คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ชี้ “ยิ่งลักษณ์” ไม่ได้ใช้จริยธรรมอย่างรอบคอบเพียงพอในการตั้ง “นลินี-ณัฐวุฒิ” เป็น รมต. บี้ทบทวนใน 30 วัน!
เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ประชุมพิจารณาข้อร้องเรียนของกลุ่มการเมืองสีเขียว หรือกลุ่มกรีน(Green Politics) ที่ขอให้สอบสวนข้อเท็จจริงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ,นายอำพล กิตติอำพล เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กระทำการไม่เป็นไปตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 ในการแต่งตั้งนางนลินี ทวีสิน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่นางนลินีติดแบล็กลิสต์ของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ และแต่งตั้งนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งที่เป็น 1 ในจำเลยคดีก่อการร้าย
หลังประชุม นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาส ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า แม้นางนลินีจะมีคุณสมบัติและไม่มีข้อห้ามใดใดในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่เมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฏตามหนังสือของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่กำกับดูแลการประพฤติปฏิบัติตนของรัฐมนตรีให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 จึงควรพิจารณาด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งว่าการตั้งนางนลินีดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน และอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิของชาติหรือไม่
เช่นเดียวกับการแต่งตั้งนายณัฐวุฒิเป็นรัฐมนตรี แม้นายณัฐวุฒิจะเป็นแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) และถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญา ซึ่งคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล และยังไม่ได้มีคำพิพากษาก็ตาม แต่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า นายกฯ ยังไม่ได้นำพฤติกรรมทางจริยธรรมของนายณัฐวุฒิมาประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนเสนอชื่อแต่งตั้ง “นายกฯ ยังไม่ได้ทำพฤติกรรมตามประมวลจริยธรรมอย่างรอบคอบและเพียงพอ ผู้ตรวจการฯ จะส่งหนังสือแจ้งไปยังนายกฯ ให้ไปดำเนินการพิจารณาเรื่องประมวลจริยธรรม แล้วให้แจ้งกลับมายังผู้ตรวจการแผ่นดินภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายกฯ ได้รับหนังสือ”
ทั้งนี้ หากนายกฯ ยังเพิกเฉย ผู้ตรวจการแผ่นดินจะทำหนังสือเตือน แต่ถ้ายังไม่ดำเนินการอีก จะทำหนังสือรายงานต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาต่อไป อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าว ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่ายังไม่ถึงขั้นกระทำผิดร้ายแรงถึงขนาดต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ดำเนินการถอดถอน
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นว่านายกฯ เสนอชื่อแต่งตั้งนางนลินีและนายณัฐวุฒิเป็นรัฐมนตรีโดยไม่ได้ทำตามประมวลจริยธรรมอย่างรอบคอบเพียงพอ ปรากฏว่า แกนนำและแนวร่วมพรรคเพื่อไทยต่างออกมาปกป้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมสวนกลับผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นการใหญ่ เช่น นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาย้ำว่า การเสนอหรือแต่งตั้งใครเป็นรัฐมนตรีเป็นหน้าที่ของนายกฯ ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีหน้าที่มาควบคุมดุลพินิจของนายกฯ ในการเสนอบุคคลเป็นรัฐมนตรี หน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินก็คือตรวจสอบข้าราชการประจำว่าปฏิบัติหน้าที่ชอบหรือไม่
ด้านนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ โฆษกประจำตัวนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาโต้ผู้ตรวจการแผ่นดินว่า การกล่าวหานายกฯ ว่าไม่รอบคอบในการแต่งตั้งรัฐมนตรี เป็นการไม่ให้ความเป็นธรรมต่อนายกฯ ทั้งที่ก่อนแต่งตั้งนางนลินีและนายณัฐวุฒิเป็นรัฐมนตรี นายกฯ ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลทั้งสองเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้นายสุรนันทน์ยังอ้างด้วยว่า การใช้ดุลพินิจของผู้ตรวจการแผ่นดินดังกล่าว เป็นการเปิดช่องให้ฝ่ายค้านนำความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดินมาโจมตีนายกฯ ได้
ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ก็ได้ออกมาสวนกลับผู้ตรวจการแผ่นดินเช่นกัน โดยกล่าวหาว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีเจตนาทำให้เรื่องการแต่งตั้งตนและนางนลินีเป็นรัฐมนตรีกลายเป็นประเด็นทางการเมือง ทั้งที่เรื่องนี้จบไปนานแล้ว แต่ผู้ตรวจการแผ่นดินพยายามไม่ให้จบ และทำให้นายกฯ ต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ต่อไปอีกอย่างน้อย 30 วัน “ท่าทีของผู้ตรวจการแผ่นดินเหมือนเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่ เพราะผู้ตรวจการฯ บางคนมีจุดยืนทางการเมืองอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ผมคงจะไม่ต่อกรอะไรด้วย แต่อยากถามว่าผู้ตรวจการฯ ได้ใช้ประมวลจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองด้วยหรือไม่”
ด้านนางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาส ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ออกมายืนยันว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินทั้ง 3 คนได้ทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใด ทุกขั้นตอนของการพิจารณาได้ทำด้วยความรอบคอบเป็นธรรมและมีเหตุมีผลตามข้อเท็จจริง
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แนะให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทบทวนการแต่งตั้งนางนลินีและนายณัฐวุฒิเป็นรัฐมนตรีหลังผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่านายกฯ ยังไม่ได้ทำตามประมวลจริยธรรมอย่างรอบคอบเพียงพอ ซึ่งหากนายกฯ เพิกเฉยไม่ทำอะไร จะเป็นตัวบ่งบอกถึงมาตรฐานจริยธรรมของนายกฯ เอง จึงอยากให้นายกฯ และทุกฝ่ายในสังคมจริงจังกับการวางบรรทัดฐานด้านจริยธรรม
2. พันธมิตรฯ มีมติเดินสายเปิดโปงเผด็จการรัฐสภา ลั่น พร้อมชุมนุมใหญ่ทันทีหากมีการแก้ กม.แตะสถาบันพระมหากษัตริย์-นิรโทษฯ ทักษิณ!
หลังจากแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้จัดประชุมแกนนำ ผู้ประสานงาน และตัวแทนพันธมิตรฯ ทั่วประเทศ ที่อาคารลีลาศ สวนลุมพินี ในวันนี้(10 มี.ค.) ปรากฏว่า บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก เนื่องจากมีพี่น้องพันธมิตรฯ เดินทางมาร่วมงานจำนวนมาก
ทั้งนี้ หลังประชุม นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ ได้อ่านแถลงการณ์จุดยืนของพันธมิตรฯ ต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ สรุปความว่า พันธมิตรฯ มีมติให้มีการเดินสายจัดเสวนาพบปะพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ เพื่อเผยความจริงและให้ความรู้ประชาชนถึงความล้มเหลวของระบอบเผด็จการรัฐสภาโดยทุนสามานย์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ โดยพันธมิตรฯ จะนำเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศให้ประชาชนทั่วประเทศทราบ
และเพื่อให้การปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ประสบความสำเร็จ จึงมีมติให้ตั้งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย(คร.ปร.) เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้เกิดการปฏิรูปประเทศ ส่วนการชุมนุมใหญ่นั้น พันธมิตรฯ ยืนยันว่า พร้อมจะชุมนุมใหญ่ทันที หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือออกกฎหมายที่กระทบต่อโครงสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือออกกฎหมายเพื่อนำไปสู่การนิรโทษกรรมแก่ นช.ทักษิณ ชินวัตร และพวก นอกจากนี้ หากสถานการณ์เหมาะสมและประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ พันธมิตรฯ ก็พร้อมจะชุมนุมใหญ่เช่นกัน
ทั้งนี้ พันธมิตรฯ ย้ำว่า ทางออกของบ้านเมืองในขณะนี้คือต้องปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่เท่านั้น เพื่อให้ประเทศก้าวเข้าสู่ธรรมาธิปไตย ซึ่งจะนำมาซึ่งความสงบสุขที่ยั่งยืนในที่สุด โดยพันธมิตรฯ จะต่อสู้ยืนหยัดในอุดมการณ์ดังกล่าวอย่างถึงที่สุดต่อไป
3. ครม. ไฟเขียวเยียวยาเหยื่อชุมนุมแล้ว 2 พันล้าน 2 พันราย ตายได้ 7.5 ล้าน ด้าน ปชป. ฟ้องศาลเพิกถอนเยียวยา เหตุไม่เป็นธรรม!
เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติอนุมัติวงเงิน 2,000 ล้านบาท พร้อมหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548 ถึงเดือน พ.ค.2553 ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เผยหลังประชุม ครม.ว่า ขั้นตอนการจ่ายเงินเยียวยาดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับคณะกรรมการติดตามประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(ปคอป.) ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ซึ่งจะแบ่งจ่ายเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเรียกว่าเป็นการเยียวยาให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจ อีกส่วนเป็นการดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกด้วยว่า ระหว่างเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องการบริหารจัดการน้ำแก่นักลงทุนญี่ปุ่น จะส่งสารแสดงความเสียใจถึงครอบครัวนายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพชาวญี่ปุ่นของสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมด้วย ส่วนกระทรวงการต่างประเทศจะประสานเรื่องการจ่ายเงินเยียวยาแก่ญาตินายมูราโมโตะ
ด้านนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเยียวยาทางแพ่งและฟื้นฟูด้วยวิธีการอื่น ปคอป. เผยว่า เงินเยียวยาที่ ครม.เห็นชอบครั้งนี้ เป็นการเยียวยาแก่ผู้เสียหายกลุ่มที่ 1 จากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548-2553 โดยเรียกเงินที่จะจ่ายนี้ว่า “เงินช่วยเหลือเยียวยาตามหลักมนุษยธรรม” ทั้งนี้ หากเสียชีวิตจะได้รับเงิน 2 ก้อน คือ 1. เงินเยียวยาด้านจิตใจ 3 ล้านบาท ซึ่งสามารถจ่ายได้ทันทีในทุกกรณี และเป็นการจ่ายครั้งเดียว 2.เงินช่วยเหลือเยียวยาตามหลักมนุษยธรรม 4.5 ล้านบาท อาจจะจ่ายเป็นพันธบัตรหรือสลากออมสิน เพื่อให้ยั่งยืนในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ โดยผู้เสียหายสามารถยื่นเรื่องขอรับสิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค.เป็นต้นไป ที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี ส่วนผู้ที่อยู่ต่างจังหวัด ยื่นเรื่องได้ที่บ้านพักเด็กและครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในทุกจังหวัดตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค.เป็นต้นไป ซึ่งคณะทำงานจะพิจารณาว่าเข้าเกณฑ์หรือไม่ต่อไป
นายธงทอง บอกด้วยว่า “เบื้องต้นกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงสาธารณสุขได้รวบรวมตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในเหตุการณ์ระหว่างปี 2548-2553 มีผู้อยู่ในข่ายได้รับการเยียวยา 1,900-2,000 คน เป็นผู้เสียชีวิตประมาณ 100 คน ซึ่ง ครม.ได้อนุมัติวงเงินประมาณ 2,000 ล้านบาทในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบกลุ่มนี้”
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากเปิดรับลงทะเบียนผู้ขอรับเงินเยียวยาที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปรากฏว่า บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก มีผู้เข้ายื่นเอกสารเพื่อขอรับเงินเยียวยาจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งในส่วนของญาติ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ปรากฏว่า นอกจากจะมี น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล หรือ เดียร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย บุตรสาว เสธ.แดง มาลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินเยียวยาแล้ว ยังมี น.ส.ลัดดาวัลย์ พลฤทธิ์ ภรรยานอกสมรสของ เสธ.แดง และ ด.ช.นักรบ สวัสดิผล (แดงน้อย) ลูกชาย มาลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินเยียวยาด้วยเช่นกัน ซึ่ง น.ส.ขัตติยา บอกว่า เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ว่าจะพิจารณาสิทธิการให้เงินเยียวยาแก่บุคคลใด เพราะหลังจากพ่อเสียก็ไม่เคยติดต่อกันเลย
