คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1. เวทีปรองดองเดือด เสธ.หนั่น จี้ “พล.อ.สนธิ” ตอบ “ป๋าเปรม” เอี่ยวปฏิวัติ 19 ก.ย.หรือไม่ ด้านเจ้าตัวพูดเป็นนัย ตายก็ตอบไม่ได้!
เมื่อวันที่ 21 มี.ค. สถาบันพระปกเกล้าได้จัดงานเสวนาเพื่อแถลงผลวิจัยเรื่องการสร้างความปรองดองต่อคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) เป็นประธาน ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ โดยมีการเชิญแกนนำทุกพรรคการเมืองเข้าร่วมแสดงความเห็นและสอบถามผู้เกี่ยวข้องโดยตรง
สำหรับพรรคประชาธิปัตย์นั้น ตอนแรกดูเหมือนว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค จะไม่ไปร่วมงานเสวนาดังกล่าว โดยได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เงาของพรรค แต่เมื่อประชุมได้ 20 นาที นายอภิสิทธิ์ก็สั่งยกเลิกการประชุมกลางคัน ก่อนยกคณะแกนนำพรรคไปร่วมงานเสวนา
เป็นที่น่าสังเกตว่า บรรยากาศการเสวนาเป็นไปอย่างดุเดือด โดยเฉพาะเมื่อ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา(ชทพ.) ได้ลุกขึ้นถาม พล.อ.สนธิ 3 ข้อ คือ 1.ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ 19 ก.ย.2549 เพราะสังคมคลางแคลงใจว่าอำมาตย์ ผู้มีบารมีเหนือรัฐธรรมนูญเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง 2.พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นผู้นำ พล.อ.สนธิเข้าเฝ้าฯ หรือไม่ และ พล.อ.เปรมรู้เห็นกับการปฏิวัติหรือไม่ และ 3.พล.อ.เปรมได้ขอร้องโดยผ่าน พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด 2 ครั้ง ให้ พล.อ.สนธิออกมาพูดความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ปฏิวัติ 19 ก.ย.2549 ใช่หรือไม่ และได้พูดความจริงตามที่ พล.อ.เปรมร้องขอหรือไม่
แต่ปรากฏว่า พล.อ.สนธิไม่ตอบคำถามทั้ง 3 ข้อดังกล่าว โดยบอกว่า ตนรู้สึกละอายตัวเอง เพราะสถาบันสอนให้มีความรัก ความเข้าใจ และจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมืองอย่างสุดชีวิต คำถามนี้จึงไม่ควรมาถามตน และคำถามบางประการ ตายแล้วก็ตอบไม่ได้ ดังนั้นเรื่องบางเรื่องเมื่อถึงเวลาจะปรากฏขึ้นมาเอง
อย่างไรก็ตาม พล.อ.สนธิ ได้กล่าวถึงคำถามของ พล.ต.สนั่นอีกครั้งหลังงานเสวนาว่า ไม่อยากฟื้นฝอยหาตะเข็บในสิ่งที่ขัดแย้ง ถ้าต้องการสร้างความปรองดองต้องยึดหลักให้อภัย ลืมอดีตบ้าง ไม่เช่นนั้นสังคมไทยจะย้อนยุคไปสู่ความขัดแย้งมากขึ้น ต้องมองข้ามไปบ้าง เพื่อความปรองดอง อะไรไม่ควรพูดก็อย่าพูด
ทั้งนี้ การตั้งคำถามของ พล.ต.สนั่น แล้ว พล.อ.สนธิไม่ยอมตอบ ได้นำไปสู่ความคลางแคลงใจทั้งต่อ พล.อ.สนธิ และ พล.ต.สนั่น โดย พล.ต.สนั่น ชี้ว่า คำถามของตนมีความสำคัญ เพราะจะทำให้ทราบว่าเหตุใดจึงมีความขัดแย้งเกิดขึ้น และคำถามของตนก็ง่ายๆ ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ถ้า พล.อ.สนธิ ตอบว่าท่านทำปฏิวัติด้วยตัวเองก็จบ ประชาชนที่เคยเข้าใจผิดหรือคลางแคลงใจคิดว่าอำมาตย์มีส่วนรู้เห็นด้วย ก็จะได้สบายใจ “ผมไม่เห็นว่าจะเป็นเรื่องคอขาดบาดตายอะไร จากข่าวกรองของผมนี่ชัดเจนว่า เบื้องบนและอำมาตย์ไม่เคยมายุ่งเกี่ยวกับการปฏิวัติ 19 ก.ย.2549 หากผมไม่มีการข่าวที่ชัดเจนแล้ว คงไม่กล้าไปถาม พล.อ.สนธิในที่สาธารณะเช่นนี้”
ด้าน พล.อ.สนธิ ได้ให้สัมภาษณ์โทรทัศน์ช่องหนึ่ง โดยยืนยันว่า พล.อ.เปรมไม่ทราบเรื่องการปฏิวัติ 19 ก.ย.2549 เพราะการทำงานใหญ่ จะรู้เกิน 2 คนไม่ได้ และตนเป็นคนที่ไม่ไว้ใจใคร พล.อ.สนธิ ยังตั้งข้อสงสัยด้วยว่า ใครเป็นคนสั่งให้ พล.ต.สนั่นมาถามตนเรื่องปฏิวัติ โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังจะปรองดองกัน ควรมีคำถามแบบนี้หรือไม่
ขณะที่ พล.ต.สนั่น รีบออกมาปฏิเสธว่า ไม่เคยรับคำสั่งจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้มาถาม พล.อ.สนธิ พร้อมยืนยันว่า คนอย่างตนตั้งแต่เล่นการเมืองมา ไม่เคยมีประวัติขายตัว
ทั้งนี้ หลายฝ่ายได้ออกมาแสดงความผิดหวังต่อ พล.อ.สนธิที่ไม่ยอมตอบคำถาม พล.ต.สนั่น เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ บอกว่า ผิดหวังที่ พล.อ.สนธิไม่ตอบ ทั้งที่ควรตอบเพื่อให้ความกระจ่างต่อสังคม ถ้าทุกคนไม่ยอมให้ความจริงกัน แล้วจะเดินหน้าได้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ ยังย้ำด้วยว่า การตอบในลักษณะกำกวมของ พล.อ.สนธิไม่เป็นผลดีกับใคร
