คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.ปปง.สั่งอายัดการจ่ายเงินค่าโง่คลองด่านแก่เอกชนงวด 2-3 เกือบ 6 พันล้าน เหตุกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ได้สัญญาโดยมิชอบ!
เมื่อวันที่ 11 พ.ค. พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ ที่ปรึกษาประจำสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) และรักษาราชการแทนเลขาธิการ ปปง. แถลงความคืบหน้าคดีทุจริตโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ว่า สืบเนื่องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ของดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษาลงโทษนายวัฒนา อัศวเหม (อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย) ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 ลงโทษจำคุก 10 ปี ฐานใช้อำนาจข่มขู่ หรือจูงใจ เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ สาขาบางพลี ให้ออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบจำนวน 1,900 ไร่ ทับที่คลองสาธารณประโยชน์และที่ทิ้งขยะ ซึ่งเป็นที่หวงห้าม เพื่อนำไปขายให้กรมควบคุมมลพิษ
ต่อมาศาลอาญาได้มีคำพิพากษาว่า จำเลยทั้ง 3 คน ประกอบด้วย นายปกิต กิระวานิช อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ จำเลยที่ 1 นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ จำเลยที่ 2 และ นางยุวรี อินนา อดีตนักวิชาการสิ่งแวดล้อม 7 จำเลยที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 ให้ลงโทษจำคุกคนละ 20 ปี ฐานร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต และปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐและประชาชน ทำให้รัฐจัดซื้อที่ดินที่ออกโดยมิชอบ ต้องจ่ายค่าที่ดินและค่าก่อสร้างโครงการไปกว่า 2 หมื่นล้านบาท แต่ไม่สามารถดำเนินโครงการเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จ และจากกรณีดังกล่าว มีกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน คือกลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG ที่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการวางแผนและการดำเนินการตามแผนเพื่อเอื้อประโยชน์หลายขั้นตอน
ซึ่งต่อมา รัฐบาลได้จ่ายเงินงวดแรกให้แก่กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2558 จำนวน 2,380,936,174.53 บาท และ 16,288,391.55 เหรียญสหรัฐ เนื่องจากคำพิพากษาศาลปกครองเขียนว่าสัญญาถูกต้อง ครม.จึงมีมติเห็นชอบให้จ่าย ต่อมาศาลอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG ซึ่งเป็นกลุ่มเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับกรมควบคุมมลพิษ ได้ร่วมกันบิดเบือนข้อเท็จจริง ดำเนินการเสนอตัวเข้าประกวดราคาในแต่ละขั้นตอนโดยทุจริต มีจำเลย 3 คน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกับผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบ ปฏิบัติหน้าที่โดยเลือกดำเนินการแต่ละขั้นตอนไปในทางที่ขัดต่อระเบียบราชการ มติคณะรัฐมนตรี และไม่ชอบด้วยกฎหมาย สนองรับดำเนินการอันเป็นการทุจริต และเอื้อประโยชน์เพื่อช่วยเหลือจนทุกๆ ขั้นตอนบรรลุผลสำเร็จ
พ.ต.อ.สีหนาทกล่าวอีกว่า จากข้อเท็จจริงแสดงให้เห็นว่า สัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นจากการทุจริตของอธิบดีและเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษในขณะนั้น สมคบกับกิจการร่วมค้า NVPSKG ในทุกขั้นตอนเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มเอกชนได้เข้ามาเป็นคู่สัญญา จึงเป็นสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย สัญญาย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ซึ่งส่งผลให้สัญญาดังกล่าวเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น กระทั่งตอนนี้ได้เพิกถอนโฉนดดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้ว “ต่อมา สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีหนังสือส่งข้อมูลกรณีเจ้าหน้าที่รัฐทุจริตต่อหน้าที่มายังสำนักงาน ปปง. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ได้มีหนังสือขอให้สำนักงาน ปปง.ใช้อำนาจยึดหรืออายัดผู้ร่วมกระทำความผิดคดีคลองด่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินงวดที่ 2 ที่จะถึงกำหนดจ่ายในวันที่ 21 พ.ค.นี้ นอกจากนี้จะมีคำสั่งส่งไปยังกรมควบคุมมลพิษไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้กับกลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG เพราะไม่ใช่เรื่องที่รัฐผิดสัญญาแต่อย่างใด แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยผิดกฏหมายตั้งแต่แรก ทำให้ ปปง. ต้องอายัดทรัพย์สิน"
ด้วยเหตุนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรมเมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา จึงได้มีมติให้อายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด กรณีกลุ่มบุคคลที่มีพฤติการณ์ในการทุจริตและแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายจากโครงการออกแบบร่วมก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามข้อตกลงที่กรมควบคุมมลพิษจะต้องจ่ายให้แก่กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG จำนวน 2 งวด โดยให้มีผลในวันที่ครบกำหนดชำระในแต่ละงวด ประกอบด้วย 1. สิทธิเรียกร้องในหนี้เงินงวดที่ 2 เป็นเงินจำนวน 2,380,936,174.53 บาท และ 16,288,391.55 เหรียญสหรัฐ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค.นี้ เป็นต้นไป และ 2. สิทธิเรียกร้องในหนี้เงินงวดที่ 3 เป็นเงินจำนวน 2,380,936,174.53 บาท และ 16,288,391.55 เหรียญสหรัฐ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย. นี้ เป็นต้นไป รวมมูลค่าตามสิทธิเรียกร้องในหนี้ จำนวน 4,761,872,349.06 บาท และ 32,576,783.10 เหรียญสหรัฐ
พ.ต.อ.สีหนาท กล่าวด้วยว่า สำนักงาน ปปง.ได้ตรวจสอบรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม กรณีนี้จึงมีเหตุอันควรน่าเชื่อว่า กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG กับพวก ซึ่งเข้ายึดถือ ครอบครอง และแสวงประโยชน์จากที่ดินสาธารณประโยชน์ที่เป็นคลองสาธารณะที่ลุ่มน้ำทะเลท่วมถึง และเป็นที่ทิ้งขยะของทางราชการ ที่ออกโฉนดมาโดยมิชอบ เป็นผู้มีพฤติการณ์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม โดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันมีลักษณะทางการค้า อันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (15) ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
นอกจากนี้ กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG กับพวก ยังมีส่วนร่วมเป็นผู้สนับสนุน หรือเกี่ยวข้องสัมพันธ์ และได้รับประโยชน์ที่เป็นทรัพย์สิน จากการกระทำความผิดมูลฐานเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ราชการของนายวัฒนา อัศวเหม กับพวก และนายปกิต กิระพานิช กับพวก ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ อันเป็นความผิดมูลฐาน ตามมาตรา 3 (5) ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ดังนั้น กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG ต้องมาชี้แจงต่อ ปปง.ภายใน 30 วันหลังได้รับหนังสือว่า เงินที่ได้มาสุจริตหรือไม่ สัญญาที่ทำกันไว้ถูกกฎหมายหรือไม่ เพื่อหักล้างคำพิพากษาของศาลอาญา ถ้าสามารถชี้แจงได้ ปปง.ก็จะเพิกถอนคำสั่งอายัด แต่หากชี้แจงไม่ได้ จะส่งเรื่องให้ศาลแพ่งดำเนินการต่อไป
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี ปปง.สั่งอายัดสิทธิในการเรียกร้องของกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ให้รัฐชำระเงินงวดที่ 2-3 ในคดีคลองด่านว่า “เป็นเรื่องของ ปปง. ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล และไม่ใช่เรื่องของคู่สัญญาอย่างกรมควบคุมมลพิษ อีกทั้งไม่ใช่การเบี้ยวหรือบิดพลิ้ว เพราะรัฐบาลพร้อมจะชำระ แต่เมื่อ ปปง.มีคำสั่งเช่นนั้น กระบวนการจึงต้องหยุดก่อน และคำสั่งอายัดของ ปปง.ถือเป็นคนละเรื่องกับคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่รัฐจ่ายค่าเสียหายให้แก่กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG” และว่า ปปง.มีอำนาจอายัดทรัพย์ได้ 90 วัน โดยกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ต้องมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงภายใน 90 วัน ถ้าไม่เกี่ยวข้อง ปปง.จะปล่อยไป แต่ถ้าเกี่ยวข้อง ปปง.ไม่เชื่อตามที่มีการชี้แจง จะนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการ ปปง.เพื่อให้ลงมติว่า จะฟ้องต่อศาลให้ยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินเลยหรือไม่
2.คตง.มีมติส่ง ป.ป.ช.ฟัน “นพ.สุรพงษ์-ประเสริฐ” กับพวก คืนท่อก๊าซ ปตท.ไม่ครบ ขาดไป 3.2 หมื่นล้าน จี้ รบ.-บิ๊ก ปตท.คืนให้ครบใน 60 วัน!
