คลิกที่นี่ เพื่อฟังสรุปข่าวฯ
1. รัฐบาล ผลาญงบ 10 ล้าน จัดงานขอบคุณทุกฝ่ายช่วยน้ำท่วม เชิญ “ป๋าเปรม”ประธาน อ้าง เพื่อปรองดอง แต่เมินเชิญ ปชป.!
เมื่อวันที่ 10 ก.พ.รัฐบาลได้จัดงาน “รักเมืองไทย เดินหน้าประเทศไทย” ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยให้เหตุผลที่จัดงานนี้ขึ้นมาว่า เพื่อขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ทั้งนี้ รัฐบาลได้เชิญ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ มาเป็นประธานในงาน ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า การเชิญ พล.อ.เปรมมาร่วมงานครั้งนี้ หวังผลในแง่การสร้างความปรองดองด้วย โดยมีการเชิญแขกหลายภาคส่วนประมาณ 500 คน ทั้งทูตานุทูต และภาคเอกชน แต่ไม่ได้เชิญพรรคประชาธิปัตย์มาร่วมงานด้วยแต่อย่างใด
ทั้งนี้ มีข่าวว่ารัฐบาลใช้งบจำนวนมากจัดงานรักเมืองไทยฯ กระทั่งนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาชี้แจงว่า รัฐบาล ใช้งบจัดงานแค่ 10 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าบัตรเชิญ ค่าอาหาร การเดินทาง 3.5 ล้านบาท ค่าวงดนตรี แสง สี เสียง 6.5 ล้านบาท
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยอมรับว่า ไม่ได้รับเชิญจากรัฐบาลให้มาร่วมงานรักเมืองไทยฯ แต่อย่างใด พร้อมข้องใจว่า การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์อะไรแน่ หากเป็นการเลี้ยงเพื่อตอบแทนคนทำงาน ก็สามารถทำในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องหรูหราก็ได้ นายอภิสิทธิ์ ยังเตือนสติรัฐบาลด้วยว่า หากการจัดงานเลี้ยงครั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นความสำเร็จในการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)แล้ว อาจกระทบความรู้สึกของคนจำนวนมากที่ยังรอการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาล แต่ผู้มีหน้าที่ทำงานกลับมาเลี้ยงฉลองกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า การที่รัฐบาลเชิญ พล.อ.เปรมมาเป็นประธานในงานรักเมืองไทยฯ ครั้งนี้ ทำให้สังคมได้เห็นความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในจังหวัดต่างๆ ซึ่งมีทั้งหนุนและต้าน โดยผู้ที่ต้าน ได้แก่ นายเทพพนม นามลี ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)สุรินทร์ ได้ออกมายืนยันว่า ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลเชิญ พล.อ.เปรม มาร่วมงาน เพราะอยู่คนละฝั่งกับคนเสื้อแดง คนเสื้อแดงทุกคนต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและเรียกตนเองว่าไพร่ แต่ พล.อ.เปรม เปรียบเสมือนมหาอำมาตย์ ซึ่งเคยขัดแย้งกันอย่างรุนแรงมาก่อนจากการต่อสู้เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมของคนเสื้อแดงที่ผ่านมา จนมีการบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก โดยมีพี่น้องคนเสื้อแดง จ.สุรินทร์ ต้องสังเวยชีวิต กว่าจะได้มาซึ่งประชาธิปไตยถึง 5 ศพ
ขณะที่นายขวัญชัย สาราคำ หรือไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร 1 ในแกนนำคนเสื้อแดง ได้ออกมาหนุนกรณีรัฐบาลเชิญ พล.อ.เปรมมาร่วมงานรักเมืองไทยฯ โดยบอก ตนรู้สึกภาคภูมิใจและชื่นชมกับภาพที่จะเกิดขึ้นในการปรองดอง เพื่อความรักสมัครสมานสามัคคี
ด้านนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้พยายามดับความขัดแย้งในหมู่คนเสื้อแดง โดยยืนยันว่า การเชิญ พล.อ.เปรมร่วมงานรักเมืองไทยฯ ไม่ส่งผลเสียต่อรัฐบาล เพราะเหตุการณ์ในอดีตถือเป็นเรื่องในอดีต และว่า ตนก็ถือเป็นลูกป๋าคนหนึ่ง โดยเป็นพ่อลูกกันมาตั้งแต่ปี 2537-2538 ผู้สื่อข่าวถามว่า พล.อ.เปรมหายโกรธกลุ่มคนเสื้อแดงที่เคยไปบุกบ้านสี่เสาเทเวศร์หรือยัง นายยงยุทธ บอกว่า พล.อ.เปรมเป็นผู้ใหญ่และที่มางานนี้แสดงให้เห็นแล้วว่าไม่โกรธเคืองอะไร และต้องการให้เกิดการปรองดอง ซึ่งงานนี้ชัดเจนอยู่แล้วว่าเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์
ทั้งนี้ หลายฝ่ายลุ้นกันมากว่า พล.อ.เปรมจะเดินทางมาร่วมงานรักเมืองไทยฯ หรือไม่ ซึ่งในที่สุด พล.อ.เปรมก็เดินทางมาเป็นประธานในงานเมื่อเย็นวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยได้รับการต้อนรับอย่างดีจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมีองคมนตรีมาร่วมงานตามคำเชิญ 3 คน คือ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ,พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ และนายอำพล เสนาณรงค์ สำหรับการจัดงานดังกล่าวมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 และโมเดิร์นไนน์ทีวี ตั้งแต่เวลา 17.00น.-20.00น. ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ระหว่างร่วมงาน พล.อ.เปรมมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส โดยเฉพาะเมื่อได้ฟังดนตรีจากวงดุริยางค์เหล่าทัพ ,วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย และการแสดงของวงออเคสตราเยาวชนเทศบาลยะลา
ขณะที่บรรยากาศภายนอกทำเนียบรัฐบาล ก่อนที่งานรักเมืองไทยฯ จะเริ่มขึ้น ได้มีเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติประมาณ 50 คน นำโดยนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ มาปิดถนนบริเวณแยกมิสกวัน เพื่อประท้วงการจัดงานเลี้ยงดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าเงินช่วยเหลือน้ำท่วมยังแจกจ่ายผู้ประสบภัยไม่ทั่วถึง แต่รัฐบาลกลับมาจัดงานเลี้ยงฉลองขอบคุณคนมีหน้าที่ช่วยเหลือน้ำท่วม
2. ศาล รธน. มีมติรับวินิจฉัย 2 พ.ร.ก.กู้เงินขัด รธน.หรือไม่ พร้อมเรียกผู้เกี่ยวข้องแจง 15 ก.พ. ด้าน “ยิ่งลักษณ์”ส่ง "กิตติรัตน์”แจงแทน!