อย่างไรก็ตาม มีเรื่องน่าแปลก เมื่อพรรคเพื่อไทยได้ออกมาปกป้อง พล.อ.สนธิ โดยนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย บอกว่า ไม่ควรฟื้นฝอยหาตะเข็บ เพราะ พล.อ.สนธิยืนยันแล้วว่า แม้ตายก็ตอบไม่ได้ ดังนั้นควรมองไปข้างหน้าดีกว่า นายพร้อมพงศ์ ยังชม พล.อ.สนธิด้วยว่า พล.อ.สนธิเป็นชายชาติทหาร เมื่อก่ออะไรไว้ก็มาแก้ไข ดังนั้นจึงไม่ควรไปกดดัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลัง พล.อ.สนธิไม่ยอมตอบคำถาม กรณีที่ พล.ต.สนั่นอ้างว่า พล.อ.เปรมเคยขอร้อง พล.อ.สนธิโดยผ่าน พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ให้ พล.อ.สนธิพูดความจริงเกี่ยวกับการปฏิวัติ 19 ก.ย.2549 แต่ พล.อ.สนธิ ปฏิเสธว่าไม่เคยคุยกับ พล.อ.มงคลนั้น ปรากฏว่า พล.อ.บัญชร ชวาลศิลป์ นายทหารใกล้ชิด พล.อ.มงคล ได้ออกมายอมรับว่า พล.อ.เปรมเคยขอร้อง พล.อ.สนธิให้พูดความจริงเกี่ยวกับการปฏิวัติ เพราะหลังเหตุการณ์ปฏิวัติผ่านไปปีกว่า พล.อ.เปรมรู้สึกไม่สบายใจที่ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่าท่านอยู่เบื้องหลัง ท่านจึงมอบหมายให้ พล.อ.มงคลแจ้งให้ พล.อ.สนธิทราบ จากนั้น พล.อ.มงคลจึงให้ตนโทรศัพท์ถึง พล.อ.สนธิ ซึ่ง พล.อ.สนธิรับฟังแต่ไม่ได้ว่าอะไร และไม่ได้ชี้แจงให้สื่อมวลชนเข้าใจ
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ก่อนหน้าที่ พล.อ.สนธิจะเข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ พล.อ.สนธิได้ทำพ็อกเก็ตบุ๊กไว้ 6 เล่ม โดย 1 ในจำนวนนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับเบื้องหลังเหตุการณ์ปฏิวัติ 19 ก.ย.2549 ซึ่งปัจจุบันหนังสือทั้ง 6 เล่มจัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่มีการพิมพ์ เนื่องจากเกรงกว่าจะส่งผลกระทบต่อบุคคลที่ถูกพาดพิงในหนังสือ โดยหนังสือเกี่ยวกับการปฏิวัตินั้น พล.อ.สนธิต้องการพิมพ์หลังจากที่ตนเสียชีวิตลงแล้ว เพื่อเปิดเผยเบื้องหลังเกี่ยวกับการปฏิวัติ
2. “ธีรยุทธ” ชำแหละ “ทักษิณ” กินไม่รู้จักอิ่ม แนะกลับมารับโทษสู้คดี พร้อมหนุนนิรโทษฯ !
เมื่อวันที่ 18 มี.ค. นายธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กลับมาวิพากษ์วิจารณ์การเมืองอีกครั้งหลังหยุดบทบาทไป 2 ปี ทั้งนี้ ก่อนที่นายธีรยุทธจะวิเคราะห์การเมืองไทย รวมทั้งแนวโน้มของวิกฤตในปัจจุบัน ได้รีบออกตัวก่อนว่า เหตุที่ไม่ออกมาพูดในยุครัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่มาพูดในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องจากไม่สบาย เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติ ต้องเข้าโรงพยาบาล 5-6 เดือน เพื่อทำบัลลูน ซึ่งส่งผลให้พูดลำบาก
นายธีรยุทธ กล่าวถึงการเมืองในขณะนี้ว่า เป็นยุคของทักษิณ-การเมืองรากหญ้าประชานิยม พร้อมมองว่า วิกฤตการเมืองไทยรุนแรง เพราะการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ซึ่งส่วนตัวแล้ว อยากให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศเพื่อมารับโทษและสู้คดี โดยตนพร้อมหนุนให้มีการนิรโทษกรรมตามที่บางฝ่ายเสนอ “อยากให้กลับ กลับมารับโทษหาทางสู้คดี กลับมาสารภาพอย่างลูกผู้ชายว่าผิด และมาทำเรื่องขอคืนเงินส่วนหนึ่ง เพราะบางส่วนคิดว่าเป็นของเขา บางฝ่ายอยากให้มีนิรโทษกรรม ผมยินดีช่วยนะ ถ้าท่านกลับมารับโทษก่อน”
นายธีรยุทธ ยังวิเคราะห์ต่อว่า การเมืองไทยกำลังก่อรูปเป็น 2 ศูนย์อำนาจ คือ ศูนย์อำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยมกับศูนย์อำนาจรากหญ้า โดยฝ่ายรากหญ้าหรือฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณมียุทธศาสตร์ 3 ขา คือ 1.ขยายฐานรากหญ้า 2.สลายอำนาจฝ่ายตรวจสอบ ศาล องค์กรอิสระ และ 3.ต้องดึงกำลังกองทัพเป็นพวก ส่วนฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่เห็นทางขยายตัว มีแต่หดตัวไปเรื่อยๆ เพราะไม่มีวาทกรรมใหม่ๆ นอกจากอดทน สมถะ พอเพียง เป็นคนดี นายธีรยุทธ ยังพูดถึงความขัดแย้งในบ้านเมืองด้วยว่า ไม่มีใครสามารถพูดเพื่อลดความขัดแย้งได้ ซึ่งปัญหาร้ายแรงที่จะตามมาก็คือ การแบ่งขั้ว ความขัดแย้งแตกแยกจะลามไปสู่สถาบัน ศาล และทหาร สุดท้ายไทยอาจเหมือนละตินอเมริกาที่เกิดการรัฐประหารย่อยในกองทัพ