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. นายชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.) ได้แถลงผลการพิจารณาและมติ คตง.กรณีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและคณะยื่นคำร้องให้ คตง.ตรวจสอบว่า มีการฝ่าฝืนมติ ครม.ในการส่งมอบท่อก๊าซ ปตท.ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดหรือไม่ และมีข้าราชการและหน่วยราชการใดที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ ว่า สืบเนื่องจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ดำเนินการให้ ปตท.คืนท่อก๊าซธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลซึ่งเป็นสมบัติของแผ่นดินให้รัฐ และ ครม.ซึ่งมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2550 ให้กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท.ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครอง โดยคืนท่อก๊าซธรรมชาติให้กระทรวงการคลัง และให้สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องในการส่งมอบคืน
ต่อมาวันที่ 25 ธ.ค. 2551 บริษัท ปตท.ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดว่า ได้มีการคืนทรัพย์สินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว และวันรุ่งขึ้น 26 ธ.ค. 2551 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งว่ามีการคืนทรัพย์สินเรียบร้อยแล้ว ต่อมา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กับพวก 4,450 คน ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท ปตท. และกระทรวงการคลัง ว่า มีการส่งมอบท่อก๊าซคืนไม่ครบ ขาดไปคิดเป็นเงิน 32,000 กว่าล้านบาท ขอให้บังคับผู้ถูกฟ้องให้ส่งมอบคืนให้ครบถ้วน แต่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งว่า การส่งมอบท่อก๊าซไม่ครบถ้วนเป็นการฝ่าฝืนมติ ครม. เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันภายในหน่วยงานของรัฐตามมติคณะรัฐมนตรี
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับคณะ จึงมีหนังสือขอให้ คตง.วินิจฉัยว่า กระทรวงการคลัง และ ปตท.กับพวก ฝ่าฝืนมติ ครม.หรือไม่ คตง.จึงมีคำสั่งให้ สตง.ตรวจสอบ เมื่อ สตง.ตรวจสอบแล้วได้เสนอผลการตรวจสอบต่อ คตง. และ คตง.ได้ประชุมกัน โดยมีมติดังนี้ 1. ท่อก๊าซธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลเป็นสมบัติสาธารณะของแผ่นดิน เพราะได้มาจากการประกอบกิจการและใช้เพื่อกิจการปิโตรเลียมของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ก่อนการแปรรูปและส่งมอบให้บริษัท ปตท.
2. นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. กับพวก อาทิ นายอำนวย ปรีมนวงศ์ รักษาการอธิบดีกรมธนารักษ์ ฝ่าฝืนมติ ครม.และมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยส่งมอบท่อก๊าซธรรมชาติไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ขาดไป 32,000 ล้านบาทเศษ ทำให้รัฐขาดประโยชน์จากค่าเช่าที่พึงได้รับ นอกจากนี้ ยังยื่นคำร้องอันเป็นเท็จต่อศาลปกครองสูงสุดว่าได้ดำเนินการส่งมอบท่อก๊าซคืนครบแล้ว โดยไม่รอผลตรวจสอบและรับรองจาก สตง.ตามมติ ครม.ก่อน และไม่เสนอขอความเห็นชอบจาก ครม.ตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 44 ก่อน
3. ให้ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.ดำเนินคดีอาญา อดีต รมว.คลัง และกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.กับพวก เนื่องจากมีพฤติกรรมอันน่าเชื่อว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ทั้งให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัย และความรับผิดทางละเมิดด้วย
4. คตง.อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44, 46 และ 15 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ขอให้นายกรัฐมนตรี รมว.คลัง รมว.พลังงาน และกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. และผู้เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีการส่งมอบท่อก๊าซที่ขาดไปคิดเป็นเงิน 32,000 ล้านบาทเศษ แก่กระทรวงการคลัง และให้ ครม.ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้มีการบังคับคดีที่ถูกต้องครบถ้วนต่อไปภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจาก สตง. มิฉะนั้น คตง.จะดำเนินการตามมมาตรา 17, 63 และ 64 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ต่อไป
ทั้งนี้ ประธาน คตง.ย้ำว่า “กระทรวงการคลังมีหน้าที่ดูและรักษาทรัพย์สินแผ่นดิน ท่อก๊าซธรรมชาติมูลค่า 32,000 ล้านบาทเศษ เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้มีการส่งมอบท่อก๊าซให้ครบถ้วนไม่ได้ ส่วนเมื่อมีการส่งมอบแล้ว กระทรวงการคลังจะให้บริษัท ปตท. หรือจะให้ผู้ใดเช่า เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของกระทรวงการคลังต่อไป”
3. “บิ๊กตู่-ครม.” ไฟเขียว ก.อุตฯ สั่งเลิกทำเหมืองทองสิ้นปีนี้ หลังพบกระทบ ปชช. ด้าน “บ.อัคราฯ” วอนทบทวน เหตุคนงานกว่าพันคนจะเดือดร้อน!
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เผยหลังประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ในการประชุมได้มีมติสั่งการไปว่า หลังสิ้นปี 2559 นี้จะไม่มีการทำเหมืองแร่ทองอีกต่อไป โดยระหว่างนี้จะต้องแก้ปัญหาการปรับพื้นที่ให้คืนสภาพเดิม และเตรียมหางานให้คนงานเหมืองทองอีกกว่าพันคน สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการทำเหมืองทองจะได้รับการเยียวยา โดยให้กระทรวงสาธารณสุขไปดูแล
ด้านนางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีมติยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำและประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงคำขอต่ออายุประทานบัตรด้วย เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนร้องเรียนการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครา รีซอร์สเซท จำกัด(มหาชน) ในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด คือ จ.พิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก
อย่างไรก็ตาม นางอรรชกา กล่าวว่า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้พนักงานและคนงานของบริษัท อัคราฯ ที่บริษัทจะต้องเลิกกิจการ ดังนั้นจะให้ต่ออายุใบอนุญาตบริษัท อัคราฯ ไปจนถึงสิ้นปี 2559 นี้ เพื่อนำแร่ที่เหลืออยู่ไปใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกัน บริษัท อัคราฯ ต้องเตรียมตัวปิดเหมืองและฟื้นฟูพื้นที่เหมืองให้เป็นไปตามเงื่อนไขการอนุญาต “ได้มีการลงพื้นที่และตรวจสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ พบประชาชนจำนวนมากมีโลหะหนักอยู่ในร่างกาย ถือว่าเป็นอันตราย แม้ปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจนว่า ปัญหาข้อร้องเรียนและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนเกิดจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัคราฯ หรือไม่ แต่เพื่อประโยชน์ของสังคมและประชาชน และแก้ปัญหาความแตกแยกของประชาชนในชุมชน จึงมีมติเลิกสัมปทานเหมืองแร่ทองคำทั่วประเทศ”
นางอรรชกา กล่าวด้วยว่า “มติ ครม.ยืนยันชัดเจนว่า ต้องการให้ยุติการทำเหมืองแร่ ซึ่งมีคำสั่งระงับคำขอของผู้ประกอบการที่ขอเข้ามาตอนนี้ไปแล้ว แม้ว่าใบอนุญาตการทำเหมืองแร่จะหมดปี 2571 แต่การประกอบโลหกรรม ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญจะสิ้นสุดในสิ้นปี 2559 นี้ บริษัทก็ไม่สามารถทำอะไรต่อได้ หรือหากจะทำกิจการต่อ แต่ถลุงทองคำหรือหลอมทองไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์”
ด้านนายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ แกนนำต่อต้านเหมืองแร่ ซึ่งใช้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มคนเพชรบูรณ์ไม่เอาเหมืองแร่” กล่าวว่า ที่ผ่านมาค่อนข้างมีสัญญาณจากหลายฝ่ายว่า คงปิดเหมืองทองไม่ได้ ดังนั้นการที่รัฐบาลประกาศไม่ต่อใบอนุญาตโลหกรรม รวมทั้งยุติการขออนุญาตอาชญาบัตรสำรวจแร่ทอง และประทานบัตรเหมืองแร่ทองทั่วประเทศ เท่ากับประกาศหรือมีคำตอบให้สังคมหรือคนทั้งประเทศรับรู้ว่า เหมืองทองคำไม่ดี ไม่คุ้มค่า สร้างความแตกแยกให้กับชุมชน และยังสร้างปัญหาด้านสุขภาพให้ประชาชนในพื้นที่รอบเหมืองอีกด้วย “มติ ครม.ที่ออกมาแบบนี้เป็นสิ่งทีเหนือความคาดคิดจริงๆ โดยต้องยกเครดิตให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ไปเต็มๆ...”