ความคืบหน้ากรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งคำร้องของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยว่า พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ประกอบด้วย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 1.14 ล้านล้านบาท และกรณีที่ประธานวุฒิสภาได้ส่งคำร้องของ 68 ส.ว.ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 2 หรือไม่ เนื่องจากมาตราดังกล่าวระบุว่า การออก พ.ร.ก.จะกระทำได้เฉพาะกรณีที่ ครม.เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ แต่พรรคประชาธิปัตย์และ 68 ส.ว.มองว่า พ.ร.ก.ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องรีบด่วนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้นัดพิจารณาว่าจะรับคำร้องของพรรคประชาธิปัตย์และ 68 ส.ว.ไว้พิจารณาหรือไม่ในวันที่ 6 ก.พ.นั้น
ปรากฎว่า เมื่อถึงกำหนด ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมพิจารณาและมีมติรับคำร้องดังกล่าวไว้วินิจฉัย โดยให้รวมคำร้องของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และ 68 ส.ว.ไว้วินิจฉัยในคราวเดียวกัน พร้อมกันนี้ ศาลฯ ได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องชี้แจงเกี่ยวกับ พ.ร.ก.กู้เงินทั้ง 2 ฉบับด้วย ได้แก่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ,ประธานวุฒิสภา ,นายกรัฐมนตรี ,นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้แทนผู้เสนอความเห็นต่อประธานสภา ,นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้แทนผู้เสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภา โดยให้ชี้แจงเป็นหนังสือภายในวันที่ 10 ก.พ. นอกจากนี้ยังให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้แทน ,นายกรณ์ หรือผู้แทน และนายคำนูณ หรือผู้แทน เข้าชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลในวันที่ 15 ก.พ. เวลา 09.00น. หากไม่มาชี้แจงจะถือว่าไม่ติดใจที่จะชี้แจง
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ศาลฯ จะใช้เวลาในการวินิจฉัย พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับประมาณ 30 วัน และว่า ขณะนี้ พ.ร.ก.ดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้อยู่ จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย หากศาลฯ วินิจฉัยว่า พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับไม่เป็นไปตามรัฐธรมนูญก็จะถือว่า พ.ร.ก.ไม่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ต้น แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งที่รัฐบาลได้ทำลงไปในระหว่างรอคำวินิจฉัย ทั้งนี้ นายพิมล บอกด้วยว่า ส่วนตัวเข้าใจว่ารัฐบาลคงจะไม่ใช้เงินกู้ในช่วงนี้ เพราะต้องรอศาลฯ วินิจฉัยก่อน ผู้สื่อข่าวถามว่า ศาลฯ จะยึดบรรทัดฐานที่เคยวินิจฉัยเงินกู้ 4 แสนล้านบาทในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ นายพิมล บอกว่า ต้องดูข้อเท็จจริง เพราะข้อเท็จจริงแต่ละกรณีจะแตกต่างกันไป
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พูดถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญให้นายกฯ หรือผู้แทนเข้าชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มอบหมายให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไปชี้แจง พร้อมยืนยัน รัฐบาลยินดีให้ข้อมูลต่อศาลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาย้ำอีกครั้งว่า พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยรัฐบาลนำปัญหาน้ำท่วมมาเป็นข้ออ้างในการโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับภาระ เช่นเดียวกับ พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท เพราะ ครม.ยอมรับว่าโครงการที่อนุมัติไปมีความซ้ำซ้อนกันกว่าหมื่นล้านบาท แสดงว่ารัฐบาลไม่ได้มีปัญหาเรื่องเงินที่จะใช้ในการทำโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม อีกทั้งนายกิตติรัตน์ก็พูดเองว่า เงินก้อนแรกที่จะใช้ 1.5 แสนล้านบาท เป็นวงเงินกู้ได้ตามระบบงบประมาณปกติ ดังนั้นรัฐบาลไม่ควรใช้ปัญหาน้ำท่วมและความทุกข์ทรมาณของชาวบ้านมาเป็นข้ออ้างหนีการตรวจสอบจากสภาด้วยการออก พ.ร.ก.