ทั้งนี้ นายธีรยุทธ ไม่เชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณต้องการสร้างประชาธิปไตยรากหญ้าที่แท้จริง เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณถือว่าเป็นผู้นำทางการตลาดมากกว่าผู้นำประชาธิปไตย มุ่งหวังแค่ให้รากหญ้าซื้อสินค้าของตนอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น ไม่ได้ต้องการให้รากหญ้าเป็นรากฐานที่ยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจหรือเป็นขบวนการการเมืองที่มีเป้าหมายอุดมการณ์ เท่ากับว่า พ.ต.ท.ทักษิณต้องการให้ประเทศแตกแยกขัดแย้งและใช้ความรุนแรงต่อกัน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องซุกหุ้นซุกภาษี ความไม่รู้จักอิ่มในทรัพย์สินและอำนาจของตัวเองเท่านั้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า นายธีรยุทธ ได้ตั้งฉายาให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ด้วย “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถ้าไปเยี่ยมคนต่างจังหวัดบ่อยๆ คนต่างจังหวัดชอบ เพราะแต่งตัวสวย เชื่อว่าจะติด 1 ในผู้นำสตรีที่แต่งตัวดีที่สุดของโลกในปลายปี 2555 เป็นโฟโต้จีนิก คือถ่ายรูปขึ้น ส่วนนายอภิสิทธิ์ ขอตั้งฉายาว่า “มาร์คเมาอู้” เหมือน “เฉลิมเมารัก” เพราะพูดกับชาวบ้านไปเรื่อย ควรเจาะประเด็นลึกๆ มากกว่า”
นายธีรยุทธ ยังทำนายแนวโน้มการเมืองไทยหลังจากนี้ด้วยว่า จะเกิดความรุนแรงย่อยๆ จากการแก้รัฐธรรมนูญและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะเมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะลงประชามติ จะมีฝ่ายที่ไม่ยอมลงประชามติไปรณรงค์ไม่ยอมรับ และชุมนุมประท้วง เมื่อเกิดความรุนแรงย่อยๆ ก็จะเกิดครั้งที่สองครั้งที่สามตามมา แต่ถ้ามีรัฐประหารอีก ประเทศจะพังแบบเด็ดขาด ดังนั้นใครอย่าคิดที่จะทำรัฐประหาร
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แม้จะมองว่าการออกมาวิพากษ์วิจารณ์การเมืองของนายธีรยุทธเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็อดไม่ได้ที่จะตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล จึงไม่ออกมาวิจารณ์บ้าง การทำตัวผลุบๆ โผล่ๆ แบบนี้เป็นการวิจารณ์แบบ 2 มาตรฐานหรือไม่ และที่อ้างว่าป่วยนั้น 2 ปีนานเกินไปหรือไม่ หรือป่วยการเมือง หรือมีคนขอร้องไม่ให้ออกมาพูดกันแน่
3. “บุญจง” รอด ศาลฎีกาฯ ยกคำร้องใบแดง ชี้ ไร้หลักฐานเอาผิด ด้านเจ้าตัวรีบขอบคุณศาลทีให้ความยุติธรรม!
เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ขอให้ศาลฯ มีคำสั่งเพิกถอนการเป็น ส.ส.และตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีของนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา กรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย หลังถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมสัมมนาผู้นำชุมชนใน อ.จักราช จ.นครราชสีมา โดยให้นางสายพิรุณ น้อยศิริ เจ้าหน้าที่พัฒนาการ จ.นครราชสีมา นำผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 300 คนเดินทางไปอบรมที่รีสอร์ตแห่งหนึ่งใน จ.ระยอง เมื่อวันที่ 19-20 พ.ย.2553 พร้อมแจกสิ่งของระหว่างการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 6 จ.นครราชสีมา อันเป็นการกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.พ.ศ.2550 มาตรา 53(1) (3) และ (4)
ทั้งนี้ ศาลฯ พิจารณาแล้วมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของ กกต. โดยให้เหตุผลว่า จากการไต่สวนยังไม่ปรากฏหลักฐานถึงขนาดที่ควรเชื่อได้ว่านายบุญจง ผู้คัดค้าน มีส่วนสนับสนุนหรือรู้เห็นเป็นใจให้นางสายพิรุณกล่าวถ้อยคำหาเสียง ที่จะเข้าข่ายฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.ฯ ตามที่ กกต.อ้าง จึงไม่มีเหตุที่จะสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้ ศาลฯ จึงมีคำสั่งยกคำร้อง ส่วนขั้นตอนหลังจากนี้ ศาลฯ จะแจ้งให้ประธานรัฐสภาและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
หลังศาลยกคำร้อง นายบุญจง ซึ่งเดินทางมาฟังคำสั่งของศาลฯ รีบขอบคุณศาลด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม พร้อมบอกว่า รู้สึกดีใจ เพราะหลังถูกกล่าวหา ทำให้ตนต้องหยุดทำหน้าที่ ส.ส.มาหลายเดือน ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ตนไม่มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับการสัมมนาผู้นำชุมชนตามที่ถูกกล่าวหา และว่า แม้ศาลฯ จะยกคำร้องแล้ว แต่ตนก็คงไม่ฉลอง เพราะวันนี้ถือเป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ยืนยันว่า กระบวนการยุติธรรมมีอยู่ในทุกระบบ และบ้านเมืองจะสงบได้ต้องเกิดจากความสามัคคี หากศาลตัดสินอะไรควรน้อมรับ พร้อมยืนยันว่า จะไม่แจ้งความดำเนินคดีชาวบ้านที่ให้การพิรุธ เพราะถือว่าคดีนี้จบแล้ว
4. กกต. มีมติเพิกถอน “ศรีสุข” พ้น ส.ว. อีกราย พร้อมเดินหน้าตรวจสอบ ส.ว.สรรหาทั้ง 73 รายหลัง “เรืองไกร” จี้!
เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้มีมติเอกฉันท์ให้เพิกถอนการเป็น ส.ว.สรรหาของนายศรีสุข รุ่งวิสัย โดยหลังจากนี้ จะมีการเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง เพื่อให้ชี้ขาดอีกครั้ง หากศาลฯ ยืนตาม กกต. จะส่งผลให้นายศรีสุขถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี พร้อมกันนี้ กกต.ยังมีมติให้ดำเนินคดีอาญากับสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรที่เสนอชื่อนายศรีสุขเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.ด้วย
ส่วนสาเหตุที่ กกต.มีมติเพิกถอนนายศรีสุขออกจากการเป็น ส.ว.สรรหานั้น นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต.เผยว่า เนื่องจาก กกต.ได้รับบัตรสนเท่ห์เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาว่า ขณะเข้ารับการสรรหา ส.ว. นายศรีสุขเป็นผู้เสียสิทธิ เพราะไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อม ส.ส.นนทบุรี เมื่อวันที่ 25 ม.ค.2552 และไม่ได้แจ้งเหตุที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เมื่ออนุกรรมการไต่สวนของ กกต.ตรวจสอบแล้วจึงพบว่า นายศรีสุขมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิเลือกตั้งจริง เพราะไม่ได้ไปใช้สิทธิและไม่ได้แจ้งเหตุที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อม ส.ส.นนทบุรี
ส่วนกรณีที่นายศรีสุขย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่เขตบางแค กทม.แล้วเมื่อวันที่ 29 ส.ค.2553 ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร(ส.ก.) และนายศรีสุขไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ก. แต่ได้แจ้งเหตุที่ไม่ไปใช้สิทธิแล้ว จึงน่าจะได้สิทธิที่เสียไปกลับคืนมาแล้วนั้น นายภุชงค์ บอกว่า จากการตรวจสอบพบว่า นายศรีสุขมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตบางแคไม่ถึง 1 ปี ดังนั้นนายศรีสุขจึงเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ก.ในเขตบางแค จึงยังคงถือว่า ก่อนวันลงทะเบียนเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว. นายศรีสุขยังคงเป็นผู้เสียสิทธิเลือกตั้งจากการไม่ไปเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุที่ไม่ไปเลือกตั้งซ่อม ส.ส.นนทบุรีอยู่
อนึ่ง เมื่อวันที่ 8 มี.ค. กกต.ได้มีมติให้เพิกถอนการเป็น ส.ว.สรรหาของนายสัก กอแสงเรือง ไป 1 คนแล้ว โดยเป็นไปตามการร้องขอของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตผู้สมัคร ส.ว.สรรหา ที่ให้เหตุผลว่านายสักพ้นจากการดำรงตำแหน่ง ส.ว.ไม่เกิน 5 ปีตามที่กฎหมายกำหนด โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง นอกจากนี้ กกต.ยังเดินหน้าตรวจสอบคุณสมบัติของ ส.ว.สรรหาทั้ง 73 รายตามที่นายเรืองไกรจี้ให้ กกต.รื้อข้อมูลขึ้นมาตรวจสอบใหม่ว่ามีใครเข้าข่ายถูกเพิกถอน เพราะไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งบ้าง
5. ศาลปกครอง ยกคำขอ 41 บริษัทร้องระงับประกาศปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บ. 1 เม.ย.นี้ ชี้ ขั้นตอนออกประกาศถูกต้องแล้ว!
เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งกรณีที่บริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิคส์(ประเทศไทย) จำกัด และพวก ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนรวม 41 ราย ขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการบังคับใช้ประกาศคณะกรรมการค้าจ้างเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ลงวันที่ 2 พ.ย.2554 ที่ให้มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย.นี้
ทั้งนี้ ศาลฯ พิจารณาแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า การประชุมของคณะกรรมการค้าจ้างเมื่อวันที่ 17 ต.ค.2554 ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดี ได้มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2555 โดยได้ศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ตลอดจนข้อเท็จจริงอื่นๆ เช่น ดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถทางธุรกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ฯลฯ ซึ่งมีการพิจารณาทั้งข้อมูลที่ได้จากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของทุกจังหวัด รวมทั้งข้อมูลข้อคิดเห็นจากคณะทำงานศึกษานโยบายการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทที่มีรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธานคณะทำงาน จึงเห็นได้ว่า คณะกรรมการค่าจ้างได้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แล้ว
อีกทั้งในการประชุมดังกล่าว คณะกรรมการค่าจ้างทั้ง 14 คนได้มีมติเอกฉันท์ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามบัญชีที่เสนอ จากนั้นได้ออกประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 2 พ.ย.2554 ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 22 พ.ย.2554 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 พ.ย.2554 ดังนั้นจึงยังไม่ปรากฏว่า ประกาศดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ศาลจะออกคำสั่งทุเลาการบังคับประกาศดังกล่าวตามที่ผู้ร้องได้ขอให้ระงับ จึงมีคำสั่งยกคำร้องของบริษัท มูราตะ และพวก
1. เวทีปรองดองเดือด เสธ.หนั่น จี้ “พล.อ.สนธิ” ตอบ “ป๋าเปรม” เอี่ยวปฏิวัติ 19 ก.ย.หรือไม่ ด้านเจ้าตัวพูดเป็นนัย ตายก็ตอบไม่ได้!
