วานนี้ (12 ก.พ.) นายบุญส่ง น้อยโสภณ กกต.ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวภายหลังการประชุมกกต.ว่า กกต.ทั้ง 5 คนได้ลงนามในหนังสือส่งถึงนายกรัฐมนตรี ให้นายกฯ กราบบังคมทูลเพื่อเสนอให้มีพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งเพิ่มเติม และกำหนดวันลงคะแนนใหม่ ใน 28 เขตเลือกตั้ง 8 จังหวัดที่ไม่มีผู้สมัคร ส.ส.แล้ว ทั้งนี้ หนังสือดังกล่าวได้อ้างความเห็นของนักวิชาการ และนักการเมืองที่แสดงความเห็นในเรื่องนี้ โดยหนังสือดังกล่าวได้ส่งให้นายกฯ แล้วตั้งแต่บ่ายวันที่ 12 ก.พ.
อย่างไรก็ตาม หากนายกฯ เห็นแย้งกับ กกต. ทางกกต.จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างแน่นอน ตามมาตรา 214 ของรัฐธรรมนูญ
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. แถลงถึงเรื่องนี้ว่า กกต.ได้พิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบ มีความเห็นว่า พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา ยังไม่เสร็จสิ้น โดยได้มีการตรวจสอบข้อกฎหมาย ปรากฏว่า กกต.ไม่มีอำนาจในการออกประกาศกกต. กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ใน 28 เขต จึงจำเป็นต้องเสนอนายกฯให้กราบบังคมทูล ขอให้กกต.มีอำนาจในกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งเพิ่มเติม และกำหนดวันลงคะแนนใหม่ และประกาศยกเว้นการจัดให้ มีการลงคะแนนเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง และนอกราชอาณาจักรใน 28 เขต ดังกล่าว
ทั้งนี้ กกต.ได้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 และ มาตรา 236 ที่ระบุให้อำนาจ กกต. ในลักษณะที่กว้าง แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่ เนื่องจากต้องมีกฎหมายมารองรับ เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย โดยเฉพาะการเปิดรับสมัครส.ส.ใน 28 เขต ตามมาตรา 7 (1) ว่าด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. ระบุว่า ให้การเปิดรับสมัครส.ส.แบบแบ่งเขต ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 20 วัน ตั้งแต่มีพ.ร.ฎ.ยุบสภากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ขณะนี้ผ่านช่วงเวลาดังกล่าวมาแล้ว กกต. จึงไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้น กกต.จำเป็นต้องทำหนังสือถึงนายกฯ เพื่อกราบบังคมทูลออกพ.ร.ฎ.
นายภุชงค์ กล่าวอีกว่า หากไม่มีพ.ร.ฎ.จะไม่สามารถดำเนินการรับสมัคร หรือกำหนดวันลงคะแนนได้ โดยข้อสังเกตของหนังสือดังกล่าว ที่เสนอนายกฯ นั้น กกต.เห็นว่า เนื่องจากมีนักการเมือง และนักวิชาการบางฝ่ายมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า ในการเลือกตั้งส.ส. เป็นการทั่วไป ที่ผ่านมา มีปัญหาข้อขัดแย้ง ทั้งปัญหาด้านการเมือง และปัญหาด้านการจัดการเลือกตั้ง ตลอดจนการชุมนุมประท้วง คัดค้านการเลือกตั้งมาอย่างต่อเนื่อง หากจะมีการตราพ.ร.ฎ. หรือให้ กกต.