ทั้งนี้ ได้มีหลายฝ่าย รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์ออกมาชี้ว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับขัดรัฐธรรมนูญ รัฐบาลต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก โดยนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ บอกว่า โดยประเพณีปฏิบัติ หากกฎหมายเกี่ยวกับการเงินของรัฐบาลไม่ผ่านความเห็นชอบ รัฐบาลในอดีตจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือยุบสภา ดังนั้นเมื่อรัฐบาลปัจจุบันใช้อำนาจออก พ.ร.ก.โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา หากศาลฯ วินิจฉัยว่า 2 พ.ร.ก.ขัดรัฐธรรมนูญ รัฐบาลย่อมไม่มีความชอบธรรมที่จะบริหารราชการแผ่นดินต่อไป จะต้องแสดงความรับผิดชอบไม่ว่าทางหนึ่งทางใด “นักการเมืองที่ดีควรมีจิตสำนึกและละอายต่อการทำหน้าที่อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อาจจะเรียกหาได้ยากจากพรรคเพื่อไทย นับแต่ยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้นมา โดยเฉพาะเมื่อปี 2546 ที่รัฐสภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ค่าตอบแทนบุคลากรทางการศึกษาแล้วเสร็จ และนำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ไม่พระราชทานกลับลงมา พ.ต.ท.ทักษิณกลับไม่แสดงความรับผิดชอบใดใด ต่างจากสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯ เมื่อปี 2531 สภาพิจารณา พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ เป็นกฎหมายการเงิน ไม่ผ่านการพิจารณา พล.อ.เปรมจึงตัดสินใจยุบสภา”
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้ออกมายืนยันว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า 2 พ.ร.ก.กู้เงินขัดรัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องลาออก เพราะรัฐธรรมนูญระบุว่าเป็นดุลพินิจของ ครม. หากเห็นว่าเป็นเรื่องฉุกเฉิน เร่งด่วนและจำเป็น ก็ให้ออก พ.ร.ก.ได้ ถ้าเห็นว่าเป็นเรื่องไม่เร่งด่วนก็เป็นเรื่องของศาล ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ สามารถเอาเข้าสภาและออกเป็น พ.ร.บ.ได้
ขณะที่นายพิชิต ชื่นบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้ส่งเอกสารถึงสื่อมวลชนผ่านทางอีเมล์ โดยยืนยันเช่นกันว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.ก.กู้เงินทั้ง 2 ฉบับขัดรัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องลาออกหรือยุบสภา เพราะการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ พ.ร.ก.เป็นการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารโดยองค์กรตุลาการ ไม่ใช่กรณีที่รัฐบาลเสนอกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภา หากสภาฯ หรือรัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบ จึงจะถือว่าสภาฯ ไม่ให้ความไว้วางใจรัฐบาลในการปฏิบัติหน้าที่
3. “พท.-นปช.” เดินหน้ายื่นร่างแก้ไข รธน.เข้าสภาแล้ว ขณะที่ “ครม.-ชทพ.”จ่อส่งร่างประกบ ด้าน “ปชป.” เตรียมโหวตสวนวาระ 1!
ความคืบหน้าเกี่ยวกับความพยายามของรัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เมื่อวันที่ 9 ก.พ.นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) ได้นำทีม ส.ส.พรรคเพื่อไทย(พท.) และพรรคร่วมรัฐบาลประมาณ 30 คน เข้ายื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยเป็นฉบับที่พรรคเพื่อไทยเสนอ พร้อมแนบรายชื่อ ส.ส.จากพรรคร่วมรัฐบาล 275 คน ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เพื่อขอให้บรรจุเป็นวาระเข้าสู่การพิจารณาของสภา สำหรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ของพรรคเพื่อไทย เสนอให้มี ส.ส.ร.99 คนมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยให้ ส.ส.ร.77 คนมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด ส่วนอีก 22 คนมาจากการเสนอของสถาบันอุดมศึกษา ด้านนายสมศักดิ์ บอกว่า จะให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายชื่อ ส.ส.ที่เข้าชื่อให้แก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมด หากรายชื่อถูกต้อง จะบรรจุเข้าสภาได้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ยื่น
ส่วนระยะเวลาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นั้น นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ประเมินว่า หากมีการบรรจุวาระเข้าที่ประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาในวาระ 1 เมื่อใด คงใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการให้คณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเป็นผู้พิจารณา จากนั้นเมื่อกรรมาธิการส่งรายงานให้ที่ประชุมรับทราบ คาดว่าภายใน 2 เดือนน่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการแก้ไขมาตรา 291 แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการสรรหา ส.ส.ร.ที่ได้มอบหมายให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ร.77 คน ซึ่งคงใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน เช่นเดียวกับ ส.ส.ร.อีก 22 คนที่จะมาจากสถาบันอุดมศึกษา ก็น่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน รวมเวลาแล้วน่าจะได้เห็นหน้าตาของ ส.ส.ร.ภายใน 5 เดือนนับจากประธานรัฐสภาบรรจุวาระการประชุม
ด้านกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ก็ได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ฉบับ นปช.ต่อประธานรัฐสภาเช่นกัน พร้อมแนบรายชื่อประชาชน 60,000 คน ทั้งนี้ นางธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธาน นปช. ยืนยันว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ นปช.เป็นร่างของประชาชน โดยมีจุดยืนคือความไว้วางใจประชาชน เชื่อมั่นประชาชน และด้วยมือประชาชน ส่วนจำนวน ส.ส.ร.นั้น จะให้มี 100 คนและมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่มีการสรรหาหรือแต่งตั้ง และไม่จำกัดวุฒิการศึกษาว่าต้องจบปริญญาตรี จบแค่ ป.4 ก็สามารถลงสมัครได้