ด้านพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) โดยนายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง ได้นำผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อเดือน พ.ค.2535 และญาติผู้เสียชีวิตจากปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางชัน เมื่อปี 2546 เข้าร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนมติ ครม.เมื่อวันที่ 6 มี.ค.2555 ที่อนุมัติงบประมาณเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองระหว่างปี 2548-2553 พร้อมขอให้ศาลสั่งให้ ครม.กำหนดกฎเกณฑ์การเยียวยาให้ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งต่างๆ อย่างเป็นธรรม
ขณะที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย รีบออกมาตำหนิพรรคประชาธิปัตย์ที่ยื่นศาลปกครองว่า สะท้อนถึงความใจแคบของพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมถามกลับพรรคประชาธิปัตย์ว่า ไม่ต้องการให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์ในชาติใช่หรือไม่ จึงได้ออกมาเตะตัดขาเช่นนี้ ควรเลิกเล่นเกมการเมืองเสียที พร้อมย้ำว่า การจ่ายเงินเยียวยาถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความปรองดอง
4. กกต. มีมติเพิกถอน “สัก” พ้น ส.ว.สรรหา เตรียมส่งศาลฎีกาฯ ชี้ขาด ด้าน “ภักดี” เฮ ที่ประชุมวุฒิฯ ไม่ถอดถอนพ้น ป.ป.ช.!
เมื่อวันที่ 10 มี.ค. คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ประชุมพิจารณาคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้ที่เคยสมัครเข้ารับการสรรหา ส.ว. ที่ร้องคัดค้านว่านายสัก กอแสงเรือง ที่ได้รับเลือกเป็น ส.ว.สรรหา มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 115(9) เนื่องจากนายสักพ้นจากตำแหน่งทางการเมืองยังไม่ถึง 5 ปีจนถึงวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
ทั้งนี้ กกต.มีมติเอกฉันท์ 4 เสียง(นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ไม่ได้เข้าร่วมประชุม เนื่องจากมีส่วนได้ส่วนเสีย เพราะเป็นกรรมการสรรหา ส.ว.) ให้เพิกถอนสิทธิการสรรหาของนายสักที่ถูกเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา ส.ว.โดยสภาทนายความ ซึ่งจะส่งผลให้นายสักพ้นจากการเป็น ส.ว.สรรหา อย่างไรก็ตาม กกต.ต้องส่งคำวินิจฉัยดังกล่าวให้ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งชี้ขาดอีกครั้ง โดย กกต.จะเสนอให้ศาลฯ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนายสักเป็นเวลา 5 ปี หากศาลฯ รับคำร้องของ กกต.เมื่อใด จะส่งผลให้นายสักต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ว.จนกว่าศาลฯ จะมีคำพิพากษา
ด้านนายธนิศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการ กกต. เผยเหตุที่ กกต.วินิจฉัยให้นายสักพ้นจาก ส.ว.สรรหาว่า เนื่องจากการนายสักเพิ่งพ้นจากเป็น ส.ว.ยังไม่ถึง 5 ปี จึงไม่มีสิทธิเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.อีกครั้ง โดยนายสักเคยได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ว.ครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 2540 เมื่อวันที่ 4 มี.ค.2543 “ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งมีวาระ 6 ปี ซึ่งจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค.2543-21 มี.ค.2549 แต่สภาทนายความเสนอชื่อนายสักเข้ารับการสรรหา ส.ว.เมื่อวันที่ 6 มี.ค.2554 ดังนั้น คุณสมบัติของนายสักจึงพ้นจากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือพ้นจาก ส.ว.ชุดเลือกตั้งปี 2543 มายังไม่ถึง 5 ปีจนถึงวันได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา”
นายธนิศร์ ยังบอกด้วยว่า สำนักงาน กกต.มีหน้าที่ทางธุรการในการเปิดรับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา ส.ว. ส่วนการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้ารับการเสนอชื่อเป็นหน้าที่ของกรรมการสรรหา ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการคุยกันว่ากรรมการสรรหา ส.ว.จะมีความผิดหรือไม่
ขณะที่นายสัก กอแสงเรือง ส.ว.สรรหา พูดถึงคำวินิจฉัยของ กกต.ว่า ยังไม่ขอแสดงความคิดเห็น แต่มั่นใจว่าที่ผ่านมาได้ทำถูกต้อง ไม่มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติต้องห้าม พร้อมเชื่อว่าทุกอย่างจะดำเนินการไปตามกระบวนการโดยยึดข้อเท็จจริงเป็นหลัก
วันเดียวกัน(10 มี.ค.) ที่ประชุมวุฒิสภา ได้มีการพิจารณากรณีที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) จากพรรคเพื่อไทย และคณะ ยื่นคำร้องขอให้วุฒิสภามีมติให้นายภักดี โพธิศิริ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) พ้นจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 248 โดยกล่าวหาว่านายภักดีไม่มีความเที่ยงธรรมเมื่อครั้งทำหน้าที่อนุกรรมการไต่สวนกรณีทุจริตจัดซื้อคอมพิวเตอร์มูลค่า 900 ล้านบาทสมัยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ การที่วุฒิสภาจะลงมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวน ส.ว.ทั้งหมดที่มีอยู่ หรือ 112 คน สำหรับบรรยากาศการลงมติกรณีนายภักดี มี ส.ว.เข้าร่วมประชุม 142 คนจากทั้งหมด 149 คน โดยที่ประชุมเริ่มด้วยการจับสลากคัดเลือก ส.ว.10 คน เพื่อเป็นคณะกรรมการตรวจนับคะแนน จากนั้นใช้เวลาลงคะแนนกว่า 1 ชั่วโมง ผลปรากฏว่า ส.ว.ส่วนใหญ่ในที่ประชุมไม่เห็นชอบให้นายภักดีพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.ด้วยคะแนน 84 เสียง ,เห็นชอบให้นายภักดีพ้นตำแหน่ง 56 เสียง โดยมีบัตรเสีย 2 ใบ ส่วนขั้นตอนหลังจากนี้ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภาจะทำหนังสือแจ้งมติดังกล่าวให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป
5. ศาล สั่งจำคุกฝาแฝดมือชก “วรเจตน์” 3 เดือน ไม่รอลงอาญา ชี้ พฤติกรรมนักเลงอันธพาล!
