วานนี้ (15มี.ค.) นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ อดีตรมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมด้วย นายอภิชัย ชวเจริญพันธ์ อดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) และ กรรมการชุดบริหารสัญญาโครงการก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน รวม 7 ราย เข้ายื่นคำร้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อขอให้พิจารณาคดีใหม่ ในคดีที่ศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุด เคยพิจารณาบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ให้รัฐต้องจ่ายชดใช้ค่าเสียหายในโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน ให้กับกิจการร่วมค้าประมาณ 1 หมื่นล้านบาท รวมทั้งขอให้ศาลมีคำสั่ง งดการบังคับคดีดังกล่าวไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด เพื่อระงับการจ่ายเงินให้กับฝ่ายกิจการร่วมค้า ซึ่งที่ผ่านมามีการจ่ายไปแล้ว 4 พันล้านบาท ในวันที่ 21 พ.ย.58 และมีการกำหนดจ่ายต่อไปอีก 2 งวด งวดละ 3 พันล้านบาท ภายในวันที่ 21 พ.ค.นี้ และงวดสุดท้ายในวันที่ 21 พ.ย. ที่จะถึงนี้
นายประพัฒน์ กล่าวว่า เหตุที่มายื่นคำร้องเนื่องจากเห็นว่าการพิจารณาคดีที่ผ่านมา คณะอนุญาโตตุลาการศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุด ไม่ได้ยึดถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาในคดีอาญาของศาลแขวงดุสิต ที่เคยพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษ(คพ.)เป็นฝ่ายชนะคดีอาญา ในคดีฉ้อโกงเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินจำนวน 1,900 ไร่ และคดีฉ้อโกงสัญญาว่าจ้างเกี่ยวกับการปกปิดข้อเท็จจริง เรื่องบริษัทผู้เชี่ยวชาญคือ บริษัท นอร์ทเวส วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ถอนตัว และบอกเลิกหนังสือมอบอำนาจก่อนการลงนามระหว่าง คพ. และกลุ่มกิจการร่วมค้าในปี 2540 ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้ว จะต้องยึดถือข้อเท็จจริงตามที่รับฟังได้ในคดีอาญาเป็นหลัก
นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานใหม่คือคำพิพากษาของศาลอาญาฉบับวันที่ 17 ธ.ค. 58 พิพากษาจำคุก นายปกิต กิระวานิช อดีต อธิบดี คพ. นายศิริธัญญ์ไพโรจน์บริบูรณ์ รองอธิบดี คพ. และนางยุวรี อินนา อดีตผู้อำนวยการในคพ. คนละ 20 ปี กรณีการทำสัญญาจ้างระหว่าง คพ. และกลุ่มกิจการร่วมค้าไม่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ต้น เพราะมีการลงนามในสัญญาว่าจ้างโดยไม่มีบริษัทนอร์ทเวสต์ฯ อีกทั้งเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือคดีค่าโง่ทางด่วน ที่พิพากษาไว้เป็นบรรทัดฐานว่า หากมีกรณีทุจริตเกี่ยวกับการทำสัญญาว่าจ้าง สัญญาดังกล่าวถือว่าเป็นสัญญาที่เกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันทางราชการ และศาลต้องไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ดังนั้น ตนและพวกอีก 7คน จึงขอให้ศาลปกครองพิจารณาคดีดังกล่าวใหม่