ทั้งนี้ นอกจากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับพรรคเพื่อไทยและฉบับ นปช.แล้ว ในส่วนของ ครม.ก็จะมีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ ครม.หรือฉบับรัฐบาลด้วย โดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี บอกว่า จะมีการประชุมหารือเกี่ยวกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับรัฐบาลในวันที่ 13 ก.พ.นี้ โดยจะหารือกับ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอีกครั้ง ก่อนเสนอเข้าที่ประชุม ครม.เพื่อเป็นมติ ครม.ต่อไป ส่วนเนื้อหาและหลักการของร่างคงเป็นไปตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้
ขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนา(ชทพ.) ก็จะมีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของพรรคเองอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งนายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา เผยว่า พรรคจะเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคภายในสัปดาห์หน้า โดยจะเสนอในนามของพรรคร่วมรัฐบาล พร้อมเผยความแตกต่างระหว่างร่างของพรรคกับร่างของพรรคเพื่อไทยว่า ร่างของพรรคเพื่อไทย กำหนดว่า หลังจากทำประชาพิจารณ์แล้วจะไปทำประชามติ แต่ในส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนา หลังจากที่ทำประชาพิจารณ์แล้วจะกลับมาสู่สภา เพื่อขอความเห็นชอบ หากสภาเห็นชอบจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่หากสภาไม่เห็นชอบ จะนำไปทำประชามติต่อ
ด้านพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.)ได้แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะมองว่าโครงสร้างของ ส.ส.ร.99 คนที่พรรคเพื่อไทยเสนอ จะเปิดโอกาสให้พรรคเพื่อไทยครอบงำ ส.ส.ร.ได้ นอกจากนี้ยังอาจลามไปสู่การแก้ไขมาตราที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงการล้มและตัดทอนอำนาจขององค์กรอิสระ และการทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความขัดแย้งให้มากขึ้น ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ บอกว่า พร้อมร่วมประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ในวาระ 1 แต่จะยกมือไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขดังกล่าว
ส่วนความเคลื่อนไหวกรณีที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้รัฐบาลออกมติ ครม.ว่าจะไม่แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ตามที่กลุ่มนิติราษฎร์ออกมาเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้นั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ออกมายืนยันหลังหารือกับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีว่า รัฐบาลจะไม่แก้ไขมาตรา 112 แน่นอน พร้อมเผยว่า ร.ต.อ.เฉลิมเตรียมเสนอ ครม.ให้ออกเป็นมติ ครม.ว่าจะไม่มีการแก้ไขมาตราดังกล่าว แต่ในที่สุด ร.ต.อ.เฉลิมได้เลิกล้มความคิดที่จะเสนอ ครม.แล้ว โดยอ้างว่า เพราะนายกรัฐมนตรี รัฐบาล และพรรคเพื่อไทย ต่างก็ยืนยันตรงกันว่าจะไม่มีการแก้ไข จึงไม่จำเป็นต้องออกเป็นมติ ครม.อีก
4. กกต. มีมติแจกใบแดง ส.ส.บุรีรัมย์ ภท. หลังถูก “เพื่อไทย”ร้องซื้อเสียง ด้าน “ชวรัตน์” โวย การเมืองแทรก!
เมื่อวันที่ 7 ก.พ. ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้มีมติเสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 เสียง เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง) นายมนต์ไชย ชาติวัฒนศิริส.ส.บุรีรัมย์ เขต 5 พรรคภูมิใจไทย(ภท.) ตามที่ พ.ต.อ.อุดร ชานุวงศ์ ผู้สมัคร ส.ส.บุรีรัมย์ เขต 5 พรรคเพื่อไทย(พท.) ได้ร้องว่านายมนต์ไชยแจกเงินประชาชนเพื่อจูงใจให้ไปลงคะแนนในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 ก.ค.2554
ทั้งนี้ นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ เผยว่า กรณีนายมนต์ไชยถูกร้องว่าได้จัดประชุมผู้ใหญ่บ้านและมีการจ่ายเงินให้ผู้ที่ช่วยหาเสียงให้ตนและบุคคลอื่นด้วยนั้น เบื้องต้นอนุกรรมการสอบสวนของ กกต.มีมติยกคำร้อง เนื่องจากหลักฐานไม่ชัดเจน แต่ทางเลขาฯ อนุกรรมการสอบสวนยืนยันที่จะให้ใบแดงนายมนต์ไชย เพราะเห็นว่ามีการจ่ายเงินจริง อีกทั้งผู้ที่จ่ายเงินก็มีความเกี่ยวข้องกับนายมนต์ไชยด้วย เมื่อเรื่องเข้าที่ประชุม กกต.จึงมีมติเสียงข้างมากให้ใบแดง และว่า ขั้นตอนหลังจากนี้ กกต.จะส่งคำวินิจฉัยให้ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งพิจารณา หากศาลฯ รับคำร้องไว้พิจารณา นายมนต์ไชยจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ทันที และหากศาลฯ วินิจฉัยยืนตามมติของ กกต. กกต.ก็พร้อมจะจัดเลือกตั้งในเขตดังกล่าวใหม่
ด้านนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใด กกต.จึงมีการลงมติกรณีนายมนต์ไชยในช่วงนี้ ทั้งที่เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นมานานแล้ว สามารถตัดสินได้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ จึงสงสัยว่าเรื่องนี้มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ ซึ่งต้องพิสูจน์กันต่อไป
ขณะที่นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย เผยว่า พรรคจะนัดหารือกรณีนายมนต์ไชยโดนใบแดงในสัปดาห์หน้า เพราะไม่ใช่เรื่องเร่งรีบอะไร กว่า กกต.จะส่งเรื่องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ก็ใช้เวลา 30 วัน ดังนั้นฝ่ายกฎหมายของพรรคยังมีเวลารวบรวมหลักฐานเพื่อต่อสู้ในชั้นศาล ส่วนคลิปภาพที่มีการร้องเรียนว่านายมนต์ไชยแจกเงินประชาชนให้ไปลงคะแนนนั้น นายศุภชัย ชี้แจงว่า เป็นภาพการจ่ายเงินให้อาสาสมัครที่มาช่วยเหลือในการเลือกตั้งเท่านั้น จึงไม่ได้กังวลอะไร
1. รัฐบาล ผลาญงบ 10 ล้าน จัดงานขอบคุณทุกฝ่ายช่วยน้ำท่วม เชิญ “ป๋าเปรม”ประธาน อ้าง เพื่อปรองดอง แต่เมินเชิญ ปชป.!