ดำเนินการออกประกาศกำหนดให้มีการรับสมัครเลือกตั้งเพิ่มเติม การลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ หรือนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ รวมทั้งการนับคะแนนเพิ่มเติมอาจเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. และฝ่าฝืนมาตรา 108 ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า วันเลือกตั้งกรณียุบสภาผู้แทนราษฎร ต้องกำหนดเป็นวันเดียวทั่วราชอาณาจักร ดังนั้นจึงขอให้นายกฯพิจารณาปัญหาข้อโต้แย้ง หรือข้อสังเกตดังกล่าวข้างต้นเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ กกต. จะรอการตอบกลับอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี
“การเสนอให้นายกฯ กราบบังคับทูลเพื่อเสนอ พ.ร.ฎ. ในครั้งนี้ เป็นครั้งแรก เพราะไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน โดยพ.ร.ฎ.วันที่ 2 ก.พ. ยังคงอยู่ แต่เนื่องจากการเลือกตั้ง วันที่ 2 ก.พ. ยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้นจึงต้องกำหนดวันรับสมัครใหม่ และกำหนดวันลงคะแนนใหม่ ”นายภุชงค์ กล่าว
ด้านนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. ให้สัมภาษณ์ว่า สำหรับ 28 เขตเลือกตั้งที่ยังไม่มีผู้สมัครนั้น หากรัฐบาลเห็นชอบกราบบังคมทูล พ.ร.ฎ.พรรคการเมืองต่าง ๆ ยังคงใช้หมายเลขเดิม เพียงแค่มาสมัครใหม่ และลงคะแนนใหม่เท่านั้น
**พร้อมเป็นคนกลางเจรจารัฐบาล-กปปส.
นายศุภชัย ยังกล่าวถึงกรณีที่ กกต. จะกำหนดวันลงคะแนนใหม่ทดแทนการเลือกตั้งล่วงหน้าที่เสียไปในวันที่ 20 เม.ย. และกำหนดวันลงคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปที่เสียไป ในวันที่ 27 เม.ย. ว่า จากการสอบถามประธาน กกต.จังหวัด และ ผอ.กกต.จังหวัด เมื่อวันที่ 11 ก.พ.ที่ผ่านมา ขอให้เป็นหลังการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ไปแล้ว ซึ่งการออกประกาศกกต.ให้มีการลงคะแนนใหม่ ต้องดูว่าเหตุการณ์สงบจริงหรือไม่ ถ้าไม่สงบแล้วไปจัดการเลือกตั้ง ก็เสียเปล่า เพราะการจัดเลือกตั้งแต่ละครั้งใช้เงินเยอะ เป็นเงินภาษีของประชาชน ดังนั้นต้องใช้อย่างประหยัด
“การกำหนดวันเลือกตั้งทดแทนการเลือกตั้งที่เสียไป เพื่อให้รู้ว่ากกต.ไม่ได้อยู่นิ่งเฉย เดี๋ยวจะหาว่าเราไม่อยากจัดการเลือกตั้ง ไม่อยากทำงาน แต่จัดการเลือกตั้งแล้วกกต.ก็อยากให้สำเร็จ ไม่ใช่ถ้าเอาใจคนนั้น คนนี้ แล้วเลือกตั้งไม่ได้ เสียเงินเปล่า ถ้าจัดเลือกตั้งตอนนี้คงไม่สำเร็จ เพราะใน 8 จังหวัดภาคใต้ จัดการเลือกตั้งไม่ได้เลย”นายศุภชัย กล่าว
ส่วนที่คิดว่าเดือนเม.ย. น่าจะจัดการเลือกตั้งได้ เพราะเห็นว่าเมื่อเวลาผ่านไป ถ้าเหตุการณ์สงบ ทุกคนได้คิด อาจจะยอมถอยคนละก้าวเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง ตอนนี้หลายฝ่ายออกมาพูดว่า ทุกอย่างต้องจบที่โต๊ะเจรจา การเจรจาเป็นทางออกที่ดีที่สุด บ้านเมืองก็จะสงบสุข ทุกฝ่ายต้องยอมกันบ้าง ไม่สุดกู่ ผู้สื่อข่าวถามว่า ใครจะเป็นคนกลางในการเจรจา ประธาน กกต. กล่าวว่า ต้องดูว่าใครมีบารมี มีพาวเวอร์ที่จะเรียก กปปส. และรัฐบาล มาคุยกัน ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรง กกต.ไม่ได้ขัดแย้งกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เรามีความเป็นกลางทางการเมือง ถ้าจะให้กกต.เป็นคนกลางก็ยินดี เพราะกกต.ต้องการให้บ้านเมืองเกิดความสงบ
