คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1. พันธมิตรฯ แถลงค้านแก้ รธน. ชี้ แค่นิติกรรมอำพรางเพื่อล้มล้าง รธน.2550 – นัดประชุม 10 มี.ค.เตรียมพร้อมชุมนุมต้าน ด้าน ตร.รีบประเคนข้อหาเพิ่ม!
เมื่อวันที่ 22 ก.พ. แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ประชุมเพื่อกำหนดท่าทีต่อกรณีที่รัฐสภาเตรียมประชุมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในวันที่ 23 ก.พ. ที่มีการบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับเข้าที่ประชุม คือฉบับของรัฐบาล ,ฉบับของพรรคเพื่อไทย และฉบับของพรรคชาติไทยพัฒนา
หลังประชุม นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ ได้อ่านแถลงการณ์เรื่อง “หยุดนิติกรรมอำพรางล้มล้างรัฐธรรมนูญยึดอำนาจประเทศไทย” มีเนื้อหาโดยสรุปคือ พันธมิตรฯ เห็นว่าการที่รัฐบาลเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เข้าสภา เป็นเพียงนิติกรรมอำพราง โดยวางคุณสมบัติของ ส.ส.ร.ไว้เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และนำไปสู่การจัดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อล้างความผิดในอดีตของพรรคการเมืองและพวกพ้อง รวมทั้งกระชับอำนาจให้ตัวเองและพวกพ้องอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากยิ่งขึ้น จึงเข้าข่ายการรัฐประหารและยึดอำนาจประเทศโดยใช้รัฐธรรมนูญให้ตกอยู่ภายใต้เงื้อมมือของเผด็จการรัฐสภา โดยกลุ่มทุนสามานย์ผูกขาดของพรรคการเมือง
ดังนั้นความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จึงเป็นความเหิมเกริม ลุแก่อำนาจของฝ่ายเผด็จการรัฐสภา โดยทุนสามานย์แห่งระบอบทักษิณที่คิดจะล้มล้างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพื่อประโยชน์สุขของนักการเมือง ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน และยังเป็นการสร้างความแตกแยกให้คนในชาติ ทั้งๆ ที่ประชาชนกำลังเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสทั้งจากปัญหาสินค้าราคาแพง ราคาน้ำมันสูงขึ้นจากการผูกขาดและหาผลประโยชน์จาก ปตท. ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้ พันธมิตรฯ จึงมีมติที่จะดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และถอดถอนหรือยุบพรรคผู้ที่เกี่ยวข้องกับการล้มล้างรัฐธรรมนูญ เพราะถือว่าเป็นการการกระทำเพื่อให้ได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งยังเป็นการกระทำที่ส่อให้เห็นว่า เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ,122 ,136(16) ,291 ,270 และขัดต่อบริบทของรัฐธรรมนูญ 2550
นอกจากนี้แกนนำพันธมิตรฯ ยังได้นัดประชุมผู้ประสานงานและตัวแทนพันธมิตรฯ ในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศทุกกลุ่มในวันที่ 10 มี.ค.นี้ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือและลุกขึ้นต่อต้านการล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รวมทั้งเตรียมพร้อมเคลื่อนมวลชนเพื่อชุมนุมทันทีหากพบการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ หรือมีการลบล้างความผิดให้กับนักการเมืองและพวกพ้องในอดีต
ทั้งนี้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ บอกว่า “นี่คืออีกบริบทหนึ่งของความล้มเหลวของการเมืองไทยที่บริหารโดยนักการเมือง กล้าพูดได้ว่านักการเมืองส่วนใหญ่เป็นคนที่บัดซบ ขอย้ำส่วนใหญ่เป็นคนที่บัดซบ ไม่ได้รักชาติรักประชาชนเลยแม้แต่นิดเดียว เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นแล้วการที่จะตั้ง ส.ส.ร.ครั้งนี้เป็นการพิสูจน์ชัดเจนว่า ทุกอย่างทำเพื่อพวกเขา ทำเพื่อหัวหน้าพวกเขา ทำเพื่อเจ้าของพรรค...”
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังแกนนำพันธมิตรฯ แถลงคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมเตรียมประชุมเพื่อกำหนดการเคลื่อนไหว ปรากฏว่า 2 วันให้หลัง(24 ก.พ.) ตำรวจยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็เตรียมเพิ่มข้อหาให้พันธมิตรฯ ทันทีในคดีชุมนุมที่สนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ โดย พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ที่ปรึกษา (สบ 10) ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีนี้ ออกมาเผยว่า พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนส่งอัยการไปแล้ว แต่เมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้รับการประสานจากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 9 สั่งให้สอบสวนและแจ้งข้อหาเพิ่มแก่ผู้ต้องหา 46 คน โดยให้ส่งหนังสือแจ้งผู้ต้องหาทั้งหมดมารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 2 มี.ค.นี้ ที่กองปราบปราม
พล.ต.อ.สมยศ ยังบอกด้วยว่า ผู้ต้องหาทั้ง 46 คน จะถูกแจ้งข้อหาเพิ่มแตกต่างกันตามพฤติการณ์ และมี 1 คนที่จะถูกแจ้งข้อหาก่อการร้ายเพิ่ม แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้ และว่า หากผู้ต้องหารายใดไม่มาตามนัด จะออกหมายเรียกครั้งที่ 2 หากยังไม่มาอีก จะขออนุมัติศาลเพื่อออกหมายจับตามขั้นตอนทันที
ด้านนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล พูดถึงกรณีที่ตำรวจแจ้งข้อหาเพิ่มให้พันธมิตรฯ ทั้ง 46 คนว่า เป็นการสร้างอำนาจต่อรอง เพื่อให้อัยการใช้อ้างเหตุในการยกเลิกข้อหาก่อการร้ายให้กลุ่มเสื้อแดง และหวังผลให้พันธมิตรฯ ไม่คัดค้านการล้มล้างรัฐธรรมนูญและนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งยืนยันว่า ไม่ว่าจะเพิ่มข้อหาอย่างไร พันธมิตรฯ ก็จะไม่เปลี่ยนจุดยืน โดยจะค้านการนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณอย่างถึงที่สุด เพราะมั่นใจว่าตัวเองบริสุทธิ์ ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย โดยพร้อมจะพิสูจน์ตัวเองในกระบวนการยุติธรรมของศาล และจะดำเนินคดีกลับเจ้าหน้าที่รัฐที่กลั่นแกล้งยัดเยียดข้อหาอันเป็นเท็จให้พันธมิตรฯ อย่างถึงที่สุดเช่นกัน
ทั้งนี้ นอกจากกลุ่มพันธมิตรฯ จะแถลงคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ในส่วนของสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) จำนวน 50 คน เช่น นายสุรจิต ชิรเวทย์ ส.ว.สมุทรสงคราม ,พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ,นายคำนูณ สิทธิสมาน ฯลฯ ก็ได้แถลงคัดค้านการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล-พรรคเพื่อไทย และพรรคชาติไทยพัฒนาเช่นกัน โดยชี้ว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ ไม่ได้ขอแก้ไขแค่มาตรา 291 มาตราเดียวตามที่รัฐบาลอ้าง แต่เป็นการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 โดยเพิ่มหมวดใหม่ คือ หมวดที่ 16 ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลจึงเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วตั้ง ส.ส.ร.เป็นภาพลวงตา เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยตีกรอบหลักการและเหตุผลเพื่อนำไปสู่การล้างบางองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ,คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนอำนาจองค์กรตุลาการ
2. รัฐสภาเสียงข้างมาก รับหลักการร่างแก้ไข รธน.ทั้ง 3 ฉบับแล้ว ด้าน “เฉลิม” ทำฉาว เมาป่วนสภา!
