ผู้จัดการรายวัน360-เครือข่าย 686 องค์กร ไม่เห็นด้วย มติเลื่อนการแบน "พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส" และจำกัดการใช้ "ไกลโฟเซต" เตรียมฟ้อง "สุริยะ" ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย ทั้งศาลปกครอง ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พร้อมฟ้องคดีแบบกลุ่มให้ผู้ได้รับอันตรายจาก 3 สารพิษ "มนัญญา"ย้ำยังลุยต่อ หากยังได้ดูกรมวิชาการเกษตร ขอบคุณ ส.ว. ที่เป็นห่วงประชาชน ด้าน "หมอระวี" แนะรัฐตั้งกรรมการร่วม 2 ฝ่ายหาทางออก ยันเกษตรอินทรีย์ต้องเป็นวาระแห่งชาติ
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) เปิดเผยในการแถลงข่าว "เดินหน้าขับเคลื่อนการแบน 3 สารพิษ หลังมติสันนิษฐาน ล้มแบนไกลโฟเซต เลื่อนแบนพาราควอต คลอร์ไพริฟอส" ว่า เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร ร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภค ไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย วันที่ 27 พ.ย.2562 ที่ให้เลื่อนการแบนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสออกไปเป็นวันที่ 1 มิ.ย.2563 และยกเลิกการแบนไกลโฟเซตเป็นจำกัดการใช้แทน โดยเห็นว่าการยกเลิกการแบนไกลโพเซต ที่อ้างว่าไม่เป็นอันตราย เพราะสหรัฐฯ และหลายประเทศยังใช้อยู่ ขัดแย้งกับข้อวินิจฉัยของสถาบันมะเร็งนานาชาติ องค์การอนามัยโลก และคำตัดสินของศาลสหรัฐฯ ที่ให้บริษัท ไบเออร์ ต้องจ่ายค่าเสียหายและค่าปรับแก่ผู้ใช้และแก่รัฐ , การอ้างว่าขัดข้อตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะไม่ต้องแจ้งการแบนล่วงหน้า 60 วันก็ได้ หากเป็นเรื่องเร่งด่วนกระทบต่อสุขภาพ , การอ้างว่ามีผู้คัดค้านจำนวนมาก ก็เป็นไปโดยมิชอบ เพราะนำชื่อผู้คัดค้านจากกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทสารพิษมารวมด้วย , การอ้างเรื่องผลกระทบต่อการนำเข้าถั่วเหลืองและข้าวสาลี ก็ไม่เป็นความจริง เพราะสามารถปรับค่าสารตกค้างได้ และการอ้างไม่มีระยะเวลาเพียงพอและไม่มีสารทดแทน ก็ไม่เป็นความจริง เพราะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีระยะเวลาดำเนินการ แต่ไม่เสนอทางเลือกที่เป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ ยังเห็นอีกว่า การลงมติเมื่อวันที่ 27 พ.ย.2562 ที่อ้างว่ามีความเห็นเป็นเอกฉันท์ เป็นกระบวนการที่มิชอบ เพราะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุข ได้ยืนยันมติเดิมให้มีการแบน 3 สาร โดยเห็นว่า ทุกฝ่ายต้องเคารพมติเมื่อวันที่ 22 ต.ค.2562 และดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
"จะดำเนินการฟ้องศาลปกครอง และศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบต่อนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่ดำเนินการประชุมเมื่อวันที่ 27 พ.ย.2562 โดยมิชอบ และยังจะดำเนินการฟ้องคดีแบบกลุ่มให้กับผู้ที่ได้รับอันตรายจาก 3 สารพิษ ภายในเดือนนี้ โดยความร่วมมือกับทีมทนายความที่ต่อสู้คดีให้กับนายดเวนย์ ลี จอห์นสัน ที่ชนะคดีไกลโฟเซตในสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้มีผู้เสียหาย 110 ราย และจะมีการรวบรวมเพิ่มเติม โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสารพิษทั้ง 3 ชนิดให้แจ้งความประสงค์ได้ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"นายวิฑูรย์กล่าว
ด้านนายสุริยะ กล่าวว่า ภายในเดือนธ.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายอีกครั้ง เพื่อรับรองมติการประชุมเมื่อ 27 พ.ย. ยืนยันว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากคณะกรรมการฯได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว และมติดังกล่าวจะมีผลทางกฏหมายแน่นอน
วันเดียวกันนี้ น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภาว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ ได้ตั้งคณะทำงาน มีปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน เพื่อรองรับการดำเนินการไว้แล้ว ซึ่งการจำกัดการใช้ จะเข้าไปดูแลเป็นพิเศษ ถ้าตนเองยังได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลกรมวิชาการเกษตรอยู่ พร้อมกับขอบคุณ ส.ว. ที่มีความห่วงใยสุขภาพของประชาชน
นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ ในฐานะกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า เสนอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อศึกษาวิจัยหาความจริง โดยมีตัวแทนทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่โดยส่วนตัวต้องการให้แบนสารเคมีภาคเกษตรทุกชนิด และต้องการให้ทำเกษตรอินทรีย์เต็มรูปแบบ ซึ่งรัฐบาลต้องทำให้เป็นวาระแห่งชาติ
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) เปิดเผยในการแถลงข่าว "เดินหน้าขับเคลื่อนการแบน 3 สารพิษ หลังมติสันนิษฐาน ล้มแบนไกลโฟเซต เลื่อนแบนพาราควอต คลอร์ไพริฟอส" ว่า เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร ร่วมกับเครือข่ายผู้บริโภค ไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย วันที่ 27 พ.ย.2562 ที่ให้เลื่อนการแบนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสออกไปเป็นวันที่ 1 มิ.ย.2563 และยกเลิกการแบนไกลโฟเซตเป็นจำกัดการใช้แทน โดยเห็นว่าการยกเลิกการแบนไกลโพเซต ที่อ้างว่าไม่เป็นอันตราย เพราะสหรัฐฯ และหลายประเทศยังใช้อยู่ ขัดแย้งกับข้อวินิจฉัยของสถาบันมะเร็งนานาชาติ องค์การอนามัยโลก และคำตัดสินของศาลสหรัฐฯ ที่ให้บริษัท ไบเออร์ ต้องจ่ายค่าเสียหายและค่าปรับแก่ผู้ใช้และแก่รัฐ , การอ้างว่าขัดข้อตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) ก็ฟังไม่ขึ้น เพราะไม่ต้องแจ้งการแบนล่วงหน้า 60 วันก็ได้ หากเป็นเรื่องเร่งด่วนกระทบต่อสุขภาพ , การอ้างว่ามีผู้คัดค้านจำนวนมาก ก็เป็นไปโดยมิชอบ เพราะนำชื่อผู้คัดค้านจากกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทสารพิษมารวมด้วย , การอ้างเรื่องผลกระทบต่อการนำเข้าถั่วเหลืองและข้าวสาลี ก็ไม่เป็นความจริง เพราะสามารถปรับค่าสารตกค้างได้ และการอ้างไม่มีระยะเวลาเพียงพอและไม่มีสารทดแทน ก็ไม่เป็นความจริง เพราะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีระยะเวลาดำเนินการ แต่ไม่เสนอทางเลือกที่เป็นรูปธรรม
ทั้งนี้ ยังเห็นอีกว่า การลงมติเมื่อวันที่ 27 พ.ย.2562 ที่อ้างว่ามีความเห็นเป็นเอกฉันท์ เป็นกระบวนการที่มิชอบ เพราะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุข ได้ยืนยันมติเดิมให้มีการแบน 3 สาร โดยเห็นว่า ทุกฝ่ายต้องเคารพมติเมื่อวันที่ 22 ต.ค.2562 และดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว
"จะดำเนินการฟ้องศาลปกครอง และศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบต่อนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่ดำเนินการประชุมเมื่อวันที่ 27 พ.ย.2562 โดยมิชอบ และยังจะดำเนินการฟ้องคดีแบบกลุ่มให้กับผู้ที่ได้รับอันตรายจาก 3 สารพิษ ภายในเดือนนี้ โดยความร่วมมือกับทีมทนายความที่ต่อสู้คดีให้กับนายดเวนย์ ลี จอห์นสัน ที่ชนะคดีไกลโฟเซตในสหรัฐฯ ซึ่งขณะนี้มีผู้เสียหาย 110 ราย และจะมีการรวบรวมเพิ่มเติม โดยผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสารพิษทั้ง 3 ชนิดให้แจ้งความประสงค์ได้ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"นายวิฑูรย์กล่าว
ด้านนายสุริยะ กล่าวว่า ภายในเดือนธ.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายอีกครั้ง เพื่อรับรองมติการประชุมเมื่อ 27 พ.ย. ยืนยันว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากคณะกรรมการฯได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว และมติดังกล่าวจะมีผลทางกฏหมายแน่นอน
วันเดียวกันนี้ น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมวุฒิสภาว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ ได้ตั้งคณะทำงาน มีปลัดกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน เพื่อรองรับการดำเนินการไว้แล้ว ซึ่งการจำกัดการใช้ จะเข้าไปดูแลเป็นพิเศษ ถ้าตนเองยังได้รับมอบหมายให้กำกับดูแลกรมวิชาการเกษตรอยู่ พร้อมกับขอบคุณ ส.ว. ที่มีความห่วงใยสุขภาพของประชาชน
นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังธรรมใหม่ ในฐานะกมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า เสนอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อศึกษาวิจัยหาความจริง โดยมีตัวแทนทั้งฝ่ายเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่โดยส่วนตัวต้องการให้แบนสารเคมีภาคเกษตรทุกชนิด และต้องการให้ทำเกษตรอินทรีย์เต็มรูปแบบ ซึ่งรัฐบาลต้องทำให้เป็นวาระแห่งชาติ