** พท.ยันเลือกตั้ง28เขตเป็นหน้าที่กกต.
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการเลื่อนวันเลือกตั้งล่วงหน้า เป็นวันที่ 20 เม.ย. และเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 27 เม.ย. สำหรับพื้นที่ที่มีปัญหา ว่า อยากจะทำความเข้าใจไปยัง กกต. ถึงความพยายามขอให้รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งใหม่ ใน 28 เขตที่ยังมีปัญหา ซึ่งการที่จะออกพระราชกฤษฎีกาใหม่ได้ ต้องเป็นกรณีที่สภาชิกภาพสภาสิ้นสุดลง เช่น การยุบสภา การตาย หรือการลาออก แต่ปรากฏว่า ใน 28 เขต ไม่มีกรณีเช่นนี้ และพวกตนที่สมัคร และลงคะแนน ก็ยังไม่ได้เป็นส.ส. จึงไม่สามารถออกพระราชกฤษฎีกาใหม่ได้ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัญหาของรัฐบาล แต่เป็นปัญหาของกกต. ที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งตามอำนาจหน้าที่ได้ และพยายามจะโยนภาระมายังรัฐบาล และหากกกต. มีมตินำความเห็นนี้มาให้รัฐบาล ตนเชื่อว่านายกรัฐมนตรี จะต้องไปขอความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ในข้อกฎหมาย และถ้าคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นอย่างไร ก็คงต้องว่า ไปตามนั้น และท้ายที่สุด หากกกต. ยังยืนยันจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เหมือนที่เคยทำ ก็คงต้องรอดูความเห็นของศาลฯ ว่าเป็นอย่างไร
** 30วันเปิดสภาไม่ได้ กกต.จะถูกถอด
นายพีรพันธุ์ กล่าวต่อว่า การเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปเป็นวันที่ 27 เม.ย. มีปัญหาคือ รัฐธรรมนูญ มาตรา 127 ระบุว่า ภายใน 30 วัน นับจากวันเลือกตั้ง ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก จึงชัดเจนว่าถ้ามีการเลื่อนเลือกตั้งไปเดือนเม.ย. ก็จะเกินกำหนด 30 วัน และมีผู้ให้ความเห็นกับ กกต. ว่า ใน 30 วัน ไม่มีสภาพบังคับเหมือนกับระยะเวลาในหลายเรื่องที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ตีความได้ว่า เป็นระยะเวลาเพื่อการเร่งรัด ไม่มีสภาพบังคับ ตนจึงอยากชี้แจงว่า สภาพบังคับไม่มีใครเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่จะไปอยู่ในกฎหมายอื่น บทกำหนดที่บอกว่าจะต้องเรียกประชุมรัฐสภา ภายใน 30 วัน มีจุดประสงค์เพื่อไม่ให้รัฐบาลที่รักษาการอยู่นาน จึงต้องเลือกตั้งให้เร็วขึ้น ไม่เกิน 60 วัน หลังจากนั้นจะได้เรียกประชุมสภา และเมื่อประชุมเสร็จ ก็จะเป็นกระบวนการสรรหานายกรัฐมนตรี ตั้งคณะรัฐมนตรี บริหารประเทศ จึงขอเตือนว่า การตีความว่า 30 วัน ไม่มีสภาพบังคับ ถ้าไม่ทำตามรัฐธรรมนูญ กกต.จะ ถูกกล่าวหาว่า จงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ ความผิดจะอยู่ที่กฎหมายการเลือกตั้ง มีโทษทางอาญา และอาจจะถูกยื่นถอดถอนได้ ตามมาตรา 270
นายพีรพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ตนเข้าใจว่ามีความพยายามที่จะลากการเลือกตั้งให้ยาวออกไปเท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อไม่ให้มีการตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ชุดที่จะมีอำนาจเต็ม มาบริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมาย และบีบให้นายกรัฐมนตรีลาออก เพื่อนำไปสู่เรื่องที่ต้องการ ซึ่งมองว่า ถ้ากกต.หรือใครก็ตามมีเจตนาอย่างนี้ ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ แต่ผลจะตรงกับที่ กปปส. ต้องการ จึงขอเรียกร้องให้ทุกพรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ร่วมกันกดดัน กกต. ให้มีการเลือกตั้งในกลุ่มที่มีปัญหาให้เสร็จสิ้นภายในเดือน มี.ค.เพื่อให้สามารถเปิดประชุมสภาได้