ขณะที่นายเชิดศักดิ์ อรรถอรุณ ผู้จัดการฝ่ายประสานงานกิจการภายนอก บริษัท อัคราฯ กล่าวหลังรับทราบผลประชุม ครม.เกี่ยวกับการปิดเหมืองทองว่า หากรัฐบาลไม่เปลี่ยนแปลงคำสั่ง คนงานทั้งหมดที่มีอยู่กว่า 1,000 คน พร้อมกับครอบครัวอีกราว 4,000-6,000 คน ต้องลำบาก บางคนมีอายุมากเกินกว่าจะไปหางานใหม่ ลูกหลานที่เป็นเด็กนักเรียนก็จะลำบาก เมื่อพ่อแม่ตกงาน ต้องเข้ากรุงเทพฯ หางานทำ นอกจากนี้คนงานหลายคนยังมีภาระหนี้สินผ่อนบ้านและหนี้อื่นต้องได้รับผลกระทบด้วย “คนงานตั้งคำถามกันว่า ถ้าท่านนายกฯ บอกว่ามันเกิดความแตกแยกในพื้นที่ คำถามก็คือ คนที่ทำแตกแยกจริงๆ ไม่ใช่คนในพื้นที่ แต่เป็นคนจากข้างนอกเข้ามา คนในพื้นที่บางส่วนที่บอกว่าได้รับผลกระทบ ใช่คนส่วนใหญ่ของชุมชนจริงๆ หรือเปล่า หากคนงานทำเหมืองทองออกมาพูดว่าได้รับผลกระทบตรงนี้จึงน่าเชื่อ แต่นี่คนงานไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย และไม่ป่วย แต่คนที่พูดกันคือคนข้างนอก อีกทั้งยังไม่มีผลสรุปทางวิทยาศาสตร์ แต่สั่งปิดเหมืองเพราะอะไร อยากให้ท่านนายกฯ พิจารณาทบทวนตรงนี้ด้วย”
ด้าน น.ส.พรรณี ศรียุทธศักดิ์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงแนวทางช่วยเหลือแรงงานจากมติ ครม.ที่ปิดเหมืองทองว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า มีบริษัทที่ประกอบกิจการเหมืองทองคำในประเทศไทย 2 ราย คือ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด จ.เลย ซึ่งได้เลิกขุดเจาะแร่ทองคำไปแล้ว แต่ยังมีพนักงานในส่วนของออฟฟิศทำงานอยู่ 37 คน ไม่ได้รับผลกระทบอะไร ส่วนบริษัท อัคราฯ ที่ดำเนินกิจการอยู่ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.พิจิตร เข้าไปพูดคุยกับผู้บริหารแล้ว โดยพบว่า มีพนักงาน 1,057 คน แบ่งเป็นพนักงานประจำ 364 คน ที่เหลือเป็นพนักงานรับเหมาช่วง 693 คน บริษัทยืนยันว่า พร้อมจะจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายในกรณีที่ปิดกิจการ
4.“เสรี” ยันไม่มีใบสั่งให้ผลักดัน กม.รอการกำหนดโทษ ปัดยอมถอยเพราะ พล.อ.ประวิตร ค้าน!
สัปดาห์ที่ผ่านมา มีปฏิกิริยาจากหลายฝ่ายต่อกรณีที่นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) ได้วางกรอบเรื่องการสร้างความปรองดองเพื่อนำเสนอรัฐบาล โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ 1.การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายรัฐ เช่น คดีความผิดเล็กน้อยหรือมีเจตนาไม่ร้ายแรง อาจมีนโยบายของรัฐไม่ดำเนินคดีต่อ เช่น การใช้มาตรา 44 การถอนฟ้อง และ 2.การแก้ปัญหาโดยตัวกฎหมาย จะใช้วิธีออก พ.ร.บ.หรือ พ.ร.ก.รอการกำหนดโทษ โดยให้คดีสิ้นสุดลงทันที ไม่ต้องมีการตัดสินคดีหรือฟังคำพิพากษา ซึ่งจะใช้กับคดีที่มีความรุนแรงมากขึ้น เช่น ชุมนุมบุกยึดสถานที่ราชการ หรือปิดสนามบิน หรือสี่แยกต่างๆ แต่ไม่รวมคดีทุจริต คดีหมิ่นสถาบัน มาตรา 112 และการวางเพลิงเผาทรัพย์
ปรากฏว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ได้ออกมายืนยันว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดออกกฎหมายรอการกำหนดโทษของนายเสรี โดยชี้ว่า นายเสรีมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ที่เสนอกฎหมายละเว้นโทษให้ผู้ชุมนุมปิดสนามบิน ปิดถนน โดยมีเงื่อนไขต้องรับสภาพ รับว่ากระทำผิดในศาลก่อนจึงจะเข้าข่ายละเว้นโทษ และตนขอต่อสู้ในชั้นศาลตามเดิม “ผมต้องการให้แกนนำแต่ละฝ่ายไปต่อสู้คดี เชื่อว่านายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.คงไม่รับเช่นกัน หากต้องการฆ่าตัวตายแล้ว อาจตอบรับว่าเอาก็ได้ แล้วมวลชนของเขาจะมองอย่างไร”
ด้านนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขานุการมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย และโฆษกกลุ่ม กปปส. กล่าวถึงแนวทางปรองดองของนายเสรีว่า แกนนำ กปปส.ยินดีต่อสู้คดีจนถึงที่สุด ไม่ร้องขอให้มีการล้างผิดในรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างที่ทำไป ได้ตัดสินใจดีแล้ว ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก พร้อมย้ำว่า เรื่องการปรองดองไม่มีใครปฏิเสธ แต่ไม่ควรเอามาเหมารวมกับการนิรโทษกรรมหรือการล้างผิดรูปแบบอื่นๆ กปปส.ยืนยันว่าไม่ควรล้างผิดให้กับคดีทุจริต เพราะขัดหลักสากล และไม่ควรล้างผิดให้คนทำผิดคดีหมิ่นสถาบัน มาตรา 112 เพราะกระทบต่อความมั่นคงและความรู้สึกประชาชน รวมถึงคดีอาญาร้ายแรง ฆ่า เผาทำลาย ทำร้ายชีวิต เพราะผู้เสียหายจะไม่ได้รับความเป็นธรรมและนำไปสู่ความแตกแยก
ส่วนท่าทีจากฝ่ายรัฐบาลนั้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวคิดออกกฎหมายรอการกำหนดโทษ โดยบอกว่า เสนอมาทำไมก็ไม่รู้ ขณะนี้สถานการณ์ก็ดีๆ กันอยู่แล้ว อะไรที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งก็อย่าไปทำ พอเสนอแบบนี้ คนก็ออกมาพูดเห็นด้วยบ้างไม่เห็นด้วยบ้าง ยุ่งไปหมด ควรปล่อยให้โรดแมปเดินหน้าไป เดี๋ยวพอรัฐธรรมนูญออกมา แล้วค่อยว่ากันช่วงเลือกตั้ง
ทั้งนี้ หลังเกิดปฏิกิริยาจากฝ่ายต่างๆ ล่าสุด เมื่อวันที่ 12 พ.ค. นายเสรี ก็ยอมถอยเกี่ยวกับแนวคิดสร้างความปรองดองด้วยการออกกฎหมายรอกำหนดโทษ โดยเผยหลังประชุมกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองว่า ที่ประชุมได้เชิญนายจิรชัย มูลทองโร่ย รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มาพูดถึงแนวทางการสร้างความปรองดอง แต่ไม่มีการหารือเรื่องกฎหมายรอการกำหนดโทษ เป็นเพียงการพูดคุยเรื่องหลักเกณฑ์เงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ส่วนเรื่องกฎหมายรอการกำหนดโทษตามแนวทางของ สปท.การเมือง คงต้องหยุดไว้ก่อน ต้องรอให้ได้สติกันก่อนแล้วค่อยมาพูดคุยกันอีกครั้ง ยืนยันว่า ยังไม่มีการพับแผน แต่อาจจะต้องปรับเนื้อหาให้ลดความเข้มข้นลง เช่น อาจปรับเงื่อนไขหลังการรับสารภาพผิดให้เบาลง แทนที่จะถูกควบคุมเรื่องการคุมเข้มเรื่องต่างๆ ตลอดชีวิต เหลือเพียง 1-2 ปี หรือการยกเลิกเรื่องการตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต ต้องมีการหารือกันก่อน จากนั้นจะเข้าหารือกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง
นายเสรี ยืนยันด้วยว่า การชะลอเรื่องกฎหมายรอการกำหนดโทษในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นสัญญาณมาจากที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว แต่ สปท.การเมืองก็พร้อมรับฟัง เพราะ สปท.ถือเป็น 1 ในแม่น้ำ 5 สายที่ต้องทำงานร่วมกัน เมื่อ พล.อ.ประวิตรท้วงติงว่า อาจจะเกิดความวุ่นวายตามมา เราก็เห็นว่า อาจจะเป็นไปได้ จึงเห็นว่า ควรชะลอไว้ก่อน แต่ยืนยันว่า ไม่มีใบสั่งจากใครให้ผลักดันกฎหมายดังกล่าวแน่นอน
5.สธ.สั่งปิด รพ.เดชา 60 วัน หลังพบไม่ได้มาตรฐาน ด้านบุตรสาวหมอเดชา รับยังเป็นเจ้าของอยู่ แต่ให้ “บ.ศรีอยุธ” เช่าต่อ-ค้างค่าเช่ากว่า 20 ล้าน!