เมื่อวันที่ 10 ก.พ.รัฐบาลได้จัดงาน “รักเมืองไทย เดินหน้าประเทศไทย” ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยให้เหตุผลที่จัดงานนี้ขึ้นมาว่า เพื่อขอบคุณทุกฝ่ายที่ร่วมกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ทั้งนี้ รัฐบาลได้เชิญ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ มาเป็นประธานในงาน ขณะที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า การเชิญ พล.อ.เปรมมาร่วมงานครั้งนี้ หวังผลในแง่การสร้างความปรองดองด้วย โดยมีการเชิญแขกหลายภาคส่วนประมาณ 500 คน ทั้งทูตานุทูต และภาคเอกชน แต่ไม่ได้เชิญพรรคประชาธิปัตย์มาร่วมงานด้วยแต่อย่างใด
ทั้งนี้ มีข่าวว่ารัฐบาลใช้งบจำนวนมากจัดงานรักเมืองไทยฯ กระทั่งนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ออกมาชี้แจงว่า รัฐบาล ใช้งบจัดงานแค่ 10 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นค่าบัตรเชิญ ค่าอาหาร การเดินทาง 3.5 ล้านบาท ค่าวงดนตรี แสง สี เสียง 6.5 ล้านบาท
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยอมรับว่า ไม่ได้รับเชิญจากรัฐบาลให้มาร่วมงานรักเมืองไทยฯ แต่อย่างใด พร้อมข้องใจว่า การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์อะไรแน่ หากเป็นการเลี้ยงเพื่อตอบแทนคนทำงาน ก็สามารถทำในรูปแบบที่ไม่จำเป็นต้องหรูหราก็ได้ นายอภิสิทธิ์ ยังเตือนสติรัฐบาลด้วยว่า หากการจัดงานเลี้ยงครั้งนี้เพื่อแสดงให้เห็นความสำเร็จในการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)แล้ว อาจกระทบความรู้สึกของคนจำนวนมากที่ยังรอการช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐบาล แต่ผู้มีหน้าที่ทำงานกลับมาเลี้ยงฉลองกัน
เป็นที่น่าสังเกตว่า การที่รัฐบาลเชิญ พล.อ.เปรมมาเป็นประธานในงานรักเมืองไทยฯ ครั้งนี้ ทำให้สังคมได้เห็นความเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดงในจังหวัดต่างๆ ซึ่งมีทั้งหนุนและต้าน โดยผู้ที่ต้าน ได้แก่ นายเทพพนม นามลี ประธานกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)สุรินทร์ ได้ออกมายืนยันว่า ไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลเชิญ พล.อ.เปรม มาร่วมงาน เพราะอยู่คนละฝั่งกับคนเสื้อแดง คนเสื้อแดงทุกคนต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและเรียกตนเองว่าไพร่ แต่ พล.อ.เปรม เปรียบเสมือนมหาอำมาตย์ ซึ่งเคยขัดแย้งกันอย่างรุนแรงมาก่อนจากการต่อสู้เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมของคนเสื้อแดงที่ผ่านมา จนมีการบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก โดยมีพี่น้องคนเสื้อแดง จ.สุรินทร์ ต้องสังเวยชีวิต กว่าจะได้มาซึ่งประชาธิปไตยถึง 5 ศพ
ขณะที่นายขวัญชัย สาราคำ หรือไพรพนา ประธานชมรมคนรักอุดร 1 ในแกนนำคนเสื้อแดง ได้ออกมาหนุนกรณีรัฐบาลเชิญ พล.อ.เปรมมาร่วมงานรักเมืองไทยฯ โดยบอก ตนรู้สึกภาคภูมิใจและชื่นชมกับภาพที่จะเกิดขึ้นในการปรองดอง เพื่อความรักสมัครสมานสามัคคี
ด้านนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้พยายามดับความขัดแย้งในหมู่คนเสื้อแดง โดยยืนยันว่า การเชิญ พล.อ.เปรมร่วมงานรักเมืองไทยฯ ไม่ส่งผลเสียต่อรัฐบาล เพราะเหตุการณ์ในอดีตถือเป็นเรื่องในอดีต และว่า ตนก็ถือเป็นลูกป๋าคนหนึ่ง โดยเป็นพ่อลูกกันมาตั้งแต่ปี 2537-2538 ผู้สื่อข่าวถามว่า พล.อ.เปรมหายโกรธกลุ่มคนเสื้อแดงที่เคยไปบุกบ้านสี่เสาเทเวศร์หรือยัง นายยงยุทธ บอกว่า พล.อ.เปรมเป็นผู้ใหญ่และที่มางานนี้แสดงให้เห็นแล้วว่าไม่โกรธเคืองอะไร และต้องการให้เกิดการปรองดอง ซึ่งงานนี้ชัดเจนอยู่แล้วว่าเพื่อให้เกิดความสมานฉันท์
ทั้งนี้ หลายฝ่ายลุ้นกันมากว่า พล.อ.เปรมจะเดินทางมาร่วมงานรักเมืองไทยฯ หรือไม่ ซึ่งในที่สุด พล.อ.เปรมก็เดินทางมาเป็นประธานในงานเมื่อเย็นวันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยได้รับการต้อนรับอย่างดีจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ยังมีองคมนตรีมาร่วมงานตามคำเชิญ 3 คน คือ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ,พล.อ.อ.กำธน สินธวานนท์ และนายอำพล เสนาณรงค์ สำหรับการจัดงานดังกล่าวมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 และโมเดิร์นไนน์ทีวี ตั้งแต่เวลา 17.00น.-20.00น. ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ระหว่างร่วมงาน พล.อ.เปรมมีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส โดยเฉพาะเมื่อได้ฟังดนตรีจากวงดุริยางค์เหล่าทัพ ,วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย และการแสดงของวงออเคสตราเยาวชนเทศบาลยะลา
ขณะที่บรรยากาศภายนอกทำเนียบรัฐบาล ก่อนที่งานรักเมืองไทยฯ จะเริ่มขึ้น ได้มีเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติประมาณ 50 คน นำโดยนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ มาปิดถนนบริเวณแยกมิสกวัน เพื่อประท้วงการจัดงานเลี้ยงดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าเงินช่วยเหลือน้ำท่วมยังแจกจ่ายผู้ประสบภัยไม่ทั่วถึง แต่รัฐบาลกลับมาจัดงานเลี้ยงฉลองขอบคุณคนมีหน้าที่ช่วยเหลือน้ำท่วม
2. ศาล รธน. มีมติรับวินิจฉัย 2 พ.ร.ก.กู้เงินขัด รธน.หรือไม่ พร้อมเรียกผู้เกี่ยวข้องแจง 15 ก.พ. ด้าน “ยิ่งลักษณ์”ส่ง "กิตติรัตน์”แจงแทน!