**วิกฤตการเมืองจะยุติได้ด้วยการเจรจา
นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันว่า มีความคลี่คลายลงไปมากแล้ว แต่ตนยังมองว่าปัญหานี้จะยุติได้ด้วยการเจรจาร่วมกันเพื่อหาทางออก เบื้องต้นอาจจะให้คู่ขัดแย้งนั้นส่งชื่อคนของตนเองที่ได้รับเลือกมาเป็นตัวแทนเจรจา ส่วนกรณีที่มีการเสนอชื่อคนกลาง เช่น นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯ มาเป็นคนกลางนั้น อาจจะได้รับการโต้แย้งจากคนบางกลุ่มได้ แต่ส่วนตัวก็มองว่า นายวิษณุ ก็มีความเหมาะสมอยู่ ส่วนตัวนั้นไม่ขอออกความเห็น เพราะถูกมองว่าเป็นคู่กรณีทางการเมือง
นายนิคม กล่าวถึงการกำหนดวันลงคะแนนทดแทนการเลือกตั้งล่วงหน้าและการเลือกตั้งทั่วไป ในช่วงเดือนเม.ย. นั้นเชื่อว่าจะไม่มีปัญหาความวุ่นวายเกิดขึ้นเหมือนรอบที่ผ่านมา และตนเชื่อมั่นว่า การเลือกตั้งส.ว. ที่ได้กำหนดให้เป็นในวันที่ 30 มี.ค.นั้น จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม ในรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า เมื่อ ส.ว.ครบกำหนดในการคงอยู่ในวาระ และให้ส.ว.นั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะได้ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่ ถือว่า ส.ว.เลือกตั้งที่จะหมดวาระ วันที่ 2 มี.ค. ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนตนนั้นยืนยันว่า จะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานวุฒิสภา ต่อไป
ส่วนกรณีที่ ส.ว.เลือกตั้งอยู่รักษาการ มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาถอดถอน ส.ส.และส.ว. ที่ถูกยื่นตรวจสอบจะดำเนินการอย่างไร ประธาน ส.ว. กล่าวว่า ตนมีความน่ากังวลอย่างที่หลายฝ่ายวิตกว่า อาจจะมีปัญหาเรื่องการนับองค์ประชุม เพราะตนได้ให้ฝ่ายกฎหมายไปศึกษา และได้ออกเป็นหนังสือเวียนแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วว่า ขอให้นับ ส.ว.ที่อยู่รักษาการ ที่อาจจะถูกชี้มูลให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่ เป็นองค์ประชุมต่อไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อการออกเสียงลง คะแนน อีกทั้งที่ผ่านมา การไม่นับสมาชิกเป็นองค์ประชุมนั้น มีอยู่กรณีเดียวคือ บุคคลที่ถูกพิจารณาให้ ใบเหลือง หรือ ใบแดง ฐานทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเท่านั้น ส่วนกรณีการดำรงตำแหน่ง และถูกชี้มูลให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ถือว่าเคยมีคำวินิจฉัยไว้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวอาจต้องหาข้อสรุปในวงประชุมวุฒิสภาอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม หากนายกฯ เห็นแย้งกับ กกต. ทางกกต.จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างแน่นอน ตามมาตรา 214 ของรัฐธรรมนูญ