เมื่อวันที่ 21 มี.ค. สถาบันพระปกเกล้าได้จัดงานเสวนาเพื่อแถลงผลวิจัยเรื่องการสร้างความปรองดองต่อคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน อดีตประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ(คมช.) เป็นประธาน ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ โดยมีการเชิญแกนนำทุกพรรคการเมืองเข้าร่วมแสดงความเห็นและสอบถามผู้เกี่ยวข้องโดยตรง
สำหรับพรรคประชาธิปัตย์นั้น ตอนแรกดูเหมือนว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค จะไม่ไปร่วมงานเสวนาดังกล่าว โดยได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เงาของพรรค แต่เมื่อประชุมได้ 20 นาที นายอภิสิทธิ์ก็สั่งยกเลิกการประชุมกลางคัน ก่อนยกคณะแกนนำพรรคไปร่วมงานเสวนา
เป็นที่น่าสังเกตว่า บรรยากาศการเสวนาเป็นไปอย่างดุเดือด โดยเฉพาะเมื่อ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา(ชทพ.) ได้ลุกขึ้นถาม พล.อ.สนธิ 3 ข้อ คือ 1.ใครคือผู้อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ 19 ก.ย.2549 เพราะสังคมคลางแคลงใจว่าอำมาตย์ ผู้มีบารมีเหนือรัฐธรรมนูญเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง 2.พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นผู้นำ พล.อ.สนธิเข้าเฝ้าฯ หรือไม่ และ พล.อ.เปรมรู้เห็นกับการปฏิวัติหรือไม่ และ 3.พล.อ.เปรมได้ขอร้องโดยผ่าน พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด 2 ครั้ง ให้ พล.อ.สนธิออกมาพูดความจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ปฏิวัติ 19 ก.ย.2549 ใช่หรือไม่ และได้พูดความจริงตามที่ พล.อ.เปรมร้องขอหรือไม่
แต่ปรากฏว่า พล.อ.สนธิไม่ตอบคำถามทั้ง 3 ข้อดังกล่าว โดยบอกว่า ตนรู้สึกละอายตัวเอง เพราะสถาบันสอนให้มีความรัก ความเข้าใจ และจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมืองอย่างสุดชีวิต คำถามนี้จึงไม่ควรมาถามตน และคำถามบางประการ ตายแล้วก็ตอบไม่ได้ ดังนั้นเรื่องบางเรื่องเมื่อถึงเวลาจะปรากฏขึ้นมาเอง
อย่างไรก็ตาม พล.อ.สนธิ ได้กล่าวถึงคำถามของ พล.ต.สนั่นอีกครั้งหลังงานเสวนาว่า ไม่อยากฟื้นฝอยหาตะเข็บในสิ่งที่ขัดแย้ง ถ้าต้องการสร้างความปรองดองต้องยึดหลักให้อภัย ลืมอดีตบ้าง ไม่เช่นนั้นสังคมไทยจะย้อนยุคไปสู่ความขัดแย้งมากขึ้น ต้องมองข้ามไปบ้าง เพื่อความปรองดอง อะไรไม่ควรพูดก็อย่าพูด
ทั้งนี้ การตั้งคำถามของ พล.ต.สนั่น แล้ว พล.อ.สนธิไม่ยอมตอบ ได้นำไปสู่ความคลางแคลงใจทั้งต่อ พล.อ.สนธิ และ พล.ต.สนั่น โดย พล.ต.สนั่น ชี้ว่า คำถามของตนมีความสำคัญ เพราะจะทำให้ทราบว่าเหตุใดจึงมีความขัดแย้งเกิดขึ้น และคำถามของตนก็ง่ายๆ ไม่ได้ซับซ้อนอะไร ถ้า พล.อ.สนธิ ตอบว่าท่านทำปฏิวัติด้วยตัวเองก็จบ ประชาชนที่เคยเข้าใจผิดหรือคลางแคลงใจคิดว่าอำมาตย์มีส่วนรู้เห็นด้วย ก็จะได้สบายใจ “ผมไม่เห็นว่าจะเป็นเรื่องคอขาดบาดตายอะไร จากข่าวกรองของผมนี่ชัดเจนว่า เบื้องบนและอำมาตย์ไม่เคยมายุ่งเกี่ยวกับการปฏิวัติ 19 ก.ย.2549 หากผมไม่มีการข่าวที่ชัดเจนแล้ว คงไม่กล้าไปถาม พล.อ.สนธิในที่สาธารณะเช่นนี้”
ด้าน พล.อ.สนธิ ได้ให้สัมภาษณ์โทรทัศน์ช่องหนึ่ง โดยยืนยันว่า พล.อ.เปรมไม่ทราบเรื่องการปฏิวัติ 19 ก.ย.2549 เพราะการทำงานใหญ่ จะรู้เกิน 2 คนไม่ได้ และตนเป็นคนที่ไม่ไว้ใจใคร พล.อ.สนธิ ยังตั้งข้อสงสัยด้วยว่า ใครเป็นคนสั่งให้ พล.ต.สนั่นมาถามตนเรื่องปฏิวัติ โดยเฉพาะในช่วงที่กำลังจะปรองดองกัน ควรมีคำถามแบบนี้หรือไม่
ขณะที่ พล.ต.สนั่น รีบออกมาปฏิเสธว่า ไม่เคยรับคำสั่งจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้มาถาม พล.อ.สนธิ พร้อมยืนยันว่า คนอย่างตนตั้งแต่เล่นการเมืองมา ไม่เคยมีประวัติขายตัว
ทั้งนี้ หลายฝ่ายได้ออกมาแสดงความผิดหวังต่อ พล.อ.สนธิที่ไม่ยอมตอบคำถาม พล.ต.สนั่น เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ บอกว่า ผิดหวังที่ พล.อ.สนธิไม่ตอบ ทั้งที่ควรตอบเพื่อให้ความกระจ่างต่อสังคม ถ้าทุกคนไม่ยอมให้ความจริงกัน แล้วจะเดินหน้าได้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ ยังย้ำด้วยว่า การตอบในลักษณะกำกวมของ พล.อ.สนธิไม่เป็นผลดีกับใคร
