xs
xsm
sm
md
lg

มะม่วงรัฐบาลปูเน่า จะร่วงแบบไหน เมื่อติดล็อกเปิดสภายื้ออำนาจต่อไม่ได้ ?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ชั่วโมงนี้ต้องบอกว่าอำนาจรักษาการของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ใกล้จะหมดลงไปทุกขณะ โดยตามความเป็นจริงแล้ว ก.ก.ต.ต้องจัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จเพื่อจะได้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ครบจำนวน หรืออย่างน้อย 95% ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมดในสภา เพื่อสามารถเปิดการประชุมภายใน 30 วัน ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะสิ้นสุดวันที่ 3 มีนาคม 2557 แต่ในความเป็นจริงคือ ก.ก.ต.ยังไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง 2 ระบบได้ นอกจากนั้นวันที่ 4 มีนาคม เป็นวันครบกำหนดที่ต้องเปิดสภาให้ได้หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 2 ก.พ. และวันที่ 4 เมษายนเป็นวันครบกำหนดที่ต้องเลือกนายกรัฐมนตรีให้ได้ เมื่อเปิดสภาไม่ได้ ก็ไม่อาจเลือกนายกรัฐมนตรีได้ และหมดเวลารักษาการของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี

คำถามที่สำคัญตามมาก็คือเมื่อวันที่ 4 มีนาคมเปิดสภาไม่ได้จึงเลือกนายกรัฐมนตรีไม่ได้ และรักษาการนายกรัฐมนตรีก็ต้องพ้นจากรักษาการจึงมีสิทธิ์ทำให้ประเทศไทยเกิดสูญญากาศได้หรือไม่ รวมไปถึงสถานะรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์จะเป็นอย่างไรต่อไปหลังจากนี้
ไพศาล พืชมงคล  อดีตสมาชิกวุฒิสภาและอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


ไพศาล พืชมงคล อดีตสมาชิกวุฒิสภาและอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

รัฐมนตรีที่รักษาการอยู่ในณะนี้ ความเป็นจริงแล้วรักษาการอยู่ได้แค่ช่วงเวลาจำกัด ทั้งนี้ การจะได้มาซึ่งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ซึ่งชัดเจนแล้วว่าในการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาไม่สามารถประกาศผลการเลือกตั้งได้หลังครบกำหนด 30 วัน จุดสำคัญที่ตามมาก็คือไม่สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้อย่างแน่นอน และไม่สามารถได้คณะรัฐมนตรีตามมา เมื่อหนทางนี้ตีบตัน ถามว่าจะได้คณะรัฐมนตรีจากทางใด ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ซึ่งมีอีกทางหนึ่งที่เป็นทางออกจึงเหลือการที่ต้องไปหยิบยกมาตรา 7 มาบังคับใช้ ผู้มีอำนาจต้องเอาเรื่องขึ้นกราบบังคมทูลว่า การเลือกตั้งผ่านไปแล้ว แต่ไม่สามารถประกาศผลได้ ไม่สามารถเปิดสภาได้ ไม่สามารถได้มาซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ จึงเหลือทางเดียวคือต้องใช้แนวทางตามมาตรา 7 เพื่อตั้งนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีจึงตั้งคณะรัฐมนตรี และแถลงนโยบายต่อสภาที่มีวุฒิสภาอยู่ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่จึงมาบริหารแทนคณะรัฐมนตรีชุดเก่า รัฐบาลรักษาการจึงรองรับความเสียหายได้ในเวลาจำกัดเท่านั้น รัฐธรรมนูญจึงมีทางออกระบุไว้ในมาตรา 7

รัฐบาลมีหน้าที่รักษาการเพื่อรอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่มาบริหารงานเท่านั้น ตอนนี้เหลือประธานวุฒิสภา ประธานองคมนตรี โดยในส่วนองคมนตรี สามารถยืดหยุ่นจากงานราชสำนักมาปรับได้ตามมาตรา 7 เช่นเดียวัน ตามหน้าที่จะเป็นของประธานวุฒิสภา แต่ก็อาจติด เมื่อจะพ้นตำแหน่งในวันที่ 2 มีนคมที่จะถึงเช่นเดียกัน วาระของวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งต้องมาสิ้นสุดลงพอดีอีกด้วย จึงทำให้วาระของประธานวุฒิสภาสิ้นสุดลงไปด้วย แต่รัฐบาลสามารถดิ้นไปใช้อำนาจของรองประธานวุฒิสภาได้ แต่วาระวุฒิสภาก็หมดสิ้นไปเช่นเดียวกัน