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. แถลงถึงเรื่องนี้ว่า กกต.ได้พิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบ มีความเห็นว่า พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา ยังไม่เสร็จสิ้น โดยได้มีการตรวจสอบข้อกฎหมาย ปรากฏว่า กกต.ไม่มีอำนาจในการออกประกาศกกต. กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ใน 28 เขต จึงจำเป็นต้องเสนอนายกฯให้กราบบังคมทูล ขอให้กกต.มีอำนาจในกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งเพิ่มเติม และกำหนดวันลงคะแนนใหม่ และประกาศยกเว้นการจัดให้ มีการลงคะแนนเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง และนอกราชอาณาจักรใน 28 เขต ดังกล่าว
ทั้งนี้ กกต.ได้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 235 และ มาตรา 236 ที่ระบุให้อำนาจ กกต. ในลักษณะที่กว้าง แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่ เนื่องจากต้องมีกฎหมายมารองรับ เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย โดยเฉพาะการเปิดรับสมัครส.ส.ใน 28 เขต ตามมาตรา 7 (1) ว่าด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. ระบุว่า ให้การเปิดรับสมัครส.ส.แบบแบ่งเขต ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 20 วัน ตั้งแต่มีพ.ร.ฎ.ยุบสภากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ขณะนี้ผ่านช่วงเวลาดังกล่าวมาแล้ว กกต. จึงไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้น กกต.จำเป็นต้องทำหนังสือถึงนายกฯ เพื่อกราบบังคมทูลออกพ.ร.ฎ.
นายภุชงค์ กล่าวอีกว่า หากไม่มีพ.ร.ฎ.จะไม่สามารถดำเนินการรับสมัคร หรือกำหนดวันลงคะแนนได้ โดยข้อสังเกตของหนังสือดังกล่าว ที่เสนอนายกฯ นั้น กกต.เห็นว่า เนื่องจากมีนักการเมือง และนักวิชาการบางฝ่ายมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่า ในการเลือกตั้งส.ส. เป็นการทั่วไป ที่ผ่านมา มีปัญหาข้อขัดแย้ง ทั้งปัญหาด้านการเมือง และปัญหาด้านการจัดการเลือกตั้ง ตลอดจนการชุมนุมประท้วง คัดค้านการเลือกตั้งมาอย่างต่อเนื่อง หากจะมีการตราพ.ร.ฎ. หรือให้ กกต.ดำเนินการออกประกาศกำหนดให้มีการรับสมัครเลือกตั้งเพิ่มเติม การลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ หรือนับคะแนนเลือกตั้งใหม่ รวมทั้งการนับคะแนนเพิ่มเติมอาจเป็นการปฏิบัติฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. และฝ่าฝืนมาตรา 108 ของรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า วันเลือกตั้งกรณียุบสภาผู้แทนราษฎร ต้องกำหนดเป็นวันเดียวทั่วราชอาณาจักร ดังนั้นจึงขอให้นายกฯพิจารณาปัญหาข้อโต้แย้ง หรือข้อสังเกตดังกล่าวข้างต้นเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตามหลังจากนี้ กกต. จะรอการตอบกลับอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี
“การเสนอให้นายกฯ กราบบังคับทูลเพื่อเสนอ พ.ร.ฎ. ในครั้งนี้ เป็นครั้งแรก เพราะไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน โดยพ.ร.ฎ.วันที่ 2 ก.พ. ยังคงอยู่ แต่เนื่องจากการเลือกตั้ง วันที่ 2 ก.พ. ยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้นจึงต้องกำหนดวันรับสมัครใหม่ และกำหนดวันลงคะแนนใหม่ ”นายภุชงค์ กล่าว
ด้านนายศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. ให้สัมภาษณ์ว่า สำหรับ 28 เขตเลือกตั้งที่ยังไม่มีผู้สมัครนั้น หากรัฐบาลเห็นชอบกราบบังคมทูล พ.ร.ฎ.พรรคการเมืองต่าง ๆ ยังคงใช้หมายเลขเดิม เพียงแค่มาสมัครใหม่ และลงคะแนนใหม่เท่านั้น