เมื่อวันที่ 12 พ.ค. น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ได้ลงนามคำสั่งปิดโรงพยาบาลเดชา เป็นเวลา 60 วัน โดยคำสั่งปิดเป็นไปตามมาตรา 50 ของ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ทั้งนี้ น.ต.นพ.บุญเรือง ให้เหตุผลที่สั่งปิด รพ.เดชาว่า เนื่องจาก รพ.เดชาดำเนินการไม่เป็นไปตามมาตรฐาน คือ 1.ไม่จัดให้มีบุคลากรตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด 2.มีการปิดให้บริการแผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการให้บริการของ รพ.ขนาดใหญ่
น.ต.นพ.บุญเรือง ยืนยันด้วยว่า สบส.จะไม่ทอดทิ้งประชาชนที่ใช้บริการที่ รพ.เดชา อย่างแน่นอน โดย รพ.เดชามีผู้ประกันตนประมาณ 40,000 คน มีผู้ป่วยรักษาตัวประมาณ 7 คน สบส.ได้ประสานสำนักงานประกันสังคม(สปส.) แล้ว ขณะนี้ได้จัดสถานพยาบาลในเขต กทม.รองรับผู้ป่วย 2 แห่ง คือ รพ.ราชวิถี และ รพ.เลิดสิน เพื่อรองรับผู้ประกันตน โดยสามารถติดต่อแจ้งเลือกใช้สิทธิได้ที่สำนักงานประกันสังคม
ด้านนายโกวิท สัจจวิเศษ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) แถลงว่า รพ.เดชา เป็นคู่สัญญากับ สปส.มาตั้งแต่ปี 2537 อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นปี 2559 รพ.จุฬาลงกรณ์ ในฐานะ รพ.รับผู้ป่วยต่อจาก รพ.เดชา ได้มีหนังสือแจ้งทวงเงินค่ารักษามายัง สปส.เป็นเงิน 23 ล้านบาท อีกทั้งตรวจสอบพบว่า รพ.เดชา ยังติดค้างเงินสมทบกับกองทุนประกันสังคมในส่วนของนายจ้างอีก 8 ล้านบาท รวมขณะนี้ รพ.เดชามีหนี้กว่า 32 ล้านบาท
นายโกวิท กล่าวอีกว่า สปส.ได้หารือกับ รพ.จุฬาฯ ว่า หากผู้ประกันตนเจ็บป่วยระหว่างวันที่ 12-15 พ.ค.นี้ สามารถเข้ารักษาได้ที่ รพ.จุฬาฯ โดย สปส.จะดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมด หรือเข้ารักษาที่ รพ.รัฐ หรือ รพ.เอกชนอื่นๆ ซึ่ง สปส.จะจ่ายเงินตามเกณฑ์ค่ารักษา ส่วนการโอนย้ายผู้ประกันตน 40,027 คนไป รพ.อื่นนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างโอนย้ายข้อมูลผู้ประกันตนไปยัง รพ.ตำรวจ 10,000 คน ที่เหลือจะเฉลี่ยไป รพ.เลิดสิน และ รพ.ราชวิถี โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 16 พ.ค.นี้ ซึ่งผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบได้ทาง www.sso.go.th หรือสายด่วน 1506 หากผู้ประกันตนไม่สะดวกเข้ารับบริการใน รพ.ที่โอนไป สามารถยื่นขอเปลี่ยน รพ.ได้ภายใน 3 เดือน
ขณะที่นายอนันตชัย อุทัยพัฒนาชีพ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) แถลงว่า กสร.มีแนวทางช่วยเหลือลูกจ้าง รพ.เดชาทั้ง 206 คน ให้ได้รับค่าจ้างค้างจ่าย โดยเจ้าหน้าที่ได้ออกคำสั่งเรียกนายจ้างมาชี้แจง และให้นำหลักฐานการจ่ายค่าจ้างมาแสดง แต่นายจ้างยังไม่ยอมมาพบเจ้าหน้าที่ตามคำสั่ง โดยภายในสัปดาห์หน้า จะออกหนังสือคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง หากไม่ปฏิบัติตามภายใน 30 วัน กสร.จะแจ้งความดำเนินคดีและจะนำเรื่องฟ้องร้องต่อศาล เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย หากเกินกำหนดแล้ว นายจ้างยังไม่จ่ายค่าจ้าง ลูกจ้างสามารถมาเขียนคำร้องเพื่อขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้ โดยจะได้รายละไม่เกิน 18,000 บาท
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 13 พ.ค. น.ส.วรสุดา สุขารมณ์ บุตรสาวคนเล็กของ นพ.เดชา สุขารมณ์ เจ้าของ รพ.เดชา ได้เปิดแถลงข่าวกรณี รพ.เดชา ถูกสั่งปิดเป็นเวลา 60 วันว่า ที่มีข่าวว่าเจ้าของ รพ.เดชา เสียชีวิตแล้ว ทำให้สังคมสับสนว่าใครเป็นเจ้าของ ยืนยันว่า นพ.เดชา ยังมีชีวิตอยู่ และยังมีสุขภาพแข็งแรง และว่า บริษัท สุขารมณ์ ยังคงเป็นเจ้าของที่ดินและทรัพย์สิน 100% แต่ไม่ได้เข้ามาดำเนินการ 10 ปีแล้ว เนื่องจากให้บริษัท ศรีอยุธ จำกัด เป็นผู้เช่าดำเนินการต่อตั้งแต่ปี 2549 โดยครอบครัวไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารใดๆ สำหรับพนักงานที่ทำงานอยู่ คือพนักงานเก่าของบริษัท สุขารมณ์ และว่า บริษัท ศรีอยุธ เริ่มขาดสภาพคล่องตั้งแต่ปลายปี 2558 โดยค้างจ่ายค่าเช่ามานาน รวมแล้วกว่า 20 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ติดต่อบริษัทอื่นมารับช่วงบริหารต่อหรือไม่ หรือบริษัทสุขารมณ์จะบริหารเอง น.ส.วรสุดา กล่าวว่า บริษัทสุขารมณ์จะไม่บริหารต่อ เนื่องจากไม่มีความพร้อม ประกอบกับครอบครัวมีธุรกิจโรงแรมที่ จ.กาญจนบุรี แต่ที่ผ่านมา มีหลายบริษัทมาติดต่อ ทางสิงคโปร์ก็มาติดต่อเช่นกัน แต่ติดขัดเรื่องเอกสาร และว่า บริษัท สุขารมณ์ ยินดีเจรจาทุกรูปแบบทั้งเช่าหรือซื้อ หรือหากจะซื้อและไปทำธุรกิจอื่นก็ยินดี แต่ใจจริง อยากให้ดำเนินการเป็น รพ.ตามเดิม เพราะ รพ.เดชา ถือเป็น รพ.เอกชนแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อถามว่า หากซื้อ รพ.จะขายเท่าไร น.ส.วรสุดา กล่าวว่า ยังไม่ชัดนัก แต่ประเมินทรัพย์สินแล้ว ไม่น่าจะต่ำกว่า 500 ล้านบาท
1.ปปง.สั่งอายัดการจ่ายเงินค่าโง่คลองด่านแก่เอกชนงวด 2-3 เกือบ 6 พันล้าน เหตุกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ได้สัญญาโดยมิชอบ!