รัฐบาลรักษาการที่ทำอยู่ขณะนี้ทำเกินหน้าที่ไปมาก ไม่มีหน้าที่มากำหนดคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดย ก.ก.ต.หรือนายทะเบียนพรรคการเมืองสามารถใช้อำนาจของกฎหมายเลือกตั้ง ในการหยุดยั้งหรือลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ สุดท้ายถ้ามีคนยื่นศาลรัฐธรรมนูญ โดยศาลจะมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฏหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้แค่นั้นว่ารัฐบาลรักษาการหมดอำนาจไปแล้ว

อีกทางหนึ่งที่รัฐบาลเอาจดิ้นได้ก็คือ 1.วุฒิสมาชิกเลือกตั้งต้องหมดวาระ-พ้นตำแหน่งในวันที่ 2 มีนา ก็จริง แต่ยังรักษาการทำหน้าที่ต่อไปจนเลือกวุฒิฯ เสร็จ 2.ประธานวุฒิที่หมดวาระยังมีหน้าที่ต่อไปถึงวันก่อนเลือกประธานวุฒิใหม่ 3.กำหนดการเปิดประชุมรัฐสภาคือวันที่ 4 มีนาคม ไม่ว่าจะได้ ส.ส.ครบหรือไม่ แต่เปิดแล้ววุฒิสภาก็ประชุมไม่ได้เพราะไม่มี ส.ส.แต่ประชุมได้เฉพาะที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้สิบกว่ากรณี ถ้าไม่เปิดประชุมรัฐสภาถือว่าผิดรัฐธรรมนูญ 4.ถ้ามีการเสนอถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คงถอดถอนไม่ได้ เพราะมีเสียงมากกว่า ส่วนพวก ส.ว.บางส่วน คงไม่มีทางถอดถอนเพราะอาจไม่ครบองค์ประชุม

ส่วนคนที่มีหน้าที่ทำเรื่องกราบบังคมทูลเพื่อตราพระราชกฤษฎีกาเปิดประชุมรัฐสภาจะมาทำเป็นดื้อด้านไม่ได้ เพราะคือการละเมิดพระราชอำนาจ เพาะคนพวกนี้มีหน้าที่เพียงยื่นเอกสารเท่านั้น ไม่ได้มีอำนาจอะไรเลย รัฐธรรมนูญมาตรา 128 บัญญัติว่า"พระมหากษัตริย์ทรงเรียกประชุมรัฐสภา ทรงเปิดและทรงปิดประชุม"นั่นคือเป็นพระราชอำนาจ คนพวกนี้ถ้าไม่ทำหน้าที่ก็เท่ากับทำให้พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญไม่ได้ และทรงตรัสแล้วว่าพระมหากษัตริย์จะไม่ทรงทำผิดรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงเท่ากับทำให้พระมหากษัตริย์ต้องทรงเรียกเอง ถ้าอย่างนั้นจะต้องมีคนรับผิดสถานหนัก
รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร


รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร

ถ้านับจากวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ จะต้องเรียกประชุมสภานัดแรกภายในวันที่ 3 มีนาคม นอกจากนี้ ยังมีรัฐธรรมนูญมาตรา 172 ที่เขียนบังคับว่าสภาผู้แทนราษฎรต้องลงมติให้ความห็นชอบผู้สมควรแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี นับตั้งแต่วันประชุมสภานัดแรกภายใน 30 วันเท่ากับรัฐธรรมนูญมาตรา 127 และมาตรา 172 เขียนล็อกไว้ตายตัว ต้องประชุมสภานัดแรกภายในวันที่ 3 มีนาคมปัญหาคือวันที่ 3 มีนาคม ยังไม่มี ส.ส.ครบ 95 เปอร์เซ็นต์ ยังเรียกประชุมภาฯ นัดแรกไม่ได้ จะทำอย่างไร รัฐบาลรักษาการจะปฏิบัติหน้าที่่ต่อไปได้หรือไม่หรือต้องหมดสภาพไปตามเงือนไขรัฐธรรมนูญ นี่คือช่องโหว่ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเหตุการณ์แบบนี้จำนวน ส.ส.ยังไม่ครบ 95 เปอร์ซ็นต์ ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ตามกระบวนการต้องมีการเลือกประธานรัฐสภา นายกรัฐมตรีให้ได้ภายในเวลา 1 เดือน ซึ่งเป็นไปได้ว่าต่อให้ถึงวันที่ 2 เมษายน ก็ยังไม่สามารถเกิดกระบวนการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้