**พร้อมเป็นคนกลางเจรจารัฐบาล-กปปส.
นายศุภชัย ยังกล่าวถึงกรณีที่ กกต. จะกำหนดวันลงคะแนนใหม่ทดแทนการเลือกตั้งล่วงหน้าที่เสียไปในวันที่ 20 เม.ย. และกำหนดวันลงคะแนนการเลือกตั้งทั่วไปที่เสียไป ในวันที่ 27 เม.ย. ว่า จากการสอบถามประธาน กกต.จังหวัด และ ผอ.กกต.จังหวัด เมื่อวันที่ 11 ก.พ.ที่ผ่านมา ขอให้เป็นหลังการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ไปแล้ว ซึ่งการออกประกาศกกต.ให้มีการลงคะแนนใหม่ ต้องดูว่าเหตุการณ์สงบจริงหรือไม่ ถ้าไม่สงบแล้วไปจัดการเลือกตั้ง ก็เสียเปล่า เพราะการจัดเลือกตั้งแต่ละครั้งใช้เงินเยอะ เป็นเงินภาษีของประชาชน ดังนั้นต้องใช้อย่างประหยัด
“การกำหนดวันเลือกตั้งทดแทนการเลือกตั้งที่เสียไป เพื่อให้รู้ว่ากกต.ไม่ได้อยู่นิ่งเฉย เดี๋ยวจะหาว่าเราไม่อยากจัดการเลือกตั้ง ไม่อยากทำงาน แต่จัดการเลือกตั้งแล้วกกต.ก็อยากให้สำเร็จ ไม่ใช่ถ้าเอาใจคนนั้น คนนี้ แล้วเลือกตั้งไม่ได้ เสียเงินเปล่า ถ้าจัดเลือกตั้งตอนนี้คงไม่สำเร็จ เพราะใน 8 จังหวัดภาคใต้ จัดการเลือกตั้งไม่ได้เลย”นายศุภชัย กล่าว
ส่วนที่คิดว่าเดือนเม.ย. น่าจะจัดการเลือกตั้งได้ เพราะเห็นว่าเมื่อเวลาผ่านไป ถ้าเหตุการณ์สงบ ทุกคนได้คิด อาจจะยอมถอยคนละก้าวเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง ตอนนี้หลายฝ่ายออกมาพูดว่า ทุกอย่างต้องจบที่โต๊ะเจรจา การเจรจาเป็นทางออกที่ดีที่สุด บ้านเมืองก็จะสงบสุข ทุกฝ่ายต้องยอมกันบ้าง ไม่สุดกู่ ผู้สื่อข่าวถามว่า ใครจะเป็นคนกลางในการเจรจา ประธาน กกต. กล่าวว่า ต้องดูว่าใครมีบารมี มีพาวเวอร์ที่จะเรียก กปปส. และรัฐบาล มาคุยกัน ซึ่งเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรง กกต.ไม่ได้ขัดแย้งกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เรามีความเป็นกลางทางการเมือง ถ้าจะให้กกต.เป็นคนกลางก็ยินดี เพราะกกต.ต้องการให้บ้านเมืองเกิดความสงบ