อย่างไรก็ตาม มีเรื่องน่าแปลก เมื่อพรรคเพื่อไทยได้ออกมาปกป้อง พล.อ.สนธิ โดยนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย บอกว่า ไม่ควรฟื้นฝอยหาตะเข็บ เพราะ พล.อ.สนธิยืนยันแล้วว่า แม้ตายก็ตอบไม่ได้ ดังนั้นควรมองไปข้างหน้าดีกว่า นายพร้อมพงศ์ ยังชม พล.อ.สนธิด้วยว่า พล.อ.สนธิเป็นชายชาติทหาร เมื่อก่ออะไรไว้ก็มาแก้ไข ดังนั้นจึงไม่ควรไปกดดัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลัง พล.อ.สนธิไม่ยอมตอบคำถาม กรณีที่ พล.ต.สนั่นอ้างว่า พล.อ.เปรมเคยขอร้อง พล.อ.สนธิโดยผ่าน พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ ให้ พล.อ.สนธิพูดความจริงเกี่ยวกับการปฏิวัติ 19 ก.ย.2549 แต่ พล.อ.สนธิ ปฏิเสธว่าไม่เคยคุยกับ พล.อ.มงคลนั้น ปรากฏว่า พล.อ.บัญชร ชวาลศิลป์ นายทหารใกล้ชิด พล.อ.มงคล ได้ออกมายอมรับว่า พล.อ.เปรมเคยขอร้อง พล.อ.สนธิให้พูดความจริงเกี่ยวกับการปฏิวัติ เพราะหลังเหตุการณ์ปฏิวัติผ่านไปปีกว่า พล.อ.เปรมรู้สึกไม่สบายใจที่ประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่าท่านอยู่เบื้องหลัง ท่านจึงมอบหมายให้ พล.อ.มงคลแจ้งให้ พล.อ.สนธิทราบ จากนั้น พล.อ.มงคลจึงให้ตนโทรศัพท์ถึง พล.อ.สนธิ ซึ่ง พล.อ.สนธิรับฟังแต่ไม่ได้ว่าอะไร และไม่ได้ชี้แจงให้สื่อมวลชนเข้าใจ
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ก่อนหน้าที่ พล.อ.สนธิจะเข้ามาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคมาตุภูมิ พล.อ.สนธิได้ทำพ็อกเก็ตบุ๊กไว้ 6 เล่ม โดย 1 ในจำนวนนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับเบื้องหลังเหตุการณ์ปฏิวัติ 19 ก.ย.2549 ซึ่งปัจจุบันหนังสือทั้ง 6 เล่มจัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่มีการพิมพ์ เนื่องจากเกรงกว่าจะส่งผลกระทบต่อบุคคลที่ถูกพาดพิงในหนังสือ โดยหนังสือเกี่ยวกับการปฏิวัตินั้น พล.อ.สนธิต้องการพิมพ์หลังจากที่ตนเสียชีวิตลงแล้ว เพื่อเปิดเผยเบื้องหลังเกี่ยวกับการปฏิวัติ
2. “ธีรยุทธ” ชำแหละ “ทักษิณ” กินไม่รู้จักอิ่ม แนะกลับมารับโทษสู้คดี พร้อมหนุนนิรโทษฯ !
เมื่อวันที่ 18 มี.ค. นายธีรยุทธ บุญมี ผู้อำนวยการสถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กลับมาวิพากษ์วิจารณ์การเมืองอีกครั้งหลังหยุดบทบาทไป 2 ปี ทั้งนี้ ก่อนที่นายธีรยุทธจะวิเคราะห์การเมืองไทย รวมทั้งแนวโน้มของวิกฤตในปัจจุบัน ได้รีบออกตัวก่อนว่า เหตุที่ไม่ออกมาพูดในยุครัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่มาพูดในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เนื่องจากไม่สบาย เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติ ต้องเข้าโรงพยาบาล 5-6 เดือน เพื่อทำบัลลูน ซึ่งส่งผลให้พูดลำบาก
นายธีรยุทธ กล่าวถึงการเมืองในขณะนี้ว่า เป็นยุคของทักษิณ-การเมืองรากหญ้าประชานิยม พร้อมมองว่า วิกฤตการเมืองไทยรุนแรง เพราะการไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน ซึ่งส่วนตัวแล้ว อยากให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศเพื่อมารับโทษและสู้คดี โดยตนพร้อมหนุนให้มีการนิรโทษกรรมตามที่บางฝ่ายเสนอ “อยากให้กลับ กลับมารับโทษหาทางสู้คดี กลับมาสารภาพอย่างลูกผู้ชายว่าผิด และมาทำเรื่องขอคืนเงินส่วนหนึ่ง เพราะบางส่วนคิดว่าเป็นของเขา บางฝ่ายอยากให้มีนิรโทษกรรม ผมยินดีช่วยนะ ถ้าท่านกลับมารับโทษก่อน”
นายธีรยุทธ ยังวิเคราะห์ต่อว่า การเมืองไทยกำลังก่อรูปเป็น 2 ศูนย์อำนาจ คือ ศูนย์อำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยมกับศูนย์อำนาจรากหญ้า โดยฝ่ายรากหญ้าหรือฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณมียุทธศาสตร์ 3 ขา คือ 1.ขยายฐานรากหญ้า 2.สลายอำนาจฝ่ายตรวจสอบ ศาล องค์กรอิสระ และ 3.ต้องดึงกำลังกองทัพเป็นพวก ส่วนฝ่ายอนุรักษ์นิยมไม่เห็นทางขยายตัว มีแต่หดตัวไปเรื่อยๆ เพราะไม่มีวาทกรรมใหม่ๆ นอกจากอดทน สมถะ พอเพียง เป็นคนดี นายธีรยุทธ ยังพูดถึงความขัดแย้งในบ้านเมืองด้วยว่า ไม่มีใครสามารถพูดเพื่อลดความขัดแย้งได้ ซึ่งปัญหาร้ายแรงที่จะตามมาก็คือ การแบ่งขั้ว ความขัดแย้งแตกแยกจะลามไปสู่สถาบัน ศาล และทหาร สุดท้ายไทยอาจเหมือนละตินอเมริกาที่เกิดการรัฐประหารย่อยในกองทัพ
