลายเรื่องที่รัฐบาลยังปิดบังอยู่เรื่องพันธ์พืชพื้นเมืองยกตัวอย่างเช่นมีการเตรียมแก้กฎหมายไว้เรียบร้อยแล้วแล้วก็ไปตัดข้อความในกฎหมายเดิมโดยบอกว่าในกรณีที่บริษัทเม็ดพันธุ์นำเมล็ดพันธุ์พืชท้องถิ่นไปใช้ประโยชน์เดิมบอกว่าจะต้องแสดงที่มาของพันธ์พืชเหล่านี้ว่าเป็นกลไกสำคัญในการป้องกันการแบ่งปันผลประโยชน์ แต่ว่ากฎหมายที่ร่างขึ้นมาเพื่อเป็นไปตาม UPOV ไปตัดคำนี้ออกไปเลย นั่นหมายความว่า กลไกการแบ่งปันผลประโยชน์ก็จะหายไปอันนี้จะกระทบกับพันธุ์พืชพื้นเมืองตัวอย่างเช่นประเด็นที่รัฐบาลหรือหน่วยงานเกี่ยวข้องก็ไม่ได้เปิดเผยเรื่องนี้ต่อประชาชนอีกอันหนึ่งครับที่ผมอยากพูดเชื่อมโยงไปเลยนะครับ ยกตัวอย่างเช่นใน UPOV 1991 ปรากฏว่ามันอนุญาตโดยในบางกรณีก็คือว่าข้อตกลงหลักเขียนว่าห้ามเก็บพันธุ์ไปปลูกต่อ แต่ว่าบอกว่ายกเว้นในบางกรณีที่รัฐอาจจะมีข้อยกเว้นให้ได้ปรากฏว่ามีการไปอธิบายว่านี่แหละที่จะเป็นสิทธิ์ที่ของเกษตรกรเพราะ UPOV 1991 ให้สิทธิพิเศษแก่เกษตรกรใช้คำแบบเดียวกับ UPOV 1978 เลยนะครับ แต่ถ้าไปดูรายละเอียดปรากฎว่าในคำอธิบายของ UPOV ล่าสุด บอกว่าสิ่งที่จะเก็บพันธุ์ไปปลูกต่อได้ ก็ในกรณีที่เป็นธัญพืชเมล็ดเล็กเท่านั้นและปลูกในพื้นที่ตนเองเพื่อการยังชีพไม่ใช่เพื่อขายซึ่งดูความหมายแล้วข้อยกเว้นที่ว่าแทบจะไม่มีเกษตรกรที่จะสามารถเก็บพันธุ์ไปปลูกต่อได้ ส่วนที่เป็นผักไม้ผลไม้ดอกไม้ประดับอันนี้ห้ามเก็บพันธุ์ไปปลูกต่อ ที่ผมยกตัวอย่างนะครับอันนี้คือสิ่งที่การตั้งกรรมาธิการขึ้นมาจะทำให้ประชาชนเห็นว่าฝ่ายใดที่ปิดบังข้อมูลฝ่ายได้ที่เปิดเผยข้อมูล เราเลยเรียกร้องให้มีการตั้งกรรมาธิการและให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในเรื่องนี้ก็โดยสาเหตุนี้แหละครับ
เติมศักดิ์ - แต่เห็นที่ดีมากไบโอไทยเขียนไว้นับจากนี้ 30 วันเรื่องการเอาข้อมูล งานวิจัย หลักฐาน เชิงประจักษ์ขึ้นมากางบนโต๊ะของ กรรมาธิการเพื่อให้สังคมได้เห็นข้อดีข้อเสียของการจะร่วมหรือไม่ร่วม CPTPP มันต้องเป็นข้อมูลเป็นงานวิจัยเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ทุกฝ่ายเห็นร่วมกันทุกเถียงกันได้ไม่อย่างนั้นมันก็จะถูกครอบงำจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกไหมครับ
วิฑูรย์ - ใช่ครับผมเห็นเลย โดยส่วนตัวผมก็พอใจระดับหนึ่งนะครับกับการที่เห็นรายชื่อของกรรมาธิการ 48 ท่าน มีนักวิชาการยกตัวอย่างเช่นในฝั่งที่เชี่ยวชาญเรื่องกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชอย่างรองศาสตราจารย์ สุรวิช วรรณไกรโรจน์ ก็ได้รับการแต่งตั้งให้อยู่ในกรรมาธิการชุดนี้เช่นเดียวกับฝั่งของรัฐบาล ก็จะมีอธิบดีกรมวิชาการเกษตร คุณเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อยู่ในกรรมาธิการชุดเดียวกันและคุณเติมศักดิ์ ทราบมั้ยครับทั้งสองท่านนี้จบรุ่นเดียวกันเป็นเพื่อนกันด้วย ทีนี้น่าสนใจว่าเนื้อหาในการประชุมถ้าไม่ใช่เสียงมากลากไปผมเชื่อว่าเป็นที่รู้กันในแวดวงเกษตรว่าใครคือผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจเรื่อง UPOV 1991 ครั้งนี้แหละประชาชนก็จะได้เห็นว่าหมายถึงว่าการเผยแพร่ข้อมูลที่ผ่านมานะครับมีใครอะไรหรือไม่นะครับที่ปิดบังข้อมูลไม่พูดความจริงกับประชาชน
เติมศักดิ์ - คุณวิฑูรย์ พอจะสรุปเป็นคล้ายๆเป็นคู่มือฉบับประชาชนสักนิดได้ไหมครับว่าเราจะติดตามการทำงานของกรรมาธิการชุดนี้ได้อย่างไร อย่างเท่าทันนะครับ เราควรจะรู้อะไรก่อนบ้าง
วิฑูรย์ - ผมคิดว่าคือตอนนี้ประชาชนให้จับตาดูกรรมาธิการ 48 คน 48 คนนี้มาจากพรรคการเมืองต่างๆแล้วก็มีอันนึงที่บอกได้เลยตอนนี้ครับว่าพรรคการเมืองไหนมีจุดยืนอย่างไรดูได้จากเรียกว่ารายชื่อของกรรมาธิการที่ถูกเสนอพรรคการเมืองไหนที่เสนอยกตัวอย่างเช่นนักวิชาการหรือภาคประชาสังคมที่มีจุดยืนเรื่องปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนอันนี้ก็จะบอกคร่าวๆ นะครับว่าทิศทางของพรรคการเมืองนั้นจะเป็นอย่างไรอันนี้เป็นเบื้องต้นอันที่หนึ่ง อันที่สองผมคิดว่าในการประชุมของกรรมาธิการที่จะเกิดขึ้นผมประเมินว่าน่าจะไม่เกินแปดครั้งฉะนั้นทุกครั้งจะมีการเชิญนักวิชาการกลุ่มต่างๆและก็จะมีการแถลงรายละเอียดของโดยปกติน่าจะเป็นแบบนั้นนะครับเว้นแต่ว่าจะไม่มี การแถลงผลของการหารือแต่ว่าผมทราบว่าหลายท่านอยากให้การประชุมครั้งนี้เปิดเผยโปร่งใสเพราะฉะนั้นเราสามารถติดตามได้จากการแถลงของการประชุมผมคาดการณ์ว่าประมาณแปดครั้งอาจจะไม่สามารถแถลงได้ทุกครั้ง เราก็จะรู้ทิศทางแล้วนะครับว่าการทำงานของกรรมาธิการชุดนี้จะเป็นอย่างไรจะเปิดเผยหรือไม่ถ้าระหว่างการทำงานมีความเห็นแตกต่างกันแปลว่ากลับไม่มีการเสนอความเห็นพวกนั้นหรือข้อมูลพวกนั้นเนี่ยก็น่าจะมีปัญหาแน่ๆ นะครับ ผมทราบมาว่ากรรมาธิการบางท่านที่มาจากสายวิชาการแกบอกว่าถ้ากรรมาธิการชุดนี้ดำเนินการโดยใช้เสียงมากลากไปท่านก็จะแจ้งให้ประชาชนทราบแล้วก็จะขอลาออกจากการเป็นกรรมาธิการโดยไม่ยอมแสตมป์ให้แน่ๆ กลับการผลักดันในทางที่ไม่ถูกต้อง (มีต่อ...)