** พท.ยันเลือกตั้ง28เขตเป็นหน้าที่กกต.
นายพีรพันธุ์ พาลุสุข รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการเลื่อนวันเลือกตั้งล่วงหน้า เป็นวันที่ 20 เม.ย. และเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 27 เม.ย. สำหรับพื้นที่ที่มีปัญหา ว่า อยากจะทำความเข้าใจไปยัง กกต. ถึงความพยายามขอให้รัฐบาลออกพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งใหม่ ใน 28 เขตที่ยังมีปัญหา ซึ่งการที่จะออกพระราชกฤษฎีกาใหม่ได้ ต้องเป็นกรณีที่สภาชิกภาพสภาสิ้นสุดลง เช่น การยุบสภา การตาย หรือการลาออก แต่ปรากฏว่า ใน 28 เขต ไม่มีกรณีเช่นนี้ และพวกตนที่สมัคร และลงคะแนน ก็ยังไม่ได้เป็นส.ส. จึงไม่สามารถออกพระราชกฤษฎีกาใหม่ได้ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่ปัญหาของรัฐบาล แต่เป็นปัญหาของกกต. ที่ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งตามอำนาจหน้าที่ได้ และพยายามจะโยนภาระมายังรัฐบาล และหากกกต. มีมตินำความเห็นนี้มาให้รัฐบาล ตนเชื่อว่านายกรัฐมนตรี จะต้องไปขอความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกา ในข้อกฎหมาย และถ้าคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นอย่างไร ก็คงต้องว่า ไปตามนั้น และท้ายที่สุด หากกกต. ยังยืนยันจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เหมือนที่เคยทำ ก็คงต้องรอดูความเห็นของศาลฯ ว่าเป็นอย่างไร
** 30วันเปิดสภาไม่ได้ กกต.จะถูกถอด
นายพีรพันธุ์ กล่าวต่อว่า การเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปเป็นวันที่ 27 เม.ย. มีปัญหาคือ รัฐธรรมนูญ มาตรา 127 ระบุว่า ภายใน 30 วัน นับจากวันเลือกตั้ง ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภา เพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก จึงชัดเจนว่าถ้ามีการเลื่อนเลือกตั้งไปเดือนเม.ย. ก็จะเกินกำหนด 30 วัน และมีผู้ให้ความเห็นกับ กกต. ว่า ใน 30 วัน ไม่มีสภาพบังคับเหมือนกับระยะเวลาในหลายเรื่องที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ตีความได้ว่า เป็นระยะเวลาเพื่อการเร่งรัด ไม่มีสภาพบังคับ ตนจึงอยากชี้แจงว่า สภาพบังคับไม่มีใครเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่จะไปอยู่ในกฎหมายอื่น บทกำหนดที่บอกว่าจะต้องเรียกประชุมรัฐสภา ภายใน 30 วัน มีจุดประสงค์เพื่อไม่ให้รัฐบาลที่รักษาการอยู่นาน จึงต้องเลือกตั้งให้เร็วขึ้น ไม่เกิน 60 วัน หลังจากนั้นจะได้เรียกประชุมสภา และเมื่อประชุมเสร็จ ก็จะเป็นกระบวนการสรรหานายกรัฐมนตรี ตั้งคณะรัฐมนตรี บริหารประเทศ จึงขอเตือนว่า การตีความว่า 30 วัน ไม่มีสภาพบังคับ ถ้าไม่ทำตามรัฐธรรมนูญ กกต.จะ ถูกกล่าวหาว่า จงใจไม่ปฏิบัติหน้าที่ ความผิดจะอยู่ที่กฎหมายการเลือกตั้ง มีโทษทางอาญา และอาจจะถูกยื่นถอดถอนได้ ตามมาตรา 270