เมื่อวันที่ 11 พ.ค. พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ ที่ปรึกษาประจำสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) และรักษาราชการแทนเลขาธิการ ปปง. แถลงความคืบหน้าคดีทุจริตโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ว่า สืบเนื่องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ของดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้พิพากษาลงโทษนายวัฒนา อัศวเหม (อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย) ในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 ลงโทษจำคุก 10 ปี ฐานใช้อำนาจข่มขู่ หรือจูงใจ เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองและเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน จ.สมุทรปราการ สาขาบางพลี ให้ออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบจำนวน 1,900 ไร่ ทับที่คลองสาธารณประโยชน์และที่ทิ้งขยะ ซึ่งเป็นที่หวงห้าม เพื่อนำไปขายให้กรมควบคุมมลพิษ
ต่อมาศาลอาญาได้มีคำพิพากษาว่า จำเลยทั้ง 3 คน ประกอบด้วย นายปกิต กิระวานิช อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ จำเลยที่ 1 นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ จำเลยที่ 2 และ นางยุวรี อินนา อดีตนักวิชาการสิ่งแวดล้อม 7 จำเลยที่ 3 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 และมาตรา 157 ประกอบมาตรา 83 ให้ลงโทษจำคุกคนละ 20 ปี ฐานร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยทุจริต และปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐและประชาชน ทำให้รัฐจัดซื้อที่ดินที่ออกโดยมิชอบ ต้องจ่ายค่าที่ดินและค่าก่อสร้างโครงการไปกว่า 2 หมื่นล้านบาท แต่ไม่สามารถดำเนินโครงการเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้สำเร็จ และจากกรณีดังกล่าว มีกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน คือกลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG ที่มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการวางแผนและการดำเนินการตามแผนเพื่อเอื้อประโยชน์หลายขั้นตอน
ซึ่งต่อมา รัฐบาลได้จ่ายเงินงวดแรกให้แก่กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2558 จำนวน 2,380,936,174.53 บาท และ 16,288,391.55 เหรียญสหรัฐ เนื่องจากคำพิพากษาศาลปกครองเขียนว่าสัญญาถูกต้อง ครม.จึงมีมติเห็นชอบให้จ่าย ต่อมาศาลอาญาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG ซึ่งเป็นกลุ่มเอกชนที่เป็นคู่สัญญากับกรมควบคุมมลพิษ ได้ร่วมกันบิดเบือนข้อเท็จจริง ดำเนินการเสนอตัวเข้าประกวดราคาในแต่ละขั้นตอนโดยทุจริต มีจำเลย 3 คน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร่วมกับผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบ ปฏิบัติหน้าที่โดยเลือกดำเนินการแต่ละขั้นตอนไปในทางที่ขัดต่อระเบียบราชการ มติคณะรัฐมนตรี และไม่ชอบด้วยกฎหมาย สนองรับดำเนินการอันเป็นการทุจริต และเอื้อประโยชน์เพื่อช่วยเหลือจนทุกๆ ขั้นตอนบรรลุผลสำเร็จ
พ.ต.อ.สีหนาทกล่าวอีกว่า จากข้อเท็จจริงแสดงให้เห็นว่า สัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นจากการทุจริตของอธิบดีและเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษในขณะนั้น สมคบกับกิจการร่วมค้า NVPSKG ในทุกขั้นตอนเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มเอกชนได้เข้ามาเป็นคู่สัญญา จึงเป็นสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย สัญญาย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ซึ่งส่งผลให้สัญญาดังกล่าวเสียเปล่ามาตั้งแต่ต้น กระทั่งตอนนี้ได้เพิกถอนโฉนดดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้ว “ต่อมา สำนักงาน ป.ป.ช. ได้มีหนังสือส่งข้อมูลกรณีเจ้าหน้าที่รัฐทุจริตต่อหน้าที่มายังสำนักงาน ปปง. และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) ได้มีหนังสือขอให้สำนักงาน ปปง.ใช้อำนาจยึดหรืออายัดผู้ร่วมกระทำความผิดคดีคลองด่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินงวดที่ 2 ที่จะถึงกำหนดจ่ายในวันที่ 21 พ.ค.นี้ นอกจากนี้จะมีคำสั่งส่งไปยังกรมควบคุมมลพิษไม่ต้องจ่ายเงินดังกล่าวให้กับกลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG เพราะไม่ใช่เรื่องที่รัฐผิดสัญญาแต่อย่างใด แต่สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยผิดกฏหมายตั้งแต่แรก ทำให้ ปปง. ต้องอายัดทรัพย์สิน"
ด้วยเหตุนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการธุรกรรมเมื่อวันที่ 10 พ.ค. ที่ผ่านมา จึงได้มีมติให้อายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด กรณีกลุ่มบุคคลที่มีพฤติการณ์ในการทุจริตและแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมายจากโครงการออกแบบร่วมก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นสิทธิเรียกร้องในหนี้ตามข้อตกลงที่กรมควบคุมมลพิษจะต้องจ่ายให้แก่กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG จำนวน 2 งวด โดยให้มีผลในวันที่ครบกำหนดชำระในแต่ละงวด ประกอบด้วย 1. สิทธิเรียกร้องในหนี้เงินงวดที่ 2 เป็นเงินจำนวน 2,380,936,174.53 บาท และ 16,288,391.55 เหรียญสหรัฐ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 21 พ.ค.นี้ เป็นต้นไป และ 2. สิทธิเรียกร้องในหนี้เงินงวดที่ 3 เป็นเงินจำนวน 2,380,936,174.53 บาท และ 16,288,391.55 เหรียญสหรัฐ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 21 พ.ย. นี้ เป็นต้นไป รวมมูลค่าตามสิทธิเรียกร้องในหนี้ จำนวน 4,761,872,349.06 บาท และ 32,576,783.10 เหรียญสหรัฐ
พ.ต.อ.สีหนาท กล่าวด้วยว่า สำนักงาน ปปง.ได้ตรวจสอบรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม กรณีนี้จึงมีเหตุอันควรน่าเชื่อว่า กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG กับพวก ซึ่งเข้ายึดถือ ครอบครอง และแสวงประโยชน์จากที่ดินสาธารณประโยชน์ที่เป็นคลองสาธารณะที่ลุ่มน้ำทะเลท่วมถึง และเป็นที่ทิ้งขยะของทางราชการ ที่ออกโฉนดมาโดยมิชอบ เป็นผู้มีพฤติการณ์ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับการแสวงหาประโยชน์เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม โดยมิชอบด้วยกฎหมาย อันมีลักษณะทางการค้า อันเป็นความผิดมูลฐานตามมาตรา 3 (15) ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
นอกจากนี้ กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG กับพวก ยังมีส่วนร่วมเป็นผู้สนับสนุน หรือเกี่ยวข้องสัมพันธ์ และได้รับประโยชน์ที่เป็นทรัพย์สิน จากการกระทำความผิดมูลฐานเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ราชการของนายวัฒนา อัศวเหม กับพวก และนายปกิต กิระพานิช กับพวก ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ อันเป็นความผิดมูลฐาน ตามมาตรา 3 (5) ของ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ดังนั้น กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG ต้องมาชี้แจงต่อ ปปง.ภายใน 30 วันหลังได้รับหนังสือว่า เงินที่ได้มาสุจริตหรือไม่ สัญญาที่ทำกันไว้ถูกกฎหมายหรือไม่ เพื่อหักล้างคำพิพากษาของศาลอาญา ถ้าสามารถชี้แจงได้ ปปง.ก็จะเพิกถอนคำสั่งอายัด แต่หากชี้แจงไม่ได้ จะส่งเรื่องให้ศาลแพ่งดำเนินการต่อไป
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี ปปง.สั่งอายัดสิทธิในการเรียกร้องของกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ให้รัฐชำระเงินงวดที่ 2-3 ในคดีคลองด่านว่า “เป็นเรื่องของ ปปง. ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล และไม่ใช่เรื่องของคู่สัญญาอย่างกรมควบคุมมลพิษ อีกทั้งไม่ใช่การเบี้ยวหรือบิดพลิ้ว เพราะรัฐบาลพร้อมจะชำระ แต่เมื่อ ปปง.มีคำสั่งเช่นนั้น กระบวนการจึงต้องหยุดก่อน และคำสั่งอายัดของ ปปง.ถือเป็นคนละเรื่องกับคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่รัฐจ่ายค่าเสียหายให้แก่กลุ่มกิจการร่วมค้า NVPSKG” และว่า ปปง.มีอำนาจอายัดทรัพย์ได้ 90 วัน โดยกลุ่มกิจการร่วมค้าฯ ต้องมาพิสูจน์ข้อเท็จจริงภายใน 90 วัน ถ้าไม่เกี่ยวข้อง ปปง.จะปล่อยไป แต่ถ้าเกี่ยวข้อง ปปง.ไม่เชื่อตามที่มีการชี้แจง จะนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการ ปปง.เพื่อให้ลงมติว่า จะฟ้องต่อศาลให้ยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดินเลยหรือไม่
2.คตง.มีมติส่ง ป.ป.ช.ฟัน “นพ.สุรพงษ์-ประเสริฐ” กับพวก คืนท่อก๊าซ ปตท.ไม่ครบ ขาดไป 3.2 หมื่นล้าน จี้ รบ.-บิ๊ก ปตท.คืนให้ครบใน 60 วัน!
