คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1.“บิ๊กตู่” ใช้ ม. 44 ออกคำสั่งเปิดประมูล 4G คลื่น 900 เร็วขึ้น 27 พ.ค. พร้อมยืดเวลาเอไอเอสซิมดับจนกว่าจะได้ผู้ชนะประมูล!
ความคืบหน้ากรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ขอซื้อใบอนุญาต 4G คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ แทนแจส ที่ทิ้งใบอนุญาตไป และพร้อมซื้อในราคาที่แจสเคยชนะประมูล คือ 75,654 ล้านบาท โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ไม่ต้องเปิดประมูลใหม่ในวันที่ 24 มิ.ย. แต่ขอให้ กสทช.เร่งให้ใบอนุญาตก่อนวันที่ 14 เม.ย. เพื่อให้ลูกค้า 2G ของเอไอเอสไม่ต้องประสบปัญหาซิมดับหลังหมดสัญญาสัมปทานคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ในวันที่ 14 เม.ย. อย่างไรก็ตาม หลัง กสทช.ปรึกษาเรื่องนี้กับรัฐบาลผ่านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่า รัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการให้เอไอเอสซื้อใบอนุญาต 4G ได้โดยไม่ต้องเปิดประมูลใหม่ เพราะอาจถูกครหาได้ โดยเห็นว่า วิธีที่เหมาะสมคือ เปิดประมูลใหม่ แต่ให้เร็วขึ้น จากวันที่ 24 มิ.ย. เป็นวันที่ 22 พ.ค.แทน ซึ่งหากกฎหมายปกติของ กสทช.ไม่เอื้ออำนวยให้ดำเนินการได้ ค่อยเสนอให้ คสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ในการแก้ปัญหา
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 12 เม.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่ง คสช. ให้ กสทช.จัดประมูลคลื่น 900 ในวันที่ 27 พ.ค. โดยราคาเริ่มต้นการประมูลอยู่ที่ 75,654 ล้านบาท เคาะราคาประมูลเพิ่มครั้งละ 152 ล้านบาท วางหลักประกันในการประมูล 3,783 ล้านบาท โดยใช้รูปแบบการประมูลเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา และต้องเปิดกว้างให้เอกชนที่รับใบอนุญาตจาก กสทช.เข้าร่วมประมูลได้ด้วย โดยมีระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี พร้อมกำหนดให้ใบอนุญาตแรกของคลื่น 900 ที่ กสทช.ได้ออกไปแล้ว ให้ไปสิ้นสุดในเวลาเดียวกับของใบอนุญาตคลื่น 900 ที่จะเปิดประมูลใหม่นี้ คือ วันที่ 1 ก.ค.2574
นอกจากนี้ยังได้ขยายเวลามาตรการเยียวยา เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถใช้งาน 2G คลื่น 900 ได้อย่างต่อเนื่องต่อไป จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.59 หรือจนกว่า กสทช.จะออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ชนะประมูลคลื่น 900 รายใหม่ที่จะมีการจัดประมูลในวันที่ 27 พ.ค.นี้ และการประมูลครั้งใหม่นี้ จะไม่เป็นการตัดสิทธิรัฐในการเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ที่ชนะประมูลแล้วไม่นำเงินมาชำระ
ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า หลังรับทราบคำสั่ง คสช. กสทช.ได้ส่งคำสั่ง คสช.ให้ศาลปกครองรับทราบแล้ว เนื่องจากกรณีเยียวยาผู้ใช้บริการมือถือคลื่น 900 ไม่ให้ซิมดับหลังวันที่ 14 เม.ย.นั้น เอไอเอสได้ยื่นฟ้องศาลปกครองให้ขยายเวลาเยียวยาออกไป จากเดิมวันที่ 14 เม.ย. เป็นวันที่ 30 มิ.ย. แต่เมื่อ คสช.ออกคำสั่งขยายเวลาออกไปแล้ว เอไอเอสจึงสามารถใช้คลื่น 900 ต่อไปได้ ไม่ต้องซิมดับ โดยเอไอเอสต้องจ่ายเงินให้รัฐตามประกาศมาตรการเยียวยากรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานหรือสิ้นสุดใบอนุญาตในอัตราไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อไป
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ยืนยันว่า การใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งเรื่องการประมูล 4G ครั้งนี้ เพื่อคุ้มครองคนที่ใช้ 2G คลื่น 900 ไม่ให้ซิมดับ เพราะไม่สามารถจัดการประมูลได้ในระยะเวลาอันสั้นหรือทันเวลาก่อนซิมจะดับ พร้อมย้ำว่า ต้องดูแลคนทุกภาคส่วน และตนไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ จากการออกคำสั่งครั้งนี้ เพราะผลประโยชน์จากการประมูลคลื่น 900 ก็อยู่กับชาติไม่ได้เข้ากระเป๋าตน
2.ปชป.แถลงจุดยืนไม่เห็นด้วยร่าง รธน. แต่ยังกั๊กจะลงประชามติรับหรือไม่ ด้าน “บรรหาร” บอกรับได้ ขณะที่ นปช.ไม่รับ-กปปส.ส่อรับ!
ความคืบหน้าท่าทีของฝ่ายต่างๆ ที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงประชามติที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีมติให้ตั้งคำถามว่า “เห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดในบทเฉพาะกาลว่า ระหว่าง 5 ปีแรกนับตั้งแต่มีรัฐสภาชุดแรก ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 10 เม.ย. พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค พร้อมด้วยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ และนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค ได้เปิดแถลงจุดยืนของพรรค 3 ประเด็น คือ 1.พรรคเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ยังมีความสับสนว่า สิ่งใดห้ามทำ หรือสิ่งใดเป็นการชี้นำ ซึ่งพรรคเห็นว่า ประชาชนควรมีเสรีภาพในการแสดงออกเกี่ยวกับการรณรงค์ ไม่ควรขัดต่อกฎหมาย ถ้าทำโดยสุจริต ดังนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ต้องออกมายืนยันให้ชัดเจนว่า ประชาชนสามารถใช้สิทธิแสดงออกได้ มิเช่นนั้น กระบวนการจัดทำประชามติจะเสียเปล่า และไม่ชอบธรรม 2.พรรคไม่เห็นด้วยและไม่รับคำถามพ่วงประชามติที่ให้ ส.ว.ร่วมโหวตเลือกนายกฯ ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี เพราะ ส.ว.เกิดจากกระบวนการสรรหาโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นผู้เลือก การให้ ส.ว.มาลงคะแนนร่วมกับ ส.ส. โดยมีสิทธิเท่ากัน จะเป็นการลบล้างเจตจำนงของประชาชน
และ 3.พรรคไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะมีข้อเสียมากกว่าข้อดี โดยข้อดีที่พรรคสนับสนุน คือ มาตรการบางเรื่องในการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น แต่ก็ยังมีจุดอ่อน เช่น การยกเลิกกระบวนการถอดถอน รวมทั้งโทษที่ลดลงไปจากเดิม จากที่เคยถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีพ เหลือตัดสิทธิเพียง 5 ปี ส่วนข้อเสียก็ชัดเจน เพราะมีการเบี่ยงเบนเจตนารมณ์ของประชาชน “ปัญหาสำคัญคือการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญทำได้ยากมาก เพราะนอกจากจะได้เสียงข้างมากในรัฐสภาแล้ว จะต้องมีเสียง ส.ว.1 ใน 3 สนับสนุนด้วย นอกจากนี้ ในบทเฉพาะกาล 5 ปี ทำให้ ส.ว.เกี่ยวข้องกับการตั้งรัฐบาลถึง 2 ครั้ง คล้ายกับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2521” ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ไม่พูดว่าพรรคประชาธิปัตย์รับหรือไม่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะต้องการทราบทางออกก่อนว่า หากประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รัฐธรรมนูญที่จะบังคับใช้ต่อไป จะดีหรือเลวร้ายไปกว่านี้
ขณะที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ก็ได้ประกาศจะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมตำหนิคำถามพ่วงประชามติว่า เป็นคำถามที่ยาวและต้องการให้เกิดความอึมครึม เพื่อให้ประชาชนเข้าใจผิด ทั้งที่คำถามพ่วงมีสาระสำคัญ คือให้ ส.ว.แต่งตั้งร่วมออกเสียงเลือกนายกฯ หากเขียนให้ชัดเจน คงกลัวประชาชนจะรู้ แล้วจะตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ไม่พอใจที่ฝ่ายการเมืองไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงประชามติ จึงถามกลับว่า ตั้งคำถามพ่วงประชามติแบบนี้ แล้วทำไม ประเทศเลวร้ายลงมากกว่าเดิมไหม ประชาชนมีความทุกข์มากขึ้นหรือไม่ หรือนักการเมืองที่ไม่ดีจะเป็นจะตาย เกรงว่าจะทำอะไรที่เลวร้ายเหมือนที่เคยทำมาไม่ได้อีก ถามว่าที่ผ่านมาแก้ปัญหาอะไรสำเร็จโดยไม่มีปัญหาตามมาบ้าง ทั้งนโยบายประชานิยมที่สร้างความเสียหาย ประชาชนแตกแยก ล้วนแต่หวังผลสนับสนุนคะแนนเสียงทางการเมืองทั้งสิ้น
ขณะที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เผยท่าทีต่อร่างรัฐธรรมนูญว่า คิดว่าพอรับได้ เพราะส่วนใหญ่มีข้อดี และส่วนตัวคิดว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ “ผมอยากให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกมา จะได้มีการเลือกตั้งในปี 2560 เมื่อมีการเลือกตั้งแล้วจะได้คืนอำนาจคืนประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน ดังนั้นมติจะออกมาอย่างไรก็ต้องแล้วแต่คนไทยทุกคน แต่ส่วนตัวผมคิดว่าพอรับได้”
ด้านนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขานุการมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยและโฆษก กปปส.เผยถึงท่าทีแกนนำ กปปส.ต่อร่างรัฐธรรมนูญว่า ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับจุดยืนอย่างเป็นทางการ แต่เท่าที่พูดคุยกับแกนนำ รวมถึงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิฯ บอกว่า รับได้ และว่า ภาพรวมร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ด้อยไปกว่าฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ และดีพอที่จะส่งให้ประชาชนตัดสินใจในชั้นประชามติ และว่า จากการรับฟังเสียงประชาชนที่ผ่านมาเขาพร้อมรับร่าง