"ขณะนี้พวกผมกำลังถูกตั้งคณะกรรมการสอบความรับผิดทางละเมิดจากกรณีดังกล่าว ทั้งที่พวกผมเป็นคนที่ตรวจพบการทุจริต และสั่งระงับโครงการดังกล่าว แต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับมาดำเนินการกับพวกผม เหมือนว่าพวกผมทำผิด ทั้งที่คนผิดก็มีคำพิพากษาของศาลอาญาอยู่แล้ว ว่าเป็นคนในกระทรวงทรัพย์ฯ ทำผิด 3 คน ดังนั้นเรื่องนี้จึงทำให้พวกผมเดือดร้อน เสียหาย เข้าลักษณะเป็นผู้มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง จึงได้มายื่นขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ รวมทั้งก็เตรียมที่จะฟ้องร้องบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินงวดแรก และคนที่ตั้งกรรมการสอบทางละเมิดต่อไปด้วย เพราะหากยังไม่มีการหยุดดำเนินการ เท่ากับว่ากำลังช่วยให้คนที่ทำการทุจริตจากกรณีนี้พ้นผิด แล้วกลับมากล่าวหาว่าเป็นความผิดพวกผมแทน" นายประพัฒน์ กล่าว
นายประพัฒน์ กล่าวว่า เหตุที่มายื่นคำร้องเนื่องจากเห็นว่าการพิจารณาคดีที่ผ่านมา คณะอนุญาโตตุลาการศาลปกครองกลาง และศาลปกครองสูงสุด ไม่ได้ยึดถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาในคดีอาญาของศาลแขวงดุสิต ที่เคยพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษ(คพ.)เป็นฝ่ายชนะคดีอาญา ในคดีฉ้อโกงเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดินจำนวน 1,900 ไร่ และคดีฉ้อโกงสัญญาว่าจ้างเกี่ยวกับการปกปิดข้อเท็จจริง เรื่องบริษัทผู้เชี่ยวชาญคือ บริษัท นอร์ทเวส วอเตอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ถอนตัว และบอกเลิกหนังสือมอบอำนาจก่อนการลงนามระหว่าง คพ. และกลุ่มกิจการร่วมค้าในปี 2540 ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้ว จะต้องยึดถือข้อเท็จจริงตามที่รับฟังได้ในคดีอาญาเป็นหลัก
นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานใหม่คือคำพิพากษาของศาลอาญาฉบับวันที่ 17 ธ.ค. 58 พิพากษาจำคุก นายปกิต กิระวานิช อดีต อธิบดี คพ. นายศิริธัญญ์ไพโรจน์บริบูรณ์ รองอธิบดี คพ. และนางยุวรี อินนา อดีตผู้อำนวยการในคพ. คนละ 20 ปี กรณีการทำสัญญาจ้างระหว่าง คพ. และกลุ่มกิจการร่วมค้าไม่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ต้น เพราะมีการลงนามในสัญญาว่าจ้างโดยไม่มีบริษัทนอร์ทเวสต์ฯ อีกทั้งเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือคดีค่าโง่ทางด่วน ที่พิพากษาไว้เป็นบรรทัดฐานว่า หากมีกรณีทุจริตเกี่ยวกับการทำสัญญาว่าจ้าง สัญญาดังกล่าวถือว่าเป็นสัญญาที่เกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลผูกพันทางราชการ และศาลต้องไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ดังนั้น ตนและพวกอีก 7คน จึงขอให้ศาลปกครองพิจารณาคดีดังกล่าวใหม่
"ขณะนี้พวกผมกำลังถูกตั้งคณะกรรมการสอบความรับผิดทางละเมิดจากกรณีดังกล่าว ทั้งที่พวกผมเป็นคนที่ตรวจพบการทุจริต และสั่งระงับโครงการดังกล่าว แต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับมาดำเนินการกับพวกผม เหมือนว่าพวกผมทำผิด ทั้งที่คนผิดก็มีคำพิพากษาของศาลอาญาอยู่แล้ว ว่าเป็นคนในกระทรวงทรัพย์ฯ ทำผิด 3 คน ดังนั้นเรื่องนี้จึงทำให้พวกผมเดือดร้อน เสียหาย เข้าลักษณะเป็นผู้มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง จึงได้มายื่นขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ รวมทั้งก็เตรียมที่จะฟ้องร้องบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินงวดแรก และคนที่ตั้งกรรมการสอบทางละเมิดต่อไปด้วย เพราะหากยังไม่มีการหยุดดำเนินการ เท่ากับว่ากำลังช่วยให้คนที่ทำการทุจริตจากกรณีนี้พ้นผิด แล้วกลับมากล่าวหาว่าเป็นความผิดพวกผมแทน" นายประพัฒน์ กล่าว