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. นายชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.) ได้แถลงผลการพิจารณาและมติ คตง.กรณีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและคณะยื่นคำร้องให้ คตง.ตรวจสอบว่า มีการฝ่าฝืนมติ ครม.ในการส่งมอบท่อก๊าซ ปตท.ตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดหรือไม่ และมีข้าราชการและหน่วยราชการใดที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ ว่า สืบเนื่องจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ดำเนินการให้ ปตท.คืนท่อก๊าซธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลซึ่งเป็นสมบัติของแผ่นดินให้รัฐ และ ครม.ซึ่งมี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2550 ให้กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท.ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครอง โดยคืนท่อก๊าซธรรมชาติให้กระทรวงการคลัง และให้สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องในการส่งมอบคืน
ต่อมาวันที่ 25 ธ.ค. 2551 บริษัท ปตท.ได้ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดว่า ได้มีการคืนทรัพย์สินตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว และวันรุ่งขึ้น 26 ธ.ค. 2551 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งว่ามีการคืนทรัพย์สินเรียบร้อยแล้ว ต่อมา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กับพวก 4,450 คน ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องบริษัท ปตท. และกระทรวงการคลัง ว่า มีการส่งมอบท่อก๊าซคืนไม่ครบ ขาดไปคิดเป็นเงิน 32,000 กว่าล้านบาท ขอให้บังคับผู้ถูกฟ้องให้ส่งมอบคืนให้ครบถ้วน แต่ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งว่า การส่งมอบท่อก๊าซไม่ครบถ้วนเป็นการฝ่าฝืนมติ ครม. เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันภายในหน่วยงานของรัฐตามมติคณะรัฐมนตรี
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกับคณะ จึงมีหนังสือขอให้ คตง.วินิจฉัยว่า กระทรวงการคลัง และ ปตท.กับพวก ฝ่าฝืนมติ ครม.หรือไม่ คตง.จึงมีคำสั่งให้ สตง.ตรวจสอบ เมื่อ สตง.ตรวจสอบแล้วได้เสนอผลการตรวจสอบต่อ คตง. และ คตง.ได้ประชุมกัน โดยมีมติดังนี้ 1. ท่อก๊าซธรรมชาติทั้งบนบกและในทะเลเป็นสมบัติสาธารณะของแผ่นดิน เพราะได้มาจากการประกอบกิจการและใช้เพื่อกิจการปิโตรเลียมของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ก่อนการแปรรูปและส่งมอบให้บริษัท ปตท.
2. นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. กับพวก อาทิ นายอำนวย ปรีมนวงศ์ รักษาการอธิบดีกรมธนารักษ์ ฝ่าฝืนมติ ครม.และมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ โดยส่งมอบท่อก๊าซธรรมชาติไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ขาดไป 32,000 ล้านบาทเศษ ทำให้รัฐขาดประโยชน์จากค่าเช่าที่พึงได้รับ นอกจากนี้ ยังยื่นคำร้องอันเป็นเท็จต่อศาลปกครองสูงสุดว่าได้ดำเนินการส่งมอบท่อก๊าซคืนครบแล้ว โดยไม่รอผลตรวจสอบและรับรองจาก สตง.ตามมติ ครม.ก่อน และไม่เสนอขอความเห็นชอบจาก ครม.ตาม พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มาตรา 44 ก่อน
3. ให้ส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.ดำเนินคดีอาญา อดีต รมว.คลัง และกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.กับพวก เนื่องจากมีพฤติกรรมอันน่าเชื่อว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ทั้งให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการทางวินัย และความรับผิดทางละเมิดด้วย
4. คตง.อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 44, 46 และ 15 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 ขอให้นายกรัฐมนตรี รมว.คลัง รมว.พลังงาน และกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. และผู้เกี่ยวข้องดำเนินการให้มีการส่งมอบท่อก๊าซที่ขาดไปคิดเป็นเงิน 32,000 ล้านบาทเศษ แก่กระทรวงการคลัง และให้ ครม.ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อให้มีการบังคับคดีที่ถูกต้องครบถ้วนต่อไปภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจาก สตง. มิฉะนั้น คตง.จะดำเนินการตามมมาตรา 17, 63 และ 64 ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 ต่อไป
ทั้งนี้ ประธาน คตง.ย้ำว่า “กระทรวงการคลังมีหน้าที่ดูและรักษาทรัพย์สินแผ่นดิน ท่อก๊าซธรรมชาติมูลค่า 32,000 ล้านบาทเศษ เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จะเพิกเฉยไม่ดำเนินการให้มีการส่งมอบท่อก๊าซให้ครบถ้วนไม่ได้ ส่วนเมื่อมีการส่งมอบแล้ว กระทรวงการคลังจะให้บริษัท ปตท. หรือจะให้ผู้ใดเช่า เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของกระทรวงการคลังต่อไป”
3. “บิ๊กตู่-ครม.” ไฟเขียว ก.อุตฯ สั่งเลิกทำเหมืองทองสิ้นปีนี้ หลังพบกระทบ ปชช. ด้าน “บ.อัคราฯ” วอนทบทวน เหตุคนงานกว่าพันคนจะเดือดร้อน!
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เผยหลังประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ในการประชุมได้มีมติสั่งการไปว่า หลังสิ้นปี 2559 นี้จะไม่มีการทำเหมืองแร่ทองอีกต่อไป โดยระหว่างนี้จะต้องแก้ปัญหาการปรับพื้นที่ให้คืนสภาพเดิม และเตรียมหางานให้คนงานเหมืองทองอีกกว่าพันคน สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการทำเหมืองทองจะได้รับการเยียวยา โดยให้กระทรวงสาธารณสุขไปดูแล
ด้านนางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีมติยุติการอนุญาตอาชญาบัตรพิเศษสำรวจแร่ทองคำและประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำ รวมถึงคำขอต่ออายุประทานบัตรด้วย เนื่องจากช่วงที่ผ่านมา ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนร้องเรียนการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครา รีซอร์สเซท จำกัด(มหาชน) ในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด คือ จ.พิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก
อย่างไรก็ตาม นางอรรชกา กล่าวว่า เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้พนักงานและคนงานของบริษัท อัคราฯ ที่บริษัทจะต้องเลิกกิจการ ดังนั้นจะให้ต่ออายุใบอนุญาตบริษัท อัคราฯ ไปจนถึงสิ้นปี 2559 นี้ เพื่อนำแร่ที่เหลืออยู่ไปใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกัน บริษัท อัคราฯ ต้องเตรียมตัวปิดเหมืองและฟื้นฟูพื้นที่เหมืองให้เป็นไปตามเงื่อนไขการอนุญาต “ได้มีการลงพื้นที่และตรวจสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ พบประชาชนจำนวนมากมีโลหะหนักอยู่ในร่างกาย ถือว่าเป็นอันตราย แม้ปัจจุบันยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจนว่า ปัญหาข้อร้องเรียนและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนเกิดจากการทำเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัคราฯ หรือไม่ แต่เพื่อประโยชน์ของสังคมและประชาชน และแก้ปัญหาความแตกแยกของประชาชนในชุมชน จึงมีมติเลิกสัมปทานเหมืองแร่ทองคำทั่วประเทศ”
นางอรรชกา กล่าวด้วยว่า “มติ ครม.ยืนยันชัดเจนว่า ต้องการให้ยุติการทำเหมืองแร่ ซึ่งมีคำสั่งระงับคำขอของผู้ประกอบการที่ขอเข้ามาตอนนี้ไปแล้ว แม้ว่าใบอนุญาตการทำเหมืองแร่จะหมดปี 2571 แต่การประกอบโลหกรรม ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญจะสิ้นสุดในสิ้นปี 2559 นี้ บริษัทก็ไม่สามารถทำอะไรต่อได้ หรือหากจะทำกิจการต่อ แต่ถลุงทองคำหรือหลอมทองไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์”
ด้านนายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ แกนนำต่อต้านเหมืองแร่ ซึ่งใช้ชื่อกลุ่มว่า “กลุ่มคนเพชรบูรณ์ไม่เอาเหมืองแร่” กล่าวว่า ที่ผ่านมาค่อนข้างมีสัญญาณจากหลายฝ่ายว่า คงปิดเหมืองทองไม่ได้ ดังนั้นการที่รัฐบาลประกาศไม่ต่อใบอนุญาตโลหกรรม รวมทั้งยุติการขออนุญาตอาชญาบัตรสำรวจแร่ทอง และประทานบัตรเหมืองแร่ทองทั่วประเทศ เท่ากับประกาศหรือมีคำตอบให้สังคมหรือคนทั้งประเทศรับรู้ว่า เหมืองทองคำไม่ดี ไม่คุ้มค่า สร้างความแตกแยกให้กับชุมชน และยังสร้างปัญหาด้านสุขภาพให้ประชาชนในพื้นที่รอบเหมืองอีกด้วย “มติ ครม.ที่ออกมาแบบนี้เป็นสิ่งทีเหนือความคาดคิดจริงๆ โดยต้องยกเครดิตให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ไปเต็มๆ...”