ทั้งนี้ สวนดุสิตโพล ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนในหัวข้อ “โหมโรงประชามติรัฐธรรมนูญ” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 61.35% เห็นด้วยกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่มีคำถามพ่วงประชามติ เมื่อถามว่า ควรให้ ส.ว.(มาจากการสรรหา) ร่วมโหวตเลือกนายกฯ หรือไม่ ส่วนใหญ่ 52.02% เห็นว่าควรให้ ส.ว.ร่วมโหวตเลือกนายกฯ ขณะที่ 49.98% เห็นว่าไม่ควรให้ร่วมโหวต เมื่อถามว่า การเลือกตั้ง ส.ส.ควรใช้บัตรเลือกตั้งกี่ใบ ส่วนใหญ่ 62.14% เห็นว่าควรใช้บัตรเลือกตั้ง 1 ใบ
3.เผยคำฟ้องผู้ตรวจการฯ ขอศาลปกครองเพิกถอนมติ ครม.แบ่งแยกท่อก๊าซเท็จ-ให้ ปตท.คืนทรัพย์สินแผ่นดิน 6.8 หมื่นล้าน!
เมื่อวันที่ 14 เม.ย. เว็บไซต์สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้เผยแพร่สำเนาคำฟ้องต่อศาลปกครองกรณีหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ปฎิบัติตามกฏหมายและมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งการตีความที่คลาดเคลื่อนบิดเบือนไปจากคำสั่งของศาลปกครองเกี่ยวกับเรื่องการคืนท่อก๊าซธรรมชาติและทรัพย์สินของรัฐ โดยนายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นผู้ยื่นฟ้องกระทรวงการคลัง, นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ อดีต รมว.คลัง, นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง, ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี อดีต รมช.คลัง, กระทรวงพลังงาน, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีต รมว.พลังงาน, นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล อดีต รมว.พลังงาน, นายประสิทธิ์ สืบชนะ อดีตรองอธิบดีกรมธนารักษ์, นายอำนวย ปรีมนวงศ์ อดีตที่ปรึกษาด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กรมธนารักษ์, บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) รวม 11 ราย
ทั้งนี้ สาระสำคัญของคำฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2555 พ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี และคณะ ร้องเรียนว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 11 ราย ละเมิดคำสั่งศาลและใช้ทรัพย์สินของประชาชนมาแสวงหาผลประโยชน์ตั้งแต่วันที่ 14 ธ.ค. 2550 จนถึงปัจจุบัน โดยศาลปกครองสูงสุดสั่งให้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) คืนท่อก๊าซให้แก่แผ่นดิน แต่ ปตท.กลับไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่สั่งให้คืนท่อก๊าซที่เป็นส่วนของแผ่นดินให้กับรัฐทั้งหมด แต่คืนเพียงบางส่วนเฉพาะที่ปรากฎในคำพิพากษาของศาลปกครอง และยังนำเอาท่อก๊าซส่วนที่เหลือไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ โดยเรียกเก็บค่าก๊าซผ่านท่อเพิ่มเติมจากเดิม ส่งผลให้เกิดรายได้และผลประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้น และคณะกรรมการบริษัทที่ได้โบนัสตามผลกำไร เป็นการขูดรีดและฉ้อโกงประชาชน ทําให้ประชาชนผู้บริโภคน้ำมัน ต้องแบกรับภาระราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาสูง
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ฟ้องคดี ได้พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามประเด็นคําร้องเรียน และคําชี้แจงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคําพิพากษาและกฎหมายต่างๆ แล้ว มีความเห็นว่าเรื่องร้องเรียนนี้มีประเด็นแห่งคดี ได้แก่ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 11 ราย ได้ร่วมกันเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จและไม่ครบถ้วนต่อคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี โดยเจตนาปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ และการแยกอํานาจ สิทธิ เพื่อวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ตามคําสั่งศาลปกครองสูงสุด ด้วยการที่กระทรวงพลังงาน โดยนายปิยสวัสดิ์ เสนอข้อมูลต่อคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ต้องแบ่งแยกตามคําสั่งศาลปกครองสูงสุดน้อยกว่าที่รัฐจะได้รับการแบ่งแยกคืนกลับมายังกระทรวงการคลัง
ขณะเดียวกัน ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 11 รายยังไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2550 ที่เห็นชอบหลักการการแบ่งแยกทรัพย์สิน อํานาจและสิทธิของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยที่จะให้เป็นของกระทรวงการคลังตามคําพิพากษา โดยมอบหมายให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลังรับไปดําเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินและสิทธิ โดยให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง, มอบหมายให้กระทรวงการคลัง โดยกรมธนารักษ์รับไปดําเนินการกําหนดหลักเกณฑ์ในการคิดอัตราค่าเช่าในส่วนของทรัพย์สินที่เป็นระบบท่อ เพื่อเป็นฐานในการคํานวณค่าเช่าให้แก่บริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) ภายใน 3 สัปดาห์, มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมที่ดินรับไปพิจารณาในเรื่องค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนการเช่าทรัพย์สิน และมอบหมายให้กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยรับไปพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องในเรื่องภาระภาษีที่จะเกิดขึ้น ในช่วงตั้งแต่การแปลงสภาพการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยจนถึงวันที่ได้แบ่งแยกทรัพย์สินอย่างถูกต้อง เช่น ภาษีโรงเรือน ภาษีค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ภาษีจากการหักค่าเช่าย้อนหลังและเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม รวมถึงความชัดเจนของภาระภาษีที่เกิดจากการแบ่งแยกทรัพย์สิน
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ฟ้องคดี ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 11 ราย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัตินอกเหนืออํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนโดยไม่เป็นธรรมตามที่มีผู้ร้องเรียน และไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ ผู้ฟ้องคดีจึงมีความจําเป็นต้องเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครองเพื่อพิจารณาวินิจฉัย
นอกจากนี้ บริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) ได้รายงานผลการดําเนินการตามคําพิพากษาอันเป็นเท็จต่อศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2551 โดยรายงานว่าได้ร่วมกันกระทําการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอํานาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอํานาจมหาชนของรัฐออกจากอํานาจ และสิทธิของบริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) ให้เป็นไปตามคําวินิจฉัยและคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดครบถ้วนแล้ว
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ฟ้องคดี จึงเห็นสมควรเสนอเรื่องพร้อมความเห็นดังกล่าวต่อศาลปกครอง เพื่อให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยและมีคําสั่งดังต่อไปนี้ 1. ขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2550 และวันที่ 10 ส.ค. 2553 ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์สิน ประกอบด้วย ที่ดินที่ได้จากการเวนคืน สิทธิการใช้ที่ดินเหนือที่ดินเอกชน และทรัพย์สินที่เป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ที่ระบุในคําพิพากษาของศาล คือ โครงการท่อบางปะกง-วังน้อย, โครงการท่อจากชายแดนไทยพม่า-ราชบุรี และโครงการท่อราชบุรี-วังน้อย รวมถึงโครงการท่อย่อย ซึ่งมีมูลค่าทางบัญชี ณ วันที่ 30 ก.ย. 2544 ประมาณ 16,175 ล้านบาท เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเกิดจากการแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จของนายปิยสวัสดิ์
2. ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) ดําเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินและโอนทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ให้กระทรวงการคลังตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 30 ก.ย. 2544 จำนวน 68,569,690,569.82 บาท ทั้งจํานวน รวมทั้งค่าตอบแทน ผลประโยชน์อื่นใดจากการใช้ทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์และทรัพย์สินอื่น และสิทธิหรือสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนที่บริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) ได้อาศัยใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการ พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายให้ครบถ้วนต่อไป
และ 3. เพิกถอนการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอํานาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอํานาจมหาชนของรัฐออกจากอํานาจและสิทธิของบริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) ที่ได้ดําเนินการไปแล้ว เพื่อให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