ความคืบหน้ากรณีพี่น้องฝาแฝด คือ นายสุพจน์ และนายสุพัฒน์ ศิลารัตน์ อายุ 30 ปี ชาว จ.ปทุมธานี ไปดักรอและทำร้ายนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ ด้วยการชกต่อยที่ใบหน้า เนื่องจากไม่พอใจที่นายวรเจตน์เคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นบทบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นสถาบัน เหตุเกิดที่ลานจอดรถมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์เมื่อวันที่ 29 ก.พ. จากนั้นทั้งคู่ได้เข้ามอบตัวกับตำรวจ สน.ชนะสงครามในวันต่อมา(1 มี.ค.) ด้านเจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท ก่อนปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากผู้ต้องหาทั้งสองเข้ามอบตัวเอง
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 8 มี.ค.พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ได้นัดให้ผู้ต้องหาทั้งสองมาพบเพื่อนำตัวส่งฟ้องต่อศาลแขวงดุสิต ด้านศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยทั้งสองกระทำผิดตามฟ้องจริง จึงพิพากษาจำคุกจำเลยคนละ 6 เดือน แต่คำรับสารภาพของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง โดยยังคงจำคุกจำเลยไว้คนละ 3 เดือน แต่ในส่วนของนายสุพจน์ คนพี่ ให้บวกโทษคดีกระทำผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน ของศาลอาญาที่รอการลงโทษไว้ 7 เดือน รวมจำคุกนายสุพจน์ 10 เดือน อย่างไรก็ตามศาลเห็นว่า พฤติกรรมของจำเลยทั้งสองเป็นนักเลงอันธพาล ไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง พฤติการณ์ก่อคดีร้ายแรง จึงไม่รอการลงโทษ
หลังฟังคำพิพากษา ญาติของจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์โดยใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 50,000 บาท ซึ่งศาลพิจารณาแล้วอนุญาตตามที่ขอ โดยตีราคาประกันคนละ 22,000 บาท
ด้าน พ.อ.ณัฏฐ์ ศรีอินทร์ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26 ค่ายปักธงชัย จ.นครราชสีมา กล่าวถึงผลการตรวจสอบว่าผู้ต้องหาทั้งสองเคยเป็นทหารพรานมาก่อนหรือไม่ หลังจากทั้งสองใช้บัตรทหารพรานกรมทหารพรานที่ 26 ประกอบการขออนุญาตมีอาวุธปืนในครอบครอง โดยยืนยันว่า จากการตรวจสอบฝาแฝดทั้งสองคนไม่เคยเป็นทหารพรานสังกัดกรมทหารพรานที่ 26 ส่วน พ.อ.ศิริชัย สร้อยแสน ผู้ที่เป็นคนออกบัตรทหารพรานให้ฝาแฝดทั้งสองนั้น เคยเป็นนายทหารพระธรรมนูญของกรมทหารพรานที่ 26 เมื่อปี 2529-2532 และปัจจุบัน พ.อ.ศิริชัยสังกัดอยู่กองบัญชาการกองทัพไทย ซึ่งจากการพูดคุย พ.อ.ศิริชัยยืนยันว่าไม่รู้จักฝาแฝดทั้งสองดังกล่าว และจะขอหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อฟ้องกลับว่ามีการอ้างชื่อตนและใช้เอกสารปลอม จึงคาดว่าเอกสารที่ฝาแฝดทั้งสองใช้เป็นเอกสารปลอม
1. ผู้ตรวจการแผ่นดิน ชี้ “ยิ่งลักษณ์” ไม่ได้ใช้จริยธรรมอย่างรอบคอบเพียงพอในการตั้ง “นลินี-ณัฐวุฒิ” เป็น รมต. บี้ทบทวนใน 30 วัน!
เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ผู้ตรวจการแผ่นดินได้ประชุมพิจารณาข้อร้องเรียนของกลุ่มการเมืองสีเขียว หรือกลุ่มกรีน(Green Politics) ที่ขอให้สอบสวนข้อเท็จจริงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ,นายอำพล กิตติอำพล เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กระทำการไม่เป็นไปตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 ในการแต่งตั้งนางนลินี ทวีสิน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งที่นางนลินีติดแบล็กลิสต์ของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ และแต่งตั้งนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งที่เป็น 1 ในจำเลยคดีก่อการร้าย
หลังประชุม นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาส ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า แม้นางนลินีจะมีคุณสมบัติและไม่มีข้อห้ามใดใดในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี แต่เมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฏตามหนังสือของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่กำกับดูแลการประพฤติปฏิบัติตนของรัฐมนตรีให้เป็นไปตามระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ.2551 จึงควรพิจารณาด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งว่าการตั้งนางนลินีดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีอาจก่อให้เกิดความไม่เชื่อถือศรัทธาของประชาชน และอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อเกียรติภูมิของชาติหรือไม่
เช่นเดียวกับการแต่งตั้งนายณัฐวุฒิเป็นรัฐมนตรี แม้นายณัฐวุฒิจะเป็นแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) และถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญา ซึ่งคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล และยังไม่ได้มีคำพิพากษาก็ตาม แต่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่า นายกฯ ยังไม่ได้นำพฤติกรรมทางจริยธรรมของนายณัฐวุฒิมาประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนเสนอชื่อแต่งตั้ง “นายกฯ ยังไม่ได้ทำพฤติกรรมตามประมวลจริยธรรมอย่างรอบคอบและเพียงพอ ผู้ตรวจการฯ จะส่งหนังสือแจ้งไปยังนายกฯ ให้ไปดำเนินการพิจารณาเรื่องประมวลจริยธรรม แล้วให้แจ้งกลับมายังผู้ตรวจการแผ่นดินภายใน 30 วันนับแต่วันที่นายกฯ ได้รับหนังสือ”
ทั้งนี้ หากนายกฯ ยังเพิกเฉย ผู้ตรวจการแผ่นดินจะทำหนังสือเตือน แต่ถ้ายังไม่ดำเนินการอีก จะทำหนังสือรายงานต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาต่อไป อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าว ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่ายังไม่ถึงขั้นกระทำผิดร้ายแรงถึงขนาดต้องส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ดำเนินการถอดถอน
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นว่านายกฯ เสนอชื่อแต่งตั้งนางนลินีและนายณัฐวุฒิเป็นรัฐมนตรีโดยไม่ได้ทำตามประมวลจริยธรรมอย่างรอบคอบเพียงพอ ปรากฏว่า แกนนำและแนวร่วมพรรคเพื่อไทยต่างออกมาปกป้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมสวนกลับผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นการใหญ่ เช่น นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ออกมาย้ำว่า การเสนอหรือแต่งตั้งใครเป็นรัฐมนตรีเป็นหน้าที่ของนายกฯ ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่มีหน้าที่มาควบคุมดุลพินิจของนายกฯ ในการเสนอบุคคลเป็นรัฐมนตรี หน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินก็คือตรวจสอบข้าราชการประจำว่าปฏิบัติหน้าที่ชอบหรือไม่
ด้านนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ โฆษกประจำตัวนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาโต้ผู้ตรวจการแผ่นดินว่า การกล่าวหานายกฯ ว่าไม่รอบคอบในการแต่งตั้งรัฐมนตรี เป็นการไม่ให้ความเป็นธรรมต่อนายกฯ ทั้งที่ก่อนแต่งตั้งนางนลินีและนายณัฐวุฒิเป็นรัฐมนตรี นายกฯ ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลทั้งสองเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้นายสุรนันทน์ยังอ้างด้วยว่า การใช้ดุลพินิจของผู้ตรวจการแผ่นดินดังกล่าว เป็นการเปิดช่องให้ฝ่ายค้านนำความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดินมาโจมตีนายกฯ ได้
ขณะที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ก็ได้ออกมาสวนกลับผู้ตรวจการแผ่นดินเช่นกัน โดยกล่าวหาว่าผู้ตรวจการแผ่นดินมีเจตนาทำให้เรื่องการแต่งตั้งตนและนางนลินีเป็นรัฐมนตรีกลายเป็นประเด็นทางการเมือง ทั้งที่เรื่องนี้จบไปนานแล้ว แต่ผู้ตรวจการแผ่นดินพยายามไม่ให้จบ และทำให้นายกฯ ต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ต่อไปอีกอย่างน้อย 30 วัน “ท่าทีของผู้ตรวจการแผ่นดินเหมือนเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่ เพราะผู้ตรวจการฯ บางคนมีจุดยืนทางการเมืองอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ผมคงจะไม่ต่อกรอะไรด้วย แต่อยากถามว่าผู้ตรวจการฯ ได้ใช้ประมวลจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเองด้วยหรือไม่”
ด้านนางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาส ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ออกมายืนยันว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินทั้ง 3 คนได้ทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายใด ทุกขั้นตอนของการพิจารณาได้ทำด้วยความรอบคอบเป็นธรรมและมีเหตุมีผลตามข้อเท็จจริง
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้แนะให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทบทวนการแต่งตั้งนางนลินีและนายณัฐวุฒิเป็นรัฐมนตรีหลังผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่านายกฯ ยังไม่ได้ทำตามประมวลจริยธรรมอย่างรอบคอบเพียงพอ ซึ่งหากนายกฯ เพิกเฉยไม่ทำอะไร จะเป็นตัวบ่งบอกถึงมาตรฐานจริยธรรมของนายกฯ เอง จึงอยากให้นายกฯ และทุกฝ่ายในสังคมจริงจังกับการวางบรรทัดฐานด้านจริยธรรม
2. พันธมิตรฯ มีมติเดินสายเปิดโปงเผด็จการรัฐสภา ลั่น พร้อมชุมนุมใหญ่ทันทีหากมีการแก้ กม.แตะสถาบันพระมหากษัตริย์-นิรโทษฯ ทักษิณ!
หลังจากแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้จัดประชุมแกนนำ ผู้ประสานงาน และตัวแทนพันธมิตรฯ ทั่วประเทศ ที่อาคารลีลาศ สวนลุมพินี ในวันนี้(10 มี.ค.) ปรากฏว่า บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก เนื่องจากมีพี่น้องพันธมิตรฯ เดินทางมาร่วมงานจำนวนมาก
ทั้งนี้ หลังประชุม นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ ได้อ่านแถลงการณ์จุดยืนของพันธมิตรฯ ต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ สรุปความว่า พันธมิตรฯ มีมติให้มีการเดินสายจัดเสวนาพบปะพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ เพื่อเผยความจริงและให้ความรู้ประชาชนถึงความล้มเหลวของระบอบเผด็จการรัฐสภาโดยทุนสามานย์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ โดยพันธมิตรฯ จะนำเสนอแนวทางการปฏิรูปประเทศให้ประชาชนทั่วประเทศทราบ
และเพื่อให้การปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ประสบความสำเร็จ จึงมีมติให้ตั้งคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปประเทศไทย(คร.ปร.) เพื่อให้ประชาชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการรณรงค์ให้เกิดการปฏิรูปประเทศ ส่วนการชุมนุมใหญ่นั้น พันธมิตรฯ ยืนยันว่า พร้อมจะชุมนุมใหญ่ทันที หากมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือออกกฎหมายที่กระทบต่อโครงสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือออกกฎหมายเพื่อนำไปสู่การนิรโทษกรรมแก่ นช.ทักษิณ ชินวัตร และพวก นอกจากนี้ หากสถานการณ์เหมาะสมและประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ พันธมิตรฯ ก็พร้อมจะชุมนุมใหญ่เช่นกัน
ทั้งนี้ พันธมิตรฯ ย้ำว่า ทางออกของบ้านเมืองในขณะนี้คือต้องปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่เท่านั้น เพื่อให้ประเทศก้าวเข้าสู่ธรรมาธิปไตย ซึ่งจะนำมาซึ่งความสงบสุขที่ยั่งยืนในที่สุด โดยพันธมิตรฯ จะต่อสู้ยืนหยัดในอุดมการณ์ดังกล่าวอย่างถึงที่สุดต่อไป
3. ครม. ไฟเขียวเยียวยาเหยื่อชุมนุมแล้ว 2 พันล้าน 2 พันราย ตายได้ 7.5 ล้าน ด้าน ปชป. ฟ้องศาลเพิกถอนเยียวยา เหตุไม่เป็นธรรม!
เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้มีมติอนุมัติวงเงิน 2,000 ล้านบาท พร้อมหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548 ถึงเดือน พ.ค.2553 ทั้งนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เผยหลังประชุม ครม.ว่า ขั้นตอนการจ่ายเงินเยียวยาดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับคณะกรรมการติดตามประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(ปคอป.) ที่มีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ซึ่งจะแบ่งจ่ายเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเรียกว่าเป็นการเยียวยาให้ความช่วยเหลือด้านจิตใจ อีกส่วนเป็นการดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆ
น.ส.ยิ่งลักษณ์ บอกด้วยว่า ระหว่างเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องการบริหารจัดการน้ำแก่นักลงทุนญี่ปุ่น จะส่งสารแสดงความเสียใจถึงครอบครัวนายฮิโรยูกิ มูราโมโตะ ช่างภาพชาวญี่ปุ่นของสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมด้วย ส่วนกระทรวงการต่างประเทศจะประสานเรื่องการจ่ายเงินเยียวยาแก่ญาตินายมูราโมโตะ
ด้านนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเยียวยาทางแพ่งและฟื้นฟูด้วยวิธีการอื่น ปคอป. เผยว่า เงินเยียวยาที่ ครม.เห็นชอบครั้งนี้ เป็นการเยียวยาแก่ผู้เสียหายกลุ่มที่ 1 จากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ปี 2548-2553 โดยเรียกเงินที่จะจ่ายนี้ว่า “เงินช่วยเหลือเยียวยาตามหลักมนุษยธรรม” ทั้งนี้ หากเสียชีวิตจะได้รับเงิน 2 ก้อน คือ 1. เงินเยียวยาด้านจิตใจ 3 ล้านบาท ซึ่งสามารถจ่ายได้ทันทีในทุกกรณี และเป็นการจ่ายครั้งเดียว 2.เงินช่วยเหลือเยียวยาตามหลักมนุษยธรรม 4.5 ล้านบาท อาจจะจ่ายเป็นพันธบัตรหรือสลากออมสิน เพื่อให้ยั่งยืนในการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ โดยผู้เสียหายสามารถยื่นเรื่องขอรับสิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค.เป็นต้นไป ที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี ส่วนผู้ที่อยู่ต่างจังหวัด ยื่นเรื่องได้ที่บ้านพักเด็กและครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในทุกจังหวัดตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค.เป็นต้นไป ซึ่งคณะทำงานจะพิจารณาว่าเข้าเกณฑ์หรือไม่ต่อไป
นายธงทอง บอกด้วยว่า “เบื้องต้นกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงสาธารณสุขได้รวบรวมตัวเลขผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในเหตุการณ์ระหว่างปี 2548-2553 มีผู้อยู่ในข่ายได้รับการเยียวยา 1,900-2,000 คน เป็นผู้เสียชีวิตประมาณ 100 คน ซึ่ง ครม.ได้อนุมัติวงเงินประมาณ 2,000 ล้านบาทในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบกลุ่มนี้”