ขณะที่นายเชิดศักดิ์ อรรถอรุณ ผู้จัดการฝ่ายประสานงานกิจการภายนอก บริษัท อัคราฯ กล่าวหลังรับทราบผลประชุม ครม.เกี่ยวกับการปิดเหมืองทองว่า หากรัฐบาลไม่เปลี่ยนแปลงคำสั่ง คนงานทั้งหมดที่มีอยู่กว่า 1,000 คน พร้อมกับครอบครัวอีกราว 4,000-6,000 คน ต้องลำบาก บางคนมีอายุมากเกินกว่าจะไปหางานใหม่ ลูกหลานที่เป็นเด็กนักเรียนก็จะลำบาก เมื่อพ่อแม่ตกงาน ต้องเข้ากรุงเทพฯ หางานทำ นอกจากนี้คนงานหลายคนยังมีภาระหนี้สินผ่อนบ้านและหนี้อื่นต้องได้รับผลกระทบด้วย “คนงานตั้งคำถามกันว่า ถ้าท่านนายกฯ บอกว่ามันเกิดความแตกแยกในพื้นที่ คำถามก็คือ คนที่ทำแตกแยกจริงๆ ไม่ใช่คนในพื้นที่ แต่เป็นคนจากข้างนอกเข้ามา คนในพื้นที่บางส่วนที่บอกว่าได้รับผลกระทบ ใช่คนส่วนใหญ่ของชุมชนจริงๆ หรือเปล่า หากคนงานทำเหมืองทองออกมาพูดว่าได้รับผลกระทบตรงนี้จึงน่าเชื่อ แต่นี่คนงานไม่ได้รับผลกระทบอะไรเลย และไม่ป่วย แต่คนที่พูดกันคือคนข้างนอก อีกทั้งยังไม่มีผลสรุปทางวิทยาศาสตร์ แต่สั่งปิดเหมืองเพราะอะไร อยากให้ท่านนายกฯ พิจารณาทบทวนตรงนี้ด้วย”
ด้าน น.ส.พรรณี ศรียุทธศักดิ์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวถึงแนวทางช่วยเหลือแรงงานจากมติ ครม.ที่ปิดเหมืองทองว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า มีบริษัทที่ประกอบกิจการเหมืองทองคำในประเทศไทย 2 ราย คือ บริษัท ทุ่งคำ จำกัด จ.เลย ซึ่งได้เลิกขุดเจาะแร่ทองคำไปแล้ว แต่ยังมีพนักงานในส่วนของออฟฟิศทำงานอยู่ 37 คน ไม่ได้รับผลกระทบอะไร ส่วนบริษัท อัคราฯ ที่ดำเนินกิจการอยู่ ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.พิจิตร เข้าไปพูดคุยกับผู้บริหารแล้ว โดยพบว่า มีพนักงาน 1,057 คน แบ่งเป็นพนักงานประจำ 364 คน ที่เหลือเป็นพนักงานรับเหมาช่วง 693 คน บริษัทยืนยันว่า พร้อมจะจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายในกรณีที่ปิดกิจการ
4.“เสรี” ยันไม่มีใบสั่งให้ผลักดัน กม.รอการกำหนดโทษ ปัดยอมถอยเพราะ พล.อ.ประวิตร ค้าน!
สัปดาห์ที่ผ่านมา มีปฏิกิริยาจากหลายฝ่ายต่อกรณีที่นายเสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) ได้วางกรอบเรื่องการสร้างความปรองดองเพื่อนำเสนอรัฐบาล โดยแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ 1.การแก้ปัญหาโดยใช้นโยบายรัฐ เช่น คดีความผิดเล็กน้อยหรือมีเจตนาไม่ร้ายแรง อาจมีนโยบายของรัฐไม่ดำเนินคดีต่อ เช่น การใช้มาตรา 44 การถอนฟ้อง และ 2.การแก้ปัญหาโดยตัวกฎหมาย จะใช้วิธีออก พ.ร.บ.หรือ พ.ร.ก.รอการกำหนดโทษ โดยให้คดีสิ้นสุดลงทันที ไม่ต้องมีการตัดสินคดีหรือฟังคำพิพากษา ซึ่งจะใช้กับคดีที่มีความรุนแรงมากขึ้น เช่น ชุมนุมบุกยึดสถานที่ราชการ หรือปิดสนามบิน หรือสี่แยกต่างๆ แต่ไม่รวมคดีทุจริต คดีหมิ่นสถาบัน มาตรา 112 และการวางเพลิงเผาทรัพย์
ปรากฏว่า นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ได้ออกมายืนยันว่า ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดออกกฎหมายรอการกำหนดโทษของนายเสรี โดยชี้ว่า นายเสรีมีเจตนาไม่บริสุทธิ์ที่เสนอกฎหมายละเว้นโทษให้ผู้ชุมนุมปิดสนามบิน ปิดถนน โดยมีเงื่อนไขต้องรับสภาพ รับว่ากระทำผิดในศาลก่อนจึงจะเข้าข่ายละเว้นโทษ และตนขอต่อสู้ในชั้นศาลตามเดิม “ผมต้องการให้แกนนำแต่ละฝ่ายไปต่อสู้คดี เชื่อว่านายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส.คงไม่รับเช่นกัน หากต้องการฆ่าตัวตายแล้ว อาจตอบรับว่าเอาก็ได้ แล้วมวลชนของเขาจะมองอย่างไร”
ด้านนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขานุการมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย และโฆษกกลุ่ม กปปส. กล่าวถึงแนวทางปรองดองของนายเสรีว่า แกนนำ กปปส.ยินดีต่อสู้คดีจนถึงที่สุด ไม่ร้องขอให้มีการล้างผิดในรูปแบบใดๆ ทั้งสิ้น ทุกอย่างที่ทำไป ได้ตัดสินใจดีแล้ว ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก พร้อมย้ำว่า เรื่องการปรองดองไม่มีใครปฏิเสธ แต่ไม่ควรเอามาเหมารวมกับการนิรโทษกรรมหรือการล้างผิดรูปแบบอื่นๆ กปปส.ยืนยันว่าไม่ควรล้างผิดให้กับคดีทุจริต เพราะขัดหลักสากล และไม่ควรล้างผิดให้คนทำผิดคดีหมิ่นสถาบัน มาตรา 112 เพราะกระทบต่อความมั่นคงและความรู้สึกประชาชน รวมถึงคดีอาญาร้ายแรง ฆ่า เผาทำลาย ทำร้ายชีวิต เพราะผู้เสียหายจะไม่ได้รับความเป็นธรรมและนำไปสู่ความแตกแยก
ส่วนท่าทีจากฝ่ายรัฐบาลนั้น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวคิดออกกฎหมายรอการกำหนดโทษ โดยบอกว่า เสนอมาทำไมก็ไม่รู้ ขณะนี้สถานการณ์ก็ดีๆ กันอยู่แล้ว อะไรที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งก็อย่าไปทำ พอเสนอแบบนี้ คนก็ออกมาพูดเห็นด้วยบ้างไม่เห็นด้วยบ้าง ยุ่งไปหมด ควรปล่อยให้โรดแมปเดินหน้าไป เดี๋ยวพอรัฐธรรมนูญออกมา แล้วค่อยว่ากันช่วงเลือกตั้ง
ทั้งนี้ หลังเกิดปฏิกิริยาจากฝ่ายต่างๆ ล่าสุด เมื่อวันที่ 12 พ.ค. นายเสรี ก็ยอมถอยเกี่ยวกับแนวคิดสร้างความปรองดองด้วยการออกกฎหมายรอกำหนดโทษ โดยเผยหลังประชุมกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมืองว่า ที่ประชุมได้เชิญนายจิรชัย มูลทองโร่ย รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี มาพูดถึงแนวทางการสร้างความปรองดอง แต่ไม่มีการหารือเรื่องกฎหมายรอการกำหนดโทษ เป็นเพียงการพูดคุยเรื่องหลักเกณฑ์เงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ส่วนเรื่องกฎหมายรอการกำหนดโทษตามแนวทางของ สปท.การเมือง คงต้องหยุดไว้ก่อน ต้องรอให้ได้สติกันก่อนแล้วค่อยมาพูดคุยกันอีกครั้ง ยืนยันว่า ยังไม่มีการพับแผน แต่อาจจะต้องปรับเนื้อหาให้ลดความเข้มข้นลง เช่น อาจปรับเงื่อนไขหลังการรับสารภาพผิดให้เบาลง แทนที่จะถูกควบคุมเรื่องการคุมเข้มเรื่องต่างๆ ตลอดชีวิต เหลือเพียง 1-2 ปี หรือการยกเลิกเรื่องการตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต ต้องมีการหารือกันก่อน จากนั้นจะเข้าหารือกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี อีกครั้ง
นายเสรี ยืนยันด้วยว่า การชะลอเรื่องกฎหมายรอการกำหนดโทษในครั้งนี้ ไม่ได้เป็นสัญญาณมาจากที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว แต่ สปท.การเมืองก็พร้อมรับฟัง เพราะ สปท.ถือเป็น 1 ในแม่น้ำ 5 สายที่ต้องทำงานร่วมกัน เมื่อ พล.อ.ประวิตรท้วงติงว่า อาจจะเกิดความวุ่นวายตามมา เราก็เห็นว่า อาจจะเป็นไปได้ จึงเห็นว่า ควรชะลอไว้ก่อน แต่ยืนยันว่า ไม่มีใบสั่งจากใครให้ผลักดันกฎหมายดังกล่าวแน่นอน
5.สธ.สั่งปิด รพ.เดชา 60 วัน หลังพบไม่ได้มาตรฐาน ด้านบุตรสาวหมอเดชา รับยังเป็นเจ้าของอยู่ แต่ให้ “บ.ศรีอยุธ” เช่าต่อ-ค้างค่าเช่ากว่า 20 ล้าน!