นายพีรพันธุ์ กล่าวด้วยว่า ตนเข้าใจว่ามีความพยายามที่จะลากการเลือกตั้งให้ยาวออกไปเท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อไม่ให้มีการตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ชุดที่จะมีอำนาจเต็ม มาบริหารราชการแผ่นดินตามกฎหมาย และบีบให้นายกรัฐมนตรีลาออก เพื่อนำไปสู่เรื่องที่ต้องการ ซึ่งมองว่า ถ้ากกต.หรือใครก็ตามมีเจตนาอย่างนี้ ไม่ว่าจะสำเร็จหรือไม่ แต่ผลจะตรงกับที่ กปปส. ต้องการ จึงขอเรียกร้องให้ทุกพรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ร่วมกันกดดัน กกต. ให้มีการเลือกตั้งในกลุ่มที่มีปัญหาให้เสร็จสิ้นภายในเดือน มี.ค.เพื่อให้สามารถเปิดประชุมสภาได้
**วิกฤตการเมืองจะยุติได้ด้วยการเจรจา
นายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงสถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันว่า มีความคลี่คลายลงไปมากแล้ว แต่ตนยังมองว่าปัญหานี้จะยุติได้ด้วยการเจรจาร่วมกันเพื่อหาทางออก เบื้องต้นอาจจะให้คู่ขัดแย้งนั้นส่งชื่อคนของตนเองที่ได้รับเลือกมาเป็นตัวแทนเจรจา ส่วนกรณีที่มีการเสนอชื่อคนกลาง เช่น นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯ มาเป็นคนกลางนั้น อาจจะได้รับการโต้แย้งจากคนบางกลุ่มได้ แต่ส่วนตัวก็มองว่า นายวิษณุ ก็มีความเหมาะสมอยู่ ส่วนตัวนั้นไม่ขอออกความเห็น เพราะถูกมองว่าเป็นคู่กรณีทางการเมือง
นายนิคม กล่าวถึงการกำหนดวันลงคะแนนทดแทนการเลือกตั้งล่วงหน้าและการเลือกตั้งทั่วไป ในช่วงเดือนเม.ย. นั้นเชื่อว่าจะไม่มีปัญหาความวุ่นวายเกิดขึ้นเหมือนรอบที่ผ่านมา และตนเชื่อมั่นว่า การเลือกตั้งส.ว. ที่ได้กำหนดให้เป็นในวันที่ 30 มี.ค.นั้น จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อย่างไรก็ตาม ในรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า เมื่อ ส.ว.ครบกำหนดในการคงอยู่ในวาระ และให้ส.ว.นั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะได้ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่ ถือว่า ส.ว.เลือกตั้งที่จะหมดวาระ วันที่ 2 มี.ค. ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ส่วนตนนั้นยืนยันว่า จะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งประธานวุฒิสภา ต่อไป
ส่วนกรณีที่ ส.ว.เลือกตั้งอยู่รักษาการ มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาถอดถอน ส.ส.และส.ว. ที่ถูกยื่นตรวจสอบจะดำเนินการอย่างไร ประธาน ส.ว. กล่าวว่า ตนมีความน่ากังวลอย่างที่หลายฝ่ายวิตกว่า อาจจะมีปัญหาเรื่องการนับองค์ประชุม เพราะตนได้ให้ฝ่ายกฎหมายไปศึกษา และได้ออกเป็นหนังสือเวียนแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วว่า ขอให้นับ ส.ว.ที่อยู่รักษาการ ที่อาจจะถูกชี้มูลให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่ เป็นองค์ประชุมต่อไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อการออกเสียงลง คะแนน อีกทั้งที่ผ่านมา การไม่นับสมาชิกเป็นองค์ประชุมนั้น มีอยู่กรณีเดียวคือ บุคคลที่ถูกพิจารณาให้ ใบเหลือง หรือ ใบแดง ฐานทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเท่านั้น ส่วนกรณีการดำรงตำแหน่ง และถูกชี้มูลให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่ ไม่ถือว่าเคยมีคำวินิจฉัยไว้ อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวอาจต้องหาข้อสรุปในวงประชุมวุฒิสภาอีกครั้ง