แม้จะมีเสียงคัดค้านจากหลายฝ่ายในสังคม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มเสื้อหลากสี หรือแม้แต่ 50 ส.ว.ที่ออกมาแถลงคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลและนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ก็ไม่สน โดยเดินหน้าประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่เมื่อวันที่ 23-24 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ คือร่างของพรรคเพื่อไทย ,ร่างของรัฐบาลหรือ ครม. และร่างของพรรคชาติไทยพัฒนา ขณะที่ร่างของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ยังตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อไม่เสร็จ คาดว่าต้องใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 2-3 เดือน แม้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน จะยื่นหนังสือให้ประธานรัฐสภาชะลอการประชุมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปก่อน เพื่อรอให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของภาคประชาชนเข้าสู่การพิจารณาไปพร้อมกันด้วย แต่ก็ไม่เป็นผล
สำหรับบรรยากาศการอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวันแรก(23 ก.พ.) ที่น่าสนใจ ได้แก่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายชี้ว่า การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้มีวาระซ่อนเร้นและอาจนำประเทศไปสู่ความขัดแย้งแตกแยกอีกครั้ง เพราะ ส.ส.พรรคเพื่อไทยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า หลังผ่านร่างรัฐธรรมนูญแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย ขณะที่อดีตนายกฯ จะกลับประเทศอย่างสง่างาม และว่า การให้อำนาจ ส.ส.ร.ทำอะไรก็ได้ เท่ากับเป็นการเซ็นเช็คเปล่าให้ ส.ส.ร. หรือถ้า ส.ส.ร.ไปแก้รัฐธรรมนูญกระทบสถาบัน รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงโดยยอมรับว่า ตนเป็นคนพูดเองว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะกลับบ้าน แต่ต้องผ่านร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเพื่อให้บ้านเมืองสงบก่อน และว่า พรรคประชาธิปัตย์อย่าตกใจเกินเหตุ เพราะพรรคเพื่อไทยรณรงค์มาตั้งแต่ปี 2552 แล้วว่า ไม่เอารัฐธรรมนูญที่มาจากกากเดนเผด็จการ จึงได้หาเสียงว่าเลือกให้ชัด เลือกให้ขาด เพราะพรรคจะแก้รัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการ “แล้วรู้ได้อย่างไรว่า ส.ส.ร.ที่จะเลือกมาครั้งนี้มาจากไหน เป็นเทวดาหรือ อย่าสร้างความปั่นป่วนเลย จะมาวิตกทุกข์ร้อนอะไรว่าแก้ไขแล้วใครจะกลับมา เพราะสุดท้ายต้องถามความเห็นประชาชนและรัฐสภา และรัฐธรรมนูญจะไปลบล้างความผิดใครได้”
ทั้งนี้ บรรยากาศภายนอกรัฐสภา ได้มีมวลชนมาชุมนุม 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มเสื้อแดงที่มาสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะที่อีกกลุ่มคือ เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่นอกจากมายื่นหนังสือพร้อมรายชื่อประชาชน 30,000 ชื่อ ต่อนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ คนที่ 1 เพื่อคัดค้านข้อเสนอของคณะนิติราษร์ที่ให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แล้ว ยังได้ยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา เพื่อคัดค้านการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ด้วย
สำหรับบรรยากาศการอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวันที่สอง(24 ก.พ.) นอกจาก ส.ส.พรรคเพื่อไทย(นายวัฒนา เมืองสุข) จะส่งสัญญาณว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญควรมีการปฏิรูปศาล เช่น ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อให้เป็นองค์กรที่สามารถตรวจสอบได้แล้ว ปรากฏว่า ยังมีการปะทะคารมกันหลายรอบระหว่างแกนนำพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ เช่น กรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ อภิปรายตอนหนึ่งโดยด่าว่ามีพรรคการเมืองหนึ่งเป็นพรรคอุบาทว์พยายามขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเคยขัดขวางไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลงสมัคร ส.ส.ร.ที่เชียงใหม่ เพื่อไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญ 2540
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาสวนกลับ ร.ต.อ.เฉลิมว่า ไม่ทราบว่า พรรคอุบาทว์ดังกล่าวเป็นพรรคที่ ร.ต.อ.เฉลิมสังกัดอยู่ตอนนั้นหรือไม่
เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่เพียง ร.ต.อ.เฉลิมจะปะทะคารมกับแกนนำพรรคประชาธิปัตย์กลางสภา แต่การอภิปรายช่วงกลางคืน เวลาประมาณ 21.30น.ของวันที่ 24 ก.พ. ระหว่างที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กำลังอภิปรายว่า การผ่านร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ จะสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดความขัดแย้งแตกแยก ปรากฏว่า ร.ต.อ.เฉลิมได้ลุกขึ้นประท้วงว่านายอภิสิทธิ์พูดนอกประเด็น แม้ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุมในขณะนั้นจะยืนยันว่านายอภิสิทธิ์อภิปรายอยู่ในประเด็น แต่ ร.ต.อ.เฉลิมก็ยังคงประท้วงไม่เลิก จากนั้นมีเสียง ส.ส.หญิงตะโกนขึ้นมาว่า “เมาหรือเปล่า กลิ่นแอลกอฮอล์คลุ้งเลย”
ด้านนายอภิสิทธิ์ ได้บอกให้ ร.ต.อ.เฉลิมนั่งสงบสติอารมณ์ก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยตอบคำถามตนในภายหลัง ขณะที่ น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประท้วงประธานที่ประชุมว่า อย่าให้คนเมาเข้ามา ต้องเอาไปตรวจแอลกอฮอล์ สภาจะป่วนเพราะเอาคนเมาเข้ามาอาละวาด ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิมยังคงยืนประท้วงด้วยใบหน้าแดงก่ำคล้ายคนเมา ด้านนายอภิสิทธิ์ได้ภิปรายต่อไป แต่เหตุการณ์ยังคงวุ่นวาย พล.อ.ธีรเดช จึงสั่งพักการประชุม
อย่างไรก็ตาม ทันทีที่พักการประชุม ร.ต.อ.เฉลิมได้เดินปรี่มาที่โซนที่นั่งของพรรคฝ่ายค้าน พร้อมชี้นิ้วตะโกนเรียกชื่อ น.ส.รังสิมา อยู่ 2-3 ครั้ง ทำให้ น.ส.รังสิมาเดินเข้ามาหา ร.ต.อ.เฉลิม ร้อนถึง ส.ส.ของทั้ง 2 พรรคต่างกรูกันเข้ามากัน ร.ต.อ.เฉลิมและ น.ส.รังสิมาไว้ ระหว่างนั้น ร.ต.อ.เฉลิมได้พูดขึ้นมา “คุณรังสิมา คุณพูดอย่างนี้ไม่ถูก พูดไม่ได้ ผมไม่ได้เมาเหล้า แต่เมารัก คุณเข้าใจผิด” จากนั้น ร.ต.อ.เฉลิมก็หันหลังเดินยิ้มกลับไปฟากพรรคเพื่อไทย
ทั้งนี้ หลังการอภิปรายดำเนินต่อจนแล้วเสร็จ ได้มีการลงมติว่าจะรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับหรือไม่ ซึ่งผลปรากฏว่า ที่ประชุมเสียงข้างมากลงมติรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับด้วยคะแนน 399 ต่อ 199 เสียง งดออกเสียง 14 เสียง โดยยึดร่างของรัฐบาลเป็นหลัก จากนั้นได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 จำนวน 45 คน แบ่งเป็นพรรคเพื่อไทย 19 คน ,ประชาธิปัตย์ 11 คน ,ภูมิใจไทย 2 คน ,ชาติไทยพัฒนา 1 คน ,ชาติพัฒนา 1 คน , พลังชล 1 คน และวุฒิสภา 10 คน โดยกำหนดแปรญัตติใน 30 วัน
3. ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้าน -พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านไม่ขัด รธน. ด้าน “พท.” รีบเรียกหาความรับผิดชอบจาก “ปชป.”!
เมื่อวันที่ 22 ก.พ. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดประชุมและวินิจฉัยกรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา ส่งคำร้องของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และ 68 ส.ว.ที่ขอให้ศาลพิจารณาว่า พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 หรือ พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงิน 1.14 ล้านล้านบาท เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคหนึ่งและวรรคสองหรือไม่
ซึ่งมาตราดังกล่าวระบุว่า ครม.จะตรา พ.ร.ก.ได้ในกรณีฉุกเฉินมีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เท่านั้น
ทั้งนี้ หลังคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาประชุมและลงมติในช่วงเช้าแล้ว ในช่วงบ่าย 14.00น.ได้มีการอ่านคำวินิจฉัย พ.ร.ก.กู้เงินทั้ง 2 ฉบับ เริ่มด้วย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ส่วน พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาทนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 7 ต่อ 2 เสียงว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคหนึ่งและวรรคสองเช่นกัน โดยเห็นว่า การออก พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับเป็นไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากวิกฤตการณ์อุทกภัย ซึ่งต้องใช้มาตรการป้องกันและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ประกอบกับในชั้นนี้ยังไม่มีกรณีที่ชี้ให้เห็นว่า ครม.ตรา พ.ร.ก.ขึ้นมาโดยไม่สุจริต หรือใช้ดุลพินิจบิดเบือนหลักการรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ตุลาการฯ เสียงข้างน้อย 2 เสียงที่เห็นว่า พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 คือ นายชัช ชลวร และนายจรัญ ภักดีธนากุล โดยเห็นว่า พ.ร.ก.ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน สามารถออกเป็นร่าง พ.ร.บ.ให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมพิจารณาอภิปรายในรายละเอียดเนื้อหาได้ อีกทั้ง พ.ร.ก.ดังกล่าวถูกตราขึ้นในขณะที่รัฐบาลยังไม่มีแผนงานที่ชัดเจนด้วย
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หลังทราบว่า 2 พ.ร.ก.กู้เงินไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ก็ได้ออกมาขอบคุณศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยโดยเข้าใจความจำเป็นของรัฐบาลในการฟื้นฟูและแก้ไขมหาอุทกภัย และว่า หลังจากนี้กระบวนการอยู่ที่ประธานรัฐสภาจะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ส่วนรัฐบาลจะเร่งแก้ปัญหาอุทกภัยอย่างเร่งด่วน
ขณะที่นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เผยว่า ขั้นตอนต่อไป ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญแจ้งกลับมายังสภา จึงจะบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมได้ หลังจากนั้นจะอภิปรายกันตามปกติ ก่อนลงมติว่าจะเห็นชอบ 2 พ.ร.ก.กู้เงินดังกล่าวหรือไม่
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ บอกว่า ต้องเคารพคำวินิจฉัยของศาล แต่ก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะต้องตรวจสอบต่อไปในเรื่องการดำเนินการตาม พ.ร.ก.ให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะเมื่อศาลได้ให้น้ำหนักว่าเรื่องน้ำท่วมมีความจำเป็นเร่งด่วน รัฐบาลก็ต้องโปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการทำงาน
ทั้งนี้ หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า 2 พ.ร.ก.กู้เงินไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ปรากฏว่า ทางกระทรวงการคลัง ก็เตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) สัปดาห์หน้า เพื่อเบิกใช้เงินกู้ 3.5 แสนล้านแล้ว โดยนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง บอกว่า น่าจะมีโครงการที่ชัดเจนออกมาหลังจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ครม.ได้ลงตรวจสอบพื้นที่ ซึ่งหากโครงการใดมีความพร้อมและผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.)แล้ว ก็จะยื่นเสนอเบิกจ่ายเงินมา โดยกระทรวงการคลังจะกู้เงินระยะสั้นๆ จากธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก เมื่อได้จำนวนมากพอ จึงจะออกเป็นพันธบัตรระยะยาวมาทดแทน โดยจะใช้เงินกู้ภายในประเทศเป็นหลัก
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เตรียมเก็บค่าธรรมเนียมจากธนาคารพาณิชย์เพื่อนำไปใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ แทนกระทรวงการคลังแล้ว โดยนายชาญชัย บุญญฤทธิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายช่วยงานบริหาร ธปท. เผยว่า ขั้นตอนหลังจากนี้ ธปท.ต้องเตรียมออกประกาศเก็บเงินนำส่งจากธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการ โดยวงเงินนำส่ง 0.46% จะนับจากฐานเงินฝากรวมกับตั๋วแลกเงิน(บี/อี) และหุ้นกู้ แต่ไม่รวมหุ้นกู้ด้อยสิทธิ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ แทนกระทรวงการคลังงวดปี 2556 ในช่วงเดือน ก.ค.2555
เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่า 2 พ.ร.ก.กู้เงินขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ หลายฝ่าย รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ที่เป็นผู้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 2 พ.ร.ก. ได้เรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือยุบสภา หากศาลวินิจฉัยว่า 2 พ.ร.ก.ขัดรัฐธรรมนูญ แต่แกนนำพรรคเพื่อไทยต่างประสานเสียงว่า รัฐบาลไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบใดใด เพราะถ้า พ.ร.ก.ขัดรัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็สามารถออก พ.ร.บ.ทดแทนได้ อย่างไรก็ตามเมื่อศาลวินิจฉัยว่า 2 พ.ร.ก.ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ปรากฏว่า พรรคเพื่อไทย(พท.) โดยนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค รีบเปิดแถลงเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความรับผิดชอบด้วยการออกมาขอโทษประชาชนทันที
4. ปชป.พบพิรุธ”ยิ่งลักษณ์”ส่อทุจริตเชิงนโยบายปม ว.5 โฟร์ซีซั่นส์ ด้านเจ้าตัวรีบปัด พร้อมให้ฝ่าย กม.เพื่อไทยแจ้งความ!
ความคืบหน้ากรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถูกหลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยกรณีนำเวลาที่ควรอยู่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ไปปฏิบัติภารกิจส่วนตัว หรือที่เรียกว่า ว.5 ที่ชั้น 7 โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ ซึ่งภายหลังทราบว่า เป็นการไปพบหารือกับกลุ่มนักธุรกิจ โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) รวมอยู่ด้วย จึงเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ตามมา ทั้งในแง่ความเหมาะสม และผลประโยชน์ทับซ้อนในเชิงธุรกิจ กระทั่งกลุ่มกรีน(Green Politics) ได้ไปยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีหนังสือให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ชี้แจงปม ว.5 โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ภายใน 30 วันแล้วนั้น
ปรากฎว่า เมื่อวันที่ 21 ก.พ. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ออกมายืนยันสั้นๆ ก่อนเดินทางไปเยือนประเทศมาเลเซียว่า การไปพูดคุยกับกลุ่มนักธุรกิจที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ไม่มีเรื่องส่วนตัวหรือผลประโยชน์ทับซ้อน ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกมาช่วยยืนยันว่า ตนอยู่กับนายกฯ ด้วยระหว่างหารือกับกลุ่มนักธุรกิจ พร้อมอ้างว่า เหตุผลที่นักธุรกิจเหล่านั้นไม่ขอพบนายกฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล อาจเป็นเพราะกลัวถูกมองว่ามาเอาใจช่วยรัฐบาล จึงไม่อยากเปิดเผยตัวเอง นายกิตติรัตน์ ยังยอมรับด้วยว่า ตนสนิทสนมกับนายเศรษฐา ทวีสิน ที่เข้าหารือกับนายกฯ “ยืนยันอีกครั้ง เศรษฐา เป็นคนดี บางคนบอกว่าผมสนิทกับเศรษฐา ใช่ ผมสนิทจริง ใครที่ตั้งข้อสังเกตอย่าไปอคติอะไรเลย บางคนอาจจะถามว่า ทำไมนายกฯ ไม่ชี้แจง ก็อย่างที่เคยเห็น นายกฯ ไม่ค่อยโต้เถียงกับใคร”
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) แถลงว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์อาจมีการทุจริตเชิงนโยบายและมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการหารือกับนักธุรกิจที่ชั้น 7 โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ เพราะรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน แจ้งว่า ว.5 เป็นการนัดหมายกลุ่มนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีนายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานและกรรมการผู้จัดการบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน) ร่วมรับทราบด้วย นอกจากนี้ยังมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รวมถึงบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นลูกน้องเก่าของ น.ส.ยิ่งลักษณ์เอง โดย 1 ในหัวข้อที่พูดคุยกันก็คือ การประเมินราคาที่ดินใหม่ในปี 2555 และการประกาศผังเมืองใหม่ “นี่คือใบเสร็จชั้นดี ทุกอย่างเข้ารูปเข้ารอยหมดแล้ว นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 6-7 คน ที่ไปพบนายกฯ อ้างว่าคุยเรื่องส่วนตัว กลับเป็นการคุยเรื่องการประเมินราคาที่ดิน นี่คือใบเสร็จทุจริตเชิงนโยบายและประโยชน์ทับซ้อนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์”
นายชวนนท์ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องประหลาด เพราะเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2554 อธิบดีกรมธนารักษ์ยืนยันต้องการให้ประกวดราคาประเมินที่ดินใหม่ในปี 2555 เพราะที่ดินจะมีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากนั้นวันที่ 31 ธ.ค.2554 มีข่าวออกมาว่า กรมธนารักษ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยบอกให้เลื่อนประกาศราคาประเมินที่ดินออกไปอีก 6 เดือน ด้านกรมธนารักษ์ชี้แจงว่า รัฐบาลเสียโอกาสในการเก็บค่าธรรมเนียมตามราคาประเมินใหม่จำนวน 6,000 ล้านบาท ถามว่ามีเหตุผลอะไรที่ทำให้เลื่อนการประเมินราคาออกไป และล่าสุด วันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ผังเมืองรวมใหม่ 12 แห่ง ซึ่งมี กทม.รวมอยู่ด้วย ออกไปจากเดิมที่จะบังคับใช้ในวันที่ 15 พ.ค.2555 เลื่อนไปเป็นวันที่ 15 พ.ค.2556 ถามว่านายกฯ ไปบอกข้อมูลที่ดินทำฟลัดเวย์หรือแก้มลิงหรือไม่ หรือมีการต่อรองขอเลื่อนการประเมินราคาที่ดินใหม่หรือไม่ ถ้าเอกชนรู้ข้อมูลก่อน จะไปซื้อที่ดินดักหน้า โดยผู้ที่รับทราบข้อมูลภายใน จะมีเวลาอีก 1 ปีในการเก็งกำไร
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กโดยยืนยันว่า ตนไม่ได้หนีการประชุมสภาเพื่อไปหารือกับนักธุรกิจที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ เพราะทราบว่าวันดังกล่าวที่ประชุมสภามีวาระรับทราบเรื่องต่างๆ แต่ไม่มีประเด็นที่นายกรัฐมนตรีต้องเข้าประชุมเพื่อชี้แจงต่อสภาฯ ส่วนการหารือกับนักธุรกิจที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ ก็เป็นสถานที่เปิดเผย และไปเพื่อรับฟังสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และว่า การเดินทางไปดังกล่าวก็มีผู้พบเห็นเหตุการณ์จำนวนมาก ส่วนสาเหตุที่ไม่แจ้งสื่อมวลชน เพราะผู้ที่มาพบหารือไม่ต้องการเป็นข่าว “ในวันนั้น ไม่มีการพูดจาเรื่องธุรกิจส่วนตัว ไม่มีการพูดถึงการเวนคืนที่ดินเพื่อเป็นที่รับน้ำหรือเป็นพื้นที่น้ำผ่าน ที่เรียกว่า ฟลัดเวย์ พื้นที่แก้มลิงและอ่างเก็บน้ำ การชะลอการประเมินราคาที่ดินหรือเรื่องอื่นเรื่องใดเอื้อประโยชน์ต่อผู้ใดโดยเฉพาะตามที่มีการกล่าวหา” น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กด้วยว่า เหตุที่ไม่โต้ตอบข้อกล่าวหาที่ไร้สาระนี้ตั้งแต่ต้น เพราะเห็นว่าเป็นเกมการเมืองซึ่งตนไม่ถนัด
ขณะที่ฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย(พท.) ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจ สน.ลุมพินี ว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน ประกอบด้วย นายศิริโชค โสภา ,นายเทพไท เสนพงศ์ และนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ฐานให้สัมภาษณ์หมิ่นประมาท น.ส.ยิ่งลักษณ์ในรายการ “สายล่อฟ้า” ทางทีวีดาวเทียมบลูสกายนิวส์ โดยกล่าวหาว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ผิดจริยธรรมกรณีเดินทางไปโรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ และมีผลประโยชน์ทับซ้อนในการบริหารราชการแผ่นดิน
ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ พูดถึงกรณีที่ถูกพรรคเพื่อไทยแจ้งความดำเนินคดีว่า ไม่ได้เหนือความคาดหมาย เพราะกลุ่มคนพวกนี้ไม่ได้ต่อสู้ด้วยเหตุผล แต่มักจะใช้วิธีการฟ้องร้องเพื่อปิดปาก พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ทำไม น.ส.ยิ่งลักษณ์จึงไม่ฟ้องร้องต้วยตัวเอง และทำไมไม่ไปฟ้องศาลอาญา เพื่อให้คดีลัดเข้าสู่ศาลโดยเร็ว แต่ฟ้องเพื่อแก้เกี้ยวทางการเมือง แสดงให้เห็นเจตนาชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีไม่กล้าพูดความจริงในที่สว่าง “ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่เรื่องนี้จะเข้าสู่ศาล เพราะจะเป็นช่องทางทำให้ทนายความของผมขออำนาจศาลออกหมายเพื่อเรียกข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิด หลักฐาน ใบเสร็จ เพื่อพิสูจน์ว่าการพบกันของนายกรัฐมนตรีนั้นมีใครบ้าง และใครเป็นเจ้าภาพในการนัดพบครั้งนี้”
1. พันธมิตรฯ แถลงค้านแก้ รธน. ชี้ แค่นิติกรรมอำพรางเพื่อล้มล้าง รธน.2550 – นัดประชุม 10 มี.ค.เตรียมพร้อมชุมนุมต้าน ด้าน ตร.รีบประเคนข้อหาเพิ่ม!
เมื่อวันที่ 22 ก.พ. แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ประชุมเพื่อกำหนดท่าทีต่อกรณีที่รัฐสภาเตรียมประชุมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในวันที่ 23 ก.พ. ที่มีการบรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับเข้าที่ประชุม คือฉบับของรัฐบาล ,ฉบับของพรรคเพื่อไทย และฉบับของพรรคชาติไทยพัฒนา
หลังประชุม นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ ได้อ่านแถลงการณ์เรื่อง “หยุดนิติกรรมอำพรางล้มล้างรัฐธรรมนูญยึดอำนาจประเทศไทย” มีเนื้อหาโดยสรุปคือ พันธมิตรฯ เห็นว่าการที่รัฐบาลเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เข้าสภา เป็นเพียงนิติกรรมอำพราง โดยวางคุณสมบัติของ ส.ส.ร.ไว้เพื่อล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และนำไปสู่การจัดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อล้างความผิดในอดีตของพรรคการเมืองและพวกพ้อง รวมทั้งกระชับอำนาจให้ตัวเองและพวกพ้องอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมากยิ่งขึ้น จึงเข้าข่ายการรัฐประหารและยึดอำนาจประเทศโดยใช้รัฐธรรมนูญให้ตกอยู่ภายใต้เงื้อมมือของเผด็จการรัฐสภา โดยกลุ่มทุนสามานย์ผูกขาดของพรรคการเมือง
ดังนั้นความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จึงเป็นความเหิมเกริม ลุแก่อำนาจของฝ่ายเผด็จการรัฐสภา โดยทุนสามานย์แห่งระบอบทักษิณที่คิดจะล้มล้างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพื่อประโยชน์สุขของนักการเมือง ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน และยังเป็นการสร้างความแตกแยกให้คนในชาติ ทั้งๆ ที่ประชาชนกำลังเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสทั้งจากปัญหาสินค้าราคาแพง ราคาน้ำมันสูงขึ้นจากการผูกขาดและหาผลประโยชน์จาก ปตท. ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้ พันธมิตรฯ จึงมีมติที่จะดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และถอดถอนหรือยุบพรรคผู้ที่เกี่ยวข้องกับการล้มล้างรัฐธรรมนูญ เพราะถือว่าเป็นการการกระทำเพื่อให้ได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งยังเป็นการกระทำที่ส่อให้เห็นว่า เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ,122 ,136(16) ,291 ,270 และขัดต่อบริบทของรัฐธรรมนูญ 2550
นอกจากนี้แกนนำพันธมิตรฯ ยังได้นัดประชุมผู้ประสานงานและตัวแทนพันธมิตรฯ ในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศทุกกลุ่มในวันที่ 10 มี.ค.นี้ เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือและลุกขึ้นต่อต้านการล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รวมทั้งเตรียมพร้อมเคลื่อนมวลชนเพื่อชุมนุมทันทีหากพบการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ หรือมีการลบล้างความผิดให้กับนักการเมืองและพวกพ้องในอดีต
ทั้งนี้ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ บอกว่า “นี่คืออีกบริบทหนึ่งของความล้มเหลวของการเมืองไทยที่บริหารโดยนักการเมือง กล้าพูดได้ว่านักการเมืองส่วนใหญ่เป็นคนที่บัดซบ ขอย้ำส่วนใหญ่เป็นคนที่บัดซบ ไม่ได้รักชาติรักประชาชนเลยแม้แต่นิดเดียว เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นแล้วการที่จะตั้ง ส.ส.ร.ครั้งนี้เป็นการพิสูจน์ชัดเจนว่า ทุกอย่างทำเพื่อพวกเขา ทำเพื่อหัวหน้าพวกเขา ทำเพื่อเจ้าของพรรค...”
เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังแกนนำพันธมิตรฯ แถลงคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมเตรียมประชุมเพื่อกำหนดการเคลื่อนไหว ปรากฏว่า 2 วันให้หลัง(24 ก.พ.) ตำรวจยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็เตรียมเพิ่มข้อหาให้พันธมิตรฯ ทันทีในคดีชุมนุมที่สนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิ โดย พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ที่ปรึกษา (สบ 10) ด้านความมั่นคงและกิจการพิเศษ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีนี้ ออกมาเผยว่า พนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนส่งอัยการไปแล้ว แต่เมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้รับการประสานจากสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 9 สั่งให้สอบสวนและแจ้งข้อหาเพิ่มแก่ผู้ต้องหา 46 คน โดยให้ส่งหนังสือแจ้งผู้ต้องหาทั้งหมดมารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 2 มี.ค.นี้ ที่กองปราบปราม
พล.ต.อ.สมยศ ยังบอกด้วยว่า ผู้ต้องหาทั้ง 46 คน จะถูกแจ้งข้อหาเพิ่มแตกต่างกันตามพฤติการณ์ และมี 1 คนที่จะถูกแจ้งข้อหาก่อการร้ายเพิ่ม แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้ และว่า หากผู้ต้องหารายใดไม่มาตามนัด จะออกหมายเรียกครั้งที่ 2 หากยังไม่มาอีก จะขออนุมัติศาลเพื่อออกหมายจับตามขั้นตอนทันที
ด้านนายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล พูดถึงกรณีที่ตำรวจแจ้งข้อหาเพิ่มให้พันธมิตรฯ ทั้ง 46 คนว่า เป็นการสร้างอำนาจต่อรอง เพื่อให้อัยการใช้อ้างเหตุในการยกเลิกข้อหาก่อการร้ายให้กลุ่มเสื้อแดง และหวังผลให้พันธมิตรฯ ไม่คัดค้านการล้มล้างรัฐธรรมนูญและนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งยืนยันว่า ไม่ว่าจะเพิ่มข้อหาอย่างไร พันธมิตรฯ ก็จะไม่เปลี่ยนจุดยืน โดยจะค้านการนิรโทษกรรมให้ พ.ต.ท.ทักษิณอย่างถึงที่สุด เพราะมั่นใจว่าตัวเองบริสุทธิ์ ไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย โดยพร้อมจะพิสูจน์ตัวเองในกระบวนการยุติธรรมของศาล และจะดำเนินคดีกลับเจ้าหน้าที่รัฐที่กลั่นแกล้งยัดเยียดข้อหาอันเป็นเท็จให้พันธมิตรฯ อย่างถึงที่สุดเช่นกัน
ทั้งนี้ นอกจากกลุ่มพันธมิตรฯ จะแถลงคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ในส่วนของสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) จำนวน 50 คน เช่น นายสุรจิต ชิรเวทย์ ส.ว.สมุทรสงคราม ,พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ,นายคำนูณ สิทธิสมาน ฯลฯ ก็ได้แถลงคัดค้านการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล-พรรคเพื่อไทย และพรรคชาติไทยพัฒนาเช่นกัน โดยชี้ว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ ไม่ได้ขอแก้ไขแค่มาตรา 291 มาตราเดียวตามที่รัฐบาลอ้าง แต่เป็นการขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 โดยเพิ่มหมวดใหม่ คือ หมวดที่ 16 ว่าด้วยการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลจึงเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550 แล้วตั้ง ส.ส.ร.เป็นภาพลวงตา เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยตีกรอบหลักการและเหตุผลเพื่อนำไปสู่การล้างบางองค์กรอิสระ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ,คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนอำนาจองค์กรตุลาการ
2. รัฐสภาเสียงข้างมาก รับหลักการร่างแก้ไข รธน.ทั้ง 3 ฉบับแล้ว ด้าน “เฉลิม” ทำฉาว เมาป่วนสภา!
แม้จะมีเสียงคัดค้านจากหลายฝ่ายในสังคม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มเสื้อหลากสี หรือแม้แต่ 50 ส.ว.ที่ออกมาแถลงคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่รัฐบาลและนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ก็ไม่สน โดยเดินหน้าประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อให้มีการตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่เมื่อวันที่ 23-24 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ คือร่างของพรรคเพื่อไทย ,ร่างของรัฐบาลหรือ ครม. และร่างของพรรคชาติไทยพัฒนา ขณะที่ร่างของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ยังตรวจสอบความถูกต้องของรายชื่อไม่เสร็จ คาดว่าต้องใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 2-3 เดือน แม้คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.) ที่มีนายคณิต ณ นคร เป็นประธาน จะยื่นหนังสือให้ประธานรัฐสภาชะลอการประชุมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญออกไปก่อน เพื่อรอให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของภาคประชาชนเข้าสู่การพิจารณาไปพร้อมกันด้วย แต่ก็ไม่เป็นผล
สำหรับบรรยากาศการอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวันแรก(23 ก.พ.) ที่น่าสนใจ ได้แก่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้อภิปรายชี้ว่า การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้มีวาระซ่อนเร้นและอาจนำประเทศไปสู่ความขัดแย้งแตกแยกอีกครั้ง เพราะ ส.ส.พรรคเพื่อไทยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า หลังผ่านร่างรัฐธรรมนูญแล้ว พรรคประชาธิปัตย์จะสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย ขณะที่อดีตนายกฯ จะกลับประเทศอย่างสง่างาม และว่า การให้อำนาจ ส.ส.ร.ทำอะไรก็ได้ เท่ากับเป็นการเซ็นเช็คเปล่าให้ ส.ส.ร. หรือถ้า ส.ส.ร.ไปแก้รัฐธรรมนูญกระทบสถาบัน รัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงโดยยอมรับว่า ตนเป็นคนพูดเองว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะกลับบ้าน แต่ต้องผ่านร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเพื่อให้บ้านเมืองสงบก่อน และว่า พรรคประชาธิปัตย์อย่าตกใจเกินเหตุ เพราะพรรคเพื่อไทยรณรงค์มาตั้งแต่ปี 2552 แล้วว่า ไม่เอารัฐธรรมนูญที่มาจากกากเดนเผด็จการ จึงได้หาเสียงว่าเลือกให้ชัด เลือกให้ขาด เพราะพรรคจะแก้รัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการ “แล้วรู้ได้อย่างไรว่า ส.ส.ร.ที่จะเลือกมาครั้งนี้มาจากไหน เป็นเทวดาหรือ อย่าสร้างความปั่นป่วนเลย จะมาวิตกทุกข์ร้อนอะไรว่าแก้ไขแล้วใครจะกลับมา เพราะสุดท้ายต้องถามความเห็นประชาชนและรัฐสภา และรัฐธรรมนูญจะไปลบล้างความผิดใครได้”
ทั้งนี้ บรรยากาศภายนอกรัฐสภา ได้มีมวลชนมาชุมนุม 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มเสื้อแดงที่มาสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขณะที่อีกกลุ่มคือ เครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน หรือกลุ่มเสื้อหลากสี ที่นอกจากมายื่นหนังสือพร้อมรายชื่อประชาชน 30,000 ชื่อ ต่อนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาฯ คนที่ 1 เพื่อคัดค้านข้อเสนอของคณะนิติราษร์ที่ให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แล้ว ยังได้ยื่นหนังสือต่อ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา เพื่อคัดค้านการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อตั้ง ส.ส.ร.ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ด้วย
สำหรับบรรยากาศการอภิปรายร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวันที่สอง(24 ก.พ.) นอกจาก ส.ส.พรรคเพื่อไทย(นายวัฒนา เมืองสุข) จะส่งสัญญาณว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญควรมีการปฏิรูปศาล เช่น ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อให้เป็นองค์กรที่สามารถตรวจสอบได้แล้ว ปรากฏว่า ยังมีการปะทะคารมกันหลายรอบระหว่างแกนนำพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ เช่น กรณีที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ อภิปรายตอนหนึ่งโดยด่าว่ามีพรรคการเมืองหนึ่งเป็นพรรคอุบาทว์พยายามขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และเคยขัดขวางไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ลงสมัคร ส.ส.ร.ที่เชียงใหม่ เพื่อไม่ให้เข้ามามีส่วนร่วมร่างรัฐธรรมนูญ 2540
ด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาสวนกลับ ร.ต.อ.เฉลิมว่า ไม่ทราบว่า พรรคอุบาทว์ดังกล่าวเป็นพรรคที่ ร.ต.อ.เฉลิมสังกัดอยู่ตอนนั้นหรือไม่
เป็นที่น่าสังเกตว่า ไม่เพียง ร.ต.อ.เฉลิมจะปะทะคารมกับแกนนำพรรคประชาธิปัตย์กลางสภา แต่การอภิปรายช่วงกลางคืน เวลาประมาณ 21.30น.ของวันที่ 24 ก.พ. ระหว่างที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กำลังอภิปรายว่า การผ่านร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับ จะสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดความขัดแย้งแตกแยก ปรากฏว่า ร.ต.อ.เฉลิมได้ลุกขึ้นประท้วงว่านายอภิสิทธิ์พูดนอกประเด็น แม้ พล.อ.ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่ประธานที่ประชุมในขณะนั้นจะยืนยันว่านายอภิสิทธิ์อภิปรายอยู่ในประเด็น แต่ ร.ต.อ.เฉลิมก็ยังคงประท้วงไม่เลิก จากนั้นมีเสียง ส.ส.หญิงตะโกนขึ้นมาว่า “เมาหรือเปล่า กลิ่นแอลกอฮอล์คลุ้งเลย”
ด้านนายอภิสิทธิ์ ได้บอกให้ ร.ต.อ.เฉลิมนั่งสงบสติอารมณ์ก่อน แล้วเดี๋ยวค่อยตอบคำถามตนในภายหลัง ขณะที่ น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์ ได้ประท้วงประธานที่ประชุมว่า อย่าให้คนเมาเข้ามา ต้องเอาไปตรวจแอลกอฮอล์ สภาจะป่วนเพราะเอาคนเมาเข้ามาอาละวาด ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิมยังคงยืนประท้วงด้วยใบหน้าแดงก่ำคล้ายคนเมา ด้านนายอภิสิทธิ์ได้ภิปรายต่อไป แต่เหตุการณ์ยังคงวุ่นวาย พล.อ.ธีรเดช จึงสั่งพักการประชุม
อย่างไรก็ตาม ทันทีที่พักการประชุม ร.ต.อ.เฉลิมได้เดินปรี่มาที่โซนที่นั่งของพรรคฝ่ายค้าน พร้อมชี้นิ้วตะโกนเรียกชื่อ น.ส.รังสิมา อยู่ 2-3 ครั้ง ทำให้ น.ส.รังสิมาเดินเข้ามาหา ร.ต.อ.เฉลิม ร้อนถึง ส.ส.ของทั้ง 2 พรรคต่างกรูกันเข้ามากัน ร.ต.อ.เฉลิมและ น.ส.รังสิมาไว้ ระหว่างนั้น ร.ต.อ.เฉลิมได้พูดขึ้นมา “คุณรังสิมา คุณพูดอย่างนี้ไม่ถูก พูดไม่ได้ ผมไม่ได้เมาเหล้า แต่เมารัก คุณเข้าใจผิด” จากนั้น ร.ต.อ.เฉลิมก็หันหลังเดินยิ้มกลับไปฟากพรรคเพื่อไทย
ทั้งนี้ หลังการอภิปรายดำเนินต่อจนแล้วเสร็จ ได้มีการลงมติว่าจะรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับหรือไม่ ซึ่งผลปรากฏว่า ที่ประชุมเสียงข้างมากลงมติรับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับด้วยคะแนน 399 ต่อ 199 เสียง งดออกเสียง 14 เสียง โดยยึดร่างของรัฐบาลเป็นหลัก จากนั้นได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 จำนวน 45 คน แบ่งเป็นพรรคเพื่อไทย 19 คน ,ประชาธิปัตย์ 11 คน ,ภูมิใจไทย 2 คน ,ชาติไทยพัฒนา 1 คน ,ชาติพัฒนา 1 คน , พลังชล 1 คน และวุฒิสภา 10 คน โดยกำหนดแปรญัตติใน 30 วัน
3. ศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้าน -พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านไม่ขัด รธน. ด้าน “พท.” รีบเรียกหาความรับผิดชอบจาก “ปชป.”!
เมื่อวันที่ 22 ก.พ. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้นัดประชุมและวินิจฉัยกรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา ส่งคำร้องของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และ 68 ส.ว.ที่ขอให้ศาลพิจารณาว่า พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ.2555 วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ.2555 หรือ พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย วงเงิน 1.14 ล้านล้านบาท เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคหนึ่งและวรรคสองหรือไม่
ซึ่งมาตราดังกล่าวระบุว่า ครม.จะตรา พ.ร.ก.ได้ในกรณีฉุกเฉินมีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้เท่านั้น
ทั้งนี้ หลังคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาประชุมและลงมติในช่วงเช้าแล้ว ในช่วงบ่าย 14.00น.ได้มีการอ่านคำวินิจฉัย พ.ร.ก.กู้เงินทั้ง 2 ฉบับ เริ่มด้วย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคหนึ่งและวรรคสองแล้ว ส่วน พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาทนั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 7 ต่อ 2 เสียงว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรคหนึ่งและวรรคสองเช่นกัน โดยเห็นว่า การออก พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับเป็นไปเพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากวิกฤตการณ์อุทกภัย ซึ่งต้องใช้มาตรการป้องกันและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ประกอบกับในชั้นนี้ยังไม่มีกรณีที่ชี้ให้เห็นว่า ครม.ตรา พ.ร.ก.ขึ้นมาโดยไม่สุจริต หรือใช้ดุลพินิจบิดเบือนหลักการรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ตุลาการฯ เสียงข้างน้อย 2 เสียงที่เห็นว่า พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 184 คือ นายชัช ชลวร และนายจรัญ ภักดีธนากุล โดยเห็นว่า พ.ร.ก.ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน สามารถออกเป็นร่าง พ.ร.บ.ให้สภาผู้แทนราษฎรร่วมพิจารณาอภิปรายในรายละเอียดเนื้อหาได้ อีกทั้ง พ.ร.ก.ดังกล่าวถูกตราขึ้นในขณะที่รัฐบาลยังไม่มีแผนงานที่ชัดเจนด้วย
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หลังทราบว่า 2 พ.ร.ก.กู้เงินไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ก็ได้ออกมาขอบคุณศาลรัฐธรรมนูญที่วินิจฉัยโดยเข้าใจความจำเป็นของรัฐบาลในการฟื้นฟูและแก้ไขมหาอุทกภัย และว่า หลังจากนี้กระบวนการอยู่ที่ประธานรัฐสภาจะดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ส่วนรัฐบาลจะเร่งแก้ปัญหาอุทกภัยอย่างเร่งด่วน
ขณะที่นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เผยว่า ขั้นตอนต่อไป ต้องรอศาลรัฐธรรมนูญแจ้งกลับมายังสภา จึงจะบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมได้ หลังจากนั้นจะอภิปรายกันตามปกติ ก่อนลงมติว่าจะเห็นชอบ 2 พ.ร.ก.กู้เงินดังกล่าวหรือไม่
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ บอกว่า ต้องเคารพคำวินิจฉัยของศาล แต่ก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะต้องตรวจสอบต่อไปในเรื่องการดำเนินการตาม พ.ร.ก.ให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะเมื่อศาลได้ให้น้ำหนักว่าเรื่องน้ำท่วมมีความจำเป็นเร่งด่วน รัฐบาลก็ต้องโปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการทำงาน
ทั้งนี้ หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า 2 พ.ร.ก.กู้เงินไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ปรากฏว่า ทางกระทรวงการคลัง ก็เตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) สัปดาห์หน้า เพื่อเบิกใช้เงินกู้ 3.5 แสนล้านแล้ว โดยนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง บอกว่า น่าจะมีโครงการที่ชัดเจนออกมาหลังจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ครม.ได้ลงตรวจสอบพื้นที่ ซึ่งหากโครงการใดมีความพร้อมและผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ(กยน.)แล้ว ก็จะยื่นเสนอเบิกจ่ายเงินมา โดยกระทรวงการคลังจะกู้เงินระยะสั้นๆ จากธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก เมื่อได้จำนวนมากพอ จึงจะออกเป็นพันธบัตรระยะยาวมาทดแทน โดยจะใช้เงินกู้ภายในประเทศเป็นหลัก
ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ได้เตรียมเก็บค่าธรรมเนียมจากธนาคารพาณิชย์เพื่อนำไปใช้หนี้กองทุนฟื้นฟูฯ แทนกระทรวงการคลังแล้ว โดยนายชาญชัย บุญญฤทธิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายช่วยงานบริหาร ธปท. เผยว่า ขั้นตอนหลังจากนี้ ธปท.ต้องเตรียมออกประกาศเก็บเงินนำส่งจากธนาคารพาณิชย์อย่างเป็นทางการ โดยวงเงินนำส่ง 0.46% จะนับจากฐานเงินฝากรวมกับตั๋วแลกเงิน(บี/อี) และหุ้นกู้ แต่ไม่รวมหุ้นกู้ด้อยสิทธิ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ แทนกระทรวงการคลังงวดปี 2556 ในช่วงเดือน ก.ค.2555
เป็นที่น่าสังเกตว่า ก่อนหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่า 2 พ.ร.ก.กู้เงินขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ หลายฝ่าย รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) ที่เป็นผู้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 2 พ.ร.ก. ได้เรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือยุบสภา หากศาลวินิจฉัยว่า 2 พ.ร.ก.ขัดรัฐธรรมนูญ แต่แกนนำพรรคเพื่อไทยต่างประสานเสียงว่า รัฐบาลไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบใดใด เพราะถ้า พ.ร.ก.ขัดรัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็สามารถออก พ.ร.บ.ทดแทนได้ อย่างไรก็ตามเมื่อศาลวินิจฉัยว่า 2 พ.ร.ก.ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ปรากฏว่า พรรคเพื่อไทย(พท.) โดยนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค รีบเปิดแถลงเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความรับผิดชอบด้วยการออกมาขอโทษประชาชนทันที
4. ปชป.พบพิรุธ”ยิ่งลักษณ์”ส่อทุจริตเชิงนโยบายปม ว.5 โฟร์ซีซั่นส์ ด้านเจ้าตัวรีบปัด พร้อมให้ฝ่าย กม.เพื่อไทยแจ้งความ!
ความคืบหน้ากรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ถูกหลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยกรณีนำเวลาที่ควรอยู่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ไปปฏิบัติภารกิจส่วนตัว หรือที่เรียกว่า ว.5 ที่ชั้น 7 โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ ซึ่งภายหลังทราบว่า เป็นการไปพบหารือกับกลุ่มนักธุรกิจ โดยมีนายเศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) รวมอยู่ด้วย จึงเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ตามมา ทั้งในแง่ความเหมาะสม และผลประโยชน์ทับซ้อนในเชิงธุรกิจ กระทั่งกลุ่มกรีน(Green Politics) ได้ไปยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าว ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีหนังสือให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ชี้แจงปม ว.5 โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ภายใน 30 วันแล้วนั้น
ปรากฎว่า เมื่อวันที่ 21 ก.พ. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ออกมายืนยันสั้นๆ ก่อนเดินทางไปเยือนประเทศมาเลเซียว่า การไปพูดคุยกับกลุ่มนักธุรกิจที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ไม่มีเรื่องส่วนตัวหรือผลประโยชน์ทับซ้อน ด้านนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกมาช่วยยืนยันว่า ตนอยู่กับนายกฯ ด้วยระหว่างหารือกับกลุ่มนักธุรกิจ พร้อมอ้างว่า เหตุผลที่นักธุรกิจเหล่านั้นไม่ขอพบนายกฯ ที่ทำเนียบรัฐบาล อาจเป็นเพราะกลัวถูกมองว่ามาเอาใจช่วยรัฐบาล จึงไม่อยากเปิดเผยตัวเอง นายกิตติรัตน์ ยังยอมรับด้วยว่า ตนสนิทสนมกับนายเศรษฐา ทวีสิน ที่เข้าหารือกับนายกฯ “ยืนยันอีกครั้ง เศรษฐา เป็นคนดี บางคนบอกว่าผมสนิทกับเศรษฐา ใช่ ผมสนิทจริง ใครที่ตั้งข้อสังเกตอย่าไปอคติอะไรเลย บางคนอาจจะถามว่า ทำไมนายกฯ ไม่ชี้แจง ก็อย่างที่เคยเห็น นายกฯ ไม่ค่อยโต้เถียงกับใคร”
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) แถลงว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์อาจมีการทุจริตเชิงนโยบายและมีผลประโยชน์ทับซ้อนจากการหารือกับนักธุรกิจที่ชั้น 7 โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ เพราะรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน แจ้งว่า ว.5 เป็นการนัดหมายกลุ่มนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีนายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานและกรรมการผู้จัดการบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด(มหาชน) ร่วมรับทราบด้วย นอกจากนี้ยังมีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รวมถึงบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นลูกน้องเก่าของ น.ส.ยิ่งลักษณ์เอง โดย 1 ในหัวข้อที่พูดคุยกันก็คือ การประเมินราคาที่ดินใหม่ในปี 2555 และการประกาศผังเมืองใหม่ “นี่คือใบเสร็จชั้นดี ทุกอย่างเข้ารูปเข้ารอยหมดแล้ว นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 6-7 คน ที่ไปพบนายกฯ อ้างว่าคุยเรื่องส่วนตัว กลับเป็นการคุยเรื่องการประเมินราคาที่ดิน นี่คือใบเสร็จทุจริตเชิงนโยบายและประโยชน์ทับซ้อนของ น.ส.ยิ่งลักษณ์”
นายชวนนท์ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องประหลาด เพราะเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2554 อธิบดีกรมธนารักษ์ยืนยันต้องการให้ประกวดราคาประเมินที่ดินใหม่ในปี 2555 เพราะที่ดินจะมีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 จากนั้นวันที่ 31 ธ.ค.2554 มีข่าวออกมาว่า กรมธนารักษ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยบอกให้เลื่อนประกาศราคาประเมินที่ดินออกไปอีก 6 เดือน ด้านกรมธนารักษ์ชี้แจงว่า รัฐบาลเสียโอกาสในการเก็บค่าธรรมเนียมตามราคาประเมินใหม่จำนวน 6,000 ล้านบาท ถามว่ามีเหตุผลอะไรที่ทำให้เลื่อนการประเมินราคาออกไป และล่าสุด วันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ผังเมืองรวมใหม่ 12 แห่ง ซึ่งมี กทม.รวมอยู่ด้วย ออกไปจากเดิมที่จะบังคับใช้ในวันที่ 15 พ.ค.2555 เลื่อนไปเป็นวันที่ 15 พ.ค.2556 ถามว่านายกฯ ไปบอกข้อมูลที่ดินทำฟลัดเวย์หรือแก้มลิงหรือไม่ หรือมีการต่อรองขอเลื่อนการประเมินราคาที่ดินใหม่หรือไม่ ถ้าเอกชนรู้ข้อมูลก่อน จะไปซื้อที่ดินดักหน้า โดยผู้ที่รับทราบข้อมูลภายใน จะมีเวลาอีก 1 ปีในการเก็งกำไร
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กโดยยืนยันว่า ตนไม่ได้หนีการประชุมสภาเพื่อไปหารือกับนักธุรกิจที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ เพราะทราบว่าวันดังกล่าวที่ประชุมสภามีวาระรับทราบเรื่องต่างๆ แต่ไม่มีประเด็นที่นายกรัฐมนตรีต้องเข้าประชุมเพื่อชี้แจงต่อสภาฯ ส่วนการหารือกับนักธุรกิจที่โรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ ก็เป็นสถานที่เปิดเผย และไปเพื่อรับฟังสภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจและสถานการณ์บ้านเมือง ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการบริหารราชการแผ่นดิน และว่า การเดินทางไปดังกล่าวก็มีผู้พบเห็นเหตุการณ์จำนวนมาก ส่วนสาเหตุที่ไม่แจ้งสื่อมวลชน เพราะผู้ที่มาพบหารือไม่ต้องการเป็นข่าว “ในวันนั้น ไม่มีการพูดจาเรื่องธุรกิจส่วนตัว ไม่มีการพูดถึงการเวนคืนที่ดินเพื่อเป็นที่รับน้ำหรือเป็นพื้นที่น้ำผ่าน ที่เรียกว่า ฟลัดเวย์ พื้นที่แก้มลิงและอ่างเก็บน้ำ การชะลอการประเมินราคาที่ดินหรือเรื่องอื่นเรื่องใดเอื้อประโยชน์ต่อผู้ใดโดยเฉพาะตามที่มีการกล่าวหา” น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กด้วยว่า เหตุที่ไม่โต้ตอบข้อกล่าวหาที่ไร้สาระนี้ตั้งแต่ต้น เพราะเห็นว่าเป็นเกมการเมืองซึ่งตนไม่ถนัด
ขณะที่ฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทย(พท.) ได้เข้าแจ้งความต่อตำรวจ สน.ลุมพินี ว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน ประกอบด้วย นายศิริโชค โสภา ,นายเทพไท เสนพงศ์ และนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ฐานให้สัมภาษณ์หมิ่นประมาท น.ส.ยิ่งลักษณ์ในรายการ “สายล่อฟ้า” ทางทีวีดาวเทียมบลูสกายนิวส์ โดยกล่าวหาว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ผิดจริยธรรมกรณีเดินทางไปโรงแรมโฟร์ซีซั่นส์ และมีผลประโยชน์ทับซ้อนในการบริหารราชการแผ่นดิน
ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ พูดถึงกรณีที่ถูกพรรคเพื่อไทยแจ้งความดำเนินคดีว่า ไม่ได้เหนือความคาดหมาย เพราะกลุ่มคนพวกนี้ไม่ได้ต่อสู้ด้วยเหตุผล แต่มักจะใช้วิธีการฟ้องร้องเพื่อปิดปาก พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ทำไม น.ส.ยิ่งลักษณ์จึงไม่ฟ้องร้องต้วยตัวเอง และทำไมไม่ไปฟ้องศาลอาญา เพื่อให้คดีลัดเข้าสู่ศาลโดยเร็ว แต่ฟ้องเพื่อแก้เกี้ยวทางการเมือง แสดงให้เห็นเจตนาชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีไม่กล้าพูดความจริงในที่สว่าง “ถือเป็นเรื่องน่ายินดีที่เรื่องนี้จะเข้าสู่ศาล เพราะจะเป็นช่องทางทำให้ทนายความของผมขออำนาจศาลออกหมายเพื่อเรียกข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นกล้องวงจรปิด หลักฐาน ใบเสร็จ เพื่อพิสูจน์ว่าการพบกันของนายกรัฐมนตรีนั้นมีใครบ้าง และใครเป็นเจ้าภาพในการนัดพบครั้งนี้”