ขณะนี้จึงมีการตีความไปต่างๆ ตามความเห็นของแต่ละคนว่ารัฐบาลอาจหมดสภาพไปเลยโดยปริยายจึงอาจเกิดภาวะสุญญากาศ และอาจเป็นไปได้เช่นกันที่ว่ารัฐบาลนี้อาจรักษาการไปต่อ อาทิ เหตุการณ์คล้ายเมื่อปี 2549 ก่อนเกิดการรัฐประหารที่การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 ถูกร้องให้เป็นโมฆะ โดยในณะนั้นรัฐบาลรักษาการของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ยังให้ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รัษาการนายกฯ ต่อไปได้ยาวนานต่ออีกหลายเดือน ขณะนี้คงยังไม่สามารถบอกได้เนื่องจากมีข้อกฏหมายที่ต้องตีความกันอย่างกว้างขวางในหลายเรื่อง

วันชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา
นชัย สอนศิริ สมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหา


ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะหลีกหนีไม่ได้ก็คือ การเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ จำนวน ส.ส.ไม่ครบ 95 เปอร์เซ็นต์ องค์ประชุมจึงไม่ครบ 475 คน โดยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 93 ระบุชัดว่าจะต้องมี ส.ส.ให้ครบ 95 เปอร์เซ็นต์เมื่อไม่ได้ครบจำนวนก็เปิดสภาไม่ได้ อำนาจรัฐบาลรักษาการก็อาจจะต้องเกิดการเซ็ตซีโร่ จะห็นได้ว่าจำนวนสมาชิก ส.ส.ขาดเป็นร้อยคนแบบนี้จึงประกาศผลการเลือกตั้งไม่ได้ เปิดสภาไม่ได้ เลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ไม่ได้อย่างแน่นอน ถามกลับไปยังรัฐบาลว่าถ้าติดล็อกเช่นนี้ประชาชนต้องดันทุรังเลือกตั้งใหม่โดยใช้เวลาเป็นปีเลยหรืออย่างไร ออกรูปแบบนี้ประเทศเกิดการเสียหายหนักหน่วง

ตามปกติแล้วเมื่อเลือกตั้งเสร็จสิ้นต้องเปิดสภาให้ได้ภายใน 30 วัน ซึ่งตามกำหนดต้องเป็นวันที่ 2 มีนาคม จะต้องมีการประชุมสภาแล้ว แต่ก็ยังทำไม่ได้เพราะติดข้อกฏหมายอย่างที่อธิบายมา ขณะเดียวกันรัฐบาลรักษาการนั้นต้องบอกว่าเป็นการทำหน้าที่เท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่สามารถกู้เงินได้ ออก พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือทำอะไรได้อย่างเต็มไม้เต็มมือ อย่างที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์กำลังทำอยู่ ทั้งนี้รัฐบาลรักษาการตามหน้าที่ต้องทำแค่รอรัฐบาลชุดใหม่มาทำหน้าที่ต่อไป ตามปกติอาจรักษาการได้ 30-40 วัน หรืออาจกล่าวได้ว่าเต็มที่ 60 วัน ถ้าหากรักษาการนานกว่านี้ ย่อมทำให้ประเทศเสียหาย เพราะประเทศไม่มีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม ขืนปล่อยไปยาวนานประเทศจะยิ่งเสียหายในทุกด้าน

ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่จำนวน ส.ส.ไม่ครบ 95 เปอร์เซ็นต์ คาดการว่าจะต้องมีคนไปร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นโมฆะ รวมไปถึงร้องศาลรัฐธรรมนูญว่าการใช้อำนาจรักษาการของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายประการ จึงอาจถูกศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาให้หลุดออกจากอำนาจเพราะไม่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ จนนำไปสู่ภาวะสุญญากาศ กรณีนี้เป็นไปได้สูงว่าอำนาจรักษาการจะเป็นมะม่วงที่เน่าด้วยตัวของมันเองและหล่นลงจากต้นในที่สุด
กำลังโหลดความคิดเห็น