ทั้งนี้ นายธีรยุทธ ไม่เชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณต้องการสร้างประชาธิปไตยรากหญ้าที่แท้จริง เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณถือว่าเป็นผู้นำทางการตลาดมากกว่าผู้นำประชาธิปไตย มุ่งหวังแค่ให้รากหญ้าซื้อสินค้าของตนอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น ไม่ได้ต้องการให้รากหญ้าเป็นรากฐานที่ยั่งยืนของระบบเศรษฐกิจหรือเป็นขบวนการการเมืองที่มีเป้าหมายอุดมการณ์ เท่ากับว่า พ.ต.ท.ทักษิณต้องการให้ประเทศแตกแยกขัดแย้งและใช้ความรุนแรงต่อกัน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องซุกหุ้นซุกภาษี ความไม่รู้จักอิ่มในทรัพย์สินและอำนาจของตัวเองเท่านั้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า นายธีรยุทธ ได้ตั้งฉายาให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ด้วย “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถ้าไปเยี่ยมคนต่างจังหวัดบ่อยๆ คนต่างจังหวัดชอบ เพราะแต่งตัวสวย เชื่อว่าจะติด 1 ในผู้นำสตรีที่แต่งตัวดีที่สุดของโลกในปลายปี 2555 เป็นโฟโต้จีนิก คือถ่ายรูปขึ้น ส่วนนายอภิสิทธิ์ ขอตั้งฉายาว่า “มาร์คเมาอู้” เหมือน “เฉลิมเมารัก” เพราะพูดกับชาวบ้านไปเรื่อย ควรเจาะประเด็นลึกๆ มากกว่า”
นายธีรยุทธ ยังทำนายแนวโน้มการเมืองไทยหลังจากนี้ด้วยว่า จะเกิดความรุนแรงย่อยๆ จากการแก้รัฐธรรมนูญและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพราะเมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วจะลงประชามติ จะมีฝ่ายที่ไม่ยอมลงประชามติไปรณรงค์ไม่ยอมรับ และชุมนุมประท้วง เมื่อเกิดความรุนแรงย่อยๆ ก็จะเกิดครั้งที่สองครั้งที่สามตามมา แต่ถ้ามีรัฐประหารอีก ประเทศจะพังแบบเด็ดขาด ดังนั้นใครอย่าคิดที่จะทำรัฐประหาร
ด้านนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แม้จะมองว่าการออกมาวิพากษ์วิจารณ์การเมืองของนายธีรยุทธเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็อดไม่ได้ที่จะตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล จึงไม่ออกมาวิจารณ์บ้าง การทำตัวผลุบๆ โผล่ๆ แบบนี้เป็นการวิจารณ์แบบ 2 มาตรฐานหรือไม่ และที่อ้างว่าป่วยนั้น 2 ปีนานเกินไปหรือไม่ หรือป่วยการเมือง หรือมีคนขอร้องไม่ให้ออกมาพูดกันแน่
3. “บุญจง” รอด ศาลฎีกาฯ ยกคำร้องใบแดง ชี้ ไร้หลักฐานเอาผิด ด้านเจ้าตัวรีบขอบคุณศาลทีให้ความยุติธรรม!
เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ได้อ่านคำพิพากษาคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ขอให้ศาลฯ มีคำสั่งเพิกถอนการเป็น ส.ส.และตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปีของนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา กรรมการบริหารพรรคภูมิใจไทย และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย หลังถูกกล่าวหามีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมสัมมนาผู้นำชุมชนใน อ.จักราช จ.นครราชสีมา โดยให้นางสายพิรุณ น้อยศิริ เจ้าหน้าที่พัฒนาการ จ.นครราชสีมา นำผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 300 คนเดินทางไปอบรมที่รีสอร์ตแห่งหนึ่งใน จ.ระยอง เมื่อวันที่ 19-20 พ.ย.2553 พร้อมแจกสิ่งของระหว่างการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 6 จ.นครราชสีมา อันเป็นการกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.พ.ศ.2550 มาตรา 53(1) (3) และ (4)
ทั้งนี้ ศาลฯ พิจารณาแล้วมีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวของ กกต. โดยให้เหตุผลว่า จากการไต่สวนยังไม่ปรากฏหลักฐานถึงขนาดที่ควรเชื่อได้ว่านายบุญจง ผู้คัดค้าน มีส่วนสนับสนุนหรือรู้เห็นเป็นใจให้นางสายพิรุณกล่าวถ้อยคำหาเสียง ที่จะเข้าข่ายฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว.ฯ ตามที่ กกต.อ้าง จึงไม่มีเหตุที่จะสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้ ศาลฯ จึงมีคำสั่งยกคำร้อง ส่วนขั้นตอนหลังจากนี้ ศาลฯ จะแจ้งให้ประธานรัฐสภาและนายกรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
หลังศาลยกคำร้อง นายบุญจง ซึ่งเดินทางมาฟังคำสั่งของศาลฯ รีบขอบคุณศาลด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม พร้อมบอกว่า รู้สึกดีใจ เพราะหลังถูกกล่าวหา ทำให้ตนต้องหยุดทำหน้าที่ ส.ส.มาหลายเดือน ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว ตนไม่มีส่วนรู้เห็นหรือเกี่ยวข้องกับการสัมมนาผู้นำชุมชนตามที่ถูกกล่าวหา และว่า แม้ศาลฯ จะยกคำร้องแล้ว แต่ตนก็คงไม่ฉลอง เพราะวันนี้ถือเป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงที่ยืนยันว่า กระบวนการยุติธรรมมีอยู่ในทุกระบบ และบ้านเมืองจะสงบได้ต้องเกิดจากความสามัคคี หากศาลตัดสินอะไรควรน้อมรับ พร้อมยืนยันว่า จะไม่แจ้งความดำเนินคดีชาวบ้านที่ให้การพิรุธ เพราะถือว่าคดีนี้จบแล้ว
4. กกต. มีมติเพิกถอน “ศรีสุข” พ้น ส.ว. อีกราย พร้อมเดินหน้าตรวจสอบ ส.ว.สรรหาทั้ง 73 รายหลัง “เรืองไกร” จี้!
เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้มีมติเอกฉันท์ให้เพิกถอนการเป็น ส.ว.สรรหาของนายศรีสุข รุ่งวิสัย โดยหลังจากนี้ จะมีการเสนอเรื่องต่อศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง เพื่อให้ชี้ขาดอีกครั้ง หากศาลฯ ยืนตาม กกต. จะส่งผลให้นายศรีสุขถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี พร้อมกันนี้ กกต.ยังมีมติให้ดำเนินคดีอาญากับสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรที่เสนอชื่อนายศรีสุขเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.ด้วย
ส่วนสาเหตุที่ กกต.มีมติเพิกถอนนายศรีสุขออกจากการเป็น ส.ว.สรรหานั้น นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต.เผยว่า เนื่องจาก กกต.ได้รับบัตรสนเท่ห์เมื่อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาว่า ขณะเข้ารับการสรรหา ส.ว. นายศรีสุขเป็นผู้เสียสิทธิ เพราะไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อม ส.ส.นนทบุรี เมื่อวันที่ 25 ม.ค.2552 และไม่ได้แจ้งเหตุที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง เมื่ออนุกรรมการไต่สวนของ กกต.ตรวจสอบแล้วจึงพบว่า นายศรีสุขมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้เสียสิทธิเลือกตั้งจริง เพราะไม่ได้ไปใช้สิทธิและไม่ได้แจ้งเหตุที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อม ส.ส.นนทบุรี
ส่วนกรณีที่นายศรีสุขย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่เขตบางแค กทม.แล้วเมื่อวันที่ 29 ส.ค.2553 ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร(ส.ก.) และนายศรีสุขไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ก. แต่ได้แจ้งเหตุที่ไม่ไปใช้สิทธิแล้ว จึงน่าจะได้สิทธิที่เสียไปกลับคืนมาแล้วนั้น นายภุชงค์ บอกว่า จากการตรวจสอบพบว่า นายศรีสุขมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเขตบางแคไม่ถึง 1 ปี ดังนั้นนายศรีสุขจึงเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ก.ในเขตบางแค จึงยังคงถือว่า ก่อนวันลงทะเบียนเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว. นายศรีสุขยังคงเป็นผู้เสียสิทธิเลือกตั้งจากการไม่ไปเลือกตั้งและไม่แจ้งเหตุที่ไม่ไปเลือกตั้งซ่อม ส.ส.นนทบุรีอยู่
อนึ่ง เมื่อวันที่ 8 มี.ค. กกต.ได้มีมติให้เพิกถอนการเป็น ส.ว.สรรหาของนายสัก กอแสงเรือง ไป 1 คนแล้ว โดยเป็นไปตามการร้องขอของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตผู้สมัคร ส.ว.สรรหา ที่ให้เหตุผลว่านายสักพ้นจากการดำรงตำแหน่ง ส.ว.ไม่เกิน 5 ปีตามที่กฎหมายกำหนด โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอการวินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง นอกจากนี้ กกต.ยังเดินหน้าตรวจสอบคุณสมบัติของ ส.ว.สรรหาทั้ง 73 รายตามที่นายเรืองไกรจี้ให้ กกต.รื้อข้อมูลขึ้นมาตรวจสอบใหม่ว่ามีใครเข้าข่ายถูกเพิกถอน เพราะไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งบ้าง
5. ศาลปกครอง ยกคำขอ 41 บริษัทร้องระงับประกาศปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บ. 1 เม.ย.นี้ ชี้ ขั้นตอนออกประกาศถูกต้องแล้ว!
เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ศาลปกครองกลาง ได้มีคำสั่งกรณีที่บริษัท มูราตะ อิเล็กทรอนิคส์(ประเทศไทย) จำกัด และพวก ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนรวม 41 ราย ขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการบังคับใช้ประกาศคณะกรรมการค้าจ้างเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ลงวันที่ 2 พ.ย.2554 ที่ให้มีการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เม.ย.นี้
ทั้งนี้ ศาลฯ พิจารณาแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า การประชุมของคณะกรรมการค้าจ้างเมื่อวันที่ 17 ต.ค.2554 ซึ่งเป็นผู้ถูกฟ้องคดี ได้มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2555 โดยได้ศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ตลอดจนข้อเท็จจริงอื่นๆ เช่น ดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถทางธุรกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ฯลฯ ซึ่งมีการพิจารณาทั้งข้อมูลที่ได้จากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของทุกจังหวัด รวมทั้งข้อมูลข้อคิดเห็นจากคณะทำงานศึกษานโยบายการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทที่มีรองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นประธานคณะทำงาน จึงเห็นได้ว่า คณะกรรมการค่าจ้างได้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำครั้งนี้เป็นไปตามขั้นตอนและวิธีการตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แล้ว
อีกทั้งในการประชุมดังกล่าว คณะกรรมการค่าจ้างทั้ง 14 คนได้มีมติเอกฉันท์ให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามบัญชีที่เสนอ จากนั้นได้ออกประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ(ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 2 พ.ย.2554 ก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 22 พ.ย.2554 และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 29 พ.ย.2554 ดังนั้นจึงยังไม่ปรากฏว่า ประกาศดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ศาลจะออกคำสั่งทุเลาการบังคับประกาศดังกล่าวตามที่ผู้ร้องได้ขอให้ระงับ จึงมีคำสั่งยกคำร้องของบริษัท มูราตะ และพวก