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากเปิดรับลงทะเบียนผู้ขอรับเงินเยียวยาที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปรากฏว่า บรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก มีผู้เข้ายื่นเอกสารเพื่อขอรับเงินเยียวยาจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งในส่วนของญาติ พล.ต.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง ปรากฏว่า นอกจากจะมี น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล หรือ เดียร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย บุตรสาว เสธ.แดง มาลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินเยียวยาแล้ว ยังมี น.ส.ลัดดาวัลย์ พลฤทธิ์ ภรรยานอกสมรสของ เสธ.แดง และ ด.ช.นักรบ สวัสดิผล (แดงน้อย) ลูกชาย มาลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินเยียวยาด้วยเช่นกัน ซึ่ง น.ส.ขัตติยา บอกว่า เป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่ว่าจะพิจารณาสิทธิการให้เงินเยียวยาแก่บุคคลใด เพราะหลังจากพ่อเสียก็ไม่เคยติดต่อกันเลย
ด้านพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) โดยนายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง ได้นำผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อเดือน พ.ค.2535 และญาติผู้เสียชีวิตจากปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางชัน เมื่อปี 2546 เข้าร้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนมติ ครม.เมื่อวันที่ 6 มี.ค.2555 ที่อนุมัติงบประมาณเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองระหว่างปี 2548-2553 พร้อมขอให้ศาลสั่งให้ ครม.กำหนดกฎเกณฑ์การเยียวยาให้ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงครั้งต่างๆ อย่างเป็นธรรม
ขณะที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย รีบออกมาตำหนิพรรคประชาธิปัตย์ที่ยื่นศาลปกครองว่า สะท้อนถึงความใจแคบของพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมถามกลับพรรคประชาธิปัตย์ว่า ไม่ต้องการให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์ในชาติใช่หรือไม่ จึงได้ออกมาเตะตัดขาเช่นนี้ ควรเลิกเล่นเกมการเมืองเสียที พร้อมย้ำว่า การจ่ายเงินเยียวยาถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความปรองดอง
4. กกต. มีมติเพิกถอน “สัก” พ้น ส.ว.สรรหา เตรียมส่งศาลฎีกาฯ ชี้ขาด ด้าน “ภักดี” เฮ ที่ประชุมวุฒิฯ ไม่ถอดถอนพ้น ป.ป.ช.!
เมื่อวันที่ 10 มี.ค. คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้ประชุมพิจารณาคำร้องของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้ที่เคยสมัครเข้ารับการสรรหา ส.ว. ที่ร้องคัดค้านว่านายสัก กอแสงเรือง ที่ได้รับเลือกเป็น ส.ว.สรรหา มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 115(9) เนื่องจากนายสักพ้นจากตำแหน่งทางการเมืองยังไม่ถึง 5 ปีจนถึงวันที่ได้รับการเสนอชื่อ
ทั้งนี้ กกต.มีมติเอกฉันท์ 4 เสียง(นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธาน กกต.ไม่ได้เข้าร่วมประชุม เนื่องจากมีส่วนได้ส่วนเสีย เพราะเป็นกรรมการสรรหา ส.ว.) ให้เพิกถอนสิทธิการสรรหาของนายสักที่ถูกเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา ส.ว.โดยสภาทนายความ ซึ่งจะส่งผลให้นายสักพ้นจากการเป็น ส.ว.สรรหา อย่างไรก็ตาม กกต.ต้องส่งคำวินิจฉัยดังกล่าวให้ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งชี้ขาดอีกครั้ง โดย กกต.จะเสนอให้ศาลฯ เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งนายสักเป็นเวลา 5 ปี หากศาลฯ รับคำร้องของ กกต.เมื่อใด จะส่งผลให้นายสักต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ว.จนกว่าศาลฯ จะมีคำพิพากษา
ด้านนายธนิศร์ ศรีประเทศ รองเลขาธิการ กกต. เผยเหตุที่ กกต.วินิจฉัยให้นายสักพ้นจาก ส.ว.สรรหาว่า เนื่องจากการนายสักเพิ่งพ้นจากเป็น ส.ว.ยังไม่ถึง 5 ปี จึงไม่มีสิทธิเข้ารับการสรรหาเป็น ส.ว.อีกครั้ง โดยนายสักเคยได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ว.ครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 2540 เมื่อวันที่ 4 มี.ค.2543 “ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งมีวาระ 6 ปี ซึ่งจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค.2543-21 มี.ค.2549 แต่สภาทนายความเสนอชื่อนายสักเข้ารับการสรรหา ส.ว.เมื่อวันที่ 6 มี.ค.2554 ดังนั้น คุณสมบัติของนายสักจึงพ้นจากผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือพ้นจาก ส.ว.ชุดเลือกตั้งปี 2543 มายังไม่ถึง 5 ปีจนถึงวันได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา”