ทั้งนี้ นายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ชี้แจงผ่านบทความเมื่อวันที่ 12 เม.ย.ถึงกรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำร้องของ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ที่ขอให้ศาลพิจารณาไต่สวนรายการทรัพย์สินที่ ปตท. ต้องส่งคืนคลังใหม่ โดยให้ยึดรายงานผลการตรวจสอบทรัพย์สินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นหลักในการพิจารณาด้วยว่า คำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าวไม่น่าจะมีผลต่อคำร้องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นฟ้องต่อศาลฯ เนื่องจากกรณีดังกล่าว เป็นข้อเท็จจริงคนละส่วนกับคำฟ้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 ธันวาคม 2550 และวันที่ 10 สิงหาคม 2553 ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์สิน "เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เกิดจากการที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผู้ดำรงตำแหน่งขณะนั้น ปกปิดข้อมูลข้อเท็จจริง อีกทั้งมีกระบวนการทำผิดกฎหมาย เนื่องจากกรมธนารักษ์ไม่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ แต่กลับไปดำเนินการ ดังนั้น ที่ว่าเป็นการกระทำโดยชอบ จริงๆ คือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นข้อเท็จจริงใหม่ที่เกิดขึ้น และเป็นประโยชน์สาธารณะ ซึ่งการร้องว่าไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ยังไม่เคยปรากฏว่ามีการร้องมาก่อน หรือเคยมีอยู่ในคำฟ้องเดิมแน่นอน"
นายศรีราชา ยังระบุด้วยว่า ประชาชนกำลังเฝ้ามองว่า ศาลปกครอง ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ จะใช้ดุลยพินิจและตีความข้อกฎหมาย เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนส่วนรวม และเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ไม่เร่งรีบ รวบรัดตัดสินคดีภายในวันเดียวดังที่มีข้อครหาในคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2550 หรือไม่
4.ศาลปกครอง เพิกถอนคำสั่ง มธ.ไล่ออก “สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล” ด้านอธิการบดี มธ.จ่ออุทธรณ์!
เมื่อวันที่ 11 เม.ย. ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาคดีที่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ต้องหาคดีหมิ่นเบื้องสูง ยื่นฟ้องอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ลงโทษไล่นายสมศักดิ์ ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี
ทั้งนี้ ศาลฯ เห็นว่า คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในเนื้อหาของคดี ว่าคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ผู้ฟ้องคดีมีพฤติการณ์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่ปรากฏในคำสั่งไล่ออกที่ระบุว่าผู้ฟ้องคดีไม่มาปฏิบัติราชการและรับมอบหมายภาระงานสอนนับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2557 โดยมิได้รับอนุมัติการลาไปปฏิบัติงานในประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการและมิได้มีการลาในเรื่องอื่นใด เป็นการจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนของทางราชการในเรื่องการลาและการปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ทำให้มหาวิทยาลัยฯ ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อกัน เป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันควรหรือไม่
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2557 นายสมศักดิ์ได้ยื่นเรื่องขอไปปฏิบัติงานภายในประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการเพื่อทำงานวิจัย เรื่อง ปรัชญาประวัติศาสตร์และสังคมของเฮเกล มีกำหนด 1 ปี โดยมีระยะเวลาเริ่มต้นงานวิจัยในวันที่ 1 ส.ค.2557-31 ก.ค.2558 ตามระเบียบทบวงมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการให้ข้าราชการ ไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ พ.ศ.2523 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2554 ไม่ใช่การยื่นเรื่องขอลาราชการเพื่อหยุดการปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างนั้นที่จะต้องได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้บังคับบัญชาอย่างชัดแจ้งก่อน จึงจะหยุดราชการได้ แม้กรณีนี้อธิการบดี มธ. จะยังไม่ได้ลงนามอนุมัติในคำขอไปปฏิบัติงานของนายสมศักดิ์ก็ตาม แต่กระบวนการสำคัญในการพิจารณาเรื่องคุณสมบัติของผู้ขอ ลักษณะและความเหมาะสมของเรื่องที่จะทำการวิจัย และระยะเวลาที่วิจัย ฯลฯ ระเบียบกำหนดให้ดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาโดยหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์และคณะกรรมการประจำคณะฯ ซึ่งได้เสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ 1 ส.ค.2557 อันเป็นวันเริ่มต้นการทำวิจัย
ประกอบกับก่อนหน้านี้เคยมีกรณีที่ มธ. มีคำสั่งอนุมัติการไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการของนายสมศักดิ์ในภายหลัง เมื่อนายสมศักดิ์กลับจากปฏิบัติงานตามที่มีคำขอแล้ว ย่อมก่อให้นายสมศักดิ์เข้าใจว่าสามารถไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการได้เลย โดยไม่ต้องรอการอนุมัติจากอธิการบดี มธ.ก่อน อีกทั้งตามคำสั่งไล่ออกที่ระบุให้คำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.2557 อยู่ในช่วงการทำวิจัย เท่ากับว่านายสมศักดิ์ไม่ได้จงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และละทิ้งหน้าที่ราชการเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่อธิการบดี มธ.จะนำมาเป็นเหตุออกคำสั่งลงโทษทางวินัยนายสมศักดิ์ได้ ดังนั้น คำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองกลางจึงพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของ มธ. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.อ.ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี โดยให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่มีคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากในช่วงระยะเวลาภายหลังวันที่รองอธิการบดีฯ ฝ่ายวิชาการมีคำสั่งยกเลิกการขออนุมัติลาไปปฏิบัติงานภายในประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการของผู้ฟ้องคดีแล้ว นายสมศักดิ์ยังคงไม่มาปฏิบัติราชการ และอธิการบดีฯ เห็นว่านายสมศักดิ์มีการกระทำที่เป็นการจงใจ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ แบบแผนของทางราชการ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันในช่วงเวลาดังกล่าว อันเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังการดำเนินการสอบสวนและการลงโทษในคดีนี้ ก็เป็นเรื่องที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะพิจารณาดำเนินการตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
ด้านนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มธ. เผยเมื่อวันที่ 13 เม.ย.ว่า ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายของ มธ.ดูรายละเอียด เพื่อพิจารณาว่าจะยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลปกครองหรือไม่ แต่ส่วนตัวคิดว่าคงต้องอุทธรณ์ เพราะไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลที่ว่า ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น คือ คณะศิลปศาสตร์ อนุมัติการขอลาราชการของนายสมศักดิ์ โดยเรื่องดังกล่าวสืบเนื่องจากนายสมศักดิ์ ยื่นเรื่องขอไปทำวิจัยภายในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2557-31 ก.ค. 2558 โดยคณะศิลปศาสตร์ได้อนุมัติการลาในเบื้องต้น และส่งเรื่องมาให้ตน ซึ่งเป็นอธิการบดี มธ. และถือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด พิจารณาอนุมัติหลังวันที่ 1 ส.ค. 2557 ซึ่งเมื่อตรวจสอบพบว่า นายสมศักดิ์ เคยลาไปทำวิจัยลักษณะดังกล่าวแล้วเมื่อ 10 ปีก่อน แต่ไม่มีผลงานวิจัยกลับมาที่ มธ. ดังนั้น จึงไม่อนุมัติการลา ซึ่งเวลานั้น นายสมศักดิ์ ไม่อยู่แล้ว จึงไม่สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลถึงความจำเป็นในการทำวิจัยเรื่องดังกล่าว รวมถึงเอกสารการทำวิจัยอื่นๆ ได้ “ทำไมนายสมศักดิ์เดินทางไปทำวิจัยก่อนที่ผู้บังคับบัญชาสูงสุดจะอนุมัติ ไม่มีอาจารย์คนไหนทำ นายสมศักดิ์หายไปเป็นเวลาหลายเดือน โดยที่ไม่รอการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ถ้าผมซึ่งเป็นอธิการบดี ไม่ทำอะไรเลย ก็จะถูกต่อว่า แถมอาจโดนมาตรา 157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ผมไม่ได้จะกลั่นแกล้งใคร และไม่อยากเอาใครออกจากราชการ แต่ที่ทำไป เพราะอยากให้เป็นบรรทัดฐาน ไม่ใช่ใครอยากทำอะไรก็ได้”
5. แผ่นดินไหวเขย่าเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น 2 ระลอก รุนแรงกว่า 7 แมกนิจูด เสียชีวิตแล้ว 27 บาดเจ็บเกือบ 1,600 คน เบื้องต้นยังไม่มีรายงานคนไทยบาดเจ็บ!