เมื่อวันที่ 12 พ.ค. น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ได้ลงนามคำสั่งปิดโรงพยาบาลเดชา เป็นเวลา 60 วัน โดยคำสั่งปิดเป็นไปตามมาตรา 50 ของ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ทั้งนี้ น.ต.นพ.บุญเรือง ให้เหตุผลที่สั่งปิด รพ.เดชาว่า เนื่องจาก รพ.เดชาดำเนินการไม่เป็นไปตามมาตรฐาน คือ 1.ไม่จัดให้มีบุคลากรตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด 2.มีการปิดให้บริการแผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งเป็นสาระสำคัญของการให้บริการของ รพ.ขนาดใหญ่
น.ต.นพ.บุญเรือง ยืนยันด้วยว่า สบส.จะไม่ทอดทิ้งประชาชนที่ใช้บริการที่ รพ.เดชา อย่างแน่นอน โดย รพ.เดชามีผู้ประกันตนประมาณ 40,000 คน มีผู้ป่วยรักษาตัวประมาณ 7 คน สบส.ได้ประสานสำนักงานประกันสังคม(สปส.) แล้ว ขณะนี้ได้จัดสถานพยาบาลในเขต กทม.รองรับผู้ป่วย 2 แห่ง คือ รพ.ราชวิถี และ รพ.เลิดสิน เพื่อรองรับผู้ประกันตน โดยสามารถติดต่อแจ้งเลือกใช้สิทธิได้ที่สำนักงานประกันสังคม
ด้านนายโกวิท สัจจวิเศษ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) แถลงว่า รพ.เดชา เป็นคู่สัญญากับ สปส.มาตั้งแต่ปี 2537 อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นปี 2559 รพ.จุฬาลงกรณ์ ในฐานะ รพ.รับผู้ป่วยต่อจาก รพ.เดชา ได้มีหนังสือแจ้งทวงเงินค่ารักษามายัง สปส.เป็นเงิน 23 ล้านบาท อีกทั้งตรวจสอบพบว่า รพ.เดชา ยังติดค้างเงินสมทบกับกองทุนประกันสังคมในส่วนของนายจ้างอีก 8 ล้านบาท รวมขณะนี้ รพ.เดชามีหนี้กว่า 32 ล้านบาท
นายโกวิท กล่าวอีกว่า สปส.ได้หารือกับ รพ.จุฬาฯ ว่า หากผู้ประกันตนเจ็บป่วยระหว่างวันที่ 12-15 พ.ค.นี้ สามารถเข้ารักษาได้ที่ รพ.จุฬาฯ โดย สปส.จะดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมด หรือเข้ารักษาที่ รพ.รัฐ หรือ รพ.เอกชนอื่นๆ ซึ่ง สปส.จะจ่ายเงินตามเกณฑ์ค่ารักษา ส่วนการโอนย้ายผู้ประกันตน 40,027 คนไป รพ.อื่นนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างโอนย้ายข้อมูลผู้ประกันตนไปยัง รพ.ตำรวจ 10,000 คน ที่เหลือจะเฉลี่ยไป รพ.เลิดสิน และ รพ.ราชวิถี โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 16 พ.ค.นี้ ซึ่งผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบได้ทาง www.sso.go.th หรือสายด่วน 1506 หากผู้ประกันตนไม่สะดวกเข้ารับบริการใน รพ.ที่โอนไป สามารถยื่นขอเปลี่ยน รพ.ได้ภายใน 3 เดือน
ขณะที่นายอนันตชัย อุทัยพัฒนาชีพ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.) แถลงว่า กสร.มีแนวทางช่วยเหลือลูกจ้าง รพ.เดชาทั้ง 206 คน ให้ได้รับค่าจ้างค้างจ่าย โดยเจ้าหน้าที่ได้ออกคำสั่งเรียกนายจ้างมาชี้แจง และให้นำหลักฐานการจ่ายค่าจ้างมาแสดง แต่นายจ้างยังไม่ยอมมาพบเจ้าหน้าที่ตามคำสั่ง โดยภายในสัปดาห์หน้า จะออกหนังสือคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง หากไม่ปฏิบัติตามภายใน 30 วัน กสร.จะแจ้งความดำเนินคดีและจะนำเรื่องฟ้องร้องต่อศาล เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย หากเกินกำหนดแล้ว นายจ้างยังไม่จ่ายค่าจ้าง ลูกจ้างสามารถมาเขียนคำร้องเพื่อขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้ โดยจะได้รายละไม่เกิน 18,000 บาท
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 13 พ.ค. น.ส.วรสุดา สุขารมณ์ บุตรสาวคนเล็กของ นพ.เดชา สุขารมณ์ เจ้าของ รพ.เดชา ได้เปิดแถลงข่าวกรณี รพ.เดชา ถูกสั่งปิดเป็นเวลา 60 วันว่า ที่มีข่าวว่าเจ้าของ รพ.เดชา เสียชีวิตแล้ว ทำให้สังคมสับสนว่าใครเป็นเจ้าของ ยืนยันว่า นพ.เดชา ยังมีชีวิตอยู่ และยังมีสุขภาพแข็งแรง และว่า บริษัท สุขารมณ์ ยังคงเป็นเจ้าของที่ดินและทรัพย์สิน 100% แต่ไม่ได้เข้ามาดำเนินการ 10 ปีแล้ว เนื่องจากให้บริษัท ศรีอยุธ จำกัด เป็นผู้เช่าดำเนินการต่อตั้งแต่ปี 2549 โดยครอบครัวไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการบริหารใดๆ สำหรับพนักงานที่ทำงานอยู่ คือพนักงานเก่าของบริษัท สุขารมณ์ และว่า บริษัท ศรีอยุธ เริ่มขาดสภาพคล่องตั้งแต่ปลายปี 2558 โดยค้างจ่ายค่าเช่ามานาน รวมแล้วกว่า 20 ล้านบาท
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ติดต่อบริษัทอื่นมารับช่วงบริหารต่อหรือไม่ หรือบริษัทสุขารมณ์จะบริหารเอง น.ส.วรสุดา กล่าวว่า บริษัทสุขารมณ์จะไม่บริหารต่อ เนื่องจากไม่มีความพร้อม ประกอบกับครอบครัวมีธุรกิจโรงแรมที่ จ.กาญจนบุรี แต่ที่ผ่านมา มีหลายบริษัทมาติดต่อ ทางสิงคโปร์ก็มาติดต่อเช่นกัน แต่ติดขัดเรื่องเอกสาร และว่า บริษัท สุขารมณ์ ยินดีเจรจาทุกรูปแบบทั้งเช่าหรือซื้อ หรือหากจะซื้อและไปทำธุรกิจอื่นก็ยินดี แต่ใจจริง อยากให้ดำเนินการเป็น รพ.ตามเดิม เพราะ รพ.เดชา ถือเป็น รพ.เอกชนแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อถามว่า หากซื้อ รพ.จะขายเท่าไร น.ส.วรสุดา กล่าวว่า ยังไม่ชัดนัก แต่ประเมินทรัพย์สินแล้ว ไม่น่าจะต่ำกว่า 500 ล้านบาท