ความคืบหน้ากรณีที่ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งคำร้องของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยว่า พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ประกอบด้วย พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท และ พ.ร.ก.ปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน หรือ พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 1.14 ล้านล้านบาท และกรณีที่ประธานวุฒิสภาได้ส่งคำร้องของ 68 ส.ว.ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.ก.โอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 184 วรรค 2 หรือไม่ เนื่องจากมาตราดังกล่าวระบุว่า การออก พ.ร.ก.จะกระทำได้เฉพาะกรณีที่ ครม.เห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ แต่พรรคประชาธิปัตย์และ 68 ส.ว.มองว่า พ.ร.ก.ดังกล่าวไม่ใช่เรื่องรีบด่วนที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้นัดพิจารณาว่าจะรับคำร้องของพรรคประชาธิปัตย์และ 68 ส.ว.ไว้พิจารณาหรือไม่ในวันที่ 6 ก.พ.นั้น
ปรากฎว่า เมื่อถึงกำหนด ศาลรัฐธรรมนูญได้ประชุมพิจารณาและมีมติรับคำร้องดังกล่าวไว้วินิจฉัย โดยให้รวมคำร้องของ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์และ 68 ส.ว.ไว้วินิจฉัยในคราวเดียวกัน พร้อมกันนี้ ศาลฯ ได้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องชี้แจงเกี่ยวกับ พ.ร.ก.กู้เงินทั้ง 2 ฉบับด้วย ได้แก่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ,ประธานวุฒิสภา ,นายกรัฐมนตรี ,นายกรณ์ จาติกวณิช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้แทนผู้เสนอความเห็นต่อประธานสภา ,นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ในฐานะผู้แทนผู้เสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภา โดยให้ชี้แจงเป็นหนังสือภายในวันที่ 10 ก.พ. นอกจากนี้ยังให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้แทน ,นายกรณ์ หรือผู้แทน และนายคำนูณ หรือผู้แทน เข้าชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลในวันที่ 15 ก.พ. เวลา 09.00น. หากไม่มาชี้แจงจะถือว่าไม่ติดใจที่จะชี้แจง
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ศาลฯ จะใช้เวลาในการวินิจฉัย พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับประมาณ 30 วัน และว่า ขณะนี้ พ.ร.ก.ดังกล่าวยังมีผลบังคับใช้อยู่ จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย หากศาลฯ วินิจฉัยว่า พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับไม่เป็นไปตามรัฐธรมนูญก็จะถือว่า พ.ร.ก.ไม่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ต้น แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งที่รัฐบาลได้ทำลงไปในระหว่างรอคำวินิจฉัย ทั้งนี้ นายพิมล บอกด้วยว่า ส่วนตัวเข้าใจว่ารัฐบาลคงจะไม่ใช้เงินกู้ในช่วงนี้ เพราะต้องรอศาลฯ วินิจฉัยก่อน ผู้สื่อข่าวถามว่า ศาลฯ จะยึดบรรทัดฐานที่เคยวินิจฉัยเงินกู้ 4 แสนล้านบาทในสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์หรือไม่ นายพิมล บอกว่า ต้องดูข้อเท็จจริง เพราะข้อเท็จจริงแต่ละกรณีจะแตกต่างกันไป
ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พูดถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญให้นายกฯ หรือผู้แทนเข้าชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มอบหมายให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไปชี้แจง พร้อมยืนยัน รัฐบาลยินดีให้ข้อมูลต่อศาลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาย้ำอีกครั้งว่า พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดยรัฐบาลนำปัญหาน้ำท่วมมาเป็นข้ออ้างในการโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยรับภาระ เช่นเดียวกับ พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท เพราะ ครม.ยอมรับว่าโครงการที่อนุมัติไปมีความซ้ำซ้อนกันกว่าหมื่นล้านบาท แสดงว่ารัฐบาลไม่ได้มีปัญหาเรื่องเงินที่จะใช้ในการทำโครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม อีกทั้งนายกิตติรัตน์ก็พูดเองว่า เงินก้อนแรกที่จะใช้ 1.5 แสนล้านบาท เป็นวงเงินกู้ได้ตามระบบงบประมาณปกติ ดังนั้นรัฐบาลไม่ควรใช้ปัญหาน้ำท่วมและความทุกข์ทรมาณของชาวบ้านมาเป็นข้ออ้างหนีการตรวจสอบจากสภาด้วยการออก พ.ร.ก.