นายธนิศร์ ยังบอกด้วยว่า สำนักงาน กกต.มีหน้าที่ทางธุรการในการเปิดรับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหา ส.ว. ส่วนการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้ารับการเสนอชื่อเป็นหน้าที่ของกรรมการสรรหา ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการคุยกันว่ากรรมการสรรหา ส.ว.จะมีความผิดหรือไม่
ขณะที่นายสัก กอแสงเรือง ส.ว.สรรหา พูดถึงคำวินิจฉัยของ กกต.ว่า ยังไม่ขอแสดงความคิดเห็น แต่มั่นใจว่าที่ผ่านมาได้ทำถูกต้อง ไม่มีปัญหาเรื่องคุณสมบัติต้องห้าม พร้อมเชื่อว่าทุกอย่างจะดำเนินการไปตามกระบวนการโดยยึดข้อเท็จจริงเป็นหลัก
วันเดียวกัน(10 มี.ค.) ที่ประชุมวุฒิสภา ได้มีการพิจารณากรณีที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) จากพรรคเพื่อไทย และคณะ ยื่นคำร้องขอให้วุฒิสภามีมติให้นายภักดี โพธิศิริ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) พ้นจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 248 โดยกล่าวหาว่านายภักดีไม่มีความเที่ยงธรรมเมื่อครั้งทำหน้าที่อนุกรรมการไต่สวนกรณีทุจริตจัดซื้อคอมพิวเตอร์มูลค่า 900 ล้านบาทสมัยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ การที่วุฒิสภาจะลงมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวน ส.ว.ทั้งหมดที่มีอยู่ หรือ 112 คน สำหรับบรรยากาศการลงมติกรณีนายภักดี มี ส.ว.เข้าร่วมประชุม 142 คนจากทั้งหมด 149 คน โดยที่ประชุมเริ่มด้วยการจับสลากคัดเลือก ส.ว.10 คน เพื่อเป็นคณะกรรมการตรวจนับคะแนน จากนั้นใช้เวลาลงคะแนนกว่า 1 ชั่วโมง ผลปรากฏว่า ส.ว.ส่วนใหญ่ในที่ประชุมไม่เห็นชอบให้นายภักดีพ้นจากตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.ด้วยคะแนน 84 เสียง ,เห็นชอบให้นายภักดีพ้นตำแหน่ง 56 เสียง โดยมีบัตรเสีย 2 ใบ ส่วนขั้นตอนหลังจากนี้ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภาจะทำหนังสือแจ้งมติดังกล่าวให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบต่อไป
5. ศาล สั่งจำคุกฝาแฝดมือชก “วรเจตน์” 3 เดือน ไม่รอลงอาญา ชี้ พฤติกรรมนักเลงอันธพาล!
ความคืบหน้ากรณีพี่น้องฝาแฝด คือ นายสุพจน์ และนายสุพัฒน์ ศิลารัตน์ อายุ 30 ปี ชาว จ.ปทุมธานี ไปดักรอและทำร้ายนายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และแกนนำกลุ่มนิติราษฎร์ ด้วยการชกต่อยที่ใบหน้า เนื่องจากไม่พอใจที่นายวรเจตน์เคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นบทบัญญัติความผิดเกี่ยวกับการหมิ่นสถาบัน เหตุเกิดที่ลานจอดรถมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์เมื่อวันที่ 29 ก.พ. จากนั้นทั้งคู่ได้เข้ามอบตัวกับตำรวจ สน.ชนะสงครามในวันต่อมา(1 มี.ค.) ด้านเจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อหาร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6,000 บาท ก่อนปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากผู้ต้องหาทั้งสองเข้ามอบตัวเอง
ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 8 มี.ค.พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ได้นัดให้ผู้ต้องหาทั้งสองมาพบเพื่อนำตัวส่งฟ้องต่อศาลแขวงดุสิต ด้านศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยทั้งสองกระทำผิดตามฟ้องจริง จึงพิพากษาจำคุกจำเลยคนละ 6 เดือน แต่คำรับสารภาพของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดี จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง โดยยังคงจำคุกจำเลยไว้คนละ 3 เดือน แต่ในส่วนของนายสุพจน์ คนพี่ ให้บวกโทษคดีกระทำผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน ของศาลอาญาที่รอการลงโทษไว้ 7 เดือน รวมจำคุกนายสุพจน์ 10 เดือน อย่างไรก็ตามศาลเห็นว่า พฤติกรรมของจำเลยทั้งสองเป็นนักเลงอันธพาล ไม่เคารพกฎหมายบ้านเมือง พฤติการณ์ก่อคดีร้ายแรง จึงไม่รอการลงโทษ
หลังฟังคำพิพากษา ญาติของจำเลยทั้งสองได้ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างอุทธรณ์โดยใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสดคนละ 50,000 บาท ซึ่งศาลพิจารณาแล้วอนุญาตตามที่ขอ โดยตีราคาประกันคนละ 22,000 บาท
ด้าน พ.อ.ณัฏฐ์ ศรีอินทร์ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26 ค่ายปักธงชัย จ.นครราชสีมา กล่าวถึงผลการตรวจสอบว่าผู้ต้องหาทั้งสองเคยเป็นทหารพรานมาก่อนหรือไม่ หลังจากทั้งสองใช้บัตรทหารพรานกรมทหารพรานที่ 26 ประกอบการขออนุญาตมีอาวุธปืนในครอบครอง โดยยืนยันว่า จากการตรวจสอบฝาแฝดทั้งสองคนไม่เคยเป็นทหารพรานสังกัดกรมทหารพรานที่ 26 ส่วน พ.อ.ศิริชัย สร้อยแสน ผู้ที่เป็นคนออกบัตรทหารพรานให้ฝาแฝดทั้งสองนั้น เคยเป็นนายทหารพระธรรมนูญของกรมทหารพรานที่ 26 เมื่อปี 2529-2532 และปัจจุบัน พ.อ.ศิริชัยสังกัดอยู่กองบัญชาการกองทัพไทย ซึ่งจากการพูดคุย พ.อ.ศิริชัยยืนยันว่าไม่รู้จักฝาแฝดทั้งสองดังกล่าว และจะขอหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อฟ้องกลับว่ามีการอ้างชื่อตนและใช้เอกสารปลอม จึงคาดว่าเอกสารที่ฝาแฝดทั้งสองใช้เป็นเอกสารปลอม