เมื่อวันที่ 14 เม.ย. เวลา 21.26 น.ตามเวลาท้องถิ่น ได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 แมกนิจูด บริเวณพื้นที่ทางตะวันออกของจังหวัดคุมาโมโตะ บนเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้นได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกอีกกว่าร้อยครั้ง โดยครั้งที่รุนแรงที่สุดมีขนาด 6.4 ทั้งนี้ แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวทำให้บ้านหลายหลังพังถล่มและเกิดไฟไหม้ ขณะที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยเร่งค้นหาและช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพัง เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิต 9 ราย และบาดเจ็บ 881 คน โดยในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 52 ราย
ด้านสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงโตเกียว ได้ประสานจังหวัดคุมาโมโตะ เบื้องต้นยืนยันว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 9 ราย เป็นชาวญี่ปุ่นทั้งหมด ส่วนผู้บาดเจ็บยังไม่มีรายงานว่าเป็นคนสัญชาติใดบ้าง โดยสถานทูตอยู่ระหว่างตรวจสอบความปลอดภัยของคนไทยในพื้นที่ หากคนไทยหรือนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดดังกล่าว ต้องการข้อมูลหรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ของกองต่างประเทศ จ.คุมาโมโตะ 81963332315
ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) เผยแพร่เอกสารข่าวยืนยันว่า นักเรียนทุนรัฐบาลไทยที่อาศัยอยู่ในเกาะคิวชูมีจำนวน 12 ราย จากการตรวจสอบพบว่า ทั้งหมดปลอดภัยดี
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ไลน์กลุ่มของนายสามารถ มะลูลีม อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ เผยแพร่ข้อความของนายดุสิต เครืองาม สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) ที่อยู่ระหว่างเดินทางท่องเที่ยวที่เกาะคิวชูพร้อมภรรยาและลูก โดยนายดุสิต เล่าเหตุการณ์ผ่านไลน์ สรุปว่า ปลอดภัยดี โดยพักอยู่ในโรงแรมซึ่งห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวประมาณ 60 กิโลเมตร และว่า ตอนเกิดแผ่นดินไหว ตกใจแทบช็อก โดยตอนแรกเกิดอาการสั่นเบาๆ 3 วินาที ตามด้วยสั่นอย่างแรงอีก 10 วินาที ตนเองล้มลงกับเตียง ทีวีล้ม ข้าวของระเนระนาด ตนและครอบครัวรีบคว้ากระเป๋าเงินและออกจากห้อง ยอมรับว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นครั้งที่ใหญ่ที่สุดที่เคยเจอมา
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเกิดแผ่นดินไหวเมื่อคืนวันที่ 14 เม.ย.ที่จังหวัดคุมาโมโตะ บนเกาะคิวชูแล้ว ให้หลังแค่ 1 วัน เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 15 เม.ย.ล่วงเข้าวันที่ 16 เม.ย. เวลา 01.25 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 23.25 น.วันที่ 15 เม.ย.ตามเวลาในไทย ได้เกิดแผ่นดินไหวซ้ำเป็นรอบที่สองในจุดเดิมอีก ซึ่งคราวนี้รุนแรงกว่ารอบแรก โดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นวัดความรุนแรงได้ 7.1 แมกนิจูด สำหรับแผ่นดินไหวครั้งนี้ มีศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ดินแค่ 10 กิโลเมตรเช่นเดียวกับครั้งแรก แรงสั่นสะเทือนรอบนี้ทำให้เกิดดินถล่มทับบ้านเรือนประชาชน และปิดกั้นทางหลวงบางสาย ขณะที่อาคารขนาดใหญ่บางหลังในจังหวัดคุมาโมโตะได้รับความเสียหาย หรือถึงขั้นพังถล่ม ซึ่งต่างจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 14 เม.ย. ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งปลูกสร้างเก่าๆ เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ภูเขาไฟอาโสะ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงยังเกิดการปะทุขึ้น โดยพ่นกลุ่มควันสูงขึ้นไปในท้องฟ้าราว 100 เมตร
ด้านโทโมยูกิ ทานากะ เจ้าหน้าที่ประจำจังหวัดคุมาโมโตะ เผยตัวเลขผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดว่า อยู่ที่ 10 ราย เมื่อรวมกับผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวเมื่อวัน 14 เม.ย. ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 19 ราย ขณะที่โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นแถลงว่า อาจยังมีผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากอาคาร หรือถูกฝังทั้งเป็นอีกจำนวนมาก
มีรายงานว่า ที่เมืองคุมาโมโตะ ทางการได้สั่งอพยพคนไข้ออกจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เนื่องจากเกรงว่าตึกอาจพังถล่ม เพราะจากภาพถ่ายเห็นได้ชัดว่า อาคารหลังนี้เริ่มเอียงแล้ว
ขณะที่สำนักข่าวจิจิเพรส รายงานว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้โครงสร้างเพดานภายในอาคารสนามบินคุมาโมโตะ พังถล่มลงมา และสนามบินต้องปิดทำการชั่วคราว โดยยังไม่สามารถระบุได้ว่า จะเปิดให้เครื่องบินขึ้น-ลงได้เมื่อใด ขณะที่สัญญาณสื่อสารภายในพื้นที่ก็ขาดหายเป็นช่วงๆ
ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์ NHK รายงานว่า ยอดผู้เสียชีวิตจนถึงบ่ายวันที่ 16 เม.ย. มีจำนวน 27 คน ขณะที่ผู้บาดเจ็บเกือบ 1,600 คน แผ่นดินไหวครั้งนี้ ส่งผลให้ชาวบ้านในจังหวัดคุมาโมโตะมากกว่า 69,000 คน ต้องอพยพออกจากบ้านเรือนของตนเอง เนื่องจากมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สาธารณูปโภคต่างๆ ไม่สามารถใช้การได้ บ้านเรือนราว 160,000 หลังไม่มีไฟฟ้าใช้ ขณะที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่บอกว่า ต้องการออกจากจังหวัดคุมาโมโตะโดยเร็วที่สุด แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะบริการรถไฟและเครื่องบินยังระงับการให้บริการ
1.“บิ๊กตู่” ใช้ ม. 44 ออกคำสั่งเปิดประมูล 4G คลื่น 900 เร็วขึ้น 27 พ.ค. พร้อมยืดเวลาเอไอเอสซิมดับจนกว่าจะได้ผู้ชนะประมูล!
ความคืบหน้ากรณีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ขอซื้อใบอนุญาต 4G คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ แทนแจส ที่ทิ้งใบอนุญาตไป และพร้อมซื้อในราคาที่แจสเคยชนะประมูล คือ 75,654 ล้านบาท โดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ไม่ต้องเปิดประมูลใหม่ในวันที่ 24 มิ.ย. แต่ขอให้ กสทช.เร่งให้ใบอนุญาตก่อนวันที่ 14 เม.ย. เพื่อให้ลูกค้า 2G ของเอไอเอสไม่ต้องประสบปัญหาซิมดับหลังหมดสัญญาสัมปทานคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ในวันที่ 14 เม.ย. อย่างไรก็ตาม หลัง กสทช.ปรึกษาเรื่องนี้กับรัฐบาลผ่านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปรากฏว่า รัฐบาลไม่เห็นด้วยกับการให้เอไอเอสซื้อใบอนุญาต 4G ได้โดยไม่ต้องเปิดประมูลใหม่ เพราะอาจถูกครหาได้ โดยเห็นว่า วิธีที่เหมาะสมคือ เปิดประมูลใหม่ แต่ให้เร็วขึ้น จากวันที่ 24 มิ.ย. เป็นวันที่ 22 พ.ค.แทน ซึ่งหากกฎหมายปกติของ กสทช.ไม่เอื้ออำนวยให้ดำเนินการได้ ค่อยเสนอให้ คสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ในการแก้ปัญหา
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 12 เม.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ออกคำสั่ง คสช. ให้ กสทช.จัดประมูลคลื่น 900 ในวันที่ 27 พ.ค. โดยราคาเริ่มต้นการประมูลอยู่ที่ 75,654 ล้านบาท เคาะราคาประมูลเพิ่มครั้งละ 152 ล้านบาท วางหลักประกันในการประมูล 3,783 ล้านบาท โดยใช้รูปแบบการประมูลเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา และต้องเปิดกว้างให้เอกชนที่รับใบอนุญาตจาก กสทช.เข้าร่วมประมูลได้ด้วย โดยมีระยะเวลาใบอนุญาต 15 ปี พร้อมกำหนดให้ใบอนุญาตแรกของคลื่น 900 ที่ กสทช.ได้ออกไปแล้ว ให้ไปสิ้นสุดในเวลาเดียวกับของใบอนุญาตคลื่น 900 ที่จะเปิดประมูลใหม่นี้ คือ วันที่ 1 ก.ค.2574
นอกจากนี้ยังได้ขยายเวลามาตรการเยียวยา เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้สามารถใช้งาน 2G คลื่น 900 ได้อย่างต่อเนื่องต่อไป จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.59 หรือจนกว่า กสทช.จะออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ชนะประมูลคลื่น 900 รายใหม่ที่จะมีการจัดประมูลในวันที่ 27 พ.ค.นี้ และการประมูลครั้งใหม่นี้ จะไม่เป็นการตัดสิทธิรัฐในการเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัท แจส โมบาย บรอดแบนด์ จำกัด ที่ชนะประมูลแล้วไม่นำเงินมาชำระ
ด้านนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.กล่าวว่า หลังรับทราบคำสั่ง คสช. กสทช.ได้ส่งคำสั่ง คสช.ให้ศาลปกครองรับทราบแล้ว เนื่องจากกรณีเยียวยาผู้ใช้บริการมือถือคลื่น 900 ไม่ให้ซิมดับหลังวันที่ 14 เม.ย.นั้น เอไอเอสได้ยื่นฟ้องศาลปกครองให้ขยายเวลาเยียวยาออกไป จากเดิมวันที่ 14 เม.ย. เป็นวันที่ 30 มิ.ย. แต่เมื่อ คสช.ออกคำสั่งขยายเวลาออกไปแล้ว เอไอเอสจึงสามารถใช้คลื่น 900 ต่อไปได้ ไม่ต้องซิมดับ โดยเอไอเอสต้องจ่ายเงินให้รัฐตามประกาศมาตรการเยียวยากรณีการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานหรือสิ้นสุดใบอนุญาตในอัตราไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อไป
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ยืนยันว่า การใช้มาตรา 44 ออกคำสั่งเรื่องการประมูล 4G ครั้งนี้ เพื่อคุ้มครองคนที่ใช้ 2G คลื่น 900 ไม่ให้ซิมดับ เพราะไม่สามารถจัดการประมูลได้ในระยะเวลาอันสั้นหรือทันเวลาก่อนซิมจะดับ พร้อมย้ำว่า ต้องดูแลคนทุกภาคส่วน และตนไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ จากการออกคำสั่งครั้งนี้ เพราะผลประโยชน์จากการประมูลคลื่น 900 ก็อยู่กับชาติไม่ได้เข้ากระเป๋าตน
2.ปชป.แถลงจุดยืนไม่เห็นด้วยร่าง รธน. แต่ยังกั๊กจะลงประชามติรับหรือไม่ ด้าน “บรรหาร” บอกรับได้ ขณะที่ นปช.ไม่รับ-กปปส.ส่อรับ!
ความคืบหน้าท่าทีของฝ่ายต่างๆ ที่มีต่อร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงประชามติที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีมติให้ตั้งคำถามว่า “เห็นชอบหรือไม่ว่า เพื่อให้การปฏิรูปประเทศเป็นไปอย่างต่อเนื่องตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ สมควรกำหนดในบทเฉพาะกาลว่า ระหว่าง 5 ปีแรกนับตั้งแต่มีรัฐสภาชุดแรก ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี”
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 10 เม.ย. พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) นำโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค พร้อมด้วยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ และนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรค ได้เปิดแถลงจุดยืนของพรรค 3 ประเด็น คือ 1.พรรคเห็นว่า ร่าง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ยังมีความสับสนว่า สิ่งใดห้ามทำ หรือสิ่งใดเป็นการชี้นำ ซึ่งพรรคเห็นว่า ประชาชนควรมีเสรีภาพในการแสดงออกเกี่ยวกับการรณรงค์ ไม่ควรขัดต่อกฎหมาย ถ้าทำโดยสุจริต ดังนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ต้องออกมายืนยันให้ชัดเจนว่า ประชาชนสามารถใช้สิทธิแสดงออกได้ มิเช่นนั้น กระบวนการจัดทำประชามติจะเสียเปล่า และไม่ชอบธรรม 2.พรรคไม่เห็นด้วยและไม่รับคำถามพ่วงประชามติที่ให้ ส.ว.ร่วมโหวตเลือกนายกฯ ในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปี เพราะ ส.ว.เกิดจากกระบวนการสรรหาโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นผู้เลือก การให้ ส.ว.มาลงคะแนนร่วมกับ ส.ส. โดยมีสิทธิเท่ากัน จะเป็นการลบล้างเจตจำนงของประชาชน
และ 3.พรรคไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะมีข้อเสียมากกว่าข้อดี โดยข้อดีที่พรรคสนับสนุน คือ มาตรการบางเรื่องในการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น แต่ก็ยังมีจุดอ่อน เช่น การยกเลิกกระบวนการถอดถอน รวมทั้งโทษที่ลดลงไปจากเดิม จากที่เคยถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีพ เหลือตัดสิทธิเพียง 5 ปี ส่วนข้อเสียก็ชัดเจน เพราะมีการเบี่ยงเบนเจตนารมณ์ของประชาชน “ปัญหาสำคัญคือการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญทำได้ยากมาก เพราะนอกจากจะได้เสียงข้างมากในรัฐสภาแล้ว จะต้องมีเสียง ส.ว.1 ใน 3 สนับสนุนด้วย นอกจากนี้ ในบทเฉพาะกาล 5 ปี ทำให้ ส.ว.เกี่ยวข้องกับการตั้งรัฐบาลถึง 2 ครั้ง คล้ายกับรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2521” ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ไม่พูดว่าพรรคประชาธิปัตย์รับหรือไม่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะต้องการทราบทางออกก่อนว่า หากประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ รัฐธรรมนูญที่จะบังคับใช้ต่อไป จะดีหรือเลวร้ายไปกว่านี้
ขณะที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ก็ได้ประกาศจะคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ พร้อมตำหนิคำถามพ่วงประชามติว่า เป็นคำถามที่ยาวและต้องการให้เกิดความอึมครึม เพื่อให้ประชาชนเข้าใจผิด ทั้งที่คำถามพ่วงมีสาระสำคัญ คือให้ ส.ว.แต่งตั้งร่วมออกเสียงเลือกนายกฯ หากเขียนให้ชัดเจน คงกลัวประชาชนจะรู้ แล้วจะตัดสินใจได้ง่ายขึ้น
ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ไม่พอใจที่ฝ่ายการเมืองไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงประชามติ จึงถามกลับว่า ตั้งคำถามพ่วงประชามติแบบนี้ แล้วทำไม ประเทศเลวร้ายลงมากกว่าเดิมไหม ประชาชนมีความทุกข์มากขึ้นหรือไม่ หรือนักการเมืองที่ไม่ดีจะเป็นจะตาย เกรงว่าจะทำอะไรที่เลวร้ายเหมือนที่เคยทำมาไม่ได้อีก ถามว่าที่ผ่านมาแก้ปัญหาอะไรสำเร็จโดยไม่มีปัญหาตามมาบ้าง ทั้งนโยบายประชานิยมที่สร้างความเสียหาย ประชาชนแตกแยก ล้วนแต่หวังผลสนับสนุนคะแนนเสียงทางการเมืองทั้งสิ้น
ขณะที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา เผยท่าทีต่อร่างรัฐธรรมนูญว่า คิดว่าพอรับได้ เพราะส่วนใหญ่มีข้อดี และส่วนตัวคิดว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ “ผมอยากให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ออกมา จะได้มีการเลือกตั้งในปี 2560 เมื่อมีการเลือกตั้งแล้วจะได้คืนอำนาจคืนประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน ดังนั้นมติจะออกมาอย่างไรก็ต้องแล้วแต่คนไทยทุกคน แต่ส่วนตัวผมคิดว่าพอรับได้”
ด้านนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขานุการมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยและโฆษก กปปส.เผยถึงท่าทีแกนนำ กปปส.ต่อร่างรัฐธรรมนูญว่า ยังไม่มีข้อสรุปเกี่ยวกับจุดยืนอย่างเป็นทางการ แต่เท่าที่พูดคุยกับแกนนำ รวมถึงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธานมูลนิธิฯ บอกว่า รับได้ และว่า ภาพรวมร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ด้อยไปกว่าฉบับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ และดีพอที่จะส่งให้ประชาชนตัดสินใจในชั้นประชามติ และว่า จากการรับฟังเสียงประชาชนที่ผ่านมาเขาพร้อมรับร่าง
ทั้งนี้ สวนดุสิตโพล ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนในหัวข้อ “โหมโรงประชามติรัฐธรรมนูญ” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ 61.35% เห็นด้วยกับการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่มีคำถามพ่วงประชามติ เมื่อถามว่า ควรให้ ส.ว.(มาจากการสรรหา) ร่วมโหวตเลือกนายกฯ หรือไม่ ส่วนใหญ่ 52.02% เห็นว่าควรให้ ส.ว.ร่วมโหวตเลือกนายกฯ ขณะที่ 49.98% เห็นว่าไม่ควรให้ร่วมโหวต เมื่อถามว่า การเลือกตั้ง ส.ส.ควรใช้บัตรเลือกตั้งกี่ใบ ส่วนใหญ่ 62.14% เห็นว่าควรใช้บัตรเลือกตั้ง 1 ใบ
3.เผยคำฟ้องผู้ตรวจการฯ ขอศาลปกครองเพิกถอนมติ ครม.แบ่งแยกท่อก๊าซเท็จ-ให้ ปตท.คืนทรัพย์สินแผ่นดิน 6.8 หมื่นล้าน!
เมื่อวันที่ 14 เม.ย. เว็บไซต์สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้เผยแพร่สำเนาคำฟ้องต่อศาลปกครองกรณีหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ปฎิบัติตามกฏหมายและมติคณะรัฐมนตรี รวมทั้งการตีความที่คลาดเคลื่อนบิดเบือนไปจากคำสั่งของศาลปกครองเกี่ยวกับเรื่องการคืนท่อก๊าซธรรมชาติและทรัพย์สินของรัฐ โดยนายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นผู้ยื่นฟ้องกระทรวงการคลัง, นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ อดีต รมว.คลัง, นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง, ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี อดีต รมช.คลัง, กระทรวงพลังงาน, นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีต รมว.พลังงาน, นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล อดีต รมว.พลังงาน, นายประสิทธิ์ สืบชนะ อดีตรองอธิบดีกรมธนารักษ์, นายอำนวย ปรีมนวงศ์ อดีตที่ปรึกษาด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ กรมธนารักษ์, บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) รวม 11 ราย
ทั้งนี้ สาระสำคัญของคำฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2555 พ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี และคณะ ร้องเรียนว่าผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 11 ราย ละเมิดคำสั่งศาลและใช้ทรัพย์สินของประชาชนมาแสวงหาผลประโยชน์ตั้งแต่วันที่ 14 ธ.ค. 2550 จนถึงปัจจุบัน โดยศาลปกครองสูงสุดสั่งให้บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) คืนท่อก๊าซให้แก่แผ่นดิน แต่ ปตท.กลับไม่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลที่สั่งให้คืนท่อก๊าซที่เป็นส่วนของแผ่นดินให้กับรัฐทั้งหมด แต่คืนเพียงบางส่วนเฉพาะที่ปรากฎในคำพิพากษาของศาลปกครอง และยังนำเอาท่อก๊าซส่วนที่เหลือไปใช้แสวงหาผลประโยชน์ โดยเรียกเก็บค่าก๊าซผ่านท่อเพิ่มเติมจากเดิม ส่งผลให้เกิดรายได้และผลประโยชน์แก่ผู้ถือหุ้น และคณะกรรมการบริษัทที่ได้โบนัสตามผลกำไร เป็นการขูดรีดและฉ้อโกงประชาชน ทําให้ประชาชนผู้บริโภคน้ำมัน ต้องแบกรับภาระราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีราคาสูง
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ฟ้องคดี ได้พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามประเด็นคําร้องเรียน และคําชี้แจงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งคําพิพากษาและกฎหมายต่างๆ แล้ว มีความเห็นว่าเรื่องร้องเรียนนี้มีประเด็นแห่งคดี ได้แก่ ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 11 ราย ได้ร่วมกันเสนอข้อมูลอันเป็นเท็จและไม่ครบถ้วนต่อคณะรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี โดยเจตนาปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ และการแยกอํานาจ สิทธิ เพื่อวางระบบขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ ตามคําสั่งศาลปกครองสูงสุด ด้วยการที่กระทรวงพลังงาน โดยนายปิยสวัสดิ์ เสนอข้อมูลต่อคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับทรัพย์สินที่ต้องแบ่งแยกตามคําสั่งศาลปกครองสูงสุดน้อยกว่าที่รัฐจะได้รับการแบ่งแยกคืนกลับมายังกระทรวงการคลัง
ขณะเดียวกัน ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 11 รายยังไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2550 ที่เห็นชอบหลักการการแบ่งแยกทรัพย์สิน อํานาจและสิทธิของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยที่จะให้เป็นของกระทรวงการคลังตามคําพิพากษา โดยมอบหมายให้กระทรวงพลังงานและกระทรวงการคลังรับไปดําเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินและสิทธิ โดยให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง, มอบหมายให้กระทรวงการคลัง โดยกรมธนารักษ์รับไปดําเนินการกําหนดหลักเกณฑ์ในการคิดอัตราค่าเช่าในส่วนของทรัพย์สินที่เป็นระบบท่อ เพื่อเป็นฐานในการคํานวณค่าเช่าให้แก่บริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) ภายใน 3 สัปดาห์, มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมที่ดินรับไปพิจารณาในเรื่องค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนการเช่าทรัพย์สิน และมอบหมายให้กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยรับไปพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องในเรื่องภาระภาษีที่จะเกิดขึ้น ในช่วงตั้งแต่การแปลงสภาพการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยจนถึงวันที่ได้แบ่งแยกทรัพย์สินอย่างถูกต้อง เช่น ภาษีโรงเรือน ภาษีค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ภาษีจากการหักค่าเช่าย้อนหลังและเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม รวมถึงความชัดเจนของภาระภาษีที่เกิดจากการแบ่งแยกทรัพย์สิน
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ฟ้องคดี ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 11 ราย ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ปฏิบัตินอกเหนืออํานาจหน้าที่ตามกฎหมาย ปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนโดยไม่เป็นธรรมตามที่มีผู้ร้องเรียน และไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ ผู้ฟ้องคดีจึงมีความจําเป็นต้องเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลปกครองเพื่อพิจารณาวินิจฉัย
นอกจากนี้ บริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) ได้รายงานผลการดําเนินการตามคําพิพากษาอันเป็นเท็จต่อศาลปกครองสูงสุด เมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2551 โดยรายงานว่าได้ร่วมกันกระทําการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอํานาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอํานาจมหาชนของรัฐออกจากอํานาจ และสิทธิของบริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) ให้เป็นไปตามคําวินิจฉัยและคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดครบถ้วนแล้ว
ผู้ตรวจการแผ่นดิน ผู้ฟ้องคดี จึงเห็นสมควรเสนอเรื่องพร้อมความเห็นดังกล่าวต่อศาลปกครอง เพื่อให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยและมีคําสั่งดังต่อไปนี้ 1. ขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2550 และวันที่ 10 ส.ค. 2553 ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์สิน ประกอบด้วย ที่ดินที่ได้จากการเวนคืน สิทธิการใช้ที่ดินเหนือที่ดินเอกชน และทรัพย์สินที่เป็นระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ที่ระบุในคําพิพากษาของศาล คือ โครงการท่อบางปะกง-วังน้อย, โครงการท่อจากชายแดนไทยพม่า-ราชบุรี และโครงการท่อราชบุรี-วังน้อย รวมถึงโครงการท่อย่อย ซึ่งมีมูลค่าทางบัญชี ณ วันที่ 30 ก.ย. 2544 ประมาณ 16,175 ล้านบาท เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเกิดจากการแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จของนายปิยสวัสดิ์
2. ให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) ดําเนินการแบ่งแยกทรัพย์สินและโอนทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ให้กระทรวงการคลังตามมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 30 ก.ย. 2544 จำนวน 68,569,690,569.82 บาท ทั้งจํานวน รวมทั้งค่าตอบแทน ผลประโยชน์อื่นใดจากการใช้ทรัพย์สินของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์และทรัพย์สินอื่น และสิทธิหรือสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนที่บริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) ได้อาศัยใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการ พร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายให้ครบถ้วนต่อไป
และ 3. เพิกถอนการแบ่งแยกทรัพย์สินในส่วนที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน สิทธิการใช้ที่ดินเพื่อวางระบบการขนส่งปิโตรเลียมทางท่อ รวมทั้งแยกอํานาจและสิทธิในส่วนที่เป็นอํานาจมหาชนของรัฐออกจากอํานาจและสิทธิของบริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) ที่ได้ดําเนินการไปแล้ว เพื่อให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
ทั้งนี้ นายศรีราชา วงศารยางกูร ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ชี้แจงผ่านบทความเมื่อวันที่ 12 เม.ย.ถึงกรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งไม่รับคำร้องของ น.ส.รสนา โตสิตระกูล ที่ขอให้ศาลพิจารณาไต่สวนรายการทรัพย์สินที่ ปตท. ต้องส่งคืนคลังใหม่ โดยให้ยึดรายงานผลการตรวจสอบทรัพย์สินของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นหลักในการพิจารณาด้วยว่า คำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าวไม่น่าจะมีผลต่อคำร้องที่ผู้ตรวจการแผ่นดินยื่นฟ้องต่อศาลฯ เนื่องจากกรณีดังกล่าว เป็นข้อเท็จจริงคนละส่วนกับคำฟ้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา เพื่อขอให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 ธันวาคม 2550 และวันที่ 10 สิงหาคม 2553 ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์สิน "เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เกิดจากการที่นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผู้ดำรงตำแหน่งขณะนั้น ปกปิดข้อมูลข้อเท็จจริง อีกทั้งมีกระบวนการทำผิดกฎหมาย เนื่องจากกรมธนารักษ์ไม่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการ แต่กลับไปดำเนินการ ดังนั้น ที่ว่าเป็นการกระทำโดยชอบ จริงๆ คือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือเป็นข้อเท็จจริงใหม่ที่เกิดขึ้น และเป็นประโยชน์สาธารณะ ซึ่งการร้องว่าไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ยังไม่เคยปรากฏว่ามีการร้องมาก่อน หรือเคยมีอยู่ในคำฟ้องเดิมแน่นอน"
นายศรีราชา ยังระบุด้วยว่า ประชาชนกำลังเฝ้ามองว่า ศาลปกครอง ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ จะใช้ดุลยพินิจและตีความข้อกฎหมาย เพื่อรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนส่วนรวม และเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ไม่เร่งรีบ รวบรัดตัดสินคดีภายในวันเดียวดังที่มีข้อครหาในคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2550 หรือไม่
4.ศาลปกครอง เพิกถอนคำสั่ง มธ.ไล่ออก “สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล” ด้านอธิการบดี มธ.จ่ออุทธรณ์!
เมื่อวันที่ 11 เม.ย. ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาคดีที่นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ต้องหาคดีหมิ่นเบื้องสูง ยื่นฟ้องอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา(ก.พ.อ.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ลงโทษไล่นายสมศักดิ์ ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี
ทั้งนี้ ศาลฯ เห็นว่า คดีมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในเนื้อหาของคดี ว่าคำสั่งดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ผู้ฟ้องคดีมีพฤติการณ์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงตามที่ปรากฏในคำสั่งไล่ออกที่ระบุว่าผู้ฟ้องคดีไม่มาปฏิบัติราชการและรับมอบหมายภาระงานสอนนับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2557 โดยมิได้รับอนุมัติการลาไปปฏิบัติงานในประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการและมิได้มีการลาในเรื่องอื่นใด เป็นการจงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนของทางราชการในเรื่องการลาและการปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา ทำให้มหาวิทยาลัยฯ ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อกัน เป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันควรหรือไม่
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2557 นายสมศักดิ์ได้ยื่นเรื่องขอไปปฏิบัติงานภายในประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการเพื่อทำงานวิจัย เรื่อง ปรัชญาประวัติศาสตร์และสังคมของเฮเกล มีกำหนด 1 ปี โดยมีระยะเวลาเริ่มต้นงานวิจัยในวันที่ 1 ส.ค.2557-31 ก.ค.2558 ตามระเบียบทบวงมหาวิทยาลัย ว่าด้วยการให้ข้าราชการ ไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ พ.ศ.2523 แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2554 ไม่ใช่การยื่นเรื่องขอลาราชการเพื่อหยุดการปฏิบัติหน้าที่ในระหว่างนั้นที่จะต้องได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้บังคับบัญชาอย่างชัดแจ้งก่อน จึงจะหยุดราชการได้ แม้กรณีนี้อธิการบดี มธ. จะยังไม่ได้ลงนามอนุมัติในคำขอไปปฏิบัติงานของนายสมศักดิ์ก็ตาม แต่กระบวนการสำคัญในการพิจารณาเรื่องคุณสมบัติของผู้ขอ ลักษณะและความเหมาะสมของเรื่องที่จะทำการวิจัย และระยะเวลาที่วิจัย ฯลฯ ระเบียบกำหนดให้ดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาโดยหัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์และคณะกรรมการประจำคณะฯ ซึ่งได้เสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ 1 ส.ค.2557 อันเป็นวันเริ่มต้นการทำวิจัย
ประกอบกับก่อนหน้านี้เคยมีกรณีที่ มธ. มีคำสั่งอนุมัติการไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการของนายสมศักดิ์ในภายหลัง เมื่อนายสมศักดิ์กลับจากปฏิบัติงานตามที่มีคำขอแล้ว ย่อมก่อให้นายสมศักดิ์เข้าใจว่าสามารถไปปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการได้เลย โดยไม่ต้องรอการอนุมัติจากอธิการบดี มธ.ก่อน อีกทั้งตามคำสั่งไล่ออกที่ระบุให้คำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค.2557 อยู่ในช่วงการทำวิจัย เท่ากับว่านายสมศักดิ์ไม่ได้จงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และละทิ้งหน้าที่ราชการเป็นเวลาเกินกว่า 15 วัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่อธิการบดี มธ.จะนำมาเป็นเหตุออกคำสั่งลงโทษทางวินัยนายสมศักดิ์ได้ ดังนั้น คำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลปกครองกลางจึงพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของ มธ. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ และเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของ ก.พ.อ.ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี โดยให้มีผลย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่มีคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าว อย่างไรก็ตาม หากในช่วงระยะเวลาภายหลังวันที่รองอธิการบดีฯ ฝ่ายวิชาการมีคำสั่งยกเลิกการขออนุมัติลาไปปฏิบัติงานภายในประเทศเพื่อเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการของผู้ฟ้องคดีแล้ว นายสมศักดิ์ยังคงไม่มาปฏิบัติราชการ และอธิการบดีฯ เห็นว่านายสมศักดิ์มีการกระทำที่เป็นการจงใจ ไม่ปฏิบัติตามระเบียบ แบบแผนของทางราชการ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง หรือละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันในช่วงเวลาดังกล่าว อันเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ภายหลังการดำเนินการสอบสวนและการลงโทษในคดีนี้ ก็เป็นเรื่องที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะพิจารณาดำเนินการตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
ด้านนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดี มธ. เผยเมื่อวันที่ 13 เม.ย.ว่า ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายของ มธ.ดูรายละเอียด เพื่อพิจารณาว่าจะยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลปกครองหรือไม่ แต่ส่วนตัวคิดว่าคงต้องอุทธรณ์ เพราะไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลที่ว่า ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น คือ คณะศิลปศาสตร์ อนุมัติการขอลาราชการของนายสมศักดิ์ โดยเรื่องดังกล่าวสืบเนื่องจากนายสมศักดิ์ ยื่นเรื่องขอไปทำวิจัยภายในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2557-31 ก.ค. 2558 โดยคณะศิลปศาสตร์ได้อนุมัติการลาในเบื้องต้น และส่งเรื่องมาให้ตน ซึ่งเป็นอธิการบดี มธ. และถือเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด พิจารณาอนุมัติหลังวันที่ 1 ส.ค. 2557 ซึ่งเมื่อตรวจสอบพบว่า นายสมศักดิ์ เคยลาไปทำวิจัยลักษณะดังกล่าวแล้วเมื่อ 10 ปีก่อน แต่ไม่มีผลงานวิจัยกลับมาที่ มธ. ดังนั้น จึงไม่อนุมัติการลา ซึ่งเวลานั้น นายสมศักดิ์ ไม่อยู่แล้ว จึงไม่สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลถึงความจำเป็นในการทำวิจัยเรื่องดังกล่าว รวมถึงเอกสารการทำวิจัยอื่นๆ ได้ “ทำไมนายสมศักดิ์เดินทางไปทำวิจัยก่อนที่ผู้บังคับบัญชาสูงสุดจะอนุมัติ ไม่มีอาจารย์คนไหนทำ นายสมศักดิ์หายไปเป็นเวลาหลายเดือน โดยที่ไม่รอการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ถ้าผมซึ่งเป็นอธิการบดี ไม่ทำอะไรเลย ก็จะถูกต่อว่า แถมอาจโดนมาตรา 157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ผมไม่ได้จะกลั่นแกล้งใคร และไม่อยากเอาใครออกจากราชการ แต่ที่ทำไป เพราะอยากให้เป็นบรรทัดฐาน ไม่ใช่ใครอยากทำอะไรก็ได้”
5. แผ่นดินไหวเขย่าเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น 2 ระลอก รุนแรงกว่า 7 แมกนิจูด เสียชีวิตแล้ว 27 บาดเจ็บเกือบ 1,600 คน เบื้องต้นยังไม่มีรายงานคนไทยบาดเจ็บ!
เมื่อวันที่ 14 เม.ย. เวลา 21.26 น.ตามเวลาท้องถิ่น ได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 6.5 แมกนิจูด บริเวณพื้นที่ทางตะวันออกของจังหวัดคุมาโมโตะ บนเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้นได้เกิดอาฟเตอร์ช็อกอีกกว่าร้อยครั้ง โดยครั้งที่รุนแรงที่สุดมีขนาด 6.4 ทั้งนี้ แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวทำให้บ้านหลายหลังพังถล่มและเกิดไฟไหม้ ขณะที่เจ้าหน้าที่กู้ภัยเร่งค้นหาและช่วยเหลือผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพัง เบื้องต้นพบผู้เสียชีวิต 9 ราย และบาดเจ็บ 881 คน โดยในจำนวนนี้บาดเจ็บสาหัส 52 ราย
ด้านสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงโตเกียว ได้ประสานจังหวัดคุมาโมโตะ เบื้องต้นยืนยันว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 9 ราย เป็นชาวญี่ปุ่นทั้งหมด ส่วนผู้บาดเจ็บยังไม่มีรายงานว่าเป็นคนสัญชาติใดบ้าง โดยสถานทูตอยู่ระหว่างตรวจสอบความปลอดภัยของคนไทยในพื้นที่ หากคนไทยหรือนักท่องเที่ยวไทยในจังหวัดดังกล่าว ต้องการข้อมูลหรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ของกองต่างประเทศ จ.คุมาโมโตะ 81963332315
ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) เผยแพร่เอกสารข่าวยืนยันว่า นักเรียนทุนรัฐบาลไทยที่อาศัยอยู่ในเกาะคิวชูมีจำนวน 12 ราย จากการตรวจสอบพบว่า ทั้งหมดปลอดภัยดี
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ไลน์กลุ่มของนายสามารถ มะลูลีม อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ เผยแพร่ข้อความของนายดุสิต เครืองาม สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) ที่อยู่ระหว่างเดินทางท่องเที่ยวที่เกาะคิวชูพร้อมภรรยาและลูก โดยนายดุสิต เล่าเหตุการณ์ผ่านไลน์ สรุปว่า ปลอดภัยดี โดยพักอยู่ในโรงแรมซึ่งห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวประมาณ 60 กิโลเมตร และว่า ตอนเกิดแผ่นดินไหว ตกใจแทบช็อก โดยตอนแรกเกิดอาการสั่นเบาๆ 3 วินาที ตามด้วยสั่นอย่างแรงอีก 10 วินาที ตนเองล้มลงกับเตียง ทีวีล้ม ข้าวของระเนระนาด ตนและครอบครัวรีบคว้ากระเป๋าเงินและออกจากห้อง ยอมรับว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้เป็นครั้งที่ใหญ่ที่สุดที่เคยเจอมา
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเกิดแผ่นดินไหวเมื่อคืนวันที่ 14 เม.ย.ที่จังหวัดคุมาโมโตะ บนเกาะคิวชูแล้ว ให้หลังแค่ 1 วัน เมื่อกลางดึกคืนวันที่ 15 เม.ย.ล่วงเข้าวันที่ 16 เม.ย. เวลา 01.25 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 23.25 น.วันที่ 15 เม.ย.ตามเวลาในไทย ได้เกิดแผ่นดินไหวซ้ำเป็นรอบที่สองในจุดเดิมอีก ซึ่งคราวนี้รุนแรงกว่ารอบแรก โดยสำนักงานอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่นวัดความรุนแรงได้ 7.1 แมกนิจูด สำหรับแผ่นดินไหวครั้งนี้ มีศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้ดินแค่ 10 กิโลเมตรเช่นเดียวกับครั้งแรก แรงสั่นสะเทือนรอบนี้ทำให้เกิดดินถล่มทับบ้านเรือนประชาชน และปิดกั้นทางหลวงบางสาย ขณะที่อาคารขนาดใหญ่บางหลังในจังหวัดคุมาโมโตะได้รับความเสียหาย หรือถึงขั้นพังถล่ม ซึ่งต่างจากแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 14 เม.ย. ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งปลูกสร้างเก่าๆ เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ ภูเขาไฟอาโสะ ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงยังเกิดการปะทุขึ้น โดยพ่นกลุ่มควันสูงขึ้นไปในท้องฟ้าราว 100 เมตร
ด้านโทโมยูกิ ทานากะ เจ้าหน้าที่ประจำจังหวัดคุมาโมโตะ เผยตัวเลขผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดว่า อยู่ที่ 10 ราย เมื่อรวมกับผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวเมื่อวัน 14 เม.ย. ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 19 ราย ขณะที่โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่นแถลงว่า อาจยังมีผู้ที่ติดอยู่ใต้ซากอาคาร หรือถูกฝังทั้งเป็นอีกจำนวนมาก
มีรายงานว่า ที่เมืองคุมาโมโตะ ทางการได้สั่งอพยพคนไข้ออกจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง เนื่องจากเกรงว่าตึกอาจพังถล่ม เพราะจากภาพถ่ายเห็นได้ชัดว่า อาคารหลังนี้เริ่มเอียงแล้ว
ขณะที่สำนักข่าวจิจิเพรส รายงานว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้โครงสร้างเพดานภายในอาคารสนามบินคุมาโมโตะ พังถล่มลงมา และสนามบินต้องปิดทำการชั่วคราว โดยยังไม่สามารถระบุได้ว่า จะเปิดให้เครื่องบินขึ้น-ลงได้เมื่อใด ขณะที่สัญญาณสื่อสารภายในพื้นที่ก็ขาดหายเป็นช่วงๆ
ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์ NHK รายงานว่า ยอดผู้เสียชีวิตจนถึงบ่ายวันที่ 16 เม.ย. มีจำนวน 27 คน ขณะที่ผู้บาดเจ็บเกือบ 1,600 คน แผ่นดินไหวครั้งนี้ ส่งผลให้ชาวบ้านในจังหวัดคุมาโมโตะมากกว่า 69,000 คน ต้องอพยพออกจากบ้านเรือนของตนเอง เนื่องจากมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สาธารณูปโภคต่างๆ ไม่สามารถใช้การได้ บ้านเรือนราว 160,000 หลังไม่มีไฟฟ้าใช้ ขณะที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่บอกว่า ต้องการออกจากจังหวัดคุมาโมโตะโดยเร็วที่สุด แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะบริการรถไฟและเครื่องบินยังระงับการให้บริการ