ทั้งนี้ ได้มีหลายฝ่าย รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์ออกมาชี้ว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับขัดรัฐธรรมนูญ รัฐบาลต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก โดยนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ บอกว่า โดยประเพณีปฏิบัติ หากกฎหมายเกี่ยวกับการเงินของรัฐบาลไม่ผ่านความเห็นชอบ รัฐบาลในอดีตจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกหรือยุบสภา ดังนั้นเมื่อรัฐบาลปัจจุบันใช้อำนาจออก พ.ร.ก.โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา หากศาลฯ วินิจฉัยว่า 2 พ.ร.ก.ขัดรัฐธรรมนูญ รัฐบาลย่อมไม่มีความชอบธรรมที่จะบริหารราชการแผ่นดินต่อไป จะต้องแสดงความรับผิดชอบไม่ว่าทางหนึ่งทางใด “นักการเมืองที่ดีควรมีจิตสำนึกและละอายต่อการทำหน้าที่อันไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่อาจจะเรียกหาได้ยากจากพรรคเพื่อไทย นับแต่ยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นต้นมา โดยเฉพาะเมื่อปี 2546 ที่รัฐสภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ค่าตอบแทนบุคลากรทางการศึกษาแล้วเสร็จ และนำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่ไม่พระราชทานกลับลงมา พ.ต.ท.ทักษิณกลับไม่แสดงความรับผิดชอบใดใด ต่างจากสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกฯ เมื่อปี 2531 สภาพิจารณา พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ เป็นกฎหมายการเงิน ไม่ผ่านการพิจารณา พล.อ.เปรมจึงตัดสินใจยุบสภา”
ด้าน ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ได้ออกมายืนยันว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า 2 พ.ร.ก.กู้เงินขัดรัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องลาออก เพราะรัฐธรรมนูญระบุว่าเป็นดุลพินิจของ ครม. หากเห็นว่าเป็นเรื่องฉุกเฉิน เร่งด่วนและจำเป็น ก็ให้ออก พ.ร.ก.ได้ ถ้าเห็นว่าเป็นเรื่องไม่เร่งด่วนก็เป็นเรื่องของศาล ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ สามารถเอาเข้าสภาและออกเป็น พ.ร.บ.ได้
ขณะที่นายพิชิต ชื่นบาน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย ได้ส่งเอกสารถึงสื่อมวลชนผ่านทางอีเมล์ โดยยืนยันเช่นกันว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พ.ร.ก.กู้เงินทั้ง 2 ฉบับขัดรัฐธรรมนูญ รัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องลาออกหรือยุบสภา เพราะการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของ พ.ร.ก.เป็นการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารโดยองค์กรตุลาการ ไม่ใช่กรณีที่รัฐบาลเสนอกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภา หากสภาฯ หรือรัฐสภาไม่ให้ความเห็นชอบ จึงจะถือว่าสภาฯ ไม่ให้ความไว้วางใจรัฐบาลในการปฏิบัติหน้าที่
3. “พท.-นปช.” เดินหน้ายื่นร่างแก้ไข รธน.เข้าสภาแล้ว ขณะที่ “ครม.-ชทพ.”จ่อส่งร่างประกบ ด้าน “ปชป.” เตรียมโหวตสวนวาระ 1!
ความคืบหน้าเกี่ยวกับความพยายามของรัฐบาลและกลุ่มคนเสื้อแดงในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เมื่อวันที่ 9 ก.พ.นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) ได้นำทีม ส.ส.พรรคเพื่อไทย(พท.) และพรรคร่วมรัฐบาลประมาณ 30 คน เข้ายื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพื่อนำไปสู่การตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยเป็นฉบับที่พรรคเพื่อไทยเสนอ พร้อมแนบรายชื่อ ส.ส.จากพรรคร่วมรัฐบาล 275 คน ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา เพื่อขอให้บรรจุเป็นวาระเข้าสู่การพิจารณาของสภา สำหรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ของพรรคเพื่อไทย เสนอให้มี ส.ส.ร.99 คนมาร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยให้ ส.ส.ร.77 คนมาจากการเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด ส่วนอีก 22 คนมาจากการเสนอของสถาบันอุดมศึกษา ด้านนายสมศักดิ์ บอกว่า จะให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายชื่อ ส.ส.ที่เข้าชื่อให้แก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมด หากรายชื่อถูกต้อง จะบรรจุเข้าสภาได้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ยื่น
ส่วนระยะเวลาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 นั้น นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ประเมินว่า หากมีการบรรจุวาระเข้าที่ประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาในวาระ 1 เมื่อใด คงใช้เวลาประมาณ 1 เดือนในการให้คณะกรรมาธิการที่ตั้งขึ้นเป็นผู้พิจารณา จากนั้นเมื่อกรรมาธิการส่งรายงานให้ที่ประชุมรับทราบ คาดว่าภายใน 2 เดือนน่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการแก้ไขมาตรา 291 แล้วจึงเข้าสู่กระบวนการสรรหา ส.ส.ร.ที่ได้มอบหมายให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.ร.77 คน ซึ่งคงใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน เช่นเดียวกับ ส.ส.ร.อีก 22 คนที่จะมาจากสถาบันอุดมศึกษา ก็น่าจะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน รวมเวลาแล้วน่าจะได้เห็นหน้าตาของ ส.ส.ร.ภายใน 5 เดือนนับจากประธานรัฐสภาบรรจุวาระการประชุม
ด้านกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ก็ได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ฉบับ นปช.ต่อประธานรัฐสภาเช่นกัน พร้อมแนบรายชื่อประชาชน 60,000 คน ทั้งนี้ นางธิดา ถาวรเศรษฐ รักษาการประธาน นปช. ยืนยันว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ นปช.เป็นร่างของประชาชน โดยมีจุดยืนคือความไว้วางใจประชาชน เชื่อมั่นประชาชน และด้วยมือประชาชน ส่วนจำนวน ส.ส.ร.นั้น จะให้มี 100 คนและมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่มีการสรรหาหรือแต่งตั้ง และไม่จำกัดวุฒิการศึกษาว่าต้องจบปริญญาตรี จบแค่ ป.4 ก็สามารถลงสมัครได้
ทั้งนี้ นอกจากร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับพรรคเพื่อไทยและฉบับ นปช.แล้ว ในส่วนของ ครม.ก็จะมีการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ ครม.หรือฉบับรัฐบาลด้วย โดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี บอกว่า จะมีการประชุมหารือเกี่ยวกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับรัฐบาลในวันที่ 13 ก.พ.นี้ โดยจะหารือกับ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอีกครั้ง ก่อนเสนอเข้าที่ประชุม ครม.เพื่อเป็นมติ ครม.ต่อไป ส่วนเนื้อหาและหลักการของร่างคงเป็นไปตามที่รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาไว้
ขณะที่พรรคชาติไทยพัฒนา(ชทพ.) ก็จะมีร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของพรรคเองอีกฉบับหนึ่ง ซึ่งนายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา เผยว่า พรรคจะเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคภายในสัปดาห์หน้า โดยจะเสนอในนามของพรรคร่วมรัฐบาล พร้อมเผยความแตกต่างระหว่างร่างของพรรคกับร่างของพรรคเพื่อไทยว่า ร่างของพรรคเพื่อไทย กำหนดว่า หลังจากทำประชาพิจารณ์แล้วจะไปทำประชามติ แต่ในส่วนของพรรคชาติไทยพัฒนา หลังจากที่ทำประชาพิจารณ์แล้วจะกลับมาสู่สภา เพื่อขอความเห็นชอบ หากสภาเห็นชอบจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ แต่หากสภาไม่เห็นชอบ จะนำไปทำประชามติต่อ
ด้านพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.)ได้แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะมองว่าโครงสร้างของ ส.ส.ร.99 คนที่พรรคเพื่อไทยเสนอ จะเปิดโอกาสให้พรรคเพื่อไทยครอบงำ ส.ส.ร.ได้ นอกจากนี้ยังอาจลามไปสู่การแก้ไขมาตราที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงการล้มและตัดทอนอำนาจขององค์กรอิสระ และการทำเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความขัดแย้งให้มากขึ้น ทั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ บอกว่า พร้อมร่วมประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาเรื่องร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ในวาระ 1 แต่จะยกมือไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขดังกล่าว
ส่วนความเคลื่อนไหวกรณีที่หลายฝ่ายเรียกร้องให้รัฐบาลออกมติ ครม.ว่าจะไม่แก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ตามที่กลุ่มนิติราษฎร์ออกมาเคลื่อนไหวก่อนหน้านี้นั้น เป็นที่น่าสังเกตว่า พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ออกมายืนยันหลังหารือกับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรีว่า รัฐบาลจะไม่แก้ไขมาตรา 112 แน่นอน พร้อมเผยว่า ร.ต.อ.เฉลิมเตรียมเสนอ ครม.ให้ออกเป็นมติ ครม.ว่าจะไม่มีการแก้ไขมาตราดังกล่าว แต่ในที่สุด ร.ต.อ.เฉลิมได้เลิกล้มความคิดที่จะเสนอ ครม.แล้ว โดยอ้างว่า เพราะนายกรัฐมนตรี รัฐบาล และพรรคเพื่อไทย ต่างก็ยืนยันตรงกันว่าจะไม่มีการแก้ไข จึงไม่จำเป็นต้องออกเป็นมติ ครม.อีก
4. กกต. มีมติแจกใบแดง ส.ส.บุรีรัมย์ ภท. หลังถูก “เพื่อไทย”ร้องซื้อเสียง ด้าน “ชวรัตน์” โวย การเมืองแทรก!
เมื่อวันที่ 7 ก.พ. ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้มีมติเสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 เสียง เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง(ใบแดง) นายมนต์ไชย ชาติวัฒนศิริส.ส.บุรีรัมย์ เขต 5 พรรคภูมิใจไทย(ภท.) ตามที่ พ.ต.อ.อุดร ชานุวงศ์ ผู้สมัคร ส.ส.บุรีรัมย์ เขต 5 พรรคเพื่อไทย(พท.) ได้ร้องว่านายมนต์ไชยแจกเงินประชาชนเพื่อจูงใจให้ไปลงคะแนนในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 ก.ค.2554
ทั้งนี้ นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ เผยว่า กรณีนายมนต์ไชยถูกร้องว่าได้จัดประชุมผู้ใหญ่บ้านและมีการจ่ายเงินให้ผู้ที่ช่วยหาเสียงให้ตนและบุคคลอื่นด้วยนั้น เบื้องต้นอนุกรรมการสอบสวนของ กกต.มีมติยกคำร้อง เนื่องจากหลักฐานไม่ชัดเจน แต่ทางเลขาฯ อนุกรรมการสอบสวนยืนยันที่จะให้ใบแดงนายมนต์ไชย เพราะเห็นว่ามีการจ่ายเงินจริง อีกทั้งผู้ที่จ่ายเงินก็มีความเกี่ยวข้องกับนายมนต์ไชยด้วย เมื่อเรื่องเข้าที่ประชุม กกต.จึงมีมติเสียงข้างมากให้ใบแดง และว่า ขั้นตอนหลังจากนี้ กกต.จะส่งคำวินิจฉัยให้ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งพิจารณา หากศาลฯ รับคำร้องไว้พิจารณา นายมนต์ไชยจะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ทันที และหากศาลฯ วินิจฉัยยืนตามมติของ กกต. กกต.ก็พร้อมจะจัดเลือกตั้งในเขตดังกล่าวใหม่
ด้านนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใด กกต.จึงมีการลงมติกรณีนายมนต์ไชยในช่วงนี้ ทั้งที่เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นมานานแล้ว สามารถตัดสินได้ตั้งแต่ก่อนหน้านี้ จึงสงสัยว่าเรื่องนี้มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ ซึ่งต้องพิสูจน์กันต่อไป
ขณะที่นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกพรรคภูมิใจไทย เผยว่า พรรคจะนัดหารือกรณีนายมนต์ไชยโดนใบแดงในสัปดาห์หน้า เพราะไม่ใช่เรื่องเร่งรีบอะไร กว่า กกต.จะส่งเรื่องไปยังศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ก็ใช้เวลา 30 วัน ดังนั้นฝ่ายกฎหมายของพรรคยังมีเวลารวบรวมหลักฐานเพื่อต่อสู้ในชั้นศาล ส่วนคลิปภาพที่มีการร้องเรียนว่านายมนต์ไชยแจกเงินประชาชนให้ไปลงคะแนนนั้น นายศุภชัย ชี้แจงว่า เป็นภาพการจ่ายเงินให้อาสาสมัครที่มาช่วยเหลือในการเลือกตั้งเท่านั้น จึงไม่